ประเพณีล้านนา - ประเพณีใส่บาตรเทโว (ออกพรรษา)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

ประเพณีใส่บาตรเทโว (ออกพรรษา)

ประเพณีใส่บาตร (ตักบาตรร) เทโวโรหะนะ ตามประเพณีของชาวพุทธ สืบทอดมาตั้งแต่โบราณมาแล้ว ครั้งเมื่อสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทะองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ได้บรรลุอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ ก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ดาวดึง เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระมารดาหลังจากที่ได้ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วก็ได้สวรรคตได้จุติเป็นเทพธิดาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ 1 พรรษา แ ล้วเสด็จลงมาจากสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสสะนครเหนือกรุงสาวัตถี ในวันเดือนเกี๋ยงเป็ง (เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ) ซึ่งเราเรียกว่า “ วันเทโวโรหะนะ ” การเสด็จลงมาจกสวรรค์ของพระพุทธองค์ในครั้งนี้สร้างความปิติยินดีให้แก่ชาว เมืองสังกัสสนคร และเมืองใกล้เคียงเป็นอย่างมาก รุ่งเช้าของวันต่อมาจึงพากันมากราบสักการะบูชา นำสิ่งของต่าง ๆ มาถวายตามแต่ตนจะหามาได้ และยังได้สร้างปราสาทเพื่อเป็นที่เสด็จประทับของพระพุทธองค์ เพื่อที่พระพุทธองค์จะได้ประทับแล้วเทศนาธรรม โปรดแก่ประชาชน และสัตว์นอกจากนั้นในวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพ ในครั้งนั้น ซึ่งเป็นครั้งเดียวทำให้หมู่สัตว์นรกรวมทั้งมนุษย์ และเทพยดาทั้งหลายต่างมองเห็นกายของกัน และกันเครื่องกรรมกรณ์ ในนรกหยุดทำงานหมดทำให้หมู่สัตว์ต่าง ๆ ในนรก รวมทั้งมนุษย์ และเทพยดาทั้งหลายต่างมีความเยือกเย็น และสัตว์ป่าหิมพานต์ต่าง ๆ เช่น กวาง เก้ง นกยูง กินนร กินนรี ต่างก็พากันมาแสดงความยินดีฟ้อนร่ายรำถวายเป็นราชกุศลแด่พระพุทธองค์ จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “ วันพระเจ้าเปิดโลก ” อาศัยเหตุเหล่านี้ พี่น้องเราชาวพุทธทั้งหลายจึงได้พากันทำบุญตักบาตร เทโวโรหะนะ ในวันพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมาโปรดพวกเรามนุษย์ ตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบันกาลนี้