สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง"


พื้นเรือน ใช้ไม้ปูพื้นส่วนใหญ่เป็นไม้สักและไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะเป็นไม้แบนหน้าไม่กว้าง การปูไม้พื้นเรือนวางตามแนวยาวของเรือน โดยพื้นเรือนปูตามแนวขวางของทง(ต๋ง) แต่ไปในทางเดียวกันกับแวง

ไม้แป้นต้อง (ท่อง= เทียว ออกเสียง เตียว) เป็นไม้แผ่นเดียวขนาดกว้าง และหนากว่าไม้ปูพื้นเรือน เป็นไม้แผ่นเดียววางพาดตามแนวทง(ต๋ง)บนหัวเสา เฉพาะกึ่งกลางห้องนอน เพื่อป้องกันการสะเทือนขณะเดินเข้าห้องนอน ไปยังอีกฟากหนึ่งของห้อง และยังทำหน้าที่แบ่งห้องนอนเป็นสองส่วนอีกด้วย

พบเฉพาะเรือนกาแล พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมฯ ม.ช. พื้นห้องนอนใช้ไม้ฟาก(ไม้ไผ่สับ) ปูเป็นพื้นห้องส่วนที่นอน เพื่อช่วยในการระบายอากาศในห้องนอน ส่วนอีกฟากหนึ่งของห้องนอนปูด้วยไม้ปูพื้น

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์  อินถาบุตร
และนักศึกษาสาขาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/04.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่