รู้จักกับชนเผ่าในประเทศไทย ชนเผ่าม้ง (Hmong)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/04/2008
ที่มา: 
ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข .) http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP

    ม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่างๆใน เอเชียอาคเนย์ คือ เวียดนาม พม่า ลาว และประเทศไทย ม้งในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ ม้งขาว เรียกตนเองว่า "ม้ง เด๊อว" (Hmong Daw/Hmoob Dawd) และม้งเขียว เรียกตนเองว่า "ม้ง น์จั๊ว" (Hmong Njua/ Moob Ntsuad) นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาม้งให้อยู่ในตระกูลภาษา แม้ว-เย้า ในกลุ่มภาษาจีน-ธิเบต จำนวนประชากร จากตัวเลขประชากร ปี ๒๕๔๕
ม้งในประเทศไทยกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆของภาคเหนือรวม ๑๓ จังหวัด
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๑๕๓,๙๕๕ คน หรือร้อยละ ๑๖.๖๗
ของจำนวนประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย

 

ระบบการปกครอง
วิลเลียส อาร์ เกดเดส นักมานุษยวิทยาออสเตรเลียได้ศึกษาถึงกระบวนการตั้งถิ่นฐานการขยายตัวของ หมู่บ้านและการตั้งหมู่บ้านใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง พบว่าขนาดของหมู่บ้านม้งมักจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และขนาดความกว้าง ของพื้นที่ทำกิน การตั้งหมู่บ้านในระยะแรกที่ทำกินจะอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก แต่เมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระยะทางจากไร่ถึงหมู่บ้านมีระยะไกลขึ้นก่อให้เกิดความยากลำบากในการ เดินทาง ดังนั้น จึงได้มีการสร้างกระท่อมหรือบ้านลำลองขึ้นในไร่เพื่อใช้อยู่อาศัยเป็นการ ชั่วคราว และในหลายกรณีสมาชิกในหมู่บ้านจะอยู่อาศัยในกระท่อมที่ไร่เป็นระยะเวลานาน หรือเป็นการถาวรโดยทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ภายในหมู่บ้านให้เด็กและผู้สูงอายุ เป็นผู้ดูแล ในระยะต่อมาที่อาศัยชั่วคราวในไร่จะก่อตัวเป็นหมู่บ้านใหม่และบางครอบครัว จะอพยพไปหาที่ดินทำกินในแหล่งอื่น
ระบบครอบครัวและเครือญาติ
การจัดระเบียบความสัมพันธ์ของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดหรือเกี่ยวพันกันทางการแต่งงานหรือบุคคลที่ สังคมม้งระบุเป็นเครือญาติกัน แม้ว่าจะมิได้มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดหรือการแต่งงาน ความสัมพันธ์เหล่านี้ออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน คือ ครัวเรือนและสายตระกูลครัวเรือนเป็นหน่วยจัดการความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจแบบ สังคมที่กระชับที่สุดในสังคมม้งสมาชิกในครัวเรือนจะมีความผูกพัน ความสนิทสนม ความรักใคร่ปรองดองกันมากกว่าบุคคลอื่นๆนอกครัวเรือน
โดยปกติครัวเรือนชาวม้งมักเป็นครอบครัวขยาย คือ บุตรชายที่แต่งงานแล้วจะพาฝ่ายสาวมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับพ่อแม่ของตน ในทางกลับกันที่บุตรหญิงที่แต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวออกไปอยู่กับบิดามารดา ของฝ่ายชาย การปลูกข้าวเพื่อยังชีพเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวขยาย ผลผลิตเป็นกองกลาง สำหรับสมาชิกในครัวเรือน ส่วนการผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน เช่น การปลูกข้าวโพด การปลูกฝิ่น ฯลฯ เป็นกิจกรรมของครอบครัวย่อยของครัวเรือน
สังคมม้งเป็นสังคม "ปิตุพงศ์"ที่ สืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย เครือญาติในสายตระกูล (Lineage) เดียวกันนี้จะมีขอบเขตไปห้าชั่วรุ่นอายุคน (Generations) คือ นับตั้งแต่รุ่นลูก, รุ่นพ่อแม่, รุ่นปู่ย่า, รุ่นทวด และรุ่นพี่-แม่ของทวด (เทียด) ดังนั้นในระหว่างชาวม้งด้วยกันถ้าสาสมารถสืบสาวไปได้ว่าสืบเชื้อสายโดยตรง มาจากทั้งห้ารุ่นดังกล่าวถือว่าเป็นสายตระกูลเดียวกัน ซึ่งห้ามแต่งงานระหว่างตระกูลเดียวกัน จะเห็นได้ว่าสายตระกูลของชาวม้งเป็นกลุ่มทางสังคมขนาดใหญ่ มีการช่วยเหลือกันในกรณีที่มีความต้องการแรงงานครัวเรือนหนึ่งมักจะนิยม เคลื่อนย้ายไปยังหมู่บ้านที่มีเครือญาติที่เป็นสายตระกูลเดียวกันคอยช่วย เหลือ การแผ่กระจายของสายตระกูลออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่บ้านต่างๆ ก่อให้เกิดความมั่นคง ทางเศรษฐกิจภายในระบบ การเกษตรแบบย้ายที่โดยที่ครอบครัวของสายตระกูลตามหมู่บ้านต่างๆจะเป็นแหล่ง ที่ให้ข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งที่ให้ การช่วยเหลือเครือญาติพี่น้องที่ไปตั้งหลักแหล่งใหม่
ระบบความเชื่อ
โดยทั่วไปชาวม้งมีความเชื่อหรือศาสนาแบบนับถือผี (Animist) ผสมกับการบูชาบรรพบุรุษ (Ancestor Worship) สาระสำคัญของระบบความเชื่อดังกล่าวได้แก่ ความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ (Supernatural) อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า ชาวม้งมองปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ ว่าอยู่ภายใต้การบงการของอำนาจเหนือธรรมชาติทั้งสิ้นแต่หมายความเชื่อ เรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติมีความสำคัญในวัฒนธรรมและสังคมชาวม้ง
สิ่งเหนือธรรมชาติตามระบบความเชื่อของชาวม้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ (๑) ผีต่างๆ (๒) ขวัญ ซึ่งได้แยกพิจารณาต่อไปคือ

