ข้อมูลเกี่ยวกับหม่อนที่เป็นอาหารของหนอนไหม

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/04/2009
ที่มา: 
ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม http://www.silkthailand.com/articles/article3.htm

ข้อมูลเกี่ยวกับหม่อนที่เป็นอาหารของหนอนไหม
     


หม่อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus sp

ชื่อสามัญ คือ mulberry อยู่ในวงศ์ Moraceae หม่อนเป็นพืชอาหารตามธรรมชาติชนิดเดียว ของหนอนไหม และเป็นหัวใจสำคัญของการ ประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปริมาณ ผลผลิตและคุณภาพรังไหมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ กับคุณภาพใบหม่อน หม่อนเป็นพืชที่มีอายุนาน 80-100 ปี ถ้าไม่ได้รับความกระทบ กระเทือน จากการเก็บเกี่ยวหรือโรค แมลงศัตรู สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึง เขตร้อน หม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาว จะหยุดพักตัวไม่เจริญเติบโต นับตั้งแต่ ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ

พันธุ์หม่อนที่นิยมในปัจจุบันได้แก่

1.พันธุ์ หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 51

ประวัติ ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างหม่อนพันธุ์ Luin Jio No.40 (เพศเมีย จากสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่มีคุณสมบัติออกรากยาก กับหม่อนน้อย (เพศผู้) ที่สถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์


์ ลักษณะเด่น
ขยายพันธุ์ง่าย สามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงโดยตรง หรือปักชำก่อนปลูก
- มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่า หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60
- ข้อถี่ ก้านใบสั้น ใบอ่อนนุ่ม คุณภาพดี เหมาะสำหรับเลี้ยงไหม
- ต้านทานโรคใบด่างปานกลาง - ทรงต้นตั้งตรง สะดวกต่อการเขตกรรม
- ให้ผลผลิตสูงปานกลาง ในสภาพท้องถิ่นประมาณ 1,960 ก.ก./ไร่

2.พันธุ์หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60

ประวัติ ได้จากการรผสมพันธุ์ระหว่างหม่อนพันธุ์ หมายเลข 44 (เพศเมีย จากสาธารณรัฐประชาชนจีน) กับหม่อนน้อย (เพศผู้) ที่สถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์
ลักษณะเด่น
ขยายพันธุ์ง่าย ด้วยการใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงโดยตรง หรือปักชำก่อนปลูก
- ผลผลิตใบหม่อนต่อไร่สูง เฉลี่ย 4,328 กิโลกรัมต่อไร่ต่อป
ี - เจริญเติบโตได้ดีกว่าหม่อนพื้นเมืองในทุกฤดูกาล
- ก้านใบใหญ่ ยาว และแข็ง เหมาะกับการเลี้ยงไหมแบบกิ่ง
- ใบอ่อนนุ่ม หนาปานกลาง ทำให้เหี่ยวช้า
- ทรงต้นตั้งตรง สะดวกต่อการเขตกรรม
- ต้านทานต่อโรคใบด่าง
ข้อจำกัด
-พักตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันนานกว่า 7 วัน
- เหมาะสำหรับการปลูกในเขตชลประทาน เนื่องจากใบจะร่วงได้ง่าย เมื่ออยู่ในสภาพขาดน้ำ
          
3.หม่อนพันธุ์ศรีสะเกษ 33 (ศก.33)

ประวัติ หม่อนสายพันธุ์ ศก.33 เป็นพันธุ์ลูกผสมเปิดของหม่อน Jing Mulberry เริ่มดำเนินการคัดเลือกตั้งแต่ปี 2528
จนได้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรคใบด่าง ผลผลิตดี เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมช่วยให้เกษตกรมีทางเลือกและเป็นการแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้

ลักษณะเด่น
-ต้านทานต่อโรคใบด่างดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60
-มีผลผลิตใบหม่อนไม่แตกต่างจากพันธุ์บุรีรัมย์
-มีปริมาณโปรตีนใยใบสูงกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60
- ใบหม่อนมีการร่วงช้ากว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ทำให้อายุการเก็บเกี่ยวได้นาน

ที่มาของข้อมูล กรมส่งเสริมการเกษตร

กลับไปยังหน้า รวม link บทความ และสาระความรู้เรื่องผ้าไหม จากเว็บไซต์ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม