วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
25/03/2009
ที่มา: 
เว็บไซต์ฅนไทยดอทคอม http://www.khonthai.com

เรือนไทยภาคกลาง - เรือนแพ

เรือนแพ 

คนไทยที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มักนิยมสร้างบ้านอยู่บนแพ ใช้ทั้งพักอาศัยและค้าขาย เรือนแพแยกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนตัวเรือน และส่วนแพที่เป็นทุ่นลอยน้ำ แพเป็นส่วนสำคัญที่รับน้ำหนักของเรือน ส่วนใหญ่จะใช้แพไม้ไผ่ ต่อมาวิวัฒนาการใช้เรือเหล็กหนุน ลักษณะและโครงสร้างของเรือนแพคล้ายกับเรือนไทย ฝามีหลายแบบ เป็นฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ ซึ่งมีน้ำหนักเบาสามารถเปิดบานกระทุ้งได้


  • เรือสำปั้นเรือข้าวเรือค้าขาย

แม่น้ำเป็นศูนย์กลางของสังคมอีกแห่งหนึ่ง ในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมสายน้ำคือชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนชาวไทยบางส่วน ยังคงเกิดและอาศัยอยู่ในเรือ ซึ่งสัญจรขนส่งสินค่า ล่องไปตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ

  • ฝาถัง  

ใช้ไม้กระดานเป็นแผ่นหน้ากว้างตั้งขั้นเป็นฝาแต่ทำเป็นลิ้นเข้าไม้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน พบได้ในเรือนแพส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ขโมยที่อาจพายเรือเข้ามาเทียบแพวัดฝาได้ง่าย

  • ลูกบวบไม้ไผ่

เป็นไม้ไผ่ที่มัดรวมกันเป็นฟ่อน ๆ ถ้าเป็นลูกบวบขนาดเล็ก ฟ่อนหนึ่งจะมี 40-50 ลำ หากเป็นลูกบวบขนาดใหญ่ จะมีประมาณ 60-100 ลำลูกบวบทำหน้าที่เป็นทุ่นให้แพ ลอยได้เหมือนเรือโป๊ะแต่ราคาถูกกว่า
มาก ในขณะเดียวกันก็มีอายุการใช้งานไม่ยาวนัก

อ้างอิงต้นฉบับ : http://www.khonthai.com/Vitithai/center4.htm

ต้องการอ่านเนื้อหาทั้งหมด ไปหน้ารวม link เรือนไทยสี่ภาค คลิ๊กเลยจ้า!