รูปลักษณ์ของลายหลักบนผ้าจกและศิลปะการปักเย็บด้วยมือของชาวไท-ยวนราชบุรี (1)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

รูปลักษณ์ของลายหลักบนผ้าจกและศิลปะการปักเย็บด้วยมือของชาวไท-ยวนราชบุรี เอกลักษณ์ของลายหลักบนผ้าจก

ลายหลักเป็นลายขนาดใหญ่ที่ใช้จกอยู่ตรงกลางของตีนซิ่น มีรูปทรงที่เป็นหลักใหญ่ ๆ มาแต่โบราณถึงพุทธศักราช 2537 จำนวน 8 ลายคือ

 

  • ลายหน้าหมอน

ที่มาของชื่อ  เรียกสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน  รูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมักปรากฏอยู่ในลายของหน้าหมอนจก
แหล่งทอ     กลุ่มช่างฝีมือคูบัว ปัจจุบันทอที่ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี วัดคูบัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าลายหน้าหมอนไม่มีผู้นิยมมากนัก
ประโยชน์  ใช้ทอจกเป็นลายในตีนผ้าซิ่น และจะพบบ้างในหน้าหมอนจกของไท-ยวนราชบุรี

 

 

  • ลายดอกเซีย

ที่มาของชื่อ   เป็นชื่อที่เรียกสืบกันมาตั้งแต่โบราณ ไม่มีความหมายในปัจจุบัน
แนวทางสันนิษฐาน   ไม่สามารถสันนิษฐานได้แน่ชัด
แหล่งที่นิยมทอ   ช่างฝีมือไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เช่น กลุ่มบ้านหัวนา ของคุณยายซ้อน กำลังหาญ และกลุ่มศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี ปัจจุบันกลุ่มช่างฝีมือกลุ่มอื่นเริ่มนำมาลายนี้ไปทอกันบ้างแล้ว
ประโยชน์   ใช้ทอเป็นลายผ้าจกเพื่อประกอบเป็นซิ่นตีนจก ไม่พบในผ้าจกประเภทอื่น

 

 

  • ลายกาบ

ที่มาของชื่อ  เรียกสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน  ลักษณะของลาย คล้ายกับกาบของลำไม้ไผ่
แหล่งที่นิยมทอ  ช่างฝีมือกลุ่มตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่  ตำบลรางบัว ปัจจุบัน มีการทอในทุกกลุ่มช่างฝีมือ เช่น ศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านวัดนาหนอง วัดคูบัว วัดรางบัว และช่างฝีมือทอบ้านตะโกกลุ่มบ้านหัวนาและศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี วัดแคทราย เป็นลายที่มีผู้นิยมทอกันมากและถือว่าเป็นลายมาตรฐานของผ้าจกราชบุรี
ประโยชน์  ใช้ทอเป็นตีนผ้าซิ่นตีนจก หน้าหมอนจก

 


  •  ลายกาบดอกแก้ว


ที่มาของชื่อ  เป็นลายในตระกูลลายกาบ
แนวทางสันนิษฐาน  นักวิชาการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดชื่อขึ้นใหม่
แหล่งที่นิยมทอ   กลุ่มช่างฝีมือตำบลดอนแร่ เช่น บ้านห้วย หนองโป่ง วัดนาหนอง ดอนซาด ดอนกอกและตำบลรางบัว รางอาว ชัฏใหญ่
ประโยชน์  ใช้ทอเป็นลายในตีนผ้าซิ่นตีนจก หน้าหมอนจก

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก ผ้าจกไท-ยวน ราชบุรี คุณ อุดม สมพร
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/TaiYuan/taiyuan.htm

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร