คติความเชื่อเกี่ยวกับลายผ้าไทย (4) ลายเกิดจากอิทธิพลของพืช

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
31/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ลายเกิดจากอิทธิพลของพืช

ความเชื่อนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ความเชื่อเกี่ยวกับลายที่นำไปบูชาสักการะและความเชื่อทั่วๆซึ่งแต่ละลายชาวบ้านมีความเชื่อดังนี้

  1. ลายต้นสน

    ใบของต้นสนเป็นใบที่มีความเป็นระเบียบจึงเหมาะสมที่จะนำมาเป็นลายของผ้ามัดหมี่และผ้าขิดได้ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่าชีวิตคนจะต้องเป็นระเบียบ มีวินัยเหมือนกับต้นสนถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะทำให้ชีวิตสงบสุข และมีระเบียบในตัวเอง      

  1. ลายดอกพุดซ้อน ลายดอกแก้วลายดอกพิกุล ลายดอกจัน ลายดอกบายเย็นและลายดอกสร้อย ลายเหล่านี้เอามาจากดอกไม้ไทยที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีและสามารถนำไปถวายพระสงฆ์เพื่อแสดงความรู้จักกาลเทศะและคารวะต่อสิ่งที่เราเคารพนับถือ



  2. ลายดอกผักแว่น ผักแว่นเป็นพืชที่อยู่ตามชายฝั่งของลำน้ำ ห้วย หนอง คลองบึงเพราะผักแว่นเกิดง่าย ผักแว่นนี้เป็นพืชที่ชาวบ้านได้สัมผัสอยู่ทุกวันจึงเกิดความคิดที่จะสร้างงานทางด้านลายของผ้าจึงได้นำเอาดอกผักแว่นหรือผักแว่นนั้นมามัดหมี่และผ้าขิดได้ทั้งนี้เพราะลักษณะของดอกผักแว่นเป็นดอกเล็ก ๆ สวยงาม เกิดเป็นกลุ่มและโตเร็วดังนั้นถ้าใครสามารถมัดตาม ลายได้ก็จะ เป็นคนที่มีความสามัคคีในเอื้อเฟื้อมีความประณีตละเอียดอ่อน
  3. ลายงา งาเป็นพืชล้มลุกชาวบ้านปลูกไว้รับประทานเมล็ดและมีความเชื่อว่าเมล็ดงาเป็นเม็ดเล็กๆที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนถ้าเราเอาทำเป็นลายบนผืนผ้าคงจะมีความหมายไปในทางที่เป็นมงคลลายงานี้บางทีชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งคือลายดาวกระจาย

  4. ลายหมาก

    หมากบกหรือกระบกเป็นไม้ยืนต้นเป็นพืชที่อยู่ใกล้ตัวของคนจึงทำให้ช่างมัดหมี่หรือช่างทอผ้าเกอดความคิดที่จะสร้างสรรค์ลายในลักษณะนี้ขึ้นเพราะต้นกระบกลูกมากที่สุดถ้าใครสามารถนำลูกกระบกมาทำเป็นลายของผ้าก็จะแสดงถึงความอดทนและมีความอุดมสมบูรณ์ต่อไปในภายหน้าจึงทำให้เกิดลายของหมากบกขึ้นบนผ้ามัดหมี่และผ้าขิด

  5. ลายหนามแท่ง ต้นหนามแท่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นตามโคกหรือดง มีหนามแหลมคมมีดอกเล็กคล้ายดอกพิกุล มี 4 กลีบ หรือมีความหมายว่า 4 ทิศนั่นเอง หรือหมายถึง ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟถ้าใครทำลายชนิดนี้จะเป็นคนที่มีความประณีตละ  เอียดละออมากจึงจะทำได้

  ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/B_7/C_9/nana_3/nana_3.html

        
<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร