วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ผ้าจกเมืองลองของดีเมืองแป้ (4)

รูปลักษณ์ของลายหลักและลายประกอบบนผ้าจกเมืองลองของดีเมืองแพร่ 

ลายประกอบ (ต่อ)

12.ขอ

 


13.สะเปาลอยน้ำ


ผ้าจกชิ้นนี้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีดำ เส้นสอดสีเหลือง ลวดลายเป็นแบบ สะเปาลอยน้ำ ลายสะเปาชุดนี้ไม่มีหาง (บน) สามารถกลับหัวขึ้นหรือลงก็ได้

 


14.เครือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสอดไส้ดาว


ผ้าจกชิ้นนี้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีดำ เส้นสอดสีเหลืองนวล สีชมพู สีเขียว ลวดลายเป็นแบบเครือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เป็นลวดลายที่มีการดัดแปลงจากเครือดอกตะล่อมนั้นเอง

 

15.เครือดอกตะล่อม


ผ้าจกชิ้นนี้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีดำ เส้นสอดสีครีม สีม่วง ลวดลายเป็นแบบเครือดอกตะล่อม ลายจกชิ้นนี้มีการดัดแปลงเล็กน้อย

 

16.ลูกโซ่


ผ้าจกชิ้นนี้เส้นยืนสีดำ เส้นพุ่งสีดำ เส้นสอดสีชมพูอ่อน ลวดลายเป็นแบบลูกโซ่

 


17.งูห้อยซ้าว งูพันซ้าว


ลาย งูห้อยซ้าว งูพันซ้าว (แพร่) ลายโงะ (ราชบุรี) เป็นลายประกอบที่เป็นของดั้งเดิม ที่ปรากฎในผ้าจกเก่าๆ ของไทพวน จุดเริ่มต้นตรงหัวงูเป็นรูปขอ ลำตัวแล้วแต่การออกแบบของช่างแกะลาย เท่าที่พบเห็นส่วนใหญ่ จะใช้งูสองตัวหันให้หางชนกัน ในช่องว่างด้านบนจะเติมเป็นลายผีเสื้อ ส่วนด้านล่างมักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ดูแล้วจะคล้ายๆ ใบไม้ กลุ่มดอกไม้ รูปแบบ งูห้อยซ้าว งูพันซ้าว มีมากมายหลากหลายรูปแบบ ในแต่ละลายที่ช่างแกะลายผูกไว้ในผ้าจก ต่างปรับปรุงลวดลายที่ตนเองชอบ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้วยจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้ช่างทอมาว่าจ้างแกะลายใหม่ๆ สำหรับการทอผ้าจก

ต้นฉบับ: http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/Chok%20Muang%20Phrae/chok%20muang%20phrae3.htm

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร