วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
16/05/2009
เด็กมูเซอ เด็กมูเซอ ชุดแต่งกายมูเซอ และชุดเดินป่าของเด็กหนุ่มมูเซอ สินค้ามูเซอ สินค้ามูเซอ ตลาดแรก (ถึงก่อน) ขายพวกของป่า เป็นส่วนใหญ่ ตลาดแรก (ถึงก่อน) ขายพวกของป่า เป็นส่วนใหญ่ มูเซอปลูกเอง มูเซอปลูกเอง พวกว่าน สมุนไพร พวกว่าน สมุนไพร ลูกไม้ป่าที่หายาก ลูกไม้ป่าที่หายาก ต้นหอมฝรั่ง กับ มะขามป้อม ต้นหอมฝรั่ง กับ มะขามป้อม ฟักทอง กับ น้ำเต้าที่แก่จัด ชาวเขาใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำ เวลาเดินป่า หรือทำไร่ ฟักทอง กับ น้ำเต้าที่แก่จัด ชาวเขาใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำ เวลาเดินป่า หรือทำไร่
ที่มา: 
เว็บไซต์โฟโต้ออนทัวร์ http://www.photoontour.com

” ตลาดมูเชอ “ ชื่อนี้ฟังดูเก๋ไก๋ดีทีเดียว

หลังจากที่พาไปกางเต้นท์นอนที่อุทยานห่งชาติ ตากสินมหาราชเพื่อรับลมหนาว บนถนนสายตาก - แม่สอด จากตอนที่แล้ว คราวนี้ก็จะพาไปซื้อของมาเตรียมทำอาหารมื่อค่ำ และมื้อเช้า เพราะห่างจากนี้ไปไม่เกิน 2 กม.เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นตลาดมูเชอ มีของขายเยอะ

ครั้งแรกคิดว่าตลาดมูเซอน่าจะขายพวกผลิตภัณฑ์ที่เป็นฝีมือของชาวเขา คล้ายกับสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เสื้อผ้า และของอื่นๆที่ซื้อเป็นของฝาก แต่จริงๆแล้วไม่ไช่ครับ เป็นตลาดสดดีๆเรานี่เอง พวกผลิตภัณฑ์ฝีมือชาวเขา มีเหมือนกันแต่ไม่ค่อยมากนัก

ที่วางขายกันส่วนใหญ่จะเป็นพืชผักเมืองหนาวของมูเซอที่ปลูกกันในไร่แถวๆนี้ แต่ละอย่างก็น่าซื้อทั้งนั้น ของสดและราคาถูก บางอย่างก็จัดแพค ดูเรียบร้อยสวยงาม บางร้านก็นำของจากที่อื่นมาวางขายปนๆกัน ใครมาซื้อก็อย่าคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นฝีมือมูเซอ อาหารสำเร็จพื้นเมืองเหนือ พวกน้ำพริกหนุ่ม ใส้อั่ว ก้มีขาย ปิ้งย่างกันสดๆ ส่งกลิ่นตลบอบอวล ใครผ่านไปผ่านมาแถวนี้ แวะซื้อได้ ไม่ผิดหวังครับ แต่ถ้าหากมาในช่วงเทศกาลก็อย่าตกใจ ที่นี่เหมือนมีมหกรรมขนาดย่อมๆกลางป่า รถราจอดเรียงเต็มลาน ดูแล้วน่าเสียวใส้เหมือนกันเพราะเป็นช่วงหัวโค้ง และดูเหมือนว่าป้ายเครื่องหมายจราจรให้ชลอรถ หรือเตือนให้ระวังก็ไม่มี ที่ผ่านมาน่าจะเกิดอุบัติเหตุกันบ่อย เห็นกรมทางหลวงกำลังขยายถนนเป็นการใหญ่ เฉือนภูเขาเพื่อปรับถนนให้กว้างขึ้น

ตลาดมูเซอที่นี่มีสองแห่ง แต่อยู่เยื้องๆกัน เป็นตลาดมูเซอที่ขายพวกของป่า และ ตลาดมูเซอขายพืชผัก อาหารสำเร็จรูป ถ้า ดููตามแผนที่ข้างล่าง ก็ จะเห็นคนละฝั่งถนน นักท่องเที่ยวที่มาพัก อช.ตากสิน สามารถออกมาซื้อกับข้าวไปทำกินที่อุทยานได้ ไม่จำเป็นต้องหอบกันมาจากบ้าน ข้าวสาร อาหารสด อาหารแห้ง มีเหลือเฟือ ขนกันมาเต็มรถเปลืองน้ำมันเปล่าๆ

อนาคตตลาดมูเซอจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร คงเดาได้ไม่ยากเลยครับ บอกได้เลยว่าจะมีอาคารพาณิชย์ผุดขึ้นมากมาย ไม่ต่างกับเมืองเล็กๆขนาดย่อม ต่อไปตลาดมูเซอก็อาจเป็นตลาดสินค้าทั่วไป ขายตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ชาวมูเซอที่เป็นเจ้าของพื้นที่ริมถนนก็คงจะถอยร่นไปอยู่ที่อื่น เหลือแต่มูเซอที่เป็นพ่อค้า และคนต่างถิ่นมาลงทุนทำธุรกิจ

พูดถึงมูเซอในพื้นที่จังหวัดตาก เป็นชนเผ่าที่อยู่คู่จังหวัดตากมานานทีเดียว ห่างจากที่นี่ไป 2 กม. ก็จะเป็นอุทยานตากสินมหาราช ภายในอุทยานมีป้ายเขียนบอกว่า “ ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก ขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้เมื่อปี 2503 (47ปีมาแล้ว) เพื่อใช้เป็นที่อยู่ และที่ทำกินของชาวเขามูเซอจำนวน 11,315 ไร่ “

มีคำถามว่า ชาวเขาที่นี่อยู่กันมาแต่บรรพบุรุษ หรือว่าทางการอพยพมาจากที่อื่นๆ

เรื่องนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่หากจะย้อนหลังไปหลายสิบปีก่อน สมัยที่หลายจังหวัดเป็นพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ผู้ก่อการร้าย ถ้าจำไม่ได้ก็ขอให้นึกถึงภาพเก่าที่ในหลวงเสด็จเยียมชาวเขาในถิ่นธุรกันดาร ตอนนั้นทางการกำลังปราบปรามผู้ก่อการร้ายตามเทือกเขาต่างๆ แต่ปัญหาว่ามีชาวเขาอาศัยอยู่หลายกลุ่ม จึงปราบลำบาก ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ใครคือผู้ก่อการร้าย อีกทั้งมีชาวเขาบางส่วนให้ความร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายด้วย ทางการจึงได้จัดสรรพื้นที่ทำกินให้กับชาวเขาและให้ย้ายลงมาอยู่พื้นราบ หรือให้อพยพกันทั้งหมู่บ้าน จะได้เข้าปฏิบัติในพื้นที่ได้สะดวก ซึ่งก็ได้ผล

็มีหลายแห่งที่ได้จัดสรรพื้นที่ทำกินให้ชาวเขา เท่าที่จำได้ก็มีชาวเขาในบริเวณน้ำตกคลองลาน กำแพงเพชร และชาวเขาเผ่าม้ง บ้านเขกน้อย เพชรบูรณ์ ส่วนเผ่ามูเซอจังหวัดตาก และอีกหลายจังหวัดที่มีการจัดสรรที่ทำกินหรือมีหน่วยงานสงเคราะห์ชาวเขาใน พื้นที่ ก็คงจะเป็นแผนปฏิบัติการของฝ่ายบ้านเมือง เมื่อครั้งก่อนโน้นเช่นเดียวกัน

ผม มีเวลาไม่มากนักในการแวะเข้ามาในเส้นทางสายแม่สอดเพราะต้องเดินทางต่อ ตอนขากลับได้แวะ อช.ลานสาง ที่ห่างจาก อช.ตากสินมหาราช ไม่มากนัก อช.ลานสางเป็นสถานที่พักผ่อนที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งบนถนนสายนี้ ภายในดูร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่มากมาย
ต่างกับ อช.ตากสินที่อยู่บนชะง่อนเขาและอากาศหนาวเย็น

เส้นทางสายตาก - แม่สอด มีระยะทางราว 90 กม. ผมนั่งรถไปที่ชายแดนแม่สอดเมื่อราวสิบกว่าปีก่อน เพื่อข้ามไปดูบ้่านเืมืองทางฝั่งพม่า ก็ข้ามไปแค่ 2 -3 ชั่วโมง ซึ่งทางการพม่ายังไม่อนุญาตให้เข้าไปไกลมากนัก ตอนนั้นรู้สึกเสียวใส้เหมือนกันเพราะพม่ายังเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ จะจับนักท่องเที่ยวไปสอบ หรือเข้าคุกพม่า ก็ทำได้ไม่ยากนัก

เขตพม่าห้ามถ่ายภาพใครมีกล้องต้องฝากให้กับทหารที่ด่าน สายตาทหารพม่ามองพวกเราเหมือนไม่ค่อยไว้ใจ นึกในใจว่าพรรคพวกพาพวกเรามาหาความซวยรึเปล่า

เมื่อเข้าไปในพื้นที่พม่าแล้วก็ดูพิกลๆ ชาวพม่ามองคนไทยคล้ายเป็นตัวประหลาด เหมือนจะถามว่า

" พวกเอ็งมาทำไม บ้ารึเปล่า " มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆนะครับ

บ้านเรือนพม่าทางแม่สอดลักษณะเป็นบ้านไม้ที่ดูโบร่ำโบราณ แปลกตรงที่เค้าสร้างบ้านนกขนาดเล็กๆไว้หน้าบ้าน ให้นกมาอาศัย มีเกือบทุกบ้านเลยครับ ผมเดินผ่านบ้านชาวพม่า สายตาก็เสาะหาสาวพม่าตามลักษณะที่เรียกว่า “ ผิวพม่า นัยน์ตาแขก ” หมายความว่าผิวสวย เนียน ละเอียด ดำขำ ใบหน้าคมคาย ตามที่บรรพบุรุษเคยสอนไว้ บอกว่าใครได้เห็น ถือว่าเป็นบุญตา

ครั้งนั้นจึงเอาแต่มองหาสาวพม่าตามตำรา(ของบรรพบุรษ) เผื่อจะได้มีบุญตากะเค้าบ้าง

ไม่ได้ผลครับ เจอแต่ประเภทตัวดำเหมือนแขกอินเดีย ผสม ปากี ไม่เห็นจะมีใครหน้าคมคายสักคน

แต่ครั้นเดินผ่าน่ซุ้มเล็กๆที่ดูโกโรโกโส มีผ้าบังแดดร่นลงมาปิดจนมองไม่ค่อยถนัดว่าขายอะไร เมื่อสงสัยจึงเดินเข้าไปใกล้ๆ และค่อยๆแง้มผ้าออก

” โอ้....พระเจ้าจอร์ช.. สาวพม่าผิวสวย นั่งขายหมากพลูอยู่ในซุ้ม ... สวยอะไรกันขนาดนี้ี้ “

ผิวขาว อวบ ดูนุ่มนิ่ม มีแป้งปะที่แก้มทั้งสองข้างเล็กน้อย อายุแต่ 16 หยกๆ 17 หย่อน ๆ พึ่งจะแตกเนื้อสาว .. ว้าว
ผมจ้องอยู่เป็นนาน จนพม่าสาวน้อยคนนั้นเขินอาย ต่างตะลึงด้วยกันทั้งไทยและพม่า จนทำอะไรไม่ถูก เพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง

” เจ็บใจ ไม่มีกล้อง เพราะโดนยึดอยู่ที่หน้าด่าน “

จึงได้แต่ใช้สายตาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จนเต็มเปี่ยมหัวใจ นึกในใจว่าสภาพบ้านเมืองที่ยังดูด้อยพัฒนาเอามากๆ แต่กลับมีสาวพม่ารูปงามวัยขบเพาะให้ได้ยลโฉม จนหัวจิตหัวใจของหนุ่มไทยปั่นป่วนไม่เป็นจังหวะ นึกในใจว่าหากมีโอกาสก็จะมาอีกครั้ง คราวนี้จะปลอมตัวเป็นหนุ่มพม่า หาโสร่งนุ่ง ทาหน้าด้วยสมุนไพร และเคี้ยวหมากด้วย จะได้ไม่เป็นเป้าสายตาของใครๆ

สรุปว่า ข้ามแดนพม่าพม่าครั้งนั้นไม่เห็นสาวพม่านัยน์ตาแขก ตามตำราที่บรรพบุรุษบอกไว้ แต่กลับเจอสาวพม่าหน้าใส ผิวขาวเนียน อวบ นุ่มนิ่ม ...

แค่นี้ก็กลุ้ม..เอ้ย.ก็คุ้มแล้วครับ

เว็บมาสเตอร์
โฟโต้ออนทัวร์
6 กันยายน 2550


ภาพตลาดมูเซอ 2