วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/03/2009
ที่มา: 
วิกิพีเดีย - ไตรยางค์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C

ไตรยางศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม - การอ้างอิงแหล่งที่มา วิธีการเขียน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย
อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
       
รูปสระ
-ั -ํ -ิ ' "  
-ุ -ู -็  
ฤๅ ฦๅ  
รูปวรรณยุกต์
    -่ -้ -๊ -๋    
เครื่องหมายอื่น ๆ
    -์ -๎ -ฺ      
เครื่องหมายวรรคตอน
    ฯลฯ    
       

ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์
ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ
แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน

คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์

ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์นั้น มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือจินดามณี เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าเป็นผลงานของพระโหราธิบดีได้แต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้

[แก้] ประโยคช่วยจำหมวดหมู่ไตรยางศ์

อักษรสูง

ของ(ข)ของ(ฃ)ฉัน(ฉ)ถูก(ฐ ถ)เผา(ผ)ฝัง(ฝ)เสีย(ศ ษ ส)หาย(ห)

หรือ

ผี (ผ) ฝาก (ฝ) ถุง (ถ ฐ) ข้าว (ข ฃ) สาร (ศ ษ ส) ให้ (ห) ฉัน (ฉ)

อักษรกลาง

ไก่(ก)จิก(จ)เด็กตาย(ฎ ฏ)เด็กตาย(ด ต)บน(บ)ปาก(ป)โอ่ง(อ)

ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ

[แก้] อักษรคู่

ในการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ อักษรสูงและอักษรต่ำจำนวนหนึ่ง
มีลักษณะเสียงอย่างเดียวกันแต่ในพื้นเสียงต่างกัน นั่นคือ
พวกหนึ่งมีพื้นเสียงสูง อีกพวกหนึ่งมีพื้นเสียงต่ำ สามารถจัดเป็นคู่ได้ 7
คู่ เรียกว่า "อักษรคู่"

อักษรสูง อักษรต่ำ
ข ฃ ค ฅ ฆ
ช ฌ
ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ
พ ภ
ศ ษ ส

อักษรคู่เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง เช่นเดียวกับอักษรกลาง เช่น

  • คา - ข่า - ข้า/ค่า - ค้า - ขา
  • ฮา - ห่า - ห้า/ฮ่า - ฮ้า - หา

สำหรับอักษรต่ำที่เหลือ คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ จะใช้ ห เป็นอักษรนำเพื่อให้สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ เช่น

  • นา - หน่า - หน้า/น่า - น้า - หนา
  • วา - หว่า - หว้า/ว่า - ว้า - หวา

หมายเหตุ ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์คำใดที่ใช้ หณ และ หฬ เป็นพยัญชนะต้น

[แก้] ดูเพิ่ม