พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ณ วัน อาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ บีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า "หยง" บิดาเป็นชาวจีน ชื่อนายไหฮอง แช่แต้ มารดาชึ่อนางนกเอี้ยง นายไหฮองเป็น ผู้ทิ่มั่งคงคนหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารราชวงศ์เช็ง แผ่นคินพระเจ้า เขียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า่ "บิดาเจิ้งเจาเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไป ทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก แลเกิดเจิ้งเจาที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั้งประเทศยกขึ้น เป็นเจ้าครองประเทศ . . .'' (เจิ้งเจาคือพระเจ้าดากสิน ออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่ง ถ้าเป็น แต้จิ๋ว ออกเสียงว่าแต้เจียว ส่วนเสียมล่อก๊กนั้นหมายถึงประเทศไทย) พระราชประวัติของพระองค์ท่านสมัยทรงพระเยาว์นั้น มีบันทึกกล่าวถึงเหตุ มหัศจรรย์นานาประการ เช่นในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บันทึก ไว้ว่า "กุมาร บุครจีนไหฮองขุนพัฒน์นั้น มีศิริรูปประพรรณสัณฐานงามยิ่งนัก โดยลักษณะ กุมารนั้นเป็นจตุรัศกาย คือ อธิบายว่าวัดตั้งแค่เท้าถึงสูญสะดือ เป็นมัชฌิมฒะกายได้ส่วนหนึ่ง แล้ววัดตั้งแค่สูญสะดือถึงผมตกแห่งหน้าเป็นส่วนหนึ่ง และวัดตั้งแต่สูญอุระราวถัน ออกไปถึง ปลายนิ้วมือข้างช้ายเป็นส่วนหนึ่ง ข้างขวาเบ็นส่วนหนึ่ง ทั้ง ๔ ส่วนนั้นยาวเสมอเท่ากันไม่ ก้าเกิน ที่สะดือนนั้นเป็นหลุมลึกลงไป พอจุผลหมากสงทั้งเปลือก ผิดกับสามัญชนทั้งหลาย จึ่ง ว่าเป็นลักษณะจัตุรัศกาย คือ รูปศิริกายเป็นส่วนสี่เหลี่ยม ดุจดังพระพุทธลักษณะแห่องค์ สมเด็จพระสมณโคคม อนึ่ง ขณะกุมารคลอดออกมานั้น อากาศก็ปราศจากเมฆหมอกไม่มีฝน แต่ขณะนั้นบังเกิดอะสุนีบาทว์ผ่าลงมาทื่ตรงเสาดั้งเรือนแห่งห้องกุมารคลอดนั้น แต่กุมารนั้นหา เบ็นอันตรายไม่ ด้วยเดชะบารมีบรมโพธิสมภารของกุมารจะได้เป็นบรมกษัตริย์ศาสนะนูประถำ- ภก ยกย่องพระบวรพุทธศาสนาในสยามประเทศนี้ ครั้นกุมารคลอคได้สามวัน มีงูเหลือมใหญ่ เข้าไปขดเป็นทักษิณาวัตอยู่ในกระด้งโดยรอบกายกุมาร ฝ่า่ยบิดามารดาของกุมารได้เห็นงูใหญ่ เข้าไปขดในกระด้งของบุตรนั้น ก็มีความวิตกกลัวไภยยันตรายต่างๆ หนึ่งธรรมเนียมจีนมีเหตุ ร้ายบังเกิดขึ้นเช่นนี้ แล้ว ผ่า่ยบิดามารดาเขาย่อมนำบุตรซึ่งบังเกิดในระหว่างเหตุร้ายนั้นไปฝัง เสียทั้งเป็น ก็การชึ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยนี้ จีนไหฮองนี้จะทำดุจธรรมเนียมเมืองจีนนั้นไม่ได้ เพราะด้วยเหตุเกรงพระราชอาญาพระเจ้าแผ่นดินไทย แต่จะต้องนำเอาบุตรนั้นไปทิ้งเสียให้พ้น บ้านจึงจะสิ้นเหตุร้ายไภยอันคราย ครั้นเวลาเช้าท่านเจ้าพระยาจักรีลงมาถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ที่หน้าบ้าน ของท่าน ท่านจึงได้ทราบความตามเหตุชึ่งมีกับบุตรจีนไหยฮอง ผ่า่ยท่านเจ้าพระยาจักรี จึงมี จิตคิดสังเวชกรุณากับกุมาร ชึ่งจะถึงกาลอันตรายด้วยมรณะไภย ท่านจึงขอกุมารนั้นกับจีน ไหยฮองๆ ก็ไม่ อาจขัดได้ ต้องจำเป็นจำอนุญาตยอมยกกุมารให้แก่ท่านเจ้าพระยาจักรี หนังสือ "มหาราชชาติไทย" กล่าวถึงตอนนี้ ต่างออกไปว่า . . . ในสมัยโบราณนั้นจะต้องประกอบพิธี อัญเชิญ "แ่ม่ซื้อ" มาสู่ขวัญ เพื่อให้อายุมั่นขวัญยืนปราศจากโรคภัย และถูกรบกวนรังควาน ค้วยภูตผีบีศาจ และต้องวางทารกน้อยไว้ในกระด้ง ปรากฏว่าขณะที่ทารกน้อยถูกปล่อยไว้ให้. นอนอยู่ในกระด้งแต่เดียวดาย มีงูใหญ่ตัวหนึ่งเลี้ยวมาจากไหนไม่ปรากฏ ได้มานอนขดเป็น วงกลมอยู่รอบกระด้งนั้น ทั้งยังชูหัวขึ้นสูง ดวงตาแดงฉานสำแดงความเป็นงูดุ เป็นเหตุให้ นางนกเอี้ยงผู้เป็นมารดาซึ่งเพิ่งลืมตาขึ้น ส่งเสียงร้องหวีดว้ายขึ้นด้วยความตกใจกลัว เกรงบุตร จะเป็นอันตราย ไม่รู้ที่จะทำประการใดได้ เพราะกำลังนอนอยู่บนกระดานไฟ (อยู่ไฟตามสมัย โบราณ) จนนายไหซองผู้สามีแว่วเสียงร้องของนางจึงกลับเข้ามาดู พอเห็นงูใหญ่ ขคกายเป็น วงล้อมบุตรชายไว้เท่านั้นก็แทบขวัญบิน ได้แค่ยืนตกตะลึงจังงัง แต่พอไค้สติก็หันเข้าหา คุณพระ คุณเจ้าเทพยดาอารักษ์เป็นที่พึ่ง จุดธูปสักการะบูชาขอให้ดลบันดาลพุทธบารมี เทพ บารมีมาช่วยคุ้มกรองบุตรของคนไว้ โดยมีการตั้งสัตย์อธิษฐานเสี่ยงบุญบารมีบุตรของตนด้วย ปรากฏว่าต่อมาไม่นาน งูมหึมาตัวนั้นได้ซบหัวลง ผงกหัวขึ้นสลับกันถึงสามครั้ง ดังหนึ่ง สำแดงความคารวะต่อทารกแล้วคลายขด เลี้ยวลงจากเรือนลับหายลงไปในพงหญ้าใกล้บ้าน จาก เหตุการณ์ที่ปรากฏ เป็นที่โจษขานกันทั่วไปว่า ทารกผู้นั้นมีบุญญาธิการสูง ไม่คู่ควรที่คน ธรรมดาสามัญจะอุปการะไว้เป็นบุตร ขุนพัฒน์และนางนกเอี้ยงก็เห็นจริง จีงได้ยกทารกน้อย ผู้นั้นให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่พระยาจักรี จากหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไค้กล่าวถึงประวัติของ เด็กชายสินต่อไปนี้ "จำเดิมแต่เจ้าพระยาจักรีได้รับบุตรจีนไหยฮองมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม จนเจริญก็ได้ลาภและทรัพย์สินสมบัติเป็นอันมาก เจ้าพระยาจักรีจึงตั้งชึ่อกุมารว่า นายสิน เป็น เหตุนี้ที่กล่าวมานั้น ครั้นนายสินค่อยเจริญใหญ่ อายุศม์ไค้ ๙ ขวบแล้ว เจัาพระยาจักรีจึง ได้นำกุมารไปฝากไว้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี มหาเถร ณ วัดโกษาวาสน์ นัยะหนึ่งว่า วัคคล้า ครั้นนายสินเรียนหนังสือขอมไทยไค้จนจบบริบูรณ์แล้ว จึงเรียนคำภีร์พระไตรปิฎก สมควรกับคุณานุรูปชำนิชำนาญแล้ว พออายุศม์ไค้ ๑๓ บี ในกาลครั้งนั้นนายสินคิดการตั้ง บ่อนถั่วเป็นเจ้ามือในพระอาราม ชกชวนสานุสิสในพระอารามวคโกษาวาศน์มาแทงถั่ว ฝ่าย พระอาจาริย์ทราบประพฤติเหตุดังนั้นแล้ว ก็ลงโทษกับสานุสิสทั้งหลายชึ่งเล่นเบี้ยแทงถั่วนั้นทั่ว ทุกๆ คน แต่นายสินเป็นเจ้ามือถั่วนั้น พระอาจาริย์ลงโทษทัณฑกรรมมัดมือคร่อมทับบันใดน้ำ ทำประจารสั่งสอนให้เข็ดหลาบด้วยเป็นต้นเหตุก่อความชั่วขึ้นในพระูอาราม มัดนายสินแช่น้ำ ตั้งแต่เวลาพลบค่ำเป็นเวลาน้ำขึ้นด้วย แล้วพระอาจารย์ก็ไปสวดพระพุทธมนต์ตามธรรมเนียมใน พระอาราม ครั้นเลิกสวคมนค์แล้วเป็นเวลาประมาณยามเศษ พระอาจาริย์จึงระฤกถึงชึ่งมัดนาย สินแช่น้ำไว้นั้น จะเป็นอันตรายอย่างไรก็หาทราบไม่ จึงได้มนิมมะนาเดินลงมายังท่าน้ำพร้อม ค้วยพระสงฆ์เป็นอันมาก ครั้นถึงบันใดน้ำก็เห็นน้ำท่วมลบตะหลิ่งแล้ว พระอาจาริย์มีความวิตก ว่านายสินจะ มีเป็นอันตรายแก่ชีวิตด้วยอุทกไภยฤๅ จึงสั่งพระสงฆ์ชึ่งเป็นอันเตวาสิกนั้น ให้ จุดไค้ตามไฟเที่ยวส่องหานายสิน ก็พบนายสินที่ริมตะหลิ่งวัด มือนายสินยังมัดติคอยู่กับบันใด แต่บันใคหลุดถอนขึ้นมาได้ด้วยอำนาจบุญบารมีของนายสิน จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น พระสงฆ์ทั้งหลายจึงแก้เชือกที่มัดมือนายสินคล่อมบันใดนั้นออกภาเอาตัวมายังบนบก ฝ่ายพระ อาจาริย์กับพระสงฆ์ทั้งหลายก็ชวนกันภาตัวนายสินเข้าไปในพระอุโบสถ ให้นายสินนั่งท่ามกลาง พระสงฆ์ทั้งหลายเฉพาะน่าพระพุทธปฏิมากร พระสงฆ์ทั้งหลายก็สวดพระพุทธมนต์ค้วยพระคาถา บทชยันตะมงคลเป็นการทำขวัญนายสิน ประถมเหตุนั้นเป็นการประจักษ์ของนายสิน พระ อาจาริย์ได้จดหมายเหตุไว้ตั้งแต่คลอดจนได้ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงได้รับเอา จดหมายเหตุนั้นมา จึ่งไค้ปรากฏสืบเนื่องต่อมาเป็นลำดับดังนี้แลข้อความตามลำดับได้นี้ด้วย ก็เบ็นจดหมายเหตุของพระอาจาริย์ทองดีวัดโกษาวาศน์ทั้งสิ้น ครั้นภายหลังนักปราชญ์ ราชบัณฑิตย์จึ่งไค้จดหมายเหตุต่าง ๆ มาผสมกันเบ็นเรื่องพงษาวะดารลำคับความตามประสงค์ แต่ขาดบ้างเกินบ้าง ด้วยยาวบั่นสั้นต่อ ดังนั้น" เมื่อนายสินอายุไค้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดป็านมงคลตัคจุกนายสิน เป็นการ เอิกเกริก ในเวลาทำการมงคลตัดจุกนายสินนั้น มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏ อยู่ถึง ๗ วันจึงหนีไป เมึ่อนายสินเจริญวัยขึ้นพอสมควร เจ้าพระยาจักรีจึงได้นำนายสินเข้าเฝ้า ถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กรับใช้อยู่เวรในวังหลวง ระหว่างนั้นนายสินได้เรียนหนังสือ และศึกษาวิชาการพูดได้ชำนิชำนาญถึง ๓ ภาษา คือ ภาษาจีน ญวนและแขก ครั้นอายุนายสิน ไค้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรีจึงประกอบการอุปสมบทนายสิน เป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนักอาจาริย์ ทองดี ณ วัคโกษาวาส ในระหว่างอุปสมบท ภิกษุสินได้ออกบิณฑบาคพร้อมกับภิกษุทองค้วงเป็นประจำ เพราะรับราชการเป็นมหาคเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน เช้าวันหนึ่งภิกษุทั้งสองได้เดินไปตามถนน เพื่อรับบิณฑบาตจาก พระราชวังหลวง มีชายจีนผู้หนึ่งเดินผ่านภิกษึ ทั้งสองไปไค้ ๓-๔ ก้าว ก็หยุดชะงักหันกลับ มาดูแล้วก็หัวเราะ ทำเช่นนี้ ถึง ๕-๖ ครั้ง สองภิกษุจึงถามว่ามองหน้าแล้วหัวเราะเรื่องอะไร ชาย จีนนั้นตอบว่าตนเป็นชินแสหมอดู สามารถทายลักษณะของบุรุษหรือสตรีไค้ แล้วทำนาย ให้พระภิกษุทั้งสองพระองค์ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ไค้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือลิลิตสามกรุง เป็นบทร้อยกรองว่า ซินแสทำนายภิกษุองค์ที่ ๑ ขายใดใกรลักษณ์พร้อม เพราองค์ ศักดิ์กษัตรสัถนัคทรง ส่อชี้ สมบัติขัติยมง คลรอบ ครองแฮ ชายนั้นคึอท่านนี้ แน่ข้าพยากรณ์ ฯ ซินแสทำนายภิกษุองก์ที่ ๒ ท่านเป็นบุรุษฟ้้อง ตามลักษณ์ ล้วนแต บุญเด่นเห็นประจักษ์ เจิดกล้า จักสู่ประตูศักดิ์ สุรกษัตร์ สืบศุภวงษ์ทรงหล้า สฤษดิ์เลี้ยงเวียงสยาม ฯ เกิดมาข้าพเจ้าไม่๋ เคยเห็น สองสหายหลายประเด็น เด่นชี้ ภายหน้าว่าจักเป็น ปิ่นกษัตร์ นั่งอยู่อู่กันฉนี้ แน่ล้วนชวนหัวฯ สองภิกษุว่า สองข้าอายุใกล้ เคียงทัน ทั้งคู่จะทรงขัณฑ์ ผิดเค้า เป็นกษัตร์ร่วมรัฐบัล ลังก์ร่วม ใฉนนอ เห็นอะสัดตวงข้าว แน่แท้คำทาย นายสินบวชเป็นภิกษุสามพรรษาแล้วก็ลาสิกขาบท ออกมาทำราชการดังเก่าสมเด็จ พระเจ้าอยู่บรมโกศไค้ทรงมีพระราชดำริว่า นายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียม ราชกิจ ต่างๆ จึงทรงมีพระราชดำรัสปรึกษาเสนาบคีว่านายสินนี้ ควรจะให้เป็นผู้ต่างพรขัเนตรพระกรรณ ได้ เสนาบคีเห็นควรโดยรับสั่ง จึงทรงพระกรณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายสินเป็น มหาดเล็กรายงานในกรมมหาคไทยและกรมวังศาลหลวง พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุทมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ชึ่งมีพระนามที่เรียกกันโคยทั่วไปว่าพระที่นั่งสุริยามรินทร์หรือสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์องค์สุคท้ายของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า่ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็น ข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองผ่า่ยเหนือ นายสินปฏิบัติราชการมี ความชอบมาก จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นที่หลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการพระยาตาก เมึ่อ พระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรค ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร เป็นพระยาตากปกครองเมือง ตาก ชึ่งครั้งนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร ชาวเมืองตากได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อย่างยิ่ง ทื่สมัยหนึ่งพระองค์ทรงเคยคำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก จึงไค้จัดตั้งศาลเล็ก ๆ ขึ้น บนคอยเขาแก้ว ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิงตรงข้ามกับตัวเมืองตากปัจจุบัน เนึ่องจากชาวเมือง ตากพิจารณาเห็นว่าศาลแห่งเดิมนั้นไม่สมพระเกียรติ ในบึ พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางจังหวัคตากจึงได้ หาเงินมาสร้างศาลแห่งใหม่ขึ้นฝั่งตรงข้าม พร้อมกันนั้นก็ได้ขอความร่วมมือจากกรม ศิลปากร ในการหล่อพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นใหม่ ขนาดใหญ่กว่าพระองค์ จริงเล็กน้อย ในพระราชอิริยาบถที่ประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่บนพระเพลา ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงสมภพเมื่อ ๒๒๗๗ สวรรคต ๒๓๒๕ รวม ๔๕ พรรษา พระบรมรูปหล่อและศาลแห่งใหม่นี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ทำ พิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒ ทางจังหวัดตากจัดงานสมโภชพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านทุก ๆ ปีตลอคมา ขณะที่พระยาตากได้ว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ณ เมืองตากนั้นคณะกรรม การเมืองกำแพงเพชรได้มีใบบอกมายังกร งศรีอยุธยาว่าพระยาวชิรปราการผู้สำเร็จราชการเมือง กำแพงเพชรได้ถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงให้หาตัวพระยาตาก (สิน) ลงมาเฝ้ายัง กรุงศรีอยุธยา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระยาตาก (สิน) ขึ้นเป็นพระยาวชิร ปราการ สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่หลังจากไค้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้วยัง หาไค้ทันขึ้นไปครองเมืองดังกล่าวฯไม่ พอดีมีข่าวศึกพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๐๗ ครั้นเสร็จศึกพม่าครั้งนี้แลัว พระยาวชิรปราการ (สิน) ยังคงอยู่ช่วยราชการในกรุง จนเวลาล่วงไปอีกหกเดือนพม่าก็ยกกองทัพเข้ามาอีก เมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๐๓๘ อันเป็นสงคราม ครั้งที่สำคัญที่ท่าให้กรุงศรีอยุธยา ต้องเสียแก่พม่าข้าศึกไปเป็นครั้งที่ ๒ ในครั้งนั้น พม่ามีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้ามังระพระราชโอรสของ พระเจ้าอลองพญา เมื่อขึ้นครองราชย์และปราบปรามศึกภายในราบคาบแล้ว คิดจะแผ่อำนาจ ออกไปยังหัวเมืองใกล้เคียง จึงให้เนเมียวสีหบคี แม่ทัพพม่าผ่า่ยเหนือ ชึ่งตั้งอยู่ ณ เมือง เชียงใหม่ คุมพลยกลงมายังกรุงศรีอยุธยาทางเมืองตากและสวรรคโลก ทั้งให้มังมหานรธาแม่ ทัพพม่าผ่า่ยใต้ชึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองทวาย ยกพลมุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา โดยผ่านเมืองราชบุรี เพึ่อสมทบ กับทัพของเนเมียวสีหบดี ในที่สุดกองทัพพม่าทั้งสองกองทัพก็ได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้ว ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระนคร ฝ่า่ยไทยก็ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพม่า ผู้รักษาป้อมปืนทางตะวันออก ด้านวัดเกาะแก้วนั้น คือ พระยาวชิรปราการ (สิน) ชื่งถูกพม่าบุกกระหน่ำอย่างหนัก พระยา วชิรปราการ (สิน) ไค้ทำการสู้รบอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานพม่าไว้ไค้ ระหว่างการทำศึกรักษาพระนครนั้น พระยาวชิรปราการ (สิน) ประสบเหตุการณ์ที่ก่อให้ความท้อ แท้ใจหลายต่อหลายครั้ง ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกตัวอย่างไว้ในหนังสือ ไทยรบพม่าว่า '' . . . ครั้งที่ ๑ พระยาตากออกไปรบชนะ ตีไค้ค่ายพม่า แต่ผู้บัญชาการรักษา พระนคร ไม่ให้กำลังไปอุดหนุนต้องล่าถถอยกลับมา อีกครั้ง ๑ พระยาตากถูกเกณฑ์ให้ไปคอย สกัดรบพม่าอยู่ที่วัดใหญ่ด้วยกันกับพระยาเพชรบุรี เมื่อเดือน ๑๒ ปีจอ พม่ายกทัพเรือลัดทุ่ง มาพระยาตากเห็นว่าเหลือกำลังทื่จะรบพุ่งเอาชัยชนะไค้ พระยาเพชรบุรีไม่ฟังขืนยกไปรบ เสียที พม่า พระยาตากต้องหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย ทีหลังมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อก่อน จะเสียกรุง ฯ สัก ๓ เดือน เวลานั้นกระสุนดินดำที่ในกรุงฯ อัตคัตลง จึงมีหมายสั่งว่า ถ้ากอง ไหนจะยิงปืนใหญ่ให้ขออนญาตที่ศาลาลูกขุนก่อน วันหนึ่งพม่ายกเข้ามา พระยาตากเอาปืน ใหญ่ยิงพม่าไม่ได้ขออนุญาตก่อน ถูกชำระและภาคภัณฑ์เกือบจะต้องโทษ . . . โดยเหตุนี้ ทำให้พระยาวชิรปราการ (สิน) เกิคความน้อยเนื้อต่ำใจ และรู้สึกสลด รันทดใจเป็นอย่างยิ่งเพราะความอ่อนแอของผู้บัญชาและขาดการประสานงานที่ดีระหว่างแม่ทัพ นายกอง ทำให้พระยาวชิรปราการ (สิน) เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงไม่พ้นเงื้อมมือพม่าเป็น แน่แท้แล้ว ไพร่พลข้าทหารในกรุง ฯ ก็อิดโรยลงไปมาก เนึ่อง จากขาคเสบียงอาหาร ทหาร ไม่มีกำลังใจจะสู้รบ กษัตริย์ก็ทรงอ่อนแอ การที่จะช่วยกันรักษากรุง ฯ ต่อไปก็คงไม่ก่อให้เกิค ประโยชน์อันใด เมื่อเห็นว่าไทยหมดหนทางสู้ข้าศึกแล้ว พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงเห็น ควรหาทางไปสะสมไพร่พลเพึ่อกลับมาต่อสู้กู้ชาติในภายหน้า ชึ่งจะดีกว่าอยู่แล้วต้องตายอย่าง ไร้ฝีมือไร้สติปัญญา ครั้นถึงวันเสาร์เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปี จอ อัฐศก จ.