คติความเชื่อเกี่ยวกับลายผ้าไทย (1)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

คติความเชื่อเกี่ยวกับลายผ้าไทย

ลายที่จะนำมาเป็นผ้ามัดหมี่และผ้าขิดนั้นเกิดจากอิทธิพลความเชื่อในเรื่องต่างๆดังนี้ คือ

  1. ลายจากศาสนา ได้แก่ ลายหอปราสาท  ลายใบสิม ลายพญานาค  ลายธรรมาสน์  ลายใบเสมา ในแต่ละลายมีความเชื่อดังนี้  
  2. ลายจากสัตว์ ได้แก่  ลายนกยูง  ลายผีเสื้อ  ลายจอนฟอน (พังพอน)  ลายสิงโต    ลายช้าง ลายม้า  ลายแมงป่อง  ลายเสือ   ลาย งูเหลือม  ลายเขี้ยวปลา  และลายปีกไก่
  3. ลายจากพืช ได้แก่ ลายหมากบก  ลายดอกพุดซ้อน  ลายงา  ลายดอกแก้ว  ลาย    ดอกพิกุล ลายดอกจัน  ลายหนามแท่ง     ลายดอกบานเย็น  ลายต้นสน  ลายดอกสร้อย  ลายดอกผักแว่น  

ส่วนผ้าขิดลายที่นิยมใช้ทอได้แก่  ลายขิดแคม้า  ลายขิดแมลงป่องยักษ์  ลายขิดกาบขอปะแจ  ลายขิดกาบขันหมากเบ็ง   ลายขิดนาค  แปลง  ลายขิดดอกรัก  ลายขิดขอเครือ ลายขิดหอปราสาท  ลายขิดกาบใหญ่เป็นต้น

จากการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับลาย พบว่าชาวบ้านมีการประดิษฐ์ลายแบบดั้งเดิม  อยู่อาจเป็นเพราะได้รับการถ่ายทอดใน    การประดิษฐ์ ลาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงลายหมี่จะมีบ้าง การนำลายเก่ามาผสมลายใหม่ เช่นลายดอกแก้วผสมลายโคมเจ็ด เป็นต้น

ความเชื่อต่าง ๆชาวบ้านถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะลายที่นำมาเป็นลายแล้วจะต้องพิถีพิถันในการเลือกลายเป็น อย่างมาก คือต้องทำตามจุดประสงค์ของกิจกรรม เช่น ลายที่นำไปถวายพระควรจะเป็นลายแบบใดสำหรับคนมีอำนาจวาสนาควรจะใช้ลายแบบใด

 

นอกจากนี้จะเกี่ยวข้องกับศาสนาแล้วยังมีความเชื่อที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ด้วย เช่น ลายเกี่ยวกับ สัตว์ เกี่ยวกับพืชและความคิดสร้างสรรค์ของช่าง ซึ่งลายต่าง ๆในสมัยก่อนจะไม่ทอปะปนกันจะแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ทั้งนี้อาจเป็น  เพราะมีความเชื่อเอาลายที่ไม่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ จะไม่ได้รับความนิยมและที่สำคัญจะไม่ได้ บุญได้กุศลไม่รู้จักกาลเทศะประกอบกิจอันใดก็จะไม่เจริญรุ่งเรือง

  

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/B_7/C_9/nana/nana.html

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร