วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
09/10/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"

เครื่องมือของใช้ล้านนา - จ้อง

จ้องในภาษาถิ่นล้านนา หมายถึงร่มที่ใช้สำหรับกางเพื่อป้องกันแดดและฝน จ้องจากบ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านใกล้เคียง ถือว่าเป็นจ้องกระดาษที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมานาน เป็นจ้องที่ทำจากโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสา อนึ่ง การเสนองานนี้ใช้ข้อมูลจากหมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

คนล้านนาได้รับอิทธิพลการทำจ้องกระดาษแบบนี้มาจากชาวจีนผ่านมาทางพม่า โดยจ้องกระดาษของจีนนั้น จะทาด้วยน้ำมันชนิดหนึ่งเรียกว่า “ ดังอิ๊ว ” ชาวล้านนาเรียกว่าน้ำมัน “ บ่าหมื้อ ” หรือ มะมื่อ มะเยา มะพอก ของไทยกลาง

ส่วนกระดาษที่ใช้หุ้ม เป็นตัวจ้องนั้นทำจากต้นเสา ทั้งนี้คงเป็นเพราะเป็นวัสดุที่หาง่าย มีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดีนั่นเอง ประวัติการทำจ้องของบ้านบ่อสร้างนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่าเดิมมีพระรูปหนึ่งชื่อครูบาอินถา เป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสร้างในสมัยนั้น (ราว พ.ศ.2450) ได้เดินธุดงค์เข้าไปในพม่าได้พบและนำเอาจ้องกระดาษของพม่ามาใช้ จากนั้นจึงนำมาดัดแปลง และส่งเสริมให้ชาวบ้านบ่อสร้างได้ทำขึ้นใช้จนกลายเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน กันตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาเนื่องจากการทำจ้อง ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบหลายส่วน และต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน การทำจ้องจึงต้องกระจายกันทำในหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสันกำแพงของจังหวัดเชียงใหม่ โดยแต่ละหมู่บ้านจะทำส่วนประกอบแต่ละส่วนแยกกันออกไปแล้วสุดท้ายจะนำมาหุ้ม กระดาษสาและตกแต่งที่บ้านบ่อสร้าง เพื่อจำหน่ายหรือส่งออกไป

ส่วนประกอบและวัสดุสำคัญที่ใช้ในการทำจ้องมีดังนี้คือ

1. หัวจ้อง

2. ตุ้มจ้อง

3.  สี้จ้องหรือกลอนจ้อง

4.  สี้ค้ำจ้อง

5.  การเคียนตีนจ้อง (ผ่านโค้งจ้อง)

6.  การสนจ้อง (การร้อยด้ายประดับ)

7.  การหุ้มจ้อง

7.1 กระดาษสา

7.2 น้ำยางตะโก

7.3 น้ำมันบ่าหมื้อ (มะมื่อ มะเยา)

8. การปึกจ้อง

9. การทาสีหลังจ้อง

10. การเข้าคันจ้อง

11. การครอบหัวจ้องและผูกหัวจ้อง

รายละเอียดและขั้นตอนในการทำจ้อง

1. หัวจ้อง

หัวจ้องคือส่วนที่อยู่บน สุดของตัวจ้องเพื่อเป็นศูนย์กลางที่ใช้ยึด และร้อยตามส่วนของสี้จ้องส่วนหัวเข้าไว้ด้วยกันในร่องสี้ เพื่อสะดวกในการหุบเข้าแลกางออกเมื่อเวลาจะใช้

หัวจ้องทำจากไม้เนื้อ อ่อน เช่น ไม้มูกมัน ไม้ม่วงป่า ไม้ส้มเห็ด ต้นกระท้อน ต้นงิ้ว และต้นเพกา เป็นต้น ไม้เหล่านี้มีคุณสมบัติที่ง่ายแก่การกลึง ผ่า และเจาะ เพราะเนื้ออ่อนเบา และเหนียว แม้จะไม่ทนทานนัก พ่อค้าจะนำมาตัดและผ่าเป็นซีก ๆ จากนั้นก็ถากให้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ใส่รถกระบะมาขายแก่ผู้ผลิตจ้อง ในราคาท่อนละ 3-5 บาท ในสมัยนั้น (พ.ศ.2500-2510) ชาวบ้านจะแบ่งกันทำในส่วนที่เป็นโครงการของจ้องทั้งหมดตั้งแต่หัวจ้อง ไม้สี้ค้ำจ้อง และคันจ้อง โดยบางครอบครัวอาจทำเฉพาะหัวจ้อง หรือคันจ้อง เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เด็ก ๆ ในครอบครัวจะมีงานพิเศษ และรายได้พิเศษจากงานในส่วนเหล่านี้ เช่น การร้อยค้ำ ปะหัวค้ำ ร้อยจ้อง (ซี่กลอน) เป็นต้น

เมื่อได้ไม้มาแล้วก็นำมาถากใหม่ให้กลมตรงและได้ขนาดให้เคียงกับหัวจ้อง เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปเคี่ยน (กลึง) เป็นหัวจ้องต่อไป

การเคี่ยนหัวจ้องเริ่ม จากการนำไม้ทั้งท่อนนั้นมาเจาะเป็นรูให้ทะลุตลอดด้วยสว่านมือ เสร็จแล้วก็นำเข้าค้างเคี่ยน (อ่าน “ ก๊างเคี่ยน ” ) คือเครื่องกลึง โดยสอดท่อนไม้เข้ากับแกนเพลาที่หมุนด้วยเท้าซึ่งมีเชือกหนังม้าเป็นตัว เชื่อมระหว่างปลายแร้วท่พันผ่านแกนเพลาลงไปสู่ไม้เหยียบด้านล่าง จังหวะขึ้นลงจากแรงดึงของเชือกก็จะทำให้แกนเพลาหมุนกลับไปกลับมาจึงสามารถ ใช้มีดปาดกลึงไม้ไปตามจังหวการหมุนของแกนเพลาได้

เมื่อไม้กลึงกลมดีได้ ขนาดแล้ว ก้กลึงปาดเป็นรูปร่าง ของหัวร่มแยกเป็นหัว ๆ ไม้ท่อนหนึ่งจะได้ราว 6 หัว (หัวละประมาณ 2 นิ้ว) เสร็จแล้วก็ตัดขาดอกจากกันทีละหัว ถอดอกเตรียมนำไปผ่าร่องหัวต่อไป

การผ่าร่องหัวจ้องใส่สี้ นั้นจะผ่าด้วยเล่อยหางหมูโดยใช้หัวร่มเสียบเข้ากับแกนไม้แล้วใช้เลื่อยมือ ผ่าแทงทีละช่องเริ่มจากการผ่าสี่ส่วนหรือห้าส่วนก่อน แล้วค่อยผ่าส่วนย่อยทีละร่องตามขนาดของจ้อง ซึ่งนิยมทำกันมีอยู่ 3 ขนาด คือ

ร่มขนาด 20 นิ้ว หัวร่มยาว 2.2 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ผ่าร่อง 44 ช่อง

ร่มขนาด 17 นิ้ว หัวร่มยาว 2 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ผ่าร่อง 40 ช่อง

ร่มขนาด 14 นิ้ว หัวร่มยาว 1.5 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ผ่าร่อง 36 ช่อง

ร่มขนาด 12 นิ้ว หัวร่มยาว 1.5 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ผ่าร่อง 24 ช่อง

การผ่าร่องสี้แต่ละอัน ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้แตกหรือหักได้ ถ้าหักเกิน 3 สี้ หรือ 2 สี้ติดกัน จะทำให้จ้องไม่แข็งแรงทนทาน

2. ตุ้มจ้อง

ตุ้มจ้อง คือส่วนที่อยู่ด้านล่างถัดจากหัวจ้องลงมา เป็นส่วนศูนย์กลางของสี้ค้ำจ้องที่ยึดต่อมาจากหัวจ้อง ตุ้มจ้องจะ ตุ้ม หรือค้ำสี้จ้องไว้เมื่อเวลากางออก และดึงสี้กลับเข้ามารวมกันเมื่อเวลาหุบ ตุ้มจ้องจึงเป็นส่วนที่ดึงขึ้นลงระหว่างคันจ้องเพื่อกางหรือหุบจ้อง การเคี่ยนตุ้มจ้อง หรือการกลึงตุ้มจ้องก็เหมือนกับการเคี่ยนหัวจ้อง แต่ตุ้มจ้องจะมีขนาดเล็กกว่าและรูปทรงต่างจากหัวจ้องเล็กน้อย แต่ก็ต้องมีจำนวนช่องเพื่อใส่สี้ค้ำจ้องเท่ากับสี้หัวจ้อง เพราะจะใช้ค้ำสี้จ้องได้เท่ากัน

3. สี้จ้อง (ซี่ร่ม)

สี้จ้องหรือบางครั้งเรียกกลอนจ้อง เป็นส่วนของตัวโครงจ้องที่แผ่กางออกเพื่อรองรับกระดาษที่จะนำมาหุ้ม

สี้จ้องทำจากไม้ไผ่บง ซึ่งจะมีความเหนียว และหุ้มติดกับน้ำยางตะโกได้ดี และต้องเลือกใช้แต่เฉพาะที่แก่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจึงจะเหมาะ ไม้ไผ่บงที่ใช้ต้องเป็นไผ่บงบ้าน ถ้าเป็นไผ่บงป่าจะใช้ไม่ได้เพราะผิวลื่นไม่ติดยางตะโกเวลาหุ้ม

ไม้ที่จะนำมาทำเป็นสี้จ้องจะใช้ส่วนโคน ถึงกลางลำเพราะเป็นส่วนที่หนาและแข็งแรง โดยนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ตามขนาดความยาวของจ้อง ซึ่งมี 3 ขนาดได้แก่ ขนาด 20 นิ้ว 17 นิ้ว และ 14 นิ้ว ปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่า 14 นิ้ว ลงมาเพื่อใช้เป็นของประดับ เมื่อตัดได้ขนาดแล้วก็ขูดผิวออกพอให้เห็นเนื้อในสีขาว เพื่อให้ผิวหยาบง่ายแก่การหุ้ม จากนั้นก็นำมาผ่าครึ่งแล้วใช้คมมีดเหลากรีดเฉียงลงมาเป็นเครื่องหมาย เพื่อให้เวลานำมาร้อยเข้าโครงร่มแล้วจะได้ร่มที่กลมสวยงามตามรูปกระบอกไม้ เวลาหุบ

จากนั้นก็ผ่าแบ่งเป็นซีก แต่ละซีกผ่าแบ่งเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ 5 ซี่ แล้วนำมาเหลาให้ได้รูปทรงของสี้จ้อง ส่วนหัวต้องเหลาให้แบนลงเพื่อให้เสียบลงในร่องหัวจ้องได้ จากนั้นก็ใช้ปลายมีดผ่าแหวกท้องไม้ออก เพื่อให้ปลายไม้ค้ำจ้องเสียบลงไปค้ำยันไว้ เรียกว่าการ “ แทงดือ ” จากนั้นก็นำไปเจาะรูด้วย “ ยนต์ ” คือสว่านมือ (ปัจจุบัน ใช้สว่านมอเตอร์เจาะ) โ ดยเจาะทั้งส่วนหัวซี่เพื่อเสียบร้อยกับหัวจ้องและตรงกลางดือ เพื่อใช้ด้ายร้อยยึดติดกับสี้จ้องไม่ให้หลุดขึ้นไป เมื่อเจาะเสร็จก็นำมาร้อยเข้าด้วยกันเป็นพวง ๆ ตามลำดับของไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นก็นำมา “ เข้าหัวจ้อง ” คือเสียบหัวซ่กลอนจ้องเข้ากับช่องหัวจ้องให้ครบ แล้วมัดด้ายให้แน่นก็จะได้เป็นหัวจ้องสำเร็จ

4. สี้ค้ำจ้อง (อ่าน “ สี้ก้ำจ้อง ” )

สี้ค้ำจ้อง หรือเรียกค้ำเฉย ๆ ก็ได้ เป็นส่วนของไม้ซี่ที่เชื่อมจากร่องตุ้มจ้อง แต่ละร่องไปหาจุดศูนย์กลางน้ำหนักของสี้จ้องที่แทงดือไว้ เพื่อดึงสี้จ้องให้กางออกและหุบเข้า
ไม้ที่ใช้ทำสี้ค้ำจ้องจะใช้ไม้ส่วนปลายลำที่เหลือจากส่วนที่ใช้ทำสี้จ้อง เพราะสี้จะเล็กและบางกว่าสี้จ้อง ขนาดความยาวของซี่

ระยะห่างของรูร้อยด้ายและจำนวนซี่แสดงรายละเอียด ดังตาราง

รายการขนาดและระยะของซี่ยาว

รายการขนาดและระยะของซี่ยาว

ขนาด 20 นิ้ว

ขนาด 17 นิ้ว

ขนาด 15 นิ้ว

20 ”

17”

15”

1/4”-3/8”

1/4”-3/8”

1/4”-5/6”

1/8”

1/8”

3/32”

27/4”

43/8”

19/4”

3/4”

3/4”

3/4”

3/16 ”

3/16”

3/16”

1/16”

1/16”

1/16”

3/32 ”

3/32”

3/32”

15/2”

13/2”

11/2”

44”

40”

36”

หมายเหตุ
ก. ความยาวของซี่

ฉ. จากหัวซี่ถึงรูมัดหัว
ข. ความกว้างของซี่ ท้อง-ผิว

ช. รูมัดหัวห่างจากผิวของไม้
ค. ความหนาของซี่

ซ. รูร้อยดือห่างจากทางท้องของซี่
ง. จากหัวซี่ถึงรูร้อยดือ

ฌ. จากหัวซี่ถึงรอยบากท้องซี่
จ. จากรูร้อยดือถึงรูร้อยด้ายประดับ

ญ. จำนวนซี่

เนื่องจากส่วนปลายของสี้ ค้ำจ้อง เป็นส่วนที่บอบบางจึงง่ายต่อการแตกหัก ดังนั้นเพื่อป้องกันการแตกหักจึงต้องปะด้วยกระดาษสา โดยใช้ปลายไม้ซี่ชุบยางตะโกแล้วใช้กระดาษสาพันโดยรอบเรียกว่า “ ปะค้ำ ” โดยคิดค่าจ้างปะพัน (ซี่) ละ 50 สตางค์ เมื่อปะเสร็จก็นำไปตากให้แห้ง แล้วจึงนำมาร้อยเป็นพวง ๆ ละพันซี่ เรียกว่าการ “ ร้อยค้ำ ” (อ่าน “ ฮ้อยก้ำ ” ) ราคาค่าจ้างเท่า ๆ กับการปะค้ำ พวกเด็ก ๆ จะมีรายได้จากงานส่วนนี้รวมทั้งการ “ ร้อยจ้อง ” ด้วย เมื่อไม้สี้ค้ำจ้องถูกร้อยเป็นพวง ๆ แล้ว ก็จะนำมา “ เข้าตุ้ม ” คือใช้หัวด้ายพันรอบตุ้มตามร่องแล้วเสียบไม้สี้ค้ำจ้องลงไปทีละอัน ๆ จนครบทุกซี่โดยรอบ แล้วก็มัดด้ายให้แน่นก็จะได้เป็น “ ตุ้มจ้อง ” สำเร็จพร้อมจะนำส่วนปลายไปเสียบร้อยกับ “ ดือจ้อง ” ต่อไป

การ “ ร้อยจ้อง ” หรือร้อยดือจ้อง จะร้อยบนกะละมังปากกว้างโดยกางสี้จ้องซึ่งถูกร้อยอยู่กับหัวจ้องแล้ว ลงในกะละมังให้ส่วนที่เป็นหัวอยู่ด้านล่างกะละมัง แล้วกางปีกสี้จ้องออกโดยรอบ จากนั้นก็ใช้ตุ้มจ้องสำเร็จกางครอบ แทรกซี่ต่อซี่ลงไปในปีกของสี้จ้อง แล้วก็ใช้เข็มผูกด้ายร้อยระหว่างปลายตุ้มจ้อง สอดเข้าไปในรอยแยกตรง “ ดือจ้อง ” แล้วเสียบเข็ม ที่ผูกด้ายร้อยเข้าไปทีละซี่จนรอบก็จะได้ “ โครงจ้อง ” สำเร็จอกมาแล้ว 1 โครง ใช้มือจับกางหุบ ขึ้นลงได้ เตรียมส่งไปเข้าคันจ้องและหุ้มกระดาษสาต่อไป

5. การเคียนตีนจ้อง (ผ่านโค้งร่ม)

การเคียนตีนจ้อง หรือการผ่านโค้งร่ม คือการใช้เส้นด้ายเคียน (ผูกมัด) ส่วนปลายของไม้สี้จ้องแต่ละซี่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อให้ติดเป็นผืนจ้อง และเป็นที่ยึดของกระดาษสาเวลาหุ้ม อีกทั้งทำให้เกิดความคงทน