ศ. ๑๑๒๘ ตรงกับ วันที่ ๓ มกราคม ๒๓๐๙ เวลาค่ำ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัย อาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักคี และพรรคพวกรวม ๕๐๐ คน มีปืนกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่า พม่าไปทางทิศตะวันออก วันรุ่งขึ้นทัพพม่าติดตามมาทันพระยาวชิรปราการ (สิน) และพรรคพวก ที่บ้าน โพธิ์สังหาร พระยาวชิรปราการ (สิน) ไค้นำพลทหารไทยจีนเข้าต่อรบกับทหารพม่าเป็นสามารถ จนทัพพม่าแตกพ่ายไป เก็บได้เครื่องศาสคราวุธเป็นจำนวนมาก แล้วเดินทางไปตั้งพักที่บ้าน พรานนก พวกทหารที่ออกไปเที่ยวหาเสบียงอาหารพบกองทัพพม่า จำนวนพลม้าประมาณ ๓๐ ม้า พลเดินเท้าประมาณ ๒,๐๐๐ คน ยกสวนทางมาจากบางคาง แขวงเมืองปราจีนบุรี เพื่อนเข้ากรุงฯ พวกทหารไทยจึงหนีกลับมาบ้านพรานนก พม่าก็ติคตามมา พระยาวชิรปราการ (สิน) ให้ทหารเดินเท้ารายแยกเป็นปีกกาเข้าตีโอบพวกพม่าทั้งสองข้าง ส่วนท่านกับทหารอีก ๔ คน ขึ้นม้าตรงเข้าไล่ฟันทหารม้าพม่าชึ่งนำทัพมา พม่าไม่ทันรู้ตัวก็แตกร่นไปถึงพลเดินเท้า พวกไทยได้ทีเข้ารุกไล่ฆ่าฟันทหารพม่าแตกกระจายไป การรบครั้งนี้ช่วยสร้างพลังใจให้ทหาร ไทยอย่างใหญ่หลวงแล้วต่างยกย่องเทิคทูนพระยาวชิรปราการ (สิน) เยี่ยงพระมหากษัคริย์ กิติศัพท์การรบชนะของพระยาวชิรปราการ (สิน) ทำให้ราษฎรไทยที่หลบหนีซ่อน เร้นพม่าอยู่มีกำลังใจพากันขอเข้าเบึนพวกและได้เป็นกำลังสำคัญเกลี้ยกล่อมผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้า นายช่องต่างๆมาอ่อนน้อม ขุนชำนาญไพรสณฑ์และนายกองช้างเมืองนครนายก มีจิตสวามิภักดิ์ นำเสบียงอาหารและช้างม้ามาให้เบึนกำลังเพิ่มขึ้น ล่วนพวกนายช่องใหญ่ชึ่งมีค่ายคูยังทะนงคน ไม่ยอมอ่อนน้อม พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็คุมทหารไปรบได้ชัยชนะ แล้วจึงยกทัพผ่านเมือง นครนายก ข้ามลำน้ำเมืองปราจีนบุรีไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้ามฟากตะวันตก พวกทหารพม่าที่แตกพ่ายไปจากบ้านพรานนกพากันกลับไปรายงานนายทัพที่ตั้งค่าย ณ ปากน้ำเจ้าโล้ หรือ ปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา อันเป็นที่ตั้งกองทัพพม่ากองสุคท้ายที่ รวบรวมกำลังกันทั้งทัพบกทัพเรือไปรอดักพระยาวชิรปราการ (สิน) อย่ที่นั่น ทัพพม่าตามทัพ พระยาวชิรปราการ (สิน) ทันกันที่ชายทุ่ง พระยาวชิรปราการ (สิน) เห็นว่าจะต่อสู้ข้าศึกชึ่ง ๆ หน้าไม่ทัน ทั้งมีกำลังน้อยกว่ายากที่จะเอาชัยชนะแก่พม่าไค้ จึงเลือกชัยภูมิเอาพงแขมกำบังแทน แนวค่าย แอบตั้งปืนใหญ่น้อยรายไว้หมายเฉพาะทางที่จะล่อพม่าเดินเข้ามาแล้วพระยาวชิร- ปราการ (สิน) ก็นำทหารประมาณ ๑๐๐ เศษคอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง ครั้นรบสักพักหนึ่งแล้วก็ แกล้งถอยหนีเข้าไปทางช่องพงแขมที่ตั้งปืนใหญ่เตรียมไว้ พม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไป ใน "วงกับดักเสือ" จึงถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามา ทางด้านหน้าขวาและช้าย พม่าไม่มีทางค่อสู้ได้ ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมากที่รอดตายถอยหนีก็ถูกพระยาวชิรปราการ (สิน) นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันอีก แต่นั้นมาพม่าก็ไม่กล้าคิคตามชาวไทยกลุ่มนี้อีก ภายหลังจากที่พระเจ้าตากทรงปราบดาภิเศกขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ได้มีรับสั่ง ให้ข้าราชบริพารไปสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นที่ระลึกในการเดินทัพ เพื่องานกู้ชาติของพระองค์ คือให้สร้างวัดและเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ตรงปากคลองท่าลาด คือ วัดปากน้ำโจ้โล้ในปัจจุบัน ใน ขณะนี้เจดีย์ได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังเสียแล้ว สร้างวัดตรงที่ที่เดินทางมารุ่งสว่าง พระราชทาน นามว่าวัดแจ้ง และที่ที่มีต้นโพธิ์ใหญ่ที่ทรงพักทัพให้รับประทานอาหาร ก็โปรดให้สร้างวัดอีก พระราชทานนามว่าวัดโพธิ์ จึงเป็นที่ น่าภูมิใจว่าสถานที่สำคัญทั้งสามแห่งนี้ยังมีอยู่ที่อำเภอ บางคล้าจนถึงปัจจุบันนี้ หลังจากพระยาวชิรปราการ (สิน) ไค้ชัยชนะพม่าครั้งนั้นแล้ว ได้ยกทัพผ่านบ้าน ทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือเขตเมืองชลบุรี เมื่อผ่านไปถึงที่ใด ผู้คน ก็เข้ามาสวามิภักดิ์จนมีรี้พลเป็นกองทัพ จากนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็ยาตราทัพไปเมือง ครั้นถึงเมืองระยอง พระระยองชื่อบุญ เห็นเหลือกำลังที่จะทานทัพ ของพระยา วชิรปราการ (สิน) ได้ จึงพาพรรคพวกออกมาต้อนรับ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตั้งค่ายที่ ชานเมืองระยอง ขณะนั้นมีพวกกรมการเมืองระยองหลายคน อาทิ หลวงพลขุนจ่าเมือง (ด้วง) ขุนราม หมื่นซ่อง เป็นต้น ต่างแข็งข้อคิคจะสู้รบ เพราะขณะนั้นกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า จึงถือว่าพระยาวชิรปราการ (สิน) เป็นกบฏ พวกกรมการเมืองระยองไค้ยกเข้าปล้นค่ายพระยา วชิรปราการ (สิน) ในคืนวันที่สองที่ทัพพระยาวชิรปราการ (สิน) หยุดพักที่เมืองระยอง พระยา วชิรปราการ (สิน) รู้ตัวก่อน จึงให้ดับไฟในค่ายเสีย มิให้โห่ร้องหรือยิงปืนตอบ รอจนพวก. กรมการเมืองระยองเข้ามาได้ระยะ พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็สั่งยิงปืนใส่พวกที่หวังจะแหกค่าย. พวกที่ตามหลังมาต่างตกใจถอยหนี พระยาวชิรปราการ (สิน) คุมทหารตามติคไปเผาค่ายเมือง* ระยอง ยึดเมืองระยองไค้ในคืนนั้นเอง ส่วนขุนรามหมื่นซ่องถูกรุกไล่แตกหนีพ่ายไป พระยาวชิรปราการ (สิน) มีชัยชนะได้เมืองระยองครั้งนี้ นับไค้ว่าเบ็นก้าวสำคัญ" และเป็นศุภนิมิตส่งผลให้สามารถทำการใหญ่ต่อไป พระราชพงศาวคารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูคของท่านไว้ตอนหนึ่งว่า ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้ กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรงสมณพราหมณาประชาราษฎร ชึ่งอนาถาหาที่ พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชคนาการไพบูลย์ขึ้น เหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นนเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ชึ่งจะก่อกู้แผ่นคิน จึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะ เห็นประการใด " พรรคพวกของท่านก็เห็นชอบด้วย การที่พระยาวชิรปราการ (สิน) ตีใด้เมืองระยอง และพวกบริวารยกย่องเป็น เ่จ้าตาก นั้น ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แค่ท่านก็ระวังคนมิไค้คิคตั้งตัว เป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น ในหนังสือที่ระลึกงานหล่อพระประทานพรของวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัคระยอง กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่าการประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งท่ามกลางไพร่พลและ ประชาชนชาวเมืองระยองเป็นจำนวนมาก ลองคิดดูว่าอยู่ ๆจะประกาศยึคอ่านาจเมืองระยองไค้ อย่างไร ฉะนั้น จึงจ่าตัองแสดงแสนยานุภาพและอภินิหารให้ประจักษ์ เล่ากันว่า เจ้าตาก ได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และไค้ประกาศแสดงแสนยานุภาพแล้วก็เกิคพายุ หมุนจนท่าให้ต้นตาลค้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหยุดแล้วต้นตาลทื่หมุนจึงขดเป็นวงและ ไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลนั้นยังอยู่หน้าวัดป่าประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า่ "ตาลขด" ชาว เมืองระยองทั้งปวงจึงสวามิภักดิ์เจ้าตากโดยพรักพร้อม ทำให้มีกำลังพลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกเป็น จำนวนมาก และได้ฝึกซ้อมเตรียมรบอย่างเต็มที่ ดังคำประพันธ์ที่ว่า "ท่า่นใช้เมืองระยองเป็นท้องที่ ชุมโยธีหมวดกองให้ชองช่ำ ม้าทหารสารศึกฝึกประจำ จัดกระทำทุกนัยมิได้วาง" วัคลุ่มมหาชัยชุมพลจังหวัคระยองนี้ เป็นวัดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเจ้าตาก ขณะนี้ มีศาลเจ้าตากตั้งอยู่ในบริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัคระยอง มีพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถิตภายในศาล เป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไป อาณาเขตของเจ้าตากเมื่อตั้งตัวเป็นอิสระนั้นมีเพียงแดนในเมืองระยอง ส่วนเมือง บางละมุง เมืองชลบุรี ที่อยู่ข้างเหนือก็ดี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ที่อยู่ข้างๆใต้ก็ดี ยังหาไค้ อ่อนน้อมยอมอยู่ใต้อำนาจของเจ้าตากไม่ เมืองชลบุรีเวลานั้นกำลังชุลมุนเป็นจลาจลเพราะอยู่ ใกล้ข้าศึก เมืองบางละมุงก็เป็นเมืองเล็ก ผู้คนเบาบาง มีกำลังมากอยู่แต่เมืองจันทบุรี ชึ่ง เป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่นที่อยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก แล้วยังมีเจ้าเมืองปกครองอยู่เป็น ปกติ มีกำลังผู้คนและอาหารบริบูรณ์ ทั้งชัยภูมิก็เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้งมันยิ่งกว่าหัวเมือง ใกล้เคียงทั้งหลาย เจ้าตากเล็งเห็นความสำคัญของเมืองจันทบุรีดังกล่าว จึงใคร่จะลองใจดูว่า ชาวเมืองจันทบุรีจะเป็นมิตรหรือศัตรูต่อท่าน จึงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปถึงพระยาจันทบุรี ใจความว่า บัดนี้เจ้าตากได้มาตั้งรวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองระยอง มีความประสงค์จะยกเข้าไป รบพม่า แก้ไขให้พระนครพ้นจากอำนาจข้าศึก ขอให้พระยาจันทบุรี เห็นแก่บ้านเมืองมาช่วย กันปราบปรามข้าศึก ให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองผาสุกดังแต่ก่อน พระยาจันทบุรีก็ต้อนรับทูต โดยดี และรับว่าจะมาปรึกษาหารือกับเจ้าตากที่เมืองระยอง และยังได้มอบเสบียงอาหารให้ทูต มาช่วยเจ้าตากก่อน ครั้นทูตกลับไปแล้ว พระยาจันทบุรีเกิดความลังเลและไม่ไว้ใจเจ้าตาก เกรงว่าจะคิดเป็นอุบายชิงเอาเมืองจันทบุรี จึงไม่ไปพบเจ้าตากตามที่รับปากไว้ เมึ่อเจ้าตาก ไม่เห็นพระยาจันทบุรีมา ก็เข้าใจดีว่าพระยาจันทบุรี ต้องมีความคิควิตกและแคลงใจดังกล่าวจึง ไม่มา ขณะนั้นนายบุญเรือง มหาดเล็กชึ่งเป็นผู้รั้งเมืองบางละมุง คุมไพร่ ๒๐ คน ถือ หนังสือพม่าจะนำไปให้พระยาจันทบุรี เดินผ่านมาในแขวงเมืองระยอง พวกทหารของเจ้าตาก จับตัวไว้ชักถาม ได้ความว่าเนเมียวสีหบคี แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น มีหนังสือมาบอกให้ พระยาจันทบุรีเข้าไปอ่อนน้อมต่อพม่าเสียโดยดี และสั่งบังคับให้ผู้รั้งเมืองบางละมุงถือหนังสือ ไปให้ด้วยตนเอง พวกนายทัพนายกองของเจ้าตากได้ทราบความเข้าต่างก็แสดงความโกรธแค้น เป็นอันมาก บอกเจ้าตากว่าพวกนี้เป็นพวกพม่าให้ประหารชีวิตเสีย แค่เจ้าตากไม่เห็นชอบด้วย ว่าผู้รั้งเมืองบางละมุงตกอยู่ในอำนาจของพม่า จำต้องยอมตามพม่าบังคับเอา จะชี้ขาดเอาว่า เป็นพรรคพวกของพม่ายังไม่ไค้ กับอีกประการหนึ่ง นายบุญเรืองผู้รั้งเมือง บางละมุงนั้นก็ยังมิเคย เป็นข้าในเจ้าตาก จะว่าคิดร้ายต่อพระองค์ก็ยังมิไค้ การที่พม่ามีหน้งสือมาบังคับพระยาจันทบุรี เช่นนี้ก็ดีอยู่ จะได้เป็นโอกาสให้พระยาจันทบุรีเลือกเอาไทยหรือพม่า จะนิ่งเฉยอย่างนี้ต่อไป อีกมิไค้. หลังจากนั้นเจ้าตากได้วางแผนการต่อไป โดยคิดชักชวนองเชียงฉุน ชึ่งเป็นพระยา ราชาเศรษฐี เจ้าเมืองพุทไธมาศ (หรอบันทายมาศ) มาเข้าพวกด้วยอีกทางหนึ่ง ด้วยเห็นเป็น โอกาสที่จะสร้างบารมีให้พระยาจันทบุรียำเกรง จึงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปถืงพระยาราชา เศรษฐี เป็นเนื้อความว่า เมื่อครั้งพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาราชาเศรษฐีไค้เคยจัดกำลัง และเสบียงอาหารเข้าไปช่วยตามที่ทางกรุง ฯ ได้มีท้องตราสั่งไป แต่ไปติดทัพพม่าตั้งสกัดอยู่ที่ เมืองธนบุรี จึงขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ ถึงกระนั้นก็นับว่าเป็นความคีความชอบอยู่มาก มาบัดนี้เจ้าตากได้ลงมาตั้งรวบรวมรี้พลอยู่ที่เมืองระยอง ได้กำลังมากพอสมควรแล้ว ขอให้ พระยาราชาเศรษฐียกกองทัพมาสมทบ เพื่อช่วยกันแก้ไขให้กรุงศรีอยุธยาพ้นมือข้าศึกเถิค ครั้น แต่งศุภอักษรแล้ว จึงสั่งผู้รั้งเมืองบางละมุงให้ไปชี้แจงแก่พระยาจันทบุรีด้วย แล้วจัดเรือให้ ทูตที่จะไปเมืองพุทไธมาศ (บันทายมาศ) รับผู้รั้งเมืองบางละมุงไปยังเมืองจันทบุรีด้วยกัน ทางพระยาราชาเศรษฐีรับรองทูตของเจ้าตาก ด้วยไมตรี ขอผัดให้สิ้นฤดูมรสุมเสียก่อน จึง จัดยกกองทัพขึ้นมาช่วยเจ้าตากตามประสงค์ แต่ทางพระยาจันทบุรีนั้นยังคงเฉยเสียไม่ตอบ ประการใค สำหรับเหตุการณ์ทางกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง ฯ ครั้งที่สอง เกิดลางสังหรณ์ หลายประการ ดังปรากฏในหนังสือคำให้การของขุนหลวงหาวัด กล่าวเป็นค่าประพันธ์ดังนี้ คำขุนหลวงหาวัดกล่าวชัดถ้อย ปฏิมาใหญู่น้อยพลอยโศกศ้ลย์ บ้า่งทรวงแตกชลนัยน์ไหลจาบรรล์ วัดพนัญเชิงสง่ามาอับลง หลวงพ่อโตโสภาวราลักษณ์ มีพระภักตร์เศร้าหมองมองร้ายบ่ง น้ำพระเนตรรินไหลใบ้บอกบง คล้ายพระองค์ทรงกรรแสง แฝงราคี พระพุทธรูปทรงศรี "ตริโลกนาถ" ช่างสามารถแกะโชว์ไม้โพธิศรึ อุระร้าวรานแตกแยกอินทรีย์ แสนสุดที่สังเวชบอกเหตุการณ์ พระทองคำล้ำค่าสง่านัก พุทธลักษณ์ทรงงามอร่ามขาน อีกพระพุทธสิรินทร์ช่างศิลป์ชาญู หล่อด้วยนาคประสานสมานองค์ ทั้งสองรูปทรงสถิตประดิษฐ์ที่ วัดพระศรีสรรเพ็ชญู์เสร็จประสงค์ ในพระราชวังหลวงดวงดำรง ทั้งสองทรงเศร้าหมองหมดยองใย แม้สถิตในวังบัลลังก์อาสน์ อธิลาศเลิศหล้าค่าสมัย พระฉวีเอี่ยมอ่องผ่องอำไพ สีคล้ำไปตลอดร่างต่างกว่าเดิม พระเนตรสองมองเห็นเป็นตำหนิ มีรอยปริประหลาดขาดส่งเสริม เพราะประมาทขาดคุณธรรมจุนเจิม จุดเสื่อมเริ่มปานไฟไหม้ลุกฮือ ดวงพระเนตรเพชรวาวสกาวแสง หลุดจากแหล่งหล่นลงตรงหัตถ์ถือ อัศจรรย์เป็นข่าวฉาวระบือ โจษจันอื้อเลื่อมศักดิ์หลักมงคล กาสองตัวพบหน้าถลาใส่ ตีกันใหญ่หันเหบนเวหน กาตัวหนึ่งถืงฆาตกาจผจญ โผร่างตนปักหัวไม่กลัวตาย อกเสียบยอดเจดีย์ฉัตรวัดพระธาตุ สิ้นชีวาตม์ทันใดน่าใจหาย เหมือนคนจับเสียบไว้ให้ติดกาย ล้วนลางร้ายบอกอาเพทเหตุสำแดง เทวรูปมหาราชพระนเรศวร ทรงปั่นป่วนพิโรธโกรธกรรแสง กระทืบบาทเสียงสนั่นลั่นรุนแรง ทรงผาดแผลงอึกทึกกึกก้องดัง กับดินฟ้าวิปริตผิดธรรมชาติ อสุนีบาตฟาดลงตรงฉมัง ต้องปราสาทราชมณเฑียรเวียนวัดวัง ผ่ามากตรงกระหน่ำซ้ำทำลาย พระราชวงศ์พงศาวราศักดิ์ ทั้งนอกในราชสำนักแยกพรรคหลาย ขาตสัตย์ซื่อถืออธรรมนำจิตกาย โลภหลงร้ายวิหิงษาอนาจาร ทุพภิกขภัยคุกคามลุกลามหลาย ชุมโจรร้ายปล้นฆ่าแย่งอาหาร อัคคีภัยไหม้ซ้อนร้อนร้าวราน ส่งถึงกาลกลียุคทุกข์ท่วมเมือง" ครั้นถึงเดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ มีข่าวออกไปถึง หัวเมืองตะวันออกว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว พม่าได้จับเอาพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านาย เชื้อพระวงศ์ไปหมค ความคิดของผู้ที่มีกำลังและอำนาจอยู่ตามหัวเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปตาม เหตุการณ์ นอกจากพระยาจันทบุรีจะมิได้มาเป็นไมตรีกับเจ้าตากตามสัญญาแล้ว ฝ่า่ยขุนราม หมื่นช่องกรมการเก่าเมืองระยองชึ่งลอบเข้าปล้นค่ายเจ้าตากทื่เมืองระยองแล้วถูกยิงหลบหนีไป นั้น ได้ไปตั้งซ่องชุมนุมผู้คนอยู่ในเขตเมืองแกลง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองจันทบุรี แล้วคุม พรรคพวกหวนกลับมาปล้นแย่งช้างม้าของเจ้าตากอยู่เนือง ๆ เจ้าตากเห็นว่าต้องใช้กำลังปราบ ปรามพวกที่เป็นศัตรูจึงจะตั้งตัวอยู่ไค้ จึงยกกองทัพลงไปรบพวกขุนรามหมื่นช่อง ที่เมืองแกลง ขุนรามหมื่นช่องสู้ไม่ได้ก็พาสมัครพรรคพวกหนีไปอยู่ในความคุ้มครองของพระยาจันทบุรี เจ้า ตากจะยกตามลงไปก็เห็นกำลังรี้พลยังน้อยและเป็นห่วงทางเมืองชลบุรี เนื่องจากมีนายทองอยู่ นกเล็กตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ กำลังรวบรวมพลพรรคอย่างคึกคัก ใครผู้ใคผ่านมาเข้าไปสวามิภักดิ์ ด้วยเจ้าตาก นายทองอยู่นกเล็กก็จะเกลี้ยกล่อม หรือบางครั้งก็บังคับให้ผู้นั้นเข้าเป็นพรรคพวก ของตน เจ้าตากจึงคิคจะปราบทางเมืองชลบุรีเสียก่อน จึงรีบกลับจากเมืองแกลงยกทัพขึ้นมา เมืองชลบุรี มาตั้งอยู่ที่หนองมนต่อแดนเมืองบางละมุง ให้ลืบสวนดูไค้ความว่านายทองอยู่ นกเล็กยังมีกำลังไม่มากนัก จึงยกทัพเข้าไปหยุดอยู่ ณ วัดหลวงใกล้เมืองชลบุรีห่างประมาณ ๑๐๐ เส้น และด้วยความปรานีว่าเป็นคนไทยด้วยกันไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้กำลังเข้าฆ่าฟันกันให้ ล้มตายไป จึงใช้ให้นายบุญรอด แขนอ่อน กับนายชื่น บ้านท่าไข่ ชึ่งเป็นมิตรสหายกับนาย ทองอยู่นกเล็ก ให้เข้าไปเจรจาเกลี้ยกล่อมโดยดี ให้มาอ่อนน้อมเสียดีกว่า นายทองอยู่นกเล็ก พิจารณาเห็นว่าจะสู้รบปรบมือไม่ไหว จีงอ่อนน้อมยอมเข้าด้วยมิได้ขัดขืน จากเอกสารบรรยายพระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช ของจังหวัดชลบรี กล่าวว่า "ตามพระราชพงศาวคาร วัดหลวงหรือวัดอินทาราม ก็คือวัดใหญ่อินทารามใน ปัจจุบันนั่นเอง วัดนี้ตั้งห่างจากจังหวัด ตามพระราชพงศาวดารว่าประมาณ ๘๐ เส้น " ที่ จังหวัดชลบุรีได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ในซุ้มใหญ่ มองเห็นเด่นชัด หน้าวัดใหญ่ อินทาราม จารึกไว้ว่า่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐาน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ วัดอินทาราม ชลบุรี เมึ่อนายทองอยู่นกเล็ก ได้กระทำสัตย์สาบานแล้ว เจ้าตากก็ขึ้นช้างส่งให้นายทองอยู่ นกเล็กนำเลียบเมือง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่ซาวเมืองทั้งหลาย ว่าเมืองชลบุรีนั้นเะนของเจ้า ตากแล้ว และเะนการป้องกันมิให้นายทองอยู่นกเล็กกลับสัตย์ด้วย นายทองอยู่นกเล็กได้พา ขุนหมื่นกรมการทั้งปวงมาแสดงความสวามิภักดิ์ เจ้าตากจึงได้ตั้งนายทองอยู่ให้เะนพระยา อนุราฐบุรีศรีมหาสมุทรครองเมืองชลบุรี และตั้งขุนหมื่นกรมการ ครบที่ตามตำแหน่งฐานา- นุศักดิ์ แล้วประทานรางวัลแก่พระยาอนุราฐบุรี เบ็นกระบี่บั้งเงินเล่มหนึ่ง เสื้อเข้มขาบคอก ใหญ่พื้นแดง ดุมทองเก้าดุม ตัวหนึ่ง เข็มขัดประดับพลอยสายหนึ่ง แล้วประทานโอวาท สั่งสอนว่า "แต่ก่อนท่านประพฤติการอาธรรมทุจริต ตั้งแต่นี้จงละเสียอย่าได้กระทำสืบต่อไป จึงตั้งใจประพฤติกุศลสุจริตธรรม ให้สมควรแก่ถานาศักดิ์ แห่งท่าน พึงอุตสาหะทำนุบำรุง สมณาพราหมณาประชาราษฎร์โดยยุติธรรม" แล้วประทานเงินตราสองชั่ง ไว้สำหรับให้ สงเคราะห์สมณพราหมณาประชาชนผู้ยากไร้ขัดสนด้วยข้าวปลาอาหาร แล้วสั่งพระยาอนุราฐบุรี ว่า่ถ้า้ผู้ใดจงใจจะมาอยู่ในสำนักท่าน ท่านจงโอบอ้อมอารีเลี้ยงดูไว้อย่าได้เบียดเบียนบีฑา ถ้าผู้ใคมีใจสวามิภักดิ์สมัครจะตามเราออกไป ท่านอย่าได้มีใจอิสสา จงกรุณาอย่าขัดขวาง ช่วย ส่งผู้นั้นออกไปให้ถึงสำนักเราโดยสะดวก อย่าให้เะนเหตุการณ์สีงใดได้ และท่านจงบำรุงพระ พุทธศาสนา อนุเคราะห์แก่อาณาประชาราษฎรให้ทำมาหากินอยู่ตามภูมิลำเนา อย่าให้มีโจร ผู้ร้ายเบียดเบียนแก่กันได้ " แล้วเจ้าตากก็เลิกทัพกลับไปเมืองระยอง ฝ่า่ยพระยาจันทบุรีที่ไม่ยอมไปพบเจ้าตากตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ เนื่องจาก ขุนรามหมื่นช่องชึ่งแตกหนีเจ้าตากมาจากเมืองระยอง ยุยงให้กำจัดเจัาตากเสีย แล้วพระยา จันทบุรีก็จะได้เะนใหญ่ต่อไป พระยาจันทบุรีเชี่อถือเห็นจริง และไม่ได้ออกไปรับเจ้าตาก คาดว่าเจ้าตากคงขัดเคืองและจะหาเหตุยกลงไปตีเมืองจันทบุรี จึงปรึกษาขุนรามหมึ่นช่องว่าทื่จะ รบพุ่งเจ้าตากชึ่ง ๆ หน้านั้นยากนัก ด้วยเจ้าตากมีผู้มือเข้มแข็งทั้งรี้พลทหารก็เคยทำศึกเชี่ยวชาญ ในการรบ ฉะนั้นต้องสู้กันด้วยกลอุบายจึงจะมีหวังเอาชนะได้ จึงให้ตกแต่งป้อมค่ายประคูหอรบ เอาปืนใหญ่น้อยขึ้นตั้งรายไว้รอบเมือง ตระเตรียมการพร้อมแล้ว ก็ครองอุบายเห็นชอบพร้อม กันที่จะล่อเจ้าตากให้เข้าไปในเมืองเสียก่อนแล้วจะได้ทำการกำจัด จึงนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป ให้เะนทูตไปเชิญเจ้าตากมาสู่จันทบุรี (พระสงฆ์คงไม่ทราบแผนการนี้ จึงได้ออกมา-ผู้เรียบ เรียง) พระสงฆ์ทั้ง ๔ รูป พากันไปเฝ้าเจ้าตากที่เมือองระยอง แต่ขณะนั้นเจ้าตากยังอยู่ เมืองชลบุรี จึงต้องรอคอยอยู่จนเจ้าตากกลับมาถึง ก็เข้าไปชี้แจงว่า พระยาจันทบุรีมีความ เจ็บแค้นด้วยข้าศึกมาย่ำยีกรุงศรีอยุธยา เต็มใจที่จะช่วยเจ้าตากปราบยุคเข็ญ ให้บ้านเมือง เะนสุขสำราญดังแต่ก่อน เห็นว่าที่เมืองระยองเะนเมืองเล็กจะเอาเะนที่รวบรวมกองทัพใหญ่ นั้นยาก ขอเชิญเจ้าตากไปตั้งที่เมืองจันทบุรีอันเะนที่มีเสบียงอาหารบริบูรณ์ จะได้ปรึกษา กันตระเตรียมกองทัพที่จะเข้าไปรบพุ่งพม่าตีเอากรุงศรีอยุธยาคืนมาจากข้าศึกให้จงได้ เจ้าตาก ได้ ทราบความตามถ้อยคำพระสงฆ์ทูตก็ยินดี ให้หยุดพักรี้พลพอหายเหนื่อยแล้ว ก็ให้พระสงฆ์ นำทางไปเมืองจันทบุรี เมื่อไปถึงที่บางกระจะหัวแหวน (เดี๋ยวนี้เรียกบางกะจะตำบลหนึ่ง เขา พลอยแหวนตำบลหนึ่ง อยู่ไม่ห่างกัน แต่โบราณเรียกรวมกันว่า บางกะจะหัวแหวน) ห่าง เมืองจันทบุรีประมาณ ๒๐๐ เส้น (๘ กิโลเมตร) พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดมารับและบอก ว่าพระยาจันทบุรีได้จัดที่ไว้ให้ ตั้งทำเนียบที่พักที่ริมน้ำฟากตรงข้ามเมืองทางด้านใต้ เจ้าตากก็สั่งกองทัพให้ยกตามหลวงปลัดไป แต่ยังไม่ทันจะถึงเมืองจันทบุรี ก็มี นายทหารชนขุนหมึ่นผู้หนึ่งชึ่งไม่เห็นด้วยกับแผนการอันสกปรกนี้ นำความไปรายงานให้เจ้า ตากทราบ ขณะที่นำทัพเข้าสู่ชานเมืองจันทบุรี ว่าพระยาจันทบุรีคบคิคกับขุนรามหมื่นช่อง เรียกระดมคนเตรียมไว้ในเมืองจะโจมตีเจ้าตากเมื่อเวลากำลังข้ามน้ำ เจ้าตากจึงให้รีบไปห้าม กองทัพมิให้ตามหลวงปลัดไป แต่ให้เลี้ยวกระบวนไปทางเหนือ ไม่ข้ามฟากน้ำผ่านบ้านชะมูล ตรงไปประตูท่าช้าง ตั้งที่วัดแก้ว ห่างประตูท่าช้างเมืองจันทบุรี ประมาณ ๕ เส้น (๒๐๐ เมตร) (วัตแก้วเะนวัดเก่า ตั้งอยู่ในค่ายทหารปัจจุบัน ค่า่ยตากสิน จังหวัดจันทบุรี ขณะ นี้ได้ปรักหักพัง ไม่มีซากเหลือให้เห็นแล้ว) พระยาจันทบุรีเห็นเจ้าตากไม่ข้ามฟากไปตามแผนการของคน ซ้ำกลับมาตั้งชุมนุม พลอยู่ที่หน้าประตูเมืองก็ตกใจมาก จีงรีบสั่งให้ไพร่พลขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทิน แล้วให้ขุนพรหม ธิบาล พระทำมะรงพอน นายลิ่ม นายแก้วแขก นายเม้แขก ออกไปพบเจ้าตากขอเชิญให้ เข้าไปพบพระยาจันทบุรีที่ใ่นเมือง เจ้าตากจึงส่งขุนพรหมธิบาล ให้กลับไปบอกพระยาจันทบุรี ว่า เดิมพระยาจันทบุรีให้พระสงฆ์เะนทูตไปเชิญเราให้มาปรึกษาหารือ เพื่อช่วยกันคิดอ่านกู้ กรุงศรีอยุธยา เราเข้าใจว่าเะนการเชื้อเชิญโดยสุจริตจึงได้มาตามประสงค์ตัวเราเดิมก็ได้เะนเจ้า เมือง (กำแพงเพชร) ถือศักคินาหมึ่น มียศใหญ่เะนผู้ใหญ่กว่าพระยาจันทบุรี (เมืองกำแพงเพชร เะนชั้นหัวเมืองโท จันทบุรีเะนชั้นหัวเมืองตรี) ครั้นนมาถึงเมืองพระยาจันทบุรีก็มิได้ออกมาหาสู่ ต้อนรับตามฉันผู้น้อยกับผู้ใหญ่ กลับเรียกระคมคนเข้าประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินและคบหาขุน รามหมื่นช่องซึ่งได้ทำร้ายเราถึง ๒ คราวไว้เป็นมิตร พระยาจันทบุรีทำเหมือนหนึ่งว่าเะนข้า ศึกกับเราดังนี้ จะให้เราเข้าไปหาถึงในเมืองอย่างไร ถ้าจะให้เราเข้าไปก็ให้พระยาจันทบุรีออก มาหาเราก่อน หรือมิฉะนั้นก็จงส่งตัวขุนรามหมื่นช่องออกมา ให้มาทำสัตย์สาบานให้เราวาง ใจได้ก่อน ถ้าทำได้เช่นนั้นแล้วเราก็จะเห็นความสุจริตของพระยาจันทบุรี จะรักใคร่นับถือ เหมือนกับเะนพี่เะนน้องกันต่อไป ขุนพรหมธิบาลก็นำความมเข้าไปบอกพระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรีจึงใช้ให้พะทำร มะรงพอนกับคนมีชื่อทั้งนั้นกลับนำเอาอาหารออกมามอบให้ แล้วให้พระสงฆ์ ๔ รูปมาเจริญ พรพร้อมทั้งชี้แจงว่าพระยาจันทบุรีให้เชิญเข้าไปในเมือง เจ้าตากจีงตอบว่า "เมืองจันทบูร ไม่มีคฤหัสถ์ใช้แล้วหรือ จึงใช้แต่สมณะดังนี้ * . . ความเรื่องนี้ โยมก็ได้สั่งไปแก่ขุนพรหม ธิบาลแล้ว นิมนต์ผู้เะนเจ้าจงไปบอกแก่พระยาจันทบุรีว่า อ้ายขุนรามหมึ่นช่องมันยุยงพระยา จันทบูณ ๆ หนุ่มแก่ความ จะฟังถ้อยคำอ้ายเหล่านี้ก็จะเสียทีที่รักเอ็นดูกันถ้าพระยาจ้นทบูรตั้ง อยู่ในสัตย์ จะเะนมิตรไมตรีกันก็จงส่งขุนรามหมื่นช่องออกมาทำสัตย์ต่อโยมเถิด พระสงฆ์ ก็เจริญพรแล้วลากลับไปแจ้งข้อความแก่พระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรีจึงใช้หลวงปลัดออกมา บอกว่า่ "ซึ่งพระยาจันทบุรีจะไม่คงอยู่ในสัตย์สวามิภักดิ์นั้นหามิได้ จะใคร่ส่งขุนรามหมื่นช่อง ออกมาถวาย แต่คนทั้งสองนั้นกลัวพระอาชญาด้วยตัวเะนคนผิค เจ้าตากจึงกล่าวว่า่ พระยาจันทบูรมิได้ตั้งอยู่ในสัตย์ ไม่ยอมเะนไมตรีด้วยเรา แล้ว เห็นว่าขุนรามหมื่นช่องจะป้องกันเมืองไว้ได้ ก็ให้ตกแต่งบ้านเมืองให้มั่นคงเถิดเราจะตี เอาให้จงได้'' ผ่า่ยพระยาจันทบุรีเห็นว่ารี้พลของตนมีมากกว่าเจ้าตาก ก็ให้ปิดประตูรักษาเมือง มั่นคงไว้ ขณะนั้นความคับขันเะนของเจ้าตากมาก เพราะได้ถลำตัวเข้าไปตั้งอยู่ชานเมือง ข้าศึกในเมืองก็มีกำลังมากกว่า เะนแต่ว่าครั่นคร้ามเกรงผืมือไม่กล้ายกออกมาโจมตีซึ่งหน้า แต่ถ้าเจ้าตากล่าถอยออกไปเมื่อใดก็อาจจะออกล้อมไล่ตีสกัดได้หลายทาง เพราะเะนถิ่นของข้า ศึก เจ้าตากเห็นว่าถ้าขืนตั้งอยู่อย่างนั้นต่อไปก็ไม่มีเสบียงอาหารเหมือนหนึ่งคอยให้ศัตรูเลือก เวลาทำเราตามใจชอบ ประกอบกับเจ้าตากมีอุปนิลัยเะนนักรบ พิจารณาเห็นมีแต่ทางเดียว คือชิงเข้าตีข้าศึกก่อนจึงจะไม่เสียที จึงเรียกนายทัพนายกองมาสั่งว่า่"เราจะเข้าตีเมืองจันทบุรี ในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อ เสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่าวันนี้ก็จะตาย เสียด้วยกันให้หมดทีเดียว" ในลิลิตสากรุง ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า เ่จ้าตากทั้งทัพใกล้ มึประสาทสั่งให้ เรึยกพร้อมปฤกษา ฯ พระเชียงเงินยอดทหาร หลวงขำนาญไพรสณข์ อึกคนชายชาตรี นายบุญมีมหาดเล็ก หนึ่งขายเหล็กแรงยอด นายบุญรอคแขนอ่อน ขายกระฉ่อนนามใกร ขุนอภัยภักดี พิพิธวาทีอีกขุน คนคู่บุญภูวนัย หลวงพิขัยอาสา พรหมเสนาอีกหลวง แรงทลวงเริงฉกาจ ราชเสนหาหลวงหนึ่ง ซึ่งศัตรูเกรงขาม นักองค์รามเชี่ยวชาย นายทองดีนายแสง ล้วนเข้มแข็งรณรงค์ ทรงปรึกษากลศึก ขับศึกคึกคามนี้ เห็นไฉนให้ชี้ ช่องเข้าเอาชัย "อาหารวารน่ามื้อ สายัณห์ นี้แล เตรียมแต่ยังวันวัน เถิดน้อ มื้อนี้จะกินกัน ทึ่นึ่ อิ่มเสร็จสั่งต่อยหม้อ พรุงนี้ในเมือง นอกจากนั้นยังเห็นได้ว่าเจ้า่ตากมีความรอบคอบ มิได้ประมาทในการรบพุ่งและ สามารถกะกำลังช้าศึกได้ จันทบุรีมิใช่ ขำฉา ทีท่าปราการปรา กฏกร้าว ค่ายคูประตูธา นีมั่น คงนอ ฤๅฉะหลุบฟุบร้า่ว ฟาดล้มจมเลน ฯ ด้วยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของเจ้าตาก ซึ่งนายทัพนายกองต่างได้เคยเห็นอาญาสิทธิ์ จึงไม่มีใครกล้าขัดขืน และด้วยหลักจิตวิทยาที่เจ้าตากนำมาใช้ ได้สร้างกำลังใจอันห้าวหาญ เด็ดเดี่ยวให้แก่ไพร่พลทุกถ้วนหน้า ต่างมุ่งมั่น อยู่แต่จะต้องยึดเมืองจันทบุรีให้ได้ มิฉะนั้น คงจะต้องอดตาย พอตกค่ำ เจ้าตากก็กะเกณฑ์ทหารไทยจีนลอบชุ่มอยู่ให้คอยฟังเสียงปืนสัญญาณ เข้าปล้นเมืองให้พร้อมกัน ระวังอย่าให้มีเสียงอื้ออึงเะนอันขาด เมึ่อพวกไหนเข้าเมืองได้ก็ให้ โห่ร้องขึ้นเะนสำคัญเพื่อให้พวกด้านอื่นทราบ เมื่อตระเตรียมการพร้อมแล้ว พอได้ฤกษ์ เวลาดึก ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นช้างพังคีรีบัญชร โปรดให้หลวงพิชัยอาสา ทหารผู้ไว้ใจ ชุมพลทหารหน้าช้างพระที่นั่ง และสั่งให้ยิงปืนสัญญาณเข้า่ปล้นพร้อมกันทุกด้าน เจ้าตากก็ ขับช้างที่นั่งเข้าพังประตูเมือง พวกในเมืองระดมยิงบีนใหญ่น้อยออกมาเะนอันมาก นายท้ายช้าง เกรงว่าลูกปืนจะมาถูกเจ้าตากเะนอันตรายจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา เจ้าตากขัดใจชักดาบหันมา จะฟันนายท้ายช้าง นายท้ายช้างตกใจร้องขอชีวิตไว้ แล้วขับช้างเข้ารื้อบานประตูเมืองพังลง พวกทหารก็กรูกันเข้าเมืองได้ พวกในเมืองรู้ว่าเจ้าตากเข้ามาในเมืองได้แล้วก็ตกใจ ต่างละทิ้ง หน้าที่พากันแตกหนีกระจัดกระจาย ตัวพระยาจันทบุรีพาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทาย มาศ (พุทไธมาศ) เมื่อเจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ันั้นเะนวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ คะนช่วงระยะเวลา ทื่เสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว ๒ เดือน เจ้าตากเข้าเมืองจันทบุรีแล้ว ก็ให้เกลี้ยกล่อมผู้คน ให้กลับคืนมาสู่ภูมิลำเนาตามเคิม ได้แสดงความเมตตาปรานีให้เะนทื่ปรากฏอย่างกว้างขวาง มิได้ถือโทษผู้ที่ได้เะนศัตรูต่อสู้มาแต่ก่อน ครั้นจัดการบ้านเมืองจันทบุรีเรียบร้อยดังเดิมแล้ว จึงยกกองทัพออกจากเมืองจันทบุรีโดยทางสถลมารคไปเมืองตราด สั่งให้พระรามพิชัยกับหลวง ราชวรินทร์เะนแม่ทัพเรือ เรือประมาณ ๕๐ ลำยกไปทางทะเล ขณะเมื่อยาตราทัพบกยกไป ครั้งนั้น ด้วยเดชบารมีบันคาลฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน ตามระยะทางไปจนบรรลุถึงเมืองตราด พวกกรมการเมืองและราษฎรก็พากันเกรงกลัว ยอมอ่อนน้อมโดยดีทั่วกันทั้งเมือง ไม่มีใคร คิคต่อสู้เลย เมื่อเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเะนสุขแล้ว ได้ทราบข่าวว่าสำเภาจีน ลูกค้ามาทอดทุ่นอย่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ จึงให้ข้าหลวงไปพาตัวนายสำเภาเข้ามาโดยดี พวกจีนสำเภาก็หาฟังไม่ กลับระดมยิงกองเรือเจ้าตาก การต่อสู้คำเนินไปประมาณครึ่งวัน เจ้าตากก็สามารถยึดสำเภาจีนไว้ได้หมค ได้ทรัพย์สินและเครื่องบริโภคมาเะนกำลังกองทัพเะน อันมาก เจ้าตากจัดการเมืองตราดเะนที่เรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี นับแต่นั้นมาเจ้าตากก็มีอำนาจสิทธิ์ขาดตลอดหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งหมด ตระเตรียม การที่จะเข้ามาทำสงครามเพื่อกู้กรุงศรีอยธยาต่อไป ขณะที่เจ้าตากตีเมืองตราดได้นั้น ประจวบกับเะนฤดูฝน มรสุมลงทางทะเล ตะวันออก จำต้องหยุดยั้งการรบพุ่ง แต่เจ้าตากก็หาได้หยุดนิ่งอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ สั่งให้ ลงมือต่อเรือรบและรวบรวมเครึ่องศาสตราวุธยุทธภัณฑ์เอาไว้เพื่อแผนการกู้กรุงศรีอยุธยาจาก พม่าในฤดูแล้งหน้าต่อไป ทั้งนี้เพราะเจ้าตากพิจารณาเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างลึกซึ้ง ด้วยใน เวลานั้นมีผู้ตั้งตัวเะนใหญ่หลายหัวเมืองด้วยกัน ถ้าใครจะเะนใหญ่ให้ได้ทั่วประเทศจะต้อง ทำลายอำนาจพม่าที่มีอยู่ ในเมืองไทยให้ได้อย่างหนึ่ง และต้องปราบก๊กอื่นให้อยู่ในอำนาจอย่าง หนึ่ง ความคิคเห็นข้อนี้ก็คงคิดเหมือนกันหมดทุกก๊ก ผิดกันแต่กวามคิคจะทำการ พวกอื่น ยังมองไม่เห็นทางที่จะกระทำได้ หรือยังหวาดพม่าอย่จึงยังรั้งรอไว้ มีแต่เจ้าตากผู้เดียวที่เห็นว่า จะต้องรีบกระทำและกระทำให้เะนผลสำเร็จเด็คขาคก่อนที่ก๊กอึ่นๆ จะลงมือ ตามความคิคอันนี้ แม้รั้งรอไปก็กอื่นทำได้ก่อนก็ต้องเะนข้าเขา เจ้าตากจึงมุ่งหมายจะยกมารบพม่า ชิงเอากรุง ศรีอยุธยาอันเะนราชธานีให้ได้ก่อนก๊กอื่น เจ้าตากทุ่มเทกำลังกายกำลังใจให้ทหารและผู้คนที่เข้าร่วมสามิภักดิ์ต่อเรือด้วยความ ขะมักเขม้นจนสามารถ ต่อได้เบ็นจำนวนถึง ๑๐๐ ลำ รวบรวมกำลังเพิ่มเติมได้อีกเะนคนไทย จีนประมาณ๕, ๐๐๐ คน กับมีข้าราชการในกรุงศรีอยุธยา ได้หลบหนีพม่ามาร่วมด้วยอีกหลายคน เช่น หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก นายสุดจินคาหุ้มแพรมหาคเล็ก (ต่อมาได้เบึนกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑) เะนต้น ได้วางแผนกลยุทธที่จันทบุรี รวบรวม ศาสตราวธได้จำนวนมาก พร้อมทั้งเสบียงอาหารบริบูรณ์เพื่อที่จะดำเนินการกอบกู้เอกราช นับได้ว่าเมืองจันทบุรีและชาวจันทบุรีมีส่วนร่วมเกื้อกูลและเะนกำลังส่งเสริมเจ้าตากเะนอย่าง มากในการกู้ชาติไทยกลับคืนมาได้ในครั้งนี้ เพื่อระลึกถีงวีรกรรมของเจ้าตากและเพึ่อรำลึกว่าบรรพบุรุษชาวจันทบุรีจำนวน ไม่น้อยได้้เะนทหารร่วมไปในกองทัพของเจ้าตาก ทั้งดินแดนเมืองจันทบุรีนี้เะนพื้นที่ที่เจ้าตาก เคยใช้เะนที่รวบรวมไพร่พลตลอดจนตระเตรียมกองทัพไปทำการรบได้้รับความสำเร็จ ชาว จันทบุรีพร้อมด้วยผู้ที่มีจิตศรัทธาจึงร่วมแรงกายใจและกำลังทรัพย์ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ แห่งหนึ่งอยู่ บนเกาะกลางสวนสาธารณะ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเะนพระบรมรูปทรงม้าในท่ากระโจน ชูพระแสงดาบไปข้างหน้า มีทหารเอกขนาบข้างม้า ๔ นาย สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรม ราชานุสาวรีย์ ฯ อีกแห่งหนึ่งอยู่ในค่ายตากสิน บริเวณหน้ากองบังคับการ กองพันทหารราบ ที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ นาวิกโยธิน พระบรมรูปอยู่ในท่าประทับยืนบัญชาการรบ ลักษณะ ท่าทางเด็ดเดี่ยวจริงจังเห็นได้้จากพระพักตร์เครียด พระหัตถ์ขวาทรงชูพระแสงดาบไปยังที่ หมายของข้าศึก พระพักตร์ทรงหันไปตามพระหัตถ์ซ้าย แสดงพระอาการรับสั่งกับไพร่พล บริวารให้รับรู้ว่าต้องพร้อมที่จะปฎิบัติอย่างรีบเร่งรุดหน้าตามพระองค์บุกเข้าหาข้าศึก พระบรม ราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้เะนที่สักการบูชาของชาวจันทบุรี เหล่าทหารและ บุคคลทั่วไป ครั้นถึงเดือน ๑๑ นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นฤดูมรสุมแล้ว เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ได้ทราบขาวว่า นายทองอยู่ นกเล็ก ซึ่งเจ้าตากตั้งให้เะนพระยาอนุราฐ ฯ เจ้าเมืองชลบุรีกับหลวงพล ขุนอินเชียง ประพฤติ เป็นโจรให้สมัครพรรคพวกออกเที่ยวปล้นเรือลูกค้าและแย่งชิงเอาทรัพย์สมบัติของชาวบ้านเะน ที่เดือดร้อนยิ่งนัก มิได้ตั้งอยู่ในธรรมโอวาท ชึ่งมีพระประศาสน์สั่งสอนไว้ เจ้าตากชำระความ ได้้ว่าเป็นเรื่องจริง จึงให้ประหารนายทองอยู่ นกเล็กเสีย แต่นายทองอยู่ นกเล็ก คงกระพัน ในตัว แทงฟันหาเข้าไม่ เหตุด้วยสะดือเป็นทองแดง จึงให้พันธนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำเสีย ในทะเลก็ถึงแก่กรรม แล้วให้ประหารหลวงพล และขุนอินเชียง ชึ่งร่วมคิคกระทำโจรกรรม ด้วย เมึ่อจัดการเมืองชลบุรีเป็นที่สงบเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำสมุทร ปราการถึงกรุงธนบุรี ชึ่งขณะนั้นมีคนไทยที่เอาใจไปผูกฝ่ายข้างพม่ารักษาอยู่ ดังกล่าวไว้ใน ลิลิตสามกรุงว่า มาจะกล่าวบทถึง ทองอินกายใทยใจพม่า เป็นคนแคบสั้นปัญญา โอกาศวาสนาครานั้น เห็นขี้ว่าดีกว่าไส้ น้ำใจเติบโตโมหันต์ หมายกำอำนาจราขทัณฑ์ กำเริบเสิบสันแสนร้าย เข้าช่วยศัตรูขู่ข่ม ใด้สบอารมณ์สมหมาย พะม่ามอบให้เป็นนาย รักษาป้อมค่ายเมืองธน ส่วนนายทองอิน ซึงพม่าตั้งให้รักษากรุงธนบุรี รู้ว่าเจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามา ทางปากน้ำ ก็ให้คนรีบขึ้นไปบอกแก่สุกี้พระนายกอง แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเรียก ระดมพลขึ้นรักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ และหน้าที่เชิงเทินกรุงธนบุรี คอยที่จะต่อสู้ กับกองทัพ ของเจ้าตาก ผลที่สุดนายทองอินก็สิ้นชีวิตสิ้นชื่อคนไทยผู้ทรยศต่อชาติไทยดังคำประพันธ์ต่อ ไปนี้ ปางโยธินทร์ปิ่นทัพ สั่งสรรพพหลพลหาญ พยานเร่งเร้าเอาช้ย ผ่า่ยมอญไทย ในธน ต่างเถลือกถกหลบหลีก ปลีกจากตรอกออกทุ่ง ไม่รบพุ่งต่อต้าน ด้านนี้ผันนั้นผินศพ ทองอินบ่มิหึง ก็ลึงแดนป่า่ช้า ฟ้าเป็นเผือกเกลือกกลิ้ง หมาแย่งแร้งกาทึ้ง ปราศผู้สงสารฯ หมาเหม็นไม่มากแม้น นามเหม็น เน่ามนุษย์สุดเข็น โขดขั้น ฉินชื่อระบือเห็น หนถ่อย หน่ายเน่าเราพึงขยั้น ขยาดคร้ามนามเหม็น หลังจากพวกรี้พลไทยมอญที่รักษากรุงธนบุรี เห็นว่าเป็นกองทัพไทยด้วยกันยก มาก็ไม่เป็นใจที่จะต่อสู้ ทำการรบพุ่งกันเพียงเล็กน้อย เจ้าตากก็ตีได้้กรุงธนบุรี ประหารชีวิค นายทองอินที่มีใจเข้าข้างศัตรู แล้วก็เร่งกองทัพขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา ฝ่า่ยสุกี้พระนายกอง แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ได้้ทราบความจากคนที่นายทองอินให้ไปบอกข่าวไม่ทันไร พวก ที่แตกพ่ายไปจากกรุงธนบุรีก็ตามไปถึง บอกสุกี้ว่าเสียกรุงธนบุรีแก่เจ้าตากแล้วสุกี้ ทราบก็ตกใจ สั่งให้รีบเตรียมรักษาค่ายโพธิ์สามต้น เนื่องจากขณะนั้นเป็นเวลาฤดูน้ำ สุกี้ เกรงว่ากองทัพไทย จะขึ้นไปถึงเสียก่อนที่จะเตรียมต่อสู้พรักพร้อม จึงให้มองญ่าแม่ทัพรองคุมพลพวกมอญและไทย ที่ไปอยู่ด้วย ยกเป็นกองทัพเรือลงมาตั้งคอยสกัดต่อสู้ อยู่ที่เพนียด เจ้าตากยกขึ้นไปถึงกรุง ศรีอยุธยาเป็นเวลาค่ำ สืบทราบว่ามีกองทัพข้าศีก ยกมาตั้งคอยอยู่ที่เพนียด ไม่ทราบว่ามีกำลัง เท่าใดก็ยับยั้งอยู่ ฝ่า่ยพวกคนไทยที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่ารู้ว่ากองทัพที่ยกมาเป็นคน ไทยด้วยกันก็เกิดรวนเร จะหลบหนีบ้าง จะหาโอกาสมาเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้าง มองญ่าเห็น พวกคนไทยไม่เป็นอันจะต่อสู้ เกรงว่าจะพากันกบฏขึ้น จึงรีบหนีกลับไปค่ายโพธิ์สามต้นใน คืนนั้น พอรุ่งเช้าเจ้าตากทราบความจากพวกไทย ที่หนีพม่าไปเข้าด้วยว่า พม่าถอยหนีจาก เพนียดหมดแล้ว ก็รีบยกตามขึ้นไป ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นนี้มี ๒ ค่าย ตั้งข้างฟากตะวันออก ค่า่ยหนึ่ง ข้างฟากตะวันตกค่ายหนึ่ง ตัวสุกี้แม่ทัพอยู่ฟากตะวันตกค่ายนี้พม่ารื้อเอาอิฐตามวัด มาก่อกำแพงเชิงเทินมั่นคงมาแต่ครั้งเนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ มาล้อมกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นที่ มั่นของสุกี้ ต่อมา เจ้าตากยกตามมองญ่าขึ้นไปถึงค่ายโพธิ์สามต้นในเวลาเช้าก็ส่งให้ทหารเข้า ระดมตีค่ายพม่าข้างฟากตะวันออก พอเวลา ๙ นาฬิกา ก็ได้้ค่ายนั้น เจ้าตากจึงให้เข้ารักษาค่าย แล้วใหัทำบันใดสำหรับจะพาดปีนค่ายพม่า ข้างฟากตะวันตก เมื่อพร้อมเสร็จก็ให้พระยาพิพิธ พระยาพิชัย นายทหารจีนคุมกองทหารจีน ไปตั้งประชิดค่ายสุกี้ทางด้านวัดกลาง พอรุ่งเช้าก็ ใ้ห้กองทหารไทยจีนเข้าระคมตีค่ายสุกี้ พร้อมกันรบกันแต่เช้าจนเที่ยง กองทัพเจ้าตากก็เข้าค่าย พม่าได้ สุกี้แม่ทัพพม่าตายในที่รบมองญ่าแม่ทัพรองพาพวกไพร่พลที่เหลือหนีไปได้้บ้าง แต่ ที่จับได้้และที่เป็นคนไทยยอมอ่อนน้อมโดยคีนั้นเปนจำนวนมาก เจ้าตากใช้เวลาเพียง ๒ วัน เท่านั้นในการตีค่ายพม่า กู้เอากรุงศรีอยุธยาคืนมาได้้ เมื่อเจ้าตากมีชัยชนะพม่าแล้ว ได้ตั้งพักกองทัพอยู่ทื่ค่ายโพธิ์สามต้น บรรดาทรัพย์ สินและอาวุธที่พม่าริบมาจากคนไทยและยังมิได้ส่งไปเมืองพม่า ก็ตกเป็นของเจ้าตาก นอกจากนี้ ยังมีบรรดาข้าราชการไทยทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยที่พม่าจับไว้ได้้หลายคน ต่างเข้ามาเป็นพวกเจ้าตาก และบอกใหัทราบถึงที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) และบอก ว่ามีเจัานายฝ่า่ยในที่พม่าจับมาได้้ต้องกักขังอยู่ในค่ายนี้ ๘ พระองค์ เจ้าตากได้้ทราบก็มีใจสง- สาร สั่งให้รับเจ้านายเหล่านั้นไว้ชุบเลี้ยงต่อไป และให้ปลดปล่อยผู้คนที่พม่ากักขังไว้เสียสิ้น จับจ่ายทรัพย์สินสิ่งของเครี่องอุปโภคให้เบ็นการปลดเปลื้องทุกขเวทนาแล้วให้สร้างพระโกศกับ เครื่องประดับสำหรับงานพระบรมศพตามกำลังที่จัดได้้ ให้ขุดพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้น มาทำการถวายพระเพลิง และบรรจุพระอัฐิธาตุตามเยี่ยงอย่างพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมา ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมึ่อเจ้าตากทำการถวายพระเพลิงพระบรม ศพพระเจ้าเอกทัศน์เสร็จแล้ว คิดจะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยา ขึ้นเป็นราชธานีดังก่อน จึงขึ้นช้างตรวจดูพระราชวังและท้องที่ในพระนคร เห็นประสาทราชมนเทียรตำหนักใหญ่น้อย ทั้งอาวาส วิหารและบ้านเรือนชาวพระนครถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายเป็นอันมากคล้ายกับเป็น นครร้าง ก็สังเวชสลดใจ ดังบทประพันธ์ที่ว่า ปิ่นณรค์ทรงขับข้าง ทอดพระเนตรเวียงร้าง อีกทั้งวังโรยฯ ทรากตึกนึกน่าแค้น อิฐห์หักกากปูนแม้น ป่าช้า แห่งความ งามแฮ ปราสาทเคยผงาดฟ้า ยอดเยึ่ยมเอึ่ยมโอ่อ้า ฟุบเฟี้ยมเทียมธุลี พระสถูปพุทธรูปล้วน หล่นสลายปลายด้วน แม่นแม้นมารทำ ฯ อนิจจาธานั้นสิ้นกระษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปด้งไพรสณฑ์ แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง มโหรีปี่กลองจะก้องกึก จะโครมครึกเซ็งแซ่ด้วยแตรส้งข์ ดูพารานาคิดอนิจจัง ....................................................... กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้ ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย ในวันนั้นเจ้าตากได้เข้าไปพักแรม ณ พระที่นั่งทรงปืน อันเป็นท้องพระโรงที่ เสด็จออกข้างท้ายวังมาแต่ก่อน ได้เกิดนิมิตรในฝันดังคำโคลงต่อไปนี้ เ่ทวัญสรรเสกให้ ฝันเห็น ปรวสาทราชฐานเย็น อยู่ยง ภาพกรุงรุ่งเรืองเป็น ปรกฟ้า ทุกสิงยิ่งกว่าครั้ง เมื่อบ้านเมืองดี ดูเพลินเดินพิศพร้อม เพรียงไพบูลย์แฮ แปลกบ่มีคนใน ทึ่นอน จักไถ่จะถามใคร บ่ห่อน เห็นเฉย ทรงสกดอดอั้น อัดใว้ในทรวงฯ ขณะนั้นอดีตราชเจ้า จอมไทย ผู้ผดุงกรุงไกร . ก่อนกี้ เสด็จแสดงพระองค์ใน นิมิต นั้นนา เปล่งประวัจน์ชัดชี้ ช่องเชื้อ ชัยเฉลยฯ อ้าองค์ทรงเดชด้วย เดชะ แห่งสยามเทวะ แว่นฟ้า สัจวัจน์ประคัสติ์ประ เสริฐสุด จุงสฤดิ์กฤตย์กล้า เกริกด้าวดาวดึงษ์ฯ "ทรงฤทธิ์คิดสืบเส้น ไอศวรรษ์ สร้างนครอมรอัน อมิตรคร้าม ที่นรี่บ่ดีทัน เทียมที่ อื่นเลย จงอย่าอยู่ตูห้าม เหตุเอื้ออารีฯ อดีตราชประสาทสิ้น สุรศัพท์ พลันพระกายหายวับ แวบพื้น หลากสุดประดุจลับ แลบิด หมดนิมิตนิทร์พื้น ใฝ่ข้อความฝันฯ" ครั้นรุ่งเช้าเจ้าตากได้้เล่าความฝันนั้นให้ข้าราชการทั้งปวงฟัง แล้วกล่าวว่า "เดิมเราคิคจะปฏิสังขรณ์พระนครให้ดีดังเก่า แต่เมื่อเจ้าของเดิมท่านยัเังหวงแหนอยู่ฉนี้เรา ชวนกันไปสรางเมืองธนบุรีอยู่เถิด แล้วเจ้าตากก็ให้อพยพผู้คนลงมาตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงธนบุรี แต่นั้นมาและได้กระทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๙ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จ พระศรีสรรเพ็ชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่ประชาชนทั่วๆ ไปก็ยังนิยมขนานพระนาม พระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากไม่มีหลักฐานการเฉลิม พระนามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมึ่อแรกเสวยราชย์ ทั้งในเอกสารต่าง ๆ ยังขานพระนาม ไว้ต่าง ๆ กัน เช่น พระราชพงศาวคารกรุงธนบุรี ใช้ "พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว " บ้าง "พระเจ้าอยู่หัว" บ้าง และ " สมเด็จพระพุทธหน่อพุทธางกูร" บ้าง พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ใช้ "สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ เจ้า กรุงธนบุรี " จดหมายเหตุสมัยกรุงธนบุรีในสมุดไทยคำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภอักษรโต้ตอบ กรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช ๑๑๔๐ ใช้ พระศรีสรรเพชญ์สมเด็จพระบรม- ธรรมิกราชาธิราชพระเจ้ารามาธิบดี บรมจักรพรรคิบรมวรราชาธิบดินทรหริหรินทราดาธิบคี สวิบุลยคุณรุจิตร ฤทธิราเมศวรบรมธรรมิกราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศโลกะ เชษวิสุทธมกุฏปรเทศตามหาพุทธังกูรบรมนารถบรมบพิตร" พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถ อิศวรบรมนารถบรมบพิตร" และ่ "พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตร" เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางราชการได้้กำหนดพระนามว่า่ สมเด็จ พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี'' ความละเอียดปรากฏตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่า่ย บริหาร ที่ พว. ๔๘๒๔/๒๔๙๗ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๙๗ เรื่องถารเปิดพระบรมรูปสมเด็จ พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี การเสด็จขึ้นครองราชย์ของเจ้าตากนั้น ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชี้ ชัดว่าเมึ่อใด แต่พิเคราะห์ตามเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แล้ว เจ้าตากยึดกรุงศรีอยุธยาคืน จากพม่าได้้เมึ่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ กว่าจะจัดการพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และ จัดการปลดปล่อยเจ้านายและชาวไทยที่ถูกจับกุม กว่าจะทำนุบำรุงให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ค่อยสุข สบายขึ้น รวมทั้งย้ายกรุงมา ณ กรุงธนบุรี เวลาทื่เจ้าตากจะปราบคาภิเษกขึ้นปกครองประเทศ ก็ย่อมต้องล่วงถึงปี พ.ศ. ๒๓๑๑ เป็นแน่นอน ประกอบกับมีเอกสารชนต้นหลายฉบับยืนยันว่า ปี พ.ศ. ๒๓๑๑ เบ็นปีที่เจ้าตากได้้ราชสมบัติ เช่น จดหมายเหตุโหร ในประชุมพงศาวคาร ภาคที่ ๘ ว่า "ปีชวดจุลศักราช ๑๑๓๐ ฯ ........ ณ วัน ๓ ๑ ค่ำ เวลาเช้าโมง ๑ แผ่นคินไหว ปีนี้เจ้าตากได้้ราชสมบัติ อายุ ๓๔ ปี" ๔ จดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ ว่า่ (แผ่นดินกรุงธนบุรี) บีชวด จ.ศ. ๑๑๓๐ พระยาตาก........ จดหมายเหตุของพวกคณะบาทหลวงฝรั่งเศสชึ่งเข้ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอน แผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ กับครั้งกรุงธนบุรี และครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาค ๖ ใน ประชุมพงศาวคาร ภาคที่ ๓๙ มองชิเออร์คอร์ เขียนจดหมายเล่าแก่มองเชนเยอร์บรีโกต์ว่า "เมึ่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม ปีนี้ (๒๓๑๑) ข้าพเจ้าได้้มาถึงบางกอก " และ "เ่มื่อข้าพเจ้า ได้้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ได้ัทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี...." นายสวนมหาดเล็กได้้แต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ยืนยันการปราบดาภิเษกว่า ใครอาจอาตมตั้ง ตัวผจญ ได้ฤๅ พ่ายพระกุศลพล ทั่วท้าว ปราบดาลิเษกบน ภัทรบิฐ บัวแฮ สมบัติสมบูรณ์ด้าว แด่นฟ้ามาปาน แม้จะยุติ ได้้ว่าเจ้าตากปราบดาภิเากปกครองประเทศสยามโดยทรงสถาปนากรุงธน- บุรีเป็นราชธานี ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ แต่เนี่องจากไม่อาจสืบค้นหาวันเดือน ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้้ ทางราชการจึงกำหนดเอาวันเสด็จออกขุนนางวันแรกสุด เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชึ่งปรากฏรายละเอียดในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า ๑ " ณ วัน ๓ ๑ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก เพลาย่ำค่ำแล้ว ทุ่มหนึ่ง มีจันทรุปราคาคาย ฯ ฯ " ณ วัน ๓ ๑ เพลาเช้าโมงเศษ เสด็จออกขุนนาง ตรัสประภาษเนื้อความจีนเส็ง ๔ ซื้อทองพระพุทธรูปลงสำเภา พระราชสุจริตปรารภตั้งพระอุเบกขาพรหมวิหาร เพึ่อจะทะนุ บำรุงพระบวรพุทธศาสนาและอาณาประชาราษฎรนั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นช้านาน ฯ วัน ๓ ๑ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก หรือวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จ.ศ. ๔ ๑๑๓๐ บีชวดนี้ครงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคค เมื่อวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๙ ค่า จ.ศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระชนมายุ ๔๘ พรรษารวมสิริราช สมบัติ ๑๕ ปี นอกจากงานกู้ชาติก่อนครองราชย์แล้ว ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ที่สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ครองราชสมบัติ เป็นระยะเวลาที่ชาติบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากพม่า ประชาชน ยังระส่ำระสาย ประกอบกับสภาพบ้า่นเมืองที่ถูกข้าศึกเผาผลาญ ทำลายปรากฏให้เห็นอยู่ ทั่วไป ก็ยิ่งก่อให้เกิคความเศร้าโศกสะเทือนใจจนแทบจะไม่อาจหาสิ่งใดมาลบล้างความรู้สึกสลดหดหู่ นั้นได้ ซ้ำความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังจารึกอยู่ในความทรงจำ คอยเป็นที่เปรียบเทียบอยู่ตลอด เวลา สภาพจิตใจของชาวไทยขณะนั้นจำเป็นที่ผู้ปกครองบ้านเมืองจะต้องสร้างเสริมสิ่งบำรุงขวัญ อย่างรวคเร็วที่สุดที่จะทำได้ ซ้ำข้าศึกศัตรูจากภายนอกประเทศต่างก็คอยหาโอกาสจะเข้ารุกราน ด้วยเห็นว่าไทยอยู่ ในระยะเวลาทิ่เปลื่ยนแผ่นดินใหม่ และยังไม่ฟื้นตัวจากความบอกช้ำจาก สงครามคราวเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชึงทรงมีพระราชภาระ อันหนักอึ้งตลอดรัชกาลของพระองค์ ดังจะได้้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านเป็น ๒ ค้าน คือ ๑. การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ๒. การฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ในระยะเวลา ๓ ปีแรกที่ครองราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องทรงใช้ เวลาส่วนมากเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง วางแผนการรบ และถ้าเป็นการรบที่สำคัญ พระองค์มักจะเสด็จเเข้าสู่สนามรบด้วยพระองค์เอง ทรงปราบปรามชาวไทยซึ่งยังคงแตกแยก เป็นชุนนุมหรือเป็นก๊กเป็นเหล่า จนสามารถรวบรวมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ ต่อจากนั้น ก็ต้องทรงทำสงครามกับชาติอื่นๆ เช่น พม่า กัมพูชา เป็นต้น ผลของสงครามเหล่านี้ ส่วนมากเป็นผลดีแก่ประเทศไทย เชน่ ได้ดินแดนกว้างขวางขึ้น และทำให้พม่าเกิดความรู้สึก ว่าไม่สามารถจะรุกรานประเทศไทยได้โดยง่าย ๑. การรวบรวมชุมนุมต่าง ๆ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว คนไทยก็ตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ตามภาคต่างๆ สมเด็นพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงดำริว่าถ้าปล่อยให้แตกแยกกัน บ้านเมืองก็จะไม่มีความมั่นคง เมืองไทยจะต้องรวมกันเป็นปึกแผ่นเช่นเดิม แต่เนื่องจากหัวหน้าของชุมนุมเหล่านั้นต่างต้อง การเป็นอิสระ เป็นใหญ่ในแผ่นดิน การชักชวนจึงไม่มีผลนอกจากจะต้องใช้กำลัง ดังนั้น พระองค์จึงต้องยกกองทัพไปปราบปรามตามลำดับเวลาก่อนหลังดังนี้ ๑) ชุมนุมพระยาพิษณุโลก หัวหน้าคือเจ้าเมืองพิษณุโลก เดิมชึ่อ เรือง ใน ระหว่างสงครามได้แสดงฝีมือต่อต้านพม่าชนะจนเป็นที่นิยมของพลเมือง เมื่อกรุงศรีอยุธยา แตกจึงตั้งตัวเป็นอิสระ ประชาชนเมืองใกล้เคียงก็มาสวามิภักดิ์อยู่ด้วยมาก ในปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จยกกองทัพพร้อมด้วยเครื่อง สรรพาวุธทั้งทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก ถึงตำบลเกยชัย เจ้าพระยาพิษณุโลกทราบ ข่าวศึก จึงให้หลวงโกษายกกองทัพลงมาตั้งรับ รบกันเป็นสามารถ สมเด็จพระเจ้าตากสินย มหาราชทรงนำหน้าทหารเข้าสู้รบเช่นเคย และถูกยิงที่พระชงฆ์ข้างซ้าย จึงต้องถอยทัพกลับคืน มายังกรุงธนบุรี เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงคิดกำเริบใจ ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แต่อยู่ประมาณ ๗ วัน ก็ยังเกิดวัณโรคขึ้นในคอถึงพิราลัย พระอินทรอากรผู้น้องก็กระทำฌาปนกิจศพเสร็จแล้วก็ได้ ครองเมืองพิษณุโลกสืบไป แต่ไม่มีความสามารถเท่าพี่ชาย คนจึงเสื่อมความนิยม ในที่สุด ชุมนุมเจ้าพระฝางมาตีเอาไปรวมกันได้ ในการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมพิษณุโลกไม่ส่าเร็จ ทำให้ ทรงได้ความคิดว่าไม่ควรรบกับชุมนุมใหญ่ก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงมุ่งไปหาชุมนุมเล็ก คือ ชุมนุมเจ้าพิมาย ๒) ชุมนุมเจ้าพิมาย หัวหน้าคือกรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสของพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ เคยคิคร้ายต่อพระเจ้าเอกทัศน์จึงถูกเนรเทศไปลังกา เมี่อได้้ข่าวลือว่ากรุง ++++++++++++++++++++++++45++++++++++++++++++ ศรีอยุธยาแตกก็กลับมา แต่บังเอิญในขณะนั้นพม่ายังเพียงแต่ล้อมอยู่ จึงถูกจับกุมขังไว้ที่เมือง มะริด ต่อมาเมืองมะริดเสียแก่พม่าก็หนีไปเมืองเพชรบุรี และในที่สุดถูกส่งไปขังไว้ที่เมือง จันทบุรี กรมหมื่นเทพพิพิธได้ชักชวนคนไทยให้มาช่วยกันรบพม่า และได้นำทหารมาจนถึง เมืองปราจีนบุรี แต่สู้พม่าไม่ได้จึงหนีขึ้นไปทางเมืองนครราชสีมา และได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ ขึ้นที่พิมาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสืบทราบว่า มองญ่า ปลัดทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์ สามต้น (แม่ทัพรองของเนเมียวสีหบดี) ได้หนีไปเข้ากับกรมหมื่นเทพพิพิธ จึงทรงยกทัพไปตี เมืองพิมาย หมายกำจัดพวกพม่าให้สูญสิ้นไปจากเมืองไทยเสียก่อน โปรดให้จัดกองทัพเป็น ๒ กองทัพ ยกไปเป็นสองทาง คือ ให้พระยามหามนตรี (นายสุดจินดา) และพระราชวรินทร์ ยกไปทัพหนึ่ง ส่วนพระองค์ทรงคุมทัพกลวง ยกไปอีกทัพหนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบข่าวจึงให้เตรียมรับมือ โดยแต่งทัพเป็น ๒ กองทัพ เช่นกัน ให้พระยามหามนตรี (เสา) มองญ่าปลัดทัพของสุกี้ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ คุมมา ทัพหนึ่ง ตั้งอยู่ ณ ด่านจอหอ ส่วนอีกทัพหนึ่งให้พระยาวรวงศาธิราชคุมไปตั้งสกัดทัพ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชที่ด่านกระโทก ข้างใต้เมืองนครราชสีมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพมาถึงด่านจอหอนครราชสีมา ก็พอกับทัพ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้้รบพุ่งกันเป็นสามารถ และตัทัพนครราชสีมาแตกพ่าย จับได้ตัว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ มองญ่า และมหามนตรี(เสา) ฆ่าเสียทั้งสามคน ส่วนทัพของพระราชวรินทร์และพระมหามนตรี ได้รบกับทัพพระยาวรวงศา ธิราช สู้รบกันอยู่หลายวันก็ตีค่ายทัพนครราชสีมาได้ พระยาววงศาธิราชนายทัพหนีไปอยู่ที่ เมืองเสียมราฐ แดนกัมพูชา กรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบว่าทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่กองทัพสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชแล้ว ก็ตกใจกลัวไม่คิดจะต่อสู้ พาครอบครัวหนีออกจากเมืองพิมายจะไปอยู่ ณ เมืองศรีสัตนาคนหุต แต่ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามไปจับตัวมาได้ สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชทรงเกรงว่าถ้าไว้ชีวิตต่อไป กรมหมื่นเทพพิพิธจะอ้างเอาราชตระกูลมาบังหน้า ซ่องสุมผู้คนก่อความยุ่งยากขึ้นอีกได้ จึงให้ปลงพระชนม์เสีย แล้วปูนบำเหน็จความชอบ แม่ทัพนายกอง หัวหน้า เช่น พระราชวรินทร์ได้เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จาววางพระตำรวจ ฝ่ายขวา พระมหามนตรีได้เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย และขุนชนะ ได้เป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา แล้วจึงทรงเลิกทัพกลับกรุงธนบุรี ๓) ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช หัวหน้าคือเจ้าครองนครศรีธรรมราช ซึ่ง เรียกกันว่าเจ้านครฯ การปราบปรามครั้งนี้ต้องใช้ทหารเป็นอันมาก และยังต้องส่งทหารไป ทั้งทางบกและทางเรือ ต้องใช้เวลานานจึงสามารถปราบปรามได้สำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้้โปรดให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยายมราช พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรี เป็นนายกองคุมกองทัพพล ๕,๐๐๐ คน ยกไปทางบก ราวเดือน ๕ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๑๒ ถึงเมืองชุมพร เมืองไชยา พวกกรมการเมือง ทั้งสองเข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดี จึงไม่ต้องทำการรบพุ่ง คงยกทัพเลยไปยังเมืองนครศรีธรรม- ราช ข้ามแม่น้ำตาปีไปถึงท่าหมาก พบกับทัพของเจ้านครฯ ตั้งสกัดอยู่ จึงยกเข้าโจมตี แต่ เนื่องจากแม่ทัพนายกองไม่สามัคคีกัน ต่างคนต่างยกเข้าตีคนละครั้ง ไม่พร้อมเพรียง จึงเสียที แก่ข้าศึก เป็นเหตุให้พระยาศรีพิพัฒน์และพระยาเพชรบุรีเสียชีวิตในที่รบ หลวงลักษมาณา บุตรเจ้าพระยาจักรีถูกจับไปได้ เจ้าพระยาจักรีจึงสั่งให้กองทัพถอยร่นลงมาตั้งหลักอยู่ที่เมือง ไชยา พระยายมราชเห็นเช่นนั้น จึงมีใบบอกกล่าวโทษเข้ามายังกรุงธนบุรีว่า เจ้าพระยา จักรีไม่เป็นใจสู้รบข้าศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราชดำริว่ากำลังเมืองนครศรีธรรมราช เข้มแข็ง ลำพังแต่แม่ทัพนายกองที่ยกไปทางบกเห็นทีจะเอาชนะได้ยาก พอถึงเดือน ๘ หรือ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๑๒ ซึ่งเป็นฤดูฝน พระองค์ก็เสด็จกรีธาทัพไปทางเรือ มีจำนวนพล ๑๐,๐๐๐ คน ยกไปสมทบตีเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เข้าตีเมืองพร้อมกันทั้งทัพบกและ ทัพเรือ ฝ่ายเจ้านครฯ คิดว่าทัพจากกรุงธนบุรียกลงมาแต่เพียงทางบกทางเดียวจึงมิได้คิด อ่านป้องกันทางน้ำ ครั้นทราบว่ากองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกจู่โจมเข้ามา ถึงปากพญาอันเป็นปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ เจ้านครฯ ก็ตกใจรีบเกณฑ์ผู้คนแล้วให้อุปราชจันทร์ยกพลลงมาสกัดทัพเรือ สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช อยู่ที่ท่าโพธิ์อันเป็นท่าขึ้นเมือง ห่างเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ ๓๐ เส้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกเข้าตีค่ายท่าโพธิ์แตก จับตัวอุปราชจันทร์ได้เจ้านครฯ ก็ สิ้นความคิดที่จะต่อสู้ จึงทิ้งเมืองพาญาติวงศ์หนีลงไปเมืองสงขลา ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช จึงยกเข้าเมืองได้โดยง่าย ทางด้านกองทัพบกซึ่งเจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพและมีพระยายมราชเป็นแม่ทัพหน้า ตีค่ายข้าศึกได้ที่ท่าหมาก แล้วยกต่อมาถึงค่ายเขาหัวช้าง ไม่ทันได้สู้รบกัน พวกข้าศึกทราบ ว่าเมืองนครศรีธรรมราชแตกแล้วจึงถอยไป เจ้าพระยาจักรีก็รีบยกกองทัพไปยังเมืองนครศรี- ธรรมราช ปรากฎว่าไปถึงหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินได้เมืองแล้วถึง ๘ วัน พระองค์ จึงทรงกริ้วมาก มีรับสั่งให้ภาคทัณฑ์โทษที่มาไม่ทันตามกำหนดและให้เจ้าพระยาจักรีกับพระ ยาพิราชราชาคุมกองทัพเรือลงไปตามจับตัวเจ้านครฯ เป็นการแก้ตัว เจ้าพระยาจักรียกทัพไปถึง เมืองสงขลา ทราบว่าพระยาพัทลุงกับหลวงสงขลา ได้พาเจ้านครฯ หนีลงไปทางใต้ ครั้นติด ตามไปถึงเมืองเทพาอันเป็นเมืองขึ้นของเมืองสงขลาอยู่ต่อกับแดนเมืองมลายู ได้ข่าวว่าเจ้านครฯ หนีเข้าไปอยู่ในเขตเมืองปัตตานี จึงมีหนังสือถึงสุลต่านเมืองปัตตานีให้ส่งตัวเจ้านครกับพวก มาให้ สุลต่านเมืองเกรงกลัวกำลังกองทัพไทยจึงจับตัวเจ้านครฯ พระยาพัทลุง หลวงสงขลา เจ้าพัด เจ้ากลาง กับทั้งบุตรภรรยาส่งมอบให้แต่โดยดี เจ้าพระยาจักรีจึงนำตัวคนเหล่านั้น มามอบถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งขณะนั้นเสด็จยกทัพหลวงไปตั้งอยู่ ณ เมือง สงขลา พวกลูกขุนปรึกษาโทษเจ้านครฯ ถึงสิ้นชีวิต แต่พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ดำรัส ว่าเวลาบ้านแตกเมืองเสีย ต่างคนต่างตั้งตัวหมายจะเป็นใหญ่ด้วยกัน เจ้านครฯ ยังไม่เคยเป็น ข้ามาแต่ก่อน ที่รบพุ่งต่อสู้จะเอาเป็นความผิดไม่ได้ ครั้นจับตัวมาได้เจ้านครฯ ก็อ่อนน้อมยอม จะเป็นข้าโดยดี ควรเอาตัวไปรับราชการที่ในกรุง แล้วโปรดตั้งพระเจ้าหลานเธอ เจ้านรา- สุริยวงศ์ไว้ครองเมืองนครฯ ให้พระยาราชราชสุภาวดีและพระศรีไกรลาศอยู่ช่วยราชการ พอถึง เดือน ๔ ปลายปีฉลู เอกศพ (พ.ศ. ๒๓๑๒) จึงเสด็จยกพยุหโยธาทัพเรือกลับคืนยังกรุงธนบุรี ๔) ชุนนุมเจ้าพระฝาง หัวหน้าเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี (ใกล้จังหวัดอุตรดิตถ์) เป็นคนมีสติปัญาและคุณความดีจนได้เป็นราชาคณะที่เมืองนี้ มีผู้คน นับถือว่ามีเกียรติคุณทางวิทยาคม คล้ายผู้วิเศษ ยิ่งเมื่อยกทัพมาตีรวมเอาชุมนุมพิษณุโลกได้ ด้วยก็ยิ่งเป็นชุนนุมที่เข้มแข็งที่สุด มีอำนาจครอบคลุมหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในขณะนั้น ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปรารถว่า จะยกทัพไป ปราบชุมนุมพระเจ้าฝาง ก็มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้เกณฑ์กองทัพลาดตระเวณ ตีเอาข้าวปลาอาหารและเผาบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จนถึงเมืองอุทัยธานีและเมืองชัยนาทเป็น ทำนองจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงตรัสสั่งให้จัดเตรียมทัพ ขึ้นไป ตีหัวเมืองเหนือ เป็นสามทัพ ยกออกจากกรุงธนบุรีเมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๑๓ ทัพที่ ๑ พระองค์เสด็จเป็นแม่ทัพโดยกระบวนเรือเป็นทัพหลวงจำนวนพล ๑๒,๐๐๐ คน ทัพที่ ๒ ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพ มีทหาร ๕,๐๐๐ คน ยกขึ้นไปทางบกข้าฟากตะวันออกลำ น้ำแควใหญ่ ทัพที่ ๓ ให้พระยาพิชัยราชายกรี้พล ๕,๐๐๐ คนไปทางบกข้างฟากตะวันตก ทางเจ้าพระฝางก็จัดกองทัพใหญ่ให้หลวงโกษาเป็นแม่ทัพยกมาตั้งรับที่เมือง พิษณุโลก ถึงวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ กองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกมาถึงก็ตรัสสั่งให้เข้าโจมตี ได้เมืองพิษณุโลกในค่ำวันนั้น ทัพหลวงโกษาไม่อาจต้านทานได้ แตกพ่ายหนีไปเมืองสวางคบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ให้พักพลรอทัพบกทั้งสองที่ยัง ยกมาไม่ถึง ครั้นกองทัพทั้งสองมาพร้อมกันแล้วก็ตรัสสั่งให้ยกติดตามหลวงโกษาไปยังเมือง สวางคบุรี ล้อมเมืองสวางคบุรีได้เพียง ๓ วัน เจ้าพระฝางเห็นเหลือกำลังจะสู้ก็พาพลพรรค ตีฝ่าหนีออกไปทางเหนือ กองทัพพระยายมราชและพระยาพิชัยราชาตามจับไม่ทัน คงได้แต่ ช้างเผือกนำมาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้วก็ได้ อาณาเขตหัวเมืองทางเหนือไว้ทั้งหมด ไทยจึงมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเท่าอาณาเขตเดิมครั้ง กรุงศรีอยุธยา ในครั้งนี้ได้ทืรงพระกรุณาโปรดตั้งแม่ทัพนายกองที่มีความชอบในการสงคราม ให้อยู่ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น พระยายมราช เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราชอยู่สำเร็จ ราชการเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองเอกมียษสูงกว่าเสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ มีไพร่พล ๑๕,๐๐๐ คน พระยาพิชัยราชาเป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลกมีไพร่พลเมือง ๗,๐๐๐ คน พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นพระยาพิชัย มีไพร่พลเมือง ๙,๐๐๐ คน พระยาท้ายน้ำ เป็นพระยาสุโขทัย มีไพร่พลเมือง ๕,๐๐๐ คน พระยาสุรบดินทรเป็นพระยากำแพงเพชรมีไพร่ พลเมือง ๓,๐๐๐ คน และพระยาอนุรักษ์ภูธรเป็นพระยานครสวรรค์ มีไพร่พลเมือง ๓,๐๐๐ คนเศษ ส่วนเจ้าพระยาจักรีแขกนั้นมิได้แกล้วกล้าในการสงครามจึงให้ทรงถอดเสียจากที่สมุห- นายก คงให้เป็นแต่เจ้าพระยาจักรี แล้วทรงตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ (พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นพระยายมราช ว่าราชการที่สมุหนายก เมื่อทรงตั้งผู้สำเร็จราชการทาง เหนือเรียบร้อยแล้ว ก็ทรงยกทัพหลวงกลับคืนกรุงธนบุรี "อยุธยาเยินยับแล้ว รังไฉน เล่านอ แม้กจัดกจายไทย ทั่วหล้า จักกอบจะก่อไอ ศวรสฤษดิ์ ได้ฤๅ หากว่าแฉกแยกห้า ย่อมห้ามความเจริญ ก๊กหนึ่งปราบสี่ได้ ดังหมาย เป็นเอี่ยวเดียวดุจกาย หนึ่งกร้าว อาจสู้ริปูภาย นอกโน่น โน้นมา เอกฉัตรตัดเรื่องร้าว เรื่องร้ายมลายขวัญฯ ๒. การทำสงครามกับพม่า ในระหว่างทื่สมเด็จพะเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ เพึ่อรวบ รวมกำลังของไทยให้เป็นบึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น ก็ต้องทรงเตรียมรับมือกับพม่า ซึ่งคอยจ้องจะแก้แค้นทำลายไทยอยู่ตลอดเวลา พระองค์ค้องทรงขับเคี่ยวทำศึกกับพม่าอีกถึง ๙ ครั้ง แต่ละครั้งแสดงให้เห็นพระปรีชาญาณค้วยยุทธศาสคร์อย่างล้ำเลิศ ประกอบด้วยพระ ราชวินิจฉัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว ดังเรื่องราวโดยย่อต่อไปนี้ สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง มูลเหตุที่พม่ายกมาครั้งนี้ เนื่องจากพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งมีความฝักใฝ่เอนเอียงอยู่กับพม่า ได้้ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถตีกรุง ศรีอยุธยาได้้และตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ จึงให้คนนำความไปทูลพระเจ้ากรุงอังวะ ให้ทรงทราบขณะ นั้นพระเจ้ากรงอังวะกำลังสาละวนเรึ่องพิพาทกับคนจีน ทั้งได้้ทรงทราบจากเนเมียวสีหบดีว่า เมืองไทยนั้นแตกยับเยิน ผู้คนก็เบาบางคงจะไม่มีเหตุการณ์ใหญ่โต จืงเพียงแต่ให้มีท้องตรา สั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวายให้คุมกำลังเข้ามาตรวจตราดูในเมืองไทยว่าสงบดีหรือไม่และ ถ้ามีใครกำเริบตั้งคัวขึ้นก็ให้ปราบปรามกำจัดเสีย พระยาทวายจึงเกณฑ์กำลังยกกองทัพ เข้ามา ทางเมืองไทรโยคเมึ่อฤดูแล้งปลายปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ขณะนั้นเมืองกาญจนบุรีและเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในทางพม่าเดินทัพผ่าน นั้นยังเป็นเมืองร้างทั้ง ๒ เมือง นอกจากนั้นเรือรบของพม่าตั้งแต่ครั้งมาตีกรุงศรีอยุธาก็คง จอดลอยลำอยู่ที่ไทรโยค ตลอดจนค่ายคูหอรบที่พม่าตั้งไว้ริมน้ำเมืองราชบุรี ก็ยังไม่มีใครไป รื้อถอน เพราะฉะนั้นกองทัพพระยาทวายจึงผ่านเข้ามาด้วยความสะดวกสบาย ไม่มีผู้ใดขัดขวาง จนเข้ามาถึงบางกุ้ง จึงให้กองทัพเข้าล้อมค่ายทหารจีนของพระองค์ไว้ กรมการเมืองสมุทร- สงครามทราบข่าวก็มีใบบอกมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงทราบก็รีบ จัดกองทัพให้พระมหามนตรี (คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) คุมทัพหน้า พระองค์ ทรงคุมทัพหลวงรีบยกกระบวนทัพเรือออกไปยังเมืองสมุทรสงคราม เมื่อไปถึงได้ทรงทราบว่า ค่ายที่บางกุ้งจวนจะเสียแก่ข้าศึกอยู่แล้ว จึงมีรับสั่งให้ทัพหน้ายกเข้าโจมตีข้าศึกในวันนั้น พร้อม ทั้งกองทัพหลวงก็ยกตามเข้าไป พวกไทยใช้อาวุธสั้นเข้าไล่ตะลุมบอนฟันแทงข้าศึก ล้มตายลง เป็นอันมาก ที่เหลือตายก็พากันแตกหนี พระยาทวายเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็รวบรวมไพร่ พลกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว ซึ่งเป็นด่านเมืองราชบุรี ตังอยู่ริมน้ำพาชี การชนะครั้งนี้กองทัพไทยได้เรือรบของพม่าทั้งหมด รวมทั้งเรื่องศาสตราวุธ เสบียงอาหารเป็นอันมาก และสิ่งที่พม่าได้รับนอกจากการสูญเสียทหารและสรรพอาวุธแล้วก็คือ ความแปลกประหลาดใจที่กองทัพไทยกลับเข้มแข็งขึ้นได้อีกในเวลารวดเร็ว อันนี้เอง กระทำให้ พระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยิ่งขจรขจายออกไปเป็นที่คร้ามเกรงแก่คนไทย ที่ ยังหวังครองความเป็นใหญ่ตามหัวเมืองต่างๆ ในเอกสารของจังหวัดสมุทรสงครามได้กล่าวถึง "บางกุ้ง" ไว้ว่า "จังหวัดสมุทร- สงครามได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฎตามพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า มีปูชนียสถานที่สำคัญ ในการ รบสมัยโบราณแห่งหนึ่งในท้องที่จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อครั้งยังเป็นแขวงของจังหวัดราชบุรี ในรัชการสมัยกรุงธนบุรี กองทัพพม่าได้ยกมาล้อมค่ายจีนที่บางกุ้ง ทางฝ่ายไทยโดยการนำของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพเรือจากกรุงธนบุรีไปรบพม่า กองทัพเรือยกไปทาง จังหวัดสมุทรสาคร และทางคลองสุนัขหอนตรงไปรบพม่าที่บางกุ้ง จนพม่าแตกทัพถอยไป (พ.ศ. ๒๓๑๐) สำหรับที่บางกุ้งนั้น ปัจจุบันนี้เป็นตำบลบางกุ้ง อยู่ในเขตท้องที่อำเภอบางคนที จังหวังสมุทรสงคราม อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองทางฝั่งตะวันตก แต่เวลานี้ ค่ายที่ตั้งนั้นได้ถูก ทำลายสูญหายไปหมดแล้ว ไม่มีหลักฐานใดเหลืออยู่ คงมีเฉพาะคู่ค่ายอยู่บางส่วน ซึ่งชาวบ้าน เรียกกันว่า "คลองบ้านค่าย" มาจนทุกวันนี้ " สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก (ปีขาว พ.ศ. ๒๓๑๓) เมื่อเจ้าพระฝางได้แตกหนีจากการปราบปรามของกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชไปจากเมืองสวางคบุรีแล้ว ก็ได้ไปขอกำลังเจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับ พม่า และมีโปะยุง่วนเป็นเจ้าเมืองมาแต่ครั้งกรุงเก่ายังไม่เสีย โปมะยุง่วน ได้โอกาสที่จะแผ่ อาณาเขตลงมา เพราะมีคนไทยเมืองสวางคบุรีไปเข้าด้วยเช่นนี้ จึงยกกองทัพลงมาตีเมือง สวรรคโลกเมื่อเดิอน ๓ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๑๓ ขณะนั้นเจ้าพระยาพิชัยราชาเพิ่งไปอยู่เมือง สวรรคโลกยังไม่ถึง ๓ เดือน กำลังรี้พลยังมีน้อย และเมืองสวรรคโลกมีป้อมปราการสร้างไว้แต่ โบราณมั่นคง เจ้าพระยาพิชัยราชาจึงรักษาเมืองมั่นไว้ แล้วมีหนังสือให้ม้าเร็วไปขอกำลังจาก เมืองใกล้เคียงขึ้นไปช่วยรบพม่า ทัพพม่าที่ยกมาตีเมืองสวรรคโลกคราวนั้น มีโปมะยุง่วน ชาวพม่าเป็นแม่ทัพ แต่รี้พลเป็นคนพื้นเมืองไทยลานนาเป็นส่วนมาก จึงไม่สมัครใจจะรบ กับกองทัพไทยนัก ได้แต่ล้อมเมืองไว้ ครั้นเจ้าพระยาสุรีห์พิษณุวาธิราช พระยาพิชั้ย พระยา สุโขทัยยกกองทัพไปถึงเข้าตีกระหนาบ กองทัพม่าก็แตกพ่ายหนีไปหมด ในคราวนี้ไม่ต้องร้อน ถึงกองทัพกรุงธนบุรียกไปช่วย สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก (ปีขาลต่อกับเถาะ พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๑๔) สงครามคราวนี้เป็นการต่อเนื่องกับเรื่องพม่าตีเมืองสวรรคโลกที่กล่าวมาแล้ว เพราะ ในเดือน ๓ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๑๓ ทำสงครามกับพม่าที่เมืองสวรรคโลกชนะแล้ว สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชก็ทรงยกทัพกลับ ครั้นพอถึงเดือน ๔ ได้ข่าวว่าโปมะยุง่วนที่พม่าตั้งให้เป็นเจ้า เมืองเชียงใหม่ยกทัพมา ก็ทรงนำทัพขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง เกือบถึงนครสวรรค์ทรงทราบว่าพวก เจ้าเมืองทางเหนือช่วยกันรบพุ่งตีพม่าแตกหนีไปหมดแล้ว พระองค์ก็ไม่เสด็จกลับทรงยกทัพ เลยขึ้นไปตีเชียงใหม่ เหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปตีเชียงใหม่ครั้งนี้ ด้วยทรงมีพระราช ดำริว่ากำลังพม่าไม่มากมายใหญ่หลวงนัก ทางเมืองอังวะก็กำลังติดศึกจีนยังจะส่งกำลังมาช่วย ไม่ได้ ประกอบกับโปมะยุง่วนที่รักษาเมืองเชียงใหม่เพิ่งแตกพ่ายไปจากเมืองสวรรคโลกกำลัง ครั่นคร้าม ถ้าติดตามขึ้นไปทันที บางทีจะตีเมืองเชียงใหม่ได้ อนึ่ง กองทัพหลวงและทัพ หัวเมืองก็มีพร้อมอยู่แล้วไม่ต้องกะเกณฑ์ผู้คนมาใหม่ เป็นแต่สั่งให้ยกต่อขึ้นไปเท่านั้น ถ้าตี เมืองเชียงใหม่สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์เหมือนกับตัดกำลังพม่ามิให้มาทำร้ายได้เหมือนเมื่อครั้ง กรุงเก่า หากตีเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ ก็ยังเป็นประโยชน์ที่จะได้รู้ภูมิประเทศไว้สำหรับคิดการ ข้างหน้าต่อไป และด้วยเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งก็คือพระองค์ทรงตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่ จำต้อง แผ่พระบรมเดชานุภาพให้เป็นที่ครั่นคร้ามขามเกรงแก่ประเทศใกล้เคียง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เสด็จยาตราทัพหลวงจากนครสวรรค์เมื่อปลาย เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๑๔(ต้นปีเถอะ) ไปตั้งชุมนุมกำลังที่เมืองพิชัย รวบรวมไพร่พลได้ ประมาณ ๑๕,๐๐๐ คน รับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพยกไปก่อน ส่วนพระองค์เองทรง เป็นจอมทัพหลวงยกตามไป เดินทัพผ่านเมืองสวรรคโลก เมืองเถิน เมืองลี้ บรรดาเจ้าเมือง รายทาง ก็สวามิภักดิ์ดี พระองค์จึงทรงนำทัพรุดหน้าไปถึงเมืองลำพูนโดยสะดวกสบาย โปมะยุง่วน แม่ทัพพม่า ซึ่งมีอำนาจควบคุมเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ก็จัดค่าย คูหอรบอยู่นอกเมือง กองทัพหน้าของเจ้าพระยาสุรสีห์ยกขึ้นไปถึง สาามารถตีค่ายนั้นแตก โปมะยุง่วนจึงสั่งให้กองทัพถอยกลับเข้าเมืองตั้งรักษาป้อมปราการไว้อย่างแข็งแรง กองทัพกรุง ธนบุรีตั้งล้อมเมืองไว้ เข้าปล้นสดมภ์เมืองครั้งหนึ่ง รบกันตอนกลางคืนตั้งแต่เวลา ๓ นาฬิกา จนรุ่งสว่าง ก็ไม่สามารถเข้าเมืองได้ จึงถอยกลับออกมา สมเด็นพระเจ้าตากสินมหาราชมี พระราชดำรัสวา "เมืองเชียงใหม่มีป้อมปราการมั่นคึงนัก จึงมีคำปรัมปรากล่าวกันมาแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยาว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก คงตีไม่ได้ต้อง ตีครั้งที่ ๒ จึงจะได้" พระองค์จึงรับสั่งให้ถอยทัพกลับ โปมะยุง่วนเห็นได้ทีก็สั่งให้ออก ติดตามตีกองหลังกองทัพกรุงธนบุรี จนเกิดความระส่ำระสายตื่นแตกมาจนถึงกองทัพหลวง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นกองทัพหลังเสียทีก็เสด็จลงมาคุมเอง ทรงพระแสงดาบ สู้รบกับข้าศึกอย่างห้าวหาญ พวกนายและพลทหารได้เห็นเจ้าชีวิตทรงนำเช่นนั้น ต่างก็เกิด กำลังใจขึ้น เปลี่ยนจากถอยเป็นการรุกไล่ข้าศึกจนขั้นตะลุมบอน ข้าศึกไม่อาจจะสู้ตรบได้ต้องถอย หนีกลับไป กองทัพกรุงธนบุรีจึงเดินทางกลับได้โดยสะดวก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งที่เมืองพิชัยแล้วล่องลงมายังกรุงธนบุรี สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ (ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๑๕) เรื่องราวมูลเหตุของสงครามครั้งนี้ปรากฎว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๔ เจ้าสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองหลวงพระบางเกิดวิวาทกับเจ้ายบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองหลวงพระ- บางยกทัพมาลัอมเมืองเวียงจันทน์ไว้ เจ้าเมืองเวียงจันทน์เกรงว่าจะสู้ไม่ได้ ก็ให้คนไปขอกำลัง ทัพจากพระเจ้ากรุงอังวะมาช่วย พระเจ้ามังระจึงให้ชิกชิงโบเป็นกองหน้า โปสุพลาเป็นแม่ทัพ คุมกองทัพพม่า รวมจำนวนพล ๕,๐๐๐ คน มาช่วย เมื่อทัพเมืองหลวงพระบางทราบว่าทัพ พม่ายกมาช่วยเมืองเวียงจันทน์ก็ถอยทัพกลับมารักษาเมืองหลวงงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบาง เห็นจะสู้พม่าไม่ได้ก็ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี พระเจ้ากรุงอังวะเกรงทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชจะทรงยกไปตีเชียงใหม่อีก จึงสั่งให้โปสุพลายกทัพไปช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่ ขณะโปสุพลายกทัพมาเมืองน่านใกล้เขตแดนไทย ก็คิดใคร่จะอวดฝีมือตนข่ม โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ด้วยรู้ว่าโปมุยุง่วนเคยมาเสียทีไทย ที่เมืองสวรรคโลก จึง ให้ชิกชิงโบนายกองหน้ายกพลไปตีเมืองลับแลอันเป็นเมืองชายแดนไทย เมืองลับแลมีกำลัง น้อยก็พ่ายแพ้แก่พม่า โปสุพลาได้ใจยกทัพใหญ่มาตีเมืองพิชัยเมื่อปลายปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๑๕ เมืองพิชัยมีไพร่พลน้อย พระยาพิชัยจึงรักษาเมืองมั่นไว้ไม่ออกรบ แล้วมีหนังสือขอกำลังทัพ กองทัพเมืองพิษณุโลกไปถึงก็เข้าตีค่ายพม่า พระยาพิชัยยกพลออกมาตีกระหนาบอีกด้านหนึ่ง กองทัพพม่าต้านทานไม่ไหวล้มตายมาก โปสุพลาพาพลพม่าที่เหลือหนีไปเมืองเชียงใหม่ สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ (ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๑๖) ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ทางเมืองเวียงจันทน์เกิดวิวาทบาดหมางถึงยกกำลังเข้าประหัต ประหารกัน ฝ่า่ยหนึ่งขอความช่วยเหลือไปยังเมืองเชียงใหม่ โปสุพลาจึงยกทัพพม่าไปช่วย ปราบปรามจนเรียบร้อยแล้วยกทัพกลับเชียงใหม่ บังเอิญได้้ทราบข่าวว่า พระเจ้าอังวะก่าลัง คิคจะให้คนเป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพไปกรุงธนบุรี จงคิดจะหยั่งกำลังทหารไทยและแก้หน้าจาก ความอัปยศอดสูที่รี้พลของคนแตกหนีพ่ายแพ้ไปจากเมืองพิชัย ขณะนั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งยกมาช่วยรักษาเมืองพิชัยไม่ยกทัพกลับเมืองพิชัยยัง ไม่ยกทัพกลับเมืองพิษณุโลก ด้วยคาคว่าทัพพม่าคงจะยกมาแก้แค้นอีก จึงส่งคนออกสืบข่าว ตลอดเวลา ครั้นทราบว่าโปสุพลายกทัพพม่าจะมาตีเมืองพิชัย จงให้ยกพลออกไปชุ่มสกัดอยู่ ในทางทื่ทัพพม่าจะเดินผ่าน ทางพม่าประมาทไม่คิคว่าทัพไทยจะรู้ตัวจึงกล้าเข้ามาในที่ล้อม เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยาพิชัยระดมทหารออกจู่โจมตีรบกันเบ็นสามารถ ทหารพม่าล้มตายลง เป็นอันมาก กองทัพพม่าภายใต้การน่าขอะโปสุพลาจึงต้องแตกพ่ายกลับไปอีกครั้งหนึ่งเมื่อวัน อังการเดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๑๖ การรบประจัญบานครั้งนี้ พระยาพิชัยถือดาบ ๒ มือ เข้าไล่ฟันพม่าจนดาบหัก เลึ่องลือชื่อเสียงถึงเรียกชึ่อกันว่า พระยาพิชัยดาบหัก แต่นั้นมา สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตึเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ (ปมะเมีย พ.ศ.๒ ๓๑๗) มูลเหตุของสงครามครงนี้ เรีมจากพระเจ้ากรุงอังวะ ทราบข่าวว่าทัพไทยมีก่าลัง แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ และตีทัพโปสุพลาซึ่งเป็นแม่ทัพพม่าแตกพ่ายถึงสองครั้งสองคราวก็แค้น ใจ ถ้ารั้งรอต่อไปไทยจะกำเริบนัก จึงคิดการมาตีเมืองไทยหมายจะให้ยับเยิน เช่นคราวเสีย กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และจะใช้ยุทธวิธีอย่างเดียวกัน คือ ทางเหนือ ให้ยกกองทัพลง มาจากเมืองเชียงใหม่ ส่วนทางใต้ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แล้วมาบรรจบกันตีกรุง ธนบุรี กองทัพพม่าทางด้านใต้มีปะกันหงุ่น เจ้าเมืองพุกาม ซึ่งได้เลื่อนขึ้น เป็นเจ้าเมือง เมาะตะมะ ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลหัวเมืองมอญฝ่ายใต้เป็นแม่ทัพ ลงมือตระเตรียมการตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๓๑๖ กะเกณฑ์พวกมอญมาทำถนนหนทาง พม่าทารุณข่มเหงและลงโทษพวก มอญอย่างรุนแรงมาก พวกมอญไม่อาจทนต่อความลำยบากอย่างแสนสาหัสและความทารุณโหด ร้ายของพม่าได้ จึงคบคิดกันตั้งให้พระยาเจ่งเจ้าเมืองเตริน (ต้นสกุล-คชเสนี) เป็นหัวหน้า พร้อมใจกันจับหม่าซึ่งเป็นหัวหน้าควบคุมอยู่ฆ่าหมด กิตติศัพท์นี้ได้แพร่ไปในกลุ่มชาวมอญ ต่างพากันมาร่วมเป็นพรรคพวกพระยาเจ่งเป็นอันมาก และเมื่อเห็นว่ามีกำลังเพียงพอจะทำการ ใหญ่ได้แล้ว จึงยกไปปล้นเมืองเมาะตะมะ เมืองสะโตงและเมืองหงสาวดีได้สำเร็จแล้วจึงบยุกเลย ไปเมืองร่างกุ้งและเกิดต่อสู้กันอย่างรุนแรง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบข่าวว่าพม่าเตรียมทัพจะมาตีเมืองไทย ก็ ทรงดำริการที่จะต่อสู้ พอทราบว่ามอญเป็นกบฏต่อพม่าลุกลามใหญ่โต เห็นว่าพม่าจะต้องปราบ ปรามพวกมอญอีกนาน จะยกเข้ามาตีเมืองไทยไม่ได้ มีช่องควรจะชิงตีเมืองเชียงใหม่ตัดกำลัง พม่าเสียก่อน พระองค์เสด็จโดยกระบวนเรือออกจากกรุงธนบุรีเมื่อวันอังคารเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ จำนวนพล ๑๕,๐๐๐ คน ขึ้นทางเมืองกำแพงเพชรพบกับทัพ ทางเหนือจำนวนพล ๒๐, ๐๐๐ คน ตั้งประชุมทัพที่บ้านระแหงตรงที่ตั้งเมืองตากทุกวันนี้ดำรัสสั่ง ให้เจ้าพระยาจักรีเบึนแม่ทัพใหญ่ ร่วมกับเจ้าพระยาสุรสีห์ คุมกองทัพทางเหนือ ขึ้นไปตีเชียงใหม่ ส่วนทัพหลวงตั้งรอฟังข่าวมอญ ชึ่ง ถูกอะแชหวุ่นกี้ เชื้อพระวงศ์พม่าตีแตกหนีลงมา เมื่อเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นไปถืงเมืองลำปาง พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละ ชาวลานนาไทย ชึ่งพม่าให้เป็นผู้นำกองทัพหน้าคุมพลชาวลานนา ๑,๐๐๐ คน ได้้นำทัพเข้ามา สวามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาจักรีเพราะทื่ต้องอยู่กับพม่านั้นอยู่ด้วยความจำใจ เจ้าพระยาจักรีจึงให้ นำทัพไทยขึ้นไปยังเชียงใหม่ เมึ่อไปถืงเมืองลำพูนพบกองทัพพม่าคงค่ายสกัดทางอยู่ริมน้ำ พิงเก่า ก็เข้าโจมตีต่อสู้กันอยู่หลายวัน พม่าไม่อาจต้านทานทัพไทยได้้ก็แตกพ่ายถอยไปพอดี กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชึ่งตรัสสั่งให้เจ้าพระยายมราชคุมกองทัพไปคอยรับพวก มอญที่จะเข้ามาทางค่านพระเจดีย์สามองค์ ที่ท่าดินแดง และให้พระยากำแหงวิชิตคุมพล ๒,๐๐๐ คน อยู่รักษาเมืองตาก แล้วก็ทรงนำทัพหลวงตามไปสมทบ ทรงวางแผนการรบเองโดยให้ ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ ๓ ด้าน เตรียมการไว้ให้พร้อม ขุดคูวางขวากและวางปืนจุกช่องเตรียมไว้ ทุกค่าย แล้วให้ขขุดคูทางเข้าไปประชิดเมืองเพื่อให้คนเดินบังทางปีนเข้าไป และไม่ให้เข้าโจมตี พร้อมกัน เพราะเกรงจะเสียทีแก่ข้าศึกชึ่งตั้งมั่นรับอยู่ในเมือง จะโจมตีค้านไหนก็ให้ทำหนัก มือไปทางด้านนั้นก่อน แต่ถ้าข้าศึกยกออกมาตีก็ให้ไล่ติดตามกรูกันเข้าไปในเมืองให้จงได้ด้วยกลยุทธ เช่นนี้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทลมเด็จพระพุทธยอคฟ้าจุฬาโลก) ก็สามารถตีได้้ค่ายพม่าด้าน ใต้และด้านตะวันตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) ตีค่าย ประตูท่าแพด้านตะวันออกได้้หมด โปสุพลาและโปมะยุง่วนเห็นเหลือก่าลัง ก็ทิ้งเมืองเชียงใหม่ พาพลพม่าที่เหลือหลบหนีไป ทัพไทยไล่ตามตีชิงเอาไพร่พลและอาวุธยุทธภัณฑ์มาได้้มากมาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบข่าวก็ยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้ง ๒ ข้างออกพระโอษฐ์ ว่า "นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉนในครั้งนี้" ทรงโสมนัสและสิ้นวิตก โล่งพระทัยด้วยเห็น ว่าพม่าหมดทางต่อสู้และสามารถเข้าเมืองเชียงใหม่ได้้ทันพระราชประสงค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพหลวงเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ แล้วก็ทรง ปูนบำเหน็จความดีความชอบ โปรดให้ตั้งพระยาจาบ้านเป็นพระชาวิเชียรปราการครองเมือง เชียงใหม่ พระยากาวิละเป็นพระยานครลำปางครองเมืองลำปาง (พระยากาวิละเป็นพี่คนโตใน กลุ่ม "เจ้าเจ็ดคน" มีน้องชายอีก ๖ คน ชึ่งต่อมาต่างได้้ครองเมืองเชียงใหม่ ลำปางและ ลำพูน ) พระยาลำพูนเป็นพระยาไวยวงศา ครองเมืองลำพูน แล้วก็ทรงยกทัพหลวงกลับเมือง ตากเพราะได้้ทรงทราบข่าวพม่ายกตามพวกมอญเข้ามาอีก ในครงนั้น เจ้าพระยาจักรีซึ่งรักษาเมืองเชียงใหม่อยู่ ได้้ให้คนไปเกลี้ยกล่อมผู้คน ตามบ้านเมืองใกล้เคียง ปรากฏว่าได้้กำลังเมืองแพร่และน่านมาขึ้นกับกรุงธนบุรี อาณาเขตของ ไทยในสมัย)สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงกว้างขวางมาก ได้้เมืองสำกัญทางเหนือ คือเชียง ใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน ไว้ทั้งหมด " ลำพูนแพร่น่านทั้ง ลำปาง เชียงใหม่ไทยภาคกลาง ย่านใต้ กอเหล่าเผาพงษ์ทาง โลหิต เดียวแฮ ท่านจัดร่วมรัฐได้ ดั่งนี้ดีเหลือ ฯ " สงครามครั้นที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี (ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗) ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่นั้น ทรงวิตกเ่รื่อง ทัพพม่าที่จะต้องยกติดตามพวกมอญกบุกเข้ามาในประเทศไทย จึงโปรดให้พระยาก่าแหงวิชิต คุมพล ๒,๐๐๐ คน ตั้งรับพวกมอญอยู่ที่บ้านระแหงแขวงเมืองตากและให้พระยายมราช คุม กำลังไปคนตั้งขัดตาทัพอยู่ทิ่ท่าดินแดง คอยรับพวกมอญที่จะเข้ามาทางค่านพระเจดีย์สามองค์ เมึ่อ ตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ก็ทรงรีบรุดกลับมาบัญชาการรบยังกรุงธนบุรี พอถึงก็ได้้ข่าวว่ากองทัพ พระยายมราชที่ท่าดินแดงแตกหนีกลับมาอยู่ที่ปากแพรก (ตรงที่ตั้งเมืองกาญจนบุรีทุกวันนี้ ) ขณะนั้นพวกมอญได้้เข้ามาถึงกรุงธนบุรีประมาณ ๓,๐๐๐ คน ทรงรับไว้และให้ตั้งบ้านเรือน อยู่ที่ปากเกร็ดเมืองนนทบุรี โปรดให้พระยาบำเรอภักดีข้าราชการเชื้อชาติมอญ เบึนพระยา รามัญวงศ์ มีหน้าที่คูแลปกครองมอญ แล้วเสด็จประทับที่ตำหนักแพ ให้ตำรวจลงเรือเร็ว ขึ้นไปคอยสั่งกองทัพที่ลงมาจากทางเหนือให้เลยออกไปเมืองราชบุรีทีเดียว ไม่ให้ผู้ใดแวะบ้าน เป็นอันขาด กองทัพเรือที่มาถึงได้้ทราบกระแสรับสั่งก็เลยมาหน้าตำหนักแพ ถวายบังคมลา แลแล้วเลี้ยวเข้าคลองบากกอกใหญ่ไปทุกลำ แต่พระเทพโยธาได้ขัดรับสั่งแวะเข้าบ้าน ทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้เอาตัวพระเทพโยธามัดเข้ากับเสาตำหนักแพ ทรงพระแสงดาบตัดศีรษะพระเทพโยธา ด้วยพระหัตถ์ แล้วเอาศีรษะเสียบประจานไว้ที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ พวกกองทัพทั้งปวงก็เกรง พระราชอาญารีบยกไปเมืองราชบุรีตามรับสั่ง และพระองค์เอง ก็ทรงตัดพระทัยเสด็จไปทัพ ทั้งๆที่กรมพระเทพามาตย์พระราชชนนีกำลังประชวรหนัก ฝ่ายพม่าซึ่งมีงุยอคงหวุ่นเป็นแม่ทัพรองจากอะแซหวุ่นกี้นั้น ได้้รับคำสั่งเพียงให้ ติคตามพวกกบฏมอญเข้ามา แต่ค้วยความประมาทผีมือทหารไทยก็ยกเลยล่วงเข้ามา เพื่อหวัง ปล้นชิงเสียงอาหารทรัพย์สินติดมือไปเหมือนเมื่อคราวเสียกรุง ซ้ำพวกที่ตั้งค่าย ที่บางแก้ว เมืองราชบุรี ยังกล่าววาจาดูถูกทัพไทยที่ยกมาล้อมว่า จะรอดูทัพไทยยกมาตั้งล้อมหมดสิ้นแล้ว จึงต่อยออกโจมตีแหกค่าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงบัญชาการใหัทหารไทยชึ่งมี จำนวนมากกว่าล้อมพม่าให้เหนียวแน่น สั่งทหารคอยตัดเสบียงอาหารและรักษาแหล่งน้ำไว้เพื่อ ให้พม่าอดอยาก พม่าพยายามตีหักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ งุยอคงหวุ่นได้เขียนหนังสือ ใส่ใบลานมา ถึงแม่ทัพไทย มีใจความสำคัญว่า ขณะนั้นพม่าถูกล้อมไว้หนีไปไม่ได้ มีแต่จะตายอย่างเดียว ทั้งแม่ทัพนายกองและไพร่พลอีกมาก ธรรมดกษัตริย์สองฝ่ายทำสงครามกัน พวกทหารก็อุปมา เหมือนเครึ่องศาสตราวุธให้ใช้สอยเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า การเกิดมาเป็นคนนั้นนยากนัก ให้อัครมหาเสนาบดีของไทยพิเคราะห์ดู สมเด็จพระเจ้า่ตากสินมหาราชจึงมีรับสั่งให้เขียนเป็น หนังสือเสนาบดีตอบไปมีเนื้อความว่า ถ้าพวกพม่าออกมาถวายบังคมยอมอ่อนน้อมโดยดีจะทูล ขอชีวิตให้ ถ้าขืนต่อสู้หรือไม่ออกมาอ่อนน้อมจะฆ่าให้หมด พม่าก็ไม่ยอมออกมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงดำเนินแผนการยุทธต่อไป ด้วยพระปรีชา สามารถอย่างยิ่งหลายประการ เช่นรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ นำทัพไปสกัดกั้นพม่าที่เขาชะงุ้ม ไม่ให้ตามมาช่วยพรรคพวกที่บางแก้วได้้ และไม่ทรงให้ติดตามเมื่อพม่าถอยหนีไปด้วย ทั้งนี้เพื่อ สงวนกำลังไว้ใช้รบพม่าที่บางแก้ว ทรงให้ทางเมืองคลอกวาฬและเมืองกุยทำลายหนองและบ่อน้ำ หรือหาวิธีอื่นที่จะไม่ให้พม่าซึ่งตีบ้านทับสะแกและเมืองกำเนิดนพคุณแตกแล้วจะยกทัพเลย ขึ้นมาทางเพชรบุรีนั้นอาศัยใช้น้ำได้ นอกจากนั้นก็ตรัสสั่งพระยารามัญวงศ์กับหลวงบำเรอศักดิ์ ให้เพิ่มกำลังคุมกองโจรตัดทางลำเลียงเสบียงของพม่าที่เขาชั่วพรานด้วย ต่อมาพวกพม่าในค่ายเขาชะงุ้มได้้ออกปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ และค่ายจมื่นศรี- สุรรักษ์ แต่ไม่ได้้ทั้ง ๒ แห่ง จืงรวมกำลังกันมากขึ้นยกเข้าปล้นค่ายพระยานครสวรรค์ เพึ่อ หักออกมาช่วยทางบางแก้วให้ได้้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบก็เสด็จขึ้นนไป ให้ กองอาจารย์และทนายเลือกเข้าช่วยรบ พม่าจึงถอยหนีเข้าค่ายไป งุยอคงหวุ่นแม่ทัพพม่าที่ บางแก้วซึ่งถูกทัพไทยล้อมไว้ไม่เห็นพรรคพวกไปช่วยก็ท้อใจ จึงส่งนายทัพพม่า กับไพร่ส่วน หนึ่ง ออกมาขอเจรจากับไทยซึ่งมีเจ้ารามลักษณ์พระเจ้า๋หลานเธอ กับเจ้าพระยาจักรีเป็นผู้ออก ไปพบพม่าวิงวอนขอให้ปล่อยตัวกลับบัาน แต่ทางไทยไม่ยอม บอกให้พม่าออกมาอ่อนน้อม แล้วจะทูลขอชีวิตให้แต่จะให้ปล่อยไปนั้นไม่ได้ พม่าได้้คิดต่อเจรจาอีกหลายครั้ง ไทยก็ให้ คำตอบเช่นเดิม แม้จะมีพม่าชื่ออุคมสิงหจอจัว นำพวกแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่ง พร้อมทั้ง แบกมัดเครื่องอาวุธรมาอ่อนน้อม และได้้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชึ่งพระองค์ก็ ทรงรับไว้ไม่สั่งฆ่า แต่ทัพพม่าทิ่อยู่ในวงล้อมก็ยังไม่ยอมอยกมาเช่นเดิม ทัพไทยคงล้อมพม่าที่ค่ายบางแก้วอยู่ถึง ๔๗ วัน พม่าจืงยอมออกมาสวามิภักดิ์ การสงครามครั้งนั้นไทยได้้เชลยพม่าที่เหลือตายรวม ๑,๓๒๘ คน มีพม่าล้มตายในๆขณะที่ถูก ล้อมกว่า ๑,๖๐๐ คน การทื่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตรากตรำบัญชาการล้อมพม่า อยู่นานเช่นนี้ เพราะพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะจับพม่าให้หมดทั้งกองทัพเพื่อลบล้างที่ พม่าดูหมิ่นไทยแต่ต้น และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยให้กล้าหาญดังเดิมด้วย สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ (ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๑๘) สงครามครั้งนี้ เป็นศึกใหญ่ยิ่งกว่าทุกคราวในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี อะแซ- หวุ่นกี้ เชื้อพระวงศ์พม่า ๗๒ ปี ได้้รับคำสั่งให้ยกทัพใหญ่มาตีไทย ก็คิคว่าการยกทัพมา ๒ ทางอย่างก่อนๆ ไม่เหมาะสม เพราะไทยมีกำลังแข็งกล้าขึ้น จึงเปลื่ยนดำนินการยุทธ แบบพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คือยกทัพใหญ่มาทางเหนือทางเดียว เข้าโจมตีเมืองและสะสม อาหารตามรายทางเรึ่อยมา จึงสั่งให้โปสุพลาและโปมะยุง่วนซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองเชียงแสน ยก มาตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้งแต่สู้ทัพไทยไม่ได้ จึงถอยกลับไป ทางอะแชหวุ่นกี้ ให้กะละโม่กับ มังแยยางู น้องชายคุมกองทัพหน้าจำนวนพล ๒๐,๐๐๐ คน สมทบกับทัพหลวง ซึ่งมีจำนวน พล ๑๕,๐๐๐ วัน ลงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้้ข่าวศึกพม่าก็โปรดให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้า พระยาสุรสีห์ ยกทัพไปช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่ ครั้นตีทัพโปสุพลาแตกพ่ายแล้ว ก็รีบยกทัพ มารักษาเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีได้้คุมทัพออกสู้รบเอง ปรากฏว่าตีทัพพม่าแตกพ่ายเข้า ายเป็นหลายครั้ง อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพเฝ้าดูการรบ เห็นฝีมือและยุทธวิธีของเจ้าพระยาจักรี แลวก็พอใจ จึงได้ติดต่อเจรจาขอพักรบและขอพบดูตัวเจ้าพระยาจักรี เมื่อพิศดูลักษณะและ ทราบว่าเจ้าพระยาจักรีอายุเพียง ๓๐ ปีเศษ ก็สรรเสริญว่า่ "ท่า่นผู้นี้รูปงาม ฝีมือเข้มแข็ง สู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้ัเป็นกษัตริย์" แล้วก็มอบเครื่อง ม้าทองคำและของอื่น ๆ ให้ พร้อมกับกล่าวว่า จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคง เราจะตีเอาเมือง พิษณุโลกใหจงได้ในครงนี้ ไปภายหน้าพม่าจะตีไทยไม่ได้อีกแล้ว ในวันนั้นทัพทั้งสองฝ่าย ได้้กินอาหารร่วมกันด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่าอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพใหญ่มาตั้งล้อม เมืองพิษณุโลก "ทรงยกกระบวนทัพหลวงกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คนขึ้นไป และโปรดให้เจ้า รามลักษณ์พระหลานเธอ คุมพลออกไปตั้งมัน ที่เมืองเพชรบุรีเพื่อปองกันพม่าทางด่านสิงขร เมึ่อเลด็จถึงเมืองนครสวรรค์ก็ทรงจัดวางกระบวนทัพให้ติคต่อกับพิษณุโลกโดยสะดวก และ ให้พระยาราชาเศรษฐีคุมทหารจีน ๓,๐๐๐ คน อยู่รักษาเมืองนครสวรรค์ คอยตัดทางลำเลียง . และระวังข้าศึกส่วนทัพหลวงชึ่งพระองค์ทรงคุมเองก็ตั้งทัพรายทางจนถึงเมืองพิษณุโลกเพื่อให้ ติดต่อไปมากันได้้ สงครามครั้งนี้ไทยเสียเปรียบเพราะมีรี้พลน้อยกว่าประมาณ ๒ ใน ๓ ของพม่า อะแซหวุ่นกี้ได้้พยายามเข้าโจมตีทัพไทยหลายคร้งัหลายด้าน แต่ก็ไม่สามารถตีหัก เข้าเมืองพิษณุโลกได้ จึงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ ให้กะละโม่คุมทัพออกสกัดทางลำเลียงระหว่าง เมืองพิษณุโลกและทัพหลวง ทัพไทยจึงไม่สามารถลำเลียงเสบียงอาหารถึงกันได้ นอกจาๆ นั้น พม่ายังส่งทัพหนุนมาช่วยอีก ประจวบกับเจ้าพระยาจักรีเกิดป่วยขึ้นค้วย อะแซหวุ่นกี้ก็ส่งทัพ มาตีทัพหลวงอีกทางหนึ่ง ทั้งเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ปรึกษาเห็นต้องกันว่า ควร ทิ้งเมืองพิษณุโลกเพราะขาดเสบียงอาหาร จะพากันตายไปหมดทั้งกองทัพ อะแซหวุ่นกี้ เข้าเมืองพิษณ โลกได้้แล้ว ก็ประกาศแก่นายทัพนายกองทั้งปวงว่า "บัดนี้ กำลังทัพไทยเข้มแข็งนักไม่เหมือนแต่ก่อน เมืองพิษณุโลกเสียครั้งนี้ หาได้้เสียเพราะ กำลังน้ำมือของทหารเราไม่ หากเขาอดข้าวจึงต้องทิ้งเมืองไป และซึ่งจะมารบกับเมืองไทยภาย หน้านั้น แม่ทัพที่มีสติปัญญาและฝีมือเสมอเราหรือต่ำกว่าเราแล้ว จึงอย่าได้มาทำสงครามกับ ไทยเลย หากดีกว่าเราแล้วจึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชนะ " หลังจากนั้นไม่นาน ก็ยกทัพกลับ เพราะพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พงศาวดารพม่ากล่าวเหมือนกัน ทุกฉบับ ว่าอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพ มาตีเมือง ไทยคราวนี้ เอาไพร่พลมาล้มตายเสียเป็นอันมาก ไม่สำเร็จประโยชน์อย่างใดแต่สักอย่างหนึ่ง รอดแต่ตัวกลับไปได้้ ไม่แตกหนีไทยไปเท่านั้น ชึ่งเป็นความจริงเพราะตอนต้นพม่ามีรี้พล มากกว่าไทย รบพุ่งได้้เปรียบไทย ครั้นพม่าตีเมืองพิษณุโลกได้้ก็ได้้แต่เมืองเปล่า ไม่สามารถ ทำลายกองทัพไทยได้้และต้องเที่ยวหาเสบียงอาหารไกลด้วย สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหบ่ (ปีวอก พ.ศ. ๒๓๑๙) มูลเหตุของสงครามซึ่งปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารไทยและพงศาวดารพม่า ยุติต้องกันว่า พระเจ้าจิงกูจา พระเจ้ากรุงอังวะใหม่ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้ามังระราช บิดา เห็นว่าไทยชิงเอาหัวเมืองลานนามาเกือบหมด เหลือเพียงหัวเมืองในลุ่มน้ำโขงคือเมือง เชียงรายและเชียงแสนเป็นของพม่าเท่านั้น ถ้านิ่งไว้ไทยคงพยายามตีชิงไปหมด จึงตรัสสั่งให้ อำมลอกหวุ่นเป็นแม่ทัพ คอหวุ่นกับพระยาอู่มอญเป็นปลัดทัพ เกณฑ์พล ๖, ๐๐๐ คน มา สมทบกับกองทัพโปมะยุง่วนชึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสนพร้อมกันละมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่เห็นพม่ายกกอะทัพมามาก เหลือกำลัง ต่อสู้ก็แจ้งข่าวมายังกรุงธนบุรี แล้วอำยพไพร่พลทิ้งเมืองเชียงใหม่มายังเมืองสวรรคโลกสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้รับพระยาวิเชียรปราการลงมา แล้วมีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยากาวิละคุมกองทัพทางเหนือไปตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน พม่า พม่าสู้ไม่ได้ ก็ทิ้งเมือง เชียงใหม่เลิกทัพกลับไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงดำริว่า เมืองเชียงใหม่ไพร่บ้าน พลเมืองระส่ำระสายเสียมาก แล้วจะรวบรวมกลับตั้งบ้านเมืองอย่างเดิม ผู้คนก็ไม่พอจะเป็น กำลังรักษาเมืองได้้ เมึ่อกองทัพไทยกลับลงมาแล้ว พม่าอายกทัพมาตีเชียงใหม่ไปอีก จึงมี รับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย เชียงใหม่จึงเป็นเมืองร้างแต่นั้นมากว่า ๑๕ ปี จนรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์จึงได้้กลับตั้งอีก สงครามครั้งนี้นับเป็นครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยา จักรีได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียษอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรง ตำแหน่งสมุหนายก ๓. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๑๙ ทาะเมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งมีพระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง (เมือง ขึ้นของนครราชสีมา) คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินทร์และอุปราชแห่งเมืองนครจำปาศักดิ์แข็งเมือง เป็นขบถไม่ขึ้นต่อไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยา สุรสีห์ไปปราบได้้สำเร็จ พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าเมืองหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักรไทย ส่วนทางเมืองเวียงจันทน์เกิดจลาจล คือพระวอ สนาบดี ได้วิวาทกับเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พระวอสู้ไม่ได้้จึงพาพรรคพวกมาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีปัจจุบัน) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารยอมเป็นเมืองขึ้นของไทย ต่อมาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้้ให้กอง ทัพยกมาจับพระวอประหารชีวิตเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิโรธ โปรดให้สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบ ได้สู้รบกะนนานถึง ๖ เดือน เจ้าเมืองเวียงจันทน์ไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้้จึงหลบหนีเข้าแดนญวนไป ทิ้งผู้คน พาหนะ และทรัพย์สีงของเครึ่องศาสตราวุธไว้เป็นอันมาก โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสุห์ชนะศึกครั้งนี้ ได้เมืองเวียง จันทน์ เมืองหลวงพระบาง กับหัวเมืองขึ้นทั้งปวง ขยายอาณาเขตทางทิศตะวันออกและทิศ เหนือจดแคนญวนและแดนเมืองตังเกี่ย เสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้้อัญ- เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบางจากเมืองเวียงจันทน์ มา ประดิษฐานที่กรุงธนบุรีด้วย ๔. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา ในรัชสมัยนี้ ไทยยกทัพไปรบกับกัมพูชาถึง ๓ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชสาส์นไปถึงสมเด็จพระ- นารายณ์ราชาเจ้าเมืองกัมพูชาวาสภาพการณ์ในเมืองไทยกลับคืนเป็นปกติแล้ว ขอให้จัดส่งต้น ไม้ทองเงินกับเครื่องบรรณาการตามพระราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่พระเจ้ากรุงกัมพูชาเห็น ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิใช่เชื้อพระวงศ์จึงไม่ยอมอ่อนน้อม จึงทรงมีรับสั่งให้จัดกอง ทัพยกไปตีเขมร ๒ ทัพ ทัพหนึ่งให้พระขยาอภัยรณฤทธิ์ กับพระยาอนุชิตราชาคุมรี้ พล ๒,๐๐๐ คน ยกไปจากเมืองนครราชสีมาลงมาทางช่องเสม็ดไปตีเมืองเสียมราฐอีกทัพหนึ่งให้พระยาโกษา ธิบคีคุมพล ๒,๐๐๐ คน ยกไปทางเมืองปราจีนบุรี ตีเมืองพระตะบองถ้าพระนารายณ์ราชายัง ไม่อ่อนน้อมก็ให้ยึดเมืองทั้งสองรอกองทัพหลวงยกตามไปเพื่อเข้าตีกรุงกัมพุชาในฤดูแล้ง พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาอนุชิตราชา ยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐได้้แล้วก็ยั้ง ทัพรอคอยทัพหลวงจนถึงฤดูแล้ง เกินเวลานัดหมายแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังไม่ มาจึงเกิดแคลงใจ เพราะไม่ทราบว่าพระองค์ทรงติดมรสุมที่นครศรีธรรมราชเสด็จกลับไม่ได้้ ส่วนภายในกรุงธนบุรีซึ่งทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ตั้ง แต่เดือน ๑๐ แต่เวลาล่วงเลยไปหลายเดือนก็ยังไม่เสด็จกลับ จึงเกิดลือกันว่า๓มเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราชสิ้นพระชนม์แล้ว พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชา ทราบข่าวลือก็ตกใจ เกรงจะเกิดจลาจลในกรุง จึงปรึกษาเห็นพัองต้องกันว่าควรยกทัพกลับไปรักษากรุงธนบุรีไว้ ก่อน จึงให้เลิกทัพกลับลงมาทางนครราชสีมา ลงมาหยุดอยู่ที่เมืองลพบุรี ส่วนพระยาโกษาธิบดีชึ่งยกทัพไปตีเมืองพระตะบองทางปราจีนบุรีนั้น ทราบว่า พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชากลับจากเสียมราฐ ก็เกรงเขมรจขู่ยกกำลังรวมมาทำ ร้าย จึงยกทัพออกจากเมืองพระตะบองมาหยุดอยู่ที่ปราจีนบุรี แล้วมีใบบอกกล่าวโทษไปทูล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่าพระยาทั้งสองหนีตาทัพ ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้่รับใบบอกกล่าวโทษ ก็รีบสั่งให้พระยาทั้งสองมาเฝ้าแล้วตรัส ถามว่าเหตุใดจึงบังอาจยกทัพกลับก่อนได้้รับท้องตราเรียก พระยาอนุชิตราชาก็ทูลความ ตาม ที่ได้้ข่าวลือและทูลว่าได้้ปรึกษากับพระยาอภัยรณฤทธิ์ ตั้งใจจะยกทัพกลับมารักษาสถานการณ์ ในกรุงไว้ ไม่ยอมเป็นข้าคนอื่นอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้้ทรงฟังก็หายกริ้ว กลับ สรรเสริญว่า สมควรแล้ว และสั่งให้พระยาโกษาธิบดี ยกทัพกลับคืนกรุงธนบุรี ระงับการตี กรุงกัมพูชาไว้ก่อน พ.ศ. ๒๓๑๔ ขณะที่ไทยติดพันทำศืกกับพม่าที่เชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงกัมพูชา ได้้ให้นักพระโสทศเจ้าเมืองเปียม ยกกองทัพมาคีเมืองตราด และเมืองจันทบุรี (มี ปรากฏในราชพงศาวคารกรุงกัมพูชา) แต่กองทัพเมืองจันทบุรี สามารถตีทัพเมรแตกกลับ ไปได้้ ความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงกริ้วเขมรมากจืงโปรดให้พระยายมราช (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอคฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งรั้งตำแหน่งสมุหนายก ขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี (แทนพระยาจักรีแขกที่ถึงอสัญกรรม) คุมรี้ พลจำนวน ๑๐,๐๐๐ คนยกไปตีเมืองพระตะบอง และเมืองโพธิสัตว์ โดยยกไปทางเมืองปราจีนบุรี และให้นำนักองค์นนท์หรือพระรามราชา ไปในกองทัพด้วยเพื่อช่วยเกลี้ยกล่อม แล้วพระองค์ก็เสด็จยกทัพหลวงไปทางเรือ มีเรือรบ ๑๐๐ ลำ เรือทะเล ๑๐๐ ล่า รี้พล ๑๕,๐๐๐ คน มีพระยาโกษาธิบดีเป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเมือง กำพงโสมก่อน พระองค์ทรงยกคามไป ให้เกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองบันทายมาศ (พุทไธมาศ) ให้มาอ่อนน้อมโดยดีแต่ไม่เป็นผล จึงรับสั่งให้เข้าโจมตีได้ พระยาราชาเศรษฐี หนีออกทะเลไป ปรากฏว่าทัพไทยตีได้้ชัยชนะ เรึ่อยมาจากเมืองพระตะบอง โพธิสัตว์ บริบูรณ์ จนถึงบันทายเพชร (พุทไธเพชร) ซึ่งเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งพระรามราชาปกครองเขมรต่อไป แล้วให้ เลิกทัพกลับกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ราชาทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยก ทัพกลับแล้ว ก็ขอกำลังญวนกลับมาตั้งมั่นที่แพรกปรักปรัด ส่วนพระรามราชาตั้งมั่น อยู่ที่ เมืองกำปอด กรุงกัมพชาขณะนั้นจึงแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายใต้ขึ้นกับสมเด็จพระนารายณ์ราชา ฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับพระรามราชา พ.ศ. ๒๓๒๓ กรุงกัมพูชาเกิคจลาจล พระรามราชาและสมเด็จพระนารายณ์ราชา รบต่อสู้กัน แต่ต่อมาก็ปรองดองกันได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงตั้งพระรามราชา เป็นสมเด็จพระรามราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชาเป็นพระมหาอุปโยราช นักองค์ธรรมเป็นพระมหาอุปราช แต่ต่อมาพระมหาอุปราชถูกลอบปลงพระชนม์และพระมหา- อุปโยราชก็เกิดสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปัจจุบันอีก บรรดาขุนนาง เห็นว่าเป็นฝีมือของสมเด็จมือของสมเด็จ พระรามราชาจึงจับพระองค์ถ่วงน้ำเสีย กรุงกัมพูชาจึงเหลือเพียงนักองค์เอง ชึ่งมีพระชนม์เพียง ๔ พรรษาปกครองโดยมี ฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน ต่อมาฟ้าทะละหะฝักใฝ่ญวนไม่ยอมอ่อนน้อมต่อไทย สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไป ปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทางฟ้าทะละหะได้้ขอกำลังญวน ทัพไทยตีเมืองรายทางได้้จน ถึงเมืองบันทายเพชร (พุทไธเพช ) ส่วนทัพญวนตั้งคุมเชิงที่เมืองพนมเปญพอดีกรุงธนบุรีเกิด จลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงเลิกทัพกลับ ในช่วงเวลาเพียง ๑๕ ปี อาณาเขตเมืองไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล กล่าวคือ ทิศเหนือตลอดอาณาจักรลานนาไทย ทิศใต้คลอดเมือง ไทรบุรีและตรังกานู ทิศตะวันออกตลอดกัมพชาจนญวนใต้ ทิศคะวันออกเฉียงเหนือ ถึงนคร เวียงจันทน์ หัวเมืองพวน นครหลวงพระบาง และหัวพันทั้งห้าทั้งหก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดเมืองบันทายมาศ (พุทไธมาศ) ทิศตะวันตกตลอดเมืองมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทร อินเดีย การฟื้นฟูบ้านเมืองและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ๑. ด้านการปกครอง รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงใช้ระบบการ ปกครองแบบเก่าที่เคยมีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย ครั้นกรุงแตกกฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จีงโปรดให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้้ประมาณ ๑ ใน ๑๐ และโปรดให้ชำระ กฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะกับแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้ แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และมักเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้้รับผล ประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้น แก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้้ จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ ราษฎรได้้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ชึ่งแม้แต่ ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเชนเยอร์ เลอบอง ได้้บรรยายไว้ใน จดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า "บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้า แผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้้ทรงประพฤติ เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธร รมเนียมของเจ้าแผ่นดินผ่า่ยทิศตะวันออก ที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรง เห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยีงกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรง พระราชอำนาจลงอย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วย พระเนครของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น" ในชั้นศาล ไม่โปรดให้อรรถคคีคั่งค้าง แม้ยามศีกหากคู่ความมิได้ัเข้ากองทัพหรือ ประจำราชการต่างเมือง ก็โปรดให้คำเนินการพิจารณาคคีไปตามปกติทั้งในการฟ้องร้อง จึง โปรดให้โจทก์หาหมอความแต่งฟ้องได้้เช่นเดียวกับปัจจุบันอีกด้วย วิธีพิจารณาคดีในสมัยนั้น สะท้อนให้เห็นได้้แจ่มชัดในบทละครรามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ พระราช นิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช . ๒. ด้านการเศรษฐกิจ สภาพบ้านเมืองหลังจากเสียกรุง ทำให้สภาพเศรษฐกิจ อยู่ในภาวะตกค่าอย่างยิ่ง ราชอาณาเขตของพระเจ้าตากสินมหาราชเมึ่อแรกปราบดาภิเษก มี ประมาณครึ่งราชอาณาเขคครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีมณฑลกรุงเทพ ฯ มณฑลอยุธยา มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี รวม ๗ มณฑล ครั้งนั้นมีมณฑลจันทบุรีเพียงมณฑลเดียวที่นับว่าปกติ ส่วนอีก ๖ มณฑล ถกพม่าย่ำยียับเยิน เป็นเมืองร้าง ขาดการทำไร่นาถึง ๒ ปี ผู้คนที่เหลือจากถูกพม่ากวาดต้อน ไปต่างพากันอพยพหลบหนีแตกกระจัดพลัดพราก เที่ยวซุ่มช่อนอยู่ตามป่าดงโดยมาก ต้อง ทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับมาอยู่ถิ่นเดิม เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันมากเข้า ไม่ช้าก็เกิคการอัตคัต เสบียงอาหารอดอยากยากแค้นแสนเข็ญ หากทรงมีพระอุปนิสัยสามารถแก้ไขความขัดข้องได้้ โดยปัจจุบันทันด่วน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มในราคาสูง เพึ่อ แจกจ่ายให้แก่ประชาชน การทั้งนี้ทำให้เกิดผลดีอย่างยิ่ง ๒ ประการคือ ประการแรกชาวต่าง เมืองทราบข่าว พากันบรรทุกข้าวของมาขายด้วยหวังกำไรงาม เมึ่อมีของขายมาก ราคาก็ย่อม ถูกลง ประการทิ่สองเมื่อประชาชนทราบกิตคิศัพท์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระ เมตตาต่อประชาราษฎร์ก็พากันมาสวามิภักดิ์ ทำให้มีพลเมืองเพิ่มขึ้น สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่ต้องสร้างชาติบ้านเมืองกันใหม่ พระองค์ทรงทำนุบำรุง การค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงค้าขายกับจีนเป็นประจำ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขาย หลายสาย ทางตะวันออกถึงเมืองจีน ทางตะวันตกถึงอินเคีย กำไรที่ได้ัจากการค้าสำเภามี มากพอ ช่วยบรรเทาการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในระยะแรกชึ่งราษฎรยังคงคัวไม่ได้้ สภาพ เศรษฐกิจดีขึ้นกว่าตอนต้นรัชกาล โดยมีรายได้จากภาษีขาเขาและภาษีขาออกจากเรือสินคา ต่างชาติ ได้้แก่จีนและชวาที่เข้ามาค้าขายกับไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ชึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้ง ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่่ในมือ ชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูก ไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ ขณะนั้นจีนกับพม่ากำลังมีศึกติดพันกันอยู่ทางยูนนาน ชาวพม่า ศัตรูของจีนหนีเข้ามาพักพิงในเขตของไทยทางภาคเหนือ ถึงแม้ในระยะนั้นราชสำนักจีนจะยัง ไม่ได้้รับรองรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ก็ได้ติดต่อขอให้ไทยจับกุมพวกพม่า ข้าศึกของจีนเหล่านั้นส่งไปให้จีนด้วย พอดีกับทื่พระองค์ทรงกรีธาทัพไปตีเชียงใหม่ จึงได้้ จับกุมผู้ชึ่งเชื่อว่าเป็นศัตรูของจีนส่งไปถวายพระเจ้ากรุงปักกิ่งถึง ๑๒ คน ตรงกับในพงศาวคาร จีนบันทึกไว้ดังนี้ " ใ่นเฉียนหลงตงฮวาลู่ เล่ม ๗๔ กล่าวว่า พวกเชลยที่พระเจ้าตากสินส่งไปถวาย พระเจ้าเขียนหลงนั้น เป็นชาย ๘ หญิง ๔" ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พระองค์ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าเขียนหลงอีกทูลว่า ''.......จะยกทัพไปรบพม่า จึงขอซื้อกำมะถันและกะทะเหล็กไปใช้ในราชการสงคราม พระเจ้า เขียนหลงโปรคอนุญาตให้พระเจ้าตากสินซื้อยุทธปัจจัย ดังกล่าวนั้นได้้ตามพระราชประสงค์ ในบี พ.ศ. ๒๓๑๘ ทรงแต่งทูตชึ่อเฉินว่านเซิ่ง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นคนจีน เชิญ พระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้ากรุงปักกิ่ง ทูลให้ทรงทราบว่าได้้ปราบพม่าพ่ายแพ้ไปแล้ว ขอส่ง ทหารจีนสังกัดเจ้าเฉินจัง ในยูนนาน ๑๙ คน ทื่พลัดมาเมืองไทยคืนกลับไปประเทศจีน นอกจากนั้น จากจดหมายเหตุความทรงจำขยงกรมหลวงนรินทรเทวี ๆ ทรงบันทึก ไว้ว่า ใ่ห้แต่งสำเภาส่งพระราชสาสน์ไปถึงพระเจ้าปักกิ่งว่า จะขอลูกสาวพระเจ้าปักกิ่ง ให้ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชผู้เถ้า กับหลวงนายฤทธิ หลวงนายศักดิ์ เป็นราชทูตหุ้มแพร มหาดเล็กเลวไปมาก แต่งเครึ่องบรรณาการไปกล่าวขอลูกสาวเจ้าปักกิ่ง" แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่มีจดไว้ในพระราชพงศาวดาร ในปี พ.ศ. ๒๓๒๔ เป็นปีแรกที่ไทยแต่งคณะทูตนำเครึ่องบรรณาการอย่างเป็นทาง การไปกระชับความสัมพันธ์ไมตรีกับจีน ซึ่งกำหนดเวลาทุก ๆ ๓ ปีต่อครั้งดังต่อไปนี้ คณะทูตของพระองค์ได้้เดินทางไปปักกิ่ง ประกอบด้วย พระยาสุนทรอภัยราชทูต หลวงพิไชยเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิจิตร ท่องลึ่อและหมึ่นพิพิธวาจา ปันสื่อ พระราชสาสน์ซึ่งพระองค์ทรงมีไปถึงพระเจ้าเขียนหลงกรุงปักกิ่งครั้งนั้นยังมีสำเนา เหลืออยู่ในเมืองไทย กรมศิลปากรได้้จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานฌาปนกิจศพ เมึ่อบี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระนามพระเจ้าตากสินในพระราชสาส์นภาษาไทยใช้ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงมหานครครีอยุธยา และเรียกพระนามพระเจ้าเขียนหลงว่า "สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิ้ง" คำว่า่ "ต้าฉิ้ง" คือคำเดียว กับไต้เช็ง อันเป็นชึ่อราชวงศ์จีนในขณะนั้น พระเจ้ากรุงปักกิ่งทรงต้อนรับคณะทูตไทยเป็นอันคี พระราชทานเลี้ยงโต๊ะที่พระตำหนักชัมเกาสุ่นฉาง ด้วยพระราชอัธยาศัยเช่นนี้ การค้าขายกับ จีนจึงเจริญรุ่งเรืองประสบผลดีเป็นอันมาก ๓. ด้านการคนนาคน ในยุคนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกเลิกความ คิคแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึก ศัครูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดู หนาวหากว่างจากศึกสงครามก็จะโปรดให้ตัดถนนและขุคคลองจะเห็นได้้จากแนวถนนเก่า ๆ ใน เขตธนบุรีซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทาง ยุทธศาสคร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเลเป็นต้น ๔. ด้านศิลปกรรม แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะทรงมีราชการงานศึก แทบจะมิได้้ว่างเว้น แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟูและบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาัูอย่างยิ่งด้าน นาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่า นับเป็นวิธีบำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึก สอนและออกโรงเล่นได้้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็น เครื่องต้น เครื่องทรง ก็แต่งกัน ได้ตามลักษระเรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเองก็คงจะสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่ น้อย ด้วยมักจะโปรคให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ เช่น งาน สมโภชพระนครตอนต้นรัชกาล งานสมโภชพระแก้วมรกตเมื่อครั้งตีได้้เมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคงจะทรงได้้คัวละคร พร้อมทั้งบทละครแบบเมืองนคร ฯ มาค้วย เพราะปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ ความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับเรึ่องเจ้า นคร กลัวพระบรมเดชานุภาพหนีไปพึ่งเจ้าเมืองจนะ หรือเทพา แล้วถูกเจ้าเมืองจับมาถวายว่า "พระฤทธิเทวาเจ้าึเมืองรู้ว่ากองทัพยกติดตาม (มา) กลัวพระบารมี ส่ง ตัวเจ้านครกับพวกพ้อง พงศ์พันธุ์ทั้งละครผู้หญิง เครื่องประดับ เงินทองราชทรัพย์ สิ่งของส่งมาถวายพร้อม เสด็จลงมา สมโภชพระบรมธาตุมีละครผู้หญิงแล้วให้ตั้งแห่ สระสนานสามวัน . . " และหลังจากเสร็จ กลับจากเมืองนครศรีธรรมราชเพียงเดือนเศษ ก็ทรงพระราชนิพนธ์กลอนบทละครรามเกียรติ์ จึงอาจเป็นไปได้้ว่าทรงได้้รับแรงบันดาลใจจากละครของเมืองนครศรีธรรมราชก็เป็นได้้ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ ไว้ ๔ เล่มสมุดไทย คือ เล่ม ๑ คอนพระมงกุฎ เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราช พิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง เล่ม ๔ ตอนทศกรรฐ์ ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอก กบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ ทำนองกลอนฟังแล้วรู้สึกว่ามีลักษณะขึงขัง ดำเนินเรื่องรวดเร็วแสดงว่าผู้เขียนทรง มีความเป็นนักรบมากกว่ากวี เช่น หนุมานทราบที่ซ่อนของวิรุญจำบังจากนางวาริน จึงตาม ไปฆ่า ความว่า " ครั้นถึงจึงพิจารณาฟอง ลอยพองลองตามนาไหล แต่ฟองน้ำอันหนึ่งไสร้ โตใหญ่ หลวงล้ำมหึมา ไม่ลอยลงไปเหมือนทั้งปวง ท่วงทีจะเป็นยักษา ก็ผาดโผนแผลงฤทธา เท่ามหาพรหมาเกรียงไกร มีหางใหญ่ยาวเจษฎา กระหวัดฟองคงคาอันใหญู่ สองหัตถ์คลำพิจารณาไป ที่ในมหาชลธาร ฝ่า่ยวิรุนจำบังตกใจ ก็รู้ว่าภัยตามผลาญ จึงอ่านพระเวทวิชาการ บันดานแทรกตัวออกมา พ้นจากวงหางขุนกระบี่ อสุรีอายใจยักษา ก็ผาดโผนแผลงฤทธา กลับเข้าเข่นฆ่าหนุมาน หนุมานแผ่นโผนโจนรับ จับกุมกันตามกำลังหาญ วิรุณจำบังตีหนุมาน พลำทานมิได้จมไป หนุมานผุดขึ้นอ่านมนต์ เข้าผจญชิงเอาตะบองได้ ตีวิรุญจำบังจมไป ผุดเมื่อไรซ้ำตีอสุรา....." ตามบานแผนกในต้นฉบับสมุดไทยบอกเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้หน้าต้นทุก เล่มว่า วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาล โทศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ คือเมื่อสร้างกรุงธนบุรีแล้ว ๓ บี หากได้ทรงพระราชนิพนธ์แล้วเสร็จก่อนไปตีเจ้าพระฝางใน งานสมโภชเมึ่อตีเมืองสวางบุรีได้แล้ว จากจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า รับละครผู้หญิงขึ้นไปสมโภชพระฝาง ๗ วันแล้วเสด็จไปเหยียบเมืองพิษณุโลก สมโภช พระชินราช พระชินศรี ๗ วันมีละครผู้หญิง " ครั้งนี้ใช้ละครเรึ่องรามเกียรติ์จากบทพระราช- นิพนธ์ก็เป็นได้้ การทิ่พระมหากษัตริย์ทรงใฝ่พระทัยในกวีนิพนธ์ ถึงกับทรงสร้างสรรค์สะสม นิพนธ์ทั้งที่แทบจะมิได้ว่างเว้นจากราชการทัพเช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่งสำหรับชน- ชาติไทยและเท่ากับเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ทื่มีความสามารถทางกวีนิพนธ์ ในยุคนั้นสร้างสรรค์ งานขึ้นมาได้้บ้าง แม้เหตุการณ์ของบ้านเมืองจะยังมิได้้คืนสู่สภาพปกติสุขดีนัก แต่สมเด็จพระเจ้า ตากสิน ฯ ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์กวีในราชส่านักเป็นอย่างดี กวีในยุคกรงธนบรีทีสร้างผลงาน วรรณคคีเป็นที่ปรากฏมาจนปัจจุบันนี้ ได้้แก่ หลวงสรวิชิค (หน) แต่งลิลิตเพชรมงกุฎ และ อิเหนาคำฉันท์ นายสวน มหาดเล็ก แต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรีและพระภิกษุอิน เมืองนครศรีธรรมราช แต่งคำฉันท์กฤษณาสอนน้อง เป็นต้น ๕. ด้านการช่าง โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือและให้ฝึกงานช่างทุกแผนกเท่าทื่มี ครูสอน เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ ช่างเขียน เป็นต้น นับแต่ว่าช่างต่อ เรือได้้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นยุคทื่มีการต่อเรือรบและเรือสำเภาค้าขายเป็นจำนวน มากมาย ช่างสมัยกรุงธนบุรีนี้อาจจะไม่มีเวลาทันสร้างผลงานดีเด่นเฉพาะสมัย แต่ก็ได้เป็นผู้ สืบทอดศิลปกรรมแบบอยุธยาไปสู่แบบรัตนโกสินทร์ ผลงานั้น ปรากฏมาจนทุกวันนี้ได้้แก่บาน ประตูประคับมุกทื่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระมณฑปด้านเหนือ ตู้พระไตร- ปิฎกประดับมุกในพระมณฑป และในหอพระมนเฑียรธรรมพระแท่นบรรทมประดับมุกของ รัชกาลที่ ๑ ตู้ลายรดน้ำในหอสมุดวชิรญาณ พระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ และ ภาพเขียนที่ฝาผนัง ในพระทื่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นต้น ๖. ด้านการศึกษา สมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงโปรดให้บำรุงการ ศึกษาคามวัดต่างๆ นอกจากนี้ ยังโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้น เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่ง คงจะเทียบได้้กับหอพระสมุดในระยะหลังส่วนตำรับตำราที่กระจัดกระจายในเมื่อคราวกรุงศรี อยุธยาแตกโปรดให้รีบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ต่อไป เเละที่แต่งใหม่ก็มี ๗. ด้านการศาสนา พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทรง โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังคงแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลาย และกวาดต้อนทรัพย์สินไป แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าประจำวัดส่วนพระไตรปิฎก ยังเหลือตค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับกลางแล้วส่งคืนไปทิ่เดิม เป็นพื้นฐาน อันสำคัญที่ช่วยให้การสังคายนาพระไตรปิกฎกในรัชสมัยต่อมาสำเร็จเรียบร้อย เกิดผลสมบูรณ์ อย่างถูกต้อง เรึ่องสังฆมณฑล พระองก์ทรงจัดระเบียบคณะสงฆ์ โดยทรงอาราธนาพระภิกษุ สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมปรึกษาหารือ ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) จัดตั้ง สังฆมณฑลขึ้น ทรงโปรดให้ดำเนินตามทำเนียมการปกครองคณะสงฆ์ที่มีมาแต่ก่อนโดยแยก เป็นฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญ ส่งเสรมการสอนภาษาบาลี เพื่อช่วยการอ่านพระไตรปิฎก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้ สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. ๒๓๓๒ ก็ได้้ใช้ฉบับชำระครั้งกรุงธนบุรีเป็นแบบฉบับและ ยัง เก็บรักษาไว้ ณ หอพระมนเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผ่า่ยวิปัสสนาธุระ ทรงโปรดให้กวดขันการปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นขั้นๆไปตาม ภูมิปฏิบัติ ชึ่งมี ๓ ขั้น คือ ขั้นศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา มีพระราชกำหนด ศีลสิกขา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ ซึ่งคล้ายกับนวโกวาท สอนวินัยบัญญัติในปัจจุบัน จากนั้นอีก ๓ ปี โปรดให้ชักนำการปฏิบัติขั้น จิตตสิกขา เพื่ออบรมจิตให้มั่นคง โดยอาราธนาพระเทพกวีออก ไปกัมพูชา พระพรหมมุนีออกไปนครศรีธรรมราชเพื่อเสาะหา คัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นคู่มือ ทำให้ชาติไทยเราได้มีพระคัมภีร์อันสำคัญยิ่ง ที่ต้องสูญเสียไปคราวเสียกรุงฯ เหตุการณ์ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มักเสด็จไปประทับนั่ง กรรมฐานที่วัดบางยี่เรือ (วัดอินทารามปจจุบัน) พระอารมณ์แปรเปลี่ยน ทรงสำคัญผิดคิดว่า บรรลุพระโสดาบัน พระองค์ทรงบังคับพระภิกษุสงฆ์ให้เข้าเฝ้าหมอบกราบเช่นฆราวาส ทรง ระแวงข้าราชการลอบลักพระราชทรัพย์ เกิดการกล่าวหาใส่ความกันและกัน เกิดความไม่เป็น ธรรมเดือดร้อนกันทั่ว ต่อมาชาวกรุงร่วมคิคกับพระยาสรรค์เบ็นกบฏ จับพระองค์บังคับให้ ทรงผนวช พระยาสรรค์ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ พอดีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ชึ่ง กำลังทำศึกกับเขมรครั้งที่ ๓ ทราบข่าวภัยทางกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับมาระงับเหตุได้้สำเร็จ โดยง่าย ไต่สวนเรื่องราวได้ความจริงจึงให้ประหารพระยาสรรค์กับพวกเสียสิ้น แล้วตั้งกระทู้ ถามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ให้ทรงชี้แจงเรึ่องที่ทรงกระทำแก่สงฆ์และประชาชนตลอด จนครอบครัวของผู้ไปราชการสงครามให้ได้้รับความทุกข์ยาก บ้างล้มตายโดยปราศจากความ ผิด พระองค์ทรงรั่บผิดทุกประการ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปรึกษากับข้าราชการ ทั้งปวง ปรึกษาโทษ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าควรสำเร็จโทษ ด้วยเกรงจะเกิดความไม่สงบสุข พระองค์จึงทรงถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ เวลาก่อนเที่ยง ณ วิหารวัดอรุณราชวราราม ขณะนั้นมีพระชนม์ ฯ ได้้ ๔๘ พรรษาเบึนการสิ้น สมัยกรุงธนบุรี แต่นั้นมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทระมีพระทัยเด็ดเดี่ยว กล้าหาญยิ่ง ด้วยพระปรีชา สามารถ ดังที่มองเชนเยอร์ เลอบอง ได้้ชมเชยไว้ว่า ". . . พระองค์ทรงทนทานแก่ความ เหน็ดเหนึ่อย ทั้งทรงกล้าหาญ และพระปัญญาเฉียบแหลมมีพระนิสัยกล้าได้้กล้าเสีย และพระ ทัยเร็ว ถ้าจะว่าก็เป็นทหารอันกล้าหาญคนหนึ่ง . . " พระองค์ทรงกระทำสงครามกอบกู้ เอกราชชาติไทย สรางชาติใหม่ ฐานะมั่นคงปรากฏเกียรตภูมิไปทั่วทิศ ข้าศึกศัตรูต่างหวั่นเกรง ในพระเดชานุภาพ แม้แต่ชาวไทยเองก็หวั่นเกรงในพระราชอาญาสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ชาวไทยยุคนั้นย่อมจะรู้สึกเทิดทูน และเชื่อมั่นในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพราะ พระองค์ได้้ทรงขับไล่ข้าศึกบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ราษฎร ประกอบกับพระราชอัธยาศัย ที่โปรดการประทับใกล้ชิดราษฎร เพื่อสอคส่องทุกข์สุขของราษฎรด้วยพระเนตร และพระกรรณ ของพระองค์เอง เช่น ที่มองเชนเยอร์ เลอบอง เล่าไว้ดังได้้ยกมากล่าวแล้วในข้างต้น หรือ เช่นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนยันพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช เมื่อทรงวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้เขียนจดหมายเหตุ ความทรงจำของกรมหลวง นรินทรเทวีว่า่ " เป็นผู่รู้กิริยาอัชฌาสัยเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งลูกหลานเขาเล่ากันว่า เมื่อจะรับ สั่งกับใคร ๆย่อมเรียกพระองค์เองว่าพ่อ ดังนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้คุ้นเคยในหมู่ลูกหลานเจ้ากรุงธนบุรี มาก คือ คุณปลัดเสงี่ยม บุตรพระพงษ์นรินทร์ ได้้เลี้ยงมา ทั้งได้้คุ้นเคยกับเจ้านายหญิง ลูกหม่อมเหม็นหลายองค์ จึงได้้รู้เรื่องราวของเจ้ากรุงธนบุรี และพระกิริยาอัชฌาสัย ทั้งทราบ ถ้อยคำของลูกหลานนั้นเคยยกย่องกันๆย่างไรด้วย" เช่นนั้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะต้องทรงเป็นที่รักใคร่ของราษฎรอย่างแท้จริง จึงไม่เป็นข้อที่พึงสงสัยเลยว่า เหตุใดประชา ราษฎรตลอดจนเจ้านายและข้าราชบริพารจึงโศกเศร้านัก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรคให้ขุดพระบรมศพขึ้นมาถวายพระเพลิง ทั้ง ที่ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคคล่วงแล้วถึง ๓ ปี เหตุการณ์ครั้งนั้น พระราช พงศาวดารบันทึกว่า่ "ฝ่า่ยข้างกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ดำรัสให้ขุคหีบศพเจ้าตากขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือ ให้มีการมหรสพและพระราชทานพระ สงฆ์บังสุกุลเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงทั้งสองพระองค์ "ขณะนั้น พวกเจ้าจอมข้างในทั้งพระราชวังหลวงวังหน้าชึ่งเป็นข้าราชการครั้ง แผ่นดินเจ้าตาก คิดถึงพระคุณชวนกันร้องไห้ . . " และนายปรีดา ศรีชลาลัย ได้้เขียนเล่า ไว้ในเรื่อง งานสร้างชาติไทยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่า" . . . พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระกรุณาตรัสเล่าเหตุการณ์ตอนถวายเพลิงพระบรมศพแก่ นายพลตรี พระยาวิบูล อายุรเวท (เสข ธรรมสาโรช) ในขณะที่กำลังประทับรถไฟเสด็จผ่าน ทางทะลุ จังหวัดเพชรบุรี เป็นใจความว่า่ "ครั้งนั้น เมึ่อราษฎรได้้ทราบข่าวทางราชการ จะถวายพระเพลิงพระบรมศพ ต่างเตรียมโกนผม นุ่งขาวไปในงานถวายพระเพลิงอย่างล้นหลาม ด้วยความเต็มอกเต็มใจทื่สุด โดยไม่ต้องมีหมายประกาศกะเกณฑ์อย่างใดๆ พอถึงเวลาถวาย เพลิง ราษฎรร้องไห้รำพันถึงพระเดชพระคุณ แทบจะทั่วหน้า" ชาวไทยรุ่นหลังต่างน้อมเทิดสักการะในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกษัตริย์ไทย ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพและพระมหากรุณาธิคุณ ทางราชการจึงได้้กำหนดวันที่ ๒๘ ธันวาคมทุกปี เป็น วัน "สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี" และให้มีพระราชพิธีสักการบูชา พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ สืบมา ทุกปี ตากสินมหาราช ชนชาติประชาไทย น้อมนบระลึกใน สุประวัติวิวรรธน์การ ยามเข็ญลุทับถม วิยพรหมสิบันดาบ ผ่านเกล้าฯ ธ เจือจาน จิรสุขเปรมปรีดิ์ บุกบั่นละชีพิต ธรฤทธิราวี ปราบราชไพรี ชิตมอบไผทไทย สมแล้ว "มหาราช" ชนชาติถวายชัย- มงคลสถิตไท้ นิรทุกข์นิรันดร์ เทอญฯ