ประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง - ประเพณีเสนเฮือน

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/11/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ประเพณีเสนเฮือน

ภาค     ภาคกลาง
จังหวัด  ราชบุรี
ช่วงเวลา
เดือนสี่ เดือนหก และเดือนสิบสอง

  • ความสำคัญ

พิธีเสนเฮือน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มคนในสังคม ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างกันได้พบกันเป็นประจำ มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันอาหารในลักษณะผลัดกันเลี้ยงซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมและเกิดความสามัคคีระหว่างญาติพี่ น้องสายเดียวกัน และคนในชุมชน

  • พิธีกรรม

การเสนผีเฮือนจะเตรียมการระยะย่างข้ามปี เพราะจะต้องเตรียมลูกหมูตัวผู้เลี้ยงดูอย่างดีให้หมูโตเต็มที่พอที่จะเลี้ยง ผีและเลี้ยงแขกได้ เจ้าภาพจะปรึกษาหมอเสนเพื่อกำหนดวันทำพิธี ซึ่งถือว่าเป็นมงคล วิธีการหาวันมงคลคือ เริ่มต้นนับจากวันที่ดีที่สุดของตระกูลนับไป ๑๐ วัน หรือ ๑๐ มื้อ ถือวันนั้นเป็นวันดีแต่ต้องไม่ไปตรงกับวันเผาผีของบรรพบุรุษเพราะถือเป็นวัน อัปมงคล

การประกอบพิธีกรรม จะเริ่มตั้งแต่ประมาณตี ๓ (เวลา ๐๓.๐๐ น) ทำพิธีฆ่าหมูตัวที่เลี้ยงไว้ ทำความสะอาดเรียบร้อยนำขึ้นไปวางไว้ในห้องผี หลังจากบอกกล่าวผีเฮือนว่าได้นำหมูมาให้กิน แล้วชำแหละเนื้อออกเป็นชิ้นเพื่อจัดลงบนปานเผือนซึ่งเป็นภาชนะจักสานขนาด ใหญ่มีลักษณะคล้ายกระจาดสำหรับใส่เครื่องเซ่น ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหมูดิบติดกระดูก ๗ ชิ้น ซี่โครงหมู ๗ ซี่ ไส้หมูสุกขดรอบปานเผือน เอาใบตองปิดไว้ชั้นหนึ่ง ชั้นบนวางจุ๊บหมู (ยำหมูกับปลีกล้วย) กองไว้ตรงกลาง เนื้อหมูต้มสุก ๗ ชิ้น ปลาย่างใส่เครื่องแกง ห่อข้าวเหนียว ๗ ห่อ เหล้า ๑ ขวด มันเทศและเผือกอย่างละ ๗ หัว กล้วย อ้อย ผลไม้อื่น ๆ ที่มีอย่างละ ๗ ผล ตะเกียบ ๗ คู่ วางไว้รอบ ๆ ปานเผือน นอกนั้นมีพานหมากพลู น้ำต้มหมู ๑ ถ้วย น้ำธรรมดา ๑ ถ้วย พร้อมไม้เจี๋ย (ไม้ทำความสะอาดฟัน) เนื้อหมูที่เหลือนำไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงผู้มาร่วมงานซึ่งมีทั้งชาวไทยลาว เวียง ลาวพวน และชาวจีนที่อาศัยในหมู่บ้านใกล้เคียง ที่นับถือชอบพอกันเจ้าภาพมาร่วมงานแต่ไม่เข้าร่วมพิธี ผู้มาร่วมงานจะนำเหล้าโรงมาช่วย ๑ ขวด ให้เจ้าภาพนำมาเลี้ยงแขกในงาน ถ้าเหลือก็จะนำไปขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้

  • สาระ

ประเพณีเสนเฮือน หรือประเพณีเซ่นผีเรือนของลาวโซ่งจัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งเชื่อ ว่า บรรพบุรุษของตนที่ตายไปจะได้ไม่อดอยากเป็นอยู่สุขสบาย มีผลให้ลูกหลานมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายด้วย ลาวโซ่งทุกคนจึงต้องทำพิธีเสนผีเฮือนเป็นประจำปีละครั้ง หรือ ๒-๓ ครั้ง เพราะเชื่อว่าถ้าผีบรรพบุรุษอดอยากจะก่อกวนสมาชิกในครัวเรือน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงจะเดือดร้อน ไม่มีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วย เกิดอัปมงคลแก่ครอบครัว ที่สำคัญจะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้จักบรรพบุรุษที่เคยเลี้ยง ดูมา ลาวโซ่งจะไม่ทำพิธีเสนผีเฮือนในเดือน ๙ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อว่าเดือนเก้าเดือนสิบผีเฮือนต้องไปเฝ้าแถน การเสนผีจะไม่ปรากฏผลใด ๆ จึงนิยม เสนเฮือนเดือน ๔ ๖ และ ๑๒ เพราะเป็นเดือนที่ว่าง ข้าวปลา
อาหารสมบูรณ์