วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
18/03/2009
ที่มา: 
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.thairice.org

ข้าวในคติชนของคนไทย-ไท

สุกัญญา สุจฉายา
จากหนังสือ : ข้าวในศิลปะและวัฒนธรรม (เอกสารเผยแพร่ลำดับที่ 1 ของมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2544)    

ข้าวในคำคม สำนวน

ไทยภาคกลาง

  • ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร ( ชายหญิงในสังคมมีความแตกต่างทางเพศ ชายสามารถแพร่พันธุ์ได้เหมือนข้าวเปลือก ส่วนหญิงต้องรักนวลสงวนตัวมากกว่า เพราะเปรียบเหมือนข้าวสารถ้าผ่านการขัดสีแล้วก็ไม่มีใครต้องการ )
  • ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ ( ทำอะไรไม่ถูกเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน เพราะหน้านาเป็นเวลาที่ควายมีราคาแพง และหน้าตรุษเป็นเวลารื่นเริง คนแต่งตัวไปอวดกัน )
  • ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ ( ทำการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลือง จะได้ผลไม่สมบูรณ์ )
  • ทุบหม้อข้าว ( ตัดอาชีพ ทำให้เสียประโยชน์ของตนเอง )
  • ทำนาบนหลังคน ( หาประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น )

 
ไทยอีสาน

  • เฮ็ดนาอย่างแพงกล้า ไปค้าอย่าแพงทึน ( ทำนาอย่าเสียดายต้นกล้า ไปค้าขายอย่าเสียดายทุน )
  • ซื้อควายยามนา ซื้อผ้ายามหนาว ( ทำอะไรต้องวางแผน อย่าแก้ไขเฉพาะหน้า )
  • งามแต่ข้าวเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง ( ถ้าจะให้บ้านเมืองมีความสุขต้องมีผู้เป็นใหญ่คนเดียว เช่นเดียวกัน ถ้าจะให้ข้าวงามต้องทำนาใกล้คลองส่งน้ำ)
  • ข้าวเต็มเล้านอนเว้ากะคือ เงินเต็มถงเว้ากงกะได้ ( ข้าวเป็นของมีค่าคนที่มีข้าวเต็มยุ้งจะนอนพูดกับใครก็ได้เช่นเดียวกัน กับคนมีเงินจะพูดจากขัดหูใครก็ได้ทั้งนั้น )
  • นาดีถามหาข้าวปลูก ลูกดีถามหาพ่อแม่ ( การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีผลต่อของเด็ก คุณความดีจึงอยู่ที่พ่อแม่ เช่นเดียวกับการทำนาข้าวที่เก็บเกี่ยวเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว )
  • ข้าวเผิ่นขาวลูกสาวเผิ่นแฮง แกงเผิ่นแซบปลาแดกเผิ่นนัว ผัวเผิ่นดีคอบเมียเผิ่นซ่า ( การตำข้าวเป็นหน้าที่ของลูกสาว ถ้าลูกสาวแข็งแรงย่อมตำข้าวได้ข้าวสารขาว เช่นเดียวกันถ้าปลาร้าดีแกงก็อร่อย ผัวดีก็เพราะเมียมีศิลปะในการครองเรือนที่ดี )
  • ไก่ใหม่เกือข้าวสาร ( เห่อของใหม่ )
  • เฮ็ดดี ผีปันนาให้กิน ( คนดี ผีย่อมบันดาลให้เกิดโชค )
  • อยากข้าวอย่าหุงหลาย ( ยามหิวเห็นอะไรก็อร่อยหมด )

ไทยล้านนา

  • เงินคำเป็นเจ้า ข้าวเป็นนาย (ทั้งเงินทองและข้าวมีคุณค่าต่อมนุษย์)
  • ถ้าใคร่อยากกินข้าว หื้อหมั่นใจไฮ่นา (ควรขยันและเอาใจใส่ในงานที่ทำจึงประสบความสำเร็จ)
  • จาติว่าน้ำบ่หล้างเขียมปลา จาติว่านา บ่หลอนไร่ข้าว (หากขยันก็ไม่หมดหนทางหากิน เพราะก็ไม่น่าหาปลายาก นาก็ไม่น่าจะไร้ข้าว)
  • พ่อนาคิดไปหน้า พ่อค้าคิดคืนหลัง ( ชาวนามักคิดหาทางพัฒนาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ส่วนพ่อค้ามักคิดถึงผลกำไร ที่จะได้คืนกลับมาจากทุนที่ลงไป )
  • สิบเฮือค้า บ่อเต้านาปั้นเดียว ( เป็นชาวนาดี กว่าพ่อค้าเพราะเสี่ยงน้อยกว่า )
  • แบ่งซื้อไว้หลายท่า หม่าข่าวไว้หลายเมือง ( ควรผูกมิตรกับคนหลายกลุ่มเพื่อจะได้อาศัยพึงพากัน เหมือนเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้หลายแห่ง แช่ข้าวเหนียวเตรียมหุงไว้หลายบ้าน )
  • ข้าวบ่ตากต๋ำปึก คนหลึกสอนยาก ( คนดื้อรั้นสอนยากเปรียบเหมือนข้าวที่ไม่ตากให้แห้งจะตำฝืด )
  • บ่นับตุ๊พระ ก็หื้อนับผ้าเหลือง บ่นับตอเฟืองก็หื้อนับต้นข้าว ( ควรให้ความเคารพนับถือในสิ่งที่เป็นสาระ เช่น พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและต้นข้าวเพราะมีคุณแก่เรา อย่าไปติดอยู่กับเปลือกนอกแล้ว พาลหมดศรัทธาไปเสียก่อน )
  • แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะเกิดเมิน ( คนแก่ควรประพฤติตัวให้สมกับที่เกิดมาก่อน มีประสบการณ์มากกว่าอย่าได้ชื่อว่าแก่เพราะกินข้าวนานกว่าใคร หรือแก่เพราะเกิดมานานแล้ว )
  • เยียะไฮ่ไกล๋ต๋า เยียะยาใกล๋บ้าน ( ความรักมักแพ้ความใกล้ชิด เหมือนไปทำไร่ที่ไกลสายตา สู้ทำนาใกล้บ้านไม่ได้ )
  • เยียนาล่าเสียแฮงควาย มีเมียขวาย (สาย) เป็นข้าลูก การตัดสินช้าทำให้เสียโอกาส เหมือนทำนาช้าหญ้าขึ้นมากทำให้ไถพรวนยาก) ถ้าใคร่อยากกิ๋นข้าว หื้อหมั่นใจไฮ่น่า (ควรขยันหมั่นเพียร)ไปไถนาลืมควาย (ไม่เอาใจใส่ในการงานของตน) กิ๋นข้าวหื้อไว้ต่าน้ำ (การกินการอยู่ควรทำแต่พอดี)



ภาษิตไทใหญ่

เฮ็ดเฮินเห้ออจ้อยคาเฮ็ดนาเห้ออจ้อยซ่อม(ให้มีความสามัคคีเหมือนปลูกเรือนให้เอาคานไปช่วยมุงทำนาก็ไปช่วยดำนา )
กิ๋นเข้าห้มไห ไปต๋างห้มเส้น ( ให้มีความสามัคคี เพราะกินข้าวร่วมไหข้าวเดียวกัน เดินทางร่วมเส้นเดียวกัน )
กิ๋นเข้าเผอ-อ เป็นเจ๋อ-อมัน ( กินข้าวของใครมักเป็นพวกเดียวกับเข้าไป )



ภาษิตไทยขึน เชียงตุง

  • เดือนสิบอย่าค้าข้าว เดือนเก้าอย่าค้าควาย ( เพราะจะเสียเงินแพงกว่าปกติ )
  • เดือนเก้าข้าวม่วงหมอง เดือนสองกลางนาม่วน ( เพราะเดือนสอง ข้าวสุก
    คนไปเกี่ยวข้าวกลางนาส่วนเดือนเก้า เป็นช่วงฤดูฝน ข้าวลู่เหมือนคนทุกข์ )
  • ข้าวบ่ห้าวต้ำเหนียว คนมีลูกก้อเดียวว่ายาก ( ข้าวยังไม่แก่เต็มที่ตำไม่ดี คนมีลูกคนเดียวเลี้ยงให้ดียาก )
  • ใผมีเงินเป็นเจ้า ใผมีข้าวเป็นขุน ( ข้าวมีความสำคัญเท่าเงิน )
  • มีข้าวเป็นชุสิ่ง หลิ่งข้าวหลิ่งชุอัน ( ข้าวมีค่ายิ่ง ถ้ามีข้าวอยากได้อะไรก็ได้ )
  • เฮ็ดนาบลางร่อง ใผอย่างย่องมันเป็นหลัก ( สอนให้ขยันคนที่ทำนาแล้วไม่ยอมลอกท้องร่องเหมือนฝายสังคมไม่ยกย่องว่า เป็นคนน่านับถือ )
  • ถามเครือนาอย่าถามเจ้าฟ้า ( อย่ารู้อะไรต้องดูว่าคนที่จะถามเป็นใคร
    เช่นถ้าจะถามเรื่องเกี่ยวกับการทำนาอย่าไปถามเจ้า
    เพราะคนเหล่านี้ไม่เคยทำนา)
  • คำตี่ ( อยู่ในพม่าและอินเดีย )
  • ปลูกเรือนให้ช่วยคา ทำนาให้ช่วยดำ

 


ไทดำ ( เวียดนาม )

  • คนอยู่บ่อนเด๋อ ข้าวน้ำอยู่ที่นั่น ( ที่ไหนมีคนไทก็มีการปลูกข้าว )
  • ข้าวน้ำนั่งเหนือ เงินคำนั่งเด้อ ( มีข้าวดีกว่ามีเงิน )
  • ไฮ่เข้าได้แดด เต็งค่ำได้ขาย ( ถ้านาได้แดดตลอดวันจะได้ข้าวดี )

 


ไทลื้อเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ( จีน )

  • บค้าบ่ท่สิบนา ( การทำนำมีค่ามากกว่าการค้า )
  • ข้าศึกเห้อเฮ็ดนา ข่าวเสอเห้อไปค้า ( ให้เตรียมพร้อมตลอดเวลา
    เมื่อได้ข่าวว่าจะทำสงครามให้รีบทำนา เพื่อจะได้นำไปขายเมืองที่จะทำสงคราม)
  • ข้าวตกไหนคนกอบ เวรขอบไหนคนเอา (
    ข้าวตกที่ใดก็มีคนไปกอบเอาเช่นเดียวกันการแต่งงานซึ่งห้ามกันไม่ได้ใน
    ภาษาลื้อเรียก การแต่งงานว่า มีเวร )

อ่านเรื่อง "ข้าวในคติชนของคนไทย-ไท" ทั้งหมดในหน้ารวม link