วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันสุขภาพจิตโลก

ภาพ:Mental_health.jpg

        แต่เดิมคำว่า "สุขภาพ" เรามักหมายถึง สุขภาพทางกาย แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการสนใจเรื่องของจิตใจมากขึ้น ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อสุขภาพกาย ดังคำกล่าวที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] สุขภาพจิตดี

        ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปรับตนเองให้อยู่ได้อย่างมีความสุขในโลกซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตมักจะก่อให้เกิดความยากลำบากในการติดต่อกับผู้อื่น อันเป็นเหตุให้มีปัญหาไปตลอดชีวิต

        ปัญหาสุขภาพจิตสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุของมนุษย์และปรากฏได้หลายรูปแบบ ประเทศที่ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตมากนั้นนอกจากจะดูได้จากอัตราการป่วยด้วยโรคทางจิตที่มีจำนวนมากแล้ว อาจดูได้จากสถิติอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น อัตราการหย่าร้างสูง อัตราการฆ่าตัวตายสูง สถิติอาชญากรรมสูง และอัตราผู้ติดสุราหรือยาเสพติดสูง

[แก้ไข] จุดกำเนิด

        จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตสามารถส่งผลกระทบให้กับสังคมเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อสุขภาพจิตเสื่อมสุขภาพกายก็จะพลอยทรุดโทรมไปด้วย ซึ่งก่อให้เกิดภาระแก่ครอบครัวที่ต้องคอยดูแลบำบัดรักษา

        จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากสุขภาพจิต ทำให้หน่วยงานที่มีชื่อว่า "สหพันธ์สุขภาพจิตแห่งโลก" ได้ประกาศร้องขอไปยังนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยให้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เป็น "วันสุขภาพจิตแห่งโลก" และให้ร่วมกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตในวันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี

[แก้ไข] สาเหตุของจุดกำเนิด

        วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ โดยวันสุขภาพจิตโลกริเริ่มโดยสหพันธ์สุขภาพจิตโลก (World Federation for Mental Health หรือ WFMH) ซึ่งร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International Association for Suicide Prevention หรือ IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์อนามัยโลก (WHO)

[แก้ไข] เกี่ยวกับวันสุขภาพจิต

        เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยรองเลขาธิการในขณะนั้น คือ ริชาร์ด ฮันเตอร์ (Richard Hunter) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี

        ในช่วงแรกของการเริ่มต้นไม่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะที่ชัดเจนโดยมีจุดประสงค์เพียงต้องการส่งเสริมเครือข่ายสุขภาพจิตและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตในประเด็นต่างๆ ต่อสาธารณะ

        ในปี ค.ศ. 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ (Eugene Brody) เลขาธิการของสมาพันธ์ จึงได้มีการกำหนดประเด็นหัวข้อขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือ "พัฒนาคุณภาพการบริการด้านสุขภาพจิตพร้อมกันทั่วโลก" (Improving the Quality of Mental Health Services throughout the World) และได้รับการตอบรับอย่างดีใน 27 ประเทศทั่วโลก

        ภายใน 3 ปี วันสำคัญนี้กลายเป็นช่วงเวลาที่มีค่ายิ่งสำหรับหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และคณะบุคคลต่างๆ ได้ให้ความสำคัญในการจัดโครงการเพื่อเป้าหมายในการดูแลงานด้านสุขภาพจิต และเพื่อให้ดำเนินการไปได้อย่างดียิ่ง จึงได้มีการวางแผนจัดเตรียมสื่อต่างๆ ในทุกปี ซึ่งมีประเด็นหัวข้อแต่ละปีที่หลากหลายเช่น

[แก้ไข] หัวข้อในแต่ละปี

  • 1996 ผู้หญิงกับสุขภาพจิต
  • 1997 เด็กกับสุขภาพจิต
  • 1998 สุขภาพจิตและสิทธิมนุษยชน
  • 1999 สุขภาพจิตและผู้สูงอายุ
  • 2000 สุขภาพจิตและการทำงาน
  • 2001 สุขภาพจิตและการทำงาน
  • 2002 ผลกระทบจาการบาดเจ็บและความรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น
  • 2003 ความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น
  • 2004 ความสัมพันธ์ระหว่างกาย-จิต ในโรคต่างๆ ที่ร่วมกัน
  • 2005 สุขภาพจิตสุขภาพกายตลอดช่วงอายุขัย
  • 2006 สร้างความตระหนักและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยทางจิตและการฆ่าตัวตาย

        โดยผู้จัดไม่ได้หวังว่าเพียง 1 วัน ที่มีการจัดงานนี้จะทำได้โดยง่าย แต่การตระเตรียมงานเป็นเดือนๆ ก่อนวันดังกล่าวนี้จะเป็นความพยายามที่แท้จริงในการให้ความรู้อย่างยั่งยืน สำหรับบางประเทศการจัดโครงการต่อเนื่องหลายวันจนถึงสัปดาห์ ตลอดจนถึง 1 เดือนก็มี และมีบางแห่งจัดเตรียมสำหรับปีต่อไปที่จะเริ่มขึ้นเมื่องานปีนี้สิ้นสุดลงในทันที

[แก้ไข] เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

  • องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจาการฆ่าตัวตายทั้งโลกประมาณ 1 ล้านคน เท่ากับ 1.4% ของภาวะการสูญเสียที่เกิดจากโรคทุกโรค (total global burden of disease)
  • และประมาณครึ่งหนึ่งของปีที่เสียชีวิตจาการฆ่าตัวตาย มีโรคทางจิตอย่างน้อย 1 โรค ที่ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือไม่ก็มีปัญหาการใช้สุราหรือยาเสพติด
  • ในปี ค.ศ. 2006 โครงการรณรงค์นี้เกิดขึ้นเพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญในเชิงลึกของปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตกับเรื่องการฆ่าตัวตาย เป็นการยกระดับความเข้าใจจากเดิมที่คิดว่าปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตเป็นเรื่องรองในด้านสุขภาพ ซึ่งอาจจะถูกจัดการอย่างล่าช้าไม่ทันการ

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- กำลังใจดอทคอม

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต