วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

จกเมืองลองของดีเมืองแป้

รูปลักษณ์ของลายหลักและลายประกอบบนผ้าจกเมืองลองของดีเมืองแพร่

นกคู่กินน้ำฮ่วมต้น


ขอประแจ


นกคู่กินน้ำฮ่วมต้นในสระน้ำ

 

กรอบดอกเซีย

 

 

 

 


ขอ

ดอกตะล่อม

ขอ

 


กรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
นกเข้าโฮง
ลายงวงน้ำคุ

 

 

นกคู่กินน้ำฮ่วมต้นในสระน้ำ

 

 

ขอประแจ


นกคู่กินน้ำฮ่วมต้น


สะเปาลอยน้ำ


หางสะเปา

 

 

 


วิถีชีวิตของสังคมบท มีรูปแบบความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เสร็จจากการทำงานหลักๆ ชายตีเหล็ก หญิงทอผ้า เป็นเรื่องปกติของชาวบ้าน ลูกผู้หญิงจะได้รับการฝึกหัดงานทอผ้าตั้งแต่ยังเล็กๆ วิธีการก็เป็นไปตามธรรมชาติอาศัยการดูวิธีทอผ้าบ่อยๆ จากนั้นจึงจะฝึกการทอกับผู้ใหญ่ที่มีความชำนาญในการทอผ้าเมื่อย่างเข้าวัย รุ่นหญิงสาวทุกคนต้องเตรียมตัวไว้สำหรับการออกเรือน ทุกคนต้องทอผ้าใช้เองในพิธีแต่งงาน ผ้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผ้าที่ใช้เป็นชุดแต่งงานจะได้รับการทอเป็นพิเศษสุดฝีมือของผู้ทอเอง ฝ่ายชายเองก็ต้องมีฝีมือในการจักสานเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ

ประเพณีการทอผ้าของหญิงสาวเป็นการสืบทอดมรดกทางปัญญา นับเป็นคุณสมบัติของความเป็นลูกผู้หญิง สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกต ผ้าที่ทออย่างสวยงามนั้นเป็นฝีมือที่ทอกันในวัยสาว เพราะงานทอผ้าเป็นงานละเอียดอ่อน ต้องใช้สายตาเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่ออย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย การทอผ้าจึงลดน้อยลง ส่วนใหญ่ผ้าที่ผู้เฒ่าคนแก่ใช้ ลูกหลานจะเป็นผู้ทอมาให้ในโอกาสต่างๆ เพราะการทอผ้าบางผืนต้องอาศัยเวลาเป็นหลัก บางผืนใช้เวลาทอเป็นปีกว่าจะเสร็จ เพราะกลางคืนปั่นฝ้ายกลางวันทอ ไม่นิยมทอผ้าในช่วงฤดู เพราะเส้นยืนจะหนืดหวีไม่ไป (เพราะความชื้นในอากาศ)

ที่สำคัญการทอผ้าไทยอาศัยหลักของความจำและความชำนาญเป็นสำคัญผู้ทอต้องอาศัยวิธีจดจำเป็นหลัก ไม่มีการบันทึกเป็นเอกสารไว้เลย ดังนั้นลวดลายจึงมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่คงรูปแบบที่ตายตัว เพราะอาศัยหลักจากการจดจำไปทอ วิธีการย้อมฝ้ายก็ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ได้จากพืช ทำให้มีเพียงไม่กี่สี แต่ในปัจจุบันนิยมสั่งด้ายสำเร็จรูปมาทอผ้าเป็นส่วนใหญ่

ลวดลายในผ้าจกใช่ว่าจะทอกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความใจเย็นในความละเอียดอ่อนของช่างแกะลาย ที่จะผูกลายให้สวยงาม ในขณะเดียวกันต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยเฉพาะในส่วนลวดลายที่ละเอียดของการทอผ้าจกเพราะจุดนี้สามารถที่จะนำไป พัฒนาแก้ไขในส่วนต่างๆ ของการทอผ้าจกหลักการแกะลายแบบยกเขา จะต้องอาศัยเส้นยืนเป็นหลัก ในจำนวนที่เท่ากันของทุกๆ ลวดลายที่จะผูกเอาไว้ให้ในผ้าจกผืนเดียวกัน ซึ่งต้องจกล้วงตามขวางของเส้นยืนจึงจะเกิดลวดลาย
ลวดลายในผ้าจก

การทอผ้าจกในอดีตนิยมทอกันเพียงไม่กี่ลายในผ้าจกผืนเดียวกัน อย่างมากก็มีเพียง 4 แถวเท่านั้นเป็นอย่างมาก การทอผ้าจกให้ปัจจุบันเป็นการเอาใจตลาดหรือกลุ่มพ่อค้าแม่ขายผ้าพื้นเมือง จะมีการผูกลายขึ้นมากมายจนไม่สามารถที่จะแยกว่าตรงไหนเป็นลายหลักตรง ไหนเป็นลายประกอบเพราะฉะนั้นเรื่องราวในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอแม่ลาย
หลักแม่ลายประกอบเพียงบางส่วนให้ได้รู้แนวทางของผ้าจก เพราะแม่ลายเหล่านี้สามารถที่จะนำไปผูกลายในผ้าจกผืนใหม่ได้

การกำหนดลวดลายได้ถูกจัดไว้มีเพียง 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ลายหลัก ลายประกอบ

ลายหลัก

1.เครือวงน้ำคุในกรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

เป็นการผูกลายให้แปลกออกไปในรูปแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แซมช่องว่างด้วยสามเหลี่ยมซ้อนกัน ส่วนใหญ่ลวดลายชุดนี้จะทอในผ้าจกที่ใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ หรือที่เรียกกันว่าผ้าเทปนั้นเอง

 


2.เครือสำเภาลอยน้ำและเครือขอจันแปดกลีบ

ผ้าเทปผืนนี้เป็นการนำลายเครือเพียง 3 รายเริ่มต้นที่ลายอุบะหรือแม่ลายสนต้นเล็ก โดยมีเครือสำเภาลอยน้ำเป็นแถวนี่ 2 เป็นลายที่มีการพัฒนาโดยเอาโครงสร้างของรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมาแซมเอาไว้ เติม 2 ข้างด้วยก้อนสามเหลี่ยมให้เป็นระนาบเส้นตรงแถวที่ 3 เป็นขอจันแปดกลีบเป็นการนำเอาแม่ลายมาวางไว้ 2 แนวจะได้แถบลวดลายใหญ่ขึ้น ตามด้วยเครือสำเภาลอยน้ำ และลายอุบะหรือแม่ลายต้นเล็กโดยกลับหัวลง

 


3.ผักแว่นในสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

ลายบนผ้าจกชิ้นนี้เป็นลายที่เก่าแก่อีกแบบหนึ่ง เป็นลายผักแว่นในกรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และลายขอ หากให้ด้ายทอเพียงสีเดียวก็จะกลายเป็นผ้าพื้นยกดอก แต่ผ้าจกชิ้นนี้จัดเป็นผ้าเทปมีการใช้เส้นยืน เส้นพุ่ง เส้นสอด เป็นคนละสี

 


4.สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

ผ้าจกชิ้นนี้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีน้ำตาลอมส้ม เส้นสอดสีเหลืองลวดลายเป็นแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แต่งใส่ลวดลายก็เป็นแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเล็กๆ นำเส้นสายมาผูกเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แต่งด้วยลายดอก ตะล่อมซึ่งมีรูปแบบทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ลวดลายของผ้าจกชิ้นนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับ ผ้าแถบ หรือผ้าคลุมไหล่

 


5.กาบนกคู่

ลวดลายที่เห็นบนผ้าจกชิ้นนี้เป็นงานที่มีการพัฒนาในตัวลาย มีความละม้ายคล้ายกับลายหักนกคู่ ของกลุ่มทอผ้าจกจังหวัดราชบุรี จะแตกต่างกันก็ตรงที่ลายผ้าจกของแพร่ละเอียดกว่าเท่านั้น แต่งานชิ้นนี้ผู้แกะลายไม่ได้ย่อส่วนของตัวดอก จึงถูกกรอบนอกบังคับเอาไว้ ทำให้ลายขอรอบๆ สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดขาดหายไปในบางส่วน สาเหตุเกิดจาการผูกลายโดยรวมๆ จะต้องมีเส้นพุ่ง เส้นสอด ที่มีจำนวนเท่ากัน จึงจะสามาระผูกลายให้เท่ากันได้ แต่นี่เป็นการผูกแบบขอไปทีคงไม่มีใครทันสังเกต นับว่าเป็นการมักง่ายของผู้ผูกลายนั่นเอง

 ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/Chok%20Muang%20Phrae/chok%20muang%20phrae.html 

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร