เทคนิคการทอผ้าแบบยกมุก (3) ผ้ายกมุกภูไท

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
29/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

เทคนิคการทอผ้าแบบยกมุก (3)

ผ้ายกมุกภูไทหรือผู้ไทย

วิธีทอผ้าด้วยการทอ ยกมุก หรือเพิ่มเส้นด้ายยืนพิเศษเข้าไปในผืนผ้า เป็นที่นิยมในหมู่ชาวภูไทหรือผู้ไทย ในการทอผ้าจ่อง เป็นผ้าคลุมไหล่ ใช้ในพิธีบวชนาค และเป็นผ้าคลุมโลงศพ ผ้าชนิดนี้ทอด้วยฟืมหน้าแคบ
โดยทอเหมือนกัน 2 ชิ้นแล้วนำมาเย็บหรือเพลาะต่อกันเพื่อเพิ่มความกว้างของผืนผ้าให้เหมาะกับการใช้สอย มักทอลวดลายเล็กละเอียดแต่ไม่ซับซ้อนมากนักส่วนโครงสีดั้งเดิมของผ้าจ่องคือสีแดงคล้ำสีแดงส้มเป็นสีหลักส่วนเส้นยืนพิเศษที่เป้นลวดลายตกแต่ง นิยมใช้สีเหลืองหรือสีขาว
เมื่อทอแล้วจะเห็นลายริ้วทางยาวที่เกิดจากเส้นยืนสลับสีกับเส้นยืนพิเศษที่ใช้เส้นใยไหม ส่วนเส้นยืนและเส้นพุ้งใช้เส้นใยฝ้ายผ้าจ่องของชาวภูไทหรือผู้ไทย จึงเป็นความงามของเส้นใยไหมบนผืนผ้าฝ้ายสีแดง

 


 

ประเภทผ้า
- ผ้ายกมุก
- ผ้าจ่องภูไทหรือผู้ไทย
- เส้นยืน ฝ้ายสีแดง สีขาว และสีม่วง
- เส้นยืนพิเศษ ไหมสีเหลือง และสีขาว
- เส้นพุ่ง ฝ้ายสีแดง
แหล่งผลิต
- จังหวัดมุกดาหาร


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





ประเภทผ้า

- ผ้ายกมุก
- ผ้าจ่องภูไทหรือผู้ไทย
- เส้นยืน ฝ้ายสีแดง สีม่วง สีเขียว และสีขาว
- เส้นยืนพิเศษ ไหมสีเหลือง
- เส้นพุ่ง ฝ้ายสีแดง
แหล่งผลิต
- จังหวัดมุกดาหาร


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ต้นฉบับ:

http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa_august2006/Pha_Yok_Muk/Pha_Yok_Muk_1/Pha_Yok_Muk2/pha_yok_muk2.html