วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/01/2008
ที่มา: 
วิกิพีเดีย วัดหนองป่าพง ธรรมะไทย Buddhism Thailand

 

ภาพ:SMILE12345.jpg

  หลวงปู่ชา สุภัทโท ท่านเกิดในครอบครัวที่อบอุ่นและมักเกื้อหนุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้อยู่เสมอ อีกทั้งตัวท่านนั้นเป็นเด็กวัดตั้งแต่อายุยังน้อย และมีความสนใจในศาสนา ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรม เรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ซึ่งท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ รวมทั้งยังได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวช

 


สารบัญ [ซ่อนสารบัญ]
1 หลวงปู่ชา สุภัทโท
1.1 ประวัติ
1.2 ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
1.3 ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น
1.4 ออกธุดงค์
1.5 วัดหนองป่าพง
1.6 ผลงานและคำสอน
 

[แก้ไข] หลวงปู่ชา สุภัทโท
[แก้ไข] ประวัติ
        พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) บางคนอาจจะเรียกว่า หลวงพ่อชา หรือ อาจารย์ชา โดยนามเดิมคือ ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อนางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องจำนวน 10 คน

        หลวงปู่ชาได้เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านก่อ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก็ได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีความสนใจในศาสนา และมีความตั้งใจที่จะบวช จึงได้ขออนุญาตจากบิดามารดาและท่านก็เห็นดีด้วย

[แก้ไข] ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์

ภาพ:Bindapat.jpg
        หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว บิดาของหลวงปู่ชาก็ได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้ระเบียบการบรรพชา หลังจากนั้นจึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

        หลังจากนั้นสามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม รวมถึงการเอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณร ทั้งการท่องสวดมนต์, ทำวัตร และศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากต้องออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ ทำนา

        แต่ด้วยใจที่ใฝ่ในการศึกษาธรรมะอยู่เสมอจึงมีความคิดที่อยากจะบวชเป็นพระให้ได้ จนเมื่ออายุ 21 ปี ก็ได้ขอบิดามารดาและท่านก็อนุญาต จึงได้ฝากตัวไว้ที่วัดก่อใน (ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์) และก็ได้รับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ที่พัทธสีมา วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยผู้ที่ให้การอุปสมบทคือพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์, พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก 2 พรรษา ซึ่งมึความตั้งใจในการศึกษาปริยัติธรรมทั้งจากตำราและจากครูอาจารย์จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในวัดก่อนอกแห่งนี้

[แก้ไข] ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น
        เมื่อสอบนักธรรมตรีได้แล้วก็อยากเรียนให้สูงขึ้นจึงตั้งใจจะไปแสวงหาความรู้ต่างถิ่นดังภาษิตอีสานที่ว่า “บ่ออกจากบ้าน บ่ฮู้ฮ่อมทางเทียว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้” หลวงปู่ชาจึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลีโดยผ่านสำนักต่างๆ มากมาย จนในที่สุดก็สอบนักธรรมชั้นโทได้ที่สำนักของพระครูอรรคธรรมวิจารณ์ และต่อมาก็สอบนักธรรมชั้นเอกได้ แต่ก่อนที่จะได้นักธรรมชั้นเอกนั้นหลวงปู่ชาก็ได้สูญเสียบิดาไป

[แก้ไข] ออกธุดงค์

ภาพ:Lp028.jpg
        หลังจากที่ต้องสูญเสียบิดาไปจึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรมโดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์มากมาย เช่น หลวงปู่กินรี, หลวงปู่เถระชาวเขมร, อาจารย์คำดี, พระอาจารย์มั่น จนแก่กล้าแต่ก็ยังคงออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อย โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลาจนในที่สุดได้รับการอาราธนาจากมารดาและพี่ชายให้กลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด

        จน พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้นซึ่งในปัจจุบัน คือ "วัดหนองป่าพง" และท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.30 น. อย่างสงบท่ามกลางศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกสารทิศ

[แก้ไข] วัดหนองป่าพง

ภาพ:IMG_0093.jpg

เจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่ชา

        วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง หมู่ที่ 10 ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่งพระอาจารย์ชา สุภทฺโท ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง กระทั่งต่อมาได้เป็นศูนย์กลางการอบรมสั่งสอน ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ให้กับนักปฎิบัติธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนเป็นแรงศรัทธาเกิดสาขาขยายไปยังประเทศทั่วโลก

ศิลปสถาปัตยกรรม

        นอกจากจะเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจาย์มั่น ภูริทตโต แล้ววัดหนองป่าพงยังเป็นที่สำคัญด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างศิลปะอีสานกับศิลปะร่วมสมัย อาทิ การก่อสร้างโบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ และเจดีย์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อชา

โบสถ์วัดหนองป่าพง

        เป็นอุโบสถอเนกประสงค์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อประโยชน์ใช้สอย พื้นอุโบสถยกลอยจากพื้นดิน เบื้องล่างเป็นถังเก็บน้ำฝนตัดสิ่งประดับฟุ่งเฟื่อย อาทิ ช่อฟ้า ใบระกา ไม่มีผนังประตูหน้าต่าง สามารถจุคนได้จำนวนประมาณ 200 กว่าคน เสาอาคารและผนังประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผา อีสานจากบ้านด่านเกวียนวิหาร เป็นลักษณะศิลปะแบบอีสานเรียบง่ายแต่เน้นประโยชน์ใช้สอย สามารถจุประชาชนได้ เป็นนับพันคน

เจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่ชา

        มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมอีสานกับล้านช้าง

ความสำคัญต่อชุมชน

        วัดหนองป่าพงเป็นต้นแบบของวัดป่ากว่า 100 แห่งในประเทศไทย และอีกหลายแห่งในยุโรป ออสเตรเลีย และแคนาดา หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่าง ของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้จะมีศาสนิกชนมากมายแต่ก็ไม่สร้าง ความแตกแยกให้เกิดนิกาย หรือเข้าไปพัวพันกับการเมืองจนเป็นเรื่อง แตกแยก วัดเน้นความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ฟุ่งเฟือยหรือสะสม คงความเป็นพุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างแท้จริง หน้าที่หลักของ พระสงฆ์ คือ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ อบรมสั่งสอนให้ศาสนิกชนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา

        วัดหนองป่าพงมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ กุฏิพยาบาลหลวงพ่อชา กุฎิพระ กุฎิแม่ชี กุฎิหลวงพ่อชา

 


[แก้ไข] ผลงานและคำสอน

ภาพ:Cha35.jpg
        ขณะที่หลวงปู่ชา สุภัทโท ยังมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ซึ่งชื่อเสียงของท่านขจรไกลไปถึงต่างแดนจนมีชาวต่างประเทศเลื่อมใส ศรัทธาขอบวชกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้สร้างวัดป่านานาชาติให้ภิกษุชาวต่างชาติได้ใช้เป็นที่ฝึกปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นยังได้สร้างวัดสาขาของวัดหนองป่าพงเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปทั่วทุกภาค ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 82 สาขา ส่วนที่ต่างประเทศมีทั้งหมด 7 สาขา

        คำสอนของหลวงปู่ชานั้นจะใช้การมองเข้าหาตัวเอง และเปรียบเทียบตัวเองกับธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ดูแล้วรู้ตาม อาทิ

        หยุดชั่วมันก็ดี

        คนเราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ เช่น ผ้ายังสกปรกอยู่ ยังไม่ได้ทำความสะอาด แต่อยากจะย้อมสีซะแล้ว ลองเอาผ้าเช็คเท้าที่ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูซิ มันจะสวยไหม การไม่กระทำบาบนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้ แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะ มันยากที่สุด การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก การทำบุญ โจรมันมันก็ทำได้มันเป็นปลายเหตุมัน การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะเป็นต้นเหตุ

        นอกเหนือเหตุผล

        พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่าให้ "นอกเหตุเหนือผล"ไม่ว่าจะทำอะไร ปัญญาของท่านให้นอกเหตุเหนือผล ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์ ลองคิดตามไปซิลองพิจารณาไปตาม คนเราเคยอยู่ในบ้าน พอหนีจากบ้านไปไม่มีที่อยู่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเรามันเคยอยู่ในภพ อยู่ในความยึดมั่นถือมั่นเป็นภพ


ขอขอบคุณข้อมูลภาพประกอบจาก

- วิกิพีเดีย

- วัดหนองป่าพง

- ธรรมะไทย

- Buddhism Thailand


ประเภทของหน้า: พระสงฆ์