ความทรงจำ พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงค้างไว้ ๕ ตอน สำนักพิมพ์สมาคมสัมคมศาสตร์แห่งประเทศไทย แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้จัดตั้ง สำนักพิมพ์ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือและตำรา เรียน ตลอดจนสารคดีต่างๆ อันเหมาะแก่การศึกษาขั้น มหาวิทยาลัย และเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในวิชาความรู้ โดยทั่วๆ ไป บัดนี้ได้จัดตั้งคณะบรรณาธิการขึ้นดำเนินงาน แล้ว การจัดตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นใหม่นี้ เพื่อมีวัตถุประสงค์ ส่งเสริม ให้ผู้มีความรู้ความสามารถ และครูอาจารย์ต่างๆ แต่งตำราเรียนและหนังสือต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การ ศึกษาของมหาวิทยาลัย และการแปลตำราจากภาษาอื่นๆ มาเป็นภาษาไทย สำนักพิมพ์ยินดีที่จะให้ค่าตอบแทนแก่ ผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ด้วย ในเมื่อคณะบรรณาธิดารได้ลง มติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดพิมพ์ได้ ทางสำนักพิมพ์รู้สึกอยู่เสมอว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้มีคุณูปการอันใหญ่หลวงในทาง สังคมศาสตร์ จึงใคร่ได้ตีพิมพ์พระนิพนธ์ ให้แล้วทัน พ.ศ. ๒๕๐๕ อัน เป็นปีที่มีงานเฉลิมฉลองรอบศตพรรษแห่งพระชนมายุ เห็นว่าเรื่อง ความทรงจำ เป็นหนังสือเหมาะแก่โอกาส เหตุเพราะขาดตลาดมานาน และเป็นเรื่องเนื่องพระประวัติ พระองค์ท่านโดยเฉพาะ ถึงการตี พิมพ์จะไม่แล้วเสร็จทันกำหนดที่มุ่งหมายไว้ ด้วยมีอุปสรรคลางประการ แต่ก็เชื่อว่าหนังสือนี้คงจะเป็นเครื่องแสดงกตเวทิตาธรรมอันสำนักพิมพ์นี้มี ต่อสมเด็จกรมพระยาพระองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์นั้น ม.จ. พูนพิศสมัย ดิศกุล ทรงเล่าเกี่ยวกับพระนิพนธ์เรื่องนี้ ไว้ดังนี้ ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสแก่เสด็จ พ่อว่า "ถ้าอากรมทรงเขียน Memoirs ก็จะน่าอ่านเป็นอันมาก เพราะได้ทอด พระเนตรเห็นมาในรัชกาลที่ ๔" เสด็จพ่อกราบทูลตอบแต่ว่า "จะลองดู" ครั้น เสด็จไปอยู่ในเมืองปีนังแล้ว ก็ได้ทรงตั้งต้นเขียนเรื่อง ความทรงจำ ตอนที่ ๑ ตั้งแต่ประสูติจนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ตอนที่ ๒ พระราชประวัติของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อก่อนเสด็จขึ้นเสวยราชย์ ตอน ที่ ๓ เรื่องเปลี่ยนรัชกาล ตอนที่ ๔ เริ่มรัชการที่ห้า ตอนที่ ๕ เรื่องเสด็จ พระราชดำเนินไปต่างประเทศครั้งแรก จนถึงเสด็จพ่อทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ใน วัดบวรนิเวศน์ แล้วลาผนวชออกไปอยู่วังครั้งแรกกับคุณย่า พอจบตอนที่ ๕ แล้ว ก็ตรัสแก่ฉันว่า "พ่อเห็นจะเขียนต่อไปไม่ได้เสียแล้ว เพราะรู้สึกว่าเหมือนลอก หนังกำพร้าของตัวเอง" ฉันทูลวิงวอนว่าเสียดายเพราะสนุก และขอประทานให้ ทรงนึกว่าเขียนเรื่องของคนอื่นไม่ได้หรือ ท่านทรงนึกอยู่สองสามวันแล้วก็ตรัสบอก อีกว่า "ไม่ได้แน่ เพราะผลบางอย่างต้องเล่าถึงเหตุ แล้วเหตุนั้นต้องพาดพิงไป ถึงเรื่องของผู้อื่นด้วย พ่อจึงไม่สมัครใจจะเขียน" แล้วก็ประทานเรื่องที่ทรงค้างให้ เก็บไว้เพียง ๕ ตอน ต่อมาทรงเขียนประวัติประทานพระยาพฤฒาธิบดี เจ้าพระยายมราช พระยา โบราณราชธานินทร์ พระยานครพระราม และพระยาพิพิธมนตรี ในเวลาที่ทรง เขียนอยู่นี้ทรงตรัสเล่าเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ ฉันจึงทูลถามว่า "เสด็จพ่อทรงเขียน ให้ผู้อื่นมากมายแล้ว ใครจะเป็นผู้เขียนถวายเสด็จพ่อบ้าง" ท่านทรงตอบว่า "ก็ อยู่มาจนแก่ถึงเพียงนี้ ชั่วดีอย่างไรก็เห็นกันแล้ว จะต้องเขียนอีกทำไม" ฉันทูลว่า "เขียนไว้ให้ลูกหลานที่ยังไม่รู้จัก ได้รู้จักจริงๆ" ท่านทรงนิ่งไปครู่ใหญ่แล้วก็ ตอบว่า "เอาประกาศตั้งกรมก็พอแล้ว เพียงประกาศเป็นกรมหลวง พ่อก็พอใจ เพราะในหลวงท่านทรงแต่งเอง ต้องเป็นความจริง" เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้ทรง ความทรงจำ ให้ตลอด และเพื่อให้ทราบพระประวัติของพระองค์ ท่านบริบูรณ์สมดังพระประสงค์ จึงได้คัดประกาศตั้งกรมและเลื่อนกรม มาลงไว้ พร้อมทั้งข้อความที่คัดจากสมุดพระประวัติทรงรับราชการ ซึ่งตรัส บอกให้กรอกลงไว้ด้วยพระองค์เอง กับได้ลงพิมพ์บทพระนิพนธ์ อันว่าด้วย สายสกุลฝ่ายพระมารดาไว้ด้วย ทั้งหมดนี้รวมเป็นภาคผนวก ทางสำนักพิมพ์ขอของพระทัย ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล ที่ประทาน ลิขสิทธิ์ให้ในการตีพิมพ์คราวนี้ ทั้งยังทรงอำนวยความสะดวกอื่นๆด้วย นับเป็นพระกรุณาคุณอันสูง ม.จ. จงจิตรถนอม ดิศกุล ก็ทืรงพระกรุณา ให้ฉายรูปบนตำหนักส่วนพระองค์ ซึ่งได้นำลงประกอบเรื่อง ขอขอบพระ คุณไว้ในที่นี้ด้วย ทั้งเจ้าพนักงานในหอสมุดดำรงราชานุภาพก็ได้ให้ความ ช่วยเหลือเป็นอย่างดี จึงขอแสดงความขอบใจไว้ให้ปรากฎ และขอขอบ คุณ นายอวบ สาณะเสน ผู้ออกแบบปกและจัดรูปเล่มให้โดยตลอด บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย ถนนพญาไท จุฬาฯซอย๒ โทร๓๔๘๗๗ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๕ เริ่มเรื่องประวัติ ฉันเกิดในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีจอ วันเสาร์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ประเพณีในราชสกุลสมัยนั้น เมื่อพระเจ้าลูกเธอประสูติ ถ้าเป็นพระองค์ชายได้พระราชทานพระขรรค์เล่ม ๑ กับปืนพกกระบอก ๑ ถ้าเป็นพระองค์หญิง ได้พระราชทานพระภูษาแพรคลุมพระองค์ผืน ๑ เป็นของเฉลิมขวัญ ให้วางไว้ในกระด้งที่รองพระองค์ เมื่อประสูติแล้ว ได้ ๓ วัน มีการพิธีเวียนเทียนสมโภชตำหนักที่ประสูติ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงประทับเป็นประธาน ทรงรดน้ำพระมหา สังข์และเจิมพระราชทาน ฉันได้เฝ้า ทูลกระหม่อม สมเด็จพระบรม ชนกนาถของฉันเป็นครั้งแรกในวันนั้น ต่อนั้นมาเมื่อประสูติแล้วได้เดือน ๑ มีการพิธีสมโภชอีกครั้ง ๑ เรียกว่าสมโภชคืน เป็นการใหญ่กว่าสมโภช ๓ วัน ต้องหาฤกษ์ทำในวันดี บางทีเกินวันครบเดือนไปหลายๆวัน พิธีนั้นเริ่มด้วยพระสงฆ์เจริญพระปริตตอนบ่ายเมื่อก่อนวันฤกษ์ ครั้นถึง วันฤกษ์ เวลาเข้าเลี้ยงพระและสงฆ์อำนวยพรก่อน แล้วจึงทำพิธี พราหมณ์ คือโกนผมไฟไว้จุก แล้วพระครูพราหมณ์เอาลงอาบน้ำในขัน สาคร ครั้นถึงเวลาบ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลง ประทับเป็นประธานในการพิธีเวียนเทียนสมโภช และทรงรดน้ำพระมหา สังข์ทรงเจิมเหมือนดังก่อน สมโภชแล้วพระครูพราหมณ์อุ้มเอาขึ้นวาง ในพระอู่ไกว ร่ายมนต์กล่อม ๓ ลา เป็นเสร็จการพิธี ในวันพิธีสมโภช เดือนนี้ ทูลกระหม่อมพระราชทานของขวัญ คือทองคำสำหรับให้ทำ เครื่องแต่งตัวกับเงินร้อยชั่ง (๘,๐๐๐ บาท) สำหรับเป็นทุน และพระ ราชทานชื่อด้วย ฉันได้พระราชทานชื่อว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร คนทั้ง หลายเรียกกันว่า พระองค์ดิศ มาจนได้รับกรมในรัชกาลที่ ๕ นาม ดิศ ที่พระราชทานเป็นชื่อของฉันนั้น ในทางพระศาสนาถือว่ามีศิริมงคล ด้วยเป็นพระนามพระพุทธเจ้าก็มี เป็นพระนามพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรง พระเกียรติในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาก็มี แต่ตามคำของท่านผู้ใหญ่ ในวงศ์ญาติซึ่งรับราชการอยู่ใกล้ชิดพระองค์สมัยนั้น ท่านว่าพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอานามของคุณตา(ท่านชื่อ ดิศ เป็นพระยาบำเรอภักดีอยู่ในเวลานั้น) มาพระราชทาน ด้วยทรงพระราช ดำริว่าเป็นคนซื่อตรง เรื่องประวัติของคุณตานั้น ปู่ของท่านชื่อ บุญเรือง เดิมเป็นที่หลวงคลังเมืองสวรรคโลก ได้เป็นข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีความชอบมาแต่ครั้งรบพม่าที่เมืองเหนือ ครั้นเสด็จผ่านพิภพจึงทรงตั้งให้เป็นที่ พระจันทราทิตย์ ใน กรมสนม พลเรือน ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพระยาในรัชการที่ ๑ นั้น บุตรของพระยา จันทราทิตย์คน ๓ ชื่อ เลี้ยง ไม่ปรากฎว่าได้ทำราชการตำแหน่งใด มีบุตรคือคุณตา เกิดในรัชการที่ ๑ ถึงรัชการที่ ๒ เมื่องานพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลงสรง คุณตาอายุได้ ๗ ขวบ พระยาจันทราทิตย์ผู้ปู่นำถวายสมโภช จึงได้เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมอยู่ กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ยังทรงพระเยาว์มา ครั้นถึง รัชกาลที่ ๓ เมื่อกรมหมื่นศักดิพลเสพได้เป็นพระมหาอุปราช ทรงคุ้นเคยกับ นายเลี้ยงบิดาของท่านมาแต่ก่อน จึงโปรดตั้งให้เป็นที่จมื่นอินทรประพาส ในกรมวังวังหน้า เวลานั้นพระยาจันทราทิตย์ถึงอนิจกรรมแล้ว จมื่น อินทรประพาส จะเอาคุณตาไปถวายตัวทำราชการให้มียศศักดิ์ในวังหน้า คุณตาไม่ยอมไปว่า ไม่ขอเป็นข้าสองเจ้า ถึงจะเป็นอะไรก็จะอยู่เป็นข้าแต่ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว แล้วอยู่สนองพระเดช พระคุณมาจนตลอดรัชการที่ ๓ จึงทรงยกย่อมความซื่อตรง ของท่าน เล่ากันมาอย่างนี้ และมีความปรากฎในหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่ง ๑ ทรงบริภาษพวกข้าหลวงเดิมว่า เห็นผู้อื่นมีบุญก็มักเอาใจออกหาก เคยเห็นใจมาเสียแล้ว จะไม่เป็นเช่น นั้นก็แต่ อ้ายเฒ่าดิศ (กับใครอีก ๒ คน) พระราชดำรัสนี้ดูประกอบที่ เล่า ให้เห็นว่าเป็นความจริง ลักษณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระนามพระเจ้าลูกเธอนั้น ทรงเขียนลายพระหัตถ์เป็น ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ เป็นอักษรและภาษาไทยพระราชทานพระนาม อีกฉบับ ๑ เป็นอักษรอริยกะ และภาษามคธ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคาถาพระราชทานพร คาถาที่พระ ราชทานพรฉันว่า สุขี อยํ โหตุ สทา กุมาโร นาเมน โสว ติสฺสวโร กุมาโร อายุญฺจ วณฺณญฺจ สุขพฺพลญฺจ ติกฺขญฺจ ปฺญญฺจ ปฏิภาณภูตํ ลทฺธา ยสสฺสี สุชตํ มหิทฺธี ปโหตุ สพฺพตฺถ จิรํ สุชีวี กุลญฺจ รกฺเขถ สมาจรญฺจ สพฺเพหิ สตฺตูหิ ชยํ ลเภถ สุขี ทีฆายุโก โหตุ ปุตฺโต ติสฺสวรวฺหโย กุมาโร ชุมปุตฺโตยํ อิทฺธิมา โหตุ สพฺพทา พุทฺโธ ธมฺโมจ สง์โฆ จฺ อิจฺเจตํ ตรนตฺตยํ ตสฺสาปิ สรณํ โหตุ สมฺมา รกฺขตุ นํ สทาฯ คำ สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ แปลคาถา ขอกุมารนี้จงมีความสุขในกาลทุกเมื่อ กุมารนี้จงมีนามว่าดิศวรกุมาร โดย นามนิยม ขอดิศวกุมารนี้ จงได้ซึ่งชนมายุยืนยง ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ขอจง ได้ซึ่งวรรณผิวกายอันผ่องใส และจงได้วรรณะคุณความสรรเสริญเป็นนิรันดร ขอ จงได้ซึ่งสุขกายสุขใจเป็นนิจกาล จงได้ซึ่งกำลังกายอันแกล้วกล้า ทั้งให้มีกำลัง ปัญญารู้รอบคอบในกิจการทั้งปวง และให้ฉลาดในปฏิภานโวหารกล่าวคำโต้ตอบใน ที่ประชุมชน ขอให้ดิศวรกุมารมีอิสสริยยศ บริวารยศ ปรากฎด้วยมหิทธิศักดา เดชานุภาพมาก ขอให้มีชนมชีพยืนนานพอเพียงควรแก่การ อนึ่ง ขอให้ดิศวรกุมารพึงรักษาไว้ซึ่งสกุลวงศ์ให้ดำรงยืนยาว และพึง รักษาไว้ซึ่งจรรยา คือ ความประพฤติชอบธรรมสุจริต พึงได้ชัยชำนะปัจจามิตร ในที่ทั้งปวง อนึ่ง ขอให้กุมารบุตรของเรา อันมีนามว่า อิศวรกุมาร ผู้เป็นบุตร ชุ่ม นี้ จงมีฤทธานุภาพในการทั้งปวง ขอพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็น ที่พึ่งแก่ดิศวรกุมารนั้น และจงรักษาซึ่งดิศวรกุมารนั้น โดยชอบในกาลทุกเมื่อเทอญ คาถาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ พระราชทานพระเจ้าลูกเธอนั้น ประทานพรบางอย่างเหมือนกันทุกพระองค์ แต่มีบางอย่างแปลกๆกัน สมเด็จกรมพระยาเทววงศวโรปการได้ทรง พยายามรวบรวมคาถาพระราชทานพรแปลเป็นภาษาไทย ตรัสว่าทรง พิจารณาดูพรที่พระราชทานแปลกันนั้น มักจะได้ดังพระราชทานพร ที่ตัว ฉันได้พระราชทานจะได้จริงเพียงไรแล้วแต่ผู้อื่นที่รู้จักจะพิจารณา แต่ลูก ของฉันเองเพิ่งได้อ่านหนังสือ พระชุมคาถาพระราชทานพร เมื่อกรมหมื่น ราชศักดิ์สโมสรโปรดให้พิมพ์แจกเป็นของชำร่วย ในงานฉลองพระชนมายุ เสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อพ.ศ.๒๔๗๒ อ่านแล้วพูด กันว่ "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" เป็นทำ นองว่าเพราะฉันไม่ได้พระราชทานพรข้อนี้จึงไม่รู้จักมั่งมี ตามความเข้าใจ ของคนทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ดูเหมือนจะหมายความว่าต้องมีเงินนับด้วยแสน จึงมั่งมี แต่ก่อนมาหาเป็นเช่นนั้นไม่ ด้วยตั้งแต่โบราณมาจนสมัยเมื่อฉันยัง เป็นเด็กไม่ใคร่มีใครมีเงินมากเพราะการเลี้ยงชีพไม่ต้องใช้เงินเท่าใดนัก ข้าว ปลาอาหารราคายังถูก เป็นต้นว่าข้าวสารราคาก็เพียงถังละ ๕๐ สตางค์ ผู้ทรงศักดิ์มีบ่างไพร่เป็นชาวสวนชาวนายังได้กองกำนัลเจือจาน การที่ต้อง ใช้เงินไม่มีมากมายเท่าใดนัก แม้จนเครื่องนุ่งห่มใช้สอยและของเล่นที่ยั่ว ให้ซื้อก็มิใคร่มีอะไร ผิดกับทุกวันนี้มาก ในเหล่าเจ้านายจึงมีน้อยพระ องค์ทีเดียวที่รู้จักเอาพระทัยใส่ในการสะสมเงินทอง อีกประการ ๑ ผล ประโยชน์ของเจ้านายที่ได้พระราชทานก็ยังน้อยกว่า ว่าส่วนตัวฉันเองได้เงิน เดือนๆละ ๘ บาท ได้ข้าวสารสำหรับให้พี่เลี้ยงแม่นมและบ่าวไพร่กิน กับน้ำมันมะพร้าวสำหรับตามตะเกียงที่เรือน จะเป็นเดือนละกี่ถังลืมเสีย แล้ว ถึงปีได้พระราชทานเบี้ยหวัด เบี้ยหวัดพระเจ้าลูกเธอที่ยังไม่ได้ โสกันต์กำหนดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต่ำปีละ ๒ ชั่ง (๑๖๐ บาท) ชั้นกลาง ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง (๒๐๐บาท) ชั้นสูง ๓ ชั่ง (๒๔๐ บาท) ฉันได้เคยรับทั้ง ๓ ชั้น แต่ได้เลื่อนชั้นเร็วเพราะอยู่ในพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็กที่โปรดทรงใช้ สอย พออายุ ๖ ขวบก็ได้รับเบี้ยหวัดถึงชั้น ๓ นอกจากนั้นยังได้ เงินงวด ประจำปีจากภาษีอากรบางอย่าง และมีอสังหาริมทรัพย์ได้พระราชทาน ๒ แห่ง คือตึกแถวที่ริมถนนเจริญกรุง ๒ ห้อง ได้ค่าเช่าห้อง ๑ เดือนละ ๔ บาท กับนาที่ริมคลองมหาสวัสดิ์แปลง ๑ เป็นเนื้อนารวม ๓๐๐ ไร่ คุณ ตาจัดการทำ ได้ข้าวมาเจือจานกันกินบ้าง ถ้าคิดเป็นเงินรายได้ทุกประเภท ที่กล่าวมา เห็นจะตกราวปีละ ๓,๐๐๐ บาท ดูก็ไม่รู้สึกอัตคัตในสมัยนั้น เรื่องประวัติในตอนเมื่อฉันยังเป็นทารก แม่เล่าให้ฟังบ้าง ได้ยิน ท่านผู้อื่นที่ได้เลี้ยงดูอุปการะเล่าบ้าง เป็นเรื่องๆ ไม่สู้ติดต่อกัน แม่เล่า ให้ฟังเป็นเรื่องต้น ว่าเมื่อพาฉันไปเฝ้าบรพระมหามณเฑียรครั้งแรก ทูลกระหม่อมเอานิ้วพระหัตถ์จิ้มที่ปากสักครู่หนึ่ง แล้วตรัสแก่แม่ว่า "ลูก คนนี้จะฉลาด" เมื่อมาคิดว่าในเวลานั้นอายุของฉันเพียงสักสามสี่เดือน จะทรงพยากรณ์ด้วยสังเกตุอย่างไรก็น่าพิศวง บางทีจะทรงสังเกตว่าดูด นิ้วพระหัตถ์หรือไม่ เพราะธรรมดาลูกอ่อนย่อมชอบดูดนม เมื่อเอานิ้วจิ้ม ที่ปาก ถ้าเป็นทารกมีอุปนิสัยสังเกต รู้ว่ามิใช่นมก็ไม่ดูด ถ้าไม่มีอุปนิสัย เช่นนั้นก็หลงดูดนิ้วด้วยสำคัญว่านม หลักของวิธีที่ทรงพยากรณ์จะเป็นดัง ว่านี้ดอกกะมัง เรืองประวัติตามได้ยินท่านผู้ใหญ่เล่ามา ว่าเมื่ออายุฉันได้ ๒ ขวบ เจ็บหนักครั้ง ๑ ถึงคาดกันว่าจะตาย พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นอธิบดีกรมหมอ หลวง เสด็จเข้าไปทรงดูแลการรักษาพยาบาล และกรมหลวงวงศาฯ ตรัสให้หลวงจินดา (ชื่อตัวว่าอะไรลืมเสียแล้ว) ตั้งยารักษาฟื้น จึงได้ รอดชีวิตมา เมื่อหายเจ็บแล้ว ต่อมาจะได้ตามเสด็จไปพระนครศรีอยุธยา แม่เกรงว่าเอาแม่นมไปด้วยจะลำบาก จึงคิดจะได้ฉันอย่านม ด้วยหา อาหารอย่างอื่นล่อ และห้ามมิให้แม่นมให้กินนม แต่ฉันร้องไห้จนนม พลัดแกสงสารลอบมาให้กินนมทุกวัน ก็ไม่อย่านมได้ทันวันตามเสด็จ จึง ต้องให้แม่นมไปด้วย แต่เมื่อไปอยู่ตำหนักเล็กบนลานช้างหลังพลับพลา จตุรมุขในวังจันทรเกษม แม่ยอมให้กินนมแต่วันแรก พอตกค่ำสั่งให้เอา ตัวนมพลัดไปคุมไว้เสียที่อื่น ไม่ให้ลอบมาหาได้ ในคืนวันนั้นปล่อยให้ ฉันร้องไห้ดิ้นรนจนหลับไปเอง รุ่งขึ้นก็เป็นอย่านมได้ ตำหนักในวังจันทรฯ หลังนั้นยังอยู่จนถึงรัชการที่ ๕ เมื่อฉันขึ้นไปภายหลังนึกว่าจะได้ตั้งแต่ ครั้งเมื่อถูกอดนม ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงเป็นเพราะรู้สึกตามประสาเด็ก ว่า ได้รับความทุกข์ร้อนใหญ่หลวงเมื่อครั้งแรก จึงไม่ลืม แต่เมื่อมาคิดดูว่า เวลานั้นอายุยังไม่ถึง ๓ ขวบ ก็เกิดสงสัยว่าหรือจะหลงเอาเรื่องที่ได้ฟัง เล่ากับที่ได้เห็นภายหลังมาสำคัญปนกันไป มีอีกเรื่อง ๑ ซึ่งจำได้เนื่อง กับตามเสด็จไปวังจันทรฯ คือเขาเอาดินปั้นเป็นกรงมีซี่ไม้ไผ่อยู่ข้างบน ใส่จิ้งหรีดมาให้เล่น ฟังมันร้องและดูมันกัดกันสนุกดี แต่ก็ได้ไปวังจันทรฯ หลายครั้ง อาจจะมาจำได้ต่อเมื่อไปครั้งหลังๆ เพราะฉะนั้นเห็นจะไม่ ควรอวดว่ารู้จักจำมาแต่เล็ก ที่มาเริ่มจำความได้จริงนั้นตั้งแต่ปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เมื่ออายุได้ ๔ ขวบเป็นต้นมา ถึงตอนนี้เริ่มเรียนหนังสือ และขึ้นไปเฝ้าทูลกระหม่อมทุกวัน เวลานั้นเสด็จประทับที่พระอภิเนาว นิเวศน์แล้ว การศึกษาของพระเจ้าลูกเธอ ดูเหมือนจะมีระเบียบมาแต่ใน รัชการที่ ๑ (บางทีจะตามอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา) ใช้มาจนในสมัย เมื่อฉันเริ่มศึกษา ถ้าเรียกตามคำที่ใช้ในการศึกษาทุกวันนี้ ขั้นปฐมศึกษา เรียนต่อครูผู้หญิงที่ในพระราชวัง เหมือนกันทั้งพระองค์ชายและพระองค์ หญิง พอพระชันษาได้ ๓ ขวบ ก็ตั้งต้นเรียนหนังสือไทยจนพระชันษา ราว ๗ ขวบ จึงเริ่มเรียนชั้นมัธยมศึกษาภาคต้นถึงชั้นมัธยม การเล่าเรียน ของพระองค์ชายกับพระองค์หญิงเริ่มแยกกัน พระองค์ชายเรียนต่อครูผู้ชาย พระองค์หญิงคงเรียนต่อครูผู้หญิง เพราะวิชาที่เรียนตอนนี้ผิดกัน พระ องค์ชายเริ่มเรียนภาษามคธ พระองค์หญิงก็เริ่มฝึกหัดการเรือน แต่ คงเรียนภาษาไทยด้วยอ่านหนังสือเรื่องต่างๆ เหมือนกันทั้งพระองค์ชาย และพระองค์หญิง การฝึกหัดกิริยามรรยาทก็กวดขันตั้งแต่ขั้นนี้ เขตของ การเรียนชั้นมัธยมภาคต้นไปจนถึงโสกันต์ (พระองค์ชายพระชันษา ๑๓ ปี พระองค์หญิงพระชันษา ๑๑ ปี) แต่นั้นเรียนวิชาชั้นมัธยมภาคปลาย คือ พระองค์ชายผนวชเป็นสามเณร เรียนพระธรรมกับทั้งฝึกหัดปฏิบัติพระ วินัย Discipline และเริ่มเรียนศิลปวิทยาเฉพาะอย่างที่ชอบพระอัธยาศัย ทรงผนวชอยู่พรรษา ๑ บ้าง กว่านั้นบ้าง จึงลาผนวช (ที่ทรงผนวชอยู่จน อุปสมบทเป็นพระภิกษุมีน้อย) เมื่อลาผนวชแล้วต้องออกมาอยู่นอกพระ ราชวัง แล้วเรียนวิชาเฉพาะอย่างแต่นั้นมา การเรียนเฉพาะวิชาใน สมัยนั้น อาศัยไปฝึกอยู่ในสำนักผู้เชี่ยวชาญ ด้วยยังไม่มีโรงเรียน แต่ วิชารัฐประศาสตร์และราชประเพณีนั้น เจ้านายได้เปรียบคนจำพวกอื่น เพราะมีตำแหน่งเข้าเฝ้าในท้องพระโรง อันเป็นที่ว่าราชการบ้านเมือง ได้ เรียนด้วยได้ฟังคดีที่เจ้าหน้าที่กราบบังคมทูลและที่พระเจ้าอยู่หัวทรงบัญชา การมาแต่ยังเยาว์วัย ตลอดจนได้คุ้นเคยกับท่านผู้หลักผู้ใหญ่ในราชการ บ้านเมือง ด้วยเข้าเฝ้าทุกๆวันดังกล่าวมา การศึกษาชั้นนี้ตลอดเวลา ราว ๖ ปี จนพระชันษาได้ ๒๓ ปี ถึงเขตอุดมศึกษา ทรงผนวชอีกครั้ง ๑ เป็นพระภิกษุ ศึกษาพระธรรมวินัยกับทั้งวิชาอาคมชั้นสูง ซักซ้อมให้ เชี่ยวชาญ เปรียบเหมือนอย่างเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อลาผนวช ก็เป็น สำเร็จการศึกษา สามารถรับราชการได้แต่นั้นไป ส่วนเจ้านายพระองค์ หญิงนั้น ตั้งแต่โสกันต์แล้วก็ทรงศึกษาวิชาความรู้ขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ นับแต่การศึกษาศีลธรรมและฝึกหัดวิชาการเรือน และเริ่มเรียนวิชาเฉพาะ ประเภทอันชอบพระอัธยาศัยสืบเนื่องไป จนอำนวยการต่างๆ ในหน้าที่ ของขัตติยนารีได้โดยลำพังพระองค์ ข้อที่พระองค์ขายมีโอกาสเรียนราช การเพราะเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จออกท้องพระโรง เจ้านายพระองค์หญิงก็มี โอกาสศึกษาทางฝ่ายใน ได้ความรู้ทั้งราชประเพณีและระเบียบวินัยใน สมาคมของกุลนารี จนสามารถรับหน้าที่ราชการฝ่ายในและฝึกสอนผู้อื่น สืบกันมา ที่ในพระราชวังจึงเป็นแหล่งสำหรับเรียนวิชามรรยาทสำหรับ กุลสตรี เปรียบเหมือนวิทยาลัยอันเป็นที่ผู้มีบรรดาศักดิ์ชอบส่งธิดาเข้าไป ฝากให้ศึกษาในสำนักเจ้านายและผู้อื่นที่สามารถฝึกสอน คนทั้งหลายจึง ชอบชมผู้หญิงชาววังมาแต่โบราณเพราะการที่ได้ศึกษานั้น ว่าเฉพาะการศึกษาของตัวฉันเอง ได้ทันเรียนชั้นปฐมศึกษาตาม แบบเก่าเมื่อในรัชชกาลที่ ๔ แรกเรียนต่อคุณแสงเสมียน ในเวลานั้น หนังสือเรียนยังไม่มีฉบับพิมพ์ แม่ต้องให้จ้างอาลักษณ์เขียนหนังสือเรียน ด้วยเส้นหรดาลลงในสมุดดำ เมื่อได้หนังสือมาแล้ว ถึงวันพฤหัสบดีอันถือ กันทั่วไปจนทุกวันนี้ว่าเป็น วันครู ควรเริ่มเรียนหนังสือ เวลาเช้าให้บ่าว ถือพานรองหนังสือเรียนนั้นนำหน้า พี่เลี้ยงอุ้มตัวฉันเดิมตาม มีบ่าวกั้น พระกลดคน ๑ บ่าวตามอีกสองสามคน คน ๑ ถือพานเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียนกับดอกเข็มและดอกมะเขือกับทั้งหญ้าแพรก (ของเหล่านี้เป็นของ อธิษฐานของให้ปัญญาแหลมเหมือนเข็ม มีความรู้มากเหมือนเมล็ดมะเขือ และรู้รวดเร็วเหมือนหญ้าแพรกขึ้น) เมื่อถึงสำนักครู ยกพานหนังสือเข้าไป ตั้งตรงหน้า จุดธูปเทียนกราบไหว้บูชาหนังสือแล้วจึงเริ่มเรียน ครูให้ไม้ เหลาเท่าแกนธูปอัน ๑ สำหรับชี้ตัวหนังสือที่อ่านสอน ให้อ่านคำนมัสการ นโม พุทฺธาย สิทฺธํ ก่อน จำได้แล้วจึงอ่านสระและพยัญชนะต่อไป นอก จากวันพฤหัสบดีไม่ต้องมีเครื่องบูชา ไปเรียนเวลาตอนเช้าทุกวัน เพราะ กลางวันต้องขึ้นเฝ้า ฉันเรียนอยู่กันคุณแสงไม่ช้านัก จะเป็นเพราะเหตุใด ลืมเสียแล้ว ต่อมาย้ายไปเรียนต่อคุณปาน ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา พิชัยญาติ ถึงตอนนี้เริ่มใช้หนังสือพิมพ์ คือ ปฐม ก กา ซึ่งหมอบรัดเลพิมพ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ยังใช้วิธีสอนอยู่อย่างเดิม หัดอ่นพยัญชนะและอ่าน ตัวอักษรประสมกันไปจนจบแม่เกย แล้วหัดอ่านหนังสือเรื่องต่างๆ เช่น บทละครเรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์เป็นต้น เรียนถึงชั้นนี้เรียกว่า ขึ้นสมุด เพราะใช้สมุดหนังสือเรื่องต่างๆ เป็นหนังสือเรียน อ่านเรื่องต่างๆ ไป จนสามารถอ่านหนังสือไทยได้แตกฉาน แต่ส่วนหัดเขียนหนังสือไม่สู้กวด ขันนัก เลขไม่ได้สอนทีเดียว เพราะในสมัยนั้นยังถือกันว่าเป็นวิชาอัน หนึ่งซึ่งต้องมีครูสอนต่างหาก ในเวลาเมื่อฉันกำลังเรียนหนังสือนั้น ประ จวบกับที่หมอบรัดเลพิมพ์หนังสือสามก๊ก สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อมาพระราชทานพระเจ้าลูกเธอ พระองค์ละฉะบับ ๔ เล่มสมุดฝรั่ง ตั้งแต่นั้นฉันก็อ่านหนังสือ สามก๊ก เป็นหนังสือเรียน เลย ชอบอ่านหนังสือเป็นนิสัยติดตัวมาจนบัดนี้ เรื่องขึ้นเฝ้านั้น ตั้งแต่ออกจากผ้าอ้อมแม่ก็พาขึ้นเฝ้าดังกล่าวมา แล้ว แต่ขึ้นไปเฝ้าเป็นบางวันและเฝ้าอยู่ชั่วครู่หนึ่ง ประเดี๋ยวก็พากลับ ต่อเมื่ออายุย่างเข้า ๔ ขวบ จึงขึ้นเฝ้าทุกวันเป็นนิจ พระเจ้าลูกเธอใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (นอกจากกรมหมื่นมเหศวร ศิววิลาสกับกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) ล้วน เกิดในเศวตฉัตร คือ ประสูตร เมื่อเสด็จเสวยราชย์แล้ว ยังอยู่ในปฐมวัยด้วยกันทั้งนั้น แต่เป็นขั้นต่างกัน ตามพระชนมายุ ที่ประสูติแต่ปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ ลงมาจนปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นชั้นใหญ่ ที่ประสูติแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ ลงมาจนปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็นชั้นกลาง ที่ประสูติแต่ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ มาจนปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นขั้นเล็ก เวลาที่พระเจ้าลูกเธอขึ้นเฝ้านั้นต่างกันตามขั้น คือขึ้นเฝ้าพร้อมกันทุกขั้นเมื่อเวลาเสวยกลางวัน แต่เวลาเสด็จลงทรง บาตรตอนเช้า คือเวลาเสด็จออกข้างหน้าตอนบ่าย ตามเสด็จแต่พระ เจ้าลูกเธอชั้นใหญ่กับชั้นกลาง เวลาเสด็จออกทรงธรรมและออกขุนนาง กลางคืน ตามเสด็จแต่พระเจ้าลูกเธอชั้นใหญ่ และยังมีพระเจ้าลูกเธอ บางพระองค์ ซึ่งทรงเลือกสรรสำหรับทรงใช้สอย เป็นอุปัฏฐากประจำ พระองค์มีแต่ในชั้นใหญ่ คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงสมรรัตน์ฯ เป็นต้น พระเจ้าลูกเธอชั้นใหญ่กับชั้นกลางอาจ ไปตามเสด็จได้โดยลำพังพระองค์ แต่ชั้นเล็กยังต้องมีผู้ใหญ่ควบคุม จึงมิ ใคร่ได้ตามเสด็จ ตัวฉันอยู่ในชั้นเล็ก เมื่อตอนแรกขึ้นเฝ้าแม่เป็นผู้ดูแล แต่ต่อมาเจ้าพี่โสมาวดี (คือกรมหลวงสมรรัตน์ฯ) กับเจ้าพี่สีนากสวาสดิ์ (ทั้ง ๒ พระองค์เป็นพระธิดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ซึ่งเป็นพี่ของแม่) ท่าน เป็นชั้นใหญ่ทรงรับดูแลพาตามเสด็จออกไปข้างหน้าในตอนบ่าย ฉันจึงได้ ออกไปกับเหล่าเจ้าพี่ที่เป็นชั้นกลางมาแต่ยังเด็ก เห็นจะเป็นด้วยทูลกระ หม่อมทรงสังเกตเห็นว่าฉันไม่ตระหนี่ตัว กล้าออกไปข้างหน้าแต่เล็กนั้น เอง จึงลองทรงใช้สอย และโปรดฯ ให้ตามเสด็จตั้งแต่อายุ ยังไม่ถึง การที่ทูลกระหม่อมทรงลองใช้สอยเมื่อยังเล็กนั้น จำใส่ใจไว้บาง เรื่อง มาคิดดูในเวลานี้เป็นเรื่องที่ตัวฉันควรจะอวดก็มี ที่ควรจะละอายก็มี จะเล่าทั้ง ๒ อย่าง เรื่อง ๑ ดูเหมือนเมื่ออายุฉันได้สัก ๕ ขวบ วันหนึ่งเวลา เสวยกลางวัน ณ พระที่นั่งนงคราญสโมสร ทูลกระหม่อมตรัสสั่งให้ฉัน ไปหยิบตลับหยกในพานเครือ่งพระสำอางมาถวาย เจ้าพี่มีกรมหลวงสมร รัตน์ฯ เป็นต้น ท่านตรัสบอกเมื่อภายหลังว่าท่านพากันทรงพระวิตก เพราะพานเครื่องพระสำอางนั้นตั้งอยู่บนพระแท่นลดข้างพระแท่นที่บรรทม บนพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญซึ่งฉันยังไม่เคยไปถึง เกรงจะไปเซอะแต่ส่วนตัว ฉันเอง ในเวลานั้นไม่รู้สึกวิตกว่าจะหยิบผิด ไปมัวแต่กลัวผีเป็นกำลัง ด้วย ต้องขึ้นบันไดเข้าไปในพระที่นั่งภาณุมาศฯ เวลาไม่มีใครอยู่ในนั้น แข็งใจ เดินดูไปจนเห็นเครื่องหยกในพานพระสำอาง ก็ปีนขึ้นบนพระแท่นไปหยิบ เอาตลับหยกลงมาถวายได้ถูกดังพระราชประสงค์ ทูลกระหม่อมตรัสชมว่า ฉลาด วันนั้นเฝ้าอยู่พร้อมกันมาก ดูเหมือนฉันจะได้ ยี่ห้อ ดี แต่นั้นมา เรื่องตลับหยกที่กล่าวนี้ยังประหลาด ด้วยเมื่อเวลาล่วงมากกว่า ๖๐ ปี เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฉัน เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา มีหน้าที่จัดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ฉันตรวจดูของพิพิธภัณฑ์เดิม พบเครื่องหยกอยู่ในกำปั่น ฉันนึกขึ้น ว่าเหมือนเครื่องพระสำอางของทูลกระหม่อม ให้สอบบัญชีได้ความว่ เดิมมีพานทองรอง เป็นของส่งออกมาจากข้างในแต่เมื่อแรกตั้งพิพิธภัณฑ สถาน (ณ ศาลาสหทัยสมาคม) ที่ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเมื่อ พิพิธภัณฑสถานย้ายไปอยู่ในพระราชวังบวรฯ มีผู้ร้ายลักพานทองที่ รองไปเสีย เหลืออยู่แต่เครื่องหยกจึงเอาเก็บรักษาไว้ในกำปั่น ฉัน ยืมตลับหยกใบที่นึกว่เคยหบิลลงมาถวายทูลกระหม่อม เอาไปถวาย กรมหลวงสมรรัตน์ฯ ทอดพระเนตร ท่านทรงจำได้ว่าเป็ฯใบนั้นเอง ฉัน จึงให้ส่งเครื่องพระสำอางหยกคืนไปยังกระทรวงวังสำรับ เพื่อจะได้ เอาไปรักษาไว้กับเครื่องราชูปโภคของเก่า อีกเรื่อง ๑ ต่อมาวันหนึ่งเวลา เสวยกลางวันเหมือนอย่างเรื่องก่อน ทูลกระหม่อมตรัสใช้ให้ฉันออกไปดู ที่ห้องอาลักษณ์ว่า ตาฟัก คือพระศรีสุนทรโวหารราชเลขานุการ อยู่หรือ ไม่ ด้วยวันนั้นมีกิจจะทรงพระอักษรนอกเวลาที่เคยทรง พระศรีสุนทร โวหารเป็นผู้สำหรับเขียพระราชนิพนธ์ตามรับสั่ง ฉันกลับเข้ามากราบ ทูลว่า "ตาฟักอยู่ที่ห้องอาลักษณ์" ครั้นเสวยแล้วดำรัสสั่งให้ผู้อื่นไป เรียกพระศรีสุนทรโวหาร เขาหลับเข้ามากราบทูลว่ากลับบ้านไปเสียแล้ว ทูลกระหม่อมตรัสฟ้องคุณฟ้าเที่ยงว่าฉันเหลวไหลใช้สอยไม่ได้เรื่อง คุณ ป้าเที่ยงเตรียมจะลงโทษ เรียกคุณเถ้าแก่ที่ได้ไปกับฉันมาถามว่าฉันไป เที่ยวแวะเวียนเสียที่ไหน คุณเถ้าแก่เบิกความยืนยันว่าได้ไปกับฉันจนถึง ห้องอาลักษณ์ และได้ยินฉันบอกกับพระศรีสุนทรโวหารว่า ทูลกระหม่อม มีรับสั่งใช้ให้ฉันไปดูว่าแกอยู่หรือไม่ ความจริงก็ปรากฎว่าเป็นด้วยพระ ศรีสุนทรโวหารแกไม่เชื่อคำของฉัน พอเห็นพ้นเวลาเคยทรงพระอักษร แล้วกลับไปบ้านเสีย เมื่อได้ความดังนี้ก็รอดตัว ถ้าหากไม่มีคุณเถ้าแก่เป็น พะยาน วันนั้นเห็นจะถูกตีไม่น้อย อีกเรื่อง ๑ จะเล่ารู้สึกละอายอยู่บ้าง คือมีใครส่งขวดหมึกอันเป็นของคิดขึ้นใหม่ มาถวายทูลกระหม่อมจากต่าง ประเทศใบ ๑ ขวดหมึกนั้นทำเป็นรูปหอยโข่งพลิกตัวได้บนที่ตั้ง เวลาไม่ ใช้ก็พลิกปากหอยเข้าไปเสียข้างหลัง เป็นอันปิดรักษาหมึกไว้ได้เองไม่ต้อง มีฝาปิดขวด ถ้าจะใช้หมึกพลิกหอยให้ปากออกมาข้างหน้า หมึกก็มาอยู่ที่ ปากหอยนั้นไม่ต้องจุ้มปากกาลงไปลึก ทูลกระหม่อมโปรดขวดหมึกนี้ ตั้งไว้ บนโต๊ะทรงพระอักษร วันหนึ่งเสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมเวลาบ่าย จะโปรดให้ผู้ใดผู้หนึ่งดูขวดหมึกนั้น มีรับสั่งใช้ให้ฉันกลับเข้ามายกออกไป ถวาย ฝ่ายตัวฉันไม่รู้กลไกของขวดหมึก พอยกขึ้นตัวหอยก็พลิกกลับ ออกมา หมึกหกราดถาดที่รองนองไปทั้งนั้น ฉันตกใจราวกับจะสิ้นชีวิต ด้วยรู้ว่าคงถูกทูลกระหม่อมกริ้ว แต่มิรู้ที่จะทำประดารใด ก็ยกขวดหมึก เดินต่อไปยังไม่ทันออกข้างหน้าพบเจ้าพี่ทองแถมถวัลยวงศ์ (คือ กรมหลวง สรรสาตร์ศุภกิจ) วิ่งกระหืดกระหอบมา ดูเหมือนกำลังจะตกพระทัยด้วย เสด็จขึ้นไปช้า ไม่ทันตามเสด็จออก ตรัสถามฉันว่าทูลกระหม่อมเสด็จ อยู่ที่ไหน ฉันบอกว่าประทับอยู่พระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วเลยส่งขวด หมึกวานให้ท่านเอาไปถวาย เจ้าพี่ทองแถมก็รับเอาไปด้วยความยินดี ไป ถูกกริ้วงอมทีเดียว ส่วนตัวฉันเองพอขวดหมึกพ้นมือไป ก็รีบกลับมาเรือน เลยรอดตัว เรื่องขวดหมึกนี้เลยเป็ฯเรื่องสำหรับเจ้านายพี่น้องล้อเจ้าพี่ ทองแถมกับตัวฉันต่อมาอีกช้านาน เรื่องตามเสด็จทูลกระหม่อมนั้น แต่พอฉันขึ้นเฝ้าได้เสมอ ในไม่ ช้าก็ตามเสด็จออกข้างหน้า เพราะเจ้าพี่โสมกับเจ้าพี่สีนากท่านคอยประคับ ประคองดังกล่าวมาแล้ว ถ้าเสด็จทรงพระราชดำเนินไปใกล้ๆ เจ้าพี่ ท่านจูงไป ถ้าทรงพระราชดำเนินไปทางห่างไกล เช่นเสด็จไปวัดราช ประดิษฐ์ฯเป็นต้น มหาดเล็กเขาก็อุ้มไป พวกมหาดเล็กที่เคยอุ้มฉันมาได้ เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๕ มีหลายคน ควรจะหล่าวถึงโดยเฉพาะคือ เจ้าพระยาสุรพันธพิทธิ (เทศ บุนนาค) เพราะได้มาอยู่ในกระทรวง มหาดไทยด้วยกันเมื่อฉันเป็นเสนาบดี และตัวท่านเป็ฯสมุหเทศาภิบาล มณฑลราชบุรี ท่านยังเคยลำเลิกว่าเคยอุ้มฉันมาแต่เล็ก ถ้าเสด็จไปด้วย มีขบวนแห่มักทรงพระราชยาน แต่แรกฉันขึ้นวอพระที่นั่งรองตามเสด็จ ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอที่เคยขึ้นพระราชทานยานรุ่นก่อนทรงพระเจริญ พระองค์หนักเกินขนาด โปรดให้เปลี่ยนชุดใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ฉันขึ้นพระราชยานตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ มาจนสิ้นรัชกาล พระเจ้า ลูกเธอที่ได้ขึ้นพระราทชยานเป็นชุดเดียวกันรวม ๔ พระองค์ คือ สมเด็จ พระศรีพัชรินทรฯ กับสมเด็จพระพันวัสสาฯ สองพระองค์นี้ประทับบน พระเพลา หรือถ้าไปทางไกลก็ประทับข้งซอกพระขนอง กรมพระ สมมตอมรพันธุ์กับตัวฉันนั่งเคียงกันข้างหน้าที่ประทับ เรื่องขึ้นพระราช ยาน ฉันจำได้ไม่ลืมเพราะเคยตกพระราชยานครั้ง ๑ เมื่อไปตามเสด็จงาน ฉลองวัดหงส์ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ ขากลับเสด็จขึ้นพระราชยานที่ท่าราช วรดิษฐ์ เห็ฯจะเป็ฯด้วยฉันงว่งนั่งหลับมาในพระราชยาน เมื่อผ่านประตู กำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททางด้านตะวันออก พอคนตามพระ ราชยานลงบันได ข้างหน้าพระราชยานต่ำลง ฉันก็พลัดตกลงมา จมื่นจง (โต ซึ่งภายหลังได้เป็นที่พระยาบำเรอภักดิ์ แล้วเลื่อนเป็นพระยาวิเศษ สัจธาดาในรัชการที่ ๕ ) อุ้มส่งขึ้นไปนั่งอย่างเดิม ไม่ได้เจ็บปวดชอกช้ำ อันใด แต่เมื่อทูลกระหม่อมมาตรัสเล่าที่ข้างใน แม่ตกใจกลัวจะเกิด อัปมงคลถึงให้ทำขวัญกันเอะอะ เรื่องตกพระราชยานนี้ชอบกล เจ้าพี่ท่าน ได้ขึ้นพระราชยานมาก่อนบางพระองค์ก็เคยตก ใครตกก็เป็นจำได้ไม่ลืม เพราะนานๆ จะมีสักครั้ง ๑ แต่ประหลาดที่มามีเหตุเช่นนั้นแก่สมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ในรัชการที่ ๕ ครั้งตามเสด็จ ไปวัดกลางเมืองสมุทรปราการ เวลานั้นฉันเป็นราชองครักษ์ เดินแซงไป ข้างพระราชยาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ขึ้นพระราชยานแต่ พระองค์เดียว ประทับที่พระยี่ภู่ข้างหน้าที่ประทับ แต่เมื่อขบวนแห่เสด็จถึงวัด จะไปที่หน้าพระอุโบสถ แต่พอผ่านศาลาโรงธรรมที่พวกพ่อค้าตั้งแถวคอย เฝ้า มีผู้ชูฎีกาทูลเกล้าฯ ถวาย ดำรัสสั่งให้หยุดพระราชยานเพื่อจะทรง รับฎีกา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เห็จจะกำลังเผลอพระองค์ พอ พระราชยานหยุดชะงักก็พลัดตกลงไปข้างหน้า เป็นครั้งหลังที่สุดที่เจ้านาย ตกพระราชยาน การเสด็จประพาสของทูลกระหม่อมนั้น บางวันทรงรถ ในเวลาบ่าย รถพระที่ที่ทรงในสมัยนั้นเป็นรถ ๒ ล้อมีประทุน อย่าง ที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Buggy เทียมม้าเดี่ยว บางวันโปรดให้ฉัน ตามเสด็จขึ้นรถพระที่นั่ง เจ้าพี่ชั้นใหญ่ท่านนั่งสองข้างพระองค์ ฉันนั่ง ตรงที่ห้องพระบาท ต้องก้มหัวหลีกสายบังเหียนซึ่งทรงขับม้าอยู่เสมอ ใน สมัยนั้นเริ่มมีเรือไฟชื่อ เจ้าพระยา เดินเมล์และรับส่งสินค้าในกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์ ๑๕ วันมาถึงกรุงเทพฯ ครั้ง ๑ วันใดเรือเมล์มาถึง ทูลกระหม่อมก็ติดพระราชธุระ ทรงหนังสือซึ่งใครๆ มีมาถวายจากต่าง ประเทศ และทรงเขียนลายพระราชหัตถเลขาตอบ หรือที่จะมีไปถึงต่าง ประเทศ ราว ๓ วันจึงเสด็จพระราชธุระ ในระหว่าง ๓ วันนั้นมักไม่เสด็จ ประพาสและไม่โปรดให้ใครรบกวน จนพวกข้าเฝ้าทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เข้าใจกัน พอได้ยินว่าเรือเจ้าพระยามาถึง ก็ระวังไม่ให้มีอันใดกวน พระราชหฤทัย ในพวกเด้กๆ เช่นตัวฉันแม้ถูกห้ามมิให้เข้าไปใกล้ที่ทรง พระอักษร แต่เมื่อรู้ว่าเรือเจ้าพระยาเข้ามาถึงก็พากันยินดีด้วยมักมีผู้ส่งของ เข้ามาถวายทูลกระหม่อม บางทีมีของเล่นแปลกๆ ได้พระราชทาน เนืองๆ ของประหลาดอย่างหนึ่งนั้นคื อน้ำแข็ง ดูเหมือนจะเพิ่งทำได้ที่ เมืองสิงคโปร์ไม่ช้านัก มีผู้ส่งแท่งน้ำแข็งใส่หีบกลบขี้เลื่อยมาถวายเนืองๆ ได้น้ำแข็งมาเมื่อใด ก็มักจะโปรดให้แจกเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ พวกที่เพิ่งได้เห็นน้ำแข็งชั้นเด็กๆ เช่นตัวฉัน ชอบต่อยออกเป็นก้อนเล็กๆ อมเล่นเย็นเฉียบสนุกดี พวกที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ดูมิใครามีใครชอบ มักบ่นกัน ว่ากินน้ำแข็งปวดฟัน และยังมีพวกคนแก่ที่เป็นแต่ได้ยินว่าแจกน้ำแข็ง ไม่เชื่อว่าน้ำ กระซิบกันว่ "จะปั้นน้ำเป็นตัวอย่างไรได้" ด้วยมีคำใน สุภาษิตพระร่วงวา "อย่าปั้นน้ำเป็นตัว" หมายความห้ามมิให้ทำอะไร ฝืนธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวแต่ว่า ปั้นน้ำเป็นตัว หมายความ ติเตียนว่าแกล้งปลูกเท็จให้เป็นจริง เคยได้ยินกันชินหูมาแต่โบราณ โรง ทำน้ำแข็งเพิ่งมามีขึ้นในประเทศนี้ต่อเมื่อรัชกาลที่ ๕ นอกจากของที่ส่งมา จาก เมืองนอก บางทีทูลกระหม่อมเสด็จประพาสเวลาบ่าย ไปแวะห้างฝรั่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตึกหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หรือเสด็๗แวะตามร้านทรงซื้อ ของเล่นหรือของกินมาแจกพระเจ้าลูกเธอ เพราะฉะนั้นในพวกชั้นเล็ก ถึงจะได้ตามเสด็จหรือไม่ได้ตาม ก็อยากให้เสด็จประพาสด้วยกันทุก พระองค์ ฉันเคยตามเสด็จทูลกระหม่อมไปหัวเมืองหลายครั้ง ครั้งแรกไป ถึงพระนครศรีอยุธยาเมื่อคราวอดนมที่เล่ามาแล้ว ครั้งที่ ๒ แม่เล่าว่าได้ ตามเสด็จไปในเรือกำปั่นไฟพระที่นั่งจนถึงเขาธรรมามูล เมืองชัยนาท ต่อมาอีกครั้ง ๑ ได้ตามเสด็จไปลองเรือไฟ (ดูเหมือนจะเป็นเรือ อัคเรศร์ รัตนาศน์ ที่เอมปเรอนะโปเลียนที่ ๓ ถวาย) ออกไปถึงปากอ่าว ฉันได้ เห็นทะเลเป็นครั้นแรก จำได้เพราะเห็นปลากะเบนบินปละหลาดติดตา ต่อ มาได้ตามเสด็จไปพระปฐมเจดีย์ เสด็จไปครั้งนั้นทรงเรือกำปั่นไฟจักรข้าง ขนาดย่อมไปทางคลองมหาสวัสดิ์ซึ่งเพิ่งขุดใหม่ยังเป็นคลองใหญ่ ในคราว นั้นฉันไปถูกเรียกเป็นพะยานให้เบิกความเรื่องเจ้าพี่พระองค์ ๑ ในชั้นเล็ก ด้วยกัน ไปหกล้มประชวรฟกช้ำ มีการไต่สวนว่าหกล้มเพราะเหตุใด จึง จำได้ถนัด ฉันมาได้ความยกย่องเนื่องในการตามเสด็จครั้งหนึ่ง เมื่ออายุได้ ๖ ขวบในปีเถอะ พ.ศ. ๒๔๑๐ ปีนั้นมีการเสด็จออกรับแขกเมืองอย่าง เต็มยศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เวลาเสด็จออกรับแขกเมืองนั้น พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับพระราชบัลลังก์ ตรงกลาง ขุนนางเฝ้าทางด้านหน้า เจ้านายต่างกรมรัชกาลอื่นเฝ้าทางด้านเหนือ พระ เจ้าลูกยาเธอชั้นผู้ใหญ่ มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น หัวหน้า เฝ้าทางด้านใต้ ที่โสกันต์แล้วแต่งพระองค์ฉลองพระองค์ครุยอย่าง เจ้านายผู้ใหญ่ ที่ยังไม่ได้โสกันต์แต่งพระองค์ทรงเกี้ยวและอาภรณ์ตาม แบบพระราชกุมารที่ยังเยาว์วัย ประทับบนเบาะและมีเครื่องยศตั้ง วันนั้น ฉันตามไปส่งเสด็จทูลกระหม่อมถึงหลังพระทวารทางเสด็จออก แล้วเกิด อยากเห็นการออกแขกเมือง จึงลอบออกพระทวารทางด้านใต้ไปแอบเสา มองดูอยู่ข้างหลังที่เหล่าเจ้าพี่ท่านประทับ เผอิญทูลกระหม่อมชำเลือง พระเนตรมาเห็น พอเสด็จขึ้นตรัสถามฉันว่า "ลูกดิศอยากออกแขกเมือง กับเขาบ้างหรือ" ฉันกราบทูลว่า "อยาก" ทูลกระหม่อมมาตรัสเล่า ให้คุณป้าเที่ยงฟัง แล้วดำรัสสั่งว่าถ้าเสด็จออกแขกเมืองคราวหน้า ให้ฉัน ไปนั่งข้างท้ายแถวเจ้าพี่ แต่พานทองเครื่องยศที่ใช้กันนั้นโตเกินตัวฉันนัก ให้คุณป้าเที่ยงหยิบพานทองขนาดย่อมของสมเด็จพระศรีสุริยเยนทรฯ ซึ่ง อยู่ในที่มาเป็นพานเครื่องยศไปตั้งสำหรับตัวฉัน แต่เผอิญเวลานั้นจวนสิ้น รัชกาลอยู่แล้ว ไม่มีแขกเมืองต่างประเทศมาเฝ้าอีกในกรุงเทพฯ ฉันก็เลย ไม่ได้ออกแขกเมือง ถึงกระนั้นก็ได้พระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นถึงขั้นสูง ในปีนั้น ตั้งแต่อายุย่างเข้า ๖ ขวบ ฉันเข้าออกนอกในได้โดยลำพัง ไม่ ต้องมีใครควบคุม แม่ก็ไม่ห้าม เห็นจะเป็นด้วยท่านใคร่จะให้กล้า แต่ เมื่อกลับไปเรือนต้องไปเล่าให้ท่านฟังทุกวันว่าที่ไหนบ้าง ฉันชอบออกไป คอยตามเสด็จประพาสในตอนบ่าย เป็นเหตุให้คุ้นเคยกับข้าราชการนอก จากมหาดเล็กออกไปอีกหลายคน บางวันพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค ฤทธิ์ (เมื่อยังเป็นหม่อมเจ้า) ผู้เป็นอธิบดีกรมม้าและรถพระที่นั่ง ท่าน อุ้มเอาขึ้นหัดนั่งหลังม้า บางวันก็เลยไปเที่ยวที่ห้องอาลักษณ์ วันหนึ่งไป เห็นอาลักษณ์เขาเขียนหนังสือด้วยปากกาฝรั่ง (คือปากกาเหล็กเช่นเราใช้ กันเป็นสามัญทุกวันนี้) นึกชอบ บอกเขาว่าอยากหัดเขียนบ้าง อาลักษณ์ คนนั้นใจอารี ให้ปากกาฝรั่งมีด้ามไม้อัน ๑ (ราคาอย่างทุกวันนี้เห็นจะราว ๑๐ สตางค์) ฉันถือเชิดชูกลับมาเรือนด้วยความยินดี พอแม่เห็นก็ขนาบ ขนานใหญ่ ด้วยท่านสั่งกำชับอยู่เสมอ ให้รักษาประพฤติ ๓ ข้อ คือ ไม่ให้มักได้ ไม่ให้ตะกลาม และไม่ให้พูดปด ท่านว่าฉันไม่ควรจะ ไปขอปากกามาจากอาลักษณ์ แล้วบังคับให้คนคุมตัวฉันเอาปากกาไปคืน ก็เลยไม่ได้หัดเขียนอย่างอาลักษณ์ ถึงหัดก็เห็นจะเหลว มาถึงตอนปีเถาะ มีที่ขอบไปขึ้นใหม่อีกแห่ง ๑ ด้วยตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวลาผนวชจากสามเณร เสด็จมาประทับที่พระตำหนักสวนกุหลาบ อยู่ทางด้านใต้กับบริเวณพระอภิเนาวนิเวศน์ เจ้านายมักเสด็จไป ประชุมที่นั่นในเวลาก่อนเข้าเฝ้าฯ หรือเมื่อเฝ้าแล้ว มิใคร่ขาด พวกเจ้า นายชั้นเล็กเช่นตัวฉันก็มักไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนกลางวันเมื่อเฝ้าทูลลกระหม่อมแล้ว ยังจำได้ถนัดว่าเมื่อแรกฉันไปเฝ้า นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตัดเสื้อสักหลาด สีเขียวเป็นรูปเสื้อแยกเกตอย่างฝรั่งพระราชทานตัว ๑ รู้สึกว่าได้ของสมัย ใหม่ชอบใจนี่กะไร แต่นั้นก็ไปสวนกุหลาบเสมอ เวลานั้นเจ้าพระยา นรรัตนราชมานิตยังเป็นนายเวร (โต) เกิดมีมิตรจิต เอาเป็นธุระประคับ ประคอง ยังเล่าจนเมื่อเป็นเจ้าพระยาว่ามูลเหตุที่ท่านจะชอบฉันนั้น เพราะ ฉันจำท่ากุลาตีไม้ได้ (เห็นจะได้เห็ฯเมื่องานพระเมรุกรมหมื่นมเหศวร ศิววิลาศ) แล้วไปเต้น ถัดทา อวดท่าที่สวนกุหลาบ เรื่องนี้ยังลำเลิกจน ในรัชกาลทื่ ๖ เมื่อท่านป่วยหนัก วันฉันไปเยี่ยมท่านเป็นครั้งที่สุด ฉันได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมเป็นครั้งที่สุด เมื่อเสด็จไปทอดพระ เนตรสุริยอุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เวลานั้นอายุพอย่างเข้า ๗ ขวบ การที่เสด็จไปครั้งนี้นับเป็น เรื่องสำคัญในพงศาวดาร ด้วยเป็ฯเหตุให้ทูลกระหม่อมเสด็จสวรรคต แต่ข้อ นี้ก็มิได้มีใครคาดในเวลานั้น แต่มักพอใจกล่าวกันเมื่อภายหลังด้วยความ อาลัย ว่าถ้าไม่เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่หว้ากอ ทูลกระหม่อม ก็จะยังเสด็จอยู่ต่อมา ชวนให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องจริงเข้าใจว่าไม่พอที่จะเสด็จไป เหตุใดทูลกระหม่อมจึงเสด็จไปหว้ากอครั้งนั้น แม้เจ้านายที่เป็นลูกเธอก็ มาทราบชัดเจนต่อภายหลัง ด้วยได้ฟังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบ ปรปักษ์ท่านประทานอธิบายให้เข้าพระทัย ว่าตามตำราโหราศาสตร์ไทย นั้นว่าสุริยอุปราคาไม่เป็นวิสัยที่จะมืดหมดดวงได้เหมือนจันทรอุปราคา พวก โหรเชื่อกันมาอย่างนั้นแต่โบราณ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวได้ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์ เชี่ยวชาญทั้งอย่างไทยและอย่างฝรั่ง จนถึงวัดแดดวัดดาวได้มาแต่ยังทรงผนวช ถึงกระนั้นก็ยังไม่เกิดปัญหาเรื่อง สุริยอุปราคาหมดดวง มาจนปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงคำนวณว่าจะเกิด สุริยอุปราคาหมดดวงในประเทศสยามเป็นครั้งแรกในปีนั้น ตรัสบอกพวก โหรไม่มีใครเชื่อด้วยผิดตำรา สมเด็จกรมพระยาบำราบฯ ตรัสเล่าในส่วน พระองค์ว่า "ฉันเองก็ไม่เชื่อท่าน แต่หากเกรงพระราชหฤทัย ก็เออออย ไปด้วยเช่นนั้น" แต่สุริยอุปราคาครั้งนั้นดูในกรุงเทพฯ จะไม่เห็นมืดหมด ดวง จะเห็นได้แต่ในท้องที่ใกล้เมืองประจวบคีรีขันธ์ อันตำบลหว้ากอ อยู่ตรงเส้นกลางทางโคจรของสุริยอุปราคา จึงต้องเสด็จไปทอดพระเนตร ถึงที่นั้น ทรงชักชวนบรรดาผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ทั้งพระและคฤหัสถ์ให้ โดยเสด็จด้วย เล่ากันว่า ทูลกระหม่อมทรงทรมานพระองคืด้วยการคำนวณ สุริยอุปราคาครั้งนั้นมากตั้งแต่ก่อนเสด็จไป ด้วยทรงเกรงว่าจะพลาดพลั้งไม่ เห็นมืดหมดดวง หรือไม่ตรงเวลานาทีทรงพยาการณ์ ก็จะละอายพวกโหร เพราะทรงทราบอยู่ว่าไม่มีผู้ใดเชื่อ การเสด็จไปหว้ากอครั้งนั้นยังมีการ สำคัญอีกอย่าง ๑ ด้วยมีพวกนักปราชญ์ทั้งฝรั่งเศลและอังกฤษขอมาดู เซอร์แฮรีออดเจ้าเมืองสิงคโปร์ก็จะมาเฝ้าด้วยกันกับภรรยา เพื่อดูสุริย อุปราคา ณ ตำบลห้ากอด้วย จึงต้องเตรียมการเสด็จไปครั้งนั้นผิดกับครั้ง อื่นแต่หนหลัง ถ้าว่าเฉพาะแต่ที่ตัวฉันจำได้ ตั้งแต่รู้ว่าทูลกระหม่อมได้ทรง เลือกตัวฉันให้ไปตามเสด็จด้วย ก็ยินดีเหลือล้น เพราะนิสัยชอบเที่ยวดู เหมือนจะมีขึ้นบ้างแล้ว ทั้งครั้งนั้นได้พระราชทานเครื่องแต่งตัวและการ์ด ชื่อพิมพ์ใส่ของเงินสำหรับรับแขกเมืองแปลกกับตามเสด็จคราวก่อนๆ เมื่อ ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่ง อัคราชวรเดช เห็นจะเป็นเพราะข้างในห้อง แน่นกันนัก ตัวฉันกับเจ้าน้องหญิงแขไชดวง (ซึ่งเป็นธิดาคุณป้าเที่ยง) ถูกส่งตัวออกไปนอกกับคุณตาข้างท้ายเรือ ด้วยในเวลานั้นคุณตาเป็นผู้ บัญชาการทหารบก จึงมีหน้าที่คุมทหารรักษาพระองค์ไปในเรือพระที่นั่ง เมื่อเรือเล่นออกทะเลไป ทูลกระหม่อมเสด็จไปที่ดาดฟ้าตอนท้ายเรือ เยี่ยม พระองค์มาตรัสถามฉันกับองค์แขว่าเมาคลื่นหรือไม่เมา ต่างกราบทูลว่า ไม่เมาทั้ง ๒ คน (พวกผู้ใหญ่เขาว่าที่แท้นั้นตัวฉันมีอาการเมาคลื่นอยู่บ้าง แต่หากแข็งใจทูลไปว่าไม่เมา) อย่างไรก็ดีทราบว่าในลายพระราชหัตถเลขา ที่พระราชทานมากรุงเทพฯ ทรงติเตียนคนตามเสด็จที่ไปเมาคลื่น ตรัส อ้างว่าแต่เด็กๆ เช่นฉันกับองค์แขยังไม่เมา แต่ที่จริงก็คลื่นก็เห็นจะไม่มี เท่าใดนัก ด้วยเป็นฤดูลมตะวันตกเฉียงใต้พัดออกมาจากฝั่ง ถึงกระนั้นผู้ ที่แพ้คลื่นทะเลในสมัยนั้นยังมีมาก เป็นต้นว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา บำราบปรปักษ์ ได้เคยเสด็จไปถูกคลื่นครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่เสด็จไปทะเล อีก ตามเสด็จคราวนี้สู้ทรงช้างตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เดินบกลงไปจนถึง ตำบลหว้ากอ ทูลกระหม่อมเสด็จไปแวะประพาสที่บางแห่งในระยะทาง มี ที่แหลมเขาตะเกียบเป็นต้น ฉันจำได้ว่าตามเสด้จขึ้นบก พวกเด็กขาอุ้ม ไป ไปพบวัวฝูงหนึ่งของชาวบ้านเขาต้อนมา กลัววัวมันจะชนนี่กะไร ไปถึง ภูเขาแห่งหนึ่งมีอ่างหินขังน้ำฝนไว้ในนั้น ทูลกระหม่อมไปประทับที่ริมอ่าง แล้วทรงตักน้ำมาทำน้ำมนต์ประพระเจ้าลูกเธอ ภูเขาที่ว่านี้มิใช่อื่น คือ "เขาลาด" นั้นเอง ทุกวันนี้ก็ยังงามดีเป็นที่เที่ยวแห่ง ๑ ของผู้ที่มาหัวหิน อ่างหินนั้นก็ยังปรากฎอยู่ที่เชิงเขา เสร็จขึ้นบกอีกแห่ง ๑ ที่คุ้งมะนาว (อัน เป็นที่ตั้งสาขากรมอากาศยานบัดนี้) อยู่ข้างใต้อ่าวเกาะหลักอันเป็นที่ตั้ง เมืองประจวบคีรีขันธ์ ทุลกระหม่อมทรงม้าพระที่นั่ง ตัวฉันขี่คอเด็กขาตาม เสด็จไปจนถึงพลับพลาที่หว้ากอ ระยะทางสัก ๒๐๐ เส้น พลับพลาตั้งต่อ ชายหาดที่ริมทะเล เขาว่าที่ตรงนั้นเป็นดงตะเคียน จึงเป็นเหตุให้เกิด เจ็บไข้ เมื่อมาคิดดูในชั้นหลังก็ชอบกล ทางโคจรของดวงอาทิตย์ที่จะเห็น สุริยอุปราคามืดหมดดวงได้ในครั้งนั้น คงมีเขตออกไปทั้งข้างเหนือข้างใต้ ของเส้นศูนย์กลางที่อยู่ตรงตำบลหว้ากอ ถ้าหากตั้งพลับพลาที่อ่าวมะนาว ซึ่งอยู่เหนือหว้ากอขึ้นมาเพียง ๒๐๐ เส้น ก็จะพ้นที่มีความไข้ และคงเห็น สุริยอุปราคามืดหมดดวงได้เหมือนกัน ก็แต่ในสมัยนั้น ทางชายทะเล ปักษ์ใต้ยังมิใคร่มีใครได้ไปเที่ยวเตร่รู้เห็นภูมิลำเนา เพราะทางคมนาคม ยังลำบาก จึงเอาแต่คติทางโหราศาสตร์เลือกที่ตั้งพลับพลาที่ตำบลหว้ากอ ควาาทรงจำในเวลาเมื่ออยู่ที่หว้ากาอครั้งนั้น นึกหาเรื่องอะไรที่เป็นแก่นสาร ไม่ได้ด้วยเป็นเด็ก จำได้แต่ว่าชอบวิ่งเล่นกับเจ้านายพี่เลี้ยงที่ลานหน้าพลับ พลา และจำได้ว่าไปยืนเข้าแถวรับเซอร์แฮรีออตกับภรรยาเมื่อเข้าไปเฝ้า ข้างใน ได้จับมือกับฝรั่งเป็นครั้งแรก และเซอร์แฮรีออตให้รูปฉายาลักษณ์ ของตนแผ่น ๑ ยังรักษามาอีกช้านาน ส่วนเรื่องสุริยอุปราคานั้น เกือบ ไม่ได้เอาใจใส่ทีเดียว จำได้แต่ว่ามีโรงตั้งกล้องส่องที่หน้าพลับพลา กล้อง ส่องจะเป็นอย่างไรก็จำไม่ได้ พวกฉันได้แจกแต่กระจกสีคล้ำแผ่นเล็กๆ สำหรับให้ส่องดูดวงอาทิตย์ และจำได้ว่าเมื่อหมดดวงนั้นมืดถึงแลเห็นดาว ในท้องฟ้า แต่ฟังตามที่เล่ากันว่าทูลกระหม่อมทรงปิติยินดีมาก ด้วยได้ จริงดังทรงคำนวณหมดทุกอย่าง และพวกโหรบรรดาที่ตามเสด็จไป (ซึ่ง เชื่อตำราว่าจะหมดดวงไม่ได้นั้น) ก็พากันพิศวงงงงวย นัยว่ถึงพระยา โหราธิบดี (เถื่อน) เมื่อเป็นหลวงโลกทีป พอเห็นหมดดวงก็ร้อง "พลุบ" ออกไปดังๆ โดยลืมว่าอยู่ใกล้ที่ประทับ เมื่อเสด้จกลับมาถึงกรุงเทพฯ ได้สัก ๗ วัน มีงานสมโภชพระแก้ว มรกต ฉันจำได้ว่าตามเสด็จทูลกระหม่อมไปทอดพระเนตรโขน ณ พระที่นั่ง ไชยชุมพล ได้เห็นทูลกระหม่อมเป็นครั้งที่สุดในวันนั้น พอกลับมากาล้มเจ็บ เป็นไข้ป่าด้วยกันทั้งแม่และตัวฉัน แต่เห็นจะไม่เป็นอย่างแรง ถึงกระนั้น ก็ต้องนอนแซ่วอยู่กับเรือนเกือบเดือน ได้รู้แว่วๆว่า ทูลกระหม่อมประชวร พออาการฟื้นขึ้นทูลกระหม่อมก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ เมื่อรู้ข่าวพากันตกใจสิ้นสติอารมณ์แม้แต่จะต้องไห้ก็ไม่ออก จนเขาพาขึ้น ไปสรงน้ำพระบรมศพจึงได้ร้องไห้ ได้ยินเขาเล่าให้ฟังเมื่อภายหลังว่าใน เวลาเมื่อทูลกระหม่อมประชวรอยู่นั้น ตรัสห้ามไม่ให้พระเจ้าลูกเธอที่ยัง ทรงพระเยาว์เข้าไปให้ทอดพระเนตรเห็น เพื่อจะทรงระงับความอาดูรด้วย หวงใย ถึงกระนั้นก็ปรากฎในจดหมายเหตุเรื่องประชวรว่าทรงเป็นห่วง พระเจ้าลูกเธอมาก ถึงมีพระราชดำรัสฝากฝังปรากฎในจดหมายเหตุ ดังคัดมาลงต่อไปนี้ ถึงวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาโมงเข้า ดำรัสสั่งให้ พระยาบุรุษฯ ออกไปเชิญเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก เข้า ไปเฝ้าถึงข้างพระที่พระบรรทม มีพระราชดำรัสว่าเห็นจะสวรรคตในวันนั้น ท่านทั้ง ๓ กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาลจะถึงพระองค์ แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตรายหรือ เป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้ เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง ๓ จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด ท่านทั้ง ๓ เมื่อได้ฟังก็พากันร้องไห้สะอื้นอาลัย จึงดำรัสห้ามว่าอย่าร้องไห้ ความ ตายไม่เป็นอัศจรรย์อันใด ย่อมมีย่อมเป็นเหมือนกันทุกรูปทุกนาม ผิดกันแต่ที่ตาย ก่อนและตายทีหลัง แต่ก็อยู่ในต้องตายเหมือนกันทั้งสิ้น บัดนี้เมื่อกาลมาถึงพระองค์ เข้าแล้ว จึงได้ลาท่านทั้งหลาย ข้างฝ่ายพระราชโอรสธิดาท้งปวง ก็รู้สึกกันมาแต่ยังทรงพระเยาว์ จนเติบใหญ่ทุกพระองค์ ว่าในความรักลูกแล้วจะหาผู้ใดที่รักยิ่งกว่าทูล กระหม่อมเห็นจะไม่มี เพราะฉะนั้นความรักทูลกระหม่อมจึงตรึงอยู่ใน พระหฤทัยด้วยกันทั้งนั้น จะยกตัวอย่างดังเช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรมหลวงสมรรัตน์ฯ ทั้งสองพระองค์นี้ ทูลกระหม่อม ทรงใช้ชิดติดพระองค์อยู่เป็นนิจ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ ณ ที่ใดๆ ในห้องที่บรรทมคงมีพระ บรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย เคยมีพระราชดำรัส แก่ฉันว่า "ถ้าขาดไปไม่สบายใจ" ฉันจึงทราบว่าพระองค์ทรงติดทูล กระหม่อมถึงปานนั้น กรมหลวงสมรรัตน์ฯ ก็เป็นทำนองเดียวกัน เมื่อ เสด็จออกไปอยู่ที่วังวรดิศ ก็มีพระบรมรูปทูลกระหม่อมไว้กับพระองค์เสมอ ทูลถามเรื่องตแก่อนมา ถ้าเป็นเรื่องเนื่องด้วยทูลกระหม่อมแล้ว ทรงจำได้ แม่นยำกว่าเรื่องอื่น เคยมีผู้ถามฉันว่าจำทูลกระหม่อมได้หรือไม่ ข้อนี้ ตอบยากอยู่สักหน่อยเพราะพระบรมรูปทูลกระหม่อมมีมากได้เห็นจนชินตา แต่ฉันนึกว่าจำได้ ด้วยเมื่อเสด็จสวรรคตอายุของฉันเข้า ๗ ขวบแล้ว ทั้ง ได้ตามเสด็จและรับใช้ใกล้พระองค์อยู่ถึง ๓ ปี เป็นแต่ไม่ได้มีโอกาสสนอง พระเดชพระคุณทูลกระหม่อมเมื่อยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่มากเหมือนอย่าง เจ้าพี่ที่ท่านเป็นชั้นใหญ๋ เมื่อเขียนถึงตรงนี้นึกขึ้นถึงคำราชทูตฝรั่งคนหนึ่งซึ่งเอาใจใส่ศึกษา พงศาวดารประเทศทางตะวันออกนี้ เคยแสดงความเห็นแก่ฉันว่า สังเกต ตามเรื่องที่ฝรั่งมาทำหนังสือสัญญาเมื่อรัชกาลที่ ๔ นั้น เมืองไทยใกล้ จะเป็นอันตรายมากทีเดียว ถ้าหากไม่ได้อาศัยพระสติปัญญาของพระบาท สมเด็๗พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไข ประเทศสยามก็อาจจะไม่เป็นอิสระ สืบมาได้ คำที่เขาว่านี้พิเคราะห์ในพงศาวดารก็สมจริง ในชั้นนั้นมีประเทศ ที่เป็นอิสระอยู่ทางตะวันออกนี้ ๕ ประเทศด้วยกัน คือ พม่า ไทย ญวน จีน และญี่ปุ่น นอกจากเมืองไทยแล้วต้องยอมทำหนังสือสัญญาด้วยถูกฝรั่ง เอากำลังบัลคับทั้งนั้น ที่เป็นประเทศเล็กเช่นพม่าและญวณก็เลยตกเป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเมื่อปลายมือ แม้ที่เป็นประเทศใหญ่หลวงเช่นเมืองจีน ก็ จลาจลและลำบากยากเข็ญสืบมาจนทุกวันนี้ กลับเอาตัวรอดได้แต่ประเทศ ญี่ปุ่น เพราะเขามีคนดีมากและมีทุนมากด้วย ถึงกระนั้นก็ต้องรบราฆ่าฟัน กันเองแล้วจึงตั้งตัวได้ มีประเทศสยามประเทศเดียวที่ได้ทำหนังสือสัญญา กับฝรั่งโดยฐานเป็นมิตร และบ้านเมืองมิได้เกิดจลาจลเพราะทำหนังสือ สัญญษ แต่น่าอนาถใจอยู่ที่ทุกวันนี้ผู้รู้พระคุณของทูลกระหม่อมมีตัวน้อย ลงทุกที ถึงมีเสียงคนชั้นสมัยใหม่ (แต่มีน้อยคน) กล่าวว่าหนังสือสัญญา ที่ทำเมื่อรัชกาลที่ ๔ เสียเปรียบฝรั่งเพราะไทยในสมัยนั้นไม่รู้เท่าถึงการ เมื่อคิดต่อไปในข้อนี้ ดูเป็นโอกาสที่ฉันจะสนองพระเดชพระคุณทูลกระหม่อม ได้อีกบ้างเมื่อแก่ชราด้วยแถลงความจริงให้ปรากฎ เพราะเมื่อฉันเป็นนายก กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร และเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาต่อ มา ได้อ่านหนังสือเก่าทั้งที่รวบรวมฉบับได้ในประเทศนี้ และที่ได้มาจาก ต่างประเทศ พบอธิบายเรื่องเนื่องในพระราชประวัติของทูลกระหม่อม ซึ่ง ยังมิใคร่มีใครทราบหรือทราบแต่เรื่องไม่รู้ถึงต้นเหตุมีอยู่มาก ฉันจึงพยายาม แต่งเรื่องพระราชปีระวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย อาศัยหนังสือ พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กับเทศนาพระราชประวัติ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส ทรงพระนิพนธ์ เป็นโครงเรื่อง แถลงพลความตามอธิบายที่ฉันได้ มาทราบเมื่อภายหลัง ไว้ในตอนที่ ๒ และที่ ๓ ของหนังสือนี้ เรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อก่อนเสวยราชย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสมภพในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ ปีชวด วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในเวลานั้น สมเด็จพระ บรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ยังดำรงพระยศ เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จประทับ อยู่ ณ พระราชวังเดิมครั้งกรุงธนบุรี ด้วยกันกับสมเด็จพระ (ศรีสุริเยนทร) บรมราชชนนี ซึ่งเป็ฯเจ้าฟ้าฝ่ายใน ด้วยเป็นพระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาศรีสุดารักษ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอ มาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาล ที่ ๑ เมื่อพระชันษาได้ ๖ ปี ในระหว่างนั้นได้เฝ้าและทรงจำพระบรมอัยกา ธิราชพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงสร้าง พระมหาสถูปองค์ที่ ๔ ที่วัดพระเชตุพนฯ จึงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า พระเจ้า แผ่นดินภายหลังไม่ต้องทรงถือเป็นแบบอย่าง เพราะพระเจ้าแผ่นดิน ๔ พระองค์นั้นได้เคยทรงเห็นกันและกัน ดังนี้ ถึงรัชกาลที่ ๒ เสด็จเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ประทับที่ ตำหนักแดง (อยู่ตรงที่สร้างตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี) อันสมเด็๗กรมพระยาศรีสุดารักษ์กับสมเด็จพระชนนีเคยเสด็จอยู่มาแต่ก่อน ทรงพระยศเป็น สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลพระหม่อมฟ้าพระองค์ใหญ่ แต่มักเรียกกันโดยสะดวกปากว่า ทูลกระหม่อม ใหญ่ มิฉะนั้นก็เรียกว่า เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ หรือ เจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้ สืบมาจนเสวยราชย์ จะกล่าวถึงเรื่องพระราชทานพระนามแทรกลงตรงสักนี้สักหน่อยด้วย มีผู้แต่งหนังสือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ มาแต่แรกประสูติ ความจริงจะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ด้วยประเพณี การพระราชทานพระนามเจ้าฟ้ามีมาแต่โบราณ พระราชทานต่อเมื่อพระ ชันษาได้ ๙ ปี (หรือมิฉะนั้นก็เมื่อโสกัรต์) มีพิธีสำหรับการนั้นโดย เฉพาะ คำที่เรียกเมื่อก่อนได้พระราชทานพระนามเป็นแต่คนทั้งหลายเรียก กันโดยสมมติ เช่น เรียก เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ๋ และพระองค์น้อย เป็นต้น บาง ทีก็ใช้คำแปลกออกไปตามเหตุ ยกตัวอย่างในครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่นเรียก ว่า เจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพร เจ้าฟ้ากุ้ง และเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ เป็นต้น ประเพณีพระราชทานพระนามเจ้าฟ้าในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีจดหมายเหตุ ปรากฎชัด เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จผ่านพิภพ มีพระราชโอรสธิดาเป็นเจ้าฟ้า ๔ พระองค์ ที่ทรงพระเจริญวัยแล้วพระ ราชทานพระนามเป็นกรมทีเดียว ๓ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์ ๑ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์พระองค์ ๑ เจ้าฟ้าหญิงกรมขุนศรี สุนทรเทพพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าพระราชธิดาพระองค์น้อยยังทรงพระเยาว์ พระราชทานพระนามว่าเจ้าฟ้าประภาวดี ภายหลังจึงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า กรมขุนเทพยวดี ต่อมาเมื่อเสวยราชย์แล้วมีเจ้าฟ้าพระราชธิดาอีกพระองค์ ๑ พระราชทานพระนามว่าเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เมื่อรัชกาลที่ ๒ พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชโอรสเป็ฯเจ้าฟ้าเมื่อก่อนเสวย ราชย์ ๒ พระองค์ และมามีพระราชโอรสเมื่อเสวยราชย์แล้วเป็นเจ้าฟ้าอีก ๓ พระองค์ เจ้าฟ้า ๕ พระองค์นั้นเจริญพระชันษาทันรับพระราชทาน พระนามในรัชกาลที่ ๒ แต่ ๓ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับพระราชทานพระนามเมื่อทำพิธีลง สรงพระองค์ ๑ ต่อนั้นมาพระราชทานพระนามเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์ ๑ กับเจ้าฟ้าอาภรณ์อีกพระองค์ ๑ แต่เจ้าฟ้าอีก ๒ พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ไม่ทันได้รับพระราชทานพระนาม ในรัชกาลที่ ๒ เรียกพระนามแต่ว่า เจ้าฟ้ากลาง (คือสมเด็จกรมพระยา บำราบปรปักษ์) กับเจ้าฟ้าปิ่วๆ สิ้นพระชนม์เสียในรัชกาลที่ ๓ เหลือ แต่เจ้าฟ้ากลางมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้ามหามาลา พิเคราะห์ตามเยี่ยงอย่างที่ ปรากฎดังกล่าวมา เห็นได้ว่าการพระราชทานพระนามเจ้าฟ้าแต่แรก ประสูตินั้น เมื่อรัชกาลที่ ๑ ยังหามีธรรมเนียมไม่ ที่จริงประเพณีพระ ราชทานพระนามแต่เมื่อแรกประสูติ (ได้เดือนหนึ่ง) เพิ่งมาเกิดขึ้นใน รัชการที่ ๔ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดจะให้คน สมมุติเรียกกันตามชอบใจ เช่นเรียกเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ จึง พระราชทานนามแต่แรกประสูติ ถึงกระนั้นก็ยังไม่พ้นคนเรียกตามสมมุติ เช่นว่าทูลกระหม่อมใหญ่และทูลกระหม่อมเล็กเป็นต้น ด้วยถือกันว่าเป็น การเคารพ ที่ว่าพระบาทสมเด็๗พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทาน พระนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีข้อด้านอีกข้อหนึ่ง ด้วยเจ้าฟ้าชาย พระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี พระองค์หนึ่ง พระองค์นั้นเป็น หัวปี ก็มิได้พระราชทานพระนาม และ ไม่มีพระนามปรากฎ เพราะสิ้นพระชนม์เสียแต่เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้เรียกพระนามว่า เจ้าฟ้าราช กุมาร อธิบายที่กล่าวมาเป็นหลักฐานให้เห็นว่าที่อ้างว่าพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานพระนามพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ามงกุฎฯ นั้นหามีมูลไม่ ยังมีข้ออื่นอีกซึ่งกล่าว ในหนังสือเฉลิมพระเกียรตินั้น ข้อหนึ่งว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกโปรดฯ ให้เอาเศวตฉัตรไปแขวนตรงที่ประสูติ ข้อนี้ก็เกิดด้วยคน แต่งเป็นไพร่ ไม่รู้คำอธิบายของคำที่พูดกันว่เจ้านายประสูติ ในเศวตฉัตร หรือ นอกเศวตฉัตร อันที่จริงหมายความเพียงว่าประสูติเมื่อสมเด็จพระบรม ชนกนาถเสวยราชย์แล้วหรือประสูติเมื่อก่อนเสวยราชย์เท่านั้นเอง ประเพณี เอาเศวตฉัตรไปแขวนสำหรับให้เจ้านายประสูติในร่มเงาหามีไม่ อีกข้อหนึ่ง ซึ่งว่าเมื่อสมเด็จพระศรีสุริยเยนทรประชวรพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จไปประทับอยู่ที่ตำหนักแพ ให้ข้าหลวงคอยสืบ พระอาการมากราบทูล ข้อนี้ก็เห็นได้ว่าเป็นความเท็จไม่มีมูล ด้วยสมเด็จ พระศรีสุริยเยนทรเคยมีพระราชโอรสแล้ว หามีเหตุที่จะทรงวิตกไม่ แม้จะ มีเหตุถึงต้องทรงพระวิตก ถ้าทรงวิตกมากก็คงเสด็จไปเยี่ยมถึงวัง ถ้าไม่ถึง เช่นนั้นก็คงเป็นแต่โปรดฯ ให้ข้าหลวงไปสืบพระอาการมากราบทูลที่พระ ราชวัง เหตุใดจึงจะเสด็จไปประทับให้สืบพระอาการอยูครึ่งทางที่ตำหนักแพ ข้อความเหล่านี้เป็นของผู้ที่ ไม่รู้ราชประเพณีคิดประดิษฐ์ขึ้นในหนังสือที่ตน แต่ง หวังจะให้คนชมว่ารู้มาก แต่น่าอนาถใจที่มีบุคคลชั้นสูงอันควรจะรู้ว่า เป็นแท็จยอมเชื่อ ถึงคัดเอามาลงในหนังสือที่ตนแต่งพิมพ์ในภายหลัง ฉัน ได้เคยต่อว่าก็แก้แต่ว่า ถึงไม่จริงก็เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉันเห็นว่าแต่งหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ควรกล่าวแต่ที่เป็นความจริง ถ้าเอาความเท็จมากล่าวหาจะเป็นพระเกียรติไม่ หนังสือเฉลิมพระเกียรติด้วยความเท็จที่ว่ามามีฉบับพิมพ์แพร่หลายอยู่ ดู เหมือนผู้ที่หลงเชื่อกันว่าจริงก็มีมาก ฉันจึงเห็นควรบอกไว้ให้ทราบ การศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรง พระเยาว์ได้เริ่มเรียนอักษรสมัยในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมฬีโลกฯ (ร่วมอาจารย์กันกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) แต่ยังเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังเดิม ครั้นเสด็จเข้ามาอยู่ในพระบรม มหาราชวัง ก็ทรงศึกษาวิชาความรู้สำหรับพระราชกุมารต่อมา พึงสัน นิษฐานได้ว่าวิชาความรู้อย่างใดที่นิยมกันในสมัยนั้นว่าสมควรแก่ขัตติยราช กุมารอันสูงศักดิ์ คงได้ศึกษาต่อผู้เชี่ยวชาญวิชาการนั้นๆ ทุกอย่าง ข้อนี้ เห็นปรากฎในสมัยเมื่อเสวยราชย์ แม้ได้เสด็จไปทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา ยังทรงม้าและยิงปืนไฟได้ไม่ลืม ถ้าว่าโดยย่อ วิชาความรู้อย่างใดซึ่งตาม คติโบราณนิยมว่าพระราชกุมารอันสูงศักดิ์ควรทรงศึกษา พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูหัวได้ทรงศึกษาสมบูรณ์ทุกอย่าง เพราะมีโอกาส ในรัชกาลที่ ๒ เป็นเวลาถึง ๑๖ ปี ในเวลาเมื่อเสด็จดำรงพระยศเป็ฯสมเด็จพระราชโอรสอยู่นั้น สม เด็จพระบรมชนกนาถได้โปรดฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลาย ครั้ง เป็นต้นแต่เมื่อพระชันษาได้ ๙ ปี มีการพระราชพิธีงสรง ซึ่งทำ เป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๕๕ พระราชทาน พระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ต่อการพิธีลงสรงมาถึงปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘ พวกมอญมณฑลเมาะตมะเป็นขบถต่อพม่าแล้วพากันอพยพ ครอบครัวหนีมาขออาศัยอยู่ในประเทศสยาม เหมือนอย่างพวกพระยาเจ่ง เคยอพยพมาแต่ก่อน มอญที่อพยพมาคราวนี้ สมิงสอดเบา (ซึ่งได้มา เป็นที่พระยารัตนจักร) เป็นหัวหน้า มีจำนวนคนราว ๔๐,๐๐๐ อพยพมา ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แขวงจังหวัดกาญจนบุรีทาง ๑ ทางด่านแม่ สอด จังหวัดตากทาง ๑ ทางจังหวัดอุทัยธานีก็มาบ้าง แต่จำนวน ไม่มากเหมือนทางจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก พระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จไปทาง ตั้งเมืองปทุมธานีเป็นที่อยู่ของมอญที่อพยพมาคราวนี้ (เรียกกันว่า มอญ ใหม่ เรียกพวกมอญที่อพยพมากับพระยาเจ่ง (คชเสนี) เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ว่า มอญเก่า) และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาอภัยภูธร สมุหนายก คุมกำลังและ สะเบียงอาหารขึ้นไปรับครัวมอญที่เมืองตาก ส่วนทางด่านพระเจดีย์สาม องค์นั้นโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลานั้นพระ ชันษาได้เพียง ๑๒ ปี มีเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นพระอภิบาล เสด็จ คุมกำลังและสะเบียงอาหารไปรับครัวมอญที่เมืองกาญจนบุรี การที่ต้องมี คนสำคัญคุมรี้พลออกไปรับพวกชาวต่างประเทศที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิ สมภารนั้น มีความจำเป็น ด้วยอาจจะมีกองทัพข้างฝ่ายโน้นยกติดตามจับ พวกครอบครัวล่วงเลยเข้ามาในพระราชอาณาเขต หรือมิฉะนั้นพวกครัวที่ อพยพมานั้นเอง เพราะมากด้วยกัน อาจจะกำเริบเบียดเบียนประชาชน จึงต้องแต่งกำลังไปป้องกันเหตุร้ายทั้ง ๒ สถาน และมีสะเบียงอาหารไป แจกจ่ายแก่พวกครัวมิให้เดือดร้อน เหตุใดจึงโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเป็นนายกในครั้งนั้น พิเคราะห์ดูเหมือนืจะ มีพระราชประสงค์ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โอกาสทรง ศึกษากระบวนทัพศึก ทำนองเดียวกับที่พระองค์เองได้เคยเริ่มทรงศึกษา ด้วยตามเสด็จสมเด็จบรมชนกนาถไปในการทำสงครามกับพม่า มาแต่ยัง ทรงพระเยาว์ อีกสถานหนึ่งจะให้ปรากฎถึงเมืองพม่าว่าโปรดฯ ให้สม เด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ๋เสด็จออกไปรับ ข้าศึกจะได้ครั่นคร้าม และ พวกมอญที่เข้ามาสวามิภักดิ์ก็จะได้อุ่นใจ ส่วนทางการนั้นให้เจ้าฟ้ากรม หลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ต่อมาอีกปีหนึ่งถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ พระชันษา ๑๓ ปี มีการ พระราชพิธีโสกันต์ ทำเต็มตำราโสกันต์เจ้าฟ้า คือปลูกเขาไกรลาส และที่สรงสนานเป็นต้น แล้วทรงผนวชเป็นสามเณรในปีฉลู พ.ศ. ๒๓๖๐ ประทับอยู่วัดมหาธาตุฯ ๗ เดือน แล้วก็ลาผนวช กล่าวกันว่าเมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณรนั้น สมเด็๗พระ สังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (สุข) เป็นพระ อาจารย์ถวายศีล แต่พิเคราะห์ตามเหตุการณ์น่าจะกลับกันกับที่กล่าว คือ สมเด็จพระญาณสังวรเป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระ อาจารย์ถวายศีล เพราะสมเด็จพระญาณสังวรเป็นผู้มีพรรษาอายุมากนั่ง หน้าสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทั้งเป็นที่เคารพนับถือของพระราชวงศ์มาแต่ ในรัชกาลที่ ๑ แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวรมา แต่ก่อน น่าจะได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และยังมีหลักฐานประกอบอีกอย่าง หนึ่ง ด้วยถึงรัชการที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์เป็นคู่กันอยู่ที่ลานหน้าวัดราชสิทธาราม (อัน เป็นที่สถิตของสมเด็จพระญาณสังวร) องค์หนึ่งทรงขนานนามว่า พระ สิราสนเจดีย์ ทรงอุทิศในพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกองค์หนึ่งมีนามว่า พระสิรจุมภตเจดีย์ เป็นพระบรมราชูทิศในพระนาม ของพระองค์เอง ยังปรากฎอยู่ ตรัสว่าเพราะได้เคยเป็นศิษย์สมเด็จพระ ญาณสังวรมาด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์ เมื่อลาผนวชสามเณรแล้วเสด็จมาประทับในบริเวรพระราชวังข้าง ฝ่ายหน้า จะสร้างตำหนักขึ้นใหม่หรือจะใช้สถานอันใดที่มีอยู่แล้วจัดเป็น ตำหนัก ข้อนี้หาทราบไม่ ปรากฎแต่ว่าที่เสด็จประทับอยู่ข้างด้านหน้าพระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ใกล้ประตูสุวรรณภิบาล คงอยู่ตรงที่สร้างโรง กระษาปณ์ใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเรียกว่า หอราชพิธีกรรม ในบัดนี้ สมเด็จ พระบรมชนกนาถโปรดฯ ให้ทรงบัญชาการกรมมหาดเล็ก ทั้งรับราชการ อย่างอื่นอยู่ใกล้ชิดพระองค์เป็นนิจ ทรงฝึกสอนราชศาสตร์พระราชทาน เอง และในตอนนี้คงทรงศึกษาวิชาสามัญต่างๆ สำหรับพระราชกุมาร ด้วย เสด็จประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังจนถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ ครั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์ จึงได้พระราชทานพระราช วังเดิมครั้งกรุงธนบุรี ให้เสด็จออกอยู่ต่างวังเมื่อพระพระชันษาได้ ๑๘ ปี แต่ ได้ทรงครอบครองพระราชวังเดิมไม่ถึง ๓ ปี พอปีวอก ๒๓๖๗ พระชันษา ถึง ๒๑ ปี เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุตามประเพณี พอทรงผนวช ได้ ๑๕ วันก็เผอิญเกิดวิบัติด้วยสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มประชวรเมื่อเดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ (ปีวอก พ.ศ. ๒๓๖๗) แต่แรกรู้สึกพระองค์ว่าเมื่อยมคนไป เสวย พระโอสถข้างที่ไม่ถูกโรค เลยเกิดพระอาการเซื่อมซึม จนไม่สามารถจะ ตรัสได้ แก้อย่างไรก็ไม่ฟื้น ประชวรอยู่ ๘ วัน ถึงวันพุธ เดือน ๗ แรม ๑๑ ค่ำ ก็สวรรคต ไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทาน แก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดีหัวหน้า ข้าราชการทั้งปวงจึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณ ว่าจะ ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้น ถ้าว่าตามนิตินัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในฐานสมควร จะได้รับราชสมบัติ เพราะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสองค์ใหญ่อันเกิดด้วย พระอัครมเหสี แต่เผอิญในเวลานั้นมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร (คือพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็ฯพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ ใหญ่ เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง ๑๗ ปี ได้ทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลาย รัชกาลที่ ๒ ผู้คนยำเกรงนับถืออยู่โดยมาก ที่ประชุมเห็นว่าควรถวายราช สมบัติแก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร บ้านเมืองจึงจะเรียบร้อยเป็นปกติ จึง อาศัยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ให้ไป ทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไป ฝ่ายพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบกิตติศักท์อยู่แล้ว ว่าคิด กันจะถวายราชสมบัติ แก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พิจารณาเห็นว่าถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์ คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเลยเกิดเหตุร้ายในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าพระองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรจะคิด เอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรง เห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นชิตชิโนรส ประปิตุลาซึ่งทรงผนวช อยู่ กับทั้งกรมหมื่นเดชอดิศรพระเชษฐาซึ่งทรงนับถือมาก ทั้งสองพระ องค์นั้นตรัสว่าไม่ควรจะปรารถนา อย่าห่วงราชสมบัติดีกว่า เพราะ ฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัวได้ทรงฟังคำถาม จึง ตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชอยู่ต่อไป ก็เป็นอันสิ้นความลำบาก ในการที่จะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่ถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้ง นั้น เมื่อพิจารณาในเรื่องพงศาวดารดูไม่น่าพิศวง ด้วยในรัชการที่ ๒ นั้น มีเจ้านายเป็นหลักราชการมาแต่แรก ๓ พระองค์ คือสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์พระองค์ ๑ เจ้าฟ้ากรมหลวง พิทักษ์มนตรี พระอนุชาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระองค์ ๑ และพระองค์เจ้าทับ พระเจ้าลูกยาเธอองค์ใหญ่ซึ่ง ทรงสถาปนาเป็นกรม หมื่นเจษฏาบดินทรพระองค์ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ ทรงกำกับราชการแผ่นดินต่างพระเนตร พระกรรณทั่วไป โปรดฯ ให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงกำกับกระ ทรวงมหาดไทยกับกระทรวงวัง และโปรดฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ทรงกำกับพระทรวงพระคลัง เป็นเช่นนั้นมา ๘ ปี ถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๓๖๐ กรมพระราชวังบวรฯ สวรรคต ต่อนั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีก็เป็น หัวหน้าในราชการต่อมาอีก ๕ ปี ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ เจ้าฟ้ากรมหลวง พิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์ เหลือแต่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ก็ได้รับราชการ ต่างพระเนตรพระกรรณต่อมาถึง ๓ ปี ในเวลาเมื่อสิ้นรัชการที่ ๒ กรม หมื่นเจษฎาบดินทรได้ทรงบังคับบัญชาราชการอยู่โดยมาก ถ้าถวายราช สมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เหมือนถอดถอนพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจากอำนาจที่มีอยู่แล้ว ถ้าไม่ทรงยอมจะ ทำอย่างไร พฤติการณ์เป็นเช่นนี้ จึงต้องถวายราชสมบัติแก่พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เรื่องนี้มีกระแสพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกอย่างหนึ่งว่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพร จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงรับราชสมบัติครั้งนั้น ที่จริงกลับเป็นคุณ แก่ประเทศสยาม เพราะในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาวิชาความรู้แต่ตามแบบโบราณ การงานในบ้านเมืองก็ทรง ทราบเพียงเท่ากับเจ้านายองค์อื่น ถ้าได้รับราชสมบัติในเวลานั้น พระ บรมราโชบายในการปกครองบ้านเมือง ก็น่าจะเป็นทางเดียวกันกับพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง ที่ทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓ ได้มีโอกาสเสด็จไปเที่ยวธุดงค์ ทอดพระเนตรเห็ฯภูมิประเทศและทรง ทราบความสุขทุกข์ของราษฎรตามหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เอง กับ ทั้งได้โอกาสทรงศึกษาวิชาความรู้และภาษาฝรั่ง พอทันเวลาที่ฝรั่งจะเริ่ม แผ่อำนาจมาถึงประเทศสยาม พิเคราะห์ดูราวกับชาตาบ้านเมืองบันดาล ให้เสด็จรอเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อเมื่อมีความสามารถจะอำนวยรัฏฐา ภิปาลโนบายได้ตามความต้องการของบ้านเมือง กระแสพระราชปรารภที่ ว่ามานี้ ถ้าพิจารณาในเรื่องพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ดูเป็นอัศจรรย์จริง จะเล่าเรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช จะต้องชี้แจงให้ผู้อ่านทราบลักษณะการที่เจ้านายออกทรง ผนวชเสียก่อน ตามประเพณีมีสืบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ระเบียบการ ศึกษาของพระราชกุมาร เมื่อเรียนอักษรสมัยเบื้องต้นตลอดแล้ว พอพระ ชันษาถึง ๑๔ ปีต้องออกทรงเป็นสามเณร เพื่อศึกษาศีลธรรมครั้งหนึ่ง และเมื่อเจริญพระชันษาถึง ๒๑ ปี ต้องทรงผนวชเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษา พระศาสนาและวิชาชั้นสูง (ทำนองเดียวกับเข้ามหาวิทยาลัย) อีกครั้ง หนึ่ง จึงนับว่าสำเร็จการศึกษาแต่นั้นไป เจ้านายที่ออกทรงผนวชนั้น บาง พระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณร แล้วเกิดนิยมการเล่าเรียนในสำนักสงฆ์ เลยทรงผนวชอยู่จนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แม้ที่สุดบางพระองค์เลยอยู่ใน สมณเพศต่อไปจนตลอดพระชนมายุก็มี แต่โดยมากนั้นทรงผนวชเป็นสาม เณรอยู่เพียงพรรษาหนึ่งหรือสองพรรษา แล้วก็ลาผนวชกลับมาศึกษาวิชา การทางฝ่ายฆราวาสจนพระชันษาถึง ๒๑ ปี จึงออกทรงผนวชเป็นพระ ภิกษุตามประเพณี แต่ทรงผนวชอยู่เพียงพรรษาเดียวแล้วก็ลาผนวชมารับ ราชการบ้านเมือง ก็การเล่าเรียนสำหรับผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุนั้นมีเป็น ๒ อย่างเรียกว่า คันถธุระ คือเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยพยา ยามอ่านพระไตรปิฎกให้รอบรู้พระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนาธุระ คือเรียนวิธีที่จะพยายามชำระใจของตนเอง ให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส อย่างหนึ่ง การเรียนคันถธุระต้องเรียนหลายปี เพราะต้องเรียนภาษามคธ ก่อน ต่อรู้ภาษามคธแล้วจึงจะอ่านพระไตรปิฎกเข้าใจได้ เจ้านายที่ ทรงผนวชแต่พรรษาเดียวไม่มีเวลาพอจะเรียนคันถธุระ จึงมักเรียนวิปัส สนาธุระเป็นอันการภาวนา อาจเรียนได้ด้วยไม่ต้องรู้ภาษามคธและถือกัน อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าเรียนวิปัสสนาธุระชำนาญแล้ว อาจจะทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคม เป็นประโยชน์อย่างอื่นตลอดจนวิชาพิชัยสงคราม เพราะ ฉะนั้นเจ้านายซึ่งทรงผนวชแต่พรรษาเดียว จึงมักทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ผนวชในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เพราะฉะนั้นเมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย จึงโปรดฯ ให้ทำตามเยี่ยงอย่างครั้งพระองค์ทรงผนวช ทรงรับ อุปสวมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสด็จไปประทับ ณ ตำหนักในวัด มหาธาตุ ฯ ทำอุปัขฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาทรงศึกษา วิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราบ (ซึ่งพระราชทานนามว่า วัดราชาธิวาส เมื่อรัชกาลที่ ๔) เมื่อแรกทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เห็น จะจำนงทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เหมือนเช่นที่เจ้านายทรงผนวชเคยศึกษา กันมาแต่ก่อน หรืออย่างว่า พอเป็นกิริยาบุญ เพราะจะทรงผนวชอยู่เพียง พรรษาเดียว แต่เมื่อเกิดเหตุวิบัติด้วยสมเด็จพระบรมชนกนาถสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ราชสมบัติ ส่วนพระองค์จะ ต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระดำริเห็นว่าฐานะของ พระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับทางบ้านเมือง จึงเปลี่ยนเจตนาไปจำนงจะ ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาให้รอบรู้ตามสมควรแก่หน้าที่ของพระภิกษุ ก็ใน เวลานั้นได้เริ่มศึกษาวิปัสสนาธุระมาแล้ว แต่แรกทรงผนวช จึงตั้งพระ หฤทัยขมักเขม้นจะเรียนให้ได้ความรู้วิปัสสนาธุระอย่างถ่องแท้ ไม่ช้าเท่า ใดก็ทรงทราบสิ้นตำราที่พระอาจารย์เคยสอนเจ้านายมาแต่ก่อน ความข้อ ใดในตำราที่สงสัย ตรัสถามพระอาจารย์ก็ไม่สามารถชี้แจงถวายให้ สิ้นสงสัยได้ ทูลแต่ว่าครูบาอาจารย์เคยสอนมาเพียงเท่านี้ ก็เกิดท้อพระ หฤทัยในการที่ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ พอออกพรรษาจึงเสด็จกลับมา ประทับ ณ วัดมหาธาตุฯ ตั้งต้นเรียนคันถธุระ หมายจะให้สามารถอ่าน พระไตรปิฎกศึกษาหาความรู้ได้โดยลำพังพระองค์ ได้ยินว่าพระวิเชียร ปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตย์ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างยิ่งในสมัยนั้น เป็นพระอาจารย์สอนภาษามคธถวาย ทรงขะมักเขม้นเรียนอยู่ ๓ ปีก็รอบ รู้ภาษามคธผิดกับผู้อื่นอย่างอัศจรรย์ จนกิตติศัพท์เลื่อลืมทราบถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันหนึ่งมีพระราชดำรัสถาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าจะแปลพระปริยัติธรรมถวาย ทรงฟังได้หรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระพรรับ ว่าจะสนองพระเดชพระคุณตามพระราชประสงค์ ก็ประเพณีการสอบความรู้พระปริยัติธรรมในสมัยนั้น กำหนด หลักสูตรเป็น ๙ ประโยค ผู้ที่เข้าสอบความรู้ต้องสอบได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไปจนถึงนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าได้เพียง ๓ ประโยคเทียบชั้นเปรียญตรี ถ้า ได้ตั้งแต่ ๔ ถึง ๖ ประโยคเทียบขั้นได้เปรียญโท ถ้าได้ตั้งแต่ ๗ ประโยคขึ้น ไปเทียบขั้นเปรียยเอก แต่เจ้านายที่ทรงผนวชแม้ทรงผนวชอยู่นาน และ ได้เรียนคันธถุระ เช่นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสเป็นต้น แต่ก่อนมาหาเคยมี พระองค์หนึ่งพระองค์ใดได้เข้าสอบความรู้พระปริยัติธรรมในสนามไม่ ถ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ตรัสชวน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ก็คงไม่เข้าสอบ เหตุใดพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์จะให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าสอบความรู้เป็นเปรียญพระปริยัติธรรม ข้อนี้เมื่อคิดดู เห็นว่าพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคงทรงพระราชดำริว่า พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควร จะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักร และเป็น พระเกียรติแก่พระราชวงศ์โดยไม่ขัดขวางทางการฝ่ายอาณาจักร ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสชวนให้เข้าสอบความรู้ เพื่อจะได้ปรากฎพระปรีชาสามารถให้สังฆ มณฑลนับถือ ฝ่ายข้างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็จะทรง พระดำริเป็นทำนองเดียวกัน จึงเข้าแปลพระปริยัติธรรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลพระปริยัติ ธรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประชุมคณะพระ มหาเถระผู้สอบในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และเสด็จออกทรงฟังแปล ทุกวัน วันแรกแปลคัมภีร์ธรรมบท ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับสอบความรู้ ชั้นประโยค ๑ ประโยค ๒ ประโยค ๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรรงแปลพักเดียวได้ตลอดประโยค ไม่มีพลาดพลั้งให้พระมหา เถระต้องทักท้วงเลย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดี ดำรัส ว่าเห็นความรู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ธรรมบทแล้ว ไม่ต้องแปลคัมภีร์ธรรมบท ส่วนประโยค ๒ และประโยค ๓ ต่อไปก็ได้ ให้แปลคัมภีร์มงคลทีปนี สำหรับประโยค ๔ ทีเดียวเถิด วันที่ ๒ เสด็จเข้าแปลประโยค ๔ และวันที่ ๓ แปลคัมภีร์บาลีมุตสำหรับประโยค ๕ ก็ทรงสามารถแปลได้โดยสะดวกอีก ทั้ง ๒ คัมภีร์ แต่ในวันที่ ๓ นั้นเมื่อเสร็จการแปลแล้ว ปรากฎว่ากรมหมื่น รักษ์รณเรศร (ที่เรียกกันภายหลังว่า ปม่อมไกรสร) ซึ่งเป็นผู้กำกับกรม ธรรมการ ถามพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมฬีโลกฯ อันเป็นผู้มีชื่อ เสียงว่าเชี่ยวชาญพระปริยัติธรรมและได้นั่งเป็นผู้สอบอยู่ด้วยว่า "นี่จะ ปล่อยกันไปถึงไหน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ ก็น้อยพระหฤทัย ให้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวในวันนั้น ว่าที่เข้าแปลพระปริยัติธรรม ทรงเจตนาแต่จะสนอง พระเดชพระคุณ หาได้ปรารถายศศักดิ์ลาภสักการอย่างใดไม่ ได้แปล ถวายทรงฟัง ๓ วัน เห็นว่าพอเฉลิมพระราชศรัทธาแล้ว ขออย่าให้ต้อง แปลต่อไปเลย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบความ ขุ่นหมองที่เกิดขึ้น ก็ทรงบัญชาตามพระหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ๙ ประโยคให้ ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ต่อมา เหตุที่หม่อมไกรสรเข้าไปเกียจกันครั้นนั้น เนื่องมาจากเรื่องเปลี่ยน รัชกาล ด้วยหม่อมไกรสรอยู่ในพวกเจ้านายที่ประสงค์จะให้ราชสมบัติ พลัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปได้แก่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการเป็นได้ดังประสงค์แล้ว เจ้านายพระองค์ อื่นก็กลับสมัครสมานอย่างเดิม แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่ทรงรังเกียจกินแหนงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง ทรงอุดหนุนเพื่อจะให้เจริญพระเกียรติทางฝ่ายพุทธจักรดังกล่าวมาแล้ว แต่ หม่อมไกรสรยังมีทิษฐิ ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจ จะเป็นศัตรูราชสมบัติ คอยแกล้งเกียจกันด้วยอุบายต่างๆ เพื่อจะมิให้ผู้ คนนับถือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงถูกหม่อมไกรสร เป็นตัวมารคอยใส่ร้ายต่างๆ ต่อมาในรัชการที่ ๓ จนผลกรรมบันดาล ให้ตัวต้องเป็นราชภัยเป็นอันตรายไปเอง การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาคันถธุระผิด กับผู้อื่น ด้วยตั้งพระหฤทัยจำนงแต่จะเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่าง ถ่องแท้ มิได้หมายจะมีตำแหน่งฐานันดรอย่างใดในสังฆมรฑล เพราะ ฉะนั้นเมื่อทรงทราบภาษามคธ ถึงสามารถจะอ่านพระไตรปิฎกเข้าพระ หฤทัยได้โดยลำพังพระองค์ ก็ทรงพยายามพิจารณาหลักฐานพระพุทธ ศาสนาต่อมา เมื่อทรงพิจารณาถึงพระวินัยปิฎก ปรากฎแก่พระญาณว่า วัตรปฏิบัติ เช่นที่พระสงฆ์ไทยประพฤติกันเป็นแบบแผน ผิดพระวินัยที่พระ พุทธองค์ทรงบัญญัติอยู่มาก ยิ่งทรงพิจารณาไปก็ยิ่งเห็นวิปลาสคลาดเคลื่อนมาช้านาน แล้วก็ เกิดวิตกขึ้นในพระหฤทัยว่า หรือสมณวงศ์ที่สืบเนื่องมาจากพระอริยสาวก ของพระพุทธเจ้าจะศูนย์เสียแล้ว แต่อย่างไรก็ดีการที่พระองค์ทรงผนวช ได้สมาทานว่าจะประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ถ้าทรง ประพฤติวัตรปฏิบัติต่อไปในทางที่ผิดพระพุทธบัญญัติ เห็นว่าลาผนวชออก เป็นแต่อุบาสกจะดีกว่า ในขณะเมื่อกำลังทรงพระวิตกดังว่ามาและยังไม่ เห็นทางที่จะแก้ไข ได้กิตติศัพท์กราบถึงพระกรรณว่ามีพระเถระมอญองค์ ๑ (ชื่อขาย นามฉายาว่าพุทธวงศ) บวชมาแต่เมืองมอญ มาอยู่วัด บวรมงคล ได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี เป็นผู้ชำนาญพระวินัย ปิฎก และประพฤติวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงทำวิสสาสะ สนทากับพระสุเมธมุนีๆ ทุลอธิบายระเบียบวัตรปฏิบัติของพระมอญคณะ (กัลยาณี) ที่ท่านอุปสมบทให้ทรงทราบโดยพิสดาร ทรงพิจารณาเห็นไม่ ห่างไกลจากพระพุทธบัญญัติเหมือนอย่างวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์สยาม ก็ ทรงยินดี ด้วยตระหนักในพระหฤทัยว่าสมณวงศ์ไม่ศูนย์เสียแล้วเหมือน อย่างทรงพระวิตกอยู่แต่ก่อน ก็ทรงเลื่อมใสใคร่จะประพฤติวัตรปฏิบัติตาม แบบพระมอญ แต่มีความขัดข้องด้วยเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จะทรงประพฤติให้ผิดกับระเบียบ แบบแผนของพระสงฆ์ในวัดนั้นก็จะเป็นการละเมิด และคนทั้งหลายอาจ จะเกิดความเข้าใจผิดต่อไป จึงเสด็จย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย เมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๓๗๒ เหมือนอย่างเคยเสด็จประทับเมื่อพรรษาแรกทรงผนวช เวลานั้นมีพระภิกษุหนุ่ม เป็นเจ้าบ้าง เป็นลูกผู้ดีบ้าง ที่ได้ถวายตัวเป็นสานุ ศิษย์ศึกษาอยู่ในสำนักและเลื่อมใสในพระดำริอีกราว ๖ รูป ตามเสด็จอยู่ วัดสมอรายก็มี อยู่วัดอื่นเป็นแต่ไปประชุม ณ วัดสมอรายก็มี จึงเริ่มเกิด เป็นคณะสงฆ์ซึ่งแสวงหาสัมมาปฏิบัติ อันมาได้นามในภายหลังว่า ธรรม ยุติกา แต่นั้นเป็นต้นมา ตรงนี้จะกล่าวถึงเรื่องวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยในสมัยนั้นแทรก ลงสักหน่อย มีเรื่องตำนานเล่ากันมาแต่โบราณ (จะเป็นตำนานเกิดขึ้น ในเมืองมอญ หรือในเมืองไทยหาทราบไม่) ว่าเมื่อพระสงฆ์ลังกาวงศ์ เชิญพระไตรปิฎกมาจากลังกาทวีปนั้น เรือมาถูกพายุพลัดกันไป เรือลำที่ ทรงพระวินัยปิฎกพลัดไปเมืองมอญ และเรือที่ทรงพระสุตตันตปิฎกพลัดมา เมืองไทย ตำนานนี้อาจจะเป็นอุปมาไม่มีมูลทางพงศาวดาร แต่มี คาวมจริงประหลาดอยู่ ที่พระสงฆ์ในเมืองมอญถือพระวินัยปิฎกเป็นสำคัญ ฝ่ายพระสงฆ์ทางเมืองไทย ถือพระสุตตันปิฎกเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น พระสงฆ์ไทยชำนาญการแสดงธรรม แต่มิใคร่เอาใจใส่ในการปฏิบัติพระ วินัยเคร่งครัดนัก เป็นเช่นนั้นมาแต่โบราณ ใช่ว่าพระสงฆ์ไทยจะเป็น อลัชชีหรือไม่มีความรู้นั้นหามิได้ แต่มามีเสียอยู่อย่างหนึ่งที่พระสงฆ์ไทย เชื่อถือคติปัญจอันตรธานในบริเฉทท้ายคัมภีร์ปฐมสมโพธิ เกินไป ใน บริเฉทนั้นอ้างว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เมื่อถึงกลียุค (คือยุค ปัจจุบันนี้) พระพุทธศาสนาจะเสื่อมลงเรื่อยไป สติปัญญาและความ ศรัทธาอุตสาหะของคนทั้งหลายก็เลวลงทุกที จนไม่สามารถรักษาพระ ธรรมวินัยไว้ได้ ที่สุดเมื่อพุทธศักราชใกล้จะถึงห้าพันปี แม้พระสงฆ์ก็จะมี แต่ผ้าเหลืองคล้องคอหรือผูกข้อมือไว้พอรู้ว่าเป็นพระเท่านั้น คติตามคัมภีร์ นี้เป็นเหตุให้เชื่อกันว่าพระพุทธศาสนาที่เราถือกัน มีแต่จะเสื่อมไปเป็น ธรรมดา พ้นวิสัยที่จะคิดแก้ไขให้คืนดีได้ เมื่อเช่นนั้นก็พยายามรักษา พระธรรมวินัยมาแต่เพียงเท่าที่สามารถ จนเกิดคำพูดว่า ทำพอเป็นกิริยา บุญ ด้วยเชื่อคติที่กล่าวมานี้ แม้ปรากฎในเรื่องพงศาวดารว่าได้มีการ ฟื้นพระศาสนา มาเป็นครั้งคราว เช่นทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อ รัชกาลที่ ๑ นั้นก็ดี การฟื้นพระศาสนาที่ทำมานั้นเป็นแต่ฟื้นหาความรู้ หา ได้ฟื้นถึงการปฏิบัติไม่ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้ง ระเบียบวัตรปฏิบัติอย่างธรรมยุติกาจังเป็นการฟื้นพระศาสนาส่วนที่บกพร่อง ของพระสงฆ์สยามมาแต่โบราณ หรือว่าอีกนัยหนึ่งก็คือทรงแก้ไขวัตร ปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ทั้งพระธรรมและพระวินัย เพราะฉะนั้น คติธรรมยุติกาที่ทรงตั้งขึ้น จึงดีกว่าคติเดิมทั้งที่พระมอญและพระไทยถือ กันมาแต่ก่อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับ ไปอยู่วัด ราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตรปฏิบัติอย่างธรรมยุติกามีจำนวนเพียง สัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ หรืออยู่วัดอื่นบ้าง แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและ พระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุ สามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์ แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกา มากขึ้น และมีพากคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น โดย ลำดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์อันหนึ่ง พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชาคณะ ถึงกระนั้นที่ทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชา ธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัย ว่าคนพอใจไปวัดราชาธิวาสกันมากนั้น เพราะประสงค์จะยกย่องพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง ความทราบถือพระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่ทรงระแวงสงสัยในส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่รำคาญพระราชหฤทัยที่เกิด กล่าวกันเช่นนั้นแพร่หลาย จึงตรัสปรึกษาสมเด็จเาพระยาบรมมหาพิชัย ญาติ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒนฯ กราบทูลความเห็นว่าถ้าโปรดฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ ความสมสัย นั้นก็จะระงับไปเอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ เห็นชอบด้วย เผอิญมีกรณีเหมาะแก่พระราชประสงค์ ด้วยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะแต่ยังไม่ได้ครองวัดและเวลานั้น พระราชาคณะตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศนฯ ซึ่งกรมพระราชวังบวร มหาศักดิพลเทพทรงสร้างใหม่ที่ในพระนครว่างอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลื่อน สมณศักดิ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศนฯ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙ เวลานั้น พระชันษาได้ ๓๒ ปี ทรงผนวชได้ ๑๒ พรรษา ก่อนที่จะเล่าเรื่องอขงพระราชประวัติตอนเสด็จอยู่วัดบวรนิเวศนฯ จะ ย้อนไปกล่าวถึงเรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเที่ยว ธุดงค์ในสมัยเมื่อยังประทับอยู่วัดราชาธิวาสเสียก่อน เพราะการที่เสด็จ เที่ยวธุดงค์มามีผลเป็นคุณแก่บ้านเมืองภายหลังหลายสถาน คือใน สมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชนั้น ประเพณีที่ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสหัวเมืองห่างจากกรุงเทพฯ ถึงต้องประทับแรม แม้เพียงเสด็จไปทรงบูชาพระพุทธบาท หรือไปทรงทอดกฐินหลวงถึงพระ นครศรีอยุธยาเป็นต้น หยุดมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ นับเวลากวา ๓๐ ปี เมื่อไม่ มีการเสด็จพระราชดำเนิน เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ก็ไม่มีใครเสด็จออก ไปเที่ยวหัวเมืองไกล นอกจากจำเป็นต้องไปในเวลามีราชการ เพราะเห็น เป็นการฝ่าฝืนพระราชปฏิบัติ เกรงจะระแวงผิดทางการเมืองจึงอยู่กันแต่ใน กรุงเทพฯ เป็นพื้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟื้นพระ ศาสนา ใคร่จะศึกษาธุดงควัตรให้บริบูรณ์ ทรงพระราชดำริว่าพระองค์ ทรงเพศเป็นสมณะ ไม่เกี่ยวข้องทางการเมือง จึงถวายพระพรลาพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไปบูชามหาเจดียสถานตามหัวเมืองต่างๆ ก็ โปรดฯ พระราชทานอนุญาตไม่ขัดขวาง จึงได้เสด็จไปตามหัวเมืองมณฑล นครชัยศรี มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลนครสวรรค์ ตลอด ขึ้นไปจนมณฑลพิษณุโลกทางฝ่ายเหนือ ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิลำเนาและ ทรงทราบความทุกข์สุขของราษฎรในหั้วเมืองเหล่านั้น ด้วยพระองค์เอง เป็นเหตุให้ทรงทราบตระหนักมาแต่เมื่อเสด็จธุดงค์นั้นว่ารัฐบาลในกรุงเทพฯ มิใคร่ทราบความเป็นไปในบ้านเมืองตามที่เป็นจริง อีกสถานหนึ่งได้ทรง ทราบอัชฌาสัยใจคอของราษฎรชาวหัวเมืองที่เสด็จไป และคนเหล่านั้น เมื่อรู้จักพระองค์ก็พากันชอบพระอัธยาศัย เกิดนิยมนับถือแพร่หลายใน เหล่าประชาชนมาแต่ชั้นนั้น ยังอีกสถานหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญเกิด ขึ้นด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปธุดงค์ คือ เมื่อได้ไป ทอดพระเนตรเห็นโบราณวัตถุเช่นศิลาจารึกเป็นต้น กับทั้งโบราณสถานที่ มีแบบอย่างต่างๆ กันตามสมัย ก็เกิดใฝ่พระหฤทัยในการศึกษาโบราณ คดีของประเทศสยามโดยทางวิทยาศาสตร์ เหมือนอย่างทรงนำทางให้ผู้อื่น ทั้งไทยและฝรั่งนิยมศึกษาตามเสด็จต่อมา ความรู้โบราณคดีของประเทศ สยามจึงได้เจริญแพร่หลาย แม้จนถึงทุกวันนี้ ใครจะศึกษาโบราณคดีของ ประเทศสยาม ก็ยังได้อาศัยพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้แทบทุกคน เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศนฯ นั้น ดูทรงระวังมกาที่จะมิให้โทมนัสน้อยพระหฤทัย เป็นต้นว่าเมื่อแห่เสด็จมา จากวัดราชาธิวาสตามประเพณีแห่พระราชาคณะไปครองวัดนั้น โปรดฯ ให้จัดกระบวนเหมือนอย่างแห่เสด็จพระมหาอุปราชแล้วโปรดฯ ให้ สร้างตำหนัก (หลักที่เรียกว่า พระปั้นหยา) กับท้องพระโรงให้เสด็จ อยู่เป็นผาสุก และทรงทำนุบำรุงด้วยประการอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระหฤทัยที่ได้เสด็จมา อยู่วัดบวรนิเวศฯ ด้วยเหตุหลายสถาน เพราะเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่วัด ราชาธิวาส วัดนั้นมีพระราชาคณะและพระสงฆ์มหานิกายปกครองมาแต่ เดิม ทรงจัดวางระเบียบธรรมยุติกาได้สะดวกเพียงวัตรปฏิบัติรส่วนตัวพระ ภิกษุ แต่จะจัดต่อขึ้นไปถึงระเบียบสงฆ์เช่นทำสังฆกรรมเป็นต้น ยังขัดข้อง เพราะอยู่ปะปนกับพระสงฆ์ต่างสังวาสกันที่สุดพระธรรมยุติกาที่มีขึ้นก็ยัง ต้องแยกกันอยู่ตามวัดต่างๆ เพราะเสนาสนะไม่พอจะอยู่ที่วัดราชา ธิวาสได้หมด เสด็จมาอยู่วัดบวรนิเวศนฯ ได้ทรงครองวัด สามารถรับ พระสงฆ์ธรรมยุติกามาอยู่ในวัดเดียวกัน ทั้งพระที่บวชใหม่ก็บวชเป็น ธรรมยุติกาทั้งนั้น ในไม่ช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศนฯ ก็เป็นธรรมยุติกา ทั้งหมด จึงทรงจัดวางระเบียบการคณะสงฆ์และการปกครองวัด ตลอด จนการสั่งสอนสัปบุรุษ ให้บริบูรณ์ตามคติธรรมยุติกาได้ดังพระประสงค์ แต่ความเดือดร้อนรำคาญก็เกิดขึ้นหลายอย่าง เพราะเสด็จเข้ามาอยู่ใกล้ ถูก หม่อมไกรสรพยายามทำร้ายหนักขึ้น จนถึงหาเหตุให้สึกพระสุเมธมุนีที่เป็น พระอุปัชฌาย์จองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเบียดเบียน ด้วยประการต่างๆ แม้นจนแกล้งใส่บาตรพระธรรมยุติกาด้วยข้าวต้มให้ร้อน มือที่อุ้มบาตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องรับความเจ็บ ช้ำระกำพระหฤทัยมาตลอดอายุของหม่อมไกรสร แต่ก็ไม่ทรงยอมหย่อน พระอุตสาหะในการฟื้นพระศาสนา ด้วยทรงเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์อยู่ จึงสามารถแสดงวัตร ปฏิบัติของพระสงฆ์ธรรมยุติกาได้โดยเปิดเผย ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครองวัดบวร นิเวศนฯ พอทรงวางระเบียบนิกายธรรมยุติกาสำเร็จแล้ว ก็ทรงพยายาม ฟื้นการศึกษาพระปริยัติธรรมต่อมา ทรงพระราชดำริแก้ไขวิธีเรียน ซึ่งแบบ เดิมให้เรียนภาษามคธกับพระธรรมวินัยไปด้วยกัน ตามคัมภีร์ที่ใช้เป็นหลัก สูตรสำหรับสอบเป็นลำดับขึ้นไป ทรงเปลี่ยนเป็นให้เรียนเป็น ๒ ขั้นๆ ต้น เรียนแต่ไวยากรณ์ขึ้นไปจนจบคัมภีร์มงคลทีปนี กวดขันให้รู้ภาษามคธแตก ฉานเสียก่อน แล้วจึงให้ศึกษาหาความรู้พระธรรมวินัยด้วยอ่านคัมภีร์อื่นๆ ต่อไปเป็นชั้นหลัง ด้วยใช้วิธีนี้นักเรียนสำนักวัดบวรนิเวศนฯ จึงรู้ภาษามคธ เชี่ยวชาญถึงสามารถพูดภาษานั้น และใช้หนังสืออรรถ เทศน์ได้โดย สะดวก เมื่อเข้าแปลพระปริยัติธรรมก็ได้เป็นเปรียญประโยคสูงมากกว่า สำนักอื่นๆ เล่ากันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระ ราชทานพระกฐินทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์วัดบวรนิเวศนฯ เป็นเปรียญ มาก ตรัสปราศรัยแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถ้าวัด ของชีต้นเป็นเปรียญทั้งวัดก็จะดีทีเดียว" เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสามารถจัดบำรุงการเล่าเรียน ได้รุ่งเรืองเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้มีตำแหน่งในคณะมหา เถระผู้สอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง แต่เผอิญไปโต้งแย้งกระพระ พุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมฬีโลกฯ (องค์ที่ออกนามมาในตอนที่ทรง แปลพระปริยัติธรรม) ซึ่งเป็นผู้ใหญ่อยู่แต่ก่อน เรื่องที่เกิดโต้แย้งนั้นเล่า กันมาว่า พระมหาผ่อง (ภายหลังได้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมภาณ พิลาศ อยู่วัดประยูรวงศ์) แปลความแห่งหนึ่งว่า ตุมฺเห อันว่าท่านทั้งหลาย นิสีทถ จงนั่ง อาสเน ในอานสะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวไม่โปรดที่แปลศัพท์ อาสเน ว่าใน อาสนะ พระมหาผ่องแปลใหม่ ว่า อาสเน เหนืออาสนะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด แต่พระพุทธโฆษาจารย์ติว่าไม่ถูก พระมหาผ่องก็ไม่รู้ที่จะแปลว่ากะไร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าพระมหาผ่องจะตก จึง ตรัสขจึ้นว่า "นั่งในอาสนะนั้น นั่งอย่างไร จะฉีกอาสนะออกแล้วเข้าไป นั่งในช่องที่ฉีกหรือ หรือจะเอาอาสนะขึ้นคลุมตัวไว้ในนั้น" พระพุทธ โฆษาจารย์โกรธ บังอาจกล่าวคำหยาบช้าต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ตรัส สั่งห้ามมิให้นิมนต์พระพุทธโฆษาจารย์เข้าราชการอีก และทรงมองการ สอบพระปริยัติธรรมเป็นสิทธิ์ขาดแกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่นั้นมาจนตลอดรัชกาล แต่เรื่องเนื่องด้วยพระพุทธโฆษาจารย์(ฉิม) ยังไม่หมดเพียงนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เสวยราชย์ พระพุทธโฆษาจารย์เกรงว่าจะถูกถอดจากพระราชาคณะด้วย ทรงอาฆาต ถึงเตรียมตัวจะกลับไปอยู่เมืองเพชรบุรีที่ถิ่นเดิม แต่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พ้นโทษ ตรัส ยกย่องว่าพระพุทธโฆษาจารย์ชำนาญพระปริยัติธรรมมาก ให้เลื่อนฐา นันดรขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะกลาง มาครอง วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ก็เกิดเลื่อมใสใน พระคุณธรรมที่ไม่ทรงพยาบาท ว่าพระองค์ทรงเป็นบัณฑิตโดยแท้จึงแต่ง คาถาถวายพรอันขึ้นด้วยบทว่ ยํ ยํ เทวมนุสฺสานํ มงฺคลตฺถาย ภาสิตํ ถวายสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชอบ พระราชหฤทัย จึงโปรดฯ ให้พระสงฆ์สวดคาถานั้นข้าง้ายพระปริต ยัง สวดมาจนทุกวันนี้ ความเจริญที่เกิดขึ้นในสำนักวัดบวรนิเวศน ฯ ครั้งนั้น กิตติศัพท์ ระบือไปถึงลังกาวีป ว่าพระวชิรญาณ มหาเถระ อันเป็นพระอนุชา ของสมเด็จพระธรรมมิกราชพระเจ้าแผ่นดิน ได้ฟื้นพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ขึ้นมาในประเทศสยาม ถึงคณะสงฆ์ในลังกาแต่งสมณทูตให้เข้ามาสืบข่าว พระศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมอบการรับ สมณทูตลังกาครั้งนั้น ให้เป็นธุระของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว อาศัยเหตุที่ทรงวิสสาสะกับพระสงฆ์ลังกาที่เข้ามาครั้งนั้น ทรง ทราบเบาะแสซึ่งจะหาคัมภีร์พระไตรปิฎกอันขาดฉบับอยู่เมื่อครั้งทำสังคายนา ในรัชกาลที่ ๑ จึงทูลถามแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ โปรดฯ ให้ทรงจัดสมณทูต มีพระปลัดสังข์ วัดบวรนิเวศนฯ (ซึ่งมีนาม ฉายาว่า สุภูติ) กับพระปลัดเกิด วัดบรมนิวาศ (ซึ่งมีนามฉายาว่า อมโร) อันเป็นเปรียญธรรมยุติกา ๙ ประโยคทั้ง ๒ องค์ เป็นหัวหน้า ออกไปยัง ลังกาทวีปเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นการไปเยี่ยมตอบและไปเสาะหาคัมภีร์ พระไตรปิฎกครั้งหนึ่ง ต่อมาให้พระปลัดสังข์ออกไปหาพระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ อีกครั้งหนึ่ง ได้คัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งยังขาดฉบับมาเพิ่มเติม อีกเป็นอันมาก พระไตรปิฎกในประเทศสยามจึงมีบริบูรณ์แต่นั้นมาตั้งแต่ มีสมณทูตเข้ามาแล้ว ต่อมาก็มีชาวลังกาทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ไปมา ติดต่อกับสำนักวัดบวรนิเวศนฯ มิใคร่ขาด จนในที่สุดเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ ชาว ลังกาทูลขอให้ส่งคณะสงฆ์ออกไปอุปสมบทตั้งวงศ์ธรรมยุติกาที่ในลังกาทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้พระอโนมมุนี (ศรี ซึ่ง ภายหลังได้เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ อยู่วัดประทุมคงคา) นำคณะสงฆ์ ออกไปลังกาทวีปอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ แต่การที่จะตั้งวงศ์ ธรรมยุติกาหาสำเร็จตามประสงค์ไม่ เพราะพระสงฆ์ลังกาเกิดเกี่ยงแย่ง กันเองด้วยพวกนิกายอุบาลีวงศ์ (เรียกในลังกาอีกอย่างหนึ่งว่า สยามสงศ์) อ้างว่าเป็นวงศ์ของพระสงฆ์ไทยอยู่แล้ว ฝ่ายพวกนิกายพม่าซึ่งเรียกว่า มรัมวงศ์ ก็อ้างว่าพระสงฆ์ธรรมยุติการับอุปสมบทจากนิกายรามัญ ร่วม สมณวงศ์กับตนอยู่แล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ปรองดองกัน การที่จะตั้งคณะสงฆื ธรรมยุติกาในลังกาทวีปจึงไม่สำเร็จ เรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาภาษาฝรั่ง ปรากฎว่าเริ่มทรงศึกษาภาษาละตินก่อน ด้วยเมื่อเสด็จประทับอยู่วัดราชา ธิวาส เขตวัดติดต่อกับวัด คอนเซปชั่น Immaculate Conception Church ของพวกโรมันคาทอลิก และเวลานั้นสังฆราชปาลกัวต์ยังเป็นบาทหลวง อธิการของวัดนั้น ชอบไปเฝ้าทูลถามความรู้ภาษาและขนบธรรมเนียมไทย เนืองๆ จนทรงคุ้นุเคยย จึงโปรดฯ ให้สอนภาษาละตินถวายเป็นทำนอง แลกเปลี่ยนความรู้กัน จะได้ทรงศึกษาอยู่ตอลดเวลาสักเท่าใดและถึงเพียง ไหนไม่ปรากฎ แต่สังเกตในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสวยราชย์แล้ว มักทรง ใช้ภาษาละตินเนืองๆ เห็นได้ว่าทรงทราบไวยากรณ์ของภาษานั้น แต่ การที่ทรงศึกษาภาษาละตินคงหยุดเมื่อเสด็จย้ายจากวัดราชาธิวาส แต่ ภาษาอังกฤษนั้นเสด็จกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศนฯ แล้วหลายปี จึงได้เริ่ม ทรงศึกษาต่อมิชชันนารีอเมริกัน พวกมิชชันนารีอเมริกันกับพวกบาทหลวงฝรั่งเศล แม้เจตนามา สอนคริสตศาสนาอันเดียวกันก็ดี ถือคติต่างกันเป็นข้อสำคัญหลายอย่าง พวกบางหลวงถือลัทธิโรมันคาทอลิก วางตัวเป็น พระ พยายามบำรุง ศานาด้วยการตั้งบริษัท และอุปถัมภ์บำรุงการฝึกสอนคนที่เข้ารีตเป็นสำคัญ ฝ่ายพวกมิชชันนารีอเมริกันถือลัทธิโปรเตสตันต์ (ซึ่งแตกไปจากโรมัน คาทอลิก) วางตัวเป็น ครู นำทั้งศาสนาและอารยธรรม Civilization มา สอนชาวต่างประเทศนี้ทั่วไปไม่เลือกหน้า ชอบใช้วิธีทำให้เกิดประโยชน์ ต่างๆ เช่น รักษาโรคและสอนวิชาความรู้เป็นต้น ให้คนทั้งหลายเลื่อมใส เป็นปัจจัยต่อไปถึงการสอนศาสนา เพราะฉะนั้นพวกมิชชานารีอเมริกัน จึงเข้ากับไทยได้ ผิดกันกับพวกบาทหลวง ในครั้งนั้นมีไทยที่สูงศักดิ์เป็น ชั้นหนุ่ม (เช่นเรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า คนสมัยใหม่) ปรารถนาจะศึกษา วิชาอย่างฝรั่งหลายคน จะกล่าวแต่ผู้ที่มาปรากฎเกียรติคุณในชั้นหลัง คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ใคร่จะทรงศึกษาวิชาทหารพระองค์ ๑ กรมหลวงวงศา- ธิราชสนิท เมื่อยังเป็นกรมหมื่น ใคร่จะทรงศึกษาวิชาแพทย์อย่างฝรั่ง พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นหลวง นายสิทธิ ใคร่จะศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นคน ๑ ได้ศึกษาวิชาเหล่านั้นต่อ พวกมิชชันนารีอเมริกัน แต่ว่าสอนกันด้วยภาษาไทย ส่วนพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงคุ้มเคยกับพวกมิชชันนารีอเมริกันตั้งแต่เสด็จ อยู่วัดราชาธิวาส แต่หาปรากฎว่าได้ทรงศึกษาวิชาอันใดจากพวกม้ชชัน นารีอเมริกันในชั้นนั้นไม่ เหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษ พิเคราะห์ในเรื่องพงศาวดารส่อให้เห็นว่านาจะเป็นเพาะทรงปรารภ ถึงการ บ้านเมืองตั้งแต่จีนรบแพ้อังกฤษ ต้องทำหนังสือสัญญายอมให้อังกฤษกับ ฝรั่งต่างชาติเข้าไปมีอำนาจในเมืองจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เวลานั้นไทยโดย มากยังเชื่อตามคำพวกจีนกล่าวว่าแพ้สงครามด้วยไม่ทันเตรียมตัว รัฐบาล จึงต้องทำหนังสือสัญญาพอให้มีเวลาตระเตรียมรบพุ่งต่อไป แต่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริเห็นว่าถึงคราวโลกยวิสัย จะเกิด การเปลี่ยนแปลงด้วยฝรั่งมามีอำนาจขึ้นทางตะวันออกนี้ และประเทศ สยามอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับฝรั่งยิ่งขึ้นในวันหน้า จึงเริ่มทรงศึกษาภาษษ อังกฤษ มิสเตอรแคสเวล มิชชันนารีอเมริกัน (ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียกในหนังสือ แสดงกิจจานุกิจว่า หมอหัศกัน) เป็นผู้สอนถวาย เล่ากันมาว่า มิสเตอรแคสเวล ไม่ยอมรับค่าจ้าง ทูลขอแต่โอกาสให้สอนคริสตศาสนา ได้ที่วัดบวรนิเวศนฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กล้าประทาน อนุญาตให้สอนที่ศาลาหน้าวังหลัง ๑ ตามประสงค์ เป็นทำนองเหมือนท้า ให้พิสูจน์ความศรัทธาของพุทธบริษัทวัดบวรนิเวศนฯ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับมิสเตอแคสเวล จน สามารถจะอ่านเขียนและตรัสภษาอังกฤษได้สะดวกดียิ่งกว่าใครๆ ที่เป็น ไทยด้วยกันในสมัยนั้นทั้งสิ้น ข้อนี้มีหลักฐานปรากฎเมื่อรัฐบาลอังกฤษให้ เซอร เจมส บรุ๊ค เป็นทูลเข้ามาเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ หนังสือที่มีไปมา กับไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นคราวแรก เวลานั้นข้างฝ่ายไทยไม่มีผู้ชำนาญ ภาษาอังกฤษ ต้องอาศัยมิชชันนารีอเมริกันชื่อ มิสเตอรโจนส์ (เรียกกัน ว่า หมอยอนส์) คน ๑ กับฝรั่งครึ่งชาติชื่อเจมสเฮล์ (เรียกกันว่า เสมียน ยิ้ม) อีกคน ๑ ซึ่งไม่ชำนาญภาาไทย เป็นผู้แปลและแต่งภาษาอังกฤษ แล้วให้ส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เรียกใน จดหมายเหตุว่า ทูลกระหม่อมพระ) ทรงตรวจทุกฉบับ พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสมัยนั้นอีกพระองค็์ ๑ แต่คงเป็นเพาะไม่ทรงทราบลึกซึ้งถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงไม่ปรากฎว่าได้มีหน้าที่ช่วยตรวจหังสือที่มีไปมากับ เซอร เจมส บรุ๊ค มิสเตอรแคสเวล ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถ้าพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มทรงศึกษาภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ ก็มีเวลาสอน อยู่ ๖ ปี แต่สันนิษฐานว่าเห็นจะทรงศึกษาต่อมิสเตอรแคสเวลไม่นาน ถึง ๖ ปี พอทรงสามารถอ่านภาษาอังกฤษเข้าพระหฤทัยได้ความโดย สะดวกแล้ว ก็ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองต่อมา วิธีเรียนอย่างว่านี้ยังใช้ กันมาจนในรัชกาลที่ ๕ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส และสมเด็จกรม พระยาเทววงศวโรปการก็ดี ตลอดมาจนตัวผู้แต่งหนังสือนี้เอง ก็เรียนต่อ ครูเพียงสัก ๓ ปี แล้วเรียเอาเองต่อมาทั้งนั้น แต่กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นประหลาดกว่าเพื่อน ด้วยไม่มีครู ทรงพากเพียรเรียนแต่โดยลำพัง พระองค์ ทรงทราบทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศล อาจอ่านหนังสือได้ ๒ ภาษานั้นเข้าพระทัยได้สะดวก เป็นแต่ตรัสและเขียนไม่ได้ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทราบภาษษ อังกฤษ พระเกียรติคุณก็แพร่หลายไปถึงนานาประเทศ ด้วยพวกมิชชัน นารีและฝรั่งที่เข้ามาถึงกรุงเทพฯ บอกเล่าต่อๆไป จนมีนักเรียนชาว ประเทศอื่นทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกลไปจนยุโรปและอเมริกาเขียดจดหมาย มาถวาย ทูลถามหาความรู้ต่างๆ อันเกี่ยวกับประเทศสยาม ก็มีพระราช หัตถเลขาตอบตามประสงค์ ลายพระราชหัตถเลขาครั้งนั้นยังปรากฎอยู่ มาก มักทรงแต่งตามโวหารภาษาไทย ข้อนี้เมื่อ เซอร จอน เบาริง เป็น ราชทูตเข้ามาเวลาเสด็จเสวยราชย์แล้ว ยกเหตุที่ประเทศอื่นๆ ทางตะวัน ออกนี้ไม่มีเจ้านายประเทศใดได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทูลแนะนำให้มีพระ ราชหัตถเลขาไปถวายสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย แต่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภความขัดข้อง ว่าไม่สามารถจะทรงแต่ง สำนวนให้เหมือนคนอังกฤษได้ เซอร จอน เบาริง ทูล่า ถึงพระราชนิพนธ์ ไม่เหมือนสำนวนคนอังกฤษแต่ง ใครอ่านก็เข้าใจความตามพระราชประสงค์ ได้ชัดเจน อย่าให้ทรงพระวิตกเลย จึงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายสมเด็จ พระราชินีวิคตอเรีย วิชาความรู้ต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษจะมีอย่างใดบ้าง ข้อนี้มีหลักฐานปรากฎแต่ ว่าได้ทรงศึกษาวิชาคณนาวิธีอย่าง ๑ วิชาโหราศาสตร์อย่าง ๑ ประวัติ ศาสตร์อย่าง ๑ กับการเมืองด้วยอีกอย่าง ๑ การที่ได้ทรงศึกษาวิชาคณนา วิธีและโหราศาสตร์ปรากฎในเรื่องสุริยอุปราคาที่กล่าวมาแล้วในตอนก่อน การที่ทรงศึกษาประวัติศาสตร์ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ปรากฎอยู่ในหนังสือ เซอร จอน เบาริง แต่ง ว่าเมื่อจะเป็นอัครราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราช ไมตรีใน พ.ศ. ๒๓๙๘ นั้น เกรงไทยจะรับรองไม่สมศักดิ์ ด้วยทูตอังกฤษที่เคย เข้ามากรุงเทพฯ แต่ก่อน เป็นแต่ทูลของอุปราชในอินเดีย หรือทูตของ รัฐบาลอังกฤษ แต่ เซอร จอน เบาริง เป็นอัครทูตเชิญพระราชสาสน์ มาต่างพระองค์สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย จะต้องให้รับผิดกับ เซอร จอน เบาริง ค้นหาแบบอย่างที่ไทยเคยรับราชทูตของพระเจ้าแผ่นดิน พบใน หนังสือเก่าเล่าเรื่องสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับ เชวเลีย เดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘ เอารายการในหนังสือ นั้นมาเปรียบเทียบ ข้างฝ่ายไทยในเวลานั้นไม่มีใครรู้แบบแผน เพราะ ตำราศูนย์เสียแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงทราบพระองค์เดียว เพาะได้ทรงพงศาวดารการเกี่ยวข้องใน ระหว่งไทยกับฝรั่งที่ฝรั่งแต่งไว้แต่โบราณ ทรงคาดใจ เซอร จอน เบาริง ว่าคงปรารถนาจะให้รับรองผิดกับทูตอังกฤษที่มาแล้วแต่ก่อน จึงโปรดฯ ให้เอาแบบอย่างครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับราชทูตฝรั่งเศล มาใช้ เป็นระเบียบ ก็ถูกใจ เซอร จอน เบาริง ไม่มีที่เกี่ยงงอนได้ เรื่องทรงศึกษาการเมืองที่เกี่ยวกับต่างประเทศนั้น พึงสันนิษฐาน ได้ว่าคงทรงหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีนและสิงคโปร์ ปีนัง เป็นต้น กับทั้งที่ได้ทรงสนทนาสมาคมกับฝรั่ง ทรงทราบประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งมาทำ ทางตะวันออกนี้และความเห็นชอบของฝรั่งอยู่เสมอ เมื่อครั้งทรงตรวจหนังสือที่ ไทยโต้ตอบกับ เซอร เจมส บรุ๊ค คงตระหนักแน่พระหฤทัยตามที่ทรงคาดไว้ แต่ก่อน ว่าอังกฤษคงจะมาเกี่ยวถึงเมืองไทย เหตุการณ์ที่ปรากฎในชั้นหลัง ส่อให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระดำริเห็น มาแล้วแต่ยังทรงผนวช ว่าไทยคงต้องทำหนังสือสัญญากับอังกฤษด้วย จำเป็น ข้อนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็อาจจะทรงพระราช ดำริเช่นนั้นเหมือนกัน แต่เห็นว่าถ้าทำหนังสือสัญญาตามข้อความที่ อังกฤษปรารถนา จะเกิดความฉิบหายในบ้านเมือง และบางทีจะยังเชื่อ คำพวกจีนว่าอังกฤษมีกำลังมากแต่ในท้องทะเล ถ้ารักษาปากน้ำให้มั่นคง อย่าให้เรือรบขึ้นมาถึงพระนครได้ ก็จะปลอดภัย จึงไม่ยอมทำหนังสือ กับเซอร เจมส บรุ๊ค ว่าตามหลักฐานที่ปรากฎครั้งนั้น มีพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวที่ทรงพระดำริเห็นว่าประเทศสยามจะ ปลอดภัยในอนาคตได้แต่ด้วยทำให้ฝรั่งนับถือ แต่ในเวลานั้นทรงผนวช ไม่มีกิจเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมือง ก็นิ่งอยู่ เรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงรั้บราชสมบัติ นั้น พิเคราะห์ความตามเรื่องพงศาวดารรัชการที่ ๓ ดูเหมือนเมื่อตอนแรก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชย์ จะยังมิได้ทรงพระ ราชดำริถึงเรื่องรัชทายาท ด้วยยังไม่แน่พระหฤทัยว่าราชการบ้าน เมืองจะเรียบร้อยหรือจะเป็นอย่างไร เพราะผู้ที่เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมควรได้รับราชสมบัติก็มีมาก จึงทรงสถาปนาพระเจ้า บรมวงศ์เธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งมีกำลังมากเพราะได้กำกับราชการ กระทรวงกลาโหม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยยิ่งกว่าเจ้านายพระองค์ อน เป็นพระมหาอุปราชถ้าหากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในตอนนั้น กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็คงจะได้ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พฤติการณ์เช่นนั้นมาจนกรมพระราชวังบวรมหา ศักดิพลเสพสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ จึงเริ่มมีเค้าเงื่อนว่าพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภถึงเรื่องรัชทายาท ด้วยครั้งนั้นพวก ข้าเจ้าต่างกรมหลายพระองค์คาดกันว่าเจ้านายของตนจะได้เป็นพระมหา อุปราชเหมือนอย่างกรมหมื่นศักดิพลเสพ พากันเตรียมตัวจะเป็นขุนนาง วังหน้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจตนาจะไม่ตั้งพระมหา อุปราชจึงตรัสปรึกษาเสนาบดีบางคน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒนฯ กราบทูลว่าถ้าโปรดฯ ให้เลื่อนกรมเจ้านาย เหล่านั้นขึ้นเสียสักขั้นหนึ่ง ให้ปรากฎว่าทรงเจตนาจะให้มีพระยศแต่เพียง เท่านั้น พวกข้าในกรมเจ้านายคงจะไม่ทะเยอทะยานต่อไป พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงโปรดฯ ให้ เลื่อนกรมเจ้านายขึ้นเป็นกรมหลวง กรมขุน หลายพระองค์ พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงรับกรม เป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในครั้งนั้นด้วย ประหลาดอยู่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เว้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ ไม่โปรดฯ ให้ทรงรับกรม จะเป็นเพราะเหตุใด จะว่าขัดข้องเพราะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ก็มิใช่ ด้วยเมื่อกรมหมื่นนุชิตชิโนรสทรงรับกรม ก็เป็นพระภิกษุมีเป็นตัวอย่างอยู่ ข้อนี้น่าสันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าตำแหน่งพระมหาอุปราชเป็นรัชทายาท ไม่สมควรแก่ เจ้าพระนายองค์อื่นนอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ ทรงผนวชอยู่ จะทรงตั้งเป็นพระมหาอุปราชก็ขัดข้องทางฝ่ายพระศาสนา จะให้ทรงรับกรมก็ไม่เข้ากับเหตุที่เลื่อนกรมเจ้านายในครั้งนั้น จึงได้งดเสีย ต่อมามีกรณ๊หลายอย่างที่ส่อให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว จำนงพระราชหฤทัยจะให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น รัชทายาท เช่นโปรดฯ ให้แห่เสด็จอย่างพระมหาอุปราชเมื่อย้ายมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศนฯ ดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อจะยกยอด พระปรางค์วัดอรุณฯ เดิมทำเป็นยอดนภศูลตามแบบพระปรางค์โบราณ ครั้นใกล้จะถึงวันฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้ยืม มงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนอง มาติดบนยอดนภศูล (ดังปรากฎอยู่บัดนี้) จะเป็นด้วยทรงพระราชดำริ อย่างไรจึงทำเช่นนั้น หาได้ตรัสให้ใครทราบไม่ และการที่เอามงกุฎขึ้น ต่อบนยอดนภศูลก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาแต่ก่อน คนในสมัยนั้นจึงพา กันสันนิษฐานว่ามีพระราชประสงค์ให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่า สมเด็๗เจ้าฟ้า มงกุฎ จะเป็นยอดของบ้านเมืองต่อไป แม้เรื่องสำเร็จโทษ หม่อมไกรสรนั้น เมื่อคิดดูก็เห็นเหมือนหนึ่งจะทรงป้องกันอันตรายมิให้มี แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะความผิดข้อใหญของ หม่อมไกรสรอยู่ที่มาดหมายจะเอาราชสมบัติเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรในปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ก่อนจะสวรรคต โปรดฯ ให้เขียนกระแสรับสั่งไปยังเสนาบดี สภา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ว่า ผู้ที่จะปกครองแผ่นดินต่อไปนั้น จะทรง มอบเวนราชสมบัติแก่พระราชวงศ์พระองค์ใดตามชอบพระราชอัธยาศัย ถ้า ไม่ชอบใจผู้อื่นโดยมากก็จะเสียสามัคคีรสเกิดร้าวฉาน อาจจะเลยเป็น อุปัทวันตรายเดือนร้อนแก่บ้านเมือง เพราะฉะนั้นให้เสนาบดีกับข้าราชการ ทั้งปวงปรึกษากัน ถ้าเห็นว่าพระราชวงศ์พระองค์ใดสมควรจะปกครอง แผ่นดินให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ ก็ให้ถวายราชสมบัติแก่พระองค์นั้นเถิด ใน จดหมายเหตุปรากฎว่า ในวันต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้หาพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ผู้เป็นบุตรและเป็นที่ ปรึกษาของเจ้าพระยาพระคลังหัวหน้าเสนาบดี เข้าไปเฝ้า ดำรัสถามว่า ที่มีกระแสรับสั่งไปเมื่อวันก่อนนั้นเสนาบดีทำอย่างไร พระยาศรีสุริยวงศ์ กราบทูลว่า เสนาบดีเห็นว่าพระอาการประชวรไม่ถึงตัดรอน ยังไม่ควรจะ ปรึกษาถึงเรื่องผู้รับราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัส ว่า ผู้ซึ่งจะรับราชสมบัตินั้น ทรงพระราชดำริเห็นสมควรแต่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็มี ข้อที่ทรงรังเกียจอยู่ทั้ง ๒ พระองค์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ถืออย่างมอญ ถ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินก็จะให้พระสงฆ์ห่มผ้าเป็นมอญ เสียหมดทั้งแผ่นดินดอกกระมัง ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ก็ทรงรังเกียจ ไม่พอใจทำราชการ รักแต่การเล่นสนุกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมิได้ทรงอนุญาต กลัวเจ้านายราชการเขาจะไม่ชอบใจ แต่ก็คงตระหนัก พระราชหฤทัยว่า เสนาบดีคงปรึกษากันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นแน่ ต่อมาอีกวันหนึ่งจึงโปรดฯ ให้เขียน พระราชปรารภให้กรมขุนเดชอดิสร นำความไปทูลกรมหมื่นนุชิโนรสซึ่ง เป็นเจ้าคณะสงฆ์ เพราะทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงเคารพนับถือมากทั้ง ๒ พระองค์ ว่าทรงรำคาญพระราชหฤทัย อยู่ที่มีพระสงฆ์ไทยพากันไปเลื่อมใสห่มผ้าตามพระมอญ ดูเสียเกียรติยศ ของบ้านเมือง ถ้าหากสมเด็จพระบรมชนกนาถยังเสด็จอยู่ เห็นจะไม่พอ พระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ท่านทั้ง ๒ ช่วยปลดเปลื้องความรำคาญ พระราชหฤทัยด้วย ตรงนี้จะแทรกวินิจฉัยลงสักหน่อย ตามเรื่องตำนานการที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งนิกายสงฆ์ธรรมยุติกา ชั้นเดิมเมื่อทรง ผนวชแปลงเป็นรามัญนิกาย ทรงร่วมสังวาสแต่เฉพาะกับพระมอญใน คณะของพระสุเมธมุนี มิได้ร่วมสังวาสกับพระมอญทั่วไป เป็นแต่ทรง ครองแหวกอย่างพระมอญ ครั้นต่อมาเมื่อทรงตั้งระเบียบวัตรปฏิบัติสำหรับ พระสงฆ์ธรรมยุติกา ทรงถือพระวินัยตามพระไตรปิฎกเป็นหลักวัตรปฏิบัติ อย่างใดที่พระสงฆ์สยาม (มหา) นิกายหรือพระสงฆ์รามัญนิกายประพฤติ ถ้าทรงสอบสวนเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติก็คงไว้ ถ้าเห็นว่าผิด ก็เลิกหรือทรงแก้ไขไปตามที่ทรงพระดำริว่าถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ด้วยเหตุนั้นจึงเป็นนิกายธรรมยุติกา เพราะวัตรปฏิบัติผิดกับพระมหานิกาย และพระรามัญนิกาย เป็นแต่ห่มผ้าเหมือนพระมอญ การที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดระเบียบพระสงฆ์ธรรมยุติกาอย่างไร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงกราบ ไม่ได้ทรงรังเกียจ ใน ทางธรรม คือวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ธรรมยุติกา ข้อนี้พึงเห็นได้ด้วยทรง ตั้งพระสงฆ์ธรรมยุติกาเป็นพระราชาคณะมาแต่ก่อนก็หลายรูป ในกระแส รับสั่งทรงอ้างข้อรังเกียจแต่ ในทางโลก คือที่ห่มผ้าเป็นพระมอญ แต่ข้อใหญ๋ ใจความที่ทรงพระราชวิตกนั้น เห็นจะเป็นด้วยทรงเกรงว่า เมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์ จะใช้พระราชานุภาพให้แปลง พระสงฆ์มหานิกายเป็นธรรมยุติกาทั้งบ้านทั้งเมือง จึงร้อนพระราชหฤทัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ ก็เข้า พระหฤทัยในพระราชวิตกจึงทรงเขียนคำสารภาพถวายว่า ที่ทรงจัดการ ต่างๆมา มีพระประสงค์แต่จะประพฤติพระธรรมวินัยให้ถูกต้องตามพระ พุทธบัญญัติ โดยทรงเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เมื่อทราบ ว่ามีการบางอย่างที่ไม่ชอบพระราชอัธยาศัย ก็จะไม่ฝ่าฝืน แล้วตรัสสั่งให้ พระสงฆ์ธรรมยุติกากลับห่มคลุมอย่างมหานิกายตามเดิม พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พอพระราชหฤทัย มิได้แสดงความรังเกียจต่อไป เมื่อเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรอยู่นั้น มี เรื่องเนื่องกับเหตุที่จะเปลี่ยนรัชกาลเกิดขึ้นหลายเรื่อง ด้วยเมื่อตอนปลาย รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตั้งเสนาบดี ปล่อย ให้ตำแหน่งว่างอยู่หลายกระทรวง ตรัสว่า พระเจ้าแผ่นดินต่อไปจะได้ ตั้งตามพระราชอัธยาศัย ทางฝ่ายเจ้านายในตอนนี้ ตั้งแต่สำเร็จโทษ หม่อมไกรสรแล้ว ก็ไม่มีต่างกรมพระองค์ใดมีกำลังและอำนาจมาก ทั้ง พากันหวาดหวั่นเกรงจะต้องว่ามักใหญ๋ใฝ่สูงอยู่แทบทั้งนั้น อำนาจใน ราชการบ้านเมืองเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ จึงตกอยู่ในเจ้าพระยาพระ คลัง ซึ่งเป็ฯอัครมหาเสนาบดีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพระ คลังคน ๑ กับพระยาศรีพิพัฒนฯ ผู้เป็นน้องเจ้าพระยาพระคลังอีกคน ๑ เมื่อตอนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแรกประชวร แม้รู้กันอยู่ ว่าจะไม่กลับคืนดีได้ ท่านทั้ง ๒ ก็ยังไม่ปรารภถึงกรณีที่จะเปลี่ยนรัชกาล เพราะเกรงพระราชอาญา ด้วยพระบาทสมเด็๗พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังว่า ราชการแผ่นดินอยู่ แต่การที่ท่านผู้ใหญ่ทั้ง ๒ นิ่งเฉยอยู่นั้น ต่อมาเป็ฯเหตุ ให้เกิดระแวงหวาดหวั่นกันไปต่างๆ ถึงกรมขุนพิพิธภูเบนทร์เรียกระดม พวกข้าในกรมเข้ามารักษาพระองค์ ด้วยเกรงจะถูกจับเหมือนหม่อมไกรสร เจ้าพระยาพระคลังทราบความจึงปรึกษากับพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นบุตร คนใหญ่และเป็นผู้เฉียบแหลมในราชการยิ่งกว่าผู้อื่นในเวลานั้น พระยา ศรีสุริยวงศ์รับจัดการแก้ไขให้เอาทหารบรรทุกเรือขึ้นมาจากปากน้ำ แล้ว ไปทูลกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ให้ปล่อยข้าในกรมไปเสียให้หมด กรมขุนพิพิธ ภูเบนทร์ก็ต้องทำตาม เล่ากันมาว่า พระยาศรีสุริยวงศ์ กับ จมื่นราชา มาตย์ บุตรของเจ้าพระยาพระคลังอีกคน ๑ ซึ่งเฉียบแหลม เป็นผู้ตัก เตือนบิดาให้ดำริเตรียมการเรื่องเปลี่ยนรัชกาล พอเจ้าพระยาพระคลังได้ กระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงพระราชปรารภ ให้ทราบว่าจะเสด็จสวรรคต และพระราชทานอนุญาตให้พระราชวงศ์กับ เสนาบดีเลือกรัชทายาทดังกล่าวมาแล้ว ก็ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว กราบทูลให้ทรงทราบว่าเสนาบดีปรึกษากันจะเชิญเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงศึกษา โหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์อยู่มาก ตรัสว่าถ้าจะถวายราชสมบัติ แก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จ พระอนุชาดวงพระชาตาดีวิเศษถึงฐานที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าถวาย ราชสมบัติแก่พระองค์เกรงจะเสด็จอยู่ไม่ได้เท่าใด เจ้าพระยาพระคลังก็ลง เรือไปเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ที่พระราชวังเดิม ทูลความตามที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภนั้นให้ทรงทราบ ความที่ กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา พระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง Second King ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เทียบเยี่ยงอย่าง สมเด็จพระเอกาทศรถ ครั้งรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่เมื่อคน ทั้งหลายทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงรับราช สมบัติ ก็พากันยินดี ระงับความหวาดหวั่น สงบดไในทันที ครั้นถึงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราขวงศ์และเสนาบดีจึงประชุมกันพร้อมด้วย พระราชาคณะผู้ใหญ่ในสังฆมณฑล ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าควรถวายราช สมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ กับเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทั้ง ๒ พระองค์ วันรุ่งขึ้นจึงเชิญเสด็จพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากวัดบวรนิเวศนฯ แห่เสด็จโดยกระบวน เรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชการที่ ๔ ว่า ท่า ราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จ ขึ้นไปยังพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพสมเด็จพระเชษฐา ธิราชแล้ว ไปประทับที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านาย และเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านภิภพ จึงลาผนวชเมื่อวันที่ ๖ เวลา ๑ นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ ๒๗ พรรษา เมื่อลาผนวชแล้ว เสด็จประทับอยู่ในพระอุโบสถนั้นคืน ๑ แล้วเสด็จไปประทับพลับพลาซึ่ง สร้างขึ้นในบริเวณโรงแสงต้น จนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและ เฉลิมพระราชมณเฑียร บรรยายพระราชประวัติเมื่อก่อนเสด็จเสวยราชย์ หมดความเพียงนี้ เรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสวยราชย์แล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติ พระชันษาได้ ๔๗ ปี การที่ทรงสร้างสมบารมีมาในเสลาก่อน เสวยราชย์ ถ้าเอาระยะพระชันษาตั้งเป็นวินิจฉัยประกอบรายการที่ปรากฎ ตอนพระชันษาก่อน ๒๐ ปี คงได้ทรงรับความอบรมพระจริยาและศึกษาวิชา ความรู้ต่างๆ เช่น อักษรศาสตร์ ราชประเพณี และประวัติศาตร์ เป็นต้น สำหรับพระราชกุมารชั้นสูงศักดิ์ตามแบบโบราณครบทุกอย่าง แต่พระปรีชา ญาณอันปรากฎในหนังสือต่างๆ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเสวยราชย์แล้ว ลึกซึ้งเกินกว่าหลักสูตรการศึกษาของพระราชกุมารมาก จึงเข้าใจว่าคง ทรงศึกษาต่อมาในสมัยเมื่อทรงผนวชจนทรงสามารถรอบรู้ถึงปานนั้น ถึง ตอนพระชันษาระวาง ๒๐ จนถึง ๓๐ ปี ทรงศึกษาภาษามคธจนเชี่ยวชาญ เป็นเหตุให้ทรงรอบรู้พระไตรปิฎกหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อนี้หาตัวอย่าง ในพงศาวดารมาเปรียบเทียบ เคยมีพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์พระร่วง พระองค์หนึ่ง ๑ พระนามเดิมว่า พญาลิไทย เมื่อเสวยราชย์ ณ กรุงสุโขทัย ใช้พระนามว่า พระมหาธรรมราชา (ที่ ๑) ในพงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เพราะปรากฎพระเกียรติว่าทรงเชี่ยวชาญพระ ไตรปิฎกหาผู้เสมอมิได้ในสมัยนั้น ได้ทรงแต่งหนังสือ ไตรภูมิ ไว้เรื่อง ๑ ยังมีฉบับที่จะพิสูจน์ได้ ในประเทศอื่นที่ใกล้เคียงมีพระเจ้าแผ่นดินมอญ อีกพระองค์ ๑ เมื่อครองกรุงหงสาวดี ใช้พระนามว่า พระเจ้ารามาธิบดี แต่ ในหนังสือพงศาวดารเรียกว่า พระเจ้าธรรมเจดีย์ เพราะปรากฎพระเกียรติ ว่าเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกไม่มีผู้อื่นเสมอเหมือน และมีหนังสือซึ่งพระเจ้า ธรรมเจดีย์ทรงแต่งเรื่องประวัติพระพุทธศาสนาในเมืองมอญจารึกไว้ เรียก กันว่า จารึกกัลยาณี ยังปรากฎอยู่พอพิสูจน์ได้เหมือนกัน พิเคราะห์ความใน หนังสือ ไตรภูมิ (พระร่วง) และในจารึกกัลยาณี ส่อให้เห็นว่าพระเจ้า แผ่นดินทั้ง ๒ พระองค์นั้น แม้ทรงทราบพระไตรปิฎกมากก็จริง แต่ไม่ถึง สามารถจะชี้วินิจฉัยผิดชอบในคัมภีร์อัตถถภาฎีกาได้เหมือนพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุดแต่โบราณาจารย์ว่าไว้อย่างไร ก็ทรงถือแต่ อย่างนั้น จึงผิดกัน ถึงตอนพระชันษาระวาง ๓๐ จน ๔๐ ปีทรงจัดการ ฟื้นพระพุทธศาสนา และบางทีจะเป็นในตอนนี้ที่ทรงศึกษาวิชาความรู้ ต่างๆ ของไทยเพิ่มเติมจนรอบรู้ลึกซึ้งถึงขั้นสูงสุด โบราณคดีก็เห็นจะ ทรงศึกษาในตอนนี้ เพราะเสด็จไปเที่ยวธุดงค์ตามหัวเมือง ได้พบศิลา จารึกและทอดพระเนตรโบราณวัตถุสถานต่างๆ อยู่เนืองๆ ถึงตอนพระ ชันษาระหว่าง ๔๐ กับ ๔๗ ปี เริ่มทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับทั้งวิชาความรู้ ต่างๆ ของฝรั่ง เลยเป็นปัจจัยให้เอาพระหฤทัยใส่สอดส่องการบ้านเมืองที่ เกี่ยวข้อวงกับต่างประเทศในตอนนี้ ถ้าว่าโดยย่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างสมพระบามีสมบูรณ์มาแล้ว ตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์ ขาดอย่างเดียวแต่ที่มิได้เคยทรงบัญชาการทัพศึก เหมือนอย่างสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวใน ๓ รัชกาลแต่ก่อนมา เพราะไม่มีโอกาส ถึงกระนั้นเมื่อเสด็จ ขึ้นเสวยราชย์ ก็ได้รับความนิยมนับถือของคนทั้งหลาย ว่าเป็นนักปราชญ์ ทรงพระปรีชาญาณผิดกับพระเจ้าแผ่นดินที่ปรากฎมาในพงศาวดารโดยมาก ข้อนี้ถึงบุคคลชั้นหลังที่ไม่ทันได้เห็นพระองค์ ใครได้อ่านหนังสือพระราช นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชาธิบาย และพระบรมราชวินิจฉัยที่รวบรวมพิมพ์ไว้ ก็จะเห็นได้ว่าในบรรดากิจการ และเรื่องต่างๆ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์นั้น ทรงรอบรู้ลึกซึ้ง เชื่อได้ว่าในสมัย นั้นไม่มีผู้อื่นเสมอเหมือน นอกจากนั้น ถ้าสังเกตในพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ต่อไปถึงพระราชอัธยาศัย ว่าไม่มีความประมาท เช่นจะทรงพระราชดำริกิจการอันใด ย่อมอาศัยหลัก ฐานและคิดถึงใจผู้อื่นเสมอ ข้อนี้พึงเห็นได้ในพระราชบัญญัติและประกาศ สั่งการต่างๆ ทรงชี้แจงให้คนทั้งหลายเข้าใจพระราชดำริ และพระราช วินิจฉัยแจ่มแจ้งเป็นนิจ จึงเป็นเหตุให้คนทั้งหลายไว้วางใจ ในพระคุณ ธรรมมาตั้งแต่แรกเสวยราชย์จนตลอดรัชกาล เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านพิภพนั้น ภายในประเทศสยามบ้านเมืองเป็นปกติเรียบร้อย กว่าเมื่อเปลี่ยนรัชกาล ก่อนๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เพราะคนทั้งหลายนิยมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว กันหมด แต่ทางภายนอกมีเหตุเป็นข้อวิตกอยู่ ด้วยเมื่อใกล้จะสิ้นรัชกาลที่ ๓ รัฐบาลอังกฤษให้มาขอทำหนังสือสัญญาใหม่ แต่ข้างฝ่ายไทยไม่ยอมทำ เพราะเห็นว่าถ้าทำหนังสือสัญญาตามข้อความที่อังกฤษปรารถนา จะเกิด ความเสียหายในบ้านเมือง ทูตอังกฤษขัดใจกลับไป จึงระแวงกันอยู่ว่าอังกฤษ จะกลับมาอีก และคราวนี้จะมาดีหรือร้ายก็ได้ทั้ง ๒ สถาน ก็ในเวลานั้นผู้ ใหญ่ในราชการ มีสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทั้ง ๒ พระองค์เป็นต้น ยังนิยมในทางรัฎ ฐาภิปาลโนบายอย่างครั้งรัชกาลทื่ ๓ อยู่โดยมาก ผู้ที่มีความเห็นเป็นขั้นสมัย ใหม่เหมือนอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีน้อยตัวที่ชื่อเสียง ปรากฎมีแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองคื ๑ แต่เมื่อบวร ราชาภิเษกแล้วก็เอาพระองค์ออกห่าง ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยเกรงจะ เป็นแข่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คงมีแต่กรมหลวง วงศาธิราชสนิทพระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเป็น เจ้าพระยาว่าที่สมุหพระกลาโหมองค์ ๑ กับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เป็นผู้ช่วย ในการต่งประเทศ คน ๑ ความเห็นในเรื่องทำสัญญาจึงต่างกันเป็น ๒ อย่าง ข้างพวกสมัยเก่าเห็นว่าถ้าอังกฤษลดหย่อนผ่อนผันข้อความที่ ปรารถนาลง อย่าให้ขัดกับประเพณีบ้านเมืองก็ควรทำ มิฉะนั้นก็ไม่ควร ยอมทำหนังสือสัญญา เพราะยังเชื่อคำพวกจีนอยู่ว่าอังกฤษมีฤทธิ์เดช แต่ในท้องทะเล ฝ่ายพวกชั้นสมัยใหม่เห็นว่าโลกยวิสัยทางตะวันออกนี้ ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงด้วยฝรั่งมามีอำนาจขึ้น จีนเป็นประเทศใหญ่ อังกฤษ ยังบังคับได้ ไทยเป็นประเทศน้อยที่ไหนจะยอมตามใจไทย อย่างไรๆ ไทยก็คงต้องทำหนังสือสัญญาใหม่กับอังกฤษ ผิดกันแต่เวลาช้าหรือเร็ว ถ้าไม่ยอมทำก็คงเกิดภัยอันตรายแก่บ้านเมือง ในพวกสมัยใหม่คิดเห็นกัน อย่างนี้ทั้งนั้น แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการไกล กว่าผู้อื่น ทรงพระราชดำริว่า ทางที่จะให้ปลอดภัยมีทางเดียว แต่ต้อง รับทำหนังสือสัญญาโดยดีให้เกิดมีไมตรีจิตต่อกัน แล้วจึงชี้แจงกันฉันมิตร ให้ลดหย่อนผ่อนผันในข้อสัญญา อย่าให้เกิดยุคเข็ญแก่บ้านเมือง ใช่แต่ เท่านั้น ทรงพระราชดำริต่อไปว่าประเทศทั้งหลายทางตะวันออกนี้ ต่อไป ภายหน้าคงจะมีการเกี่ยวข้องกับฝรั่งมากขึ้นทุกที ถ้าไม่เปลี่ยนรัฎฐาภิปาล โนบายของประเทศสยาม ให้ฝรั่งนิยมว่าไทยพยายามบำรุงบ้านเมือง ให้ เจริญตามอริยธรรม ก็อาจจะไม่ปลอดไปได้มั่นคง คงทรงพระราชดำริ เช่นว่ามาแต่ยังทรงผนวชอยู่ เพราะฉะนั้นพอเสด็จผ่านพิภพ ตั้งแต่ก่อนทำ พิธีราชาภิเษก ก็ทรงแก้ไขขนบธรรมเนียมเก่า เริ่มด้วยดำรัสให้เลิก ประเพณีเข้าเฝ้าตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ให้เจ้านายและข้าราชการใส่เสื้อเข้าเฝ้า ต่อไปเป็นนิจ การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสให้ใส่ เสื้อดังว่ามา คนสมัยนี้ได้ฟังเล่าอาจจะเห็นขัน ด้วยเข้าใจว่าเป็นการ เล็กๆน้อยๆ ขี้ประติ๋ว ไม่น่าจะยกขึ้นกล่าว ต่อไปได้อ่านหนังสือจดหมาย เหตุเก่าจึงเห็นว่าแม้เป็นการเพียงเท่านั้น ก็ไม่สำเร็จได้โดยง่าย ข้อนี้ปรากฎ อยู่ในหนังสือ เซอร จอน เบาริง ราชทูตอังกฤษแต่งเล่าเรื่องที่เข้ามา กรุงเทพฯ ภายหลังมาอีก ๓ ปี ว่าเมื่อไปหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่ ครั้งแรกจัดรับอย่างเต็มยศ เห็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่แต่งตัวนุ่งจีบ คาดเข็มขัดเพ็ชร แต่ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ความที่กล่าวส่อให้เห็นต่อไปว่า ขุนนางผู้น้อยซึ่งเป็นบริวารอยู่ในที่นั้น ก็คงไม่ใส่เสื้อ เหมือนกันทั้งนั้น เพราะถือกันว่าต้องใส่เสื้อในเวลาเข้าเฝ้า เวลาอื่นยังมีเสรีภาพที่จะรับแขก หรือไปไหนตัวเปล่าได้เหมือนอย่างเดิม เพราะทางประเทศตะวันออกนี้ ไม่ใช่แต่ในประเทศสยามประเทศเดียว ถือกันมาแต่โบราณว่าต้องรักษา ประเพณีที่มีมาแต่ก่อน มิให้เสื่อมทราม บ้านเมืองจึงอยู่เย็นเป็นสุข ข้อนี้พึงเห็นได้ในหนังสือเก่า คำสรรเสริญของพระเจ้าแผ่นดินมักกล่าวว่า รักษาโบราณราชประเพณีมั่นคง หรือ ทรงประพฤติตามโบราณราชประเพณี แม้ จนในคำกลอนเทียบเรื่อง พระชัยสุริยา ของสุนทรภู่ ก็ยกเหตุว่าเพราะพวก ข้าราชเฝ้าเจ้าเมืองสาวัตถี ดัดจริตผิดโบราณ บ้านเมืองจึงเป็นอันตราย เมื่อ คนทั้งหลายเชื่อถือกันเช่นนั้นโดยมาก การเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียม ที่เคยนิยมกันมาช้านานจึงเป็นการยาก เพราะฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงค่อยทรงแก้ไขขนบธรรมเนียมเก่า แต่เพียงที่จะทำ ให้สำเร็จได้เป็นอย่างๆ โดยลำดับ แม้เรื่องที่โปรดฯ ให้ใส่เสื้อก็ยังใส่กัน แต่ในเวลาเข้าเฝ้ามาจนคนสมัยเก่าหมดตัวไป พวกชั้นสมัยใหม่ชอบใส่เสื้อ ก็มีมากขึ้น จึงได้ใส่เสื้อกันแพร่หลาย เมื่อถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ประเพณีเก่าอีกอย่างหนึ่ง ในวันเสด็จออกมหา สมาคมในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้วยพระราชทานบรมราชานุญาตให้ พวกฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าด้วย เรื่องนี้ในเวลานั้นก็ไม่มีใครเห็น เป็นการแปลกประหลาดนัก เพราะเป็นแค่มีฝรั่งสัก ๑๐ คน เข้าไปยืนเฝ้า อยู่ข้างหลังแถวที่ขุนนางหมอบ แต่การนั้นมีผลมาก (ถึงมาเป็นประโยชน์ ในการเมืองภายหลัง ดังจะเล่าในที่อื่นต่อไป) เพราะฝรั่งเหล่านั้นพากัน เขียนบอกข่าวออกไปถึงนานาประเทศ ว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์ ใหม่ทรงเปลี่ยนขนบธรรมเนียมหันเข้าหาอริยธรรมอย่างฝรั่ง ผิดกับพระ เจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นๆ ทางตะวันออก ฝรั่งตามต่างประเทศพากันพิศวง เริ่มเกิดไมตรีจิตต่อประเทศสยามผิดกว่าแต่ก่อน แม้ด้วยทรงเปลี่ยนแปลง ประเพณีเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงประเพณี เดิมตั้งแต่แรกเสวยราชย์อีกเรื่องหนึ่ง ด้วยทรงทราบแต่ยังทรงผนวชว่าใน สมัยนั้นราษฎรถูกผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงชุกชุม เรื่องนี้ที่จริงราชประเพณีก็มี มาแต่โบราณ อนุญาตให้บรรดาผู้มีความทุกข์ร้อนถวายฎีกาต่อพระเจ้า แผ่นดินได้ทั่วหน้าเสมอกันหมด แต่วิธีที่ถวายฎีกาตามแต่เก่าต้องไป ตีกลองที่ทิมดาบกรมวัง ให้พระเจ้าแผ่นดินทรงได้ยินเสียงกลอง ก็โปรดฯ ให้มารับฎีกา จึงเรียนกันว่า ตีกลองร้องฎีกา ครั้นนานมาผู้มีอำนาจกีด กันมิให้ราษฎรเข้าถึงกลอง ก็ถวายฎีกายากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรงปรารภในพระราชนิพนธ์แห่งหนึ่งว่า พระเจ้าแผ่น ดินเหมือนเป็นพระประธานอยู่ในโบสถ์ ลืมพระเนตรอยู่ก็ไม่เห็นอะไร พอ เสด็จเสวยราชย์ บรมราชาภิเษกแล้ว ก็ตรงตั้งประเพณีเสด็จออกรับฎีกา ราษฎรด้วยพระองค์เองทุกวันโกนเดือนละ ๔ ครั้ง เวลาเสด็จออก ให้ เจ้าพนักงานตีกลองวินิจฉัยเภรี เป็นสัญญาให้ราษฎรเข้ามาถวายฎีกาได้ เป็นนิจ ก็มีผลเห็นประจักษ์ทันที ด้วยผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎรเช่นฉุด ลูกสาวหรือจับผู้คนจองจำตามอำเภอใจ ไม่มีใครกล้าทำดังแต่ก่อน พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นเป็นประโยชน์ จึงโปรดฯ ให้ ประกาศขยายพระบรมราชานุญาตต่อออกไปถึงผุ้ไม่สามารถจะมาถวายฎีกา ได้เอง เช่นถูกกักขังเป็นต้น ให้ฝากฎีกาให้ญาติพี่น้องหรือมูลนายถวาย ต่างตัวได้ แต่ในการที่รับฎีกาของราษฎรนั้น ถ้าปรากฎว่าใครเอาความ เท็จมากราบทูลเพื่อจะให้ผู้อื่นเสียหายโดยไม่มีมูล ก็ให้ลงพระราชอาญา แก่ผู้ถวายฎีกาตามประเพณีเดิม ป้องกันผู้ไม่มีผิดมิให้เดือดร้อน นอกจาก เสด็จออกรับฎีกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนประ เพณีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงติดต่อกับราษฎรอีกอย่างหนึ่ง ด้วยดำรัสสั่ง ให้เลิกประเพณีโบราณ (อย่างเมืองจีน) ที่ห้ามมิให้ราษฎรเข้าใกล้ชิด หนทางเมื่อเวลาเสด็จประพาส และบังคับให้ปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือนที่ อยู่ทั้ง ๒ ข้างทาง โปรดฯ พระราชทานอนุญาตให้ราษฎรเข้ามาเฝ้าได้ ใกล้หนทาง และให้เปิดประตูหน้าต่างได้ตามชอบใจ หากเจ้าของบ้าน เรือนมีประสงค์จะแสดงความเคารพ ก็ให้แต่งเครื่องบูชาที่หน้าบ้าน แล้ว คอยเฝ้าอยู่ที่เครื่องบูชานั้น จึงเกิดประเพณีตั้งเครื่องบูชารับเสด็จแต่นั้นมา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนประเพณีเดิมในเรื่อง รับฎีการราษฎร และโปรดฯอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าแทนได้สะดวกกว่าแต่ ก่อนดังกล่าวมา ก็เป็นเหตุให้ราษฎรพากันนิยมให้พระคุณของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแพร่หลายอีกอย่างหนึ่ง นอกจากเรื่องที่เล่ามาเป็นอุทาหรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมเดิม และทรงสถาปนาการ ต่างๆ ขึ้นเป็นแบบแผนในรัชกาลที่ ๔ อีกหลายอย่าง ถ้าพรรณนาเป็น รายเรื่องหนังสือนี้จะยืดยาวนัก จึงจะรวมความกล่าวตามประเภทของการ ที่ทรงจัด โดยประสงค์จะให้เห็นเหตุและผลของการที่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดนั้นเป็นสำคัญ ถ้าตั้งเป็นปัญหาอย่างที่เรียนใน สำนวนแปลในหนังสือจีนว่าเป็น คำกลาง ถามว่าเพราะเหตุใด พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเปลี่ยนขนบธรรมเนียมต่างๆ อธิ บายข้อนี้เมื่อพิจารณาดูเห็นว่าเป็นด้วยเหตุ ๒ อย่าง อย่าง ๑ ดังได้กล่าว มาแล้วว่าเพราะทรงตระหนักพระราชหฤทัยว่า รัชกาลของพระองค์ประ จวบเวลาโลกยวิสัยทางตะวันออกนี้เปลี่ยแปลง ด้วยฝรั่งมามีอำนาจขึ้น จะต้องเปลี่ยนรัฎฐาภิปาลโนบายหันเข้าหาอริยธรรมอย่างฝรั่ง บ้านเมือง จึงจะพ้นภยันตราย แต่การต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดนั้น ที่ไม่เกี่ยวกับอริยกรรมของฝรั่ง แต่เป็นการสำคัญในขนบ ธรรมเนียมไทยก็มีมาก เห็นได้ว่ามีเหตุอื่นและเหตุนั้นเกิดแต่พระอุป นิสัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ทำการให้ถูกต้อง เป็นแก่นสาร ไม่ทรงนิยมทำตามคติที่ถือกันว่าเคยทำมาแต่โบราณอย่าง ไรต้องทำอย่างนั้น จึงจะเป็นการ รักษาราชประเพณี เพราะเมื่อพระองค์ ทรงผนวชได้มีโอกาสพิจารณาตำรับตำราต่างๆ มาก ทั้งทางฝ่ายพุทธ ศาสตร์และราชศาสตร์ เห็นประเพณีต่างๆ ที่ทำกันมาผิดหลักเดิมหรือ ยังบกพร่อมมีอยู่มาก จึงทรงพยายามแก้ไขให้เป็นแก่นสาร ใช่จะโปรด เปลี่ยนแปลงอะไรๆ ให้เป็นอย่างใหม่ไปทั้งนั้นหามิได้ พระอุปนิสัยเช่น ว่านี้ พึงเห็นได้แต่ในพระราชประวัติตอนทรงผนวช พอทรงสอบสวน พระไตรปิฎกทราบว่าพระสงฆ์ไทยปฏิบัติพระวินัยเคลื่อนคลาดจากพระพุทธ บัญญัติมากนัก ก็ทรงพยายามแก้ไขให้เป็นแก่นสาร ดังเล่าเรื่องมาแล้ว ในตอนก่อน ครั้นเสด็จเสวยราชย์ ทรงพิจารณาเห็นขนบธรรมเนียมอันใด เคลื่อนคลาดเค้ามูลหรือว่ายังบกพร่อง ก็ทรงพระราชดำริแก้ให้ดีขึ้น เป็น ลำดับมาจนตลอดรัชกาล สมัยเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมของประเทศสยาม จึงกำหนดในพงศาวดารว่าเกิดแต่ในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แต่นี้จะกล่าวอธิบาย ทีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง แก้ขนบธรรมเนียมตามประเภทต่างๆ ต่อไป การศาสนา ในตอนที่ ๒ ของหนังสือนี้ ได้เล่ามาแล้วถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟื้นพระพุทธศาสนา และทรงตั้งนิกายพระสงฆ์ ธรรมยุติกา และที่สุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวร ทรงทักท้วงเนื่องต่อการเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง ดำรัสสั่งให้พระสงฆ์ธรรมยุติกา กลับห่มคลุมอย่างพระมหานิกาย มาจน สิ้นรัชกาลที่ ๓ ได้ยินว่าในครั้นนั้นพระเถระธรรมยุติกาบางรูป มีสมเด็จ พระวันรัต (ทับ) เมื่อยังเป็นที่พระอริยมุนีเป็นต้น ไม่ทำตามรับสั่งก็มี ครั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ พระเถระธรรมยุติกาทั้งปวง เข้าชื่อกันยื่นฎีกาต่อเสนาบดี ขอให้นำความกราบทูลว่าที่ต้องถูกบัลคับขืนใจให้ครองผ้าตามแบบอย่างซึ่ง ไม่เลื่อมใส มีความเดือดร้อน ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระ สงฆ์ธรรมยุติกากลับคองแหวกเหมือนอย่างเดิม ก็เกิดความลำบากพระ ราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะจะดำรัสให้ ห่มผ้าอย่างพระมหานิกายต่อไป ก็ผิดกับคติซึ่งพระองค์เองได้ทรงตั้ง ทั้ง จะทำให้พระสงฆ์ธรรมยุติกายิ่งรู้สึกเดือดร้อนหนักขึ้น ถ้าหากกลับครอง แหวกตามอำเภอใจจะทรงทำอย่างไรก็ยากอยู่ แต่จะพระราชทานพระบรม ราชานุญาตเล่า ก็ผิดกับที่ได้ทูลรับไว้ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว เฉพาะมีทางที่จะระงับความลำบากนั้นได้ด้วยฐานะของพระองค์ เมื่อก่อนเสวยราชย์เป็นแต่สมณคณาจารย์ เมื่อทรงรับฎีกาของพระมหา เถระ ฐานะของพระองค์เป็นพระราชามหากษัตริย์ จึงพระราชทาน พระบรมราชวินิจฉัยว่า การปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นกิจของพระสงฆ์ผู้ ปฏิบัติ มิใช่ราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะทรงสั่งให้ทำประการใด เมื่อ มีพระบรมราชวินิจฉัยเช่นนั้น พระสงฆ์ธรรมยุติกาก็พากันกลับห่มแหวก ตามเดิม แต่เรื่องที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ธรรมยุติกา ยังมีข้ออื่นต่อมาอีก ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๓ คนที่เลื่อมใสต่อคติธรรมยุติกาอย่างเปิดเผยก็มี ที่เลื่อมใสแต่ไม่กล้าแสดงโดยเปิดเผย เพราะเกรงจะไม่พอพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มี ที่ไม่เลื่อมใสก็มี ตั้งแต่เปลี่ยน รัชกาลใหม่ ทรงสังเกตเห็นมีคนแสดงความเลื่อมใสในคติธรรมยุติกา มากขึ้นรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทรงพระราชวิจารณ์กว้างขวางออกไป ทรง พระราชดำริว่า ถ้าทรงขวนขายเผยแผ่นิกายสงฆ์ธรรมยุติกา ให้แพร่หลาย ด้วยพระราชานุภาพ จะเกิดโทษแก่บ้านเมืองมากกว่าเป็นคุณ เพราะจะทำ ให้พุทธบริษัททั้งพระและคฤหัสถ์ที่นับถือคติเกิดรังเกียจกัน และพระมหา นิกายก็จะพากันหวาดหวั่นว่าจะถูกบังคับให้แปลงเป็นธรรมยุติ เหมือน เช่นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตก และที่สุดพระธรรม ยุติกาเองถ้ามีจำนวนมากนัก การปฏิบัติพระธรรมวินัยก็อาจจะเสื่อมทราม ลง เพราะเหตุที่กล่าวมา จึงโปรดฯ ให้พระสงฆ์ธรรมยุติกาคงขึ้นอยู่ใน คณะกลางตามเดิม มิได้แยกย้ายเป็นคณะหนึ่งต่างหาก และดำรัสสั่งใน ราชการให้ถือว่าพระสงฆ์ ๒ นิกายนั้นเป็นอย่างเดียวกัน เป็นต้นว่าในการ พิธีพระสงฆ์ ก็ให้นิมนต์รวมกันทั้ง ๒ นิกาย การที่ทรงตั้งพระราชาคณะ ก็เลือกแต่ด้วยพรรษาอายุและคุณธรรม ไม่ถือว่าจะเป็นนิกายไหนเป็น ประมาณ ใช่แต่เท่านั้น ทางฝ่ายฆราวาสสกุลไหน แม้ไม่ใช่พระราชวงศ์ เคยบวชเรียนในนิกายไหน ก็ตรัสขอให้คงอย่างเดิม แต่การฟื้นพระศาสนา ก็ไม่ทรงทอดทิ้ง เป็นแต่เปลี่ยนพระบรมราโชบายมาเป็นทางสมาคมกับพระ ราชาคณะมหานิกาย เป็นต้นว่าพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทูตถาม อธิบายพระธรรมวินัยที่ใคร่จะทราบหรือที่ยังสงสัย ได้ตามประสงค์ และ ทรงชี้แจงพระบรมวินิจฉัยพระราชทานโดยมิได้รังเกียจ พระบรมราโชบาย เช่นว่า มีผลทำให้พระสงฆ์มหานิกายแก้ไขวัตรปฏิบัติดีขึ้นเป็นลำดับมา และ การสงฆ์มณฑลก็มิได้แตกร้าวตลอดรัชกาลที่ ๔ ด้วยพระสงฆ์พากันเลื่อมใส ในพระปรีชาญาณทั่วไปทั้ง ๒ นิกาย พระราชปฏิบัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องด้วย ศาสนายังมีต่อไปถึงศาสนาอื่นๆ อีก แต่ก่อนนอกจากพระสงฆ์กับพราหมณ์ นักบวชในศาสนาอื่นเช่นศาสนาคริสตังก็โ หรือศาสนาอิสลามก็ดี แม้จน พระญวณที่ถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ดี หาได้รับความยกย่องอย่าง ใดไม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ได้ทรงสมาคม กับพวกบาทหลวงและพวกมิชชันนารีอเมริกันเนื่องในการทรงศึกษาภาษา ฝรั่ง และทรงสมาคมกับพระญวนด้วยใคร่จะทรงทราบคติมหายาน คุ้น เคยอยู่แล้ว เมื่อเสวยราชย์แล้วก็ทรงรักษามิตรภาพสืบต่อมา ด้วยทรงยก ย่องและพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ต่างๆ ยกเป็นอุทาหรณ์ดัง เช่นเมื่อสังฆราชปาลกัวต์ถึงมรณภาพ โปรดฯ พระราชทานเครื่องแห่ศพ เหมือนอย่างขุนนาง และพระราชทานที่ดินให้สร้างวัดโปรเตสตันต์ กับ ทั้งทรงสร้างวัดญวนด้วย การที่ทรงอุปการดังกล่าวมานี้เป็นเหตุให้พวก บางหลวงและมิชชันนารีอเมริกัน เข้ารับช่วยราชการต่างๆ ตามราช ประสงค์ และยังยกย่องพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจนอยู่ทุกวันนี้ พระญวนก็เริ่มได้ทำพิธีกงเต๊กในงานหลวง เมื่อรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ส่วนพวกถือศาสนาอิสลามนั้น พวกถือลัทธิ เซียะ (พวกเจ้าเซน) ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์เป็นประเพณีมาแต่ รัชกาลก่อนๆ แล้วก็โปรดฯ พระราชทานตามเคย แต่พวกลัทธิสุหนี่เป็น คนหลายชาติหลายภาษา แยกย้ายกันอยู่ตามตำบลต่างๆ มีสุเหร่าและ นักบวชชาติของตนเอง เข้ากับพลเมืองเป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่มีกิจที่จะ ต้องพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ผิดกับแต่ก่อนประการใด การพิธีสำหรับบ้านเมือง การพิธีต่างๆ ที่ทำเป็นประเพณีของประเทศสยามนี้ แต่เดิมมา ถ้าเป็นพิธีในทางธรรมปฏิบัติ ทำตามคติพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นพิธีใน ทางโลก ทำตามคติไสยศาสตร์ของพราหมณ์ จึงเกิดคำพูดว่า พุทธกับไสย อาศัยกัน มาแต่โบราณ ถ้าทำพิธีตามพระพุทธศาสนา เช่นบวชนาค เป็นต้น เรียกว่าพิธีสงฆ์ พราหมณ์ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้าทำพิธีไสยศาสตร์ เช่นยกทัพจับศึกเป็นต้น เรียกว่าพิธีพราหมณ์ พระสงฆ์ก็ไม่เข้าไปเกี่ยว ข้อง จำเนียรกาลนานมาเมื่อความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเจริญขึ้น ผู้ทำพิธีปรารถนาสวัสดิมงคลตามคติพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ก็มักคิดอ่าน ให้มีพิธีสงฆ์ด้วยกันกับพิธีพราหมณ์ จะยกตัวอย่าง เช่นพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าแผ่นดิน เดิมเป็นแต่พิธีพราหมณ์ ภายหลังมาให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มเข้า ในส่วนการ เฉลิม (คือเสด็จขึ้นอยู่) พระราชมณเฑียร จึงเกิดการพิธีซึ่งทำ ทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ด้วยกันหลายพิธี แต่ที่ทำแยกกันอย่างเดิมยัง มีมากถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชดำริว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้หมดตัวพราหมณ์ที่ทรงพระเวทเสีย แล้ว ยังเหลือแต่เชื้อสายที่สืบสกุลมาโดยกำเนิด แม้จะหาผู้ใดเข้าใจความ ในคัมภีร์พระเวทก็ไม่ได้ ด้วยไม่ใคร่ได้เรียนภาษาสันสกฤต การทำพิธี พราหมณ์เป็นแต่ทำตามเคย ไม่เป็นแก่นสารเหมือนเช่นเดิม แต่ละเลิก เสียก็ไม่ควร เพราะเป็นพิธีสำหรับบ้านเมืองและราชประเพณีมาช้านาน จึง แก้ไขระเบียบพิธีพราหมณ์ซึ่งเคยทำมาแต่โดยลำพัง เช่นพิธีแรกนา เป็นต้น ให้มีพิธีสงฆ์ด้วยทุกพิธี ที่สำคัญนั้นคือทรงแก้ระเบียบพิธีถือน้ำพิพัฒน สัตยา ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์กับพราหมณ์ทำด้วยกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พิธี สงฆ์มีสวดมนต์เลี้ยงพระให้เป็นสวัสดีมงคลก่อน แล้วทำพิธีพราหมณ์ อ่าน โองการแช่งน้ำสาบานและชุบพระแสงต่อไป ข้าราชการกระทำสัตย์ถือน้ำ ต่อหน้าพระสงฆ์ที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเข้าไปเฝ้าถวายบังคม พระเจ้าอยู่หัวที่ในท้องพระโรง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ประเพณีเดิม เสด็จออกไปประทับเป็นประธานให้ข้าราชการถือน้ำ กระทำสัตย์และถวายบังคมที่พระอุโปสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระ องค์เองก็เสวยน้ำพระพิพัฒนสัตยา ทรงปฏิญาณความซื่อตรงของข้าราช การทั้งปวงด้วย ระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ทรงแก้ไขให้เป็น พิธีสงฆ์เป็นพื้น คงทำตามพิธีพราหมณ์แต่สรงมุรธาภิเษก ทรงรับพระราช อาณาจักรและรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นสำคัญ การพิธีสำหรับบ้านเมือง จึงเป็นการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแก้ไข ให้เป็น แก่นสารขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ดังพรรณนามา ระเบียบยศศักดิ์ พอทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มทรงแก้ไขระเบียบยศศักดิ์ ด้วยมีเหตุที่จะต้องทรงพระ ราชดำริในการนั้น เบื้องต้นแต่ทรงตั้งแบบเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ในรัชกาลก่อน อธิบายข้อนี้ ตามประเพณีดบรษรพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ที่จารึกสุพรรณบัฏถวายเมื่อราชาภิเษก มักใช้พระนามเดียวกันต่อๆมา ด้วยถือว่าเป็นสวัสดิมงคล คนทั้งหลายจึงไม่เรียกพระนามตามที่จารึกนั้น เรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสวยราชย์อยู่แต่ว่า ขุนหลวง หรือ พระพุทธเจ้าอยู่หัว หรือ พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ แต่เมื่อมีจำนวนพระเจ้าแผ่นดินที่ลวงไป แล้วมากขึ้น ก็เรียกพระนามตามพอใจสมมุติกันต่างๆ เอาพระนามเมื่อ ก่อนเสวยราชย์มาเรียกเช่น สมเด็จพระเพทราชา บ้าง เรียกตามพระอัธยาศัย เช่น พระเจ้าเสือ หมายความว่าดุร้ายบ้าง เรียกตามที่ประทับเช่นว่า พระเจ้าท้ายสระ เพราะประทับอยู่พระราชมณเฑียรที่ท้ายสระบ้าง เป็น อย่างนี้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๑ มาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ จารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จ พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี เหมือนกันทุกพระองค์ เมื่อรัชกาลที่ ๒ คนทั้ง หลายเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่า แผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ครั้นมาถึงรัชกาล ที่ ๓ มีพระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงแล้วเป็น ๒ พระองค์ คนทั้งหลายจึงมักเรียก รัชกาลที่ ๑ ว่า แผ่นดินต้น เรียกรัชกาลที่ ๒ ว่า แผ่นดินกลาง พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรังเกียจว่าเป็นอัปมงคล เพราะมีต้นมีกลาง ก็ต้องมีปลาย รัชกาลของพระองค์จะเหมือนเป็นสุดท้าย จึงทรงบัญญัติ ให้เรียก ๒ รัชกาลก่อนตามพระนามพระพุทธรูปซึ่งทรงสร้างอุทิศถายสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์นั้น ให้เรียกรัชการที่ ๑ ว่า แผ่นดินพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่าแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ มีปัญหาเกิดขึ้นอีกว่าจะเรียกรัชกาลที่ ๓ อย่างไร พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่าคารจะวางระเบียบ การเรียกนามพระเจ้าแผ่นดินเสียให้เป็นยุติ อย่าให้เกิดปัญหาต่อไป เมื่อ ทำพิธีบรมราชาภิเษกจึงโปรดฯ ให้เปลี่ยนแบบคำจารึกพระสุพรรณบัฏ เอา พระนามเดิมขึ้นตั้งแต่ต้นว่า สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ แทนที่เคย ขึ้นต้นว่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี และให้เพิ่มคำสำหรับเรียก พระเจ้าแผ่นดินว่า พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงข้างท้ายสร้อยพระนาม แล้ว ทรงบัญญัติให้เรียกพระนามรัชกาลที่ ๓ ว่า แผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (คำว่า พระนั่งเกล้าและพระจอมเกล้า ทรงอนุโลมตามพระนามเดิมว่า ทับ และว่า มงกุฎ) แล้วทรงบัญญัติให้เรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินในกรุง รัตนโกสินทร์ตามนามแผ่นดินว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันมิให้ คนภายหลังเรียกกันตามสมมุติเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา ระเบียบยศเจ้านายและข้าราชการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวก็ทรงตั้งแบบแผนขึ้นใหม่ เนื่องในงานบรมราชาภิเษกนั้นหลาย อย่างคือ ทรงสถาปนายศ กรมสมเด็จ ขึ้นใหม่ให้เป็นชั้นสูงสุดเจ้า นายต่างกรมอย่าง ๑ ทรงสถาปนายศ สมเด็จเจ้าพระยา เข้าในทำเนียบ ให้เป็นชั้นสูงสุดในขุนนางอย่าง ๑ ทรงสถาปนายศเจ้าประเทศราชอย่าง ๑ และทรงสถาปนายศสตรีมีบรรดาศักดิ์ขั้น เจ้าคุณ เข้าในทำเนียบอีกอย่าง ๑ การที่ทรงสถาปนายศต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะอธิบายยศสมเด็จเจ้าพระยา ก่อน แต่โบราณยศขุนนางชั้นสูงสุดเป็นเพียงเจ้าพระยา ตามทำเนียบ ศักดินาข้าราชการในกรุงมีเจ้าพระยาแต่ ๓ คน คือ เจ้าพระยามหาอุปราช เป็นชั้นพิเศษคน ๑ รองลงมาถึงอัครมหาเสนาบดี ๒ คน คือเจ้าพระยา จักรี ที่สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือนคน ๑ กับเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมเป็นหัวห้าฝ่ายทหารคน ๑ ยศสมเด็จเจ้าพระยาหามี ในกฎหมายไม่ มีแต่เรียกในหนังสือพงศาวดาร เช่น สมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก และในพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ มีว่า พระอุปราชตรัสเอาพระยา พลเทพเดิมให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยา (วังหน้า) ในพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้งเจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) ที่สมุหพระกลาโหม เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ไปรับราชการวังหน้า ดูก็เป็นทำนองเดียวกับที่ว่ ตั้งพระยาพลเทพเป็นเจ้าพระยา ในรัชกาลที่ ๑ และมีปรากฎในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเจ้าพระยา ชำนาญบริรักษ์ถึงแก่อสัญญกรรม พระเจ้าบรมโกศโปรดฯ ให้เรียกศพว่า พระศพ อย่างเจ้า (ตามคำพวกผู้ใหญ่ในสกุลสิงหเสนีก็เล่าว่า ศพเจ้า พระยาอภัยราชา (ปิ่น) ได้พระราชทานเกียรติยศอย่างเจ้า) พิจารณา ความที่กล่าวมาเห็นว่าสมเด็จเจ้าพระยานั้น เดิมจะเป็นแต่คำที่เรียกกัน คือเจ้าพระยาคนใดมีความชอบพิเศษ ได้เลื่อนยศสูงขึ้นกว่าเจ้าพระยาอัคร มหาเสนาบดีเทียบเท่าเจ้าพระยามหาอุปราชในกฎหมาย อันมียศบาง อย่างเหมือนกับเจ้า ก็เรียกกันว่าสมเด็จเจ้าพระยาๆ หาใช่ยศในกฎหมาย ไม่ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพูนบำเหน็จ เจ้าพระยาพระคลังซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีอยู่แล้ว จึงโปรดฯ ให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยา และทรงบัญญัติยศสมเด็จเจ้าพระยาเข้าในกฎหมาย เป็นชั้นสูงสุดในยศขุนนางแต่นั้นมา บางทีจะเนื่องมาจากที่ทรงตั้งสมเด็จ เจ้าพระยานั้นเอง ทรงพระราชดำริต่อไปถึงยศเจ้านายต่างกรม ซึ่งตาม แบบโบราณมียศ กรมพระ เป็นชั้นสูงสุด จึงทรงเพิ่ม กรมสมเด็จ ขึ้น อีกชั้นหนึ่ง สำหรับทรงตั้งพระบรมวงศ์ซึ่งมีความชอบเป็นอย่างพิเศษ นับ เป็นชั้นสูงสุดในยศเจ้านายต่างกรมแต่นั้นมา ที่ทรงแก้ไขระเบียบยศเจ้า ประเทศราชนั้น แต่เดิมมารัฐบาลในกรุงะทพฯ ยกยศประเทศราชเป็นเจ้า แต่เมืองเวียงจันทน์กับเมืองหลวงพระบาง เพราะสืบสายมาแต่พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุตแต่โบราณ ส่วนประเทศราชในมณฑลพายัพยังให้มียศแต่ เป็น พระยา เพราะเพิ่งตั้งเป็นประเทศราชขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี้ ต่อเจ้าเมืองคนใดมีความชอบมากจึงทรงตั้งให้เป็น พระเจ้า เฉพาะตัว เช่นพระเจ้าเชียงใหม่กาวิละในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้านครลำปางดวงทิพ และพระเจ้านครลำพูนบุญมาในรัชกาลที่ ๒ แต่ชาวเมืองประเทศราช เหล่านั้นเองตลอดไปจนประเทศราชที่ขึ้นกับพม่า เช่นเมืองเชียงตุงเป็นต้น นับถือว่าเป็นเจ้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ ว่าสกุลเจ้าเจ็ดตนที่ได้ครองเมืองเชียงใหม่ หรือนครลำปาง เมืองนคร ลำพูนกับทั้งสกุลเจ้าเมืองน่าน ได้มีความสามิภักดิ์ยั่งยืนมา ที่ให้มียศเป็น แต่เพียงพระยา ต่ำกว่าพวกที่ครองเมืองหลวงพระบางและประเทศราชที่ ขึ้นพม่าหาสมควรไม่ จึงทรงสถาปนาให้มียศโดยปกติเป็นเจ้า ถ้ามีความ ชอบพิเศษเลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้า เป็นระเบียบสืบมา การตั้งกรมเจ้านายและตั้งขุนนางที่ทรงแก้ไขตั้งระเบียบใหม่นั้น ประเพณีเดิมการตั้งกรมหรือเลื่อนกรมเจ้านาย นอกจากอุปราชาภิเษก มหาอุปราช พระเจ้าแผ่นดินเป็นแต่มีพระราชดำรัสสั่งแล้วก็ฉล้วกัน ไม่ ได้ทรงเกี่ยวข้องกับการพิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ไปในการพิธีถึงวังเจ้านายที่รับกรม ทรงรดน้ำจากมหาสังข์พระราชทาน อย่างอภิเษก และทรงเจิมจุณณ์ให้เป็นสิริมงคล แล้วพระราชทานพระ สุพรรณบัฎเอง และเมื่อก่อนพระราชทานพระสุพรรณบัฎให้อาลักษณ์อ่าน ประกาศพระเกียรติคุณของเจ้านายพระองค์นั้นอันเป็นเหตุให้ได้รับกรมให้ ปรากฎด้วย การตั้งขุนนางผู้ใหญ่ถ้าเป็นขั้นสูงถึงสมเด็จเจ้าพระยา ก็เสด็จไป พระราชทานสุพรรณบัฏทำนองเดียวกับตั้งกรมเจ้านาย ถ้าขั้นรองลงมา เพียงชั้นเจ้าพระยา ก็พระราชทานในท้องพระโรง และมีการอ่านประกาศ เกียรติคุณเพิ่มขึ้นด้วย การตั้งขุนนางขั้นสามัญ แต่ก่อนมาเป็นแต่กรมวัง ผู้รับคำสั่งมีหมายบอกตัวเองและบอกไปตามกระทรวงทะบวงกรมการต่างๆ ว่าทรงตั้งคนนั้นเป็นคนที่นั้นแล้วก็แล้วกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้มีสัญญาบัตรลงพระราชหัตถเลขาปรมาภิ ไธย และประทับพระราชลัญจกรเป็นสำคัญ และให้รับสัญญาบัตรต่อ พระหัตถ์เป็นประเพณีสืบมา อนึ่งยศของสตรีมีบรรดาศักดิ์ชั้น เจ้าคุณ แต่ก่อนก็เป็นคำเรียกกัน มักเรียกท่านผู้ใหญ่ในราชินิกุลหรือท้าวนางที่เป็นตัวหัวหน้า และเรียก เจ้าจอมมารดาของเจ้านายตางกรมผู้ใหญ่ แล้วแต่ใครจะเรียกๆ กันฟั่น เฝือไม่เป็นแบบแผน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติ ให้ยศ เจ้าคุณ เป็นยศในกฎหมาย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งเป็นแบบ แผนสืบมา แก้พระราชานุกิจ การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขขนบธรรม เนียมในประเภทซึ่งเรียกในกฎหมายว่า พระราชานุกิจ คือระเบียบเวลาที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงปฏิบัติพระราชกิจต่างๆ ก็เป็นการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองมาก ตามราชประเพณีมีแต่โบราณมา พระ เจ้าแผ่นดินย่อมทรงประพฤติพระราชกิจต่างๆ เป็นระเบียบและตามกำหนด เวลาแน่นอนเสมอ เช่นเสด็จออกขุนนางวันละ ๓ ครั้ง คือเวลาเช้า ๑๐ นาฬิกาเสด็จออกพิพากษาคดี เวลาบ่าย ๑๔ นาฬิกาเสด็จออกที่เฝ้า รโหฐาน เวลาค่ำ ๒๐ นาฬิกาเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน เป็นต้น พระ ราชกิจอย่างอื่นก็จัดเข้าระเบียบทรงประพฤติโดยกำหนดเวลา เป็ฯทำนอง เดียวกัน ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในราชกิจอย่างใด ก็เฝ้าแหนตามกำหนด เวลาทรงปฏิบัติราชกิจอย่างนั้นเสมอไม่ต้องนัดหมายเห็นสะดวกแก่การงาน จึงใช้เป็นตำราราชประเพณีสืบมาช้านาน แต่ระเบียบพระราชานุกิจนั้น สำหรับแต่เวลาเสด็จประทับในพระนครราชธานี การที่จะเสด็จไปยังหัว เมืองไม่มีในตำรา แต่ก่อนมาการเสด็จไปหัวเมืองจึงแล้วแต่พระราชอัธยา ศัยส่วนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ตั้งแต่ล่วง รัชกาลที่ ๑ ไม่มีกิจที่ต้องเสด็จไปทำศึกสงคราม พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ รัชกาล ต่อมา ก็ประทับอยู่แต่ในพระราชวังเป็นพื้น เป็นเหตุให้ทรงห่างเหินกับ ราษฎร และมิได้ทอดพระเนตรเห็นการที่เป็นไปตามหัวเมือง พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นว่า พระราชานุกิจอย่าง รัชกาลก่อนยังบกพร่องเป็นข้อสำคัญ พอเสวยราชย์ก็ทรงแก้ไข คงไว้แต่ ที่เป็นแก่นสาร เช่นเสด็จออกวันละ ๓ ครั้งเป็นต้น พระราชกิจที่ไม่เป็น การสำคัญเช่นเสด็จลงทรงบาตร และทรงประเคนเลี้ยงพระทุกวันดังเคย มีมาในรัชกาลก่อน โปรดฯ ให้เจ้านายทำแทนพระองค์ เอาเวลาไปใช้ใน พระราชกิจที่เพิ่มขึ้น เช่นเสด็จออกรับฎีการาษฎรและเสด็จประพาส พระนครให้ราษฎรได้เฝ้าเป็นต้น ดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นทรงฟื้นประ เพณีเสด็จประพาสหัวเมืองขึ้นเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา บางพระองค์ประพฤติมาแต่ก่อน มีโอกาสเมื่อใดก็ทรงพระราชอุตสาหะ เสด็จไปยังหัวเมืองต่างๆ ทางฝ่ายเหนือได้เสด็จไปถึงเมืองพิษณุโลก ทาง ตะวันออกเสด็จไปถึงเมืองปราจิณ กับทั้งหัวเมืองชายทะเลตลอดจนเมือง จันทบุรีและเมืองตราด ทางฝ่ายใต้เสด็จไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชและ เมืองสงขลา ทางฝ่ายตะวันตกเสด็จไปถึงเมืองนครชัยศรี เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิลำเนาพระราช อาณาเขตและทรงทราบการหัวเมืองยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินแต่ปางก่อนโดย มาก ตามหัวเมืองที่เสด็จประพาสนั้น โปรดฯให้สร้างที่ประทับขึ้นใหม่ในวัง พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาเคยประทับก็หลายแห่ง เช่นวังปางปะอิน ของพระเจ้าปราสาททอง วังจันทรเกษมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วังเชิงเขาพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองเพชรบุรีและเมืองนครปฐมก็มีที่พระ ราชวังโบราณทั้ง ๒ แห่ง แต่โปรดฯ ให้สร้างวังใหม่ในที่อื่น การที่ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสตรวจการหัวเมือง จึงเกิดเป็นประเพณีอันมี ประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นอันมากแต่ในรัชกาลที่ ๔ สืบมา แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแก้ไขพระราชานุกิจ ดังกล่าวมา เมื่อภายหลังก็เกิดความลำบากแก่พระองค์ในการที่ต้องทรง ประพฤติพระราชานุกิจ เพราะในรัชการที่ ๔ มีกิจการต่างๆ ซึ่งพระเจ้า แผ่นดินแต่ก่อนๆ ไม่ต้องทรงทำ เกิดเพิ่มขึ้นใหม่หลายอย่าง เป็นต้นแต่ เหตุที่เคยทรงสมาคมและมีหนังสือไปมากับฝรั่งเมื่อยังทรงผนวช ครั้น เสด็จเสวยราชย์พวกฝรั่งต่างประเทศได้ทราบพระเกียรติคุณ พากันเขียน หนังสือมาถวายมากขึ้น เกิดพระราชกิจที่ต้องมีพระราชหัตถเลขาเป็นภาษษ อังกฤษถึงชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น อันต้องทรงแต่งเองเขียนเอง เพราะ ยังไม่มีใครอื่นที่รอบรู้พอจะช่วยพระราชกิจนั้นได้ ต่อมาถึงสมัยเมื่อทำ หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับฝรั่งต่างประเทศแล้ว เกิดกิจซึ่งโต้ตอบ กับพวกกงสุลในการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก บางทีก็เป็นการสำคัญอันจะกราบ ทูลหรือปรึกษาโดยเปิดเผยในเวลาเสด็จออกขุนนางเหมือนอย่างแบบเก่าไม่ ได้ ก็ต้องส่งหนังสือที่มีมากับทั้งร่างตอบเข้าไปถวายทรงพระราชวินิจฉัย นอกจากนั้นการที่ทรงรับฎีกาของราษฎร ก็เพิ่มพระราชกิจที่ต้องทรงพิจาร ณาฎีกาด้วยอีกอย่างหนึ่งหรือถ้ารวมว่าโดยย่อ คือเกิดการที่ต้องทรงพระ อักษรเป็นส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงปฏิบัติการนั้น แทรกเข้ามาในระเบียบพระราชานุกิจ ประจำวัน วันไหนมีหนังสือที่เร่งร้อนต้องทรงมาก เวลาเสด็จออกว่า ราชการบ้านเมืองเวลาค่ำมักเคลื่อนคลาดช้าไปเนืองๆ เป็นเหตุให้ข้า ราชการผู้ใหญ่ติเตียนว่าเวลาพระราชานุกิจไม่แน่นอนเหมือนในรัชกาลที่ ๓ บางคนก็เลยขาดการเฝ้า ด้วยอ้างว่าสูงอายะแล้วอยู่ดึกทนไม่ไหว แม้ผู้ที่ยังไม่ สูงอายุก็พลอยเอาอย่าง ประเพณีที่เสนาบดีต้องเข้าเฝ้าทุกวันก็เสื่อมมา ถ้ามีราชการสลักสำคัญมักเข้าเฝ้าเวลาเสด็จออกรโหฐาน ราชการสามัญ ที่เคยกราบทูลในเวลาเสด็จออก ขุนนางมักให้แต่ปลัดทูลฉลองกราบทูล แทน (เมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕ ปรึกษากันให้กลับใช้แบบพระราชานุกิจอย่าง รัชกาลที่ ๓ ดังจะปรากฎอธิบายในตอนอื่นต่อไปข้างหน้า) ตีเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ ๔ ต้องทำสงครามครั้งเดียว และไม่เหมือนกับ สงครามใน ๓ รัชกาลที่ล่วงแล้ว ด้วยแต่ก่อนพอเปลี่ยนรัชกาลใหม่ทั้ง รัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ พม่าข้าศึกก็เข้ามารบรุก เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ เจ้า อนุเวียงจันทน์เป็นขบถก็ยกกองทัพลงมารบรุก ไทยเป็นฝ่ายข้างต่อสู้รักษา อาณาเขตทั้ง ๓ คราว แต่คราวนี้ไทยไปตีเมืองเชียงตุงเป็นการรบรุกอาณา เขตของพม่า จึงผิดกัน ที่จริงเรื่องตีเมืองเชียงตุงเริ่มมาในรัชกาลที่ ๓ ด้วยเหตุเกิดจลาจลในอาณาเขตลื้อ สิบสองปันนา อันเป็นประเทศราช ของพม่า แต่ภูมิลำเนาอยู่ต่อแดนทั้งประเทศจีนและประเทศสยาม และ เคยยอมขึ้นต่อจีนหรือไทยในเวลาได้ความลำบากมาแต่ก่อน เมื่อก่อนเกิด จลาจลครั้งนี้ มีพวกเจ้านายราชวงศ์เมืองเชียงรุ้ง ซึ่งครอบครองสิบสอง ปันนา พากันอพยพครอบครัวหนีภัยมาอาศัยอยู่ในแดนเมืองน่านและเมือง หลวงพระบาง (เมื่อยังเป็นอาณาเขตสยาม) หลายพวก พวกเมืองหลวง พระบางและเมืองน่านส่งตัวนายที่เป็นหัวหน้าลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอ พระบารมีเป็นที่พึ่งและจะทิ้งพม่ามาขึ้นไทย ก็ในเวลานั้นทางประเทศ พม่าเสื่อมกำลังตั้งแต่รบแพ้อังกฤษ (ครั้งแรก) พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าเป็นโอกาสที่จะแผ่พระราชอาณาเขตไปถึง สิบสองปันนา แต่จะต้องตีเมืองเชียงตุงซึ่งพม่าให้ควบคุมข่มเมืองลื้อ ให้หมดกำลังเสีย ไทยจึงจะเอาเมืองสิบสองปันนาไว้ได้ ครั้งนั้นพอพวก เจ้าประเทศราชในมณฑลพายัพทราบกระแสพระราชดำริ ก็พากันยินดี รับอาสาเมืองเชียงตุง ด้วยเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้เชลยกับทรัพย์สิน เมื่อรบชนะตามประเพณีการสงครามในสมัยนั้น จึงโปรดฯ ให้พวกประ เทศราชเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง และเมืองนครลำพูด ยกกอง ทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง (ครั้งแรก) เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ แต่กองทัพ ที่ยกไปไปทำการไม่พรักพร้อมกัน ลงที่สุดขัดสนสะเบียงอาหารก็ต้องเลิก กลับมา พอประจวบเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวร เรื่องตีเมืองเชียงตุงก็ค้างอยู่เพียงนั้นจนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ มีความจำเป็นจะต้องตกลงเป็นยุติว่าจะทำอย่าง ไรต่อไปทั้งในเรื่องตีเมืองเชียงตุงและเมืองสิบสองปันนา เพราะพวกเจ้า นายเมืองเชียงรุ้งต้องคอยฟังอยู่ในกรุงเทพฯ ถึง ๓ ปี พรรคพวกครอบครัว ที่คอยอยู่ในแขวงเมืองน่านและเมืองหลวงพระบางก็มาก พอประจวบกับ ได้รับศุภอักษรของเจ้าฟ้าแสนหวีเจ้าเมืองเชียงรุ้งก็มีมาให้กราบบังคมทูลว่า การที่จลาจลนั้นระงับเรียบร้อยแล้ว ขอพระราชทานอนุญาตให้เจ้า นายที่มาพึ่งพระบารมีกับพวกบริวารกลับคืนไปบ้านเมือง และเจ้าเมือง เชียงรุ้งจะถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ปีครั้ง ๑ เหมือนอย่างประเทศราช อื่นต่อไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า พวก ราชวงศ์เมืองเชียงรุ้งกับพวกบริวารหนีภัยมาพึ่งพระบารมี ในเวลาบ้าน เมืองเป็นจลาจล บ้านเมืองเรียบร้อยแล้วใครประสงค์จะกลับไปบ้านเมือง ก็พระราชทานอนุญาตให้กลับไปตามใจสมัคร แต่ส่วนเรื่องการตีเมือง เชียงตุงและเรื่องที่ผูกพันกับเมืองเชียงรุ้งต่อไปอย่างไรนั้น โปรดฯ ให้เสนา บดีปรึกษากันทำความเห็นขึ้นกราบบังคมทูล ที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงบัญชาหรือตรัสปรึกษาเสนาบดี จะเป็นเพราะเหตุใด ข้อนี้พิจารณาดูเห็นว่า คงเป็นเพราะวินิจฉัยเรื่องเมืองเชียงตุงเกี่ยวกับการ ทำศึกสงครามอันเป็นวิชาที่พระองค์มิได้มีโอกาสทรงศึกษา ส่วนเรื่อง เมืองเชียงรุ้งนั้น คงทรงเห็นการเหมือนพระบาทสมเด็๗พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกเคยทรงพระราชดำริมาแต่ก่อน ว่าเมืองลื้อสิบองปันนนาเคยขึ้น แก่พม่าและจีน แม้ไทยรับเป็นที่พึ่ง ถ้าพม่าหรือจีนมาเบียดเบียนเมือง เชียงรุ้ง ก็ยากที่ไทยจะไปช่วยป้องกัน เพราะหนทางไกลและกันดารนัก จะไม่เป็นที่พึ่งแก่พวกลื้อสิบสองปันนาได้จริง แต่จะตรัสปฏิเสธโดยลำพัง พระราชดำริก็ยาก จึงทรงอาศัยเหตุที่เป็นการเก่าซึ่งเสนาบดีเหล่านั้นได้ เคยพิจารณาบัญชาการมาแล้วเมื่อรัชกาลที่ ๓ ให้ปรึกษากันอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะควรทำอย่างไรต่อไปในรัชกาลใหม่ ก็ในปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ นั้น เผอิญประจวบกับอังกฤษมาตีเมืองพม่าอีก (เป็นครั้งที่ ๒ ) พม่ากำลังติด รบพุ่งกับอังกฤษจะไปช่วยเมืองเชียงรุ้งไม่ได้ เป็นโอกาสเกิดเพิ่มขึ้น เสนา บดีจึงพร้อมกันทำความเห็นกราบบังคมทูล เห็นว่าควรจะดำเนินการต่อไป ตามพระราชดำริในรัชกาลที่ ๓ คือให้ไปตีเมืองเชียงรุ้งอีก เมื่อได้เมือง เชียงตุงแล้วก็คงได้เมืองลื้อสิบสองปันนาเป็นของไทยโดยไม่ลำบาก แต่ การที่จะตีเมืองเชียงตุงคราวนี้ควรให้มีกองทัพกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปควบคุม กองทัพพวกมณฑลพายัพด้วย จึงจะเป็นการสะดวกและจะเป็นประโยชน์ ฝึกฝนข้าราชการในกรุงให้ชำนิชำนาญการศึกสงครามขึ้นด้วย เมื่อเสนา บดีลงมติอย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงบัญชา ตาม โปรดฯ ให้เกณฑ์คนในมณฑลพายัพและหัวเมืองเหนือนอกจาก มณฑลนั้นรวมจำนวน ๑๐,๐๐๐ จัดเป็น ๒ กองทัพ ให้เจ้าพระยายมราช (นุช บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก) คุมกองทัพหน้ายกไปทางเมืองเชียงใหม่ทาง ๑ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นจอมพลคุมกองทัพหลวงยกไปทางเมืองน่านอีกทาง ๑ ไปสมทบกัน ตีเมืองเชียงตุง กองทัพที่ยกไปครั้งนั้น ตีได้เมืองขึ้นและทางด่านที่พวก เชียงตุงมาตั้งต่อสู้เข้าไปจนถึงตั้งล้อมเมืองเชียงตุง ยังแต่จะหักเข้าเมือง เผอิญสะเบียงอาหารขาดลงก็ต้องถอยทัพกลับมาตั้งอยู่เมืองเชียงแสน ใน เวลานั้นประจวบกับจัดทหารอย่างยุโรปขึ้นในกรุงเทพฯ เสนาบดีจึงปรึกษา เห็นกันว่า เมืองเชียงตุงก็อ่อนกำลังมากอยู่แล้ว ควรจะเพิ่มเติมกำลัง กองทัพทั้งสะเบียบอาหารและเครื่องศัสตราวุธให้มากขึ้น อย่าให้มีความ ขัดข้องเหมือนเมื่อคราวก่อน แล้วให้ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงในฤดูแล้งปี ฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ อีกครั้งหนึ่ง แต่ในเวลาเตรียมทัพอยู่นั้น ทางเมืองพม่า เสร็จการสงครามกับอังกฤษ พม่าส่งกำลังมาช่วยรักษาเมืองเชียงตุง ทาง ฝ่ายไทยไม่รู้ ยกขึ้นไปคราวหลังก็เกิดลำบากตั้งแต่เข้าแดนเชียงตุง กอง ทัพเจ้าพระยายมราชต้องติดขัดไปไม่ทันสมทบกองทัพหลวง กรมหลวง วงศาฯ เสด็จขึ้นไปพบกองทัพพม่ามีกำลังมากกว่าก็ต้องถอยทัพกลับมา การตีเมืองเชียงตุงจึงเป็นอันไม่สำเร็จ ถ้าคิดดูว่าเพราะเหตุใด เห็นว่า เพราะไปทำสงครามในดินแดนของข้าศึกซึ่งไทยไม่รู้เบาะแสภูมิลำเนา เสีย เปรียบศัตรูอยู่โดยธรรมดาอย่าง ๑ เพราะฝ่ายไทยประมาทไม่ขวนขวาย ในการสืบสวนให้สมกับพระบวนพิชัยสงครามอย่าง ๑ เป็นข้อสำคัญ แต่ ถึงตีเมืองเชียงตุงได้ก็คงรักษาไว้ไม่ได้ ด้วยอยู่ใกล้แดนพม่ากว่าแดนไทย จัดทหารบกทหารเรือ ทหารบกทหารเรือที่ฝึกหัดจัดระเบียบการบังคับบัญชาตามแบบฝรั่ง ก็เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ แต่นั้นมา เมื่อไทยรบกับญวณและระแวงว่าอังกฤษ จะย่ำยีเหมือนอย่างเมืองจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่โปรดฯ ให้สร้างสมเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ และสร้างป้อมรักษาปากน้ำที่สำคัญทุก แห่ง ครั้งนั้นให้เกณฑ์พวกอาสาญวณ (เข้ารีต) หัดเป็นทหารปืนใหญ๋ ขึ้นอยู่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรับสรรค์พวก ๑ เกณฑ์พวกอาสามอญหัดเป็นพวกทหาร ปืนเล็กขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้บังคับบัญชาพวก ๑ สำหรับรักษา ป้อมที่เมืองสมุทรปราการ ทหารทั้ง ๒ พวกนี้แต่งตัวตามแบบทหารฝรั่ง และปรากฎว่าได้ให้มาตั้งแถวเป็นกองเกียรติยศ เมื่อพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในวันพระบรมราชา ภิเษก แต่ยังไม่ได้จัดระเบียบการบังคับบัญชา ในปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์นั้น มีนายร้อยเอกทหาร อังกฤษคน ๑ ชื่อ อิมเป (Impey) ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวได้เสวยราชย์และโปรดขนบธรรมเนียมฝรั่ง จึงเข้ามารับอาสาเป็น ครูฝึกหัดจัดระเบียบทหารบก ก็โปรดฯ ให้จ้างไว้ แล้วเกณฑ์คนกรม อาสาลาวและเขมรให้เป็นทหารให้นายร้อยเอก อิมปี ฝึกหัด เรียกว่า ทหาร เกณฑ์หัดอย่างยุโรป จัดเป็นกองร้อยและหมวดหมู่ มีนายร้อย นายสิบ ควบ คุมตามแบบฝรั่ง และโปรดฯ ให้สร้างโรงทหารขึ้นสำหรับพวกทหาร ผลัดเวรกันอยู่ประจำการ การฝึกหัดและจัดระเบียบทหารครั้งนั้นเพราะ ทำตามแบบฝรั่ง และครูก็ไม่รู้ภาษาไทย จึงใช้คำบอกทหารและชื่อตำ แหน่งยศทหารเป็นภาษาอังกฤษมาตลอดรัชกาลที่ ๔ พอข่าวระบือไปว่า นายร้อยเอกอิมเปได้เป็นครูทหารไทย ในไม่ช้าก็มีนายร้อยเอกทหารอังกฤษ ชื่อ น๊อกส์ (Knox) เข้ามาอาสาอีกคน ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ทหารวังหลวงมีนายร้อยเอกอิมเปเป็นครู อยู่แล้ว จึงโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรับนายร้อย เอกน๊อกส์ไปเป็นครูฝึกทหารวังหน้า และให้โอนทหารญวณ (เข้ารีต) ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบังคับบัญชาอยู่แต่ก่อนไปเป็น ทหารวังหน้า ส่วนทหารมอญทีเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมนั้นก็โปรดฯ ให้คงอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการทหารเรือ ทหารพวกนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นทหารมรีนสำหรับเรือรบ ต่อมาโปรดฯ ให้ จัดกรมรักษาพระองค์เป็นทหารอย่างยุโรปขึ้นอีกกรม และจักพวกกรม อาสาญวณ (ถือพระพุทธศาสนา ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองผะดุงกรุง เกษม) เป็นทหารปืนใหญ๋แทนพวกญวณเข้ารีตที่โอนไปวังหน้าอีกกรม ๑ กรมทหารบกต่างๆ ที่กล่าวมานี้เป็นต้นเดิมของทหารบกที่มีต่อมาจนทุก วันนี้ ทหารบกที่เริ่มจัดขึ้นในปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ นั้น ทันได้ส่งขึ้นไปเข้า กองทัพกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เมื่อยกขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงครั้งหลังใน ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ จะเป็นจำนวนคนเท่าใดหาทราบไม่ ทราบแต่ว่านายร้อย เอกน๊อกส์คุมไป และได้ช่วยรบครั้งหลังเมื่อกองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมา ส่วนทหารเรือนั้น เมื่อรัชกาลที่ ๓ มีเรือรบเป็นกำปั่นใบหลายลำ เกณฑ์พวกแขก (เขมร) กรมอาสาจามลงประจำ ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลม โหม สำหรับลาดตระเวนในอ่าวสยาม บางทีก็มีราชการก็ให้ไปถึงเมือง ต่างประเทศที่ใกล้เคียง ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็ฯอัคร มหาเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ท่านชำนาญการต่อเรือกำปั่นมาตั้งแต่ ยังเป็นหลวงนายสิทธิในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวจึงโปรดฯ ให้จัดทหารเรือและต่อเรือกลไฟเป็นเรือรบและเรือใช้เป็น พาหนะ ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดการทหารเรือ ทรงต่อเรือรบและจัดทหารเรือวังหน้าขึ้นด้วย จึงเริ่มมีเรือไฟใช้เป็นเรือรบ และเรือพาหนะตั้งแต่ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นต้นมา คงใช้พวกอาสา จามเป็นพนักงานเดินเรืออยู่อย่างเดิม เพิ่มพวกมอญเป็นทหารมรีนสำหรับ เรือรบ แต่พวกต้นกลนั้นฝึกหัดไทยใช้มาแต่แรก ส่วนการบังคับบัญชา ในเรือรบ ในสมัยนั้นยังไม่มีไทยใครชำนาญ จึงต้องจ้างฝรั่งเป็นกัปตัน และต้นหนเรือรบมาช้านาน เรื่องเมื่อเปลี่ยนรัชกาล เมื่อทูลกระหม่อมสวรรคต ทั้งครัวเรือนของฉันรู้สึกกันเหมือนกับ คนเรือแตกกลางทะเล หมดความรู้สึกและสิ้นความคิดที่จะทำอย่างไร พา กันงงไปทั้งนั้น เห็นจะเป็นด้วยเหตุนั้นฉันจึงจำอะไรในตอนนั้นมิใคร่ได้ จำได้แต่ขึ้นไปถวายน้ำทรงพระบรมศพดังเล่ามาแล้ว กับจำได้ว่าเห็นแม่ และใครๆ ทั้งผู้ชายผู้หญิงพากันโกนหัวทั่วไปหมด แปลกตาจนตกใจ แต่ตัวฉันเองไม่ต้องโกนเพราะเก็กไว้ผมจุกกับจีนไว้ผมเปียไม่ต้องโกนหัวไว้ ทุกข์เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต นอกจากนั้นยังจำได้อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อทูลกระหม่อมสวรรคตแล้วไม่ช้านัก มีเจ้าพนักงานพระคลังในมา ตรวจสมบัติ ตรวจเช่นนั้นทุกพระองค์ ปรากฎว่าแม่รักษาสมบัติของฉัน ไว้บริบูรณ์ครบครัน จนคุณท้าวที่มาตรวจออกปากชม นอกจากที่เล่ามา เรื่องอะไรอีกที่จำได้เองในสมัยนั้นนึกไม่ออก แต่มีเรื่องที่มาได้ยินจากท่าน ผู้อื่นเมื่อภายหลังเช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเล่าให้ ฟังเป็นต้น กับทั้งที่ได้อ่านหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ได้ ทราบเรื่องสำคัญในพงศาวดาร ตอนเปลี่ยนรัชกาชใหม่ครั้งนั้นอีกบ้าง คล้ายกับมาจำได้เมื่อภายหลัง จึงเขียนลงไว้ในหนังสือเรื่องนี้ด้วย จะเล่าถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับ รัชทายาทก่อน เมื่อรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ก็เหมือนกับเป็นรัชทายาทจนเสด็จสวรรคตเมื่อ ปีฉลู พ.ศ.๒๔๐๗ ตั้งแต่นั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ก็เสด็จขึ้นสู่ฐานะเป็น รัชทายาทตามราชประเพณี) เพราะเป็นสมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ๋ แต่ในเวลานั้นทรงพระเยาว์พระชันษาได้เพียง ๑๓ ปี จึงเป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตก ด้วยพระองค์ทรงพระ ชราพระชันษากว่า ๖๐ ปีแล้ว ถ้าหากเสด็จสวรรคตไปโดยด่วน สมเด็จ พระราชโอรสจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในเวลายังทรงพระเยาว์ เห็นว่า จะเป็นการเสี่ยงภัยใหญ่หลวง ด้วยตัวอย่างที่เคยมีในเรื่องพงศาวดาร พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสวยราชย์แต่ยังทรงพระเยาว์ เป็นอันตรายด้วยถูก ชิงราชสมบัติทุกพระองค์ ไม่มีพระองค์ใดได้อยู่ยั่งยืน สักพระองค์เดียว จึงทรงยับยั้งไม่ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชโอรสเป็นรัชทายาท ตั้ง พระราชหฤทัยว่า เมื่อสมเด็จพระราชโอรสเจริญพระชันษาครบ ๒๐ ปี (ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖) ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุตามประเพณีแล้ว จะมอบเวนราชสมบัติพระราชทาน ส่วนพระองค์เองจะเสด็จออกเป็น พระเจ้าหลวง เป็นที่ปรึกษาประคับประคองสมเด็จพระราชโอรสไปจนตลอด พระชนมายุของพระองค์ ด้วยเหตุนั้นจึงโปรดฯ ให้สร้างวังสราญรมย์ เพื่อเป็นที่ประทับเมื่อเสด็จออกจากราชสมบัติ และเอาเป็นพระราชภาระ ทรงฝึกสอนราชศาสตร์แก่สมเด็จพระราชโอรสเองอย่างกวดขันตั้งแต่ปีฉลู มา แต่ในระหว่างนั้นปรากฎความนิยมของคนทั้งปวงแพร่หลาย แม้ จนพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศก็ถือว่าสมเด็จพระราชโอรสจะเป็นรัชทายาท เหตุที่จะเกิดการแย่งชิงราชสมบัติไม่น่าจะเป็นได้เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงกระนั้นก็ยังทรงวิตกด้วยมีความลำบากอย่างอื่นอยู่อีก คือ ถ้าสมเด็จ พระราชโอรสต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนพระชันษา ๒๐ ปี ทรงว่าราชการ บ้านเมืองเองยังไม่ได้ ก็จะต้องมีผู้อื่นถืออำนาจว่าราชการแผ่นดินแทน พระองค์ อันไม่เคยมีแบบอย่างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงประมาท จึงทรงพระราชดำริเตรียมการเผื่อ จะต้องมีผู้อื่นสำเร็จราชการแผ่นดิน (Regent) ด้วยก็ในเวลานั้นเห็นชัดว่ามี แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คนเดียวซึ่งทรงความสามารถอาจจะเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินได้ จึงตรัสปรึกษาพระราชปรารภกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เห็นว่าถ้าตัวท่านต้องเป็นสำเร็จราชการแผ่นดิน ก็จะต้องอยู่ในที่ยากอย่างยิ่ง ด้วยจะถูกคนทั้งหลายสงสัยว่าจะชิงราชสม บัติเหมือนอย่งพระเจ้าปราสาททอง เพราะมีเรื่องในหนังสือพงศาวดาร ว่าเมื่อครั้งพระเจ้าทรงธรรมจะสวรรคต (ใน พ.ศ. ๒๑๗๑( ทรงมอบเวน ราชสมบัติแก่พระเชษฐาธิราช โอรสพระองค์ใหญ่ พระชันษาได้ ๑๔ ปี ให้เจ้าพระยากลาโหมศรีวรวงศ์ อันเป็นพระญาติ เป็นผู้สำเร็จราชการ แผ่นดิน อยู่มาเจ้าพระยากลาโหมทำการปลงศพมารดาที่วัดกุฎิ พวก ข้าราชการพากันไปช่วยงานจนไม่มีใครเข้าเฝ้าเสด็จออกท้องพระโรง พวกข้าหลวงเดิมทูลยุยงสมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็ทรงเชื่อว่าเจ้าพระยา กลาโหมคิดกบฎ ตรัสสั่งให้เรียกตัวจะชำระลงโทษ เจ้าพระยากลาโหมก็ เลยเป็นกบฎจับสมเด็๗พระเชษฐาธิราชปลงพระชนม์แล้วชิงเอาราชสมบัติ เรื่องเผอิญคล้ายกับพฤติการณ์ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึง หวาดหวั่น ขั้นแรกถึงกราบทูลขอตัว แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงชี้แจงให้เห็นความจำเป็น ไม่อาจปฏิเสธได้ จึงคิดหาอุบาย ป้องกันตัวท่าน ด้วยยกเอาเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบอยู่แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรงสงสัยว่า ตัวท่านจะชิงราชสมบัติ อ้างเป็นเหตุกราบทูลว่าถ้าจะโปรดให้ท่านเป็นผู้ สำเร็จราชการแผ่นดินเช่นนั้น ขอให้ทรงตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพราะเป็นลูกเธอพระองค์ใหญ่ของพระ บาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกข้าราชการวังหน้าจะได้พอใจไม่ กะด้างกะเดื่อง อีกประการหนึ่งถ้ามีพระมหาอุปราชเช่นนั้นก็จะเป็นเครื่อง ป้องกันมิให้คนทั้งหลายสงสัยตัวท่านว่าจะชิงราชสมบัติด้วย พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหยั่ง ทราบความคิดของเจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ว่าประสงค์จะให้มีวังหน้าขึ้นสำหรับกีดขวางวังหลวง ตัวท่านจะ ได้มั่นคงด้วยจำต้องอาศัยท่านทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย แต่จะขัดขวางก็ไม่ทรงเห็นเป็นประโยชน์ เพราะไม่มีตัวผู้อื่นที่จะเป็นผู้ สำเร็จราชการแผ่นดินได้ ถ้าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการ แผ่นดินคงจะทำตามชอบใจ อีกประการหนึ่งในเวลานั้นก็เป็นแต่ปรึกษา เผื่อว่าสมเด็จพระราชโอรสจะต้องเสวยราชย์แต่ก่อนพระชันษาครบ ๒๐ ปี หรือถ้าว่าอีกอย่างหนึ่งคิดสำหรับกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาชั่ว ๗ ปีเท่านั้น ถ้าพระองค์ดำรงพระชนม์อยู่จนปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ เหตุที่ จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและปัญหาเรื่องตั้งกรมพระราชวังบวรฯ ก็จะระงับไปเอง แต่ถึงกระนั้นเมื่อได้ทราบความคิดของเจ้าพระยาศรีสุริย วงศ์ก็ไม่วางพระหฤทัยว่าสมเด็จพระราชโอรสจะได้เสวยราชย์โดยมั่น คง จึงเป็นแต่โปรดฯ ให้เลื่อนกรมเมื่อปีเถอะ พ.ศ.๒๔๑๐ ยังไม่ประกาศ ตั้งเป็นรัชทายาท เผอิญพอล่วงมาอีกปีหนึ่งถึงปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ประชวร เมื่อตระหนักพระราชหฤทัย ว่าจะเสด็จสวรรคตก็ยิ่งทรงพระวิตกถึงเรื่องรัชทายาท เห็นจะทรงพระราช ดำริว่าถ้าตรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติแก่สมเด็จพระราชโอรสและตั้งเจ้าพระ ยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก็จะต้องตรัสสั่งกรมพระราช วังบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราช อันเป็นการกระทำผิดราชประเพณีเพื่อ ประโยชน์สำหรับตัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้อื่นคงไม่พอใจกันมาก แต่ถ้า ไม่ทรงตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็จะคิดอ่านตั้งเอา ตามใจ จะเลยลำบากถึงสมเด็จพระราชโอรสเมื่อเสวยราชย์ ด้วยเหตุนี้ใน เรื่องรัชทายาทจึงพระราชทานอนุญาตให้พระราชวงศ์และเสนาบดีปรึกษา ถวายราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งแล้วแต่จะเห็นพร้อมกัน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ถ้าพร้อมใจกันถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระราช โอรสก็จะได้เสวยราชย์โดยมั่นคง ดังปรากฎในจดหมายเหตุเมื่อประชวร (ต่อจากที่คัดมาลงไว้ในตอนก่อน) ดังนี้ มีพระราชดำรัส (แก่กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริย วงศ์ และเจ้าพระยาภูธราภัย) ต่อไปว่ามีพระราชประสงค์จะตรัสด้วยราชการ แผ่นดิน แต่จะทรงสมาทานเบ็ญจศีล (แสดงความสัตย์สุจริจ) เสียก่อน ครั้น ทรงสมาทานศีลแล้ว ตรัสภาษาอังกฤษหลายองค์ แล้วจึงมีพระราชดำรัสว่ ที่พูด ภาษาอังกฤษนี้เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าสติสัมปชัญญะยังเป็นปกติ ถึงภาษาอื่น มิใช่ภาษาของตนก็ยังทรงจำได้ด้วยสติยังดีอยู่ ท่านทั้งปวงจะได้สำคัญในข้อความ ที่จะสั่ง ว่ามิได้สั่งโดยฟั่นเฟือน เมื่อตรัสประภาษดังนี้แล้ว จึงมีพระราชดำรัส ต่อไป ว่าท่านทั้ง ๓ กับพระองค์ได้ช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินมาได้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดมราจนถึงเวลาสิ้นพระชนมายุ ถ้าสิ้นพระองค์ล่วงไปแล้ว ขอให้ท่านทั้งปวงจง ช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย ให้สมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎร ได้พึ่งอยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน ขอให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ให้เอาเป็นพระราช ธุระรับฎีกาของราษฎรอันมีทุกข์ร้อน ให้ร้องได้สะดวกเหมือนพระองค์ได้ทรงเป็น พระธุระรับฎีกามาแต่ก่อน อนึ่ง ผู้ซึ่งจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบพระบรมราชวงศ์ไป ภายหน้านั้น ให้ปรึกษากันเลือกดูแต่ที่สมควร จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอก็ตาม พระเจ้าลูกยาเธอ หรือพระเจ้าหลานเธอก็ตาม เมื่อปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าพระองค์ใดมีปรีชาสามารถ ควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็จงยกย่องพระองค์นั้นขึ้น จะได้ทำนุบำรุงแผ่นดินให้พระ ราชวงศานุวงศ์ข้าราชการและอาณาประชาราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขต่อไป อย่าได้หัน เหียนเอาความว่าจะชอบพระราชหฤทัยเป็นประมาณเลย เอาแต่ความดีความเจริญ ของบ้านเมืองเป็นประมาณถิด ความที่กล่าวมาตอนนี้เป็นมูลของเรื่องการปรึกษาถวายราชสมบัติ ที่จะเล่าต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเวลา ๑๕ นาฬิกา พอเวลาเที่ยงคืน ก็มีการประชุม พระราชวงศ์กับเสนาบดีและข้าราชการผู้ ใหญ่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และนิมนต์พระสงฆ์ผู้ใหญ่ ๒๕ รูป มี กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ (คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์) ที่มหาสังฆนายกเป็นประมุข กับทั้งพระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชั้นใหญ่ ๗ พระองค์ ซึ่งทรงผนวช เป็นสามเณรอยู่ทั้งนั้น มานั่งเป็นสักขีพะยานด้วย เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้เป็นประธาน ลุกขึ้นคุกเข่าประสานมือกล่าวในท่ามกลางที่ประชุม เนื้อ ความว่า ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต แผ่นดิน ว่างอยู่ การสิบพระบรมราชสันตติวงศ์ตามราชประเพณีเคยมีมาแต่ก่อนนั้น เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจะเสด็จสวรรคต ได้ทรง มอบราชสมบัติพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กรมพระราชวัง บวรสถานมงคล คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะสวรรคต ไม่ได้ทรงสั่งมอบราช สมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใดด้วยอาการพระโรคตรัสสั่งไม่ได้ เสนาบดีจึง พร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต มีรับสั่งคืนราชสมบัติ แก่เสนาบดีแต่จะปรึกษากัน ให้เจ้านายพระองค์ใดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อไป พระราชวงศ์และเสนาบดีปรึกษากันถวายราชสมบัติแก่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ในเวลาเมื่อพระบาทสมเด็๗พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงประชวรอยู่นั้น ได้มีรับสั่งให้หากรมหลวงวงศาธิราชสนิท กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และเจ้าพระยาภูธราภัยเข้าไปเฝ้า พระราชทาน พระบรมราชานุญาตไว้ว่า ผู้ที่จะดำรงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้น ให้พระราช วงศ์และข้าราชการปรึกษาหารือกัน สุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระเจ้าน้อง ยาเธอหรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์ใด จะทรงสามารถ ปกครองให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ ก็ให้ถวายราชสมบัติแก่พระราชวงศ์พระองค์ นั้น พระองค์มิได้ทรงรังเกียจ บัดนี้ท่านทั้งหลายลบรรดาอยู่ในที่ประชุมนี้ จะเห็นว่าเจ้านายพระองค์ใดสมควรจะทรงปกครองแผ่นดินได้ก็ให้ว่าขึ้นใส ท่ามกลางประชุม อย่าได้มีความหวาดหวั่นเกรงขามเลย ขระนั้นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ ซึ่งมี พระชนมายุยิ่งกว่าพระราชวงนุศาวงศ์ทั้งปวง จึงเสด็จลุกคุกพระชงฆ์ประ สานหัตถ์ตรัสขึ้นในท่ามกลางประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระเดชพระคุณได้ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์และ มุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงมาเป็นอันมาก พระคุณเหลือล้น ไม่มีสิ่งใด จะทดแทนให้ถึงพระคุณได้ ขอให้ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนหนึ่งได้ทดแทนพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกรมหลวงเทเวศร ฯ ตรัสดังนี้แล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึง ถามที่ประชุมเรียงตัว แต่ส่วนพระสงฆ์นั้นถามเฉพาะกรมหมื่นบวรรังษีฯ พระองค์เดียว ถามตั้งแต่กรมหลวงวงศาฯ เป็นต้นมา ทุกคนประสานมือ ยกขึ้นรับว่าสมควรแล้ว เมื่อเห็นชอบพร้อมกันแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงอาราธนาพระสงฆ์สวดชยันโตและถวายอดิเรก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงกล่าวต่อไปในที่ประชุมว่า เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรอยู่นั้น ท่านได้กราบทูลฯ ให้ ทรงทราบว่าปรึกษา กันว่าจะถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งว่าทรงพระวิตกอยู่ ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระชันษายัง ทรงพระเยาว์ จะไม่สามารถว่าราชการแผ่นดินให้ร่มเย็นเป็นสุขได้ดังสมควร ข้อที่ทรงพระปริวิตกเช่นนี้จะคิดอ่านกันอย่างไร กรมหลวงเทเวศรฯ ตรัสว่า ขอให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าราช การแผ่นดินไปกว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ จะทรงผนวชพระ เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ถามความข้อนี้แก่ที่ประชุม ก็ให้อนุมัติเห็นชอบพร้อมกัน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงว่า ส่วนตัวท่านเองนั้นจะรับสนองพระเดชพระคุณ โดยเต็มสติปัญญา แต่ในเรื่องการพระราชพิธีต่างๆ ท่านไม่สู้เข้าใจ ขอ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศน์ ด้วยอีกพระองค์หนึ่ง ที่ประชุมก็อนุมัติเห็นชอบด้วย เมื่อเสด็จการปรึกษาตอนถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงกล่าวขึ้น อีก ว่าแผ่นดินที่ล่วงแล้วแต่ก่อนๆ มา มีพระมหากษัตริย์แล้วก็ต้องมีพระ มหาอุปราชฝ่ายหน้าเป็นเยี่ยงอย่างมาทุกๆแผ่นดิน ครั้งนี้ที่ประชุมจะเห็น สมควรมีพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าด้วยหรือไม่ กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์เสด็จลุกคุกพระชงฆ์ประสานหัตถ์ ตรัสว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระเดชพระคุณมาทั้ง ๒ พระองค์ ควรจะคิดถึงพระ เดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกกรมหมื่นบวร วิชัยชาญพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สนองพระเดชพรุคุณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะได้เป็น ความยินดีของพวกวังหน้าด้วย เจ้าพระยาสุริยวงศ์ถามที่ประชุมเรียงตัวไปดังแต่ก่อนโดยมากรับว่า สมควร หรือให้อนุมัติโดยไม่คัดค้าน แต่กรมขุนวรจักร์ฯ ตรัสขึ้นว่า "ผู้ที่จะ เป็นตำแหน่งพระราชโองการมีอยู่แล้ว ตำแหน่งมหาอุปราชนั้นควรแล้วแต่ พระราชโองการจะทรงตั้งเห็ฯมิใช่กิจของที่ประชุมจะเลือกพระมหาอุปราช" เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซักไซ้กรมขุนวรจักร์ฯ ว่าเหตุใดจึงขัดขวาง กรมขุน วรจักร์ฯ ทรงชี้แจงต่อไปว่าเห็นราชประเพณีเคยมีมาแต่ก่อนเป็นเช่นนั้น ครั้งรัชกาลที่ ๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จปราบ ดาภิเษกก็ทรงตั้งบสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงตั้งสมเด็จพระ อนุชาธิราชเป็นกรมพระราชวังบวร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นกรมพระราชวังบวร มา ในรัชการที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตั้งสมเด็จพระ อนุชาธิราชเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินเคย ทรงตั้งมาทุกรัชกาล จึงเห็นว่ามิใช่หน้าที่ของที่ประชุมจะเลือกพระมหา อุปราช เจ้าพระยาศรีสริยวงศ์ขัดเคือง ว่ากล่าวบริภาษกรมขุนวรจักร์ ฯ ต่างๆ ลงที่สุดทูลถามว่า " ที่ไม่ยอมนั้นอยากจะเป็นเองหรือ " กรม ขุนวรจักร์ฯ จึงตอบว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม" การก็เป็นตกลง เป็น อันที่ประชุมเห็นสมควรที่กรมหมื่นบวรวิชัยชาญจะเป็นกรมพระราชวังบวร สถานมงคล เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงอาราธนาให้พระสงฆ์สวดชยันโต และ อติเรกอีกครั้งหนึ่ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์กล่าวในที่ประชุมต่อไปว่า สมเด็จเจ้าฟ้า มหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ทรงพระสติปัญญารอบรู้ราชการแผ่นดิน ด้วยได้เคยทำราชการในตำแหน่งกรมวังมาช้านานถึง ๒ แผ่นดิน ขอให้สม เด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์สำเร็จราชการพระคลังมหาสมบัติและ พระคลังต่างๆ และสำเร็จราชการในพระราชสำนักและเป็นผู้อุปถัมภ์ใน ส่วนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินด้วย ที่ประชุมก็เห็นชองพร้อมกัน เสร็จการ การประชุมเวลาราว ๑ นาฬิกา รุ่งขึ้นวันศุกร์ที่ ๒ ตุลาคม จะทรงสักการพระบรมศพตามราชประ เพณี เวลานั้นสมเด็จพระ (จุลจอมเกล้า) เจ้าอยู่หัวกำลังทรงอ่อนเพลีย มาก ด้วยประชวรมากว่าเดือน และซ้ำประสบทรงโศกศัลย์สาหัส ไม่สามารถจะทรงพระดำเนินได้ ต้องเสด็จขึ้นพระเก้าอี้หามขึ้นไปจนบน พระที่นั่งภาณุมาศจำรุญที่ทรงพระบรมศพ พอทอดพระเนตรเห็นพระบรม ศพสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้แต่ยกพระหัตถ์ขึ้นถวายบังคมแล้วก็สลบ นิ่งแน่ไป หมอที่ประจำพระองค์แก้ไขฟื้นคืนสมปฤดี แต่พระกำลังยังอ่อน นักไม่สามารถจะเคลื่อนพระองค์จากพระเก้าอี้ได้ จึงตรัสขอให้สมเด็จพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ถวานน้ำสรงทรงเครื่องพระ บรมศพแทนพระองค์ ขณะนั้นเจ้านายผู้ใหญ่เห็นว่าจะให้สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวประทับอยู่ที่นั่นต่อไปพระอาการประชวรจะกำเริบขึ้น จึงสั่งให้เชิญ เสด็จไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งได้จัดห้องในพระฉากข้างด้าน ตะวันออกไว้เป็นที่ประทับระหว่างเวลา กว่าจะได้ทำการพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ทางโนสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกำราบ ปรปักษ์สรงน้ำทรงเครื่องพระบรมศพ แล้วเชิญพระโกศไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในเวลาพระบรมศพประดิษฐานอยู่ ณ พระมหาปราสาทแต่ปีมะโรง จนถึงปีมะเส็งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรง บำเพ็ยพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณที่หน้าพระบรมศพ แล้วเลยเสด็จ ออกขุนนางที่พระมหาปราสาทเข้าครั้ง ๑ ค่ำครั้ง ๑ ทุกวัน เจ้านายก็ต้อง ไปเฝ้าที่พระมหาปราสาท เจ้านายที่ยังเป็นเด็กชั้นเล็กมักไปทางข้างในกับ เจ้าจอมมารดา ชั้นกลางมักชอบตามเสด็จทางข้างหน้า และมีหน้าที่ทอด ผ้าสดับปกรณ์รายร้อยกับถายเทียนพระสงฆ์เมื่อเสร็จพิธีเวลาค่ำเสมอ ใน ตอนแรกเสวยราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่มฟื้นจาก การประชวร ยังปลกเปลี้ยทรงพระดำเนินไม่ได้ไกล ต้องทรงพระราชยาน และให้ทอดสะพานบนขั้นบันไดหามพระราชยานขึ้นไป จนบนพระมหา ปราสาทอยู่หลายวัน จึงทรงพระราชดำเนินได้สะดวก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเล่าถึงเรื่องเมื่อ ครั้งนั้นเรื่อง ๑ ซึ่งควรรักษาไว้มิให้ศูนย์เสีย เล่าที่ตรงนี้ก็เหมาะดี คือวัน สรงน้ำพระบรมศพ เมื่อพระองค์ทรงพระเก้าอี้ผ่านไปในห้องพระฉนวน พระอภิเนาวนิเวศน์ อันภรรยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยคอยเฝ้าอยู่ เวลา นั้นแม้ยังทรงปลกเปลี้ยมากแต่ได้พระสติแล้ว ได้ยินท่านผู้หญิงพันภรรยา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พูดขึ้นเมื่อเสด็จผ่านพอพ้นไปว่า "พ่อคุณ นี่พ่อจะได้ อยู่สักกี่วัน " ตรัสเล่าเรื่องนี้เมื่อท่านผู้หญิงพันถึงอนิจจกรรมในเวลาสิ้นบุญ วาสนาแล้วช้านาน ด้วยทรงปรารภจะเสด็จไปเผาศพท่านผู้หญิงพันเหมือน อย่างทูลกระหม่อมเสด็จไปเผาศพหม่อมเจ้าทินกร (เสนีวงศ์) เรื่องของ หม่อมเจ้าทินกรนั้นเกิดเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ เพราะคนมักอยากรู้กัน ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือไม่ หม่อมเจ้าทินกรเป็นผู้รู้ตำราหมอดู พยากรณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวคงไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยพระชันษาจะสั้น ความ ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงนำพา ครั้นเสด็จ เสวยราชก็ทรงชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าทินกรตลอดมาจนสิ้นชีพิตักษัย ก็การ ปลงศพหม่อมเจ้านั้น แต่ก่อนมาไม่มีประเพณีที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไป พระราชทานเพลิงศพ เป็นแต่ทรงจุดเทียนให้ข้าราชการเอาเพลิงกับเครื่อง ขมาศพไปพระราชทาน วันจะปลงศพเจ้าทินกรนั้น เจ้าพนักงานเอาศิลา หน้าเพลิงกับพานเครื่องขมาศพเข้าไปตั้งถวาย สำหรับทรงสับศิลาหน้า เพลิงและทรงจบเครื่องขมาตามธรรมเนียม พอพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นกระดาษบอกนามศพเจ้าทินกรที่พานเครื่อง ขมา ก็ตรัสสั่งให้เรียกเรือพระที่นั่งในทันที เสด็จข้ามไปยังเมรุที่วัดอมรินทร์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วเมื่อจะพระราชทานเพลิงศพเจ้าทินกรด้วย พระหัตถ์ ตรัสว่า "เจ้าทินกร แกตายก่อนข้านะ" ดังนี้ เมื่อพระ ราชทานเพลิงแล้ว ตรัสไต่ถามถึงครอบครัวของเจ้าทินกร ได้ความว่าลูก หลานไม่มีที่พึ่งอยู่หลายคน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลูกเข้ารับ ราชการ ส่วนหลานชายที่เป็นเด็กอยู่สองคน โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุบำรุง คนหนึ่งชื่อ ปลื้ม ต่อมาได้ เป็นนายร้อยเอก หลวงวิชิตชาญศึก แต่ถึงแก่กรรมเสียแล้ว อีกคน หนึ่งชื่อ แปลก ได้เป็นที่พระยาสากลกิจประมวลในกรมแผนที่ ยังมีชีวิต อยู่ในเวลาเมื่อฉันแต่งหนังสือนี้ แต่การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงพันนั้น หาสำเร็จ พระราชประสงค์ไม่ ด้วยปลงพระศพในเวลาประพาศอยู่ในยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จผ่านพิภพแล้ว ประทับแรมอยู่ในพระฉากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยกว่าเดือนจึงถึงฤกษ์ทำ พิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระราชมณเฑียร เมื่อเดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน) รายการพระราชพิธีเป็นอย่างไร ฉัน จำได้เป็นอย่างรางๆ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเล่าในหนังสือนี้ เพราะทำตาม แบบแผนซึ่งมีตำราอยู่ เมื่อทำพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ท่านผู้ใหญ่ในราช การบ้านเมืองก็ปรึกษากันตั้งระเบียบวิธีว่าราชการแผ่นดิน เพราะการที่มีผู้ อื่นว่าราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินเมื่อยังทรงพระเยาว์ไม่มีแบบแผนมาแต่ ก่อน จะต้องคิดขึ้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะปรึกษาใครบ้าง นอกจากสมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนัก หาปรากฎไม่ แต่ระเบียบที่ตั้งครั้งนั้น เมื่อมาพิจารณาดูภายหลัง เห็นว่า น่าสรรเสริญความคิดยิ่งนัก ด้วยถือเอาความข้อสำคัญตั้งเป็นหลัก ๒ อย่าง คือ ที่ให้การบังคับบัญชาราชการบ้านเมืองเป็นไปด้วย ปรึกษาหารือพร้อม เพรียงกัน ไม่เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง กับ ฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เองอย่าง ๑ เลือกเอาประเพณีเก่า ซึ่งคนทั้งหลายรู้กันอยู่แล้วมาปรับใช้เป็นรายการใน ระเบียบให้สมสมัย เป็นต้นว่าในส่วนการวิธีบังคับบัญชาราชการแผ่นดินนั้น ให้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ซึ่งแต่โบราณเรียกว่า มุขมนตรี ประชุมกันณหอวรสภาภิรมย์ ในเวลาเช้าก่อนเสด็จออก ขุนนางทุกวัน เหมือนอย่างแต่โบราณเคยประชุมกัน ณ ศาลาลูกขุนใน แต่ ในขั้นนี้ให้เจ้านายต่างกรมผู้ใหญ่มาประทับในที่ประชุมด้วย เจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์เข้ามานั่งเป็นประธานสั่งราชการในที่ประชุมนั้น ส่วนที่เกี่ยวกับ พระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เอาแบบพระราชานุกิจครั้งรัชกาลที่ ๓ กับ รัชกาลที่ ๔ แก้ไขประสมกันให้ระเบียบ ให้ทรงประพฤติเหมือนอย่าง พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงว่าราชการเองหมดทุกอย่าง เว้นแต่ที่จะดำริรัฏฐาภิ ปาลโนบายและบังคับราชการแผ่นดิน ๒ อย่างนี้ เป็นหน้าที่ของผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน แต่คิดเห็นอย่างไรและได้สั่งไปอย่างไร กราบทูลชี้แจงให้ ทรงทราบเสมอเป็นนิจ ระเบียบพระราชานุกิจที่จัดเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕ เป็น ดังกล่าวต่อไปนี้ เวลาเช้า ๙ นาฬิกาเสด็จลงทรงบาตร พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ถ้าเป็น วันนักขัตฤกษ์ เช่นเข้าวัสสาเป็นต้น ๑๕๐ รูป ทรงบาตแล้วเสด็จขึ้นหอ สุราลัยพิมาน ทรงสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จลงในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ ให้เจ้าพระนายพระองค์หญิงเฝ้า แล้วเสด็จไปถวายพระบังคมพระ บรมอัฏฐิสมเด็จพระบุรพการี ณ หอพระธาตุมณเฑียร เวลา ๑๐ นาฬิกา เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถ้าเป็น วันพระมีการเลี้ยงพระในท้องพระโรงก่อน แล้วเสด็จประทับในห้องพระ ฉากทางด้านตะวันออก กรมหลวงวงศษธิราชสนิทหรือเจ้าฟ้าฯ กรมขุน บำราบปรปักษ์เข้าเฝ้า กราบทูลอธิบายเรื่องพงศาวดารหรือโบราณคดีและ ประเพณีต่างๆ ซึ่งทรงศึกษา เวลา ๑๑ นาฬิกา เสด็จออกประทับพระราชอาสน์นอกพระฉาก พนักงานคลังกราบทูลรายจ่ายเงินพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันก่อน ให้ทรง ทราบ แล้วเสด็จขึ้นพระแท่นออกขุนนาง เจ้านายฝ่ายหน้าตั้งแต่พระ มหาอุปราชเป็นต้น กับข้าราชผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งฝ่ายทหารพลเรือนเข้าเฝ้า พร้อมกัน ราชการที่กราบทูลเมื่อเสด็จออกเวลาเช้าเป็นเรื่องฝ่ายตุลาการ เป็นพื้น เช่นรายงานชำระฎีกาเป็นต้น เวลา ๑๒ นาฬิกา เสด็จออกจากพระแท่นออกขุนนางไปประทับใน พระฉากอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งคอยอยู่ ณ หอวรสภาภิรมย์เข้าเฝ้า (เว้นบ้างไม่เสมอทุกวัน ) กราบทูล ราชการแผ่นดินที่เกิดขึ้น และที่ไต้บังคับบัญชาไปอย่างไรให้ทรงทราบ เวลา ๑๓ นาฬิกา เสด็จขึ้นเสวยกลางวันข้างในแล้วว่างพระราช กิจไปจนเวลา ๑๖ นาฬิกา เวลา ๑๖ นาฬิกา เสด็จออกข้างหน้าทอดพระเนตรพวกช่างทำ ของต่างๆ (เป็นการทรงศึกษาศิลปศาสตร์) เวลาเย็นเสด็จออกรับฎีกา ราษฎร หรือประพาสนอกพระราชวัง จนจวนพลบค่ำ เวลา ๑๗ นาฬิกา เสวยแล้วเสด็จประทับที่ท้องพระโรงใน ให้ท้าว นางผู้ใหญ่เฝ้ากราบทูลกิจการฝ่ายในพระราชนิเวศน์ บางวันก็เสด็จไปเฝ้า สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนฯ ที่พระตำหนักเดิม และเสวย ณ ที่นั้น เวลา ๒๐ นาฬิกา เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ประทับ ราชอาสน์ทรงฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑ แล้วพนักงานคลังกราบทูลราย งานจ่ายสิ่งของต่างๆ และมหาดเล็กกราบทูลรายงานตรวจการก่อสร้าง กับทั้งรายงานพระอาการประชวรเจ้านายหรืออาการเจ็บป่วยของคนสำคัญ ซึ่งใคร่จะทรงทราบ เมื่อทรงฟังรายงานเสร็จแล้วขึ้นพระแท่นออกขุนนาง อีกครั้งหนึ่ง แต่เสด็จออกตอนค่ำนี้ พระมหาอุปราชกับทั้งเจ้านายและ ข้าราชการผู้ใหญ่ที่สูงอายุไม่เข้ามาเฝ้า มีแต่ปลัดทูลฉลองอ่านใบบอก หัวเมืองกราบบังคมทูลเหตุการณ์ต่างๆ จนเวลา ๒๒ นาฬิกา เสด็จขึ้น ข้างใน เป็นสิ้นพระรานุกจประจำวัน ทีนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยเริ่มรัชกาลที่ ๕ ธรรมดาเวลาเปลี่ยนรัชกาลมักเกิดความหวั่นในเหล่าประชาชน ด้วย เกรงว่าจะเกิดการแย่งชิงราชสมบัติหรือเกิดโจรผู้ร้ายกำเริบ เป็นนิสัยติด ให้หวาดหวั่นด้วย เบื้องต้นแต่พระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์ ต้องมีผู้อื่นว่า ราชการแผ่นดินแทนพระองค์ คนทั้งหลายเกรงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะชิง ราชสมบัติเหมือนเช่นพระเจ้าปราสาททองในเรือ่งพงศาวดาร ดังกล่าวมา แล้ว นอกจากนั้นยังมีเหตุร้ายเกิดเกี่ยวเนื่องมาแต่เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังประชวรถึง ๔ เรื่อง คือ เรื่องกงสุลอังกฤษ ตั้งวิวาทหาว่รัฐบาลไทยไม่ประพฤติตามหนังสือสัญญา ถึงลดธง (ตัด ทางพระราชไมตรี) และเรียกเรือรบเรื่อง ๑ ชาวตลาดตื่นด้วยเรื่องเกิด อัฐ (สำหรับซื้อของ) ปลอม แพร่หลายกับถึงกับจะปิดตลาดไม่ขายของเรื่อง ๑ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมเรื่อง ๑ และจีนตั้งเฮีย (อั้งยี่) จะกำเริบเรื่อง ๑ จะเล่า เรื่องเหล่านี้โดยสังเขป พอให้เห็นวิธีที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ระงับด้วย อุบายอย่างใด เรื่องกงสุลอังกฤษลดธงนั้น ตัวกงสุลเยเนอราลอังกฤษชื่อน๊อกส์ เาลานั้นไปยุโรปกลับมายังไม่ถึงกรุงเทพฯ ผู้รักษาการแทนชื่อ อาลบาส เตอรที่เป็นผู้ตั้งวิวาท เกิดเหตุด้วยพวกเจ้าภาษีฝิ่น ซึ่งขึ้นอยู่ในเจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ ไปจับฝิ่นเถื่อนที่โรงก๊วนพวกงิ้ว อยู่ริมวัดสัมพันธวงศ์ เกิดต่อสู้ กันไฟไหม้โรงก๊วน แล้วลุกลามไปไหม้ตึกที่พวกแขกในบังคับอังกฤษตั้ง ร้านขายของ ทรัพย์สินเสียไปเป็นอันมาก กงสุลอังกฤษหาว่าความเสีย หายเกิดเพราะพวกเจ้าภาษีเผาโรงก๊วน จะให้ลงโทษและเรียกค่าเสียหาย ทดแทนให้พวกแขก ฝ่ายเจ้าภาษีแก้ว่าไฟไหม้เพราะพวกงิ้วจุดเผาโรง ก๊วนเมื่อจะหนีออกทางหลังโรง เจ้าภาษีหาได้เผาโรงก๊วนไม่ กงสุลไม่เชื่อ จะให้รัฐบาลตั้งข้าหลวงไต่สวนด้วยกันกับกงสุลตามข้อสัญญา ว่าด้วยคน ในบังคับ ๒ ฝ่ายวิวาทกัน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไม่ยอม ว่ากรณ๊ไม่ตรงกับ ข้อสัญญาเพราะเจ้าภาษีฝิ่นมิได้วิวาทกับแขกในบังคับอังกฤษ รับแต่จะให้ เงินทดแทนพวกแขกเพียงเท่าทุกทรัพย์ที่ไฟไหม้ กงสุลไม่ยอม จึงเกิดวิวาท กัน เจ้าพระยาศณีสุริยวงศ์ (รู้ว่านายน๊อกส์กับนายอาสบาสเตอรไม่ชอบกันใน ส่วนตัว) โต้แย้งถ่วงเวลาไว้จนนายน๊อกส์กลับมาถึงแล้วพูดจากันฉันมิตร ให้เห็นว่าที่เอากรณีเล็กน้อยเพียงเท่านั้นเป็นเหตุ ให้เกิดวิวาทเฉพาะใน เวลาบ้านเมืองกำลังฉุกเฉินด้วยเปลี่ยนรัชกาลจะเสียประโยชน์ของรัฐบาล ทั้ง ๒ ฝ่าย นายน๊อกส์เห็นชอบด้วยยอมถอนคดีนั้น ส่วนเรื่องลดธง นาย อาลบาสเตอรชี้แจงว่าที่จริงนั้นเป็นด้วยเชือกชักธงขาด จึงมิได้ชักธงใน วันที่เตรียมการต่อเชือก หาได้ลดธงในทางการเมืองไม่ แต่เมื่อแพ้เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ นายอาลบาสเตอรก็ลาออกจากตำแหน่ง กลับไปยุโรป ฝ่ายแม่ทัพเรืออังกฤษ ณ เมืองฮ่องกง ได้รับหนังสือเรียกเรือรบ ยังไม่ทัน ทำอย่างไร ได้ข่าวว่าเปลี่ยนรัชกาลใหม่ในประเทศสยาม นายพลเรือ เกปเปลจึงมาเอง พอทันช่วยงานบรมราชาภิเษก เรื่องอัฐปลอมนั้น เดิมในประเทศนี้ใช้เงินตราพดด้วย ๓ ขนาด คือ บาท สลึง (๑/๔ ของบาท) และเฟื้อง (๑/๘ ของบาท) ราคาต่ำกว่นั้นลงมา ใช้เบี้ย (หอยเก็บมาจากทะเลตั้งพิกัดราคา ๑/๖๔๐๐ ของบาท) ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อทำหนังสือสัญญาค้าขายกับต่างประเทศแล้ว มีเรือกำปั่นเข้ามาซื้อ สินค้าในกรุงเทพฯ มากขึ้น พวกชาวต่างประเทศเอาเงินเหรียญเม๊คสิโค มาซื้อสินค้า ราษฎรไม่พอใจ พวกพ่อค้าจึงต้องเอาเงินเหรียญเม๊คซิโค มาขอแลกเงินบาทที่พระคลังมหาสมบัติไปซื้อสินค้า จำนวนเงินที่มาขอ แลกมากขึ้นทุกที จนโรงทำเงินที่พระคลังมหาสมบัติทำให้ไม่ทัน เพราะ เงินพดด้วย ทำด้วยมือ ทำทั้งกลางวันกลางคืนก็ได้เพียงวันละ ๒,๔๐๐ บาทเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุใก้เกิดฝืดเคืองในการค้าขายด้วย พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้สั่งเครื่องจักรมาตั้งโรงกระษาปณ์ เมื่อมีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ ทำเงินตราเปลี่ยนรูปเป็นเงิน (เหรียญ) แบน คง พิกัดบาทสลึงและเฟื้องตามราคาเดิม ต่ำกว่านั้นลงมาให้เลิกการใช้เบี้ย เปลี่ยนเป็นเหรียญทองแดง ๒ อย่าง เรียกว่า ซีก (หมายความว่าครึ่ง เงินเฟื้อง ราคา ๑/๑๖ ของบาท) อย่าง ๑ เสี้ยว (หมายความว่าส่วนสี่ ของเงินเฟื้อง ราคา ๑/๓๒ ของบาท) อย่าง ๑ ถัดนั้นลงมาให้ทำเหรียญดีบุก ขึ้น ๒ อย่าง เรียกว่า อัฐ (หมายความว่าส่วนแปดของเงินเฟื้อง ราคา ๑/๖๔ ของบาท) อย่าง ๑ เรียกว่า โสฬศ (หมายความว่าส่วนสิบหกของ เงินเฟื้อง ราคา ๑/๑๒๘ ของบาท) อย่าง ๑ แต่ดีบุกเป็นของอ่อนหล่อง่าย และหาได้ง่ายในประเทศนี้ จึงมีผู้ทำอัฐและโสฬสปลอมขึ้นในกรุงเทพฯ ครั้นตรวจตราจับกุมกวดขันก็ย้ายลงไปทำตามหัวเมืองมลายู แล้วลอบ ส่งเข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพฯ จนอัฐปลอมมีแพร่หลายในท้องตลาด ราษฎรไม่รู้ว่าไหนเป็นของจริงไหนเป็นของปลอม พากันรังเกียจไม่อยาก รับอัฐและโสฬศ แต่จะไม่รับก็เกรงรัฐบาลจะเอาผิด จึงตื่นกันถึงกับคิด จะปิดร้านไม่ขายของ พ้องในเวลาเมื่อเปลี่ยนรัฃกาล เรื่องนี้จะได้ปรึกษา หารือกันในรัฐบาลประการใดไม่ทราบ แต่ตกลงจะแก้ไขด้วยลดราคาทั้ง เหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกลงทันที พอเปลี่ยนรัชกาลได้ ๑๓ วัน ก็ ออกประกาศอนุญาตให้ราษฎรเอาเหรียญทองแดงและดีบุกของรัฐบาลมา แลกเอางเน จะยอมให้เต็มราคาเดิมเพียง ๑๕ วัน ต่อไปนั้นให้ลดพิกัด ราคาเหรียญทองแดงซีกลงเป็นอันละอัฐ ๑ (๑/๖๔ ของบาท) ลดราคาเหรียญ ทองแดงเสี้ยวลงเป็นอันละโสฬศ ลดราคาเหรียญอัฐดีบุกเป็นอันละ ๑๐ เบี้ย (๑/๖๔๐ ของบาท) และลดราคาเหรียญโสฬศลงไปเป็นอันละ ๕ เบี้ย แล้วทำเหรียญดีบุกตรารัชกาลที่ ๕ ขนาดเท่าเหรียญอัฐของเดิม ความ เต้นกันด้วยเรื่องอัฐปลอมก็สงบไป แต่ความลำบากเรื่องเครื่องแลกในการ ซื้อขายยังมามีขึ้นอีก ด้วยต่อมาไม่ช้านักราคาเนื้อทืองแดงและเนื้อดีบุกสูงขึ้น กว่าราคาที่ทำหนดให้ใช้เป็นเครื่องแลก ก็มีผู้รวบรวมเหรียญทองแดงและ ดีบุกส่งไปหลอมขายในประเทศอื่นเสียโดยมาก จนเกิดอัตคัดเครื่องแลก ไม่พอใช้ในการซื้อขายในท้องตลาด ราษฎรจึงหันไปใช้ปี้ถ้วยที่นายอากร บ่อนเบี้ยสั่งมาจากเมืองจีน สำหรับใช้เป็นคะแนนราคาต่างๆ ในการ เล่นเบี้ย เอาเป็นเครื่องแลกในการซื้อขาย พวกจีนได้กำไรก็สั่งปี้เข้ามา จำหน่ายให้ราษฎรใช้กันแพร่หลาย จนเมื่อรัฐบาลสั่งให้ทำเหรียญทองแด ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬศ มาจากยุโรป และประกาศให้ใช้ตั้งแต่ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ เรื่องเครื่องแลกในการซื้อขายจึงเรียบร้อยแต่นั้นมา เรื่องเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมนั้น ดูเหมือนจะเป็นนิสัยของคนพาลในย ประเทศนี้แต่ไรมา ถ้าเข้าใจว่าพนักงานปกครองอ่อนเมื่อใดก็กำเริบ พอ เปลี่ยนรัชกาลใหม่ไม่ช้า ก็มีโจร ๕ คนบังอาจขึ้นปล้นกุฏิพระในวัดพระ เชตุพนฯ ฆ่าพระธรรมเจดีย์ (อุ่น) ตาย ต่อมามีผู้ร้ายฆ่ากัปตันสมิทนำ รองอังกฤษตายในกรุงเทพฯ อีกเรื่อง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้สืบจับ โดยกวดขัน จับได้ตัวมาประหารชีวิตภายใน ๑๕ วันทั้ง ๒ ราย โจรผู้ร้าย ที่ในกรุงเทพฯ ก็สงบลง แต่ไปเกิดชุกชุมทางหัวเมืองมณฑล ด้วยเป็นโจร มีพวกมาก ทั้งที่ช่วยปล้นสะดมและช่วยแก้ไขในโรงศาล จนราษฎรพา กันเกรงกลัว ไม่กล้าร้องฟ้อง หรือแม่แต่จะร้บเบิกความเป็นพยานที่ในศาล พวกผู้ร้ายก็กำเริบได้ใจเที่ยวปล้นสะดมหนักขึ้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์รู้ เค้า ไม่ไว้ใจพวกเจ้าเมืองกรมการ เลือกหาข้าราชการที่ท่านไว้วางให้เป็น ข้าหลวงแยกย้ายกันไปเที่ยวสืบจับโดยลับหลายทาง เล่ากันว่าข้าหลวง คนหนึ่งไปเห็นเรือแหวดเก๋งแจวสวนทางลงมาลำหนึ่ง สำคัญว่าเป็นเรือ เพื่อนข้าหลวงที่ขึ้นไปสืบจับผู้ร้ายด้วยกัน เบนเรือเข้าไปหมายจะไต่ถาม ข้อราชการ เมื่อเข้าไปใกล้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเปิดม่านเก๋งเรือแหวดลำนั้น กวักมือเรียกและชี้มือไปในเก๋ง ก็รีบขึ้นเรือแหวดจับได้ตัว อ้ายอ่วม (ชาว บ้าน) อกโรย หัวหน้าผู้ร้ายตัวสำคัญคนหนึ่งซึ่งกำลังนอนหลับอยู่ ด้วยผู้ หญิงคนนั้นถูกอ้ายอ่วมฉุดเอามาข่มขืนใจให้เป็นเมีย ได้ช่องจึงบอกให้ ข้าหลวงจับ มีข้าหลวงอีกสายหนึ่งจับได้อายโพหัวหน้าสำคัญอีกคนหนึ่ง ที่ตำบลบ้านสาย แต่นั้นพวกราษฎรเชื่ออำนาจรัฐบาลก็กลับเป็นใจช่วย สืบจับโจรกับพรรคพวกได้อีกเป็นอันมาก พอจับหัวหน้าโจรได้ เจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ก็ขึ้นไปยังพระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วยผู้พิพากษาตุลาการ ไป ตั้งศาลรับสั่งชำระพิพากษาในทันที พวกหัวหน้าโจรที่ต้องโทษถึงประหาร ชีวิตนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สั่งให้ประหารชีวิตด้วยเอาขวานตัดหัวให้ ขาดเป็น ๒ ท่อนที่หน้าพะเนียดคล้องช้างแห่ง ๑ ให้ผ่าอกที่วัดชีตาเห็น (บ้านผักไห่) อีกแห่ง ๑ ป่าวร้องให้คนมาดูโดยหวังจะให้คนพาลสยดสยอง เรื่องนี้แม้ใครจะติเตียนว่าลงอาชญาอย่างทารุณ ก็ต้องยอมว่าได้ผลตาม ท่านหวัง ด้วยโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองเงียบสงัดลงในทันใด เรื่องพวกจีนตั้งเฮีย (หรือที่เรียกกันในสมัยนี้ว่า อั้งยี่) นั้น กลับ มีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ด้วยการค้าขายเจริญ มีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าเข้าออก มากขึ้น ทั้งมีโรงจักรสำหรับสีข้าวและเลื่อยไม้ตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ หลาย แห่ง ต้องใช้คนเป็นแรงงานมากขึ้น ไทยไม่ชอบรับจ้างเป็นกรรมกร พวก พ่อค้าต้องเที่ยวหาจ้างจีน จึงมีจีนชั้นคฤหัสบดีที่มีทุนรอนคิดอ่านเรียกจีน เลวจากเมืองจีนมารับจ้างเป็นแรงงานอยู่ในความควบคุมของตนเกิดขึ้น หลายราย พวกเถ้าเก๋ ที่หากินในการเลี้ยง กุลี นั้น โดยปกติทำการค้า ขายหรือเข้ารับทำภาษีอากรด้วย มักฝากตัวอยู่ในเจ้านายและข้าราชการ ผู้ใหญ่โดยมาก แต่เมื่อจีนกุลีมีจำนวนมากขึ้นจนต้องแย่งงานกันทำ และ เกิดเบียดเบียนกันด้วยเหตุนั้น จึงเอาวิธีสมาคมลับในเมืองจีนเรียกว่า อั้งยี่ มาตั้ง พวกร่วมน้ำสบถสำหรับช่วยกันและกันมีขึ้นเป็นหลายคณะ ฝ่าย พวกเถ้าเก๋เกรงจะบังคับบัญชาพวกกุลีของตนไม่ได้ดังแต่ก่อน ที่เข้ารับ เป็นตัวหัวหน้าอั้งยี่เสียเองก็มี ที่อุดหนุนพวกอั้งยี่เอาเป็นกำลังแย่งค้าขาย ก็มี พวกอั้งยี่จึงกำเริบขึ้นถึงปล้นราษฎรทางเมืองนครปฐม แม้จับตัวได้ ก็หวาดหวั่นกันว่า พวกจีนอั้งยี่จะกำเริบขึ้นในกรุงเทพฯ ในเวลาเปลี่ยน รัชกาลใหม่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้สืบจับตัวหัวหน้าได้พวกเถ้าเก๋ที่เป็น คนฝากตัวอยู่กับท่านเป็นหัวหน้าอั้งยี่หลายคน ต่างสารภาพยอมรับผิดขอ พระราชทานโทษ จึงพิพากษาเพียงให้กระทำสัตย์สาบานและให้สัญญาว่า จะไม่ประพฤติร้ายเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินแล้วปล่อยตัวไป แต่เจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ยังไม่วางใจ คิดอ่นให้มีการฝึกซ็อมทหารบกที่ท้องสนามชัย เชิญสมเด็พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทอดพระเนตร ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เนืองๆ บางวันให้ยิงปืนติดดินทั้งปืนใหญ่ปืนน้อยทำนองประลองยุทธ บางวันก็ผูกหุ่นเป็นตัวข้าศึก แล้วเอาช้างรบเข้าไล่แทงเป็นการเอิกเกริก ขู่ให้พวกจีนเกรงกลัว แต่นั้นพวกอั้งยี่ก็สงบมาช้านาน พิเคราะห์รัฏฐาภิปาลโนบายในเวลาเมื่อมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ดูพยายาม ดำเนินตาม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็นหลัก แต่ก็มีความลำบากเป็นของสำคัญอย่าง ๑ ด้วยเมื่อ รัชกาลที่ ๔ พระพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรง พระราชดำริ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้กระทำการให้สำเร็จดังพระราชดำริ เปรียบ เหมือนแม่ทัพกับเสนาธิการ ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๔ หน้าที่ทั้ง ๒ อย่างนั้นมา ตกอยู่กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แต่คนเดียว ท่านเห็นจะรู้สึกลำบากใจใน ข้อนี้มาแต่แรก จึงได้ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์เป็นผู้ สำเร็จราชการในราชสำนัก เพื่อจะปลดเปลื้องภาระให้พ้นตัวท่านไปส่วน หนึ่ง แต่การที่เกี่ยวข้องกับฝรั่ง ตัวท่านเองไม่มีความรู้เหมือนพระบาทสม เด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะหาผู้ใดเป็นที่ปรึกษาหารือก็ไม่มีตัว ท่าน จึงแก้ไขหาความรู้ด้วยอุบายคบหาสมาคมกับฝรั่งให้สนิทสนมยิ่งขึ้นกว่าแต่ ก่อน ก็ฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ เวลานั้น ในเหล่าที่เข้ารับราชการอยู่กับ ไทยมีแต่ชั้นที่เป็นครูสอนหนังสือหรือหัดทหาร และเป็นคนเดินเรือหรือเป็น ล่าม จะหาผู้ที่ชำนาญการเมืองหามีไม่ ฝรั่งพวกอื่นก็มีแต่คนค้าขายกับ มิชชันนารีที่มาสอนศาสนา แม้กงสุลของรัฐบาลต่างประเทศก็เป็นพ่อค้า แทบทั้งนั้น มีกงสุลเป็นข้าราชการแต่อังกฤษฝรั่งเศลและอเมริกา แต่ใน เวลาเมื่อเปลี่ยนรัชกาล ตังกงสุลฝรั่งเศลว่างอยู่ กงสุลอเมริกันเป็นนาย พล (เมื่อครั้งอเมริกันรบกันเอง) ชื่อปาตริช ก็มิใคร่ขวนขวายในการ เมืองด้วยธุระของอเมริกันมีน้อย มีคนสำคัญแต่นายน๊อกส์กงสุลเยเนอราล อังกฤษคนเดียว ด้วยเป็นผู้แทนมหาประเทศที่ในอาเซียยิ่งกว่าชาติอื่น อย่าง ๑ เป็นหัวหน้าผู้แทนต่างประเทศที่ในกรุงเทพฯ ด้วยมียศสูงกว่า เพื่อนอย่าง ๑ ประกอบกับวุฒิสนส่วนตัวที่เป็นผู้ดีได้ศึกษาวิชาชั้นสูงและ มาเรียนรู้ภาษาไทย ทั้งได้เคยสมาคมกับไทยที่เป็นคนชั้นสูงมาแต่ก่อน เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์จึงทำทางไมตรีให้มีกับนายน๊อกส์สนิทสนม คล้ายกับ เป็นที่ปรึกษาของท่านในสมัยนั้น ดูเหมือนจะได้ชวยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ มาตลอดเวลาที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่เมื่อบรมราชาภิเษกคราว หลังแล้ว นายน๊อกส์นำผู้แทนต่างประเทศให้ถือว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง พ้นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เล่ากันว่านายน๊อกส์เริ่มใช้คำเรียกท่านว่า (Ex-Regent) ผู้สำเร็จราชการ แผ่นดินที่ออกจากตำแหน่งแล้วก่อนผู้อื่น จึงห่างกันแต่นั้นมา เรื่องเริ่มรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวมาในตอนก่อน ว่าเมื่อทูลกระหม่อมเสด็จสวรรคตแล้วใน ปีแรกฉันจำอะไรมิใคร่ได้ เมื่อจะแต่งหนังสือนี้จึงเอาจดหมายเหตุเก่ามา ตรวจดู เห็นข้อราชการในตอนปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒ ซึ่งฉันนึกว่าจำได้ เป็นอย่างเงาๆ แต่มาเข้าใจชัดเจนต่อเมื่อเป็นผู้ใหญ่มีอยู่หลายเรื่อง จะ นำมาเล่าเริ่มต้นในตอนนี้ พิเคราะห์ดูเหมือนในระห่วางเวลาที่ยังไม่ได้ถวายพระเพลิงพระบรม ศพ หรือถ้าว่าอย่างพูดกันในปัจจุบันนี้ คือ ในเวลายังไว้ทุกข์อยู่นั้น รัฐบาล มุ่งหมายเพียงแต่จะระงับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นดังพรรณนามาในตอนก่อน กับ จะรักษาการต่างๆ ให้เรียบร้อยอยู่อย่างเดิมเป็นสำคัญ ยังไม่คิดจัดอะไร ใหม่นอกจากที่จำเป็น หรือทำแต่ตามประเพณีบ้านเมืองที่มีแบบแผนมา แต่ก่อน เพราะฉะนั้นการที่จัดขึ้นใหม่ในปีมะเส็ง จึงปรากฎว่าจัดบำรุง ทหารบกทหารเรือก่อนอย่างอื่น ด้วยมีความจำเป็นจะต้องเตรียมกำลัง สำหรับปราบปรามพวกจีนตั้วเฮีย (หรืออั้งยี่) ทำกำเริบขึ้นดังกล่าวมาใน ตอนก่อน ก็ในหนังสือที่แต่งนี้จะมีที่กล่าวถึงทหารต่อไปข้างหน้าอีกหลาย แห่ง ฉันได้เคยตรวจค้นเรื่องตำนานทหารไทยอยู่บ้าง เห็นว่าน่าจะ เล่าต้นเรื่องของทหารไทยที่หัดตามแบบฝรั่ง หรือที่เรียกกันว่า ทหารอย่าง ยุโรป แทรกลงตรงนี้เสียก่อน เมื่ออ่านถึงเรื่องทหารต่อไปข้างหน้าจะได้ เข้าใจง่ายขึ้น ทหารไทยที่หัดตามแบบฝรั่ง ปรากฎในเรื่องพงศาวดารว่า แรกมี ขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้นายทหารฝรั่งเศส คนหนึ่งชื่อว่า เชวาเลีย เดอ ฟอร์แบง เป็นครูผู้ฝึกหัด แต่พอสิ้นรัชกาลนั้น แล้วก็เลิกมิได้มีต่อมาอีก จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อรัฐบาลอังกฤษจัดขึ้นเรียกว่า ซีปอย (Sepoy) ประจำเรือรบมาด้วย เป็น เหตุให้ไทยได้เห็นทหารหัดอย่างฝรั่งเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ นี้ เมื่อทูต อังกฤษกลับไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดฯ ให้ จัดทหารอย่างฝรั่งขึ้นพวก ๑ ไทยเรียกกันว่า ทหารซีป่าย (มีรูปภาพปรากฎ อยู่ในหนังสือที่ฝรั่งแต่งเรื่องหนึ่ง ) แต่จะมีจำนวนคนเท่าใด ให้มีหน้าที่ อย่างไร และใครเป็นครูฝึกหัด สืบไม่ได้ความ ฉันสันนิษฐานตามเค้า เงื่อนเห็นว่า จะเป็นพวกกรมรักษาพระองค์และมีหน้าที่รักษาพระราชฐาน ชื่อทหารซีป่ายกับแบบเครื่องแต่งตัวจึงยังมีสืบต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อแต่ง ป้อมปากน้ำเตรียมต่อสู้ข้าศึก ปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรงพระยศ เป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงหัดพวกญวณเข้ารีตที่อพยพเข้ามา สามิภักดิ์เป็นทหารปืนใหญ่สำหรับประจำป้อม และมีตำราปืนใหญ่ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แปลจากภาษาอังกฤษ ปรากฎอยู่ แต่จะฝึกหัดจัดระเบียบการบังคับบัญชาทหารปืนใหญ่พวกนั้น อย่างไร สืบไม่ได้ความ ถึงรัชกาลที่ ๔ ในปีกุนที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์นั้น มีนายร้อยเอกทหารอังกฤษคน ๑ ชื่อ อิมเป (Impey) ไม่สมัครอยู่อินเดีย เข้ามาขอรับราชการใน ประเทศสยาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้รับไว้ เป็นครู แล้วดำรัสสั่งให้เกณฑ์ไพร่หลวงส่งไปฝึกหัดเป็นทหารราบขึ้น กรม ๑ เรียกว่า ทหาราหน้า ต่อมาไม่ช้ามีนายร้อยเอกทหารอังกฤษตามมา จากอินเดียอีกคน ๑ ชื่อ น๊อกส์ (Knox ซึ่งภายหลังได้เป็นกงสุลเยอเนอราล อังกฤษ) มาขอสมัครรับราชการเหมือนอย่างนายร้อยอิมเป ในเวลา นั้นครูทหารวังหลวงมีแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง รับนายร้อยเอกน๊อกส์ไว้เป็นครู หัดคนพวกที่ได้ทรงบังคับบัญชามาแต่ใน รัชกาลที่ ๓ จัดเป็นทหารขึ้นทางวังหน้า ทหารไทยจึงได้ฝึกหัดจัดการ บังคับบัญชาตามแบบทหารฝรั่งแต่นั้นมา ใช้แบบอังกฤษหมดทุกอย่าง แม้ จนคำบอกทหาราและชื่อตำแหน่งนายทหารก็ใช้ภาษาอังกฤษ ต่อมาเมื่อมี แตรวงขึ้น ก็เอาเพลงอังกฤษ God Save The Queen มาใช้เป็นเพลงคำนับ รับเสด็จ และเครื่องแต่งตัวก็เลียนแบบทหารอังกฤษ ครั้นถึงปลายรัชกาล ที่ ๔ ครูอังกฤษไม่มีตัว ได้ทหารฝรั่งเศลคน ๑ ชื่อ ลามาช Lamache มา เป็นครู ได้เป็ฯหลวงอุปเทศทวยหาญ มาแก้วิธีฝึกหัดและคำบอกทหาร เป็นภาษาฝรั่งเศล แต่ยังไม่ทันเปลี่ยนไปได้เท่าใดก็สิ้นรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๕ ก็ให้เลิกครูฝรั่งเศล และให้นายทหารไทยที่เป็นศิษย์ของนาย ร้อยเอกอิมเปเป็นครู กลับฝึกหัดอย่างอังกฤษต่อมา ในครูพวกนี้ฉันทันรู้จัก ตัว ได้เป็นขุนนาง ๔ คน ชื่อครูเชิงเลิงเป็นที่ขุนเจนกระบวรหัด ได้เป็นครู ทหารมรีนคน ๑ ชื่อครูกรอบ เป็นครูที่ขุนจัดกระบวรพล ได้เป็นครูทหาร รักษาพระองค์คน ๑ ชื่อครูเล็ก เป็นที่ขุนรัดรณยุทธ ได้เป็นครูทหารมหาด เล็ก (และเป็นครูของตัวฉันด้วย) คน ๑ ชื่อครูวงศ์ เป็นที่ขุนรุดรณชัย คงเป็นครูทหารหน้าคน ๑ เมื่อรัชกาลที่ ๔ เห็นจะมีจำนวนทหารเข้าเวร อยู่ประจำการราวสัก ๒๐๐ คน ทรงตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งไว้วางพระราชหฤทัย ให้เป็นผู้บังคับการ ในชั้นเดิมจะเป็นใครฉันไม่ทราบ ทราบแต่ว่าเจ้าพระ ยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เมื่อยังเป็นที่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นผู้บังคับการอยู่ก่อน แล้วโปรดฯ ให้คุณตาของฉันเป็นผู้บังคับการต่อ มาจนสิ้นรัชกาล ถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้พระยาพิชัยสงคราม (อ่ำ อมรานนท์) ปลัดกรมข้าหลวงเดิม เมื่อยังเป็นที่พระอินทรเทพแล้วเลื่อน เป็นพระยามหามนตรีเป็นผู้บังคับทหารหน้า ดูเหมือนพวกรักษาพระองค์ (ที่สืบเนื่องมาแต่ทหารซีป่ายแต่ก่อน) ก็จะหัดให้เป็นทหารอย่างยุโรป เหมือนทหารหน้าในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ที่กล่าวนี้ ส่วนทหารเรือนั้น ปรากฎในหนังสือเก่าว่าถือกันมาแต่ครั้งกรุงศรี อยุธยาว่าไทยเป็นเชื้อชาวดอก อุปนิสสัยไม่ชอบทางทะเล คนเดินเรือทะเล ของหลวงแม้ในสมัยนั้น จึงใช้แต่คนเชื้อสายพวกแขกจามและแขกมลายู เป็นพื้น ถ้าเป็นเรือค้ามักใช้จีน ในเวลาทำศึกสงครามก็เป็นแต่รับทหารไทย ไปในเรือนั้น เลยเป็นประเพณีเช่นนั้นมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เมื่อ ก่อนรัชกาลที่ ๔ ยังมีเรือทะเลของหลวงทั้งสำหรับลาดตระเวนและค้าขาย เดินเรือค้าขายใช้เรือสำเภาจีน เรือลาดตระเวนใช้กำปั่น (อย่างเดียว กับที่พวกแขกมลายูใช้) มาถึงรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เมื่อ ยังเป็นที่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก อุตส่าห์เรียนวิชาต่อเรือกำปั่นพวก ฝรั่งด้วยใจรัก จนสามารถต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งถวายพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่นั้นเรือรบของหลวงสำหรับลาดตระเวนก็เปลี่ยน เป็นเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่ง และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ได้อำนวยการต่อ เรือกำปั่นของหลวงสืบมา พอถึงรัชกาลที่ ๔ ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นกำปั่นไฟ เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ได้เป็นที่สมุหพระกลาโหม ก็ได้อำนวยการต่อเรือกำปั่น และบังคับบัญชาเรือไฟของหลวง จัดขึ้นเป็นกรม ๑ เรียกว่า กรมอรสุมพล เป็นต้นของกรมทหารเรือไทย เรือกำปั่นไฟขั้นแรกต่อขึ้นเป็นเรือจักรข้าง สำหรับบรรทุกคนเป็นพื้น และใช้พวกจามเป็นพนักงานเดินเรือต่อมา แต่พวกต้นกลเป็นไทยทั้งนั้น มาจนตอนปลายรัชกาลที่ ๔ จึงเริ่มต่อเรือ จักรท้ายรายปืนใหญ่เป็นเรือรบอย่างฝรั่ง แรกต่อเป็นเรือปืน (Gunboat) ๒ ลำ ชื่อ สงครามครรชิต ลำ ๑ ศักดิ์สิทธาวุธ ลำ ๑ แล้วต่อเรือขนาดใหญ๋ ขึ้นเป็นอย่างคอเวต (Corvette) อีกลำ ๑ สำเร็จ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๐ ชื่อว่า เรือ สยามประสดัมภ์ เมื่อมีเรือรบอย่างฝรั่งขึ้นจึงเกณฑ์พวกมอญ ไพร่หลวงหัดเป็นทหารมรีน สำหรับเรือรบฝรั่ง ตั้งขึ้นอีกกรม ๑ แต่กับตัน และต้นหนเรือรบยังต้องหาฝรั่งต่างประเทศมาใช้อยู่อีกนาน ทางฝ่ายวังหน้า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงต่อเรือไฟ และหัดทหารเรือ วังหน้าบ้างเหมือนกัน มีเรือรบวังหน้าต่อ ๒ ลำ ชื่อ อาสาวดีรส ลำ ๑ ชื่อ ยงยศอธยธยา ลำ ๑ เรื่องต้นของทหารอย่างยุโรปเป็นดังแสดงมา นอกจากบำรุงทหาร การที่จัดสร้างในปีมะเส็งเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕ มีสร้างวัดราชบพิธฯ อย่าง ๑ สร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์อย่าง ๑ สร้างพระที่นั่งใหม่ (หมู่พระที่นั่งจักรีบัดนี้) อย่าง ๑ กับตั้งระเบียบเครื่องราชอิสสริยาภรณ์อย่าง ๑ ด้วยเหตุต่างกันดังอธิบาย ต่อไปนี้ เรื่องสร้างวัดราชบพิธฯ นั้น ตามประเพณีโบราณเมื่อผู้ใดสามารถ ตั้งวงศ์สกุลของตนได้ แม้เป็นแต่ชั้นคฤหบดีก็ย่อมสร้างวัดสำหรับสกุลขึ้น เป็นที่บำเพ็ญการกุศล และบรรจุอัฏฐิธาตุของสมาชิกในวงศ์สกุล จึงมี วัดที่ในเมืองสุโขทัย และในพระนครศรีอยุธยามากมายด้วยประเพณีที่ว่านี้ และเป็นคติถือกันมาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยราชย์แล้วต้องสร้างวัด ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดพระเชตุพนฯ เป็นวัด ประจำรัชกาลที่ ๑ วัดอรุณฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒ วัดราชโอรสฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓ และวัดราชประดิษฐ์ ฯ เป็นวัดประจำรัชกาล ที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงให้สร้างวัดราชบพิธฯ ขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล ก่อฤกษ์ในปีมะเส็ง แต่ฉันจำไม่ได้ เห็นจะเป็นด้วยไม่ได้ไปตามเสด็จ มา จำได้แต่เมื่อแห่พระนิรันตรายไปวัดราชบพิธฯ เมื่อปีมะเมี เพราะเป็นแห่ ใหญ่ มีกระบวนแปลกๆ สนุกน่าดูมาก เรื่องสร้างพระบรมรูปพระเจ้าอยู่หัว ๔ พระองค์นั้น ก็เริ่มปั้นหุ่น มาแต่ปีมะเส็ง การสร้างพระบรมรูปไม่เคยมีประเพณีมาแต่ก่อน แต่โบราณ รูปที่สร้างเป็นเจดีย์วัตถุสำหรับสักการบูชาสร้างแต่พระพุทธรูป และเทวรูป หรือรูปพระสงฆ์ซึ่งมีผู้นับถือมาก แม้จะสร้างพระรูปเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระ เกียรติพระเจ้าแผ่นดินก็สร้างเป็นพระพุทธรูปดังเช่นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่อยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือมิฉะนั้นก็สร้างเป็นรูปพระอิศวรหรือพระนารายณ์ ยังมีอยู่ในเมือง เขมรหลายองค์ ที่จะสร้างพระรูปพระเจ้าแผ่นดินเป็นรูปมนุษย์แต่โบราณ หาทำไม่ อะไรเป็นต้นเหตุให้ทิ้งตำราเดิม เวลาแต่งหนังสือนี้หมดตัวผู้รู้ เสียแล้ว นึกเสียดายที่ไม่ได้กราบทูลถามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เมื่อยังมีโอกาส ที่จะรู้ได้ จึงได้แต่สันนิษฐานตามเค้าเงื่อนที่มีอยู่ คือเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ได้พระรูปพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศเข้ามาหลายองค์ เป็นพระรูปหล่อ เช่นที่เอมเปอเรอนะโบเลียนที่ ๓ กับพระมเหสีถวายมาเป็นบรรณาการบ้าง เป็นพระรูปปั้นระบายสีเช่นที่ยังรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานบ้าง ความนิยม คงจะเริ่มเกิดขึ้นในสมัยนั้น จึงมีผู้ส่งพระบรมรูปฉายาลักษณ์พระบาทสม เด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (องค์ที่ทรงพระมาลาสก๊อต) ไปให้ทำเป็นรูป หล่อที่ในยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ช่างปั้นฝรั่งเศลเป็นผู้ปั้น ได้เห็นแต่ฉายา ลักษณ์ จึงคิดประดิษฐ์พระรูปโฉมตามคาดคะเน แล้วหล่อด้วยปูนปลาส เตอร์ขนาดสูงราวครึ่งเมตร ส่งเข้ามาถวายทอดพระเนตรก่อน พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร เห็นพระบรมรูปที่ฝรั่งทำผิด เพี้ยนพระลักษณะมากนัก จึงให้บอกเลิกแล้วดำรัสสั่งให้ช่างไทย (จะเป็น ใครสืบไม่ได้ความ แต่เป็นช่างปั้นฝีมือเยี่ยมอยู่ในเวลานั้น) ปั้นพระบรมรูป ขึ้นใหม่อีกองค์ ๑ ให้ทำเป็นอย่างพระบรมรูประบายสีขนาดเท่าพระองค์ แต่การปั้นยังไม่ทันแล้วก็สิ้นรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ทำต่อมาจนสำเร็จ เมื่อมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ขึ้นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่าควรจะสร้างพระบรม รูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์เป็นพระรูปหล่อขนาดเท่าพระองค์ขึ้น ไว้เป็นที่สักการบูชาเฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายท่านผู้ใหญ่ในราชการแผ่นดินก็ เห็นชอบด้วย เพราะมีแบบแผนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สนอง พระเดชพระคุณสมเด็จพระบุรพการีมหาราชเป็นเยี่ยงอย่าง และพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มสร้างรูปมนุษย์มาแล้ว สันนิษฐาน ว่ามูลเหตุที่สร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์ เห็นจะเป็นเช่นว่ามา การ สร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์นั้น โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าประกิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างอย่างดีในพระองค์เองด้วย เป็นผู้อำนวย การ เมื่อปั้นหุ่นนั้นรู้พระลักษณะได้แน่แต่ขนาดพระองค์ว่าสูงเท่าใด เพราะ มีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่เป็นหลัก แต่ส่วนพระรูปโฉมนั้นนอกจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมรูปปั้นอยู่แล้ว ต้อง อาศัยไต่ถามผู้ที่ได้เคยเห็นพระองค์ให้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ ไขไปแต่แรกจนแล้ว ก็ในเวลานั้นผู้ที่เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่มาก แต่ผู้ เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาได้แต่ ๔ คน คือ พระ องค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต) วัดระฆังองค์ ๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน ๑ กับ เจ้าพระยาธรรมาฯ (ลมั่ง สนธิรัตน) คน ๑ ปั้นพระรูปสำเร็จได้หล่อเมื่อ เดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ในพระที่ นั่งดุสิตมหาปราสาทในชั้นแรก เรื่องสร้างพระที่นั่งใหม่นั้น มูลเหตุเกิดด้วยเมื่อปีมะเส็ง มีราชทูต ต่างประเทศเชิญพระราชสาส์น ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศแสดงความ อาลัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และถวายพระพรแด่พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้ามาหลายราย ก็การรับราชทูต และพระราชสาส์นของพระเจ้าแผ่นดินในยุโรป ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เพิ่งเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในรัชกาลที่ ๔ พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงค้นเอาแบบอย่าง ครั้งสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชรับราชทูตฝรั่งเศล มาใช้เป็นตำราตั้แต่ครั้งรับ เซอร์ จอน เบาริง ราชทูตอังกฤษในพ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นต้นมา คือให้จัดเรือกระบวนลง ไปรับพระราชสาส์น และราชทูตจากที่สำนัก แห่มาขึ้นที่ท่าพระแล้วมีกระ บวนแห่ทางบกหรือสถานกงสุลเช่นเดียวกัน ทำนองฝรั่งจะระอาด้วยต้องขี่ แคร่เมื่อแห่พระราชสาส์นทางบก ฝ่ายไทยเมื่อมีพระราชสาส์นต่างประเทศ มาบ่อยๆ ก็เบื่อที่ต้องจัดการแห่แหนร่ำไป พอถึงรัชกาลที่ ๕ จึงตกลง กันเลิกประเพณีรับพระราชสาส์นอย่างแต่ก่อน เปลี่ยนเป็นให้เรือไฟไปรับ พระราชสาส์นและราชทูต และใช้รถรับเมื่อทูตขึ้นบกแทนขี่แคร่ แต่ความ ลำบากอย่างอื่นยังมีอยู่ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๔ ถ้ารับแขกเมืองเต็มยศ เช่น วันถวายพระราชสาส์น เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคม ถ้าแขกเมือง เข้าเฝ้าไปรเวต โปรดฯ ให้เฝ้าบนพระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งจัดตั้งโต๊ะเก้าอี้ อย่างฝรั่ง ถึงรัชกาลที่ ๕ เสด็จย้ายมาประทับที่พระมหามณเฑียรเดิม และ จะจัดพระที่นั่งบรมพิมาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฏฐิพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีที่เสด้จออกรับแขกเมืองเฝ้าไปรเวต ท่านผู้ ใหญ่จึงปรึกษากันให้รื้อพระที่นั่งเก๋งสีตลาภิรมย์ ของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระตำหนักเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่ต่อกับพระมหามณเฑียร เอาที่สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ (ตรงพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์บัดนี้) ความคิดเดิมดูเหมือนจะสร้างแต่ หลังเดียว สำหรับเป็นที่รับแขกเมืองเข้าเฝ้าไปรเวต แต่ต่อมาเมื่อได้เสด็จ ไปทอดพระเนตรเมืองต่างประเทศ ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนแปลงระเบียบ การในราชสำนักให้สมสมัย การสร้างพระที่นั่งใหม่ จึงขยายใหญ่โต ให้ เป็นที่เสด็จประทับทำนองเดียวกับพระอภิเนาวนิเวศน์ ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่ตั้งระเบียบเครื่องราชอิสสริยาภรณ์เมื่อปีมะเส็งนั้น เกิดด้วย เอมเปอเรอเอาสเตรียให้ราชทูตเชิญเครื่องราชอิสสริยาภรณ์เข้ามาถวาย จะ ต้องตอบแทน ก็ในเวลานั้นเครื่องราชอิสสริยาภรณ์สยามซึ่งพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาไว้ยังเป็นแต่ดวงดารา อย่าง หนึ่งลายเป็นตราตามตำแหน่ง (จึงเรียกกันว่า ตรา) อีกอย่างหนึ่งประดับ นพรัตน์สำหรับเจ้านาย กับอีกอย่างหนึ่งลายเป็นรูปช้างเผือก สำหรับ ข้าราชการ (ชั้นสูงลงยา ชั้นกลางทอง ชั้นต่ำเงิน) และมีดาราลาพระ มหามงกุฎสำหรับผู้หญิงอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมาะที่จะส่งไปถวายตอบแทน พระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศและพระราชทานทูตานุทูต จึงโปรดฯ ให้จัด ระเบียบเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ ให้มีสายสะพายและดวงดารา สำหรับชั้นสูง มีดวงน้อยห้อยแพรแถบคล้องคอและติดอกเป็นลำดับชั้นต่ำ ลงมา ให้ตรงตามแบบเครื่องราชอิสสริยาภรณ์อย่างฝรั่งตั้งแต่ในปีมะเส็ง นั้น แต่ประกาศเป็นพระราชบัญญัติต่อเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ ถึงปลายปีมะเส็ง ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่พระเมรุท้องสนาม เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม งานพระเมรุครั้งนั้นฉันก็จำอะไรมิใคร่ได้ จำได้มั่น คงแต่วันเปลื้องเครื่องพระบรมศพก่อนจะถวายพระเพลิง แม่ให้ฉันไป ถวายบังคม ภูษามาลาเขาอุ้มฉันชูขึ้นถึงปากพระโกศ ได้เห็นพระบรมศพ ทูลกระหม่อม กับเมื่อถวายพระเพลิงแล้ว รุ่งขึ้นเช้าเจ้านายลูกเธอของ ทูลกระหม่อมได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญา ให้ขึ้นไปเก็บพระบรม อัฏฐิไว้สักการบูชา เจ้านายเด็กๆ พวกฉัน ยังไม่มีใครเคยเห็นอัฏฐิ บางพระองค์ก็เก็บถูกพระบรมอัฏฐิ บางพระองค์ก็หลงเก็บเอาพระอังคาร (ถ่าน) มา แต่ฉันเคราะห์ดีด้วยเมื่อเก็บแล้วถามพระยาราชโกศา (จันทร์ วัชโรทัย) ภูษามาลา ว่าพระบรมอัฏฐิหรือมิใช่ แกบอกว่าพระบรม อัฏฐิ จึงได้เชิญมา ยังสักการบูชาจนอยู่ทุกวันนี้ เมื่อสิ้นงานพระเมรุแล้วก็เลิกไว้ทุกข์ คนทั้งหลายเลิกโกนหัวกลับ ไว้ผมกันอย่างเดิม พวกข้าราชการประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งให้คงตำแหน่งอยู่ตลอดเวลาพระบรมศพยังประดิษฐาน อยู่ ก็ต้องเปลี่ยนฐานะไปตามกาล ตอนนี้น่าสงสารแม่ เมื่อถูกเรียกคืน เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ กับหีบหมากลงยาสำหรับยศเจ้าจอมมารดา และ พานทองเครื่องยศที่เป็นพระสนมเอก เปลี่ยนเครื่องยศเป็นหีบหมากทอง เหมือนอย่างท้าวนาง ทั้งถูกลดผลประโยชน์ที่เคยได้พระราชทานน้อยลง กว่าครึ่งค่อน ใช่แต่เท่านั้น ชื่อที่เคยเรียกว่า เจ้าจอมมารดาชุ่ม ก็ต้องเปลี่ยน เป็น ชุ่มเจ้าจอมมารดา หมายความว่าเจ้าจอมมารดาเป็นหม้าย ที่จริงก็ไม่ เป็นการลดยศศักดิ์ แต่เพราะไม่เคยตกยาก พวกเจ้าจอมมารดาก็พากัน โทมนัส รู้สึกเหมือนกับว่าถูกถอดทั่วไป จนทราบถึงพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยตรัสแก่ฉันเมื่อภายหลังว่า ครั้งนั้นทรงสงสาร เจ้านายพี่น้องกับเจ้าจอมมารดาที่ต้องลำบากยากจน จึงตรัสขอให้รัฐบาล จ่ายเงินกลางปีแก่พระเจ้าพี่น้องเธอ พระองค์ชายปีละ ๒,๔๐๐ บาท พระ องค์หญิงปีละ ๑,๖๐๐ บาท แต่นั้นมา ล่วงมาอีกสัก ๒๕ ปียังทรงแก้ไขอีก ครั้งหนึ่ง ด้วยทรงกรุณาพระแม่ฉันเป็นต้นเหตุ ควรจะเล่าไว้ให้ปรากฎ ถึงสมัยเมื่อฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ เกิดไข้ ส่าเป็นโรคระบาดขึ้นในกรุงเทพฯ คนเจ็บกันมากกว่ามาก ตัวฉันก็เป็นไข้ ส่าด้วย อาการโรคไข้ส่านั้นตัวร้อนเหมือนจับไข้และมีเม็ดผุดขึ้นทั่วตัว คล้ายกับออกอีสุกอีใส ถ้าเม็ดไม่ขึ้นก็มีอาการปวดข้อเป็นทุกขเวทนา แต่มิใคร่มีใครเป็นอันตราย ถึงกระนั้นเพราะเพิ่งเกิดไข้ส่าเป็นโรคระบาด ครั้งแรก คนก็พากันตกใจ เมื่อฉันเจ็บอยู่นั้นวันหนึ่งอยู่ในห้องนอนกลุ้ม ใจ จึงสั่งให้เขาเอาเตียงพับสำหรับเดินทางไปตั้งในห้องสมุด จะย้ายลง ไปอยู่ห้องนั้น คนตั้งเตียงเผลอไปไม่กางขาเตียงให้ถึงที่ ตัวฉันกำลังเจ็บ ก็ไม่สังเกต เมื่อขึ้นนอนเตียงๆ ก็ฟุบลงจนฉันพลัดตก แต่ก็ไม่เจ็บช้ำ อันใด แต่ข่าวระบือเข้าไปถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ว่าฉันป่วยอาการมากถึงดิ้นรนจนพลัดตกเตียง ก็ตกพระราช หฤทัย รีบเขียนลายพระราชหัตถ์ถึงแม่ ตรัสถามอาการป่วยของฉัน เมื่อผนึกซองพระราชหัตถเลขาแล้วจะทรงสลักหลังซองว่า ถึงชุ่มเจ้าจอม มารดา ทรงนึกสงสาร จึงเขียนว่า ถึงเจ้าจอมมารดาชุ่ม แล้วเลยมีพระราช ดำรัสสั่งกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เมื่อยังเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง ให้ เปลี่ยนระเบียบเรียกเจ้าจอมมารดารัชกาลที่ล่วงแล้ว ให้ใช้คำ เจ้าจอม มารดา นำชื่อ แต่ให้เติมลำดับรัชกาลเข้าข้างหลังเช่นว่า เจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔ ดังนี้ จึงใช้เป็นประเพณีสืบมา เมื่อแม่ได้รับลายพระราช หัตถเลขา เชิญมาให้ฉันอ่านด้วยความปิติยินดี แต่ทั้งตัวท่านและฉันไม่ได้ สังเกตที่ทรงเปลี่ยนคำสลักหลังซอง เมื่อฉันเขียนจดหายสนองลายพระ ราชหัตถ์ จึงกราบบังคมทูลแต่อาการให้สิ้นพระราชวิตก แต่มิได้กล่าวถึง เรื่องชื่อมารดา เมื่อฉันหายเจ็บไปเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า "สังเกตชื่อแม่ของ เธอที่ฉันสลักหลังซองหรือเปล่า" แล้วจึงดำรัสเล่าเรื่องให้ฟังดังแสดงมา เมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕ ความเปลี่ยนแปลงกะทบถึงเจ้านายที่เป็นพระ ราชโอรสธิดาของทูลกระหม่อม ทำให้ผิดกับแต่ก่อนหลายสถาน เป็นต้น ว่าแต่ก่อนมา เคยรักและเคารพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างเจ้าพี่ที่เป็นหัวหน้า ส่วนพระองค์ก็โปรดเล่นหัวกับเจ้านายน้องๆ เสมอ ครั้นเสด็จเสวยราชย์ พระองค์ต้องทรงประพฤติพระราชกิจของ พระเจ้าแผ่นดิน แต่มิใช่เป็นพ่อเหมือนทูลกระหม่อม เจ้านายพวกพี่น้อง เธอก็เกิดกลัวเกรง ไม่กล้าเข้าใกล้ชิดโดยวิสสาสะเหมือนแต่ก่อน แม้เจ้า นายพี่น้องด้วยกันเองก็ต้องแยกกันไปตามชั้นพระชันษา พระองค์หญิงที่ เป็นสาวไปเข้าอยู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายใน พระองค์ชายที่เป็นหนุ่มต่างก็ ออกไปอยู่วังต่างหาก เจ้าจอมมารดากับเจ้าน้องที่ร่วมเจ้าจอมมารดากันก็ มักตามไปอยู่ด้วย แต่เจ้านายพระองค์ชายที่ยังไม่ได้โสกันต์ เช่นตัวฉัน อยู่ ในวังแทบทั้งนั้น มีเหตุจำได้ในตอนนี้ ๒ เรื่อง คือคืนวันหนึ่งเมื่องาน เฉลิมพระชันษาในปีมะเมียนั้นเกิดไฟไหม้ที่ตำหนักเจ้าคุณจอมมารดาสำลี (ชนนีของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี) ฉันกำลังนอนหลับอยู่ พี่ เลี้ยง (ชื่อน้อย) แกปลุกขึ้นพาไปที่หีบผ้าเลือกหยิบเอาผ้าปูมใหม่ผืน ๑ มานุ่งให้ บอกว่าถ้าอย่างไรจะได้มีผ้าใหม่ติดตัวไปด้วย แล้วพาลงไปยืน คอยหนีไฟอยู่ที่บันไดเรือน ที่จริงไฟไหม้อยู่ห่างเป็นไหนๆ แต่เห็นเปลว ไฟลุกโพลงน่ากลัวก็พากันหวาดหวั่น เพราะไม่มีใครเคยเห็นไฟไหม้ในวัง มาแต่ก่อน ต่อนั้นมาฉันต้องย้ายจากเรือนที่ทูลกระหม่อมโปรดฯ ให้สร้าง พระราชทานทางฝ่ายตะวันตกใกล้ประตู (ดิน) อนงคลีลา ไปอยู่เรือน โบราณซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๓ ทางด้านตะวันออกใกล้ประตูราชสำราญ เพราะจะรื้อเรือนเดิมเอาที่สร้างตำหนักสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เรือนที่ไปอยู่ใหม่นั้นดูเหมือนจะยังคงอยู่จนบัดนี้ ด้วยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ฉัน มีโอกาสเข้าไปในวัง ผ่านไปทางนั้นเห็ยเข้ายังชี้ให้ลูกดู พากันเห็นประ หลาดที่ฉันเคยอยู่เรือนเล็กเพียงเท่านั้น การศึกษาของฉัน เมื่อทูลกระหม่อมเสดจสวรรคตได้เรียนชั้น ปฐมต่อครูผู้หญิงสำเร็จแล้ว ถึงเขตที่จะเรียนชั้นมัธยมต่อครูผู้ชาย แต่ใน ปีมะเส็งท่านผู้ใหญ่ยังสาละวนอยู่ด้วยเรื่องเปลี่ยนรัชกาลใหม่ การศึกษา ต้องรอมาจนถึงปีมะเมียเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จึงได้รับคำสั่ง ให้ออกไปเรียนหนังสือขอม (คือเรียนภาษามคธ) ด้วยกันกับเจ้านาย พี่น้องที่เป็นชั้นเดียวกันอีกสักสี่ห้าพระองค์ พระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้เป็นอาจารย์ พระเจ้าลูกเธอ นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น มาสอนที่เก๋งกรงนกในเวลาเช้าแต่ ๙ จน ๑๑ นาฬิกา ทุกวัน เว้นแต่วันพระกับวันโกน เก๋งกรงนกที่ไปเรียนหนังสือนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างไว้นอกบริเวณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทางด้านตะวันตก เดิมมีกรงนกใหญ่อยู่กลาง มีเก๋งด้านละหลัง เก๋งทาง ด้านตะวันตกชื่อ วรเทพสถาน เป็นที่สำหับเสด็จประทับ เก๋งทางด้านเหนือ ชื่อ สำราญมุขมาตยา เป็นที่ขุนนางผู้ใหญ่พัก เก๋งทางด้านตะวันออก (ที่ไป เรียนหนังสือ) ชื่อ ราชานุราชอาสน์ เป็นที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัวประทับเมื่อคอยเข้าเฝ้า เก๋งทางด้านใต้ชื่อ วรนาฎนารีเสพ เป็นที่พัก ของนางในที่ตามเสด็จ ถึงรัชกาลที่ ๕ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกราบทูลขอ อนุญาตรื้อกรงนก เอาที่สร้างเก๋งใหญ่ขึ้นใหม่หลัง ๑ สำหรับเป็นที่ประชุม ปรึกษาราชการ ขนานนามมว่า เก๋งวรสภาภิรมย์ เป็นเก๋งโถง ๓ ด้าน กั้น เฉลียงด้านใต้เป็นห้องยาวตลอดหลัง ในห้องนั้นทำแท่นราชอาสน์ไว้แห่ง หนึ่ง มีช่องพระแกลตรงราชอาสน์นั้นเปิดถึงห้องประชุม เดิมหมายความว่าจะ ให้เป็นห้องลับสำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไป ทรงฟังปรึกษาราชการแผ่นดินเป็นการศึกษา แต่ไม่พอพระราชหฤทัยที่จะ เสด็จไปประทับเช่นนั้น จึงจัดให้เป็นที่กรมพระราชวังบวรฯ ประทับเมื่อ คอยเข้าเฝ้า เอาเก๋งราชานุราชอาสน์ใช้เป็นที่เล่าเรียนของเจ้านายพวกฉัน วิธีเรียนภาษามคธในสมัยนั้น ยังไม่มีสมุดตำราเรียนฉบับพิมพ์ นักเรียน ที่เรียนตามวัดต้องหัดเขียนและจานหนังสือเรียนของตนเอง (เพราะเหตุนั้น พวกเปรียญจึงมักเขียนหนังสืองาม) แต่เจ้านายพวกฉันไม่ต้องหัดเขียน แรกเข้าเรียนอาจารย์เขียนตัวหนังสือขอมลงสมุดดำสอนให้อ่านก่อน เมื่อ อ่านหนังสือขอมออกแล้วก็ให้ตั้งต้นเรียนไวยากรณ์ภาษามคธ อาจารย์ เขียนให้เองบ้าง เอาไปให้ราชบัณฑิตเขียนมาให้บ้าง เมื่อเรียนไวยากรณ์ ตลอดแล้วก็สอนให้แปลคัมภีร์ธรรมบทต่อไป เรียกกันว่า ขึ้นคัมภีร์ เจ้านาย ที่ได้เรียนจนถึงขึ้นคัมภีร์ดูเหมือนจะมีน้อยพระองค์ เพราะการเรียนขั้นนี้ มีกำหนดหมดเขตเพียงทรงผนวชเป็นสามเณร ถ้าทรงผนวชแต่พรรษา เดียวก็มักท้อภาษามคธไปเรียนวิชาอย่างอื่น ต่อทรงผนวชอยู่หลายพรรษา จึงเรียนภาษามคธต่ออาจารย์อื่นสืบไป ส่วนตัวฉันเองไม่นึกรักภาษามคธ มาแต่แรก เพราะไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์อย่างไร และไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุ ใดจึงต้องเรียนไวยากรณ์ลำบากยากเย็น ต้องเรียนก็เรียนไปอย่างนั้น ดู เหมือนจะเรียนช้ากว่าเจ้าพี่พระองค์อื่นโดยมาก พอเรียนไวยากรณ์จบเล่ม บทมาลา ก็พอถึงเวลาตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ มีรับสั่งให้ส่งไป เข้าโรงเรียนนั้น แต่นั้นฉันจึงได้เล่าเรียนอย่างกวดขันดังจะเล่าในที่อื่น ต่อไป เวลาที่เจ้านายพวกฉันออกไปเรียนภาษามคธนั้น ร่วมกับเวลา ประชุมปรึกษาราชการแผ่นดินที่เก๋งวรสภาภิรมย์ อยู่ใกล้ๆกัน ได้ยิน ถนัด เสียงเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายก นั้นดังกว่าเพื่อน แต่ปรึกษา หารือกันอย่างไรไม่เข้าใจ ถึงกระนั้นก็ชอบแอบดูตามประสาเด็ก พอจวน เวลา ๑๑ นาฬิกา กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จมา มีกระบวนแห่มาจาก วังหน้าทุกวัน กระบวนหน้ามีทหารคน ๑ ถือธงช้างนำแล้วถึงแตรวงและ ทหารราบกองร้อย ๑ พวกนี้มาหยุดอยู่ตรงนอกประตูวิเศษชัยศรี ต่อนั้น ถึงกระบวนตำรวจหน้าเดิน ๒ สาย ไพร่ถือมัดหวาย นายถือหอก เดิน เข้าจนถึงประตูพิมานชัยศร้ ต้องวางหอกและมัดหวายไว้เพียงนั้น เดิน ประสานมือเปล่าเข้าประตูต่อมา กรมพระราชวังบวรฯ ทรงพระราชยาน กั้นพระกลด มีมหาดเล็กเชิญเครื่องตาม และมีวอที่นั่งรอง (สำหรับทรง เวลาฝนตก) ด้วยหลัง ๑ กระบวนหลังมีนายทหารคาดกระบี่และตำรวจ หลังเดินแซง ๒ สาย มาปลดกระบี่วางหอกที่นอกประตูพิมานชัยศรีเหมือน พวกกระบวนหน้า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงจากพระราชยาน ที่หน้าเก๋งวรเทพสถาน ทรงพระราชดำเนินมาประทับที่แท่นราชอาสน์ เก๋งวรสภาภิรมย์ มีมหาดเล็กเชิญพระแสงดาบอยู่ด้วยคน ๑ กับมหาดเล็ก อยู่งานพัดคน ๑ ประทับคอยอยู่จนถึงเวลาเข้าเฝ้าในท้องพระโรง เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเข้าเฝ้านั้น พวกข้าราชการวัดหน้าต้อง คอยอยู่ข้างนอกบริเวณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีแต่จางวางหรือหัวหมื่น มหาดเล็กตามเสด็จติดพระองค์เข้าไปจนถึงพระทวารเพียงคนหนึ่งหรือสอง คน เจ้านายพวกฉันแต่พอเสด็จออกก็เลิกเรียน เข้าไปในท้องพระโรงก่อน กรมพระราชวังบวรฯ เมื่อเข้าพระทวารพระที่นั่งอมรินทรฯ ต้องคลานผ่าน เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (เวลานั้นยังเป็นกรมขุน) กับกรม หมื่นอดุลยลักษณสมบัติ และกรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ สามพระองค์ทรง เมตตาพวกเจ้านายเด็กๆ มักตรัสทักทาย ส่วนตัวฉันเอง ดูเหมือนสมเด็จ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงพระเมตตาโดยเฉพาะตัวมาแต่สมัย นั้น เวลาเข้าไปกราบกรานมักทรงลูบหลังและตรัสเล่นด้วย บางวันก็มี ของเล่นใส่กระเป๋าฉลองพระองค์มาประทาน ฉันก็รักท่านมาแต่ในสมัยนั้น เมื่อเข้าไปถึงที่เฝ้าเจ้านายเด็กๆ ทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิงไปนั่ง รวมกันอยู่ข้างหลังราชอาสน์ แล้วคอยอยู่จนเสด็จขึ้นตามเสด็จเข้าไป ในวัง บางวันก็เลยไปเรือน บางวันก็ไปแวะเล่นหัวตามตำหนักเจ้านาย พี่น้องแล้วจึงกลับไปเรือน แต่ตัวฉันเองดูเหมือนจะชอบเที่ยวเป็นอุปนิสัย ติดตัวมาแต่เล็ก ถึงสมัยนี้มักหาช่องให้คุณตาพาไปบ้าน หรือมิฉะนั้นก็ตาม เสด็จกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (เวลานั้นยังเรียกว่า พระองค์เจ้า กมลาสน์เลอสรรค์ ซึ่งเป็นลูกของคุณป้าเที่ยง) ไปยังตำหนักที่พักของท่าน อยู่ที่ริมคองวัดสุทัศน์ฯ เนืองๆ ไปค้างคืน ๑ พอรุ่งขึ้นท่านจะเข้ามา เฝ้าก็พากลับมาส่งในวังทันเวลาเรียนหนังสือ บางวันยังเก่งกว่านั้น ถึง ลอบขึ้นวอตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ขึ้นไปวังหน้า เพราะฉันเคยไป ตามเสด็จทูลกระหม่อม รู้จักทางเข้าออกและคุ้มเคยกับท่านผู้ใหญ่ในวัง หน้ามาแต่ก่อน พอไปถึงตรงไปหาเจ้าคุณจอมมารดาเอมชนนีของกรม พระราชวังบวรฯ ท่านเลี้ยงดูแล้วเลยไปนอนค้างที่ตำหนักหม่อมเจ้าหญิง หรุ่ม ในเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ซึ่งเคยเอาเป็นธุระเลี้ยงดูด้วย ถือว่าเป็นหลาน รุ่งขึ้นก็ขึ้นวอตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ กลับมา วังหลวง เมื่อฉันไปครั้งแรก กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ ทรงทราบ ครั้น ไปอีกครั้งหนึ่งคงทอดพระเนตรเห็นเมื่อฉันขึ้นวอ พอเสด็จไปถึงวังหน้า ตรัสถามถึง พวกข้าราชการทูลว่าฉันลงจากวอแล้วก็หายไป ตกพระหฤทัย ให้เที่ยวตามหา ไปพบอยู่ที่เจ้าคุณจอมมารดาเอมก็เป็นอันแล้วกันไป การไปมาในกรุงเทพฯ สมัยนั้น ถนนหนทางยังมีน้อย รถก็มี แต่ของหลวง ยังใช้เรือกันเป็นพื้น บ้านคุณตาแม้อยู่ใกล้ถนนเจริญกรุง ที่เชิงสะพานเหล็ก (ดำรงสถิตย์) ก็ยังต้องใช้เรือ เรือที่ใช้กันเป็นพาหนะ สมัยนั้น ถ้าเป็นเจ้าพระนายหรือเจ้าพระยา ใช้เรือสำปั้นเก๋งคนพายสัก ๑๐ คน ขุนนางชั้นรองลงมาเช่นคุณตา ใช้เรือสำปั้นประทุนคนพาย ๖ คน ๗ คน แรกฉันไปกับคุณตา นั่งไปประทุนเมาเรือเกือบทนไม่ไหว แต่ทีหลังก็ เคยไป ผู้อยู่บ้านห่างทางน้ำที่ต้องไปมาทางบกนั้น เจ้านายที่พระชันษา มากมักทรงเสลี่ยงหาม ๔ คน แต่เจ้านายที่เป็นหนุ่มมักชอบทรงม้า ถ้า เสด็จเข้าเฝ้าหรือเสด็จไปในเวลามีการงาน มีตำรวจถือมัดหวายนำคน ๑ และมีคนเชิญพระกลดกับพวกมหาดเล็กเชิญเครื่องตามข้างหลังเป็นหมู่ ถ้า เป็นแต่เที่ยวเล่นก็มีบริวารน้อย หรือทรงม้าไปแต่โดยลำลองเหมือนกับ ผู้อื่น กรมหมื่นราชศักดิ์ฯ ชอบทรงม้า เวลาฉันไปตามเสด็จประทานม้าให้ขี่ ตัว ๑ สมัยนั้นอานฝรั่งก็ยังหายาก มีแต่สำหรับกรมหมื่นราชศักดิ์ฯ ทรง อานเดียว ฉันต้องหัดขี่ม้าด้วยเบาะไทยไม่มีโกลน เรียกกันว่า เบาะหัวโต เคยตกครั้ง ๑ แต่ก็เลยขี่ม้าเป็นมาแต่นั้น ประหลาดอยู่ที่ภายหลังมาเมื่อ ฉันเป็นราชองครักษ์ ต้องขี่ม้าตามเสด็จเสมอ ขี่ทั้งม้าเทศและม้าไทย เมื่อมาเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ก็ขี่ม้าเที่ยวตรวจหัวเมืองแทบทั่ว พระราชอาณาจักร ไม่ได้ตกม้าอีกเลย แต่เมื่อสมเด็จพระราชปิตุลาฯ ตกม้าพระชงค์หัก ฉันคิดเห็นว่าคนแก่กระดูกเปราะ ไม่ควรจะเสี่ยงภัย ทั้ง รถไฟและรถยนต์ก็มีใช้แล้ว จึงได้เลิกขี่ม้าแต่นั้นมา จะกล่าวต่อไปถึง เรื่องพาหนะที่ใช้ทางบกในสมัยเมื่อฉันยังเป็นเด็ก ขุนนางผู้ใหญ่ชั้นเจ้า พระยาและพระยาที่ได้พานทองเครื่องยศนั่งแคร่หาม ๔ คน ที่เป็นพระยา ชั้นรองลงมาก็ขี่คานหาม (แต่มักเรียกกันว่าเปลญวน) หาม ๒ คน มี ทนายถือร่มกับหีบหมากกาน้ำตามหลัง ที่ยศต่ำก่านั้นก็ขี่ม้าหรือเดินดิน ตามความสามารถ เมื่อฉันอยู่ในวังในสมัยนั้น ถึงเวลาเย็นผู้ใหญ่ให้ขึ้นไปคอยตาม เสด็จประพาสเหมือนอย่างรัชกาลก่อน แต่ในตอนปีมะเส็งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ใคร่ เสด็จไปที่ไหน นอกจากเสด็จไปพระมหา ปราสาทที่ประดิษฐานพระบรมศพ ทั้งเวลาเช้าค่ำเป็นนิจ บางวันเมื่อ เสด็จไปตอนค่ำ แวะเฝ้าสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูรที่พระตำหนัก เดิม มีเรื่องที่ฉันยังจำได้ วันหนึ่งสมเด็จพระราชปิตุลาฯ เจ้าฟ้ากรม พระยาภาณุพันธุวงศ์เวรเดช เวลานั้นก็ยังทรงพระเยาว์พระชันษาแก่กว่า ฉัน ๓ ปี ตรัสชวนฉันไปดูของเล่นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งเอามาไว้ในพระที่นั่งเก๋งสีตลาภิรมย์ ท่านไปค้นเอากล้อมเมีย ซ่อมออกมาดู มีกล้องขนาดใหญ่สำหรับสูบยาคัน ๑ ทำเป็นรูปกาบหอย เผอิญมียาสูบกับไม้ขีดไฟอยู่ในตู้นั้นด้วย นึกอยากรู้รสสูบกล้องขึ้นมาด้วย กัน เอากล้องกาบหอยมาชวนกันสูบ ฉันได้สูบยาเป็นครั้งแรกในวันนั้น เมาจนเจียนสิ้นสติเลยเข็ดกล้องกาบหอย แต่ประหลาดอยู่ที่ต่อมาภายหลัง เกือบ ๖๐ ปี ถึงรัชกาลที่ ๗ เมื่อโปรดฯ ให้ฉันเป็นนายกราชบัณฑิตย สภา มีหน้าที่จัดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ตรวจของพิพิธภัณฑ์ ที่มีอยู่แต่ก่อน พบก้องกาบหอยคันนั้นอยู่ในพิพิธัณฑสถานไม่มีใครรู้ว่า ได้มาจากไหน ฉันสามารถบอกได้ด้วยเคยรู้รสเข็ดมาแล้วแต่ยังเป็นเด็ก ถึงตอนปีมะเมียเจ้านายเด็กๆ พวกฉันไม่มีเจ้าพี่ชั้นใหญ่คอยควบคุมเหมือน แต่ก่อน ก็เกิดเป็นโอกาสที่จะเที่ยวเตร่ได้ตามชอบใจ ฉันจึงมักไปค้าง นอกวังดังกล่าวมาแล้ว ถ้าอยู่ในวังวันไหนเสด็จออกทอดพระเนตรซ้อม ทหาร ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ หรือเสด็จไปที่อื่นในบริเวณพระราชวังก็ไป ตามเสด็จ ถ้าไม่เสด็จไปไหนก็ไปเที่ยวเล่นตามชอบใจ มีแต่พี่เลี้ยงผู้ชาย ตามไป ไปดูช้างเผือกตามโรงที่เลี้ยงบ้าง เวลานั้นพระเศวตวรวรรณ (ช้างด่าง) เพิ่งมาถึง เป็นลูกช้างปล่อยไว้ในคอก ชอบเล่นกับคนน่าเอ็นดู บางวันก็ไปดูลิงเผือกที่พวกรักษาองค์เลี้ยง ได้เห็นของประหลาดอย่างหนึ่ง คือลูกลิงเผือกที่พวกรักษาองค์เขาเอาลิงเผือกผสมกัน มักออกมาเป็นลิง สามัญอย่าง อ้ายจ๋อ เป็นข้อพิสูจน์ว่าสัตว์เผือกมิได้เป็นพืชพันธุ์ แต่ ที่ชอบไปบ่อยๆ นั้น คือไปเที่ยวดูรูปเขียนในวัดพระแก้ว มิฉะนั้นก็เที่ยว ซอกแซกไปที่อื่นๆ เช่นห้องอาลักาณ์และโรงพิมพ์หลวงเป็นต้น จนคุ้น กับพวกพนักงานประจำรักษาสถานนั้นแทบทุกแห่ง แต่การเตร่อยู่อย่าง ที่ว่าสัก ๒ ปี ในสมัยนั้นก็รู้สึกว่าสนุกดี ต่อมาหวนคิดเมื่อเป็นผู้ใหญ่จึง เห็นว่าน่าสงสาร ด้วยเมื่อเป็นพระเจ้าลูกเธอจะไปไหนมีแต่คนอุ้มชูดูแล ฟัง ห้ามมิให้ซุกซนจนเบื่อหู แต่พอเปลี่ยนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอจึงไม่มีใคร ดูหมิ่น ก็ไม่มีใครเอาใจใส่เอื้อเฟื้อเหมือนแต่ก่อน แต่จะว่าน่าเสียใจทีเดียว ก็ว่าไม่ได้ เพราะในเวลาที่เที่ยวเตร่นั้น ได้โอกาสหัดรักษาตัวเองและได้ เริ่มรู้นิสัยใจคอคนชั้นต่ำ ทั้งได้ความรู้ซึ่งมาเป็นประโยชน์แก่ตัวเมื่อภายหลัง หลายอย่าง ทีนี้จะเล่าถึงราชการในตอนปีมะเมียต่อไป พอเลิกไว้ทุกข์ แล้วรัฐบาลก็เริ่มจัดการต่างๆ อันเป็นฝ่ายทะนุบำรุงบ้านเมือง พิเคราะห์ ดูรายการที่จัด เห็นได้ว่าดำเนินรัฏฐาภิปาลโนบายตามทางพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งนั้น เป็นต้นว่าเมื่อรัชกาล ที่ ๔ โปรดฯ ให้ขุดคลองเจดียบูชา คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ และคลองดำเนินสะดวก บำรุงการทำไร่ไถนา ค้าขายทางฝ่ายตะวันตก ถึง ขั้นนี้ก็ให้เริ่มขุดคลองเปรมประชากรแต่หน้าวัดโสมนัสวิหารผ่านทุ่งหลวงไป ออกแม่น้ำที่เกาะเกิดแขวงกรุงศรีอยุธยา เพื่อบำรุงการทำไร่ค้าขายทาง ฝ่ายตะวันออกอย่างเดียวกัน ในรัชกาลก่อนได้ทำถนนเจริญกรุงให้เป็น ทางใช้รถและสร้างตึกแถวสองฟากถนน ถึงชั้นนี้ก็ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ให้กว้างเป็นทางใช้รถและสร้างตึกแถวทั้งสองฟากทำนองเดียวกัน แต่ ถนนบำรุงเมืองมีตึกและร้านเรือนราษฎรตั้งค้าขายมากอยู่แล้ว สองฟาก ถนนมิได้เป็นที่ว่างเหมือนอย่างถนนเจริญกรุง การที่ขยายถนนจะต้องรื้อ ตึกเรือนของเดิมมาก จึงโปรดให้ว่ากล่าวกับเจ้าของที่ ใครจะปลูก ตึกแถวเองตามแบบหลวงก็ได้ หรือมิฉะนั้นก็จะออกเงินพระคลังข้างที่ สร้างตึกแถว และจะเก็บค่าเช่าใช้คนคุ้มต้นเงินก่อนจึงคืนให้เจ้าของเดิม การขยายถนนบำรุงเมืองทั้งนั้นมีเรื่องควรจะเล่าได้เรื่อง ๑ คือ เดิมมี ศาลเจ้าของพวกจีนเป็นตึกใหญ่อยู่ที่ริมถนนบำรุงเมืองแห่งหนึ่ง เรียกกัน ว่า ศาลเจ้าเสือ กีดทางที่จะขยายถนน จึงพระราชทานที่หลวงแห่งหนึ่ง ริมถนนเฟื่องนครให้ย้ายศาลเจ้าเสือมาตั้ง และจะสร้างศาลใหม่พระราช ทานแทนศาลเดิม แต่พวกจีนไม่พอใจจะให้ย้าย คิดอุบายให้เจ้าเข้าคน ทรงพูดจาพยากรณ์ว่าจะเกิดภัยอันตรายต่างๆ จนเกิดหวาดหวั่นกันในหมู่ พวกจีนในสำเพ็ง ขอแห่เจ้าเอาใจมิให้คิดร้าย ก็พระราชทานให้แห่ตาม ประสงค์ และเสด็จออกทอดพระเนตร ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ฉันได้ ตามเสด็จไปดูแห่ยังจำได้ กระบวนที่แห่นั้นก็เป็นแห่อย่างเจ๊กมีธงทิวและ ล่อโก๊เป็นต้น แปลกแต่มีคนทรงเจ้าแต่งตัวใส่เสื้อกั๊กนุ่งกางเกงและโพกหัว สีแดง นั่งบนเก้าอี้หามมาในกระบวนสักสองสามคน บางคนเอาเข็มเหล็ก แทงแก้มทะลุเข็มคาหน้ามาให้คนเห็น บางคนบันดาลให้คนหามเก้าอี้เดิน โซเซไม่ตรงถนนได้ เมื่อมาถึงพระที่นั่งตรัสสั่งให้ตำรวจเข้าหามเจ้าโซเซ หามไปได้ตรงๆ คนดูก็สิ้นเลื่อมใส เมื่อเสร็จการแห่แล้วโปรดฯ ให้กรม เมืองประกาศว่า ถ้าเจ้ายังขืนพยากรณ์เหตุร้ายจะเอาผิดกับคนทรง ใน ไม่ช้าเจ้าเสือเข้าคนทรงอีก แต่คราวนี้ประกาศว่าที่จะโปรดฯ ให้ย้ายศาลไป สร้างใหม่นั้นเป็นการดีนัก เจ้าพอใจมาก ศาลเจ้าเสือยังอยู่ริมถนนเฟื่อง นครใกล้กับวัดมหรรณพ์ฯ จนทุกวันนี้ ในสมัยนั้นไม่แต่จีน ถึงไทยก็ยังเชื่อ ถือการเชิญเจ้าผีเข้าคนทรงกันมาก เป็นแต่ไม่ทำกันอย่งเปิดเผยเหมือน พวกจีน (แม้จนเวลาเมื่อแต่งหนังสือนี้คนเชื่อถือก็ยังมี) เมื่อฉันยังเป็นเด็ก ได้เคยเห็นวิธี ทรงผี ที่เขาแอบทำกันในวังหลายครั้ง เวลานั้นขึ้นชื่อเจ้าผีที่ คนนับถือมากมี ๓ องค์ เรียกว่าเจ้าพ่อหอกลององค์ ๑ เจ้าพ่อหนูเผือกองค์ ๑ เจ้าพ่อพระประแดงองค์ ๑ การทรงผีอย่างไทยนั้นคนทรงต้องเป็นผู้หญิง มัก เป็นคนอายุกลางคน ก่อนจะทำพิธีต้องให้คนทรงอาบน้ำชำระกายและนุ่ง ห่มผ้าใหม่ นุ่งผ้าลอยชายห่มแพรแถบพาดสองบ่าเหมือนอย่างผู้ชาย และ นั่งขัดสมาธิประณมมือถือธูปจุดมีควัน หลับตานิ่งอยู่ ด้วยนึกเชิญเจ้าผี หรืออย่างไรไม่ทราบ พวกคนที่ร่วมคิดก็นั่งคอยดูอยู่รอบตัว พอสักครู่หนึ่ง มือคนทรงที่ถือธูปเริ่มสั่นและสั่นมากขึ้นทุกที จนธูปหลุดร่วงไปจากมือ ก็ วางมือลงที่ตักนั่งโคลงตัวไปมา เป็นอันเข้าใจกันว่าเจ้าผีมาเข้าทรงแล้ว พวกร่วมคิดคนหนึ่งจึงถามว่าเป็นเจ้าพ่อองค์ไหน คนทรงก็บอกให้ทราบว่า องค์นั้นๆ เมื่อรู้แล้วก็พูดกันต่อไปตามเรื่องธุระประสงค์ ประหลาดอยู่ที่คน พูดกับเจ้าผีต้องเรียกตัวเองว่า ลูกช้าง จะหมายความว่ากะไรไม่เคยได้ยิน อธิบาย คิดก็ไม่เห็นว่าจะเป็นเพราะเหตุใด ครั้นพูดกันเสร็จธุระแล้วเมื่อ เจ้าผีจะออกนั้น คนทรงจะพูดขึ้นว่า ไปละนะ ว่าแล้วตัวก็สั่นอีกพักหนึ่ง แล้วเลยฟุบนอนหอบหายใจอยู่สักครู่หนึ่งจังกลับได้สมปฤดี มาคิดดูใน เวลานี้ ดูก็เป็นอย่างเดียวกันกับการทรงผี (Seance) ของฝรั่งที่ยังชอบ ทำกันอยู่แพ่หลายนั้นเอง แต่ชาวเอเซียทำกันมาแล้วตั้งร้อยปีพันปี แต่ โบราณไทยเราเรียกว่า ลงผี เรียกคนทรงว่า แม่มด นอกจากถนนบำรุงเมือง ใช้ขยายถนนเฟื่องนครตอนบ้านหม้อใน ครั้งนั้นด้วย แต่ไม่สร้างตึกแถว และให้กรุยถนนบ้านญวรอีกสายหนึ่ง ในปีมะเมียนั้นเหมือนกัน แต่การสร้างค้างอยู่ช้านาน มาสำเร็จเมื่อโปรดฯ ให้สร้างเป็นถนนพาหุรัดในภายหลัง อนึ่งในปีมะเมียนั้น โปรดฯ ให้กรม พระราชวังบวรฯ เป็นแม่กองสร้างป้อมเสือซ่อนเล็บ ณ เมืองสมุทรปราการ ที่ค้างอยู่ และปรากฎในจดหมายเหตุว่าให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรอง เมือง (เนียม) เจ้ากรมกองตระเวน ไปดูแบบคุกและโรงพยาบาลที่เมือง สิงคโปร์เพื่อจะเอาอย่างมาสร้างในกรุงเทพฯ แต่เมื่อกลับมามีผลเพียง เตรียมที่สำหรับสร้างคุกใหม่ (ที่ริมถนนมหาชัย) การสร้างค้างมาอีก ช้านาน ส่วนโรงพยาบาลนั้นค้ามาจนตัวฉันได้เข้าเกี่ยวข้องในการสร้าง เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ ดังจะเล่าในที่อื่นต่อไปในข้างหน้า เรื่องต่างๆ ที่ ได้พรรณนามา เป็นการใหม่ที่จัดบำรุงบ้านเมืองส่วนรัฐบาลจัด ยังมีการต่างๆ เป็นส่วนในราชสำนักที่จัดขึ้นในปีมะเมียนั้นก็ หลายอย่าง เป็นต้นแต่เริ่มเสด็จประพาสหัวเมือง เมื่อต้นปีเสด็จไปเปิด คลองภาษีเจริญ แล้วเสด็จเลยไปยกยอดพระปฐมเจดีย์ครั้งหนึ่ง ถึงฤดู น้ำเสด็จไปประทับที่วังจันทรเกษม ทรงทอดพระกฐิน ณ พระนครศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง เห็นจะเป็นเสด็จคราวนี้เองที่โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ ปางปะอินที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มสร้างค้าง อยู่ แล้วเลยเป็นที่โปรดประพาสในชั้นหลังต่อมาจนตลอดรัชกาล การ เฉลิมพระชันษาที่ทำพิธีและแต่งประทีปประจำปีก็เริ่มแต่ปีมะเมียนั้ เหตุที่ ทำพิธีเฉลิมพระชันษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง ชี้แจงไว้ในหนังสือเรื่อง พระราชพิธี ๑๒ เดือน ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์โดย พิสดารแล้ว จึงไม่พรรณนาในหนังสือนี้ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา ในราช สำนักเมื่อปีมะเมียอย่างหนึ่งซึ่งมากลายเป็นการสำคัญ เพราะเป็นปัจจัย ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นมากเมื่อภายหลัง คือการตั้งกรมทหารมหาดเล็ก ที่จริงทหารมหาดเล็กนั้นเริ่มทรงจัดมาตั้งแต่ในปีมะเส็ง เหตุด้วยเมื่อก่อน เสด็จเสวยราชย์ มีลูกผู้ดีถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่มากด้วยกัน ครั้นถึง รัชกาลที่ ๕ พวกมหาดเล็กข้าหลวงเดิมเหล่านั้นก็เข้ามาสบทบเป็นมหาด เล็กหลวงตามประเพณี มีคนมหาดเล็กในกรมมากเกินการ จึงโปรดฯ ให้ เลือกคัดมหาดเล็กข้าหลวงเดิมที่กำลังหนุ่มแน่นเป็นทหารประมาณสัก ๒๐ คน พระราชทานเครื่องแบบให้แต่งตัว และให้ครูทหารหน้าเข้ามาหัดถวาย ทอดพระเนตรเมื่อเสด้จออกข้างหน้าเวลาบ่ายทุกๆ วัน โปรดฯ ให้เปลี่ยน คำบอกทหารเป็นภาษามคธ แล้วทรงพระราชดำริต่อไปให้ฝึกสอนวิชา อย่างอื่นสำหรับข้าราชการแก่พวกมหาดเล็กที่หัดทหารนั้นด้วย เวลานั้น พระยาสุรศักดิมนตรี (แสง ชูโต) ได้เป็นจางวางมหาดเล็กขึ้นใหม่ เลื่อม ใสตามพระราชดำริ จึงชักชวนข้าราชการผู้ใหญ่ตั้งแต่เจ้าพระยาเสนาบดีลง ไป ให้ถวายลูกชายเป็นมหาดเล็กทหาร จำนวนคนก็มากขึ้นตามลำดับ ถึงปีมะเมีย จึงโปรดฯ ให้ตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็ก สำหรับรักษาพระองค์ ทรงเลือกผู้ดีที่ได้ฝึกหัดนั้นตั้งเป็นนายร้อยนายสิบบังคับบัญชาตามพระวินัย ทหาร ขึ้นอยู่ในจางวางมหาดเล็กเหมอนกับมหาดเล็กฝ่ายพลเรือน ประ ดิษฐานพระองค์เป็นตำแหน่งนายพันเอกผู้บังคับการ และทรงชักชวนเจ้า นายตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ และหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่มีใจสมัคร ให้เข้าเป็นทหารมหาดเล็ก เป็นกรมทหาร ล้วนแต่ผู้ดีมีขึ้นผลักเปลี่ยนเป็นเวรกันอยู่ประจำรักษาพระองค์ ได้รับพระ ราชทานเงินเดือนและเครื่องแต่งตัว ทั้งที่มีอยู่กินที่ในพระราชวัง เนื่อง ต่อการที่ตั้งทหารมหาดเล็กนั้น โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหนังสือไทยขึ้นใน กรมมหาดเล็ก ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อยังเป็น ที่หลวงสารประเสริฐในกรมพระอาลักษณ์ เป็นอาจารย์ใหญ่แต่งตำรา เรียน (คือชุด มูลบทบรรพกิจ) ขึ้นใหม่ ให้โรงพิมพ์หลวงพิมพ์มาใช้ใน โรงเรียนนั้น สำหรับสอนพวกทหารมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนหลวงแรก มีขึ้น ครั้นการโรงเรียนเจริญ ถึงปีมะเมียจึงโปรดฯ ให้ประกาศรับให้ผู้อื่น เข้าโรงเรียนแต่นั้นมา โรงเรียนนี้ควรนับว่าเป็นบ่อเกิดการศึกษาที่แพร่ หลายต่อมาจนถึงตั้งกระทรวงธรรมการ ดังจะปรากฎในเรื่องตอนอื่นต่อไป ข้างหน้า มีการที่จัดขึ้นในพระราชสำนันกในปีมะเมียนั้นอย่างหนึ่ง คือเมื่อมี เครื่อบแบบสำหรับแต่งงตัวทหารมหาดเล็กขึ้นแล้ว ทรงพระราชดำริให้มี เครื่องแบบสำหรับฝ่ายพลเรือนแต่งเข้าเฝ้าในเวลาปกติด้วย ให้แต่งใส่เสื้อ แพรสีต่างกันตามกระทรวง คือเจ้านายสีไพล ขุนนางกระทรวงมหาดไทย สีเขียวแก่ กลาโหมสีลูกหว้า กรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) สี น้ำเงินแก่ (จึงเกิดเรียกสีนั้นว่ สีกรมท่า มาจนทุกวันนี้) มหาดเล็ก สีเหล็ก (อย่างเดียวกับเสื้อแบบทหารมหาดเล็ก) อาลักษณ์กับโหรสีขาว รูปเสื้อแบบพลเรือนครั้งนั้นเรียกว่า เสื้อปีก เป็นเสื้อปิดคอมีชาย (คล้าย เสื้อติวนิค แต่ชายสั้น) คาดเข็มขัดนอกเสื้อ เจ้านายทรงเข็มขัดทอง ขุนนางคาดเข็มขักหนังสีเหลือง หัวเข็มขัดมีตราพระเกี้ยว นุ่งผ้าม่วงโจง กระเบนแทนสมปัก แต่เครื่องแบบพลเรือนนี้ไม่ได้บัญญัติให้ใช้ทั่วกันไป เป็นแต่ใครได้พระราชทานก็แต่ง ที่ไม่ได้พระราชทานก็คงแต่งตัวอย่างเดิม คือใส่เสื้อกระบอกผ้าขาว เจ้านายทรงผ้าม่วงโจงกระเบนคาดแพรแถบ ขุนนางนุ่งสมปักชักพกคาดผ้ากราบ แต่เครื่องแบบพลเรือนที่ว่านี้ ใช้ มาเพียงปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ พอเสด็จกลับจากอินเดียก็เริ่มเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น ถึงปลายปีมะเมียเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จไปประพาสต่างประเทศครั้งแรก เป็นเรื่องสำคัญในพงศาว ดารจะเล่าในตอนหน้าต่อไป เรื่องเสด็จไปต่างประเทศครั้งแรก การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตร ต่างประเทศถึงเมืองสิงคโปร์ของอังกฤษ และเมืองบะเตเวีย เมืองสมารัง ของฮอลันดา ที่เรียกกันภายหลังแต่โดยย่อว่า เสด็จไปสิงคโปร์ เมื่อปลาย ปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๑๓ นั้น มูลเหตุมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ จำเดิมแต่ทำ หนังสือสัญญาเปิดบ้านเมืองให้ฝรั่งมาค้าขาย มีกงสุลและพวกฝรั่งต่าง ชาติเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้นทุกที พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะทะนุบำรุงพระนครมิให้พวกฝรั่งดูหมิ่น จึงให้ เริ่มจัดการต่างๆ คือ ให้สร้างถนน (เจริญกรุง) สำหรับให้ใช้รถเป็นต้น ได้โปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ กับพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นวิษณุนาถ นิภาธร ไปดูลักษณะการที่อังกฤษ บำรุงเมืองสิงคโปร์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ด้วยเมืองสิงคโปร์อยู่ใกล้ไปมาได้สะดวกกว่าที่อื่น ต่อมาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภจะเสด็จไปเองให้ถึงเมือง สิงคโปร์ ชะรอยจะใคร่ทรงสืบสวนถึงวิธีฝรั่งปกครองบ้านเมืองด้วย แต่ รอหาโอกาสไปจนถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อเสด็จลงไปทอดพระเนตรสุริย อุปราคาที่หว้ากอครั้งนั้น เซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์กับภรรยาขึ้นมา เฝ้า เพื่อจะมาดูสุริยอุปราคาหมดดวงด้วย เซอร์แฮรีออดทูลเชิยเสด็จไป ประพาสเมืองสิงคโปร์ จึงตรัสรับว่าจะเสด็จไปเยี่ยมตอบ แล้วทรงปรึกษา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ๆ ก็เห็นชอบด้วย แต่กราบบังคมทูลขอให้มีเวลา ตระเตรียมก่อน (สันนิษฐานว่าคงกำหนดว่าจะเสด็จไปเมื่อสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนมีนาคมปีมะโรงนั้น) แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับมาจากหว้ากอ ก็มาประชวรเสด็จสู่สวรรคตเสีย การที่จะเสด็จไป สิงคโปร์จึงเป็นอันค้างอยู่ (ความที่จะกล่าวต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตรัสเล่าให้ฉันฟัง) ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริย วงศ์แรกได้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พวกกงสุลต่างประเทศมี มิสเตอร์ น๊อกส์ กงสุลเยเนอราลอังกฤษ เป็นต้น ถามท่านว่าจะคิดอ่านให้พระเจ้า แผ่นดินทรงศึกษาวิธีปกครองบ้านเมืองด้วยประการใด ท่าน (ระลึก ถึงพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยังค้างอยู่) ตอบว่าคิดจะให้เสด็จไปทอดพระเนตรวิธีปกครองบ้านเมืองของต่างประเทศ ที่เมืองสิงคโปร์และเมืองบะเตเวีย พวกกงสุลก็พากันซ้องสาธุการและรับจะ บอกไปถึงรัฐบาลของตน ให้รับเสด็จให้สมพระเกียรติยศ ฝ่ายพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทราบว่าจะได้เสด็จไปทอด พระเนตรต่างประเทศก็ทรงยินดีเต็มพระราชหฤทัย ครั้นได้รับเชิญของ รัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลฮอลันดาก็ลงมือเตรียมการตั้งแต่ต้นปีมะเมียมา ครั้งนั้นมีการที่ต้องแก้ไขขนบธรรมเนียมเดิมให้สะดวกแก่ที่เสด็จ ไปต่างประเทศหลายอย่าง เป็นต้นว่า (๑) เรือพระที่นั่งที่จะเสด็จไป จะใช้เรือพระที่นั่ง อัครราชวรเดช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรง ก็ไม่ไว้ใจ ด้วยทาง ที่จะเสด็จไปต้องผ่านทะเลใหญ่ เผอิญในเวลานั้นซื้อเรือรบอย่าง คอเวตต่อด้วยเหล็กมาจากสก๊อตแลนด์เพิ่งมาถึงใหม่ลำ ๑ ขนานนามว่า เรือ พิทยัมรณยุทธ จึงจัดเรือลำนั้นให้เป็นเรือพระที่นั่งทรง ให้มีเรือรบซึ่ง ต่อในกรุงเทพฯ เป็นเรือตามเสด็จลำ ๑ เป็นเรือล่วงหน้าลำ ๑ รวมเป็น เรือกระบวนเสด็จ ๓ ลำด้วยกัน (๒) ราชบริพารที่ตามเสด็จ ซึ่งประเพณีเดิมเวลาเสด็จไปไหน ในพระราชอาณาเขต ต้องมีพนักงานต่างๆ ตามเสด็จด้วยมากมาย ก็ให้ ลดจำนวนลงคงแต่ ๒๗ คนทั้งเจ้านายที่โปรดฯ ให้ไปตามเสด็จด้วย คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างสงศ์ (สมเด็จพระราช ปิตุลาฯ ) พระองค์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ (กรม หลวงอดิศรอุดมเดช) เป็นนายร้อยทหารมหาดเล็กอยู่แล้ว โปรดฯ ให้เป็น ราชองครักษ์พระองค์ ๑ ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไปตามเสด็จครั้งนั้นมีเจ้าพระยา สุรวงศ์วัยวัฒน์ อัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ๑ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกศาธิบดี เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ๑ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็ก ได้บังคับทหารมหาดเล็กอยู่แล้ว โปรดฯ ให้เป็นราชองครักษ์ ๑ สมัยนั้นเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในราชสำนัก ยังไม่ใช้ถุงเท้ารองเท้า และยังเสื้อแพรหรือเสื้อกระบอกผ้าขาวเข้าเฝ้า จึงต้องคิดแบบเครื่องแต่งตัว สำหรับบรรดาผู้ที่จะตามเสด็จเข้าสมาคมและ พิธีต่างๆ ให้ใส่ถุงเท้ารองเท้า และแต่งเครื่องแบบทั้งฝ่ายทหารและ พลเรือน ฝ่ายทหารมีเครื่อบแบบทั้งเต็มยศและเวลาปกติ ฝ่ายพลเรือนมี เครื่องแบบแต่เต็มยศ เป็นเสื้อแพรสีหรมท่าปักทองที่คอและข้อมือ เวลา ปกติใช้เสื้อคอเปิดผูกผ้าผูกคออย่างฝรั่ง แต่เครื่องแบบครั้งนั้นใช้นุ่งผ้าม่วง สีกรมท่า ไม่นุ่งกางเกงทั้งทหารและพลเรือน ผ้าม่วงสีกรมท่าจึงใช้เป็น เครื่องแบบและนุ่งในเวลามีการงานแต่ครั้งนั้นสืบมา เนื่องแต่จัดระเบียบการแต่งตัว เมื่อครั้งเสด็จไปสิงคโปร์คราวปี มะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ เลยเกิดการเปลี่ยนแปลงประเพณีทั่วทั้งประเทศ สยามอย่าง ๑ ซึ่งควรจะกล่าวไว้ด้วย ในสมัยนั้นไทยยังไว้ผมตามประเพณี ครั้งกรุงศรีอยุธยา เด็กไว้ผมจุกเหมือนกันทั้งชายหญิง ผู้ใหญ่ชายไว้ ผมมหาดไทย คือโกนผมรอบศีรษะไว้ผมยาวสัก ๔ เซ็นต์ บนกลางกบาลหัว แล้วหวีแต่งเรือนผมนั้นตามเห็นงาม ส่วนผู้หญิงไว้ ผมปีก มีเรือนผมแต่ บนกบาลหัวทำนองเดียวกับผู้ชาย รอบหัวเดิมไว้ผมยาวลงมาจนประบ่า ชั้นหลังเปลี่ยนเป็นตัดเกรียนรอบศีรษะ และไว้ผมเป็นพู่ที่ริมหูสำหรับเกี่ยว ดอกไม้เครื่องประดับเรียกว่า ผมทัด ทั้งสองข้าง ประเพณีที่ไว้ผมเช่นว่า มาไทยเราไว้อย่างเดียวกันทั้งบ้านทั้งเมือง จนเคยตามาหลายร้อยปี ก็ เห็นงามตามวิสัยมนุษย์ อันสุดแต่ทำอะไรให้เหมือนกันมากๆ ก็ (เกิด เป็นแฟชั่น) เห็นว่างามตามกันไป เป็นเช่นเดียวกันทุกชาติทุกภาษา ยก ตัวอย่างเช่นพวกจีนเดิมไว้ผมมวย ครั้นพวกเม่งจูมาครอบครองบังคับให้ไว้ ผมเปีย นานเข้าก็นิยมว่าผมเปียสวยงาม หรือจะว่าข้างฝรั่ง ยกตัวอย่าง ดังเครื่องแต่งตัวผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลกไม่รู้จักหยุด ก็เป็นเพราะเหตุเช่น เดียวกัน แต่การไว้ผมของไทยอย่างว่ามาเมื่อไปยังต่างประเทศ พวกชาว เมืองเห็นเป็นวิปริตแปลกตามักพากันยิ้มเยาะ เมื่อครั้งทูตไทยไปยุโรปใน รัชกาลที่ ๔ จึงให้ไว้ผมทั้งศีรษะและตัดยาวอย่างฝรั่ง แต่เมื่อกลับมาถึง กรุงเทพฯ ก็กลับตัดผมมหาดไทยไปอย่างเดิม เมื่อจะเสด็จไปสิงคโปร์คราว นี้ก็โปรดฯ ให้ผู้ที่จะตามเสด็จไว้ผมยาวตั้งแต่เวลาตระเตรียม เว้นแต่ สมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีฯ ให้ตามเสด็จไปทั้งไว้พระเกศาจุก ครั้นเมื่อเสด็จ กลับคืนพระนคร ทางปรารภกับท่านผู้ใหญ่ในราชการว่าการไปมาและคบ หาสมาคมในระหว่างไทยกับฝรั่งจะมีมากขึ้นทุกที ประเพณีไว้ผมมหาดไทย ชวนให้ชาวต่างประเทศดูหมิ่น ควรจะเปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะ ท่านผู้ใหญ่ในราชการก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงดำรัสสั่งให้เลิกตัดผม มหาดไทยในราชสำนัก ตั้งแต่ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นต้นมา แต่มิให้ บังคับถึงราษฎร ใครจะไว้อย่างใดก็ไว้ได้ตามชอบใจ แต่เมื่อคนทั้งหลาย เห็นบุคคลชั้นสูงไว้ผมตัดยาว ก็พากันตามอย่างมากขึ้นโดยลำดับ หลาย ปีประเพณีไว้ผมมหาดไทยจึงหมดไป ถึงกระนั้นเมื่อแรกเลิกตัดผมมหาด ไทยนั้น คนชั้นผู้ใหญ่สูงอายุก็ยังไม่สิ้นนิยมผมมหาดไทย แม้เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ มักให้ช่างตัดผมรอบศีรษะให้สั้น และไว้ผมข้างบนยาวคล้ายกับ เรือนผมมหาดไทย เรียกกันว่า ผมรองทรง ทางฝ่ายผู้หญิงนั้นก็โปรดฯ ให้เลิกผมปีก เปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวแต่ในราชสำนักก่อน แล้วผู้หญิงพวก อื่นก็เอาอย่างต่อๆ กันไปจนทั่วทั้งเมือง นอกจากเรื่องตัดผมยังมีการอื่นๆ ที่จัดเป็นอย่างใหม่ในกระบวน เสด็จอีกหลายอย่าง เช่น ให้ยืนเฝ้าและถวายคำนับเป็นต้น แต่การรักษา พระนครในเวลาเสด็จไม่อยู่ ซึ่งเคยถือกันมาว่าเป็นการสำคัญแม้เพียงเสด็จ ไปหัวเมืองในพระราชอาณาเขตเมื่อรัชกาลก่อนๆ แต่ครั้งนี้ไม่ลำบาก ด้วยพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงว่าราชการแผ่นดิน มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แทนพระองค์ประจำอยู่แล้ว เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปี มะเมีย ไปหยุดพักที่เมืองสงขลาทอดพระเนตรบ้านเมืองวัน ๑ แล้วแล่น เรือต่อไปถึงเมืองสิงคโปร์ จัดการรับเสด็จอย่างใหญ่ยิ่งกว่าเคยรับแขกเมืองมาแต่ ก่อน ด้วยเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปถึงเมืองสิงคโปร์ รับเสด็จ ขึ้นเมืองเป็นการเต็มยศ ผู้รั้งราชการเมืองสิงคโปร์กับข้าราชการทั้งปวง พร้อมกันมารับเสด็จที่ท่าเรือ เชิญเสด็จตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ แล้ว ทรงรถแห่ไปยังศาลานคราทรซึ่งพวกพ่อค้าพาณิชย์ทั้งปวงคอยเฝ้าอยู่พร้อม กัน เชิญเสด็จประทับราชอาสน์ แล้วผู้เป็นนายกสภาพาณิชย์เมืองสิงคโปร์ อ่านคำถวายชัยมงคล กล่าวความท้าวถึง สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงปกครองราชอาณาจักร ด้วยพระปรีชาญาณ ทรงทะนุบำรุงให้ประเทศสยามมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นที่นับถือของนานาประเทศ และที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติ ตามแบบอย่างต่อมาจนถึงทรงพระราชอุตสาหะเสด็จไปทอดพระเนตรเมือง ต่างประเทศ ก็สมควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่พระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่นๆ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ แล้วเสด็จกลับขึ้นทรงรถแห่ไปยังจวน เจ้าเมือง ซึ่งจัดถวายเป็นที่ประทับแรมตลอดเวลาเสด็จอยู่เมืองสิงคโปร์ ในเวลาเสด็จประทับอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ ๗ วันนั้น มีการสโมสรต่างๆ ที่ จัดขึ้นรับเสด็จและเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรกิจการและสถานที่ต่าง ๆ สำ หรับบ้านเมืองมากมายหลายอย่างทุกๆวัน ตามรายการในจดหมายเหตุ ดูเกือบไม่มีเวลาที่จะได้เสด็จพัก การสโมสรนั้น นายทหารบกมีประชุม เต้นรำ (Ball) ที่โรงทหารคืน ๑ พวกฝรั่งชาวเมืองสิงคโปร์มีการประชุมแต่ง ตัวต่างๆ เต้นรำ (Fancy Dress Ball) ที่ศาลานคราทรคืน ๑ ต่อมามี ละครสมัครเล่นถวายทอดพระเนตรที่ศาลานคราทรอีกคืน ๑ ผู้รั้งราชการ เมืองมีการเลี้ยงอย่างเต็มยศ (Banquet) คืน ๑ พวกชาวสิงคโปร์มีการ ประกวดต้นไม้ดอกไม้ถวายทอดพระเนตรที่สวนสำหรับเมืองวัน ๑ ส่วนกิจ การและสถานที่ ที่เชิญเสด็จทอดพระเนตรนั้น คือโรงทหารบก เรือรบ อู่เรือ ศาลชำระความ เรือนจำ โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารไปรษณีย์ สถานีโทรเลข สถานีเครื่องดับไฟ โรงกลั่นไอประทีบ (Gas-works) ห้าง และตลาดขายของ ทั้งทรงรถเที่ยวทอดพระเนตรถนนหนทางที่บำรุงบ้าน เมืองด้วย เสด็จประทับอยู่ในเมืองสิงคโปร์จนเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่ง มีการส่งเสด็จอย่างเต็มยศเหมือนเมื่อเสด็จไปถึง ออกเรือในค่ำวันนั้น ไปถึงท่าเมืองบะเตเวียที่เกาะชะวา ณ วันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ รัฐบาลฮอลันดาก็จัดการต่างๆ รับเสด็จเป็นอย่าง ใหญ๋ทำนองเดียวกับอังกฤษรับเสด็จที่เมืองสิงคโปร์ มีรายการเปลี่ยนออก ไปแต่มีการสวนสนามทหารบกอย่าง ๑ พวกมลายูกับพวกจีนมีการแห่ ประทีปอย่าง ๑ และพวกฝรั่งมีการจุดดอกไม้ไฟถวายทอดพระเนตรคืน ๑ สถานที่ซึ่งเจริญเสด็จไปทอดพระเนตร มีแปลกที่ทอดพระเนตรโรงทำปืน อย่าง ๑ กับทอดพระเนตรพิพิธภัณฑสถานอีกอย่าง ๑ ซึ่งในเมืองสิงคโปร์ ยังไม่มีในสมัยนั้น เสด็จประทับอยู่ที่เมืองบะเตเวีน ๗ วัน ถึงวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งแล้วออกเรือในเช้าวันนั้น วันรุ่ง ขึ้นก็ถึงเมืองสมารัง แต่เสด็จไปถึงต่อในเวลาบ่าย จึงประทับแรมอยู่ใน เรือพระที่นั่งคืน ๑ ถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเวลาเช้า เรสิเดนต์ (สมุหเทศาภิบาล) หัวหน้าในรัฐบาลเมืองสมารังลงมารับเสด็จขึ้นเมืองเป็นการเต็มยศ และ มีพิธีรับเสด็จคล้ายกับที่เมืองบะเตเวีย มีสิ่งซึ่งได้ทอดพระเนตร ณ เมือง สมารังครั้งนั้นแปลกจากที่อื่น คือทรงรถไฟซึ่งกำลังสร้างไปจนสุดปลาย รางอย่าง ๑ ทอดพระเนตรโรงทำดินปืนอย่าง ๑ กับเจ้ามังกุนคโรเมือง โสโลพาละครชะวามาเล่นถวายทอดพระเนตรอย่าง ๑ เสด็จประทับอยู่ เมืองสมารัง ๓ วัน ถึงวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๕ ก็เสด็จลงเรือพระที่นั่งออก เรือในวันนั้นกลับมาถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อแรม ๕ ค่ำ มีพระราชดำรัสขออย่า ให้มีการรับรองอย่างยศศักดิ์ให้ซ้ำซากลำบากแก่เขาอีก ผู้รั้งราชการลงมา รับเสด็จเป็นการไปรเวต เชิญเสด็จประทับร้อนที่จวนเข้าเมือง เชิญเสด็จ เสวยกลางวันแล้วเสด็จประพาสตามพระราชอัธยาศัย ครั้นเวลาคำเชิญ เสด็จเสวยอีกเวลา ๑ และเสด็จทอดพระเนตรละครม้าแล้วจึงเสด็จกลับ ลงเรือพระที่นั่ง รุ่งขึ้นวันอังคารเดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ออกเรือพระที่นั่ง จากเมืองสิงคโปร์ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ รวมเวลาที่เสด็จไปครั้นนั้น ๓๗ วัน เมื่อเสด็จกลับมาถึงแล้วมีงาน รื่นเริงเฉลิมพระเกียรติและแต่งประทีปทั่วทั้งพระนคร ๕ วัน พิเคราะห์รายการที่เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ เมืองบะเตเวีย และ เมืองสมารัง เห็นได้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรขนบธรรม เนียมฝรั่งมาก ทั้งในส่วนการสมาคมและกิจการต่างๆ ซึ่งเนื่องในการ ปกครองทะนุบำรุงบ้านเมือง การที่เสด็จไปต่างประเทศครั้งนั้น ความเข้า ใจของคนทั้งหลายทั้งไทยและฝรั่งเป็นอย่างเดียวกันว่า เสด็จไปทรงศึกษา หาแบบอย่างมาจัดการทะนุบำรุงประเทศสยาม หากว่าเมื่อเสด็จกลับมา ไม่ทำอะไรเลย ก็คงถูกติเตียนว่าเสด็จไปเที่ยวเล่นให้สิ้นเปลืองเวลาเปล่าๆ หรือถึงหมิ่นประมาทพระปัญญาว่าไร้ความสามารถ ก็แต่สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวยังมิได้ว่าราชการบ้านเมือง จึงเริ่มทรงจัดการแก้ไขขนบธรรมเนียมแต่ ในราชสำนันก ด้วยความเห็นชอบของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในเวลานั้น ฉันอายุได้ ๑๐ ขวบและอยู่ในราชสำนัก ได้เห็นการที่เปลี่ยนแปลงที่จัด เมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์ยังจำได้อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่าโปรดฯ ให้ กั้นฉากในพระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็น ๓ ห้อง ห้องทางตะวันตกตั้งโต๊ะ เก้าอี้เป็นห้องรับแขก ห้องตอนกลางคงเป็นทางเสด็จออกท้องพระโรงหน้า ห้องทางตะวันออกจัดเป็นห้องเสวย ตั้งโต๊ะเก้าอี้เลี้ยงแขกได้ราว ๒๐ คน เวลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรง เจ้านายขุนนางยังหมอบเฝ้าและคงแต่งตัว เหมือนอย่างเดิม แต่ตอนกลางวันเมื่อเสด็จขึ้นจากท้องพระโรง หรือตอน บ่ายและตอนค่ำก่อนเสวยเย็น เสด็จประทับที่ห้องรับแขก ในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ ให้ผู้ที่เข้าเฝ้าแต่งตัวสวมถุงเท้ารองเท้า ใส่เสื้อเปิดคอแบบ ฝรั่ง นุ่งผ้าม่วงสีกรมท่า ยืนเฝ้าตามแบบฝรั่ง ถึงเวลาเสวยเย็นโปรดฯ ให้เจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักนั่งโต๊ะเสวยด้วย ต้องแต่ง ตัวใส่เสื้อแย๊กเก๊ตขาวเปิดคอ เวลาบ่ายๆ ถ้าเสด็จทรงเที่ยวประพาส ก็ แต่งตัวใส่ถุงเท้ารองเท้าเสื้อเปิดคอและยืนเฝ้าเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวมา ถ้าว่าตามความเห็นในสมัยนี้ดูก็เป็นการเล็กน้อย แต่คนในสมัย นั้เห็นแปลกประหลาด ถึงจมื่นเก่งศิลปคน ๑ เขียนลงเป็นจดหมายเหตุ ใน ปูม เมื่อวันเสาร์เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ (ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔) ว่า ในข้างขึ้นเดือนนี้ข้าราชการแต่งคอเสื้อผ้าผูกคอ ด้วยเป็นธรรมเนียมฝรั่งธรรมเนียมนอก ดังนี้ พอเป็นเค้าให้เห็นได้ว่าคนในสมัยนั้นเห็นเป็นการสำคัญเพียงใด มีการอีกอย่างหนึ่งซึ่งทรงพระราชดำริเมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์ คือ จะจัดการศึกษาของลูกผู้ดีซึ่งได้โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนภาษาไทย ขึ้นแต่ก่อนเสด็จไปสิงคโปร์แล้ว เมื่อเสด็จกลับมีพระราชประสงค์จะให้ มีโรงเรียนภาษาอังกฤษด้วย แต่ขัดข้องด้วยหาครูไม่ได้ เพราะมิชชันนารี ที่สอนภาษาอังกฤษแก่ไทยในเวลานั้น สอนแต่สำหรับชักชวนคนให้เข้ารีต เป็นข้อรังเกียจอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลือกหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ที่ยังเยาว์วัย ส่งไปเรียนที่โรงเรียนแรฟเฟล ณ เมืองสิงคโปร์ในปีมะแมนั้น ประมาณ ๒๐ คน นักเรียนที่ส่งไปครั้งนั้นยังมีตัวตนอยู่ในเวลาเมื่อแต่งหนังสือนี้แต่ ๓ คือ สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์พระองค์ ๑ พระองค์ เจ้าปฤษฎางค์พระองค์ ๑ หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ องค์ ๑ เดี๋ยวนี้ทรง พระชราแล้วทุกพระองค์ แต่นักเรียนชุดนี้ไปเรียนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เพียง ปีเศษ ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ เมื่อเสด็จกลับจากอินเดียหาครูอังกฤษได้ โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษขึ้นแล้ว ก็โปรดฯ ให้กลับ มาเรียนในกรุงเทพฯ เว้นแต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ทั้ง ๓ นี้เรียนรู้มากถึง ชั้นสูงกว่าเพื่อน จึงโปรดฯ ให้ส่งไปเรียนที่ประเทศอังกฤษต่อไป เป็น แรกที่ส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป กรมที่ทรงจัดมากเมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์นั้น คือทหารมหาดเล็ก ถึงตอนนี้ทรงจัดแก้ไขเพิ่มเติมขยายการออกไปหลายอย่าง คือให้ ชักชวนพวกเชื้อสายราชสกุลและลูกมหาดเล็กเข้าเป็นทหาร เพิ่มจำนวน คนขึ้น จัดเป็น ๖ กองร้อย ให้สร้างตึกแถว ๒ ชั้น ขึ้น ๒ ข้างประตูพิมาน ชัยศรี เป็นที่อยู่ของมหาดเล็ก และสร้างตึก ๒ ชั้นขึ้นอีกหลัง ๑ ที่ ริมกำแพงด้านหน้าพระราชวัง สำหรับเป็นที่อยู่ของนายทหารมหาดเล็ก (ตามแบบ ตังลินบาแร๊ก ณ เมืองสิงคโปร์) แต่ตึกหลังนี้เมื่อกำลังสร้าง อยู่ประจวบเวลาเริ่มแก้ไขการพระคลังมหาสมบัติ (ซึ่งจะเล่าเรื่องต่อไป ข้างหน้า) ไม่มีสถานที่จะทำการพระคลังฯ จึงโปรดฯ ให้โอนไปเป็น สถานที่ทำการพระคลังฯ ขนานนามว่า หอรัษฎากรพิพัฒน (แต่ตัวตึก เดี๋ยวนี้แก้ไขต่อเติมผิดกับของเดิมเสียมากแล้ว) และในครั้งนั้นให้สร้าง ตึกใหญ่สำหรับเป็นที่สโมสรของทหารมหาดเล็ก ตามแบบสโมสรคองคอเดีย ที่เมืองบะเตเวียอีกหลัง ๑ (ซึ่งแก้ไขเป็นศาลาสหทัยสมาคมบัดนี้) เรียก ชื่อตามภาษาฝรั่งว่า หอคองคอเดีย ภายนอกพระราชวัง ก็มีการก่อสร้างซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเสด็จกลับจาก สิงคโปร์ครั้งนั้นอีกหลายอย่าง ว่าแต่ตามที่ฉันจำได้ คือทำถนนริมกำแพง รอบพระนครอย่าง ๑ สร้างสวนสราญรมย์อย่าง ๑ แต่งคลองตลาดตอน ระหว่างสะพานข้างโรงสีกับสะพานมอญ ทำเขื่อนอิฐถนนรถ (ซึ่งภายภาย หลังขนานนามว่า ถนนราชินี และ ถนนอัษฎางค์) ทั้ง ๒ ฟาก และ มีสะพานหกสำหรับรถข้ามคลองเหมือนอย่างที่เมืองบะเตเวียด้วย นอกจาก ที่พรรณนามามีการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแต่สมัยนั้นก็หลายอย่าง เป็นต้นว่า หารถมาใช้ในกรุงเทพฯ แพร่หลายมาแต่นั้น ซื้อมาจากเมืองสิงคโปร์ บ้าง เมืองบะเตเวียบ้าง แต่ในไม่ช้าก็มีช่างตั้งโรงรับสร้างและซ่อมแซม รถขึ้นในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับการที่แต่งตัวใส่เสื้ออย่างฝรั่งและใช้เกือก ถุงตีน ในไม่ช้าก็มีโรงรับจ้างตัดเสื้อและขายสิ่งของที่ต้องการใช้ หาได้ใน กรุงเทพฯ นี้เองไม่ลำบาก หรือถ้าว่าโดยย่อ การที่เสด็จไปสิงคโปร์ ครั้งนั้น นอกจากการเจริญการสมาคมในระหว่างไทยกับชาวต่างประเทศ เป็นปัจจัยให้ชาวต่างประเทศนิยม เข้ามาค้าขายในประเทศนี้ ยิ่งขึ้นกว่าแต่ ก่อนเป็นอันมาก พอเสด็จกลับจากสิงคโปร์แล้วไม่ช้า ในปีมะเมียนั้นเองก็เริ่มเตรียม การที่จะเสด็จไปอินเดีย เหตุที่จะเสด็จไปอินเดียนั้น เจ้าพระยาภานุวงศ์ เคยเล่าให้ฉันฟัง ว่าทรงพระปรารภแก่ตัวท่านตั้งแต่แรกเสด็จกลับมาถึง กรุงเทพฯ ว่าที่เสด็จไปเมืองสิงคโปร์และเมืองบะเตเวีย เมืองสมารัง ได้ทอดพระเนตรเห็นแต่เพียงเมืองขึ้น ที่ฝรั่งปกครองคนต่างชาติ ต่างภาษา ได้ประโยชน์ยังน้อย ใคร่จะเสด็จไปถึงยุโรป ให้ได้เห็นขนบธรรมเนียม ราชสำนักประเพณีบ้านเมืองของฝรั่ง (ตรงนี้จะแทรกวินิจฉัยของฉัน ลงสักหน่อยที่มีพระราชประสงค์เช่นนั้นก็เป็นธรรมดา แต่เหตุใดจึงจะรีบ เสด็จไปโดยด่วนไม่รั้งรอ ข้อนี้ฉันสันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะทรงพระราช ดำริเห็นว่าเวลาที่ยังไม่ต้องทรงว่าราชการแผ่นดินมีอยู่เพียงอีก ๒ ปี ถ้ารอ ไปจนถึงเวลาทรงว่ราชการเองแล้วคงยากที่จะหาโอกาสได้ เพราะฉะนั้น จึงจะรีบเสด็จไปยุโรปเมื่อโอกาสยังมีอยู่) เจ้าพระยาภานุวงศ์ เห็นชอบ ด้วยตามพระราชดำริ รับจะไปพูดจากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไม่เห็นชอบด้วย อ้างว่าไปยุโรป ทางก็ไกลเรือที่จะทรงก็ไม่มี เป็นการเสี่ยงภัยมากนัก ไม่สะดวกเหมือน ไปกับสิงคโปร์และเมืองชะวา เจ้าพระยาภานุวงศ์ฯ ไม่อยากให้สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงโทมนัส จึงคิดขึ้นว่าอินเดียก็รุ่งเรืองคล้ายกับยุโรป ผู้ ปกครองมียศเป็นไวสรอยต่างพระองค์คล้ายกับราชสำนัก และหนทางที่จะ ไปก็ไม่ไกลนัก ส่วนเรือพระที่นั่งที่จะทรงไปนั้น ในเวลานั้นห้างนะกุดาอินส ไมส์ที่วัดเกาะสั่งเรือสำหรับรับส่งคนโดยสารในระหว่างกรุงเทพฯ กับเมือง สิงคโปร์เข้ามาใหม่ลำ ๑ ใหญ่โตมีห้องพอจะรับกระบวนเสด็จไปอินเดียได้ คิดจะขอซื้อ (คือเช่า) มาเป็นเรือหลวงชั่วคราวแล้วขายกลับคืนให้เจ้า ของก็จะไม่สิ้นเปลืองเท่าใดนัก ท่านได้ลองพูดกับเจ้าของก็ยอมตามความ คิดไม่ขัดข้อง ยังติดแต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านนำความขึ้นกราบทูล ตามความคิด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าถ้าจะไปถึงยุโรปยังไม่ได้ ไปเพียง อินเดียก็ยังดี เจ้าพระยาภานุวงศ์ฯ จึงไปกระซิบปรึกษากับนายน๊อกส์ กงสุลเยเนอราลอังกฤษ นายน๊อกส์เห็นชอบด้วย รับจะช่วยว่ากล่าวกับ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และที่สุดตัวเองรับจะไปตามเสด็จด้วย การที่จะเสด็จ ไปอินเดียก็เป็นอันพ้นความขัดข้อง ส่วนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เมื่อปลง ใจให้เสด็จไปอินเดียแล้ว ก็เลยช่วยกะการต่อไปให้เสด็จทอดพระเนตร หัวเมืองสำคัญในพระราชอาณาเขตทางฝ่ายตะวันตก คือเมืองภูเก็ต เมืองพังงา และเมืองไทรบุรีด้วย การตระเตรียมกระบวนเสด็จไปอินเดีย ไม่ยากเหมือนเมื่อครั้งเสด็จไปสิงคโปร์ เพราะได้เคยเห็นขนบธรรมเนียม ฝรั่งอยู่มากแล้ว เครื่องแต่งตัวก็แก้ไขเป็นแบบฝรั่งทีเดียว เว้นแต่ยังนุ่งผ้า ไม่ใช้กางเกงเท่านั้น ส่วนราชบริพารที่ตามเสด็จครั้งนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ผู้ที่เคยไปครั้งก่อนได้ไปอีกแทบทั้งนั้น ที่เพิ่มขึ้นใหม่ พระเจ้าน้องยาเธอ คือสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี (กรมพระจักรพรรดิพงศ์) พระองค์ ๑ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร (กรมพระนเรศวรฤทธิ์) พระองค์ ๑ พระองค์ เจ้าอุณากรรณอนันตรชัยเป็นนายทหารมหาดเล็กพระองค์ ๑ พระองค์เจ้า เทวัญอุทัยวงศ์ (สมเด็จกรมพระยาเทววงศวโรปการ เพิ่งลาผนวชสาม เณร) พระองค์ ๑ ขุนนางก็ล้วนชั้นหนุ่ม เลือกคัดแต่ที่มีแววฉลาด ดูเหมือนวิธีเลือกสรรคนตามเสด็จครั้นก่อนจะเอาแต่ที่ต้องการใช้สอย ครั้ง หลังเลือกด้วยหมายจะให้ไปได้ความรู้เห็นมา สำหรับราชการภายหน้าเป็น สำคัญ เสด็จทรงเรือ บางกอก ออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๔๓ฃ ไปแวะที่เมืองสิงคโปร์ เมืองปีนัง เมืองร่างกุ้ง แล้วไปยังเมืองกาลกัตตาอันเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยนั้น ลอร์ด เมโยผู้เป็นไวสรอยที่อุปราชกับรัฐบาลอินเดียรับเสด็จในทางราชการ เชิญ เสด็จประทับที่จวนไวสรอยและมีพิธีรับเสด็จ เฉลิมพระเกียรติด้วยประการ ต่างๆ (เสียดายนักที่หาจดหมายเหตุมีรายการพิสดารอย่างครั้งเสด็จไป สิงคโปร์ไม่พบ) ทราบแต่พอเป็นเค้าว่าได้เสด็จไปถึงเมืองพาราณสี เมือง อาครา เมืองลักเนา เมืองเดลี และเมืองบอมเบ แต่เมื่อเสด็จกำลัง ประพาสอยู่นั้น ลอร์ดเมโยไวสรอยไปตรวจที่ขังคนโทษ ณ เกาะ อันดมัน ถูกผู้ร้ายฆ่าตาย ขาเสด็จกลับจึงดำรัสขอให้งดการรับเสด็จทาง ราชการด้วยเป็นเวลารัฐบาลอินเดียไว้ทุกข์ เสด็จอย่างไปรเวตมาลงเรือ พระที่นั่งกลับจากอินเดีย มาแวะทอดพระเนตรเมืองภูเก็ตและเมืองพังงา แล้วเสด็จมาขึ้นบกเมืองไทรบุรี ครั้นนั้นเจ้าพระยาไทร (อหะมัต) สร้างวัง ขึ้นรับเสด็จที่เขาน้อย เรียกว่าอนักบุเกต (เดี๋ยวนี้รื้อสร้างใหม่ แต่ยังใช้เป็น ที่รับแขกเมืองบรรดาศักดิ์สูงอยู่) และให้ทำทางใช้รถจากเมืองไทรมาจน ต่อแดนจังหวัดสงขลา ข้างสงขลา เจ้าพระยาวิเชียรคิรีผู้สำเร็จราชการ จังหวัด ก็ให้ทำถนนรถแต่ปลายแดน มาจนถึงท่าลงเรือที่ตำบลหาดใหญ่ (เป็นแรกที่จะมีถนนข้ามแหลมมลายู) จึงเสด็จทรงรถจากเมืองไทรมา ประทับแรมที่ตำบลจังโลนแขวงเมืองไทรบุรีคืน ๑ ที่ตำบลสะเดาแขวง สงขลาคืน ๑ นับเป็นเวลาเดินทาง ๓ วัน วันที่ ๓ ถึงหาดใหญ่ เสด็จลง เรือพายออกทะเลสาป มาถึงเมืองสงขลา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้เรือ จักรข้างชื่อ ไรลิงสัน ที่ท่านต่อ ไปรับเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑ มีนาคมเข้าปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ รวมเวลาที่เสด็จไปอินเดียครั้งนั้น ๔ เดือน ผลของการเสด็จอินเดีย เกิดความคิดอันเป็นส่วนปกครองบ้าน เมืองมาหลายอย่าง (ซึ่งจะเล่าในตอนหน้าต่อไป) แต่ยังไม่ประจักษ์แก่ ตาคนทั้งหลายในวันนั้น เพาะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้ทรงว่า ราชการ จึงไม่ปรากฎว่าเมื่อเสด็จกลับจากอินเดียทรงจัดการเปลี่ยนแปลง ประหลาดเหมือนเมื่อเสด็จไปสิงคโปร์ เป็นแต่แก้ไขขนบธรรมเนียมที่ได้ เริ่มจัดให้ดียิ่งขึ้นเป็นพื้น แต่ทางต่างประเทศ เมื่อความปรากฎแพร่หลาย ว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามพอพระราชหฤทัยเสด็จไปทอดพระเนตรต่างประเทศ เพื่อจะแสวงหาขนบธรรมเนียมที่ดีของฝรั่ง มาใช้ในพระราชอาณาเขต ก็เป็นเหตุให้มีชาวต่างประเทศเกิดความนิยมและประสงค์จะไปมาค้าขาย กับประเทศสยามมากขึ้น จะยกพอเป็นตัวอย่าง ดังเช่นห้ามแรมเซเว๊กฟิลด์ ซึ่งเป็นห้างทำเครื่องแต่งตัวอยู่ ณ เมืองกาลกัตตา พอเสด็จกลับก็ตาม เข้ามาตั้งที่ถนนบำรุงเมืองซึ่งสร้างใหม่ตรงวงเวียนสี่แยก รับทำเครื่อง แต่งตัวอย่างฝรั่ง (คือเดิมของห้างแบดแมนในบัดนี้) และมีชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาตั้งทำการอย่างอื่นอีกหลายอย่าง แม้เรือไฟไปมารับส่งสินค้าและ คนโดยสารในระหว่งกรุงเทพฯ กับเมืองฮ่องกงก็เกิดขึ้นในสมัยนั้น มีการที่เกิดขึ้นในปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ เมื่อเสด็จกลับจากอินเดียน อย่าง ๑ ซึ่งภายหลังมาเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและเป็นคุณแก่ตัวฉัน เองมาก คือเรื่องตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแก่ลูกผู้ดี เรื่องนี้ได้ทรง พระราชดำริมานานแล้ว แต่ยังหาครูไม่ได้จึงต้องรอมา เมื่อเสด็จกลับจาก อินเดีย เผอิญมีครูอังกฤษคน ๑ ชื่อ ฟรานซิล จอร์ช แปตเตอร์สัน เข้า มาเยี่ยมหลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตันเอม) ผู้บังคับการพลตระเวน ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นน้าชาย ได้ทรงทราบก็โปรดฯ ให้ว่าจ้างไว้เป็นครู และโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก อีกโรง ๑ เป็นคู่กับโรงเรียนภาษาไทยที่ได้ตั้งมาแต่ก่อน ที่ตั้งโรงเรียนนั้น โปรดฯ ให้โอนตึก ๒ ชั้นที่สร้างสำหรับทหารมหาดเล็ก หลังข้างตะวันออก ประตูพิมานชัยศรี (ซึ่งเป็นสำนักงานพระคลังช้างที่อยู่บัดนี้) ใช้เป็น โรงเรียน ห้องตอนต่อประตูพิมานชัยศรีให้เป็นที่อยู่ของครู ห้องตอนเลี้ยว ไปข้างเหนือ (ข้างหลังศาลาหทัยสมาคมบัดนี้) จัดเป็นห้องเรียน ส่วน นักเรียนนั้น มีรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกับพระเจ้าน้องยาเธอเข้า เป็นนักเรียน เว้นแต่บางพระองค์ที่มีตำแหน่งรับราชการแล้ว หรือที่เป็น นักเรียนอยู่แล้วในโรงเรียนภาษาไทย พวกนายร้อยมหาดเล็กก็โปรดฯ ให้มาเรียนภาษาอังกฤษด้วย เจ้านายเรียนตอนเช้า พวกนายทหาร มหาดเล็กเรียนตอนบ่าย เมื่อแรกตั้งโรงเรียน ดูเหมือนจะมีจำนวนนักเรียน สัก ๕๐ คน แต่ต่อมาจำนวนลดลง เพราะเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ออกไปรับ ราชการ ที่เป็นชั้นกลางก็ถึงเวลาไปทรงผนวชสามเณร พวกหม่อม เจ้าก็พากันไปทำการงาน พวกนายทหารมหาดเล็กต้องเรียนวิชาอื่นอีกมาก ก็มาเรียนภาษาอังกฤษน้อยลงทุกที ถึงปีระกาเหลือนักเรียนอยู่ไม่ถึงครึ่ง จำนนเดิม และยังลดจำนวนลงเรื่อยมา นักเรียนที่เข้ามาใหม่ก็หามีไม่ ถึงปีจอเหล่อแต่เจ้านายที่รักเรียนจริงๆ ยังทรงพยายามเรียนอยู่สัก ๕ พระองค์ จึงย้ายไปเรียน ณ พอนิเพธพิทยา อันเป็นที่ประทับของสมเด็จ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ อยู่ริมประตูศรีสุนทร (แต่เดี๋ยวนี้รื้อเสียแล้ว) ครูไปสอนในเวลาเช้าทุกวัน จนถึงกลางปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ครบ ๓ ปี พอ สิ้นสัญญาครูก็ลากลับไปเมืองนอก โรงเรียนนั้นก็เป็นอันเลิก แต่นั้นเจ้า นายที่รักเรียนก็พยายามเรียนต่อมาโดยลำพังพระองค์ด้วยอาศัยอ่านหนังสือ บ้าง ให้ผู้อื่นสอนบ้าง จนมีความรู้สามารถใช้ภาษาอังกฤษรับราชการได้ โดยมิต้องไปเมืองนอกหลายพระองค์ ในเจ้านายนักเรียนชั้นนั้น ควร ยกย่องสมเด็จกรมพระยาเทววงศวโรปการ ว่าเป็นยอดเยี่ยมยิ่งกว่าพระ องค์อื่นๆ ในปีระกานี้ เกิดอหิราตกโรคเป็นระบาดขึ้นเมื่อเดือน ๗ คนตื่นตก ใจกันมาก เพราะแต่ก่อนเคยมีอหิวาตกโรคเป็นระบาดขึ้น ผู้คนล้มตาย มากเมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๓๖๓ ในรัชกาลที่ ๒ และมาเกิดอีกครั้ง ๑ ใน รัชกาลที่ ๓ เมื่อปีระกา พ.ศ.