- ความเชื่อเรื่องผี

เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีลักษณะเหมือนมนุษย์แต่มีอำนาจเหนือกว่าซึ่งสามารถให้ทั้งคุณและโทษแก่ มนุษย์ได้ ผีในวัฒนธรรมม้งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ฝ่ายดี และฝ่ายร้าย ฝ่ายดีเป็นผีประจำเสากลางในบ้านของชาวม้ง ทำหน้าที่ปกป้อง คุ้มครองคนในครัวเรือน ผีบรรพบุรุษ มีหิ้งติดฝาผนังบ้านเป็นที่อยู่อาศัย ผีแห่งความร่ำรวยและทรัพย์สมบัติ อาศัยอยู่ที่แผ่นกระดาษติดฝาผนัง ใกล้กับหิ้งผีบรรพบุรุษ ผีประตูทำหน้าที่ปกป้องของครอบครัว และผีเตาไฟใหญ่ และเตาไฟเล็ก มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนในครัวเรือน จะเห็นได้ว่า "ผี" ที่ให้คุณแก่มนุษย์ เป็นผีที่อาศัยอยู่ในบ้านของชาวม้ง อย่างไรก็ดีผีที่ให้คุณดังกล่าวจะให้โทษแก่มนุษย์ได้ ถ้าหากมนุษย์ไปลบหลู่หรือขาดการเอาใจใส่ในการให้เครื่องเซ่นแก่ผีเหล่านั้น การเซ่นสังเวยมักจะใช้หมูหรือไก่แล้วแต่กรณี ส่วน "ผี" ฝ่ายร้ายได้แก่ ผีที่อยู่ตามป่าเขาเป็นผีที่ดุร้ายและมักก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่มนุษย์

- ความเชื่อเรื่องขวัญ

ขวัญเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่งแต่ไม่ได้มีลักษณะ เหมือนมนุษย์อย่างฝ่ายดีและผีฝ่ายร้าย ชาวม้งเชื่อว่าขวัญอยู่ใน ร่างกายของมนุษย์ตั้งแต่ ๔-๙ แห่ง แล้วแต่ความเชื่อถือเมื่อขวัญบางส่วนออกไปจากร่างกายมนุษย์จะทำให้ มนุษย์เกิดการเจ็บป่วย การตายของมนุษย์แสดงว่าขวัญออกไปจากร่างกายทั้งหมด ดังนั้นมนุษย์จึงต้องระวัง มิให้ขวัญเกิดการตกใจ ซึ่งจะทำให้ขวัญหนีออกไปจากร่างกายของมนุษย์ จึงมีการบำรุงรักษาขวัญ หรือมัดขวัญอยู่สม่ำเสมอ และมีพิธีเรียกขวัญกลับมา ถ้าเข้าใจว่าขวัญหนีออกไปจากร่างกาย
ผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ หมอผี เมื่อชาวม้งเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ หมอผีจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่า เกิดจากการกระทำของผีชนิดไหนหรือสาเหตุของการป่วยไข้ ทั้งนี้อาจจะกระทำได้โดยการใช้ไม้คู่เสี่ยงทาย หรือประกอบพิธีติดต่อกับผี หรือหาวิธีบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือภัยพิบัติต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ชาวม้งไม่ได้พิจารณาว่าอาการเจ็บป่วยหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ว่าเกิดจากการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติแต่อย่างเดียว ดังนั้น ในการรักษาความเจ็บป่วยนอกจากการใช้หมอผีแล้วยังอาจจะใช้หมอยาก็ได้ หมอยานี้มิได้เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผี แต่เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการใช้ยากลางบ้านหรือสมุนไพร
ระบบเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่า สังคมม้งเป็นสังคมที่มีลักษณะการประกอบการเกษตรและระบบเศรษฐกิจที่เป็น ลักษณะเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากหมู่บ้านชาวม้งในท้องที่อำเภอและจังหวัดต่างๆ ได้รับอิทธิพลจากภายนอกและการพัฒนาจากหน่วยราชการต่างๆในระดับมากน้อยต่าง กัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ระบบการประกอบการเกษตรมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่การเกษตรเลื่อนลอยแบบหมุนเวียนไปจนถึงแบบถาวร นอกจากนี้จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่ก็ยังไม่สามารถแสดงฐานะทางเศรษฐกิจของชาว ม้งในส่วนทั้งหมดนอกจากเพียงแต่จะแสดงตัวเลขของรายได้เฉลี่ยต่อคนของแต่ละ หมู่บ้านเท่านั้นเป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่มาก

 

 

 


อ้างอิงข้อมูลจาก

 

http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP