ชาติพันธุ์ล้านนา - ขุ่ย,แข่,ค้อ (อ่าน “ ก๊อ ” ),เมง,ยั้ง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ขุ่ย,แข่,ค้อ (อ่าน “ ก๊อ ” ),เมง,ยั้ง

ขุ่ย

คำว่า ขุ่ย ในภาษาล้านนาแปลว่าลาย มิได้เป็นคำเรียกเครื่องดนตรีอย่างที่ไทยภาคกลางเรียกว่า ขลุ่ย (เพราะล้านนาเรียกเครื่องดนตรีอย่างนี้ว่าปีถิว) และในวรรณกรรมคร่าวซอเรื่องหงส์หินของเจ้าสุริยวงศ์ใช้เรียกชื่อชาวเขาเผ่า หนึ่ง ซึ่งตรงกับเผ่า มูเซอกุ้ย หรือ กุ่ย และโดยภาพรวมแล้วคำว่า ขุ่ย หรือ กุ่ย หมายถึงชาวเขาเผ่ามูเซอโดยทั่วไป


แข่

แข่ เป็นคำที่ชาวเชียงรุ่ง ชาวไทใหญ่และชาวล้านนารุ่นเก่าใช้เรียกชาวจีนจากยูนนาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วชาวล้านนาและชนเผ่าไทอื่น ๆ ยังใช้เรียกกลุ่มชนอื่นโดยเฉพาะชนเผ่าไทยที่ได้รับอิทธิพลจากจีนจนเคลื่อน คลาจากจารีตเดิมของตนอีกด้วย ดังเช่นเรียกชาวไทเหนือซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมาวทางตอนใต้ของ ประเทศจีนว่า ไทแข่-ไต่แข่ และชาวเขาเผาลีซอซึ่งเรียกตนเองกว่า “ ลีซอ ” ( Li-su ) นั้นล้านนาเดิมเรียกชนกลุ่มนี้ว่า แข่ลีซอ
อนึ่ง ในวรรณกรรมล้านนาก็มักเรียกชาวเขาที่ไม่ได้รับอิทธิพลจีนว่า ข่า เช่น ข่ามุ หรือขมุ
ค้อ (อ่าน “ ก๊อ ” )

ในวรรณกรรมล้านนา คำว่า ค้อ นอกจากจะใช้เรียกชื่อพรรณไม้ที่ชื่อทับทิม และเรียกรัตนชาติชื่อทับทิมแล้ว ยังเป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาที่เรียกตนเองว่า อาข่า ( Akha) ต่อมาชาวล้านนาและชาวไทยมักรู้จักในนามของ ก้อ หรือ อีก้อ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกลุ่มชาติพันธุ์นี้ถูกเรียกว่า ข่าก้อ และในสหภาพพม่า ใช้คำว่า ก้อ ในมณฑลยูนนานของจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม กลุ่มชาติพันธุ์นี้จัดอยู่ในชนกลุ่มน้อยที่ถูกเรียกว่า ฮามี

 


เมง

 

เมง หรือ เม็ง นอกจากจะเป็นชื่อผีบรรพบุรุษคู่กับผีมด ซึ่งมักเรียกคู่กันว่าผีมดผีเมงแล้ว ยังเป็นชื่อกลุ่มชนเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมอญ ดังปรากฏในวรรณกรรมล้านนาหลาย ๆ เรื่อง เช่น

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ “ พระเจ้าเชียงใหม่หื้อส่งครัวเมงลงไป ” “ ษก 1113 ตัว ปลีร้วงเม็ด ลื้อ เขิน แมนเปนกับด้วยกัน ฟื้นพยะนะรักแลแมง ” และ “ ลูกม่านลูกเมงทังหลายใช้กันมาไหว้สาข่าข้าเสิก็เข้าปะตูไหอยาแล้ว ” เป็นต้น

ตำนสนเมืองพะเยา “ ลี้ เขิน เงี้ยว ม่าน เมง ลาว ชาวไต คูลวา ผาสี ”

อนุโลมกฎหมายญาณโบราณ “ ลื ม่าน เมง ไท ห้อ คูลวา อันท่องไพทยว (เทียว) มา

นิราศหริภุญชัย “ เม็งแม่นภุมโมเม็ด เนตรบ้าง ” และ “ เม็งแม่นวันจันทร์ศรี บ่เศร้า ”

โคลงนพบุรีกำสรวล “ มะเมียนฉนำกัมโพชชดา เมง ม่าน ลื้อเอย่ ” เม็งม่านไทยลวดเด็ดขาดขว้ำ ” และ “ เสิกหาญม่านเม็งมาร ออกต้อน ” เป็นต้น

ในแง่คำวิเศษณ์แล้ว เมง หมายถึง ดำ เช่น จีหีดเมง หมายถึงจิ้งหรีดชนิดตัวสีดำ นอกจากนี้ยังพบในเรื่องเกี่ยวกับผีเรียกว่า ผีเมง ซึ่งหมายถึงผีบรรพบุรุษฝ่ายหญิง

 


ยั้ง

เผ่ายั้งเป็นชนเผ่าที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ทางตอนใต้ของจีน ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ภาคเหนือของเวียดนามและลาว

เผ่ายั้งตั้งบ้าน เรือนอยู่ที่บ้านยั้งในเขตเมืองเวียงพูคาบริเวณแขวงน้ำทา ประเทศลาว จำนวน 89 ครอบครัวมีประชากร 417 คน (พ.ศ. 2538) เผ่ายั้งมีภาษาประจำของเผ่า คือภาษายั้ง และใช้อักษรจีนเป็นภาษาเขียน เพื่อบันทึกเรื่องราวของบรรพบุรุษ

เผ่ายั้งเป็นเผ่าชนที่ นับถือผี ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามเชิงเขาดำรงชีพอยู่ด้วยการทำนาตามหุบเขาทำไร่ตามไหล่ เขา เลี้ยงสัตว์ประเภทควาย วัว เพื่อใช้แรงงาน เลี้ยง หมู เป็ด และไก่ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับผี และเป็นอาหารในโอกาสเทศกาลงานบุญ หรือรับรองแขกที่มาเยี่ยมเยือน

การแต่งกาย เผ่ายั้งจะปลูกฝ้ายนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่มใช้เอง ย้อมด้วยสีธรรมชาติ เช่น ห้อมเหรือครามหญิงชาวยั้งจะนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเป็นลายดอก ในเทศกาลงานบุญจะสวมใส่เสื้อผ้าประดับด้วยเงินบี้ เงินควายหรือเงินหมัน เมื่อเกล้าผมแล้วใช้ปิ่น ซึ่งทำด้วยเงินหมันปักเสียบไว้ที่มวยผม ส่วนชายจะนุ่งชุดดำที่ตัดเย็บจากผ้าฮำย้อมด้วยครามหรือห้อมคล้ายกับการแต่งกายของเผ่าลื้อ