วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
16/10/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

 

นาฏดุริยการล้านนา วันอังคารที่  21  ธันวาคม  2547 - คร่าว

วรรณกรรมประเภทคร่าว ของล้านนาได้รับความนิยมอยู่ในช่วง พ.ศ. 2370 – 2510 ซึ่งระยะแรกถูกเขียนลงพับสา ต่อมามีการพิมพ์จำหน่ายอย่างแพร่หลาย และในเนื้อหาของวรรณกรรมประเภทคร่าวนี้ ก็ปรากฏการแสดงดนตรี การละเล่นมากมาย ดังที่ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี  ได้ศึกษาไว้ในรายงานการวิจัยเรื่อง  “จารีตนิยมในการแต่งวรรณกรรมคร่าวซอ” โดยสรุป ดังนี้การแสดงดนตรี-ขับร้อง             
1. ยิ้ง:  การขับทำนองเสนาะ
2. ซอ: การขับโต้ตอบระหว่างชายกับหญิง มีปี่ชุดบรรเลงประกอบ
3. ช้อย (อ่าน “จ๊อย”) :การขับทำนองเสนาะจากบทคร่าว
4. ซอเงี้ยว: การซอทำนองแบบเงี้ยว
5. ซอม่าน: การซอทำนองพม่า
6. เซิ้งลาว: เซิ้งแบบลาวหรืออีสานที่มีแคนประกอบ
7. กลองสะบัดชัย
8. พาทย์ค้อง (อ่าน “ป้าดก๊อง”): การบรรเลงดนตรีที่มีระนาดและฆ้องวงเป็นจุดเด่น
9. แตรวง
10. เครื่องสาย
11. กลองมองเซิง:
12. กลองแขก

เครื่องดนตรี

  1. ค้อง (ฆ้อง)   
  2. กลอง
  3. สว่า (ฉาบ) 
  4. พาน 
  5. ซึง   
  6. ธะล้อ (ซอ) 
  7. ปี่ (ปี่ประกอบการขับซอ) 
  8. แน (ปี่มอญ) 
  9. ขลุ่ย
  10. แคน
  11. พิณ
  12. เพียะ (อ่าน เปี๊ยะ = พิณน้ำเต้า)

การแสดง การละเล่น

  1. ละคร       
  2. หุ่น         
  3. โขน         
  4. หนัง       
  5. มโนห์รา           
  6. ลิเก          
  7. ภาพยนตร์
  8. ชักยนต์ 
  9. กาจับหลัก  
  10. ปล่อยนก  
  11. ปีนบันไดดาบ  
  12. ไต่เชือกหนัง 
  13. ชกมวย  
  14. เล่นกล   
  15. เล่นลอดบ่วง 
  16. จุดดอกไม้เพลิง
  17. จุดบั้งไฟ  
  18. ฟ้อนเจิง 
  19. ฟ้อนดาบ 
  20. ฟ้อนม่าน (รำแบบพม่า)
  21. ฟ้อนเงี้ยว
  22. รำแขก           

การแสดง การละเล่น และเครื่องดนตรีที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะมีวัฒนธรรมพื้นบ้านแล้ว  ยังมีวัฒนธรรมไทยภาคอื่นๆ และวัฒนธรรมตะวันตกที่ผ่านมาทางกรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งหากกล่าวถึง ความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมนี้ มีจุดเริ่มต้นจากแบบอย่างที่เจ้าผู้ครองนครรับมาจากกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า ความเป็นอยู่ในคุ้ม มีการจำลองชีวิตราชสำนักจากกรุงเทพฯ จ้างนางละครมาแสดง พร้อมได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนรำในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ด้วย ดังนั้น ในคุ้มหลวงจะมีการแสดงตามที่ปรากฏในบันทึกของ ไวซ์กงสุล ในหนังสือ “ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์”  ตอนหนึ่งว่า “เวลาผ่านไปกูลด์เริ่มสังเกตเห็นกิจวัตรประจำวันในหอกลาง ทุกเย็น…จะมีวงฟ้อนรำมโหรีซึ่งประกอบไปด้วยหญิงสาวสวยทั้งชาวพม่า ลาว ไทย จนถึงสามสี่ทุ่ม”

  1. ค้อง (ฆ้อง)   
  2. กลอง
  3. สว่า (ฉาบ) 
  4. พาน 
  5. ซึง   
  6. ธะล้อ (ซอ) 
  7. ปี่ (ปี่ประกอบการขับซอ) 
  8. แน (ปี่มอญ) 
  9. ขลุ่ย
  10. แคน
  11. พิณ
  12. เพียะ (อ่าน เปี๊ยะ = พิณน้ำเต้า)

การแสดง การละเล่น

  1. ละคร       
  2. หุ่น         
  3. โขน         
  4. หนัง       
  5. มโนห์รา           
  6. ลิเก          
  7. ภาพยนตร์
  8. ชักยนต์ 
  9. กาจับหลัก  
  10. ปล่อยนก  
  11. ปีนบันไดดาบ  
  12. ไต่เชือกหนัง 
  13. ชกมวย  
  14. เล่นกล   
  15. เล่นลอดบ่วง 
  16. จุดดอกไม้เพลิง
  17. จุดบั้งไฟ  
  18. ฟ้อนเจิง 
  19. ฟ้อนดาบ 
  20. ฟ้อนม่าน (รำแบบพม่า)
  21. ฟ้อนเงี้ยว
  22. รำแขก           

การแสดง การละเล่น และเครื่องดนตรีที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะมีวัฒนธรรมพื้นบ้านแล้ว  ยังมีวัฒนธรรมไทยภาคอื่นๆ และวัฒนธรรมตะวันตกที่ผ่านมาทางกรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งหากกล่าวถึง ความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมนี้ มีจุดเริ่มต้นจากแบบอย่างที่เจ้าผู้ครองนครรับมาจากกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า ความเป็นอยู่ในคุ้ม มีการจำลองชีวิตราชสำนักจากกรุงเทพฯ จ้างนางละครมาแสดง พร้อมได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนรำในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ด้วย ดังนั้น ในคุ้มหลวงจะมีการแสดงตามที่ปรากฏในบันทึกของ ไวซ์กงสุล ในหนังสือ “ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์”  ตอนหนึ่งว่า “เวลาผ่านไปกูลด์เริ่มสังเกตเห็นกิจวัตรประจำวันในหอกลาง ทุกเย็น…จะมีวงฟ้อนรำมโหรีซึ่งประกอบไปด้วยหญิงสาวสวยทั้งชาวพม่า ลาว ไทย จนถึงสามสี่ทุ่ม”

 

 

อีกตอนหนึ่ง กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายหลุยส์กับพระเจ้าอินทวิชยานนท์ว่า “เข้ากันดี” ในรสนิยมว่า “ในขั้นแรกเขาติดอกติดใจในลีลาอ่อนช้อยของนาฏศิลป์ แห่งราชสำนักล้านนา จนถึงกับตั้งคณะช่างฟ้อนของตนเองขึ้นมาประชัน”หลุยส์ ที.เลโอโดเวนส์ ผู้ติดใจในลีลานาฎศิลป์ล้านนาถึงขั้นตั้งคณะช่างฟ้อนขึ้น ประชันกับพระเจ้าอินทวิชยานนท์    จะ เห็นได้ว่า ดนตรีการทั้งดนตรีล้วนๆ และดนตรีประกอบการแสดงจะรวมกันอยู่ในคุ้มหลวง  หลักฐานในวรรณกรรมก็แสดงไว้เช่นนั้น  เพราะฉากละครที่มีการแสดงล้วนเป็นงานเฉลิมฉลอง อันเป็นกิจกรรมของหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ทั้งสิ้น

หากมองออกนอกคุ้มหลวงไปดูระดับชาวบ้าน พอจะมีหลักฐานเป็นบันทึกกล่าวถึงอยู่บ้าง เช่น “โคลงนิราศระยะทางเมืองเชียงใหม่” ของพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันท์) ซึ่งท่านรับราชการตำแหน่งข้าหลวงตระลาการศาลต่างประเทศ ในเชียงใหม่สมัยรัชกาลที่ 5  แรกเริ่มเดินทางเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2425) ขณะผ่านหมู่บ้านป่างิ้ว เขตอำเภอสารภี ท่านบันทึกว่า ได้ยินเสียงซอและขลุ่ย ในบทที่ 318 ว่า

    “ป่างิ้วงามเงื่อนงิ้ว  งามลออ  เสียงส่งประสานซอ  ขลุ่ยซ้อน”

หนังสือ “ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง”  กล่าวถึง ขบวนแห่ในงานแต่งงานของเจ้าราชบุตรเมืองลำปาง ซึ่งบันทึกโดย คาร์ล  บอค์ค นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่ได้เข้ามาสำรวจภูมิศาสตร์เมืองไทยในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) ความตอนหนึ่งว่า “วันรุ่งขึ้น (2 มกราคม 2425) ถึงกำหนดวันแต่งงานของเจ้าราชบุตร…จวนเที่ยงก็มีวงดนตรีแห่กันไปรอบเมือง ดนตรีนั้นเป็นดนตรีประสานเสียง มีกลอง ค้อง และขลุ่ย มีหมู่นักร้องเพลงช้าๆ ที่ฟังคล้ายเพลงแห่ศพมากกว่าเพลงแต่งงาน”

นอกจากนี้ คาร์ล  บอค์ค ยังได้กล่าวถึงขบวนแห่ลูกแก้ว (นาคสามเณร) ที่ลำพูน โดยมีกลองและขลุ่ยเป็นเครื่องประโคม ดังความว่า “…แห่กันเป็นขบวนมโหฬาร มีทั้งกลองสั้นและกลองยาวตีแข่งกัน พวกผู้ชายที่เป่าขลุ่ยได้ก็เป่าขลุ่ยแข่งกับเด็กพวกที่ไม่เป่าขลุ่ยแต่เดิน ตะเบ็งเสียง เพื่อให้รู้แน่กันลงไปว่าใครจะแผดเสียงได้แสบแก้วหูที่สุด”คาร์ล บอค์ค นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่เข้ามาสำรวจภูมิศาสตร์ในเมืองไทย จากบันทึกดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ความซับซ้อนจะลดลงเมื่อออกไปนอกคุ้มหลวง  โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจในเรื่องของดนตรีล้านนาอีกประการหนึ่งคือ วัฒนธรรมพื้นบ้านมีลักษณะเป็น วัฒนธรรมรวม กล่าวคือ มีการแสดงของชนเผ่าผสมผสานไปด้วย โดยเฉพาะชนเผ่าที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ได้แก่ ม่าน (พม่า) เมง (มอญ) เงี้ยว (ไทใหญ่) ซึ่งมีทั้งซอม่าน ฟ้อนม่าน ฟ้อนเมง เป่าแน (ปี่มอญ) ซอเงี้ยว ตีกลองมองเซิง (ของไทใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ    การแสดงเหล่านี้ บางอย่างเป็นการแสดงดนตรีล้วน และการแสดงบางอย่าง เช่น ฟ้อนมีดนตรีประกอบ อย่างไรก็ตาม เมื่อสรุปความตามที่กล่าวในตอนต้นนี้  อาจกล่าวได้ว่ามีการละเล่นดนตรีตั้งแต่แบบเดิม แบบที่มาจากต่างชาติต่างถิ่น แบบที่มาจากราชสำนักกรุงเทพฯ และแบบที่เล่นทั่วไปในท้องถิ่น การละเล่นนี้บางส่วนปรากฏในรูปการแสดง  บางส่วนมีการถ่ายทอด โดยเฉพาะดนตรีและการฟ้อนรำจากราชสำนัก

สนั่น   ธรรมธิ

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้นฉบับ : http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2547/12/21/