วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
13/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ฟ้อนผู้ไทย

ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  นครพนม

  • อุปกรณ์และวิธีเล่น

เครื่องดนตรีอีสาน และเครื่องดนตรีผู้ไทย เช่น แคน กลองหาง ฉิ่ง ฉาบ กลองสองหน้า ซอ พิณ ฆ้องเล็ก ไม้กั๊บแก้บ

วิธีเล่น
หนุ่มสาวชาวผู้ไทย ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรีโดยรำเป็นวงกลมแล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนรำกลางวงเป็น การโชว์ลีลาท่ารำ
ท่าฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร มี ๑๖ ท่า ดังนี้คือ
๑.ท่าโยกหรือท่าเตรียม (ท่าเตรียมโยกตัวไปมาเป็นการอุ่นเครื่องเพื่อจะไปท่าบิน)
๒.ท่าบิน หรือท่านกกะทาบินเลียบ
๓.ท่าเพลิน หรือท่ารำเพลิน
๔.ท่าเชิด หรือ ท่ารำเชิด
๕. ท่าม้วน หรือท่ารำม้วน
๖. ท่าส่วย หรือท่ารำส่วยเปิด
