การเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
10/03/2008
ที่มา: 
www.dhammajak.net

สมาธิ
เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
โดย พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

ประกายธรรม รวบรวมและเรียบเรียง
ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๔๐

คำนำ

หนังสือการทำสมาธิเรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์ ของท่านเจ้าคุณพระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทธรรมเทศนาเรื่องสมาธิและวิธีฝึกสมาธิจากหนังสือ ประวัติ ปฏิปทา และคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้เรียบเรียงขึ้นจากบันทึกและความทรงจำของพระโพธินันทมุนี (สมศักดิ์ ปญฺฑิโต)

ธรรมสภาขอกราบขอบพระคุณและระลึกถึงในคุณูปการของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้คำสอนอันทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงปู่ดูลย์ ได้มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธุชนผู้ใฝ่ใจในธรรมปฏิบัติตามแนวทางของท่าน ซึ่งเป็นสัมมาปฏิบัติตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาผู้ทรงเป็นแสงสว่างแห่งโลก

“สมาธิ” เป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดปราณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน

ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธินั้น มีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ มีความบริสุทธิ์ ๑ มีความตั้งมั่น ๑ และมีความว่องไวควรแก่การงาน ๑ จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้เหมาะแก่การเอาไปใช้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง จนหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง อันเป็นจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา และสมาธิก็ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นผลขั้นต้นในชีวิตประจำวัน อันได้แก่

๑) เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียนและการทำกิจทุกอย่าง
๒) ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและความกลัดกลุ้มวิตกกังวลต่างๆ
๓) ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตและบุคลิกภาพ ให้เป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต
๔) ช่วยเสริมสุขภาพกายและใช้แก้โรค เหล่านี้เป็นต้น

เมื่อสมาธิมีคุณประโยชน์นานัปการดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง ในการฝึกอบรมเจริญสมาธินั้น มีวิธีการและรายละเอียดมากมาย ซึ่งผู้สนใจพึงศึกษาและเลือกปฏิบัติให้สอดคล้องกับอุปนิสัยของตน ก็จักประสบผลสำเร็จได้สมดังประสงค์ทุกประการ

ด้วยความสุจริตและหวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบความสงบสุข

บทธรรมสมาธิ
จากพระไตรปิฎก


คุณของอานาปานสติ

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเมื่อเวลาลี ได้ตรัสคุณของอานาปานสติแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ! แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้วย่อมเป็นคุณ สงบ ประณีต เยือกเย็นอยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณ สงบ ประณีตเยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตามอยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสกติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งปิติ หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งปิติ หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งสุข หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งสุข หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งจิต หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งจิต หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักปล่อยจิต หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักปล่อยจิต หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นวิราคะ หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นวิราคะ หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นนิโรธ หายใจเข้าย่อมสำหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นนิโรธ หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงเป็นคุณ สงบประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยแบพลัน”

ตติยปราราชิกกัณฑ์ วินัย (๑/๓๔๑)


วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารบุพพาราม พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงเด่นหลายรูปด้วยกัน เช่นท่าพระสารีบุตรท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏธิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงเด่นอีกหลายองค์

วันหนึ่ง พระเถระทั้งหลายพากันพร่ำสอนพวกพระภิกษุอยู่คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง

ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น ฟังเถระพร่ำสอนอยู่ ก็รู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน

อยู่ต่อมาอีกวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีพระจันทร์เต็มดวงวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุซึ่งนั่งเงียบอยู่โดยลำพัง จึงตรัสบอกภิกษาทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ! เรายินดี ยินดีจริงๆ ในปฏิปทานี้เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงบำเพ็ญความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนไม่ทำให้แจ้ง ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด เราจักรออยู่ในพระนครสาวัตถีนี้ จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท (คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง)”

พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักรออยู่ในพระนครสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ฝ่ายพระเถระเหล่านั้น รับคำพร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ภิกษุนวกะเหล่านั้น รับคำพร่ำสอนภิกษุผู้เถระอยู่ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีมีพระจันทร์เต็มดวง เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝนเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนี้เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุ ซึ่งนั่งเงียบอยู่โดยลำพัง จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท ที่ชาวโลกยากที่จะได้พบเห็นภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมกันเป็นโยชน์ๆ”

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้วพ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้เป็นโอปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดาเที่ยงแท้ แน่ที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญสติปัฏฐาน ๔ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญสัมมัปปธาน ๔ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอิทธิบาท ๔ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอินทรีย์ ๕ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญพละ ๕ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญโพชฌงค์ ๗ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษาเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอนิจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ ย่อมมีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรเจริญอานาปานสติอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ก็มีอยู่

เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กงลมทั้งปวงหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กงลมทั้งปวง หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้าว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้าว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักมุ่งทำจิตให้หลุดพ้น หายใจเข้าว่าเราจักมุ่งทำจิตให้หลุดพ้น หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

เจริญอานาปานสติอย่างไร
สติปัฏฐาน ๔ จึงจะบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้สมบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักกระงับกายสังขาร หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ว่าเป็นกายชนิดใดชนิดหนึ่งในพวกกายทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นหายในกายมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุสำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ว่า เป็นเวทนาชนิดใดชนิดหนึ่งในวกเวทนาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจอก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออกสำเหนียกอยู่ว่าเราจักมุ่งทำจิตให้หลุดพ้น หายใจเข้า ว่าเราจักมุ่งทำจิตให้หลุดพ้น หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้หลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นและ ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใดภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้าว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออกสำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดังกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดังกิเลส หายใจออก สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นและ ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโท่มนัสในโลกเสียได้อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร
โพชฌงค์ ๗ จึงจะบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษาที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น เธอผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษาผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรองถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติตั่งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มลำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรองถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ยู่ธรรมวิาจยโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง พิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตรตรองพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา เริ่มบำเพ็ญาความเพียรไม่ย่อหย่อนอยู่ ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มลำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษาชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อยู่ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์ ปีติปราศจากอามิสย่มเกิขึ้นแก่ภิกษุผู้เริ่มบำเพ็ญความเพียรแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุเริ่มบำเพ็ญความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์อยู่ ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตสงบระงับ

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติระงับได้ ในสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อยู่ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์ภิกษุผู้มีกายระงับแล้วมีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้วมีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์อยู่ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น เธอผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น เธอผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น เธอผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้มีสติไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญ สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ สติสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์อยู่สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ยอ่มเจริญบริบูรณ์ เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันเริ่มบำเพ็ญความเพียรไม่ย่อหย่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรองพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา เริ่มบำเพ็ญความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสนมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อยู่ วิริยสัมโพชฌงค์าของภิกษุย่อมเจริญบริบูรณ์ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เริ่มบำเพ็ญความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์อยู่ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมเจริญบริบูรณ์ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตสงบระงับ

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อยู่
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมเจริญบริบูรณ์ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้วมีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์อยู่ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมเจริญบริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนี้ให้เฉยได้เป็นอย่างดี

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้อย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุเริ่มบำเพ็ญแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมเจริญบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทั้งทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

เจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างไร
วิชชาและวิมุตติจึงจะบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะบำเพ็ญวิชชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยวิเวก อาศํยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์..ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศํยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโระ อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล

อานาปานสติสูตรที่ ๘ (๑๔/๑๔๔ - ๑๕๒)


ฌาน

สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ที่พระวิหารเชตวันอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ใกล้พระนครสาวัตถี วันหนึ่งเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตฉันภัตตาหารแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง

ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็นแล้วเข้าไปยังพระวิหารเชตวัน พระอานนท์เห็นพระสารีบุตราจึงกล่าวถามว่า

“อาวุโสสารีบุตร !” อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจดผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ?”

พระสารีบุตรตอบว่า

“อาวุโส เราจะบอกให้ฟัง เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ อาวุโส เราไม่ได้คิดว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว”

แท้จริง พระสารีบุตรถอนทิฏฐิคืออหังการ ตัณหาคือมมังการ และอนุสัยคือมานะออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว

วิเวกสูตรที่ ๑ (๑๗/๓๓๒)


ผู้ได้ฌาน

ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในการเข้าสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก เป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการเข้าในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการเข้าในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการเข้าในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก

เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใส ในจำนวนนั้น หัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศฉันใด

ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการเข้าในสมาธิก็นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

สมาธิสมาปัตติสูตรที่ ๑ (๑๗/๖๖๒)

ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ในจำนวนนั้นหัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด

ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิก็นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

ฐิติสูตรที่ ๒ (๑๗/๖๖๓)

ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในการออกจากสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการออกสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ

วุฏฐานสูตรที่ ๓ (๑๗/๖๖๔)

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ

อารัมมณสูตรที่ ๕ (๑๗/๖๖๖)

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และฉลาดในโคจรในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

โคจรสูตรที่ ๖ (๑๗/๖๖๗)

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการ
น้อมจิตไปในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนั้น

อภินิหารสูตรที่ ๗ (๑๗/๖๖๘)

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
และกระทำความเคารพในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑

บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

สักกัจจการีสูตรที่ ๘ (๑๗/๖๖๙)

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและทำความเพียรเป็นไป
ติดต่อในสมาธินับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑

บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้นผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

สัปปยาการีสูตรที่ ๙ (๑๗/๖๗๐)

ผู้ฉลาดในการเขาสมาธิและฉลาดในการ
ตั้งอยู่ในสมาธิเป็นต้นนับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิแต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

สมาปัตติมูลกฐิติสูตรที่ ๑๑ (๑๗/๖๗๒)

ผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในการ
ออกจากสมาธิเป็นต้นนับเป็นผู้เลิศ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑

บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกสมาธิ ๑

บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในการออกสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุดเป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

สมาปัตติมูลกวุฏฐสูตรที่ ๑๒ (๑๗/๖๗๓)


แสดงญานความรู้
อันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ

ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี ชื่อว่าวมาภาวนามยญาณอย่างไร

สมาธิ ๑ คือ เอกัคคตาจิต

สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑

สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๒ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑

สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑ สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑

สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑

สมาธิ ๗ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑

สมาธิ ๘ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑

สมาธิ ๙ คือ รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุยยตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑

สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา ๑ วินีสกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกชขายิตกสัญญา ๑ โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๑๐

อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสิทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑ เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป้นบริวารแห่งกันและกัน ๑ เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๑ เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑ เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑ เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑ เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑ เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่สงบ ๑ เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑ เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบเป็นภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑ สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ


มหาสติปัฏฐานสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในแคว้นกุรุมีนิคมหนึ่งของแคว้นกุระ ชื่อว่ากัมมาสธรรม

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจข้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย !” หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้องเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพิจารณาเห็นกายอยู่อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอมีสติ หายใจเข้า มีสติ หายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า เพราะหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กงลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กงลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชัดเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด กิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ดังพรรณามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายาบ้างย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(อานาปาณบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้น ๆ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(อริยปถบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะในการก้าวไปและถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้าและเหลียวซ้ายเหลียวขวา ในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(สัมปชัญญบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหาร ใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

ไถมีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญญาชาติต่าง อย่างคือ

ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร

บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาายอยู่ ฯ

(ปฏิกูลบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้วแบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นภายในกายอยู่ ฯ

(ธาตุบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพองมีสีเขียวน่าเกลียดน้ำเหลืองไหล น่าเกลียด

เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ต่าง กัดกินอยู่บ้าง

เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เนธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ยังเปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อและเลือดแล้วยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่

คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง

เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูก มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์... เป็นกระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว เก่ากินปีหนึ่งไปแล้ว... เป็นกระดูกผุละเอียดแล้ว

เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ พังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักวันอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

(นวสีถิกาบรรพ)

จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

มหาสติปัฏฐานสูตร (ต่อ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา

เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
เสวยทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขมสุขเวทนา
หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ

จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

มหาสติปัฏฐานสูตร (ต่อ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือาจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน

จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต

จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ดังพรรณนาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายใน ทั้งภายรนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

จบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

มหาสติปัฏฐานสูตร (ต่อ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกประการหนึ่งเมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุาจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุาจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุกจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือว่ามั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั่งหลาย ! แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ

(นิวรณบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า

อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา
อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา
อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕

(ขันธบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น

อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง... ย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น... ย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส... ย่อมรู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น

อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ อยู่ ฯ

(อายตนบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบิกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุเบิกขาสัมโชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า อุเบิกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุเบิกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุาย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ฯ

(โพชฌงคบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาดังพรรณามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรามมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ฯ

(สัจจบรรพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์

ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ชาติเป็นไฉน ? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ

ก็ชราเป็นไฉน ? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา

ก็มรณะเป็นไฉน ? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ

ก็โสกะเป็นไฉน ? ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความแห้งผาก ณ ภายในของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ

ก็ปริเทวะเป็นไฉน ? ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ

ก็ทุกข์เป็นไฉน ? ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์

ก็โทมนัสเป็นไฉน ? ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส

ก็อุปายาสเป็นไฉน ? ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส

ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์เป็นไฉน ?

ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคนด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ วึ่งมีแก่ผู้นั้นอันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์

ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์เป็นไฉน ?

ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่รวม ความไม่ระคนด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งเกื้อกูล ปรารถนาความผาสุกปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้นคือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสายโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากาจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์เป็นไฉน ?

ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า

โอหนอ ! ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่างมีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา...

ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

โอหนอ ! ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส อย่ามีถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน ? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยย่อ เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ? ตัณหานี้ได้อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ? เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน ? ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ? ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ?

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาน ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลกตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลกตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

รูปสัญญาเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนารสสัญเจตนา โผฏฐัพพะสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในดลกตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อาจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรียกว่า ทุกขสุมทัยอริยสัจ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ? ความดับด้วยสามารถ ความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น

ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ? ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ? ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นั้น

ก็อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ?

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รนักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูปสัญเจตนา สัทททสัญเจตนา คันะสัญเจตนา รสสัเาจนนา โผฏฐัพพะเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธัทมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นี้

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ?

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ

สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ? ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุ ให้ทุกข์เกิด ความรุ้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฐิ

สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจาเป็นไฉน ? การงดเว้นจาการพูดเท็จงดเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ? การงดเว้นจากากรล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากากรถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้งดเว้นจากากรประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลืนหายเจริญยิ่งไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมาวายามะ

สัมมาสติเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยหู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยหาสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบิขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ภิกษุทังหลาย ! อันนี้เรียกว่าทกุขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทังความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ

(สัจจบรรพ)

จบธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 มหาสติปัฏฐานสูตร (ต่อ)

“ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธปัญจกเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้

ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี... ๑ ปี ยกไว้

ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธปัญจกมีเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้

ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว ฯ”

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

สติปัฏฐานสูตร (๑๒/๘๔)

.................... เอวัง ....................