ชนเผ่ากะเหรี่ยง-เหตุการณ์สำคัญของหมู่บ้านคลิตี้ล่าง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/04/2008
ที่มา: 
http://www.karencenter.com/

เหตุการณ์สำคัญของหมู่บ้าน

 ช่วงเวลา(พ.ศ.)  เหตุการณ์สำคัญ
 2499  เริ่มมีการขุดบ่อแร่คลิตี้ขนผ่านเขากะลาลงเรือที่แม่น้ำแควใหญ่ ขึ้นท่าที่ลาดหญ้าเพื่อนำไปโรงแต่งแร่ราชบุรี
 2507  กรมป่าไม้ประกาศพื้นที่หมู่บ้านเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่แปลงที่ 1 การทำมาหากินชาวบ้านยังปกติ
 2510  ตั้งโรงแต่งแร่คลิตี้
 2518  ปลาตายทั้งลำห้วยคลิตี้ ชาวบ้านเริ่มมีปากเสียงกับเจ้าของเหมือง
 2521  ตั้งโรงแต่งแร่คลิตี้ ชั้นที่ 2
 2524  ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์แต่หมู่บ้านอยู่นอกพื้นที่ การดำเนินชีวิตของชุมชนยังปกติ
 2525  บริษัทนันทมานพได้รับสัมปทานตัดไม้บริเวณหมู่บ้าน การดำเนินชีวิตของชุมชนยังปกติ
 2526  ปลาในห้วยคลิตี้ตายทั้งห้วย ชาวบ้านเริ่มมีปากเสียงกับเจ้าของเหมือง
 2527  ป่าไม้จังหวัดตั้งหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 8 บริเวณบ้านคลิตี้บน หมู่บ้านคลิตี้ล่างมีศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ชาวบ้านเริ่มมีการร้องเรียน เรื่องน้ำในห้วย แต่ไม่มีการตอบรับจากหน่วยงานของรัฐ
 2528  บริเวณน้ำตกคลิตี้ล่างถูกกลุ่มนายทุนที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านคลิตี้บนแผ้วถางจับจอง แต่ผู้นำหมู่บ้านแจ้งนายอำเภอศรีสวัสดิ์ มีการดำเนินการผลักดันให้ออก ปัจจุบันสภาพป่าได้ฟื้นคืน
 2531  มีกลุ่มนายทุนจ้างคนอีสาน ใช้เลื่อยเครื่องเป็นเครื่องมือแผ้วถางป่าดิบบริเวณก้องหล้า เนื้อที่ 4 แปลงประมาณ 500 ไร่ ชาวบ้านคลิตี้ล่างได้ร่วมกันผลักดันกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้ออกจากพื้นที่
 2532  รัฐบาลชาติชายประกาศปิดป่าทั่วประเทศ บริษัทนันทมานพออกจากหมู่บ้าน ต้นไม้คงเหลือแต่เพียงต้นตะเคียนทองริมห้วย ต้นประดู่ข้างวัดที่ชาวบ้านขอไว้ประมาณ 10 ต้น และมีการถางที่หลังโรงแต่งแร่คลิตี้บนเป็นพันไร่ โดยมีป้ายเขียนบอกว่าป่าไม้อนุญาต ปัจจุบันเป็นสวนยางและสวนส้มโอ
 2534  ตั้งศูนย์สงเคราะห์หมู่บ้านให้เงินกู้ไม่มีดอกเบี้ยเพื่อรักษาพยาบาล
 2537  เป็ดที่เลี้ยงไว้ในลำห้วยตายหมด วัวควายตายรวม 65 ตัว ชาวรับขายวัวควายก่อนตายฟรี ผู้จัดการโรงแต่งแร่ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมชาวบ้าน 3 วันให้เซ็นต์หนังสือว่าเหมืองไม่ได้ปล่อยน้ำเสีย แต่ไม่เป็นผลวันสุดท้ายใช้เหล้ามอมชาวบ้านจนเมาและได้ลายเซ็นต์ของชาวบ้านที่เมาไป 9 คน ส่งผลให้เหมืองได้ดำเนินการต่อ
 2538  อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานศร.8 โดยพนักงานพิทักษ์ป่านายจุฑาวุฒิ เมฆเงินและนายไพบูลย์ เศวตศิลานนท์หัวหน้าอุทยานทับไร่ซากชาวบ้านและไล่ให้ชาวบ้านถอยห่างออกไปจากหน่วย 2 กิโลเมตร ทั้งที่หน่วยตั้งอยู่นอกเขตอุทยานฯ มีการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน 1 ราย เสียค่าปรับหมื่นกว่าบาท
 19 เม.ย. 2541  ชาวบ้านคลิตี้ล่างเขียนจดหมายร้องทุกข์ถึงอธิบดีกรมควบคุมมลพิษเกี่ยวกับปัญหาน้ำในลำห้วยคลิตี้
 22 เม.ย. 2541  เหมืองแต่งแร่ถูกระงับชั่วคราวและถูกปรับ 2,000 บาท มีประกาศงดใช้และกินสัตว์น้ำในลำห้วย
 ม.ค 2542  ที่ประชุมส่วนราชการมีมติให้บริษัทที่ดำเนินการแต่งแร่เร่งรัดจัดทำแผนฟื้นฟูลำห้วยคลิต
 พ.ค. 2542  ที่ประชุมส่วนราชการให้เหมืองดำเนินการขุดลอกคลองตามแผนฟื้นฟู ชาวบ้านเริ่มมีปัญหาพื้นที่ทำกิน หน่วยกจ.8และหน่วยพิทักษ์ศร.8 เริ่มจับชาวบ้านที่ถางไร่ซากหนักขึ้น ชุมชนอยู่ในความหวาดผวาไม่กล้าออกไปทำกินในพื้นที่ของตัวเอง
 2543

-กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์แพร่ข่าวการตัดไม้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กจ.8มีนายเสนอ ลอยความสุข และนายมานะไม่ทราบนามสกุลเป็นผู้ช่วยหน่วย มีหน่วยงานของรัฐทั้งป่าไม้เขต ป่าไม้จับหวัด ตำรวจตะเวนชายแดน ตำรวจภูธรเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ และเชิญตัวนายกำธร สุวรรณมาลาไปให้ปากคำที่สภอ.ทองผาภูมิ แต่สำนวนคดีได้ถูกร่างเสร็จโดยกจ.8ตั้งแต่ยังไม่มีการสอบปากคำ และยัดเยียดให้นายกำธรเป็นผู้ต้องหาคดีตัดไม้ 280 ท่อน แต่นายกำธรไม่ยอมรับจึงถูกยัดข้อหาแผ้วถางพื้นที่ 2 ไร่บริเวณบ้านตัวเอง หลังจากนั้นชาวบ้านถูกข่มขู่จากกจ.8 เช่น ขู่ว่าจะจับและรบกวนชาวบ้านไม่ให้ทำกิน ให้อดข้าวตาย เอาปืนจี้หัวชาวบ้านชื่อป้าผ่อง โดยผู้ช่วยมานะ ยึดถังฉีดยาทั้งที่ก่อนหน้านี้นายเสนอประชุมชาวบ้านและบอกชาวบ้านว่าถ้าสู้หญ้าคาไม่ไหวก็ให้ใช้ยาฆ่าหญ้าได้ นายเสนอพยายามเจรจากับผู้นำหมู่บ้านเพื่อให้เซ็นต์สำนวนรับ )หลังจากมีการเซ็นต์หนังสือฉบับนี้กจ.8ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับหมู่บ้านอีก นายเสนอ ลอยความสุข ถูกย้ายไปอยู่กจ.4

-บ้านนายสิทธิชัย นาสวนนิวัติถูกรื้อโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกงัดเอาพื้นบ้านและไม้กระดานไปหมด แต่ครั้งที่ 2 ชาวบ้านร่วมกันล้อมและเอาไม้ลงจากรถ

 3 ต.ค. 2543 ปัจจุบันคนในชุมชนเสียชีวิตจากสารตะกั่ว 30 กว่าคน

- ใบอนุญาตขอแต่งแร่เลขที่ 2/2537 ของโรงแต่งแร่คลิตี้หมดอา

- กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและสมาชิกวุฒิสภาร่วมเรียกร้องให้เหมืองรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากผลกระทบของสารตะกั่วที่มาจากเหมืองแต่งแร่คลิตี้ ชาวบ้านคลิตี้ ได้เงิน 1,000,000 บาท เป็นกองทุนรักษาพยาบาล

 ปัจจุบัน

-ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำและกินสัตว์น้ำในลำห้วยได้

-วันที่ 2 ตุลาคม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลงพื้นที่ บ้านคลิตี้ล่าง และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิกการทำเหมือง

-วันที่ 9 ตุลาคม รัฐมนตรี 4 กระทรวงได้แก่ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์รี ยืนยันจะไม่มีการเปิดเหมืองต่อ แต่กลุ่ม อ.บ.ต. ชะแลสนับสนุนให้มีการทำเหมืองต่อ

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก : http://www.karencenter.com/