วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
25/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

รู้จักผ้าซิ่นล่อง

ผ้าซิ่นล่อง เจ้านายเมืองอุบล ฯ จังหวัดอุบลราชธานี
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นผ้าซิ่นที่หญิงสาวชาวเมืองอุบล ที่มีฐานะสูงหรือชนชั้นเจ้านายทอไว้ใช้นุ่งในโอกาสพิเศษ อาทิเช่นนุ่งไปงานประเพณีสำคัญงานบุญผะเหวดหรือนุ่งไปงานต้อนรับแขกบ้าน เมืองซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะอวดศิลปหัตถกรรมผ้าทอมือที่วิจิตรงดงามอย่าง ผ้าซิ่นล่องซึ่งทอด้วยเส้นไหมน้อย และดิ้นแล่งเงินที่ส่องประกายแวววาว ประทับใจผู้เห็น


    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผ้าซิ่นล่อง เจ้านายเมืองอุบล จะประกอบด้วย 3 ส่วน ด้วยกันคือ

  1. ส่วนตีนซิ่น เป็นไหมและใช้ดิ้นแล่งเงิน ทอด้วยเทคนิคขิด ขนาดความกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร
  2. ส่วนตัวซิ่น เป็นซิ่นตะเข็บเดียวทอด้วยเส้นไหม และดิ้น แล่งเงินยกขิด เป็นลายริ้วจากหลักฐานผืนที่พบ ส่วนใหญ่นิยมทอลายดอกแก้ว เวลาทอลายตามขวางแล้วนำมาเย็บเป็นผ้าซิ่นลายตามยาว
  3. ส่วนหัวซิ่น มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร เย็บต่อด้วยผ้าฝ้ายลายริ้วหรือผ้าฝ้ายขิดไหม


เอกลักษณ์ของผ้าซิ่นล่อง เมืองอุบลฯ
คือโครงสีของผ้าซิ่นจะเป็นสีเอกรงค์ โดยนิยมใช้ไหนสีม่วงสีหลัก และทอขิดด้วยแล่งเงิน สีสันของผ้าซิ่นล่องจึงแลดูเยือกเย็นแวววาวดั่งเกล็ดของนาคราช

การนุ่งผ้าซิ่นล่อง ของสตรีชาว เมืองอุบล
จะนุ่งป้ายทบธรรมดา และมีผ้าซิ่นอีกผืนนุ่งซ้อนทับด้านในเพื่อถนอมเส้นใยบนผืนผ้าซิ่นล่อง ให้มีอายุใช้งานยาวนานคุ้มค่ากับระยะเวลาที่พากเพียร กว่าจะทอสำเร็จเป็นผืนผ้าซิ่นล่อง

ผ้าซิ่นล่องได้สูญหายไปจากวิถีชีวิตแม่หญิงเมืองอุบลเป็นระยะเวลายาวนานเหลือไว้เพียงความทรงจำอันงดงาม

ต้นฉบับ: http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/training2007/sinlong/sinlong.html