สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "ทง" (ไทย-ตง ล้านนา-ต๋ง)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "ทง" (ไทย-ตง ล้านนา-ต๋ง)

ต๋ง(ตง) (ภาคเหนือออกเสียง "ต๋ง") เป็นไม้เหลี่ยมขนาดเล็กกว่าแวง ใช้พาดยึดติดและตั้งฉากบนแวง ก่อนจะปูไม้พื้นเรือน

การวางต๋ง จะวางตามแนวความยาวของเรือน จึงมีขนาดความยาวเท่ากับตัวเรือน และวางเรียงกันถี่ เว้นระยะห่างกันประมาณ 20 เซนติเมตร เรือนล้านนาแต่ละหลังจึงใช้ไม้ทง(ต๋ง)เป็นจำนวนมาก

พบเฉพาะเรือนกาแล และเรือนไม้ยุคเก่าของล้านนาที่มีจำนวนเสามาก การวางไม้ต๋ง จะวางโดยใช้หน้าไม้นอนรับไม้ปูพื้นเรือน ไม่ใช้สันไม้ตั้งรับ ดังเช่นเรือนปัจจุบัน

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์  อินถาบุตร
และนักศึกษาสาขาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/03.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่