การขนข้าว (1) - อุปกรณ์การขนข้าว

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
05/11/2008
ที่มา: 
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/
การขนย้ายข้าวเฟ่า

เมื่อข้าวที่ตากไว้แห้งดีแล้ว ชาวไร่ชาวนาจะเก็บรวบรวมข้าวที่วางตากไว้ เรียกว่า “เมาะข้าว” นำมารวมกันบนตอข้าวเป็นกองๆ ข้าวแต่ละกองนี้เรียกว่า “ข้าวเฟ่า”



:: ตากข้าวเต็มทุ่งนา ::


:: ตากข้าวไร่ ::


:: เก็บรวบรวมข้าวที่ตาก (เมาะข้าว) ::


:: ข้าวเฟ่า ::

อุปกรณ์การขนข้าว
อุปกรณ์ในการลำเลียงข้าว
     หลังจากเมาะข้าวแล้ว ก็จะขนข้าวไปรวมที่ตารางหรือใกล้ๆ ตาราง ในการขนข้าวนอกจากการใช้มือหอบแล้ว ชาวไร่ชาวนามีอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงในการขนย้ายหลายชนิด เช่น หลาว ม้าว ขาหมา เป๊อะ ผ้า เป็นต้น


:: หลาวไม้จริงวางแบบคว่ำอยู่บนขาหยั่ง ::


:: หลาวไม้ไผ่ ::

หลาว
หลาวเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาบ ที่มีลักษณะปลายทั้งสองข้างแหลมเพื่อใช้เสียบมัดข้าว วัสดุที่ใช้ทำหลาวมีทั้งไม้ไผ่และไม้จริง
หลาวไม้จริง ทำจากไม้จริงที่นำมาทำให้เรียวยาว ส่วนปลายทั้งสองข้างแหลมตรงหรืองอนเล็กน้อย เจาะรูตรงกลาง 2 รูเพื่อสอดขาหยั่งเข้าไปเมื่อจะใช้งาน
หลาวไม้ไผ่ ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ โดยเฉือนปลายทั้ง 2 ข้างให้แหลมในลักษณะขนานกัน เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของมัดข้าวได้ และไม่หักง่าย      
ม้าว
     ม้าวทำจากเชือกปอหรือฟางข้าวนำมาพันกันเป็นเส้น ยาวประมาณ 1 เมตร    



:: ม้าว::

ขาหมา
ชาวนาในบางพื้นที่จะหาบข้าวด้วยเครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ขาหมา” บางพื้นที่เรียกว่า “หาบโจ้” ลักษณะของขาหมาประกอบด้วยตัวหมาทำจากไม้ไผ่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ4 นิ้ว ยาวประมาณ 1.20 เมตร ทำขาเป็นรูปกาก บาด 2 คู่ ขาไม้ที่ทะลุตัวไม้ขึ้นมา จัดทำเป็นกะบะสำหรับใส่รวงข้าว บุด้วยเสื่อลำแพน


   
:: ขาหมา ::

ตะกร้าหรือกระบุง
ตะกร้าหรือกระบุง เป็นเครื่องสานทรงสูง ปากตระกร้ากลมหรือรีๆ นิยมใช้ในกลุ่มของชาวกะเหรี่ยง ชาวม้ง ชาวขมุ และชาวลัวะ ลักษณะของตะกร้าหรือกระบุงนี้แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น “เป๊อะ” (ในบางพื้นที่คำว่า “เป๊อะ” มี 2 ความหมายคือ หมายถึงภาชนะใส่ของ และวิธีการแบกโดยใช้ศีรษะหรือบ่าในการรับน้ำหนัก) “ก๋วย” “กึ” เป็นต้น


:: “เป๊อะ” ของชาวม้ง ::


:: “กึ” ของชาวกะเหรี่ยง ::


:: “เป๊อะ” ของชาวขมุ ::


:: “ก๋วย” ของชาวลัวะ ::

ผ้า
ชาวกะเหรี่ยงบางพื้นที่จะใช้ผ้าห่มขนาดใหญ่ในการขนข้าว


:: ผ้าที่ใช้ขนข้าวของชาวกะเหรี่ยง ::

เอกสารอ้างอิง
จันทบูรณ์ สุทธิ ,การเกษตรแบบตัดฟันโค่นเผาบนพื้นที่สูง วิทยาการพื้นบ้าน เชียงใหม่ : หจก.   นันทกานต์ กราฟฟิคการพิมพ์.,2539

ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น และ นิรันดร์ ยงไสว ,เทคนิควิทยาพื้นบ้านล้านนา. ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว บรรณาธิการ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.,2541

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ คณะ ,โครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานวิจัย เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545.
มณี พยอมยงค์  ,วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.,2529.

 


ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/
และ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า