วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
05/11/2008
ที่มา: 
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/



:: มัดข้าวเสียบที่ปลายหลาว :: (ภาพจากพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง จังหวัดเชียงใหม่)

 

วิธีการขนข้าว
การหาบ
การขนข้าวโดยการหาบนั้น จะนำมัดข้าวมาเสียบที่ปลายทั้ง 2 ข้างของหลาว โดยให้ด้านที่มีรวงข้าวห้อยลงแล้วหาบไป
การหาบข้าวโดยใช้หลาวนี้ บางพื้นที่เรียกว่า “หาบข้าวหลาว”

การแบก
นอกจากการหาบแล้วชาวไร่ชาวนายังมีวิธีขนข้าวโดยการ แบกขึ้นหลังหรือไหล่ ดังนี้   



:: การแบกโดยใช้ศีรษะรองรับน้ำหนัก ::

การใช้ตะกร้าหรือกระบุง

การแบกโดยใช้ตะกร้าหรือกระบุงมี 2 ลักษณะคือ การใช้ศีรษะรองรับน้ำหนักและการใช้ไหล่รองรับน้ำหนัก



:: การแบกโดยใช้ไหล่หรือบ่ารับน้ำหนัก ::

การใช้ไม้ไผ่
ในบางพื้นที่ จะใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร รองรับข้าวเฟ่าแล้วแบกขึ้นบ่า



:: ใช้ไม่ไผ่รองด้านล่างข้าวเฟ่า ::


:: ใช้ไม้ไผ่ช่วยในการแบกข้าว ::

การใช้ม้าว
การใช้งานจะนำม้าวไปรวบข้าวเฟ่า รัดให้แน่น แล้วแบกขึ้นไหล่ทั้ง 2 ข้าง     


:: ใช้ม้าวช่วยแบก ::

การใช้ผ้าห่ม
นอกจากการใช้ “กึ” ในการเป๊อะแล้ว ชาวกะเหรี่ยงบางพื้นที่จะใช้ผ้าห่มขนาดใหญ่ที่ทอเป็นผืนยาวๆ (ดูอุปกรณ์ขนข้าวเฟ่า) แล้วใช้เชือกปอสองเส้นมัดมุมผ้าห่มทั้งสองด้าน เอาข้าวเฟ่าใส่ในผ้าห่ม แล้วแบกเอาไปที่บริเวณที่จะฟาดข้าว

เอกสารอ้างอิง

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ คณะ ,โครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานวิจัย เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2545.


ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/
และ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการเก็บเกี่ยวทุกหัวข้อ คลิ๊กที่นี่จ้า