วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
19/03/2009
ที่มา: 
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/

การฝัดข้าว

เมื่อตำข้าวจนเปลือกข้าวกะเทาะออกแล้ว (เมล็ดข้าวเรียกว่า “ข้าวสาร” ส่วนเปลือกข้าวเรียกว่า “แกลบ”) ก็จะแยกเมล็ดข้าวและเปลือกข้าวออกจากกัน โดยตักข้าวในครกออกมาใส่ในกระด้งหรือโด้ง เพื่อฝัดเปลือกข้าวออกไป
กระด้งหรือโด้ง เป็นภาชนะเครื่องสานที่ใช้สำหรับฝัดข้าว สานเป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-80 เซนติเมตร ขอบปากทำด้วยไม้ไผ่


:: กระด้งหรือโด้ง ::


วิธีฝัดข้าว จะตักข้าวที่ผ่านการตำแล้วใส่ในกระด้ง ผู้ที่ทำหน้าที่ฝัดข้าวจะถือขอบปากกระด้งด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วร่อนและโยนข้าวขึ้นไปบนอากาศเป็นจังหวะ เปลือกข้าวจะค่อยๆ กระเด็นออกไปจากกระด้ง ในกระด้งก็จะเหลือเพียงข้าวสารและปลายข้าว


:: การนั่งฝัดข้าว ::


:: การยืนฝัดข้าว ::

     หลังจากนั้นเทข้าวสารและปลายข้าว ลง “เหิง” (เครื่องสานคล้ายกระด้ง แต่มีตาห่างกว่ากระด้ง) เพื่อร่อนปลายข้าวออกจากข้าวสาร ปลายข้าวนี้ เรียกว่า “ข้าวเปี๋ยน”

:: เหิง ::

   

:: เหิงอีกแบบหนึ่ง ::
(ถ่ายภาพจากพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง จังหวัดเชียงใหม่)

แล้วเอาข้าวสารนั้นไปเก็บไว้ในภาชนะใส่ข้าวสาร เช่น หม้อหรือกระบุง หรือเปี้ยด


:: ข้าวสารในเปี้ยด ::

 

:: ภายในหม้อสาวที่ใช้ใส่ข้าวสาร ::
(ถ่ายภาพจากพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง จังหวัดเชียงใหม่)


:: ด้านข้างของหม้อสาว ::
(ถ่ายภาพจากพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง จังหวัดเชียงใหม่)

 

:: ที่ใส่ข้าวสารของชาวกะเหรี่ยง ::


:: หม้อเก็บข้าวสารของชาวไทใหญ่ ::

เอกสารอ้างอิง      
ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น และ นิรันดร์ ยงไสว ,เทคนิควิทยาพื้นบ้านล้านนา. ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว บรรณาธิการ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง,2541.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ คณะ ,โครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานวิจัย เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545.
ศรีเลา เกษพรหม,ลัวะเยียะไร่ ไทใส่นา . พรรณเพ็ญ เครือไทย บรรณาธิการ เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง,2541.


อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า