การเคียนตีนจ้อง ต้องกางจ้องออกก่อนแล้วเสียบกับเสาหลักไว้ จากนั้นก็จัดให้สี้จ้องแต่ละสี้ห่างเท่า ๆ กัน โดยให้แต่ละสี้อยู่ตรงแนวร่องของตัวเอง การเคียนจะเคียน 2 ชั้น ห่างกันชั้นละ 2 นิ้ว แต่ละชั้นเคียนด้าย 2 รอบ เพื่อความแข็งแรง

6. การสนจ้อง (การร้อยด้ายประดับ)

การสนจ้องหรือการร้อย ด้ายประดับ คือการใช้ด้ายสีต่าง ๆ ร้อยเชื่อมโยงสลับกันไปมาเป็นตาข่ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลงบนระหว่างรูค้ำลงมาถึงตุ้มคำ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างส่วนหนึ่ง และระหว่างปลายซี่ค้ำกับซี่จ้องบริเวณร่องดือจ้อง ซึ่งอยู่ด้านบนอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อความสวยงามและปิดไม่ให้เห็นหัวจ้องด้านบนอย่างชัดเจนจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ดูแล้วขาดความสวยงามไป ขณะเดียวกันก็เพิ่มความแข็งแรงแก่จ้องในบริเวณดังกล่าว เวลาหุบและกางจะช่วยกันแรงเสียดสีได้ด้วย

7. การหุ้มจ้อง

เมื่อได้โครงจ้องที่สมบูรณ์แล้วก็นำมาหุ้ม การหุ้มมีอุปกรณ์และขั้นตอนดังนี้ คือ

7.1 กระดาษสา

กระดาษสาคือกระดาษที่ทำ จากเปลือกของต้นกระสาซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามลำน้ำใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือใหญ่กว่านั้น รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น 3 แฉก มีขนทั้งสองด้าน เปลือกของต้นกระสามีความเหนียวนุ่มยืดหยุ่นสามารถดูดซับน้ำยางตะโกและน้ำมัน บ่าหมื้อได้ดีเวลาหุ้ม

การทำกระดาษสา เริ่มจากนำเอาเปลือกที่ลอกออกจากลำต้น หรือกิ่งใหญ่มาตากให้แห้ง แล้วนำมาแช่น้ำให้อ่อนตัว 1 คืน เสร็จแล้วจึงนำมาต้มในน้ำด่างขี้เถ้าเพื่อให้เปื่อยเร็วขึ้น (ปัจจุบันใช้โซดาไฟ) เมื่อเปื่อยดีแล้วก็นำมาล้างในน้ำให้สะอาดจากนั้น ก็ใช้ค้อนทุบจนแหลกละเอียดแล้วจึงนำไปใส่ลงในถังน้ำซีเมนต์ขนาดใหญ่ คนให้เหลวและกระจายตัวทั่วถังต่อมาก็ใช้ตะแกรงขนาดประมาณ 20*30 นิ้ว ตักช้อนให้เยื่อของสาติดขึ้นมาให้ทั่วแผ่นตะแกรง นำไปตากให้แห้งเมื่อแห้งดีแล้วก็ทำการลอกออกมา ได้กระดาษสาเป็นแผ่นบาง ๆ เตรียมนำไปใช้งานต่อไป

7.2 น้ำยางตะโก น้ำยางมะคับทอง หรือน้ำยางมะค่า

ผลของตะโก มะคับทอง และมะค่า จะมียางที่เหนียวเมื่อนำมาหมักดองไว้ก็จะได้น้ำยางที่เหนียวใช้สำหรับปะตรง ส่วนปลายของไม้ค้ำจ้องเพื่อกันแตกและใช้ในการหุ้มจ้องด้วยหลังจากหมักดอง 3-4 คืนแล้ว ก็นำมาทุบให้แหลกแล้วบีบคั้นเอาแต่น้ำที่หมักนั้นมาใช้ ก็จะได้น้ำยางที่เหนียวใช้การได้ดี ถ้าใช้ไม่หมดก็ปิดฝาถังเก็บให้มิดเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี

7.3 น้ำมันบ่าหมื้อ (มะมื่อ มะเยา)

น้ำมันบ่าหมื้อทำจาก เมล็ดของต้นไม้ชนิดหนึ่งคือต้นมะหมื้อ หรือมะมื่อ มะเยา ผลมีลักษณะคล้ายผลละมุดแต่เล็กกว่า เกิดตามป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย การทำน้ำมันบ่าหมื้อขั้นแรกต้องเอาเมล็ดมากะเทาะเปลือกให้แตกออกก่อน แกะเอาเมล็ดด้านในมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปนึ่ง จากนั้นก็นำไปเข้าเครื่องบีบออกจนเป็นน้ำมันดิบ แล้วนำน้ำมันดิบไปเคี่ยวไฟจนเป็นสีดำเหนียวหนืดขึ้น จากนั้นก็ยกลงจากเตาไฟแล้วใช้เทียนไข หรือขี้ผึ้งเทผสมลงไปในอัตราส่วนน้ำมัน 1 ลิตร ต่อขี้ผึ้งหนัก 10 กรัม เมื่อขี้ผึ้งถูกความร้อนก็จะละลายปนไปกับน้ำมัน แล้วทิ้งไว้ให้เย็นนำไปใช้ทาร่มได้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม น้ำมันบ่าหมื้อดิบนั้นชาวบ้านไม่นิยมทำกันเพราะวัตถุดิบนั้นหายาก จึงต้องซื้อมาจากทางภาคกลางในราคาปิ๊บละ 380-450 บาท แต่ปัจจุบันราคาถึงปิ๊บละ 4,500-6,000 บาท ตามระดับคุณภาพ

7.4 การหุ้มจ้อง

การหุ้มจ้องเริ่มจากการ นำโครงจ้องมาปิดหัวก่อนเพื่อให้ส่วนหัวมีความแข็งแรงโดยใช้ใบลานพันรอบส่วน หัวของจ้องแล้วปิดด้วยกระดาษสากับน้ำยางตะโก พันกระดาษสา

รอบหัวร่ม 3 รอบ แล้วทาด้วยสีน้ำมันหรือสีพลาสติกซึ่งเป็นสีดำ จากนั้นก็นำมาหุ้มโดยการนำข้าวเหนียวมาปั้นหรือทำให้เหนียว ชุบกับน้ำยางตะโกพอให้เปียกออกเป็นน้ำยางเหนียว แล้วนำมาทากับโครงจ้องโดยหุบโครงเข้ามาก่อน ทาให้รอบโดยทั่ว จากนั้นก็กางออก เสียบร่มเข้ากับไม้เสาหลัก แล้วหุ้มด้วยกระดาษสาที่ตัดออกเป็นรูปสามเหลี่ยม นำส่วนปลายเหลี่ยมที่แหลมปะลงบนส่วนของหัวจ้อง ใช้มือรีดไล่จากบนลงมาหาปลายปีกของจ้อง ปะต่อกันเป็นแผ่น ๆ ไล่ไปให้รอบโครงจ้องที่จะใช้กระดาษประมาณ 7-8 แผ่นตามขนาดของจ้อง จากนั้นก็ทาด้วยน้ำมันตะโกผสมกับแป้งเปียกดิบ ที่ผสมกับน้ำให้เหลวพอเหนียว การทาจะชุบทาจนเปียกทั้งผืน ส่วนปลายของกระดาษสาท่เลยจากปลายซี่โครงจ้องออกมาจะพับเข้าไปข้างใน แล้วปะด้วยกระดาษสาโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง การหุ้มจะหุ้ม 2 ชั้น เพื่อให้หนาและแข็งแรง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว ก็จะนำมา “ ลงจ้อง ” คือหุบเข้ามาเพื่อจัดให้แผ่นกระดาษสาพับลงในช่องให้เรียบร้อย

8. การปึกจ้อง

การปึกจ้อง เป็นการผนึกหลังแผ่นจ้องอีกครั้งหนึ่งด้วยน้ำมันบ่าหมื้อเพื่อให้เกิดความ เหนียวแน่นและป้องกันความรั่วซึมของน้ำ โดยขั้นแรกใช้น้ำมันบ่าหม้อที่เคี่ยวจนเหนี่ยวได้ที่แล้วมาผสมกับน้ำมั้น ก๊าดและสีน้ำมันสีแดง สีน้ำตาลหรือสีเหลืองตามต้องการ เพื่อให้ได้เป็นสีพื้นจ้องที่สวยงามในอัตราส่วน 1 :1:1 แล้วใช้ผ้าชุบส่วนผสมทั้งหมดเช็ดทาลงให้ทั่วแล้วนำมาตากให้แห้ง 1 รอบก่อน จากนั้นจึงนำมาทารอบสองเพื่อให้เกิดความมันเป็นเงางาม แต่การทารอบสองจะมีส่วนผสมของน้ำมันบ่าหมื้อที่เข้มข้นขึ้น คือน้ำมันบ่า

หมื้อ 10 ส่วน ต่อน้ำมันก๊าดและสีน้ำมันอย่างละ 1 ส่วนแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

9. การทาสีหลังสี้จ้อง

หลังสี้จ้อง ด้วยสีน้ำมันซึ่งเป็นสีดำชนิดคุณภาพดีก่อนทาต้องหุบจ้องและจัดสี้ให้เรียบ ร้อย แล้วใช้ผ้าฝ้ายชุบสีทาไปบนหลังสี้จ้องโดยใช้คลึงไปมาจนทั่วหลังสี้จ้อง และให้ทาเลยขึ้นไปจนถึงหัวจ้อด้วย เสร็จแล้วกางตรวจดูว่ามีสีเลอะออกไปข้างนอกหลังสี้จ้องหรือไม่ ถ้าเลอะก็ลบออกให้เรียบร้อยก็จะได้จ้องสีพื้นตัดกับขอบก้านสีดำสวยงามเป็น จุดเด่น

10. การเข้าคันจ้อง

คันจ้องหรือด้ามจ้องทำ จากไม้หอบ ซึ่งเป็นไม้ไผ่ป่าชนิดหนึ่ง มีลำขนาดเล็กพอเหมาะกับมือถือ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว นำมาขัดถูให้สะอาดแล้วตัดให้ได้ตามขนาดความยาวตามขนาดของตัวจ้องดังนี้คือ

จ้องขนาด 20 นิ้ว คันจ้องยาว 30 นิ้ว

จ้องขนาด 17 นิ้ว คันจ้องยาว 25 นิ้ว

จ้องขนาด 14 นิ้ว คันจ้องยาว 20 นิ้ว

เมื่อตัดได้ขนาดแล้วก็นำ มา “ เข้าม้า “ คือไกค้ำคันจ้องโดยเจาะรูให้ห่างจากส่วนบนสุดประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยทำเป็นรูยาวทะลุทั้ง 2 ข้างของลำไผ่ เพื่อเว้นช่องให้ม้าค้ำ 2 อัน สอดเข้าไปยันกันไว้ แล้วตอกยึดโดยเจาะรูเล็กๆแล้วยึดด้วยไส้ไม้เพื่อให้สวยงาม

ปัจจุบันไม้คันจ้องใช้ ไม้จิง เช่น ไม้สัก ไม้โมกมัน ไม้เดื่อ เป็นต้น แล้วใช้ไม้(ไก)เหล็กหรือเส้นลวดฝังเข้าไป ซึ่งม้าเหล็กทำจากเหล็กเส้นลวดที่ฝั่งในขอบของยางรถยนต์เพราะมีความแข็งและ เหนียวทนทาน

11. การครอบหัวจ้องและผูกห่วงจ้อง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการ ครอบหัวจ้องและการผูกห่วงจ้องการครอบหัวจ้องทำได้ 2 แบบ แบบแรกคือครอบด้วยโลหะทำจากฝากระป๋องสีครอบลงบนหัวสุดของจ้องแล้วตอกยึดด้วย ตะปู จะเห็นเป็นโลหะสีทองวาวงาม อีกแบบหนึ่งคือครอบด้วยไม้เรียกว่า “ ไม้จิกจ้อง ” โดยทำเป็นจุกที่กลึงเป็นรูปสวยงามแล้วเสียบลงไปในรูหัวจ้องด้านบนแล้วตอกยึด ด้วยตะปูอีกชั้นหนึ่ง บางอันทาทับด้วยสีดำ บางอันก็ใช้แลคเกอร์ทาแสดงเป็นสีไม้ธรรมชาติก็ได้

ส่วนห่วงนั้นทำจากไม้ตอก จักเหลาเป็นเส้นบางๆแล้วหุ้มปิดด้วยกระดาษสา ร่มทุกคันจะมีห่วงร่มผูกติดกับร่มไว้ด้วยเมื่อเวลาหุบแล้วจะได้ใส่ห่วงรัด เก็บให้เรียบร้อย ไม่เกะกะแลดูสวยงาม

อนึ่งสำหรับจ้องที่หุ้มด้วยกระดาษนี้ มีศัพท์ภาษาขอมเรียกว่า ทุงยู ดังปรากฎป็นชื่อวัดแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองเชียงใหม่