วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/03/2009
ที่มา: 
hภาษาไทย - วิกิพีเดีย ttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ภาษาไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาไทย  
เสียงอ่าน: /pʰaːsaːtʰaj/
พูดใน: ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ตอนใต้ของประเทศพม่า
จำนวนผู้พูด: 60-65 ล้านคน (ไม่รวมไทยถิ่นเหนือ อีสาน และไทยถิ่นใต้) 
อันดับ: 24
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 คำ-ไท
  บี-ไท
   ไท-แสก
    ไท
     ไทตะวันตกเฉียงใต้
      ไทกลาง-ตะวันออก
       เชียงแสน
        ภาษาไทย 
ระบบการเขียน: อักษรไทย 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: ประเทศไทย
องค์กรควบคุม: ราชบัณฑิตยสถาน
รหัสภาษา
ISO 639-1: th
ISO 639-2: tha
ISO 639-3: tha
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน
และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก
การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน
นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ
ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า
แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว
คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า
'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว
เข้าไปข้างท้าย
เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ
ตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

[แก้] ระบบเสียง

ระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

  1. เสียงพยัญชนะ
  2. เสียงสระ
  3. เสียงวรรณยุกต์

[แก้] พยัญชนะ

เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย (เสียงแปร) มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้

  ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน ผนังคอ
เสียงกัก /p/
/pʰ/
ผ,พ
/b/
  /t/
ฏ,ต
/tʰ/
ฐ,ฑ*,ฒ,ถ,ท,ธ
/d/
ฎ,ฑ*,ด
    /k/
/kʰ/
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ
  /ʔ/
**
เสียงนาสิก   /m/
    /n/
ณ,น
      /ŋ/
 
เสียงเสียดแทรก   /f/
ฝ,ฟ
/s/
ซ,ศ,ษ,ส
        /h/
ห,ฮ
เสียงกึ่งเสียดแทรก       /ʨ/
/ʨʰ/
ฉ,ช,ฌ
     
เสียงรัวลิ้น       /r/
       
เสียงเปิด         /j/
ญ,ย
  /w/
 
เสียงข้างลิ้น       /l/
ล,ฬ
       
* ฑ สามารถออกเสียงได้ทั้ง /tʰ/ และ /d/ ขึ้นอยู่กับคำศัพท์
** เสียง /ʔ/ มีปรากฏอยู่ในคำที่มีสระเสียงสั้นและไม่มีพยัญชนะสะกด

[แก้] สระ

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน

สระเดี่ยว คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

  ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง /i/
–ิ
/iː/
–ี
/ɯ/
–ึ
/ɯː/
–ื
/u/
–ุ
/uː/
–ู
ลิ้นกึ่งสูง /e/
เ–ะ
/eː/
เ–
/ɤ/
เ–อะ
/ɤː/
เ–อ
/o/
โ–ะ
/oː/
โ–
ลิ้นกึ่งต่ำ /ɛ/
แ–ะ
/ɛː/
แ–
    /ɔ/
เ–าะ
/ɔː/
–อ
ลิ้นลดต่ำ     /a/
–ะ
/aː/
–า
   
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน
เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ
ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • เ–ีย /iaː/ ประสมจากสระ อี และ อา
  • เ–ือ /ɯaː/ ประสมจากสระ อือ และ อา
  • –ัว /uaː/ ประสมจากสระ อู และ อา

ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย
แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ
เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สระเกิน
ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด
–ะ –ั–¹ –า –า– –ำ (ไม่มี)
–ิ –ิ– –ี –ี– ใ– (ไม่มี)
–ึ –ึ– –ือ –ื– ไ– ไ––⁵
–ุ –ุ– –ู –ู– เ–า (ไม่มี)
เ–ะ เ–็– เ– เ–– ฤ, –ฤ ฤ–, –ฤ–
แ–ะ แ–็– แ– แ–– ฤๅ (ไม่มี)
โ–ะ –– โ– โ–– ฦ, –ฦ ฦ–, –ฦ–
เ–าะ –็อ– –อ –อ–² ฦๅ (ไม่มี)
–ัวะ (ไม่มี) –ัว –ว–    
เ–ียะ (ไม่มี) เ–ีย เ–ีย–    
เ–ือะ (ไม่มี) เ–ือ เ–ือ–    
เ–อะ (ไม่มี) เ–อ เ–ิ–³, เ–อ–⁴    

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้

  • –ำ /am, aːm/ ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)
  • ใ– /aj, aːj/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
  • ไ– /aj, aːj/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
  • เ–า /aw, aːw/ ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)
  • /rɯ/ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) หรือ /rɤː/ (เรอ)
  • ฤๅ /rɯː/ ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • /lɯ/ ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ ประสมจาก ล + อือ (ลือ)

บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย
เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
⁴ พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
⁵ มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

[แก้] วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่

  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

[แก้] ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก
(case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์
(gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย
แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย)
เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป
คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้
ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค
ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  • กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2533.
  • นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 978-974-571-929-3.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น