เสาชิงช้า

  • : Function split() is deprecated in /home/openbase/domains/openbase.in.th/public_html/modules/filter/filter.module on line 1206.
  • : Function split() is deprecated in /home/openbase/domains/openbase.in.th/public_html/modules/filter/filter.module on line 1206.
วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/12/2007
ที่มา: 
กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

แต่เดิมนั้น พระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือนมาตั้งแต่ครั้ง สมัยกรุงสุโขทัย และ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีจะทำกันในเดือนอ้าย (ธ.ค.) ครั้นเมื่อถึงใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (ม.ค.)

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข]
เสาชิงช้า

ภาพ:เสาชิงช้า.jpg

 

        พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวรแล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร

        เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์ มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์ พราหมณ์และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6บริษัท หลุยส์ ที. เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็น บริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463ซ่อม ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าใน ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุก ๆ ปี เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อพ.ศ. 24

 

 

[แก้ไข] สถานที่ตั้ง

        ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือหน้า วัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ โครงยึดหัวเสาทั้งคู่ แกะสลักอย่างสวยงาม ทั้งหมดทาสีแดงชาด ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่

 

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมา

        มีพราหมณ์ นาฬิวัน ชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรงพุทธศักราช ๒๓๒๗ ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ เทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ เป็น "โบราณวัตถุสถาน" สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓ มีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้ "ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า ๕๐ ปี สาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๓"

        พุทธศักราช ๒๔๙๐ เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตก ทำให้คุไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว

        พุทธศักราช ๒๕๐๒ กระจังที่เป็นลวดลายผุลง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี

        พุทธศักราช ๒๕๑๓ สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะ ได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๕

 

[แก้ไข] ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

        เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ ๒๑.๑๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร ฐานกลมก่อด้วยหินสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได ๒ ชั้น ทั้ง ๒ ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐาน ติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสาตะเกียบ ๒ คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลมติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน

         กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492

 

[แก้ไข] ความสำคัญต่อชุมชน

        เป็นโบราณวัตถุสถานที่สำคัญของ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามประวัติได้ใช้โล้ชิงช้า ในพิธีกรรมตรียัมปวาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และเลิกโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๕

        จนถึงวันที่เสาชิงช้าถูกถอดลงมาบูรณะมีอายุรวม 222 ปี

         เส้นทางเข้าสู่เสาชิงช้า

        เสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์ และวัดสุทัศน์เทพวราราม จึงสามารถเข้าได้โดยผ่านถนนดินสอเข้ามาตัดกับถนนบำรุงเมือง

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต