รูปลักษณ์ของลายหลักบนผ้าจกและศิลปะการปักเย็บด้วยมือของชาวไท-ยวนราชบุรี (2)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
07/08/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

รูปลักษณ์ของลายหลักบนผ้าจกและศิลปะการปักเย็บด้วยมือของชาวไท-ยวนราชบุรี (2)

  • ลายโก้งเก้ง

ที่มาของชื่อ  เรียกสืบทอดกันมาแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน   ไม่พบ
แหล่งที่นิยมทอ   กลุ่มช่างฝีมือตำบลคูบัว บ้านตะโก ตำบลหนองปลาหมอ ตำบลหนองโพ-บางกะโดปัจจุบันมีทอที่ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี วัดแคทราย ศูนย์หัตถกรรมวัดคูบัว
ประโยชน์  ใช้ทอเป็นลายตีนผ้าซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นตา

  • ลายโก้งเก้งซ้อนเซีย

ที่มาของชื่อ   เรียกสืบทอดมาแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน   ไม่พบ
แหล่งที่นิยมทอ   กลุ่มช่างฝีมือบ้านคูบัว เช่น กลุ่มบ้านใหม่ บ้านตะโก บ้านหนองขัน บ้านหัวนา ปัจจุบัน ทอเกือบทุกกลุ่มเช่น ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี วัดแคทราย ศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านวัดคูบัว
ประโยชน์    ใช้ทอเป็นลายจกของตีนผ้าซิ่นตีนจก จะมีบ้างในบางแห่งทอเป็นลายผ้าใช้สอย เช่น ผ้าคล้องคอ

 

  • ลายกาบซ้อนหัก

ที่มาของชื่อ เรียกกันมาตั้งแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน  ไม่พบ
แหล่งที่นิยมทอ  กลุ่มช่างฝีมือตำบลคูบัว ที่บ้านหนองผ้าขาว ปัจจุบันมีช่างทอที่บ้านตะโก ตำบลคูบัว เป็นลายที่ทอยากกว่าลายอื่นๆ
ประโยชน์ ใช้ทอจกเป็นตีนผ้าซิ่นตีนจก


  • ลายหักนกคู่

ที่มาของชื่อ เรียกสืบทอดกันมาแต่โบราณ
แนวทางสันนิษฐาน ไม่พบ
แหล่งที่นิยมทอ กลุ่มช่างฝีมือทอตำบลคูบัว ตำบลห้วยไผ่ ปัจจุบันนิยมทอที่ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรีวัดแคทราย ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน วัดคูบัว และศูนย์หัตถกรรมวัดรางบัว
ประโยชน์ ใช้ทอเป็นลายจกในตีนผ้าซิ่นตีนจก

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/TaiYuan/taiyuan1.htm

<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร