เรือนไทย - "บ้านเรือน" ความหมายที่หลากหลาย

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
20/03/2009
ที่มา: 
เว็บไซต์ฅนไทยดอทคอม http://www.khonthai.com

เรือนไทย - "บ้านเรือน" ความหมายที่หลากหลาย

     

คำที่มีความหมายว่าที่พักอาศัยหรือบ้านแบ่งเป็นระดับตามสถานะของผู้อยู่อาศัย อาทิที่อยู่ของพระมหากษัตริย์
เจ้านาย คือ

ปราสาท   -  เรือนชั้น เรือนมียอดเฉพาะเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน
มณเฑียร  -  เรือนหลวง
พระบรมมหาราชวัง   วัง   พระบรมราชวัง  -  ที่อยู่ของพระมหาอุปราช  
ตำหนัก    -   เรือนของเจ้านาย
เรือนยอด -   เรือนที่มียอดต่อจากหลังคาขึ้นไป(เรือนยอดทรงมณฑปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท)   กุฎาคาร   เรือนต้น

ยังมีคำที่เกี่ยวกับเรือนอีกมาก อาทิ   
เรือนแก้ว - สิ่งที่ทำเป็นกรอบล้อมตามรูปนอกของพระพุทธรูป
เรือนจำ - ที่ขังนักโทษ    
เรือนเบี้ย - ทาสที่เป็นลูกทาสน้ำเงินเรียกทาสเรือนเบี้ย        
เรือนไฟ - กระจกตะเกียงหรือโคม ขนาดของไฟใน
ตะเกียง หรือ โคมครัวสำหรับหุงต้มอาหารโรงพิธีสำหรับบูชาไฟ        
เรือนหอ  - เรือนปลูกสำหรับคู่บ่าวสาวแต่งงานอยู่

 

ความเป็นอยู่คือไทย

ความเป็นอยู่อย่างไทยใต้ชายคาเรือนไทย ได้รับการบันทึกจากชาวต่างชาติที่เริ่มเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นกระจกสะท้อนถึง   " วิถีไทย "    และ  " ลักษณะเรือนไทย "    อย่างชัดเจน

จดหมายเหตุ  ลาลูแบร์  ของ  เดอ  ลาลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศสกล่าวถึงบ้านเรือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชไว้ว่า  " ชาวสยามคงมีความเป็นอยู่ที่ง่าย ๆไม่ว่าสิ่งไรหมดถ้าชาวสยามแต่งเนื้อแต่งตัวอย่างเรียบๆ
ง่ายๆบ้านเรือนเครื่องเรือนและอาหารการกินของเขาก็เรียบ ๆง่าย ๆ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน   เพราะพวกเขาเป็นคนนับถือ
สันโดษมีความมักน้อย ที่อยู่อาศัยของชาวสยามนั้น เป็นหลังย่อม ๆ แต่มีอาณาบริเวณกว้างขวางพอใช้ พื้นเรือนนั้นก็ใช้
ไม้ไผ่มาสับเป็นฟากและเรียงไว้ไม่ค่อยถี่นักแล้วยังจักตอกขัดแตะเป็นฝาและใช้เป็นเครื่องบนหลังคาเสร็จไปด้วยในตัว
เสา ตอม่อที่ยกพื้นขึ้นสูงให้พ้นน้ำท่วมก็ใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่กว่าขา และสูงจากพื้นดินราว  13   ฟุต เพราะบางครั้งน้ำก็ท่วม
ขึ้นมาสูงถึงเท่านั้นตอม่อแถวหนึ่งมีไม่มากกว่า  4 หรือ  6 ต้นแล้วก็เอาลำไม้ไผ่ผูกขวางเป็นรอดบันไดก็เป็นกระไดไม้ไผ่
ซึ่งทอดอยู่ข้างนอกตัวเรือนเหมือนกระไดโรงสีลม "

"เรือนสร้างแล้วเสร็จได้รวดเร็ว"  ในณะที่เราอยู่ในพระนครนั้นเรือนได้ถูกไฟไหม้ถึง    300  หลังคาเรือน
แต่ก็กลับปลูกขึ้นใหม่แล้วเสร็จเพียงชั่วเวลา   2  วันเท่านั้นเอง คั้งหนึ่งเมื่อมีการยิงลูกแตกถวายให้แก่สมเด็จพระเจ้า
กรุงสยามทอดพระเนตร โดยพระองค์ประทับทอดพระเนตรอยู่ห่าง ๆ   ณ  สีหบัญชรในพระบรมมหาราชวัง จำเป็น
ต้องรื้อเรือนซึ่งตั้งบังอยู่เสีย   3  หลัง เจ้าของเรือนก็จัดการรื้อถอน และโยกย้ายเครื่องเรือนไปได้ภายในไม่ถึงชั่วโมง"

เรือนของชาวสยามมีเพียงชั้นเดียว   "เรือนชั้นเดียวเป็นที่พอความต้องการของชาวสยามแล้ว และข้าพเจ้า
เชื่อว่าวิธีการสร้างเรือนของเขานี้น่าอยู่กว่าการสร้างตามแบบของเรามาก "

ส่วนจดหมายเหตุของ   โยส  เซาเต็น  พ่อค้าชาวฮอลันดา    เข้ามาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และ   สมัยสมเด็จ
พระเจ้าปราสาททอง กล่าวว่า  "บ้านของชาวสยามสร้างด้วยไม้หรือไม้ไผ่ตามแบบอินเดียหลังคาบ้านนั้นใช้จาก   หรือ
กระเบื้องมุง เขามักยกพื้นให้สูงกว่าพื้นดินราว  3  หรือ 4   ฟุต บ้านหลังหนึ่ง ๆ    มีประตูหนึ่งบาน หน้าต่างหลายบาน
เครื่องแต่งบ้านนั้นมีน้อย มีเท่าที่จำเป็นสำหรับการหลับนอน   บริโภคอาหาร และการหุงต้มเท่านั้น  คือ   เสื่อ  หมอน  
โตก   ขัน   และถ้วยชาม  

ในจดหมายเหตุของ   หมอแกมเฟอร์  ชาวเยอรมัน   ซึ่งมากับเรือชาวฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. 2233บรรยายลักษณะ
เรือนไทยในสมัยอยุธยาไว้ว่า " บ้านคนธรรมดานั้นเป็นบ้านกระท่อมเสียเป็นพื้นปลูกด้วยไม้ไผ่พื้นกระดาน หลังคามุง
จากหยาบ ๆ พวกขุนนางหรือเสนาบดีและข้าราชบริพารในราชสำนัก มีวังหรือตำหนักอยู่ต่างหาก ตึกทั่วๆไป สร้างด้วย
หินและปูน   บ้านซึ่งปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบนเสาสูงเพื่อมิให้กระแสน้ำหน้าน้ำท่วมถึง "

หนังสือสาสน์สมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   ความตอนหนึ่ง
ว่า   "ในกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อก่อนรัชกาลที่ 3 นอกจากพระราชมณเฑียรแล้ว ยังอยู่เรือนไม้กันทั้งนั้น เช่น    ตำหนัก
รักษาในพระราชวังหลวงก็ดีวังเจ้าและบ้านขุนนางก็ดี แม้กุฏิพระเช่นวัดมหาธาตุและวัดพระเชตุพนฯก็ดีล้วนเป็นเรือน
ไม้แบบเรือนไทยทั้งนั้นได้ยินว่าตำหนักในวังหน้าทำเป็นตึกมาตั้งแต่รัชกาลที่1  แต่ก็ทำเป็นเรือนไทยแต่ก่อฝาอิฐเท่านั้น"

อ้างอิงต้นฉบับ : http://www.khonthai.com/Vitithai/home1.htm

ต้องการอ่านเนื้อหาทั้งหมด ไปหน้ารวม link เรือนไทยสี่ภาค คลิ๊กเลยจ้า!