วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
25/03/2009
ที่มา: 
เว็บไซต์ฅนไทยดอทคอม http://www.khonthai.com

เรือนไทยภาคเหนือ

    

 

เรือนในภาคเหนือ เรียกกันว่า "เฮือน" รูปแบบของเรือนไทยภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลทางล้านนาหาก แบ่งประเภทเรือนไทยภาคเหนือ ตามลักษณะของวัสดุก่อสร้างและรูปทรง แบ่งได้ดังนี้

เรือนไม้บั่ว
คำว่าไม้บั่ว  คือไม้ไผ่มักพบเห็นเรือนประเภทนี้ในท้องถิ่นชนบทส่วนที่อยู่นอกเมืองชาวนาชาวไร่จะใช้เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูกเป็นเรือนชนบทที่พบเห็นตั้งแต่เป็นห้างเฝ้าทุ่งซึ่งมีประโยชน์ ใช้งานตามฤดูกาลในภาคกลางเรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนไม้ผูก นั่นเอง

เรือนชนิดนี้นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งทำเสา คาดและตอม่อ ไม้ไผ่ทุกชนิดของภาคเหนือมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เนื้อแกร่งคงทน และมีขนาดใหญ่กว่าไม้ไผ่ภาคอื่น ๆ ส่วนหลังคา ตง พื้นใช้ไม้ไผ่ฝาเป็นฝาไม้ไผ่ฝาส่วนมากขัดด้วยแตะ แต่แตะเป็นฟากสับนำมาขัดเป็นลายหยาบ ๆ ทั้งทางตั้งและทางนอน หรือใช้ไม้ซางสานเป็นลวดลาย เรียก"ฝาลายอำ"ถ้าต้องการความอบอุ่นก็จะใช้ตับคาหรือตับตองตึงกรุเป็นฝาส่วนเครื่องมุงหลังคาใช้   "คาหรือตองตึง"  เรียกมุงคามุง

ตองตึงมุงแฝกหรือใบตองตึง(ใบพลอง) การมุงคาหรือมุงตองตึงต้องสัมพันธ์กับฝาด้วย ถ้าฝาเป็นคาหลังคาก็ต้องมุงคา เช่นเดียวกับฝาเป็นตองตึง หลังคาก็ต้องมุงด้วยตองตึง นิยมใช้ตอก   และหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วย
กันตามวิธีผูกมัด เป็นเรือนขนาดเล็กและถือว่าเป็นเรือนแบบดั้งเดิม   เพราะวิธีการก่อสร้างเป็นระบบวิธีเก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งใบตองตึงนั้นหาได้ง่ายทางภาคเหนือนิยมมุงหลังคา และมีการประกอบเป็นตับใบตองตึง    ซึ่งทำเป็นสำเร็จรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือนเรือนไม้จริง

  • เรือนกาแล

เป็นเรือนไทยที่คนทั่วไปเห็นแล้วชื่นชมในความเป็นประณีตศิลป์ทางสถาปัตยกรรมของภาคเหนือ เรือนกาแล จะเป็นเรือนที่อยู่อาศัยของ คหบดี หรือเจ้านาย เป็นเรือนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของบ้านพักอาศัยแบบล้านนาอย่างชัดเจน ชื่อเรือนกาแล มาจากนิยมสร้างไม้กาแลแกะสลักไว้บนสุดของหน้าจั่ว ด้วยลวดลายและความอ่อนช้อย ของฝีมือช่างนี้เองที่กลายเป็นเสน่ห ์ ของเรือนกาแลมาทุคยุคทุกสมัย

  • เรือนสมัยกลาง

เป็นเรือนไม้จริงซึ่งมีวัฒนาการมาจากเรือนกาแลวิวัฒนาการของเรือนไทยล้านนาที่พัฒนามาจากเรือนกาแลมีหลากหลายรูปแบบ และชาวบ้านเรียกเรือนเหล่านี้ว่า   "เฮือนสมัยก๋าง" หรือเรือนสมัยกลางซึ่งเรือนที่มีความโดดเด่น คือเรือนทรงสะละไนหรือเรือนประเภทประดับลายฉลุไม้   เป็นเรือนที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม   และวัฒนธรรมที่ชาวล้านนาได้รับมาจากภายนอกลักษณะจะแปรเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมโดยนำวิธีการตกแต่งลายฉลุไม้มาตกแต่งทรงจั่วหลังคาและเชิงชายประเภทเรือนภาคเหนือแบบดั้งเดิม

โคลงโบราณเรื่องท้าวฮุ่งท้ายเจือง กล่าวถึงสภาพชุมชนเมืองในอดีตของขุนเจือง แบ่งเรือนพักอาศัยตามชนชั้นทางสังคม เป็น เรือนพักอาศัยของชนชั้นระดับเจ้า หรือ กษัตริย์ เรียก  โฮงฮาช หรือ  โรงราช และ หอ สำหรับหอที่ช่อฟ้าปิดทองทั้งหลัง   เรียก หอคำ

เรือนพักอาศัยของชาวบ้าน
แบ่งตามชนิดของวัสดุปลูกสร้างเป็น 2 ประเภท คือ เรือนไม้จริงและเรือนไม้บั่วหรือเรือนไม้ ผูกกับเรือนไม้สับในภาคกลาง คนโบราณเรียกเรือนไม้จริงว่า   " เรือนสุบขื่อสุบแป" เรียกเรือนไม้บั่วว่า "เรือนมัดขื่อมัดแป"   คำว่า ไม้บั่วหมายถึงไม้ไผ่ คำว่า สุบขื่อสุบแป หมายถึง การสวมแปด้วยการบากไม้ยึดขื่อและแป และโครงสร้างเรือนส่วนต่าง ๆ ประกอบไว้ด้วยกันอย่างมั่นคงส่วนมัดขื่อมัดแป คือ การยืดองค์ประกอบต่าง ๆ   ของเรือนไว้ด้วยการผูกมัดบ้านที่สมบูรณ์

คติทางเหนือ
ถือว่าถ้าเป็นบ้านที่สมบูรณ์แล้วจะต้องประกอบไปด้วย บ่อน้ำ ครกกระเดื่อง ยุ้งข้าว(หรือที่เรียกว่าหลองข้าว)และครัวไฟ เรือนพักอาศัยในภาคเหนือ มักกั้นด้วยรั้วไม้ไผ่โปร่ง ๆ บางบ้านใช้รั้ว ต้นไม้บอกเขตเช่น ใช้ต้นชา เป็นต้น

การแบ่งส่วนใช้สอยในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรือนประเภทใด จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ อาทิ บันไดและเสาแหล่งหมาตัวบันไดจะหลบเข้าอยู่ใต้ชายคา เสาแหล่งหมา จะเป้นเสายาวตั้งลอยรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคา

เติ๋น   พื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ เป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง

ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ  ถ้าเป็นเรือนใหญ่มีชานโล่ง ร้านน้ำ จะอยู่มุมใกล้ทางบันได หรืออยู่ใกล้ครัว

ห้องนอน  มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ใช้งานอื่นฝาล้มออกมีแผ่นไม้กั้นกลางเรียกว่าไม้แป้นต้องซึ่งจะช่วยลดความสั่นไหวของพื้นห้องนอนไม่รบกวนผู้ที่กำลังพักผ่อนอยู่ระเบียงทางเดินและชานเรือน  ส่วนใหญ่มักเปิดโล่งตามแนวยาวขวางกับจั่วเรือนซึ่งเรือนทางเหนือ ถือเอาจั่วเรือนเป็นด้านสำคัญ

ห้องครัว  อาจอยู่สุดทางเดิน แยกเป็นห้องเล็ก ส่วนที่จะตั้งเตาไฟจะยกขึ้นมาเป็นแท่นไม้อัดดินแน่น

อ้างอิงต้นฉบับ : http://www.khonthai.com/Vitithai/north.htm

ต้องการอ่านเนื้อหาทั้งหมด ไปหน้ารวม link เรือนไทยสี่ภาค คลิ๊กเลยจ้า!