๒๓๙๒ คนชั้นผู้ใหญ่ที่เคยเห็นยังมีมาก จึงพา กันตกใจ ผู้ที่ไม่เคยเห็นได้ฟังเล่าก็ตกใจไปตามกันด้วย แต่วิธีที่จัดระงับ โรคอหิวาต์ในคราวนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้จัดเป็นการรักษา พยาบาล แทนทำพิธีในทางศาสนาเช่นเคยทำมาแต่ก่อน พระองค์เจ้า สายสนิทวงศ์ อธิบดีกรมหมอ คิดปรุงยารักษาโรคเป็นอย่างฝรั่งขึ้นใหม่ ๒ ขนาน คือเอายาวิสัมพญาใหม่ตามตำรายาไทยกับด้วยกอฮอล์ทำเป็นยา หยดในน้ำขนาน ๑ เอาการบูรทำเป็นยาหยดเช่นนั้นเรียกว่าน้ำการบูรอีก ขนาน ๑ สำหรับรักษาอหิวาตกโรค และแนะนำให้ใช้การบูรโรยเสื้อผ้าเป็น เครื่องป้องกันเชื้อโรคอีกอย่าง ๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสขอ แรงเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่รับยาหลวงไปตั้งเป็นทำนองโอสถศาลา ขึ้นตามวังและบ้านหรือตามทีป่ระชุมชน รักษาราษฎรทั่วทั้งพระนคร แต่ โรคอหิวาต์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้นมีอยู่สักเดือนหนึ่งก็สงบ เมื่อสงบแล้วโปรดฯ ให้ สร้างเหรียญทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ด้าน ๑ มีรูปเทวดาถือพวงมาลัย อีก ด้าน ๑ เป็นตัวอักษรทรงขอบใจ พรนะราชทานบำเหน็จแก่บรรดาผู้ที่ ได้รับตั้งโอสถศาลาทั้งนั้นทั่วกัน ของฉันยังอยู่จนทุกวันนี้ แต่นี้ไปจนตอนปลายที่ ๕ จะเล่าเรื่องประวัติของตัวฉันในระหว่าง ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๓ ไปจนถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ ให้สิ้นเรื่องเมื่อเป็นเด็ก เสียชั้นหนึ่ง เพราะในตอนที่ ๖ และที่ ๗ จะเล่าเรื่องในราชการบ้านเมือง เป็นสำคัญ สมัยเมื่อแก้ไขประเพณีในราชสำนักเมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์นั้น เจ้านายเด็กๆ พวกฉันยังตามเสด็จอยู่เสมอ เวลาเสด็จประทับห้องรับแขก ถ้าไม่ถูกไล่ในเวลามีเข้าเฝ้าแหนก้ได้นังเก้าอี้เล่นสนุกดี เวลาเสด็จทรงรถ เที่ยวประพาสในตอนบ่าย ก็ดอกขึ้นรถที่นั่งรองไปตามเสด็จ ถึงเวลาค่ำ เมื่อเสวย ถ้าวันไหนคนนั่งโต๊ะขาดจำนวนก็โปรดฯ ให้มาเรียกเจ้านาย เด็กๆ ไปนั่งเก้าอี้ที่ว่างได้ กินโต๊ะ และได้กินไอสกริมก็ชอบ ไอสกริม เป็นของวิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กๆ ที่ สำหรับเขาทำกันตามบ้านนอกเข้ามาถึงเมืองไทย ทำบางวันน้ำก็แข็งบาง วันก็ไม่แข็ง มีไอสกริมตั้งเครื่องแต่บางวันจึงเห็นเป็นของวิเศษ เจ้านาย เด็กๆ พวกฉันยังไม่ถูกบังคับให้ใช้เครื่องแต่งตัวอย่างใหม่ ถึงกระนั้นเห็น ผู้ใหญ่เขาแต่งก็อยากใส่ถุงน่องรองเท้าเป็นกำลัง ฉันไปอ้อนวอนแม่ๆ เห็นว่าตามเสด็จอยู่เสมอก็ซื้อเกือกถุงตีนให้ ดีใจนี่กะไร แต่เมื่อใส่ใน วันแรกเกิดเสียใจด้วยเกือบนั้นเงียบไปไม่มีเสียง เพราะเคยได้ยินเขาว่า ต้องดัง "อ๊อด อ๊อด" จึงเป็นเกือกอย่างดี ไปถามพวกนายทหารมหาดเล็ก ว่า ทำอย่างไรเกือกจึงจะดัง เขาแนะให้เอาน้ำมันมะพร้าวหยอดที่พื้น ก็จำมาพยายามทำ มีเสียงดัง "อี๊ด อี๊ด" ก็ชอบใจ ถึงสมัยเมื่อตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ ตัวฉันอยู่ในพวก เจ้านายที่ถูกส่งเข้าโรงเรียนภาษาอังกฤษแต่แรกตั้ง แต่ว่าน้ำใจรักจะเรียน ภาษาอังกฤษผิดกับเมื่อเรียนภาษามคธ ถึงกระนั้นก็ไม่พ้นคึวามลำบาก ด้วยไม่รู้ว่าครูจะใช้วินัยสำหรับโรงเรียนอย่างกวดขัน เมื่อไปเรียนได้สัก สองสามวัน ฉันไปซุกซนรังแกเพื่อนนักเรียนเมื่อกำลังเรียนอยู่ด้วยกัน ครูจับได้แล้วลงโทษอย่างฝรั่ง เอาตัวขึ้นยืนบนเก้าอี้ตั้งประจานไว้ที่มุมห้อง เรียนสัก ๑๕ นาที (บางทีจะเป็นครั้งแรกที่เด็กไทยถูกลงโทษเช่นนั้น) พวกเพื่อนนักเรียนเห็นแปลกก็พากันจ้องดูเป็นตาเดียวกัน บางคนก็ยิ้ม เยาะ ฉันรู้สึกละอายจนเหงื่อตกโทรมตัว ตั้งแต่นั้นก็เข็ดหลาบไม่ซุกซนใน ห้องเรียน แต่ยังรู้สึกอัปยศอยู่หลายวัน มาจนวันหนึ่งเห็นเพื่อนนักเรียน ถูกครูเอาไม้บรรทัดตีฝ่ามือลงโทษ เจ็บจนหน้านิ่ว ๒ คน ดูร้ายยิ่งกว่าที่ ฉันถูกยืนบนเก้าอี้ก็เลยหายละอาย เมื่อตอนแรกตั้งโรงเรียนนั้น ลำบากที่ ครูยังพูดภาษาไทยไม่ได้ ลูกศิษย์ก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่เป็น มีแต่พระองค์ เจ้ากฤษฎาภินิหาร (กรมพระนเรศวรฤทธิ) พระองค์เดียวที่ทรงทราบบ้าง เล็กน้อย และท่านเป็นเจ้าพี่ชั้นใหญ่ได้เคยเรียนภาษาอังกฤษต่อแหล่มลิโอ โนเวนส์ เมื่อในรัชกาลที่ ๔ พอเป็นล่ามแปลคำง่ายๆ ได้บ้าง ถ้าเป็น คำยากเกินความรู้ของกรมพระนเรศวร์ฯ ครูต้องเปิดหนังสืออภิธานภาษา อังกฤษ ให้นักเรียนดูคำภาษาไทยในนั้น หนังสืออภิธานที่ใช้มี ๒ เล่ม เล่มหนึ่งสำหรับลูกศิษย์ใช้เรียนกว่า สัพพะพะจะนะภาษาไทย ซึ่ง สังฆราชปาลกัวแต่ง เอาศัพท์ภาษาไทยตั้ง แปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษา ฝรั่งเศลและภาษาละติน ๓ ภาษา เล่มใหญ่โตมาก อีกเล่มหนึ่งสำหรับ ครูใช้ จะเรียกหนังสือว่ากะไรฉันลืมเสียแล้ว แต่หมอแม๊กฟาแลนด์ (บิดาพระอาจวิทยาคม) เป็นผู้แต่ง แปลแต่ศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษา ไทย คือใช้อภิธานเล่มนี้ชี้ศัพท์อังกฤษแปลเป็นภาษาไทยให้พวกศิษย์ แต่ ลำบากไม่ช้าอยู่เท่าใด ครูค่อยรู้ภาษาไทยศิษย์ก็ค่อยเข้าใจคำครูสั่งสอน เป็นภาษาอังกฤษด้วย ไม่จำต้องใช้ถ้อยคำมากหรือยากเท่าใดนัก นานๆ จึงต้องเปิดอภิธาน ในการที่พวกฉันใช้หนังสืออภิธานครั้งนั้น มีผลสืบ มาจนบัดนี้ประหลาดอยู่เรื่อง ๑ ในบทเรียนบท ๑ มีคำว่า ไบ (By) ดู เหมือนจะเป็นเช่นประโยคว่า He went by boat หรืออะไรทำนองนี้ ครูจะ ให้แปลเป็นภาษาไทย นักเรียนพวกฉันไม่เข้าใจคำ By ครูจึงเปิดอภิธาน ให้ดู ในหนังสือนั้นแปลคำ By ว่า โดย พวกนักเรียนก็แปลว่า เขาไปโดยเรือ แต่นั้นมาเมื่อแปลคำ By ก็แปล่าโดยเสมอมา เช่น Written by แปลว่า แต่งโดย แล้วพวกฉันเลยใช้คำนี้ต่อมาในเวลาเมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว มี ในหนังสือ ค๊อค เป็นต้น จึงเลยเป็นมรดกตกมาถึงคนชั้นหลัง ที่จริงไม่ถูก ตามภาษาไทย เพราะคำ โดย เป็นศัพท์ภาษาเขมรแปลว่า ตาม แต่งโดย ก. ความแสดงว่า ข. แต่งความคำบอกของ ก. แต่มารู้ว่าผิดเมื่อใช้กันแพร่ หลายเสียแล้ว ในบรรดาศิษย์ที่เรียนกันครั้งนั้น เมื่อเรียนมาได้สัก ๖ เดือน มี ที่เป็นศิษย์ครูชอบมาก Favourite Pupils ๔ พระองค์ เรียงลำดับพระชันษา คือ พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ (สมเด็จกรมพระยาเทววศวโรปการ) พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ (สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ) พระองค์ ๑ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ (สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณ) วโรรส) พระองค์ ๑ กับตัวฉันอีกคน ๑ เห็นจะเป็นด้วยเห็นว่าเขม้นขะมัก รักเรียนครูก็สอนให้มากกว่าคนอื่น แต่เมื่อได้สักปี ๑ สมเด็จกรมพระยา เทววงศฯ กับสมเด็จพระราชปิตุลาฯ ต้องไปทำราชการมีเวลามาเรียน น้อยลง คงแต่สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณฯ กับตัวฉัน (สมเด็จกรม พระยาวชิรญาณฯ ได้ทรงแสดงความข้อนี้ไว้ในหนังสือ พระประวัติตรัสเล่า ที่ท่านทรงแต่งเมื่อเป็นสมเด็จพระมหาสมณะ) ถึงปีระกา สมเด็จกรม พระยาวชิรญาณฯ ไปทรงผนวชเป็นสามเณร แต่นั้นฉันจึงได้เป็นศิษย์ ติดตัวครูอยู่แต่คนเดียว เวลานักเรียนอื่นกลับแล้วครูให้ฉันอยู่กินกลางวัน ด้วย แล้วสอนให้ในตอนบ่ายอีก เมื่อเรียนแล้ววันไหนครูขึ้นรถไปเที่ยว ก็มักชวนฉันไปด้วย เพราะเหตุที่อยู่กับครูมาก และได้ไปพบปะพูดจากับ พวกฝรั่งเพื่อนฝูงของครูบ่อยๆ เมื่อยังเป็นเด็กฉันจึงพูดภาษาอังกฤษได้ คล่องเกินความรู้ที่เรียนหนังสือ ทั้งได้เริ่มคุ้นเคยกับฝรั่งแต่นั้นมา การที่ได้ เป็นศิษย์ติดตัวครูมาเป็นคุณแก่ตัวฉันในภายหลังอีก อย่าง ๑ ด้วยเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จย้ายไปประทับ ณ พระที่นั่งใหม่ ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ มีพระราชประสงค์ จะทรงศึกษาภาษาอังกฤษต่อไปถึงวิธีแต่งหนังสือ โปรดฯ ให้ครูเปตเตอร์สันเข้าไปสอนถวายในเวลาค่ำเมื่อทรงว่างราชการ ดูเหมือนจะเป็นสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ทรงทราบ่วาฉันเป็นศิษย์ติดตัวครู จึงมี รับสั่งให้ฉันเป็นพนักงานนำครูเข้าไป เวลาทรงพระอักษรฉันได้อยู่ด้วย ทุกคืน ตรัสถามครูถึงการเล่าเรียนของฉันบ้าง ตรัสถามอะไรๆ เป็น ภาษาอังกฤษให้ฉันเพ็ดทูลบ้างเนืองๆ เห็นได้ว่าทรงพระกรุณายิ่งขึ้นกว่า แต่ก่อน แต่การที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษครั้งนั้น ทรงอยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เลิก ด้วยพระราชธุระอื่นมีมากขึ้นทุกที ไม่มีเวลาางมากเหมือนแต่ก่อน ตรงนี้จะเล่าเรื่องประวัติของ ครู แปตเตอร์สัน ต่อไปอีกสักหน่อย เพราะยังมามีการเกี่ยวข้องกับตัวฉันอีกเมื่อภายหลัง และเป็นเรื่องน่าจะ เล่าด้วย เมื่อครูแปตเตอร์สันไปจากประเทศนี้แล้ว ไปได้ตำแหน่งรับราช การอังกฤษเป็นครูประจำโรงเรียนของรัฐบาลที่เกาะมอรีเซียส ในตอนนี้ ดูเหมือนจะไม่มีศิษย์คนใดได้รับจดหมายจากครูเลย เพราะเกาะมอรีเซียส อยู่ห่างไกลในมหาสมุทรอินเดีย การส่งจดหมายไปมาในระหว่างประเทศ สยามกับต่างประเทศในสมัยนั้นลำบาก ด้วยยังไม่มีกรมไปรษรีย์ ใครๆ จะมีจดหมายกับประเทศอื่นก็ต้องอาศัยกงสุลอังกฤษ เพราะมีเรือไฟในบังคับ อังกฤษเดินในระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์และเมืองฮ่องกง กงสุล อังกฤษที่ศาลาท่าน้ำของสถานกงสุล เป็นออฟฟิศไปรษณีย์ห้อง ๑ และ เอาตั๋วตราไปรษณีย์เมืองสิงคโปร์พิมพ์อักษร B (เป็นเครื่องหมายว่าบาง กอก) เพิ่มลงเป็นเครื่องหมาย ใครจะส่งหนังสือไปต่างประเทศก็ไปซื้อ ตั๋วตรานั้นปิดตามอัตราไปรษณีย์อังกฤษ แล้วมอบไว้ที่สถานกงสุล เมื่อ เรือจะออก กงสุลอังกฤษให้รวบรวมหนังสือนั้นใส่ถุง ฝากไปส่งกรม ไปรษณีย์ที่เมืองสิงคโปร์หรือเมืองฮ่องกงไปส่งอีกชั้น ๑ แต่หนังสือของ รัฐบาลนั้น กรมท่ามอบกับนายเรือให้ไปส่งกงสุลสยามทิ้งไปรษณีย์ที่ เมืองสิงคโปร์ หาได้ส่งทางไปรษณีย์ที่สถานกงสุลไม่ เมื่อเรือเข้ามาถึง ผู้ใดคาดว่าจะได้รับหนังสือจากต่างประเทศ ก็ไปสืบที่สถานกงสุลอังกฤษ ถ้ามีก็รับเอามา หรือถ้าพบหนังสือถึงผู้อื่นก็ไปบอกกันให้ไปรับ เป็นเช่น กล่าวนี้มาจนตั้งกรมไปรษณีย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ การส่งหนังสือจึงสะดวก แต่นั้นมา ครูแปตเตอร์สันรับราชการอยู่ที่เกาะมอรีเซียส จนชราจึงออกรับ เบี้ยบำนาญกลับไปอยู่ประเทศอังกฤษ แต่ก็ไม่ปรากฎว่าเขียนหนังสือมา ถึงใครในประเทศนี้ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อฉันเป็น กรมพระ และ ย้ายมาอยู่วังวรดิศแล้ว วันหนึ่งได้รับจดหมายของครูแปตเตอร์สันส่งมา จากประเทศอังกฤษ สลักหลังซองถึง"พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร" เผอิญมี ใครในพนักงานไปรษณีย์เขารู้ว่าเป็นชื่อเดิมของฉันจึงส่งมาให้ ได้ทราบ เรื่องประวัติของครูแปตเตอร์สันในฉบับนั้นว่า ตั้งแต่ออกจากราชการที่ เมืองเมอรีเซียสแล้วกลับไปอยู่ประเทศอังกฤษ ต้องทิ้งบ้านเดิมที่เกาะเจอสี เพราะต้องขายแบ่งมรดกกันเมื่อบิดาตาย ครูไปแต่งงานอยู่กับเมียในอิงค์ แลนด็์เป็นสุขสบายหลายปี ครั้นเมียตายเหลือแต่ตัวคนเดียวมีความลำบาก ด้วยแก่ชรา หลานคน ๑ ซึ่งบวชพรต เขาสงสารับเอาไปไว้ด้วยที่เมือง คลอยสเตอร์ แกรำลึกขึ้นมาถึงศิษย์เดิมที่ในประเทศสยาม คือ เจ้าฟ้า ภานุรังษี พระองค์เทวัญ พระองค์มนุษย และตัวฉัน อยากทราบว่าอยู่ ดีด้วยกันหรืออย่างไร จึงมีจดหมายมาถามขอให้บอกไปให้ทราบ เวลานั้น สมเด็จกรมพระยาเทววงศฯ กับสมเด็จพระมหาสมณฯ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว เหลือแต่สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ฉันนำจดหมายครูไปถวายทอดพระเนตร ก็ทรงยินดี มีลายพระหัตถ์และส่งพระรูปกับเงินไปประทาน ส่วนฉันก็ทำ เช่นเดียวกัน ได้บอกไปให้ครูทราบพระประวัติของเจ้านายที่แกถามถึง ส่วนตัวฉันเอง บอกว่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ เลื่อนยศสูงขึ้น เป็นเหตุให้ใช้นามใหม่ว่า ดำรง ซึ่งคนทั้งหลายเรียกกันใน เวลานี้ ครูมีจดหมายตอบมาว่าเสียดายจริงๆ ที่เพิ่งรู้ ด้วยเมื่อฉันไป ยุโรป (ครั้งแรก) ในพ.ศ. ๒๔๓๔ นั้น ประจวบเวลาครูกลับไปเยี่ยมบ้าน อยู่ในประเทศอังกฤษ ได้ยินเขาโจษกันว่ามีเจ้าไทยองค์ ๑ เรียกว่า ปริ๊นซ์ ดำรง ไปเฝ้าสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียที่สก๊อตแลนด์ และมีคนถามแกว่า รู้จักปรินซ์ดำรงหรือไม่ แกตอบเขาว่าไม่รู้จัก เมื่อเวลาอยู่ในเมืองไทยก็ ไม่เคยได้ยินชื่อปรินซ์ดำรง ไม่รู้เลยว่าคือศิษย์รัก (Favourite Pupil) ของ แกนั่นเอง ถ้ารู้จะรีบมาหา ถึงกระนั้นเมื่อรู้ก็ยินดีอย่างยิ่งที่ฉันได้มีชื่อ เสียงเกียรติยศถึงเพียงนั้น แต่นั้นครูกับฉันก็มีจดหมายถึงกันมาเนืองๆ ครั้นเมื่อฉันไปยุโรป (คราวหลัง) ในพ.ศ. ๒๔๗๓ ตั้งใจว่าจะไปพบครู แปตเตอร์สันให้จงได้ ทราบว่าเวลานั้นอายุได้ถึง ๘๕ ปี และยังอยู่ที่เมือง คลอยสเตอร์เหมือนบอกมาแต่ก่อน หมายว่าไปพบครูเมื่อไร จะชวนถ่าย รูปฉายาลักษณ์ด้วยกันเหมือนเช่นเคยถ่ายเมื่อยังเป็นเด็ก เอามาให้ลูก หลานดู พอฉันไปถึงลอนดอนมีพวกนักหนังสือพิมพ์มาขอสนทนนาด้วย หลายคน ทุกคนถามฉันว่าเรียนภาษาอังกฤษที่ไหน ฉันตอบไปว่าเรียน ในบ้านเมืองของฉันเอง เขาพากันประหลาดใจถามว่าใครสอนให้ ฉัน บอกว่าครูของฉันเป็นอังกฤษชื่อ มิสเตอร์ ฟานซิส ยอช แปตเตอร์สัน ตัวยังอยู่อายุได้ ๘๕ ปีแล้ว ฉันจะพยายาม Making a Pilgrimage ไปหา ให้ถึงเมืองคลอยสเตอร์ที่ครูอยู่ หนังสือพิมพ์ก็พากันขึ้นสรรเสริญครู แปตเตอร์สันแพร่หลาย ครั้นเมื่อฉันสิ้นกิจอื่นในลอนดอนถึงเวลาที่จะไป หาครู ฉันขอให้อุปทูตบอกไปถึงนักพรตผู้เป็นหลาน ว่าฉันประสงค์จะไป เยี่ยมครูในวันใดจะสะดวกแก่เขา ก็ได้รับคำตอบมาว่าครูกำลังป่วยเป็นโรค ชราอาการเพียบอยู่ ตั้งแต่เขาได้ยินข่าวทางวิทยุกระจายเสียงว่าฉันไป ถึงลอนดอน เขาก็อยากจะบอกให้ครูรู้ ด้วยเขาทราบอยู่ว่าครูรักฉันมาก แต่เห็นว่าอาการป่วยเพียบจึงปรึกษาหมอๆ ห้ามมิให้บอกครู่ เพราะเกรง ว่าความยินดีที่จู่โจมขึ้นแก่ครู่ Sudden Excitement อาจจะเป็นเหตุให้เกิด อันตรายก็ไม่กล้าบอก เมื่อฉันทราบความดังนั้นก็ตกใจ ได้แต่ส่งเงินไป ช่วยในการรักษาพยาบาล เมื่อฉันออกจากลอนดอนในไม่ช้า ก็ได้รับ จดหมายของนักพรตบอกว่าครูถึงแก่กรรม รู้สึกเสียใจและเสียดายยิ่งนัก ที่มิได้พบครูแปตเตอร์สันดังประสงค์ เมื่อฉันกำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในปีระกา พ.ศ.๒๔๑๖ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เสด็จไปประทับอยู่ ณ พระที่นั่ง ทรงผนวชที่พระพุทธรัตนสถาน ๑๕ วัน เจ้านายพวกฉันเรียนหนังสือแล้ว ก็พากันไปอยู่ ณ ที่เสด็จประทับทุกวัน คล้ายกับเป็นลูกศิษย์วัด ส่วนตัว ฉันเองนึกอยากรู้จักพระ จึงมักไปเฝ้าสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (เวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์) กับสมเด็จพระ สังฆราช (ปุสฺสเทวสา เมื่อยังเป็นที่พระสาสนโสภร) เนืองๆ สมเด็จ กรมพระยาปวเรศฯ โปรดทรงสั่งสอนและตรัสเล่าอะไรให้ฟัง ส่วนสมเด็จ พระสังฆราช ก็ประทานหนังสือพิมพ์ ซึ่งพิมพ์สอนพระพุทธศาสนาให้อ่าน วันถ่ายรูปหมู่พวกตามเสด็จไปเป็นลูกศิษย์วัด เผอิญฉันถือสมุดนั้นติดมือ ไปด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้ฉันยืนเปิดสมุดเหมือนอย่างอ่าน หนังสือ เป็นเหตุให้ช่างถ่ายรูปเขาจัดให้ยืนกลางเพื่อน รูปนั้นยังปรากฎ อยู่ เมื่อเสด็จลาผนวชมีงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง ๑ (ซึ่งจะ พรรณนาในที่อื่นต่อไปข้างหน้า) แล้วเสด็จไปประทับอยู่พระที่นั่งใหม่ ตอน นี้เวลาบ่ายๆ มักเสด็จออกทรงรถเที่ยวประพาส และทรงโครเกต์ Crognet ที่สนามหญ้าพระที่นั่งใหม่ (ยังมีรูปฉายาลักษณ์ปรากฎอยู่) แต่ตัว ฉันยังเป็นเด็กไม่ได้เข้าเล่นด้วย แต่ในปีระกานั้นเองโปรดฯ ให้ฉันเป็นผู้ พาครูเข้าไปสอนภาษาอังกฤษดังกล่าวมาแล้ว เป็นมูลเหตุที่เริ่มทรงพระ เมตตาเฉพาะตัวมาแต่นั้น ครั้งถีงปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ เมื่อเลิกโรงเรียน ภาษาอังกฤษ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้ฉันเข้าไปรับใช้ประจำพระองค์ มี หน้าที่ตามเสด็จและอยู่คอยรับใช้ในเวลาค่ำเมื่อทรงสำราญพระราชอิริยา บถเวลาเสร็จราชกิจประจำวันแล้ว ได้อยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอ เป็น เหตุให้ฉันได้รับพระบรมราโชวาทและได้ฟังพระราชดำริ ได้รู้เรื่องต่างๆ ที่ตรัสเล่า ทั้งมีโอกาสทูลสนองหรือทูลถามได้ด้วยทรงพระกรุณา แต่ข้อ สำคัญที่มาประจักษ์แก่ใจฉันต่อภายหลังนั้น คือได้รู้พระราชอัธยาศัย และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงทราบนิสัยของฉันแต่นั้นมา ข้อนั้นมา ปรากฎเมื่อฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล แล้วให้มีการประชุมสมุหเทศาภิบาลในกรุงเทพฯ ปีละครั้ง เวลาเสด็จคราว ประชุมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้มีการเลี้ยงพระราช ทานเป็นเกียรติยศแก่เทศาภิบาลทุกปี และในการเลี้ยงมักมีพระราชดำรัส พระราฃทานพระบรมราโชวาทและสรรเสริญความอุตสาหะของสมุหเทศา ภิบาลด้วย ในปีหนึ่งตรัสเกี่ยวมาถึงตัวฉันว่า ได้ทรงสังเกตเห็นตั้งแต่ยัง เป็นเด็ก ว่าเติบใหญ่ขึ้นคงจะได้เป็นคนสำคัญในราชการบ้านเมืองคน ๑ ดังนี้ แต่การที่มีพระราชดำรัสทรงยกย่อง บางทีก็เกิดรำคาญแก่ตัวฉัน เช่นต่อมา อีกปีหนึ่งมีพระราชดำรัสว่า พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของ ราชาธิปไตย พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพ็ชรนิลจินดาอันมีค่า ฉันใด ข้าราชการที่อุตส่าห์พยายามช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มี ความเจริยสุข ก็เปรียบเหมือนเพ็ชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น พระราชดำรัสนี้ทรงอุปมาด้วยข้าราชการทั่วไปไม่เฉพาะผู้หนึ่งผู้ใด แต่ เผอิญตรัสเมื่อเลี้ยงเทศาภิบาล พอรุ่งขึ้นก็มีคน (ที่ไม่ชอบ) แกล้งเรียก ให้ฉันได้ยินว่า นั้นแหละ เพ็ชรประดับพระมหามงกุฎ ดูก็ขันดี ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ นั้น อายุฉันถึงปีโกนจุก ในสมัยนั้นพระ เจ้าลูกยาเธอยังเยาว์วัยทั้งนั้น เจ้านายโสกันต์มีแต่ชั้นพระเจ้าน้องเธอ ปีใดพระเจ้าน้องเธอที่ทรงพระกรุณามากโสกันต์ก็โปรดฯ ให้มีการแห่ทาง ในพระราชวัง ถ้าเป็นสามัญก็โสกันต์ในพิธีตรุษตามแบบอย่างครั้งรัชกาล ที่ ๓ ในปีจอนั้นมีเจ้านายที่ทรงพระมหากรุณามากหลายพระองค์ ตัวฉันแก่ กว่าเพื่อน ตรัสถามฉันว่าอยากให้แห่หรือไม่ ฉันกราบทูลว่าอยาก จึง ดำรัสสั่งให้มีการแห่โสกันต์ในปีนั้น แต่เกือบไม่ได้แห่ เพราะเกิดเรื่อง กรมพระราชวังบวรฯ หนีไปอยู่กับกงสุลอังกฤษ (ซึ่งจะเล่าเรื่องในตอน อื่นต่อไปข้างหน้า) แทรกเข้ามา เป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าอยู่ไหัวทรงเดือด ร้อนรำคาญพระราชหฤทัยอยู่นาน ตรัสว่าถ้าเรื่องวังหน้ายังไม่เรียบร้อยก็ จะแห่ให้ไม่ได้ รอมาจนพ้นฤกษ์เมื่อเดือนยี่ พวกฉันก็ยิ่งพากันโกรธ วังหน้า จนถึงเดือน ๔ เรื่องวังหน้าเป็นอันเรียบร้อย จึงได้มีการแห่โสกันต์ เมื่อก่อนพิธีตรุษไม่กี่วัน เจ้านายโสกันต์ด้วยในปีนั้น ๕ พระองคื มีตัว ฉันคน ๑ พระองค์ชายศรีเสาวภางค์ (ซึ่งภายหลังได้เป็นราชเลขาธิการ และเป็นผู้จัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช แต่สิ้นพระชนม์เสียก่อนรับกรม) พระองค์ ๑ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา (คือสมเด็จพระพันวัสสามา ตุจฉาเจ้าฯ ) พระองค์ ๑ ทั้ง ๓ นี้พระชันษา ๑๓ ปี พระองค์เจ้าหญิง นภาพรประภา (กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี) พระองค์ ๑ และพระองค์ เจ้าหญิงประสานศรีใสพระองค์ ๑ ทั้ง ๒ นี้พระชันษา ๑๑ ปี เมื่อโกนจุก แล้วฉันยังรับราชการประจำพระองค์ต่อมา ในตอนที่รับราชการประจำ พระองค์นี้ต้องอยู่ในวังไม่มีโอกาสไปเที่ยวค้างคืนที่อื่นเหมือนแต่ก่อน ถึง พระนั้นตอนเช้าว่างมักไปเฝ้าสมเด็จพระราชปิตุตาฯ ณ หอนิเพธพิทยา บ้าง ไปเล่นหัวกับพวกนายทหารมหาดเล็กที่โรงทหารบ้าง ด้วยเคยคุ้น กันมาแต่ยังเป็นนักเรียน เพราะโรงเรียนภาษาอังกฤษอยู่ติดต่อกับโรง ทหาร จึงเริ่มอยากเป็นทหารมาแต่ตอนนี้ ถึงเดือน ๘ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ อายุครบกำหนดบวชเป็นสามเณร แล้วจะต้องออกไปอยู่นอกพระราชวังตามประเพณี ก็ออกจากราชการ ประจำพระองค์ ในปีนั้นมีเจ้านายทรงผนวชด้วยด้วยกันหลายพระองค์ เป็นพระภิกษุบ้าง เป็นสามเณรบ้าง ส่วนตัวฉันเมื่อบวชที่วัดพระศรีรัต ศาสดารามแล้ว ไปอยู่วัดบวรนิเวศนฯ กับเจ้านายพี่น้องก็ไม่เดือดรอ้น อันใดในการที่บวช ถ้าจะว่าประสาใจเด็กอายุเพียงเท่านั้นกลับจะออก สนุกดีด้วย เพราะในสมัยนั้นประเพณีที่กวดขันในการศึกษาของพระเณร บวชใหม่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หนังสือฉบับพิมพ์สำหรับศึกษาพระธรรมวินัยก็ ยังไม่มี ได้อาศัยศึกษาแต่ด้วยฟังเทศนาและคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ข้อบังคับสำหรับเจ้านายที่ทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศนฯ ตอน แรกทรงผนวช ตอนรุ่งเช้าต้องจัดน้ำบ้วนพระโอษฐ์กับไม้สีพระทนต์ไป ถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมัยนั้นยัง ดำรงพระยศเป็นกรมพระ) เรียกกันว่ เสด็จพระอุปัชฌาย์ หรือเรียกกันใน วัดตามสะดวกแต่โดยย่อว่า เสด็จ ทุกวันตามเสขิยวัตร และจนถึงตอนค่ำ เวลา ๑๘ นาฬิกา ต้องขึ้นไปเฝ้าฟังทรงสั่งสอนพระธรรมวินัยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าจะออกบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้นก็ต้องทูลลาในเวลาค่ำนั้น แต่การทั้ง ๓ อย่างนี้เมื่อทำได้สัก ๗ วันก็โปรดประทานอนุญาตมิให้ต้องทำต่อไป เว้น แต่จะไปธุระอื่นจึงต้องขึ้นไปทูลลาทุกครั้ง เสด็จพระอุปัชฌาย์ท่านทรง ประพฤติวัตรปฏิบัติตรงตามเวลาแน่นอนผิดกับผู้อื่นโดยมาก บรรทมตื่น แต่ก่อน ๘ นาฬิกา พอเสวยเช้าแล้วใครจะทูลลาไปไหนก็ขึ้นเฝ้าต่อนั้น ถึง ๙ นาฬิกา เสด็จลงทรงเป็นประธานพระสงฆ์ทำวัตรในพระอุโบสถ เสด็จกลับขึ้นตำหนักราว ๑๐ นาฬิกา ประทับรับแขกที่ไปเฝ้าจนเพล เสวย เพลพอเที่ยงวันเสด็จขึ้นตกหนักชั้นบน ทรงสำราญพระอิริยาบถและบรร ทมจนบ่าย ๑๕ นาฬิกา เสด็จลงที่ห้องรับแขก ใครจะเฝ้าในตอนนี้อีกก็ได้ พอแดดอ่อนมักเสด็จลงทรงพระดำเนินประพาสในลานวัดจนเวลาพลบค่ำ ถึงตอนนี้ราว ๑๙ นาฬิกา เจ้านายที่ทรงผนวชใหม่ขึ้นเฝ้าฟังคำสอนที่ ประทานตามอุปัชฌายวัตรไปจนถึง ๒๐ นาฬิกา เสด็จลงเป็นประธาน พระสงฆ์ทำวัตรค่ำอีกเวลาหนึ่ง เมื่อทำวัตรแล้วถ้าในพรรษาโปรดให้ ฐานานุกรมผู้ใหญ่ขึ้นนั่งธรรมาสน์ อ่านบุรพสิกขาสอนข้อปฏิบัติแก่พระ บวชใหม่วันละตอนแล้วซ้อมสวดมนต์ต่อไปจนจวน ๒๓ นาฬิกา จึงเสร็จ การประชุมสงฆ์เสด็จขึ้นเข้าที่บรรทม ว่าเฉพาะการศึกษาสำหรับสามเณร ที่บวชใหม่เช่นตัวฉัน มีข้อสำคัญก็ต้องท่องสวดทำวัตรเช้าและเย็น กับ คำสวดสิกขาบทของสามเณรเรียกว่า อนุญญาสิโข ซึ่งสามเณรต้องจำได้และ เข้าใจความ ทั้งต้องสวดในโบสถ์เมื่อทำวัตรเช้าเสร็จแล้วทุกวัน ฉันเคย ได้รับสรรเสริญของเสด็จพระอุปัชฌาย์วันหนึ่ง ด้วยในวันนั้นไม่มีสามเณร อื่นลงโบสถ์ ฉันหล้าสวดอนุญญาสิโขแต่คนเดียว ตรัสชมว่าจำได้แม่น ยำดี เขาเล่าว่าเสด็จพระอุปัชฌาย์ท่านเคยตรัส่าเมื่อแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ถ้าใครเข้มแข็งในการทัพศึกก็เป็นคน โปรด ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใครแต่งกาพย์ กลอนก็เป็นคนโปรด ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้า ใครสร้างวัดวาก็เป็้นคนโปรด ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทนสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าใครรู้ภาษาฝรั่งก็เป็นคนโปรด เห็นจะมีใครไปทูลว่า ฉันรู้ภาษาฝรั่ง วันหนึ่งประทานหนังสือตำราดาราศาสตร์ฝรั่ง ซึ่งหมอ บรัดเลแปลพิมพ์เป็นภาษาไทยให้ฉันดู ในนั้นมีดาวฤกษ์ ๒ ดวงซึ่งผู้แปล หาชื่อในภาษาไทยไม่ได้ จึงใช้อักษรโรมันพิมพ์ชื่อว่า Neptune กับ Uranus ตรัสถามฉันว่าเรียกอย่างไร ฉันก็อ่านถวายตามสำเนียงอักษร ดูเหมือน ท่านจะเข้าพระหฤทัยว่าฉันได้เรียนดาราศาสตร์ฝรั่งด้วย ตรัสถามต่อไปว่า มันตรงกับดาวดวงไหนของเรา ฉันก็สิ้นความรู้ทูลว่าไม่ทราบ แต่ก็ทรง เมตตาไต่ถามถึงเรื่องที่ฉันเรียนภาษาฝรั่งบ่อยๆ ข้างฉันก็พอใจขึ้น ไปเฝ้า เพราะได้ฟังท่านตรัสเล่าเรื่องโบราณต่างๆ ให้ทราบเนืองๆ ใน เวลานั้นเสด็จพระอุปัชฌาย์ยังไม่ทรงชรานัก แต่วิธีท่านตรัสเล่าผิดกับผู้อื่น เมื่อทรงบรรยายไปจนตลอดเรื่องแล้ว มักกลับเล่าแต่เนื้อความซ้ำอีกครั้ง หนึ่ง คนทีฟังตรัสเล่าย่อมเข้าใจและจำความได้ไม่ผิด ฉันชอบเอาวิธีนั้น มาใช้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เคยถูกนินทาว่าเล่าอย่างคนแก่แต่ก็ยังเห็นดีอยู่นั่น เอง ด้วยเห็นว่าการที่เล่าอะไรเพื่อให้ความรู้หรือสอนวิชาให้แก่ผู้อื่น ผิด กับพูดเล่นเจรจากัน เพราะประโยชน์ข้อสำคัญอยู่ที่ต้องให้ผู้ฟังรู้และเข้า ใจจริงๆ เสด็จพระอุปัชฌาย์ท่านก็ทรงพระดำริเช่นนั้น เมื่อตรัสเล่าอะไร ประทานแก่สานุศิษย์มักเล่าซ้ำดังว่ามา เมื่อฉันบวชเป็นสามเณร ทำเวลาให้ล่วงไปด้วยประการอย่างใด ยังจำได้อยุ่ ดูน่าจะเล่าด้วยมีคติอยู่บ้าง ตื่นเช้ามักออกบิณฑบาตไปด้วย กันกับพระเณรที่คุ้นเคยกันบ้าง ไปตามลำพังตัวเองบ้าง การที่ออกบิณฑ บาตที่จริงเป็นโอกาสที่จะไปเที่ยวเตร่ เพราะถ้าจะไปเวลาอื่นต้องทูลลา เสด็จพระอุปัชฌาย์ ถ้าไปบิณฑบาตประทานอนุญาตไว้ไม่ต้องทูลลา ออก บิณฑบาตเสียแห่งหนึ่งสองแห่ง แล้วก็เลยขึ้นรถหรือลงเรือไปไหนๆ บาง ทีไปกินเพลกลางทางกลับวัดจนบ่ายก็มี เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัยและเจ้า พระยามหินทรศักดิ์ธำรงยกกองทัพไปปราบฮ่อ ฉันก็ได้ไปดูวิธียกกองทัพ อย่างโบราณด้วย เริ่มไปบิณฑบาตดังว่ามานี้ใครพบก็ไม่รู้ว่าเลี่ยงไป แต่ นานๆ จึงเลี่ยงไปเที่ยวครั้ง ๑ โดยปกติมักกลับวัดทันสวดอนุญญาสิโข เวลาลงโบสถ์เช้า เพราะเสด็จพระอุปัชฌาย์ท่านเสด็จลงเสมอ เกรงจะ ทรงติโทษว่าเกียจคร้าน พ้นเวลาลงโบสถ์แล้วก็ว่างตลอดวัน จะศึกษา หรือทำอะไรก็ได้ ในการศึกษาสำหรับสามเณรที่บวชใหม่นั้น เมื่อท่องทำ วัตรกับอนุญญาสิโขจำได้และศึกษาธรรมบางอย่าง มือภิณหปัจจเวกขร์ เป็นต้นเข้าใจแล้ว จะศึกษาอะไรก็เลือกได้ตามชอบใจเจ้านายที่ท่านทรง ผนวชอยู่หลายพรรษาย่อมทรงศึกษาคันถธุระคือเรียนภาษามคธ แต่ที่จะ ทรงผนวชอยู่เพียงพรรษาเดียว มักทรงศึกษาวิชาอย่างอื่นที่ง่ายกว่า ส่วน ตัวฉันเองจะเป็นครแนะนำก็จำไม่ได้เสียนแล้ว เกิดอยากเรียนวิชาอาคม คือวิชาที่ทำให้อยู่คงกะพันชาตรีด้วยเวทมนต์และเครื่องรางต่างๆ มีผู้พา อาจารย์มาให้รู้จักหลายคน ที่เป็นตัวสำคัญนั้นคือนักองค์วัตถาน้องสมเด็จ พระนโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา เพราะเธออยู่ที่วังเจ้าเขมรริมคลอง ตรงข้าม กับบ้านคุณตาและเคยคุ้นกับคุณตามาแต่ก่อน เป็นมูลเหตุให้ฉันได้คุ้นเคย กับเจ้าเขมรและมีผลได้อุปการทั้งนักองค์ดิศวงศ์ ลูกนักองค์วัตถาและนัก สราคำลูกนักองค์ดิศวงศ์ ต่อมาในเวลาเมื่อฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาด ไทย การศึกษาวิทยาคมในเวลาน้นเชื่อถือเป็นการจับใจมาก โดยเฉพาะ สำหรับเด็กกำลังรุ่นหนุ่มเช่นตัวฉัน ด้วยได้ฟังเขาเล่าเรื่องและบางทีทด ลองให้เห็นอิทธิฤทธิ์ กับทั้งได้สะสมมีเครื่องรางแปลกประหลาดที่ไม่เคย เห็นเป็นต้นแต่พระธาตุ (ฉันได้รู้จักลักษณะพระธาตุตามที่นิยมกันมาแต่ครั้ง นั้น) และพระพุทธรูปกับรูปพระควัมที่ทำเป็นเครื่องราง ทั้งของประหลาด แปลกธรรมดาต่างๆ เช่น พด และเขี้ยวงาที่งอกได้ ตลอดจนผ้าประ เจียดและลูกแร่ปรอทหลอม เล่นของเหล่านี้เพลิน จนเลยละหนังสือไป คราวหนึ่ง เครื่องรางที่ฉันมีในเวลานั้นเป็นของสำคัญในทางโบราณคดีสิ่ง ๑ และมีเรื่องต่อมาอีกภายหลัง จะเล่าไว้ในหนังสือนี้ด้วยคือ พระกริ่ง องค์ ๒ คุณตาให้แต่เมื่อฉันยังไว้ผมจุก เป็นพระพุทธรูปนั่งถือหม้อน้ำมนต์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก หน้าตักไม่ถึง ๒ เซ็นต์ ถ้ายกขึ้นเขย่า เกิดเสียงดังกริ่งอยู่ในองค์พระ จึงเรียกกันว่าพระกริ่ง เป็นของหายาก ด้วยมีแต่ในเมืองเขมร เชื่อกันว่าพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์สร้างด้วยอิทธิฤทธิ์ จึงนับถือเป็นเครื่องรางสำหรับป้องกันอันตราย พระกิ่งของคุณตามี ๒ องค์ ได้ยินว่าพระอมรโมลี (นพ อมาตยกุล) วัดบุบผาราม ไปได้มาจาก เมืองอุดงมีชัยในรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งไปส่งพระมหาปานที่ไปเป็นสมเด็จ พระสุคนธฯ สังฆราชฝ่ายธรรมยุติกาในกรุงกัมพูชา แล้วเอามาให้คุณตา เป็นของฝากด้วยชอบกันมาก ครั้งหนึ่งคุณตารับฉันไปค้างที่บ้านแล้วท่าน ให้พระกริ่งนั้นแก่ฉันองค์ ๑ บอกว่าให้เอาไว้สำหรับตัวเมื่อเติบใหญ่ แต่ แรกฉันก็ไม่รู้ว่าเป็นของวิเศษอย่างไร จนเมื่อบวชเป็นสามเณรเมื่อสะสม เครื่องราง เห็นจะเป็นนักองค์วัตถาบอกว่าพระกริ่งเขมรเป็นเครื่องรางอย่าง สำคัญนัก ฉันจึงเชิญไปไว้ที่กุฎิ ในไม่ช้าความทราบถึงพระกรรณเสด็จ อุปัชฌาย์ว่าฉันมีพระกริ่ง ก็ตรัสสั่งให้ฉันเชิญไปถวายทอดพระเนตร ท่าน เชิญพระกริ่งของท่านมาเทียบก็เหมือนกัน จึงตรัสบอกให้เข้าใจว่าพระ กริ่งที่เป็นของแท้นั้นมี ๒ อย่าง สีทองคร้ามเรียกกันว่า พระกริ่งดำ อย่าง ๑ กับสีทองอ่อนเรียกกันว่า พระกริ่งเหลือง อย่าง ๑ รูปทรงอย่างเดียวกัน ถ้าแปลกไปอย่างอื่นเป็นของปลอมทั้งนั้น พระกริ่งของฉันเป็นของแท้ อย่างที่เรียกว่า พระกริ่งดำ ให้รักษาไว้ให้ดี ตรัสเพียงเท่านั้นหาได้ประทาน อธิบายอย่างอื่นไม่ ต่อมาเมื่อเสด็จอุปัชฌาย์สิ้นพระชนม์แล้วช้านาน เวลาฉัน เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระครูเจ้าคณะสงฆ์เมืองสุรินทร์ซึ่งอยู่ ต่อแดนกัมพูชาเข้ามากรุงเทพฯ ได้พระกริ่งมาให้ฉันอีกองค์ ๑ เทียบกับองค์ที่คุณตาให้ เห็นเหมือนกันทุกอย่างก็รู้ว่าเป็นของแท้ แต่ ถึงขั้นนี้ฉันไม่เชื่อเรื่องคงกะพันชาตรีเสียแล้ว ถึงกระนั้นก็เห็นว่าพระกริ่ง เป็นของสำคัญอย่างหนึ่งในทางโบราณคดี ครั้นถึงรัชกาลที่ ๖ ฉันมี โอกาสได้ออกไปเที่ยวเมืองเขมรเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๖๗ เมื่อไปพักอยู่ที่ กรุงพนมเพ็ญนึกขึ้นถึงเรื่องพระกริ่ง อยากรู้ว่าพวกเขมรนับถือกันอย่างไร จึงถามพระราชาคณะกับทั้งเจ้านาย และขุนนางกรุงกัมพูชา บรรดาที่ได้พบ หลายคน มีคนเดียวที่เป็นชั้นสูงอายุบอกว่าได้เคยเห็นพระกริ่งครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นไม่มีใครได้เคยเห็น และโดยมากที่เป็นคนชั้นหนุ่มไม่มีใครรู้ ว่ามีพระกริ่งทีเดียว ออกประหลาดใจ ครั้นเมื่อไปถึงนครวัดไปถามมอง สิเออร์มาสาลผู้เป็นหัวหน้าอำนวยการรักษาโบราณสถานอีกคน ๑ ว่าได้เคย เห็นพระกริ่งบ้างหรือไม่ เขาบอกว่าเมื่อก่อนฉันไปถึงไม่ช้านัก เขาพบกรุ ที่บนยอดเขาพนมปาเกงซึ่งอยู่ริมเมืองนครธม ได้พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ลักษณะเป็นเช่นพรรณนาหลายองค์ แล้วส่งตัวอย่างมาให้ดูมี ๒ ขนาด ขนาดใหญ่เท่ากันและเหมือนกันกับพระกริ่งของคุณตา ขนาดเล็กรูปสัณ ฐานก็อย่างเดียวกัน เป็นแต่ย่อมลงไปหน่อยหนึ่ง สันนิษฐานว่า จะเป็นอย่างที่เสด็จพระอุปัชฌาย์ตรัสเรียก่าพระกริ่งเหลืองนั่นเอง แต่ ประหลาดอยู่พระพุทธรูปที่พบบนเขา พนมปาเกงไม่ปิดฐานทำเป็นพระกริ่ง จะเป็นด้วยเหตุใดรู้ไม่ได้ เห็นได้เป็นแน่แท้ว่าคงมีพิมพ์สำหรับทำหุ่นขี้ ผึ้งแล้วหล่อ พระพุทธรูปชนิด นั้นคราวละมากๆ รูปสัณฐาน จึงเหมือนกัน ทั้งหมด สังเกตเห็นเค้าเงื่อนขึ้นใหม่อีกอย่าง ๑ ที่พระเศียรและดวงพระ พักตร์พระกริ่งเป็นแบบจีนผิดกับพระพุทธรูปแบบขอม ทั้งฐานทำบัวหงาย บัวคว่ำ เป็นอย่าง บัวหลังเบี้ย ตามแบบพระพุทธรูปจีน จึงสันนิาฐานว่า พระกริ่งเห็นจะเป็นของหล่อในเมืองจีน แล้วส่งมายังกรุงกัมพูชาในสมัย เมื่อกำลังรุ่งเรือง คือที่เขมรเรียกกันว่า ครั้งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ความที่ ว่านี้ต่อมาได้พบหลักฐานประกอบที่สถานทูตเดนมาร์คในกรุงเทพฯ ด้วย ท่านเครเมอราชทูตเคยอยู่ที่เมืองปักกิ่งเมื่อก่อนมากรุงเทพฯ รวบรวมพระ พุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ของจีนแต่โบราณไว้หลายองค์ เอาออกตั้งเรียง ไว้ในห้องรับแขก วันหนึ่งฉันได้รับเชิญไปกินเลี้ยงแล้วพาไปดูของเหล่า นั้น ฉันเห็นพระพุทธรูปองค์ ๑ เหมือนพระกริ่ง แต่กาไหล่ทองและต่าง พิมพ์กับพระกริ่งที่มาจากเขมร บอกราชทูตว่าพระพุทธรูปชนิดนั้นถ้า เอาขึ้นสั่นมักจะมีเสียงดังกริ่มอยู่ข้างใน แกลองเอาขึ้นสั่นก็มีเสียงจริงจัง ว่า เลยประหลาดใจบอกว่าได้พระองค์นั้นไว้หลายปีแล้วเพิ่งมารู้ว่าเป็น พระกริ่งเพราะฉันบอก ต่อมาเมื่อจะกลับไปบ้านเมืองเลยให้ฉันไว้เป็นที่ ระลึก มองสิออร์มาสาลที่นครวัดก็มีแก่ใจแบ่งพระที่พบในกรุงบนยอดเขา พนมปาเกงให้เพื่อมาเป็นที่ระลึกเช่นเดียวกัน เดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ สถานในกรุงเทพฯ ฉันเพิ่งมารู้เรื่องตำนานของพระกริ่งตามทางวิชา โบราณคดีเมื่อเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา ค้นหามูลเหตุที่สร้างพระพุทธ รูปปางต่างๆ ในอินเดีย ได้ความว่าเดิมมีแต่ ๘ ปาง คือแบบอย่างอนุโลม ตามเรื่องพุทธบริโภคเจดีย์ทั้ง ๘ แห่ง ครั้นต่อมาเมื่อเกิดลัทธิมหายานขึ้น ในพระพุทธศาสนา พวกถือลัทธิมหายานคิดทำพระพุทธรูปขึ้นอีกปาง ๑ เป็นพระนั่ง พระหัตถ์มือหม้อน้ำมนต์ หรือ วชิร หรือผลไม้ที่เป็น โอสถเช่น ลูกสมอเป็นต้น เรียกว่า ไภสัชชคุรุ สำหรับโสรจสรงน้ำมนต์รักษาโรค และบำบัดภัย เมื่อได้ความตามตำราดังนี้ก็เข้าใจตลอดไปถึงเหตุที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐาน พระกริ่งตรึงไว้ใน ขันครอบ ซึ่งโปรดฯ ให้พระมหาเถระดับเทียน ทำน้ำมนต์ถวายในมงคลราชพิธีเช่น งานเฉลิมพระชันษาเป็นต้น อันยังเป็นประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้ พระ กริ่งที่ได้มาถึงเมืองไทย ก็คงเป็นด้วยพบกรุอย่างเช่นมองสิเออร์มาสาลว่า ในกาลก่อน แต่พวกเขมรไม่นิยมพระกริ่งเหมือนกับไทย นานเข้าพระกริ่ง จึงมามีแต่ในประเทศสยาม ครั้งฉันเลื่อมใสเครื่องรางในสมัยเมื่อบวชเป็นสามเณรนั้น ได้เคย เห็นฤทธิ์เครื่องรางประจักษ์แก่ตัวเองครั้งหนึ่ง เมื่อจะต้องไปเทศน์มหาดชาติ ในวังหน้า พระมหาราชครูมหิธร (ชู) ผู้เป็นอาจารย์ วิตกเกรงฉันจะไป ประหม่าเทศน์ไม่เพราะ มีใครบอกว่าอาจารย์วิทยาคมคนหนึ่งทำเครื่อง รางกันประหม่าได้ให้ไปขอ ได้มาเป็นก้อนขี้ผึ้งแข็งปั้นกลมๆ ขนาดสักเท่า เมล็ดมะกล่ำตาช้าง บอกว่าเมื่อจะขึ้นธรรมาสน์ให้อมไว้ใต้ลิ้นจะไม่ประ หม่าเลย ฉันกระทำตามก็ได้จริงดังสัญญา มิได้รู้สึกครั่นคร้ามตกประหม่า เลยแต่สักนิดเดียว จนพระหมาราชครูผู้อาจารย์ประหลาดใจ ก็เลยลง เนื้อเชื่อถือว่า เพราะเครื่องรางนั้นป้องกัน ต่อมาหวนคิดเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จึงเข้าใจว่าความเชื่อมั่นของเราในเครื่องรางนั่นเองป้องกันมิให้ตกประหม่า ทำนองเดียวกับรดน้ำมนต์แก้โรคต่างๆ เรื่องเล่นวิทยาคมที่เล่ามา เป็นการเล่นของฉันในอนเช้าก่อนเพล เมื่อเพลแล้วประเพณีพระเณรย่อมนอนกลางวัน ถึงตอนบ่ายมักไป เที่ยวกับพวก (มหาดเล็ก) เด็กหนุ่มที่ไปอยู่ด้วย ไปเล่นที่ลานรอบวิหาร พระศาสดาเป็นพื้น บางวันก็ช่วยกันทำดอกไม้ไฟจุดเล่น บางวันก็เล่า นิทานสู่กันฟัง ไม่มีอะไรเป็นสาระนอกจากไม่ทำความชั่วเท่านั้น ครั้น เวลาเย็นพระเณรที่ชอบอัธยาศัยอยู่ในคณะเดียวกัน มักไปประชุมกันที่กุฏิ องค์ใดองค์หนึ่ง ตรงนี้ควรชมประเพณีการบวชในพระพุทธศาสนาที่ถือว่า เสมอกันหมด ไม่ต้องยำเกรงด้วยยศศักดิ์ นั่งสนทนาปราศรัยกันตามชอบ ในเวลาประชุมกันตอนเย็นนี้ โดยเฉพาะผู้บวชใหม่เริ่มจะเกิดหิว จึง มักช่วยกันเคี่ยวน้ำตาลน้ำผึ้งสำหรับบริโภคกับน้ำชาในเวลาค่ำ การเคี่ยว น้ำตาลกับน้ำผึ้งที่ว่านี้ ค่าที่พระตามวัดเคยทำสืบต่อกันมาช้านาน อาจ จะผสมส่วนทำได้แปลกๆ น่ากินหลายอย่า สนทนากันและกินน้ำชา กับน้ำตาลน้ำผึ้งเป็นที่บันเทิงใจ จนเวลาค่ำกลับขึ้นกุฏิ การท่องสวดมนต์ มักท่องเวลานี้กับเวลาแรกรุ่งเช้าก่อนออกบิณฑบาตอีกเวลาหนึ่ง ครั้นถึง เวลา ๒๐ นาฬิกาได้ยินเสียงระฆังสัญญาณก็พากันลงโบสถ์เวลาค่ำ เสด็จ แล้วก็เป็นสิ้นกิจประจำวัน ตามความที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าการที่บวชเป็น สามเณรนั้น โดยเฉพาะเจ้านาย ถ้าบวชแต่พรรษาเดียวดูไม่สู้จะเป็น ประโยชน์เท่าใดนัก เพราะยังเป็นเด็กเห็นแต่แก่จะสนุกสนาน ฟังสั่งสอน ศีลธรรมก็ยังมิใคร่เข้าใจ ได้ประโยชน์เป็นข้อสำคัญแต่ความคุ้นเคยอยู่ใน บังคับบัญชา และสมาคมกับเพื่อนพรหมจรรย์โดยฐานเป็นคนเสมอกัน เป็นนิสัยปัจจัยต่อไปข้างหน้า แต่จะว่าการที่บวชเณรไม่เป็นประเพณีดี ก็ว่าไม่ได้ ถ้าคิดถึงขั้นบุคคลพลเมืองสามัญในสมัยเมื่อรัฐบาลยังมิได้ตั้ง โรงเรียน ที่เรียนหนังสือและเรียนศีลธรรมมีแต่ในวัด พ่อแม่ส่งลูกไปอยู่ วัดก็คือว่าให้ไปเข้าโรงเรียนนั่นเอง ขั้นแรกเป็นแต่ลูกศิษย์วัดตรงกับเรียน วิชาชั้นปฐมศึกษา เมื่อได้ความรู้เบื้องต้นและคุ้นกับวัดจนเกิดเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา จึงให้บวชเป็นสามเณรเสมือนเลื่อนขึ้นเป็นชั้นมัธยม มี เวลาเล่าเรียนมากขึ้น และได้รับความเคารพอุดหนุนของชาวบ้านยิ่งกว่า เป็นลูกศิษย์วัด แต่ต้องบวชเป็นสามเณรอยู่นานจนถึงอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุ หรือมิฉะนั้นก็ต้องบวชหลายพรรษา จึงจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ติดตัวในเวลาเมื่อสึกไปเป็นคราวาส เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรส เป็นประธานสงฆ์ ทรงพระดำริความตามที่กล่าว มานี้ จึงจัดตั้งวิธีสอนและสอบความรู้พระเณรที่เป็น นวก บวชพรรษาเดียว ซึ่งใช้เป็นแบบอยู่ทั่วไป ณ บัดนี้ โดยพระประสงค์จะปลูกน้ำใจผู้บวชใหม่ ให้นิยมพยายามศึกษาประกวดกันและกัน ตั้งแต่แรกบวชไปจนสมหมาย เมื่อสิ้นพรรษา และความรู้ศีลธรรมติดตัวไปเป็นประโยชน์เมื่อเวลาเป็น ฆราวาส การที่บวชพรรษาเดียวเดี๋ยวนี้จึงนับว่าดีกว่าสมัยเมื่อฉันบวชเณร มาก แต่ถ้าบวชอยู่ตั้ง ๒ พรรษาขึ้นไป ถึงในสมัยก่อนก็เป็นประโยชน์ เพราะสมัครเป็นบรรพชิต ด้วยเห็นทางที่จะแสวงหาคุณวิเศษอย่างไรต่อไป แล้วจึงบวชอยู่ พอล่วงพรรษาแรกก็ตั้งหน้าพยายามตามจำนง เป็นต้นว่า เรียนภาษามคธ หรือฝึกหัดศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ในวัดนั้นต่อไปจน สำเร็จ พระเถระที่รอบรู้พระธรรมวินัยและช่างที่มีชื่อเสียงมาแต่ก่อน ล้วน เริ่มเรียนวิชาแต่เวลายังบวชเป็นสามเณรแทบทั้งนั้น ว่าถึงตัวฉันเองเมื่อ ออกพรรษาปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้พระราชทานกฐินหลวงให้ไปทอดที่วัดคง คาราม ได้ไปเมืองเพชรบุรีเป็นครั้งแรก ทอดกฐินแล้วกลับมาก็สึกในเดือน ๑๒ นั้น ก่อนจะสึกต้องถวายดอกไม้ธูปเทียนทูลาเสด็จพระอุปัชฌาย์ แล้วต้องเข้าเฝ้าทูลลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย แต่ไม่มีความลำบากอันใด ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบมาแต่แรกแล้วว่า ฉันจะบวชแต่พรรษาเดียว แล้วจะสึกออกมารับราชการ ก็พระราชทาน บรมราชานุญาตโดยง่าย เมื่อสึกแล้วฉันไปอยู่บ้านคุณตาที่ฉันได้รับมรดก แม่ก็ออกไปอยู่ ด้วย เหตุที่ฉั้นจะได้บ้านคุณตาเป็นมรดกนั้น แม่เล่าให้ฟังว่าเมื่อฉันยัง เด็ก คุณตาซื้อบ้านจงผึ้งที่ริมคลองวัดสุทัศน์ฯ ไว้ แล้วบอกแก่แม่ว่าเมื่อ ฉันโตขึ้นจะให้เป็นที่ทำวังของฉัน จะได้อยู่ใกล้ๆ กับกรมหมื่นราชศักดิ์ สโมสร ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๔ คุณป้าเที่ยงสิ้นวาสนาจะออกไปอยู่นอกวังกับ กรมหมื่นราชศักดิ์ฯ แต่ท่านอยากมีบ้านของท่านเองต่างหาก คุณตา สงสารจึงโอนที่บ้านจงผึ้งไปให้แก่คุณป้าเที่ยง เพราะบ้านนั้นอยู่ใกล้กับ กรมหมื่นราชศักดิ์ฯ ดังกล่าวมาแล้ว ท่านจึงบอกแก่แม่ว่าจะให้บ้านของ ท่านเองแทนบ้านจงผึ้ง แล้วแสดงให้ปรากฎในวงญาติว่าจะให้บ้านของ ท่านเป็นมรดกแห่ฉัน เพราะตัวท่านก็แก่ชราแล้ว กว่าฉันจะเติบใหญ่ถึง ต้องมีรั้ววังก็เห็นจะพอสิ้นอายุของท่าน หรือมิฉะนั้นถ้าท่านยังอยู่ก็จะได้ ไปอยู่กับท่านไปพลาง น่าจะเป็นเพราะท่านเจตนาเช่นนั้น คุณตาจึงมัก รับฉันไปนอนค้างที่บ้านบ่อยๆ ดังเล่ามาแล้ว ผิดกับเจ้าพระนายองค์อื่นๆ ที่เป็นหลายด้วยกัน เผอิญการก็เป็นอย่างคุณตาว่า พอถึงปีฉันโกนจุก คุณตาก็ถึงอนิจกรรม บ้านของคุณตาจีงตกเป็นของฉันแต่นั้นมา เรือน ชานในบ้านของคุณตาสร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งนั้น มีตึกหลังเดียวเรียกว่า หอสูง ที่ท่านอยู่ และฉันอยู่ต่อมาในตอนก่อนสร้างเป็นวัง มีของแปลก ประหลาดอย่างหนึ่ง คือเสาสำหรับชักธงเหมือนอย่างที่มีตามสถานกงสุล ปักไว้ข้างหน้าบ้าน ฉันมาทราบในภายหลังว่าการสำเสาธงนั้นเกี่ยวกับ การเมืองเป็นข้อสำคัญ ควรจะเล่าไว้ให้ปรากฎ คือในเมืองไทยแต่ก่อน มา การตั้งเสาชักธงมีแต่ในเรือกำปั่น บนบกหามีประเพณ๊เช่นนั้นไม่ มีค่ำเล่ากันมาว่าแต่เมื่อในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดขนบธรรมเนียมฝรั่ง ให้ทำเสาธงขึ้น ณ พระราชวังเดิม (ที่เป็นโรง เรียนนายเรือบัดนี้) อันเป็นที่เสด็จประทับ และชักธงบริวารเป็นเครื่องบูชา ในเวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระกฐิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร ตรัสถามผู้ที่ อยู่ใกล้พระองค์ว่า "นั่นท่านฟ้าน้อยเอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตาทำไม" พิเคราะห์เห็น ว่ามิใช่เพราะไม่ทรงทราบว่าทำโดยเคารพตามธรรมเนียมฝรั่ง ที่มีพระราช ดำรัสเช่นนั้นเพราะไม่โปรดที่เอาอย่างฝรั่งมาตั้งเสาชักธงเท่านั้นเอง ครั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส สั่งให้ทำเสาธงขึ้นทั้งในวังหลวงและวังหน้า เสาธงวังหลวงให้ชักธงตรา พระมหามงกุฎ และเสาธงวังหน้าให้ชักธงจุฑามณี (ปิ่น) คนทั้งหลายก็ เข้าใจกันว่าเสาชักธงนั้นเป็นเครื่องหมายพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน ครั้นเมื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับรัฐบาลฝรั่งต่างประเทศแล้ว มีกงสุลนานาประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มาตั้งเสาชักธงชาติของตนขึ้น ตามสถานกงสุล เหมือนอย่างสถานกงสุลที่เมืองจีน คนทั้งหลายที่ไม่รู้ ประเพณีฝรั่ง ก็พากันตกใจ โจษกันว่าพวกกงสุลจะเข้ามาตั้งแข่งพระราชา นุภาพ ความทราบถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไขด้วยดำรัสสั่ง เจ้านายต่างกรมกับทั้งขุนนางผู้ใหญ่ให้ทำเสาธงข้างขึ้นตามวัง และที่บ้าน เมื่อมีเสาธงชักธงขึ้นมากคนทั้งหลายก็หายตกใจ เรื่องนี้ฉันเคยเล่าให้พวก ราชทูตต่างประเทศฟังหลายคน พากันชอบใจชมพระสติปัญญาของพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าช่างทรงพระราชดำริแก้ไขดีนัก แต่ เมื่อฉันได้บ้านคุณตา ปัญหาเรื่องเสาธงระงับมาช้านานแล้ว เสาธงของ คุณตาก็ผุยังแต่จะหักโค่น จึงสั่งให้เอาลงเสีย เรื่องที่จะเล่าในตอนต่อนี้ไป จะว่าด้วยราชการบ้านเมืองที่ฉันได้ ทันเห็นเมื่อเป็นเด็กอยู่ในปีระกา พ.ศง ๒๔๑๗ และปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ แต่ มารู้ความตระหนักเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เป็นการสำคัญมีหลายเรื่อง ทรงพระนิพนธ์ค้างไว้เพียงเท่านี้