วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
02/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ม่าน

ม่าน หรือบางครั้งเขียนเป็น มล่าน ใน ภาษาล้านนาหมายถึงพม่า หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ สหภาพเมียนม่าร์ ” ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ ๖๗๘ , ๓๐๔ ตารางกิโลเมตร
พม่าสามารถรวมกันเป็นประเทศได้ในสมัย ของพระเจ้าอนุรุทธ (Anawratha) ซึ่งปกครองพม่าระหว่าง พ . ศ . ๑๕๘๗ – ๑๖๒๐ หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนอำนาจการปกครองระหว่างพม่ากับมอญ จนถึง พ . ศ . ๒๓๖๗ พม่าแพ้สงครามต่ออังกฤษและเสียแคว้นอัสสัม ยะไข่ และตะนาวศรีแก่อังกฤษเมื่อพ . ศ . ๒๓๖๘ ต่อมาได้มีสงครามกับอังกฤษอีก ๒ ครั้ง ครั้งแรกเสียเมืองพะโค และในครั้งที่สองเสียพม่าทั้งหมดให้แก่อังกฤษ เมื่อ พ . ศ . ๒๔๒๙ ใน พ . ศ . ๒๔๐๕ อังกฤษจัดให้พม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเช่น กัน ต่อมาได้แยกจากอินเดียเมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๐ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ครั้น พ . ศ . ๒๔๘๕ ได้ตกอยู่ในความครอบครองของญี่ปุ่นเป็นเวลาสามปี จน พ . ศ . ๒๔๘๘ อังกฤษได้กลับมาปกครองพม่าอีก ชนระดับผู้นำของพม่าได้เจรจาเรียกร้องเอกราช เมื่อเดือนกันยายน พ . ศ . ๒๔๘๙ จนถึงวันที่ ๔ มกราคม พ . ศ . ๒๔๙๑ พม่าก็ได้เป็นประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์

ดินแดนพม่าประกอบด้วยรัฐ ๖ รัฐ คือ กะฉิ่น ฉาน ยะไข่ คะยา กะเหรี่ยง มอญ และหน่วยการปกครองตนเองอีก ๗ หน่วย คือ สะแกง มัณฑะเลย์ แมกเว อิรวดี พะโค ร่างกุ้ง และตะนาวศรี และจากจำนวนประชากรพม่า ๔๒ . ๒ ล้านคน ( พ . ศ . ๒๕๓๖ ) มีชนสองในสามส่วนเป็นชาวพม่าโดยเชื้อสาย นอกนั้นเป็นชนเผ่ามอญ ยะไข่ ฉานหรือไทใหญ่ และมีชาวเขาหรือชนกลุ่มน้อยที่กระจายอยู่ทั่วไปตามลุ่มแม่น้ำสาละวินและตลอด เขตแดนที่อยู่ติดกับประเทศไทย

พลเมืองส่วนใหญ่ของพม่านับถือพุทธศาสนาเถรวาท พวกกะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนชาวเขากลุ่มต่าง ๆ นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณ
พม่าเริ่มเข้า มาเกี่ยวข้องกับล้านนาอย่างชัดเจนในสมัยที่ท้าวแม่กุปกครองเชียงใหม่ โดยเริ่มเข้ายึดเมืองสี่พันซึ่งตั้งอยู่ใกล้แม่คงหรือแม่น้ำสาละวินเมื่อ พ . ศ . ๒๑๐๐ จากนั้น “ เปิงภวะมังทรา ” หรือ “ เจ้าฟ้าหงสา ” หรือพระเจ้าบุเรงนองได้ยกเข้ามาสู่เชียงใหม่พร้อมกับมีพระราชสาสน์ข่มขู่ ท้าวแม่กุเป็นระยะ ๆ และได้ยกพลมาเลียบเมืองเชียงใหม่ในวันเดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ แล้วโจมตีเมืองทั้งวันทั้งคืน ชาวเชียงใหม่ต้านทานทัพพม่าได้เพียงสามวันเท่านั้น ก็เสียเมืองแก่พม่าในวันเดือน ๗ ( เหนือ ) ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ . ศ . ๒๑๐๑ จากนั้นพระเจ้าบุเรงนองก็แต่งตั้งให้ท้าวแม่กุครองเมืองเชียงใหม่ตอไป จนเมื่อท้าวแม่กุหรือพระเจ้าเมกุฎิแข็งเมืองเมื่อ พ . ศ . ๒๑๐๗ พระเจ้บุเรงนองก็ยกมาตีเชียงใหม่อีก แล้วยกพระนางวิสุทธิเทวีครองเมืองในฐานะเมืองประเทศราชของพม่า ทั้งนี้ในช่วงที่พม่าเข้าครองเชียงใหม่และล้านนานั้น อาจแยกได้เป็นสองระยะคือ ยุคบุเรงนอง ( พ . ศ . ๒๑๐๑ – ๒๑๒๔ ) และสมัยอนอคเปตลุนและตลุนมิน ( พ . ศ . ๒๑๔๘ – ๒๑๙๑ ) ล้านนาทั้งมวลตกอยู่ในอำนาจของพม่านานถึง ๒๑๖ ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว พม่าพยายามครอบครองเมืองเชียงใหม่และล้านนาทั้งมวลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกัน การกบฏ ได้ควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ ทั้งทางด้านการเมืองและการเศรษฐกิจ โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางในการปกครอง กษัตริย์พม่าทรงอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าเมืองต่าง ๆ และเห็นได้ชัดว่าผู้ทีได้รับให้ปกครองเชียงใหม่นั้น มักจะทรงความสำคัญกว่าผู้ไปปกครองเมืองอื่น ๆ ส่วนขุนนางระดับกลางและระดับล่างยังคงเป็นชาวล้านนา อีกทั้งยังอนุโลมใช้จารีตประเพณีที่เคยเป็นมาแต่ก่อน นอกจากนี้พม่ายังส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในระหว่างหัวเมืองต่าง ๆ โดยให้เชียงแสนมีอำนาจปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยไม่ขึ้นกับเชียงใหม่ และให้แต่ละเมืองปกครองตนเองโดยขึ้นกับเชียงใหม่แต่เพียงในนาม