วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

เทคนิคการทอผ้าแบบยกมุก (1)

  การทอผ้ายกมุก เป็นศิลปะการทอผ้าแบบหนึ่งของกลุ่มวัฒนธรรมไทยวน และกลุ่มวัฒนธรรมไทพวน นิยมทอกันในภาคเหนือเพื่อทำตัวซิ่น เรียกว่า ซิ่นมุก นอกจากนี้ยังมีการทอผ้าด้วยเทคนิคยกมุกของกลุ่มวัฒนธรรมภูไทหรือผู้ไทยในภาค อีสานด้วยเช่นกัน

     ผ้ายกมุก เป็นเทคนิคการทอโดยใช้เส้นพิเศษเพิ่มบนกี่ทอผ้า ลายยกบนผ้าเกิดจาการใช้ตะกอลายยกด้ายยืนพิเศษและโดยเส้นยืนพิเศษจะถูกจัดไว้ ตอนบนของเส้นยืนธรรมดาที่ซึ่งไว้ ในการทอผ้ายกมุก เส้นยืนพิเศษถูกดึงลงมาเสริมลงไปในเส้นยืนธรรมดา และเกิดเป็นลวดลายตามแบบที่เก็บตะกอไว้ ผ้ายกมุกในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทยได้แก่

ผ้ายกมุก ไทพวน จังหวัดสุโขทัย

ประเภทผ้า
- ผ้ายกมุก
- ผ้าซิ่นมุกไทพวน จังหวัดสุโขทัย
แหล่งผลิต
- ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

เดิมกลุ่มไทยพวนทอผ้ายกมุกเพื่อทำเป็น ผ้าซิ่นมุก และส่วนตัวซิ่นของผ้าซิ่นตีนจก โดยทอเป็นลายยกมุกสีเขียวหรือสีเหลือง บนพื้นสีดำลวดลายเป็นวงกลมเล็กๆ เรียงกันเป็นแถวคล้ายกับสร้อยไข่มุก


ผ้ายกมุก ไทยวน

ผ้ายกมุกของไทยวนนั้นเดิมทอเพื่อทำเป็น ผ้าซิ่นมุก เป็นส่วนตัวซิ่นของผ้าซิ่นตีนจก ทอลวดลายเป็นวงกลมเล็กๆ เรียงกันเป็นแถวคล้ายกับสร้อยไข่มุก ชาวไทยที่ทอผ้ายกมุก ได้แก่ไทยวนในจังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสระบุรี เป็นต้น ส่วนไทยวนในจังหวัดเชียงใหม่ไม่นิยมทอผ้ายกมุก กลุ่มไทยวนจังหวัดราชบุรีมีการทอลายมุก แต่ทอด้วยเทคนิค ขิด เรื่องการใช้สอยนอกจากจะเย็บต่อกับตัวซิ่นเป็นผ้าซิ่นแล้วกลุ่มไทยวนจังหวัด สระบุรียังนิยมเย็บเป็นย่ามเรียกว่า ย่ามมุก


นางปิ่น แก่นโลหิต กำลังทอผ้ายกมุก



ผ้าซิ่นมุกตีนดำ และผ้าซิ่นมุกตีนแดง บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

 

 

 

ประเภทผ้า
- ผ้ายกมุก
- ผ้าซิ่นมุกไทพวน จังหวัดสุโขทัย
- เส้นยืน ฝ้ายสีดำ และ สีเขียว
- เส้นยืนพิเศษ ฝ้ายสีเขียว
- เส้นพุ่ง ฝ้ายสีดำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ เนื้อหาและภาพ
จากหนังสือผ้าไทย กระทรวงศึกษาธิการ

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa_august2006/Pha_Yok_Muk/pha_yo...