สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "ขื่อ"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "ขื่อ"


ขื่อ เป็นไม้เหลี่ยมใช้ไม้สักมีขนาดยาวตามขนาดความกว้างของเรือน มีความกว้าง(หนา) ใกล้เคียงกับเสา

การประกอบขื่อกับเสา จะ มีการเจาะรูส่วนปลายทั้งสองของขื่อ เพื่อเอาไปร้อยกับหัวเสา (เดี่ยวหัวเสา/เอก/หัวเทียน) ที่ได้ทำเป็นเดือยยาว (ภาษาไทยกลาง เรียก เสาหัวเทียน) เพื่อสอดรูปลายขื่อทั้งสองด้าน สำหรับให้วางขื่อสวมรับกับหัวเทียนเสาได้พอดี ส่วนเสากลาง(เสาดั้งตั้งดิน)ของเรือน จะบากเนื้อไม้เสาและขื่อออกเพื่อให้ประกบกันได้พอดี โดยจะเจาะรูปเสาให้ทะลุไปถึงขื่อ เพื่อตอกสลักไม้ยึดในการประกบขื่อกับเสาดั้งให้แน่นยิ่งขึ้น และส่วนปลายสุดของขื่อ มีการการบากร่องเพื่อเอาไว้รับ "แป(แป๋)หัวเสา" ด้วย

ในบางกรณี "เสา" สั้นเกินไปทำเดี่ยวหัวเสาไม่ได้ จะใช้วิธีควั่นหัวเสาให้เป็นรูตรงกลางหัวเสา และเหลาไม้ให้เป็นทรงกระบอกตามขนาดรูเสาที่ควั่นไว้ และตอกไม้ลงไปให้แน่น โดยเหลือปลายไว้เพื่อสอดขื่อและแป(แป๋)ภายหลัง เมื่อมีส่วนที่เลยขื่อและแป(แป๋) ไปมากจะใช้มีดหรือเลื่อยตัด (สิน) ส่วนที่เลยยื่นจากหลังไม้แป(แป๋) ทิ้งไป

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์  อินถาบุตร
และนักศึกษาสาขาสื่อและการผลิตสื่อ 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/05.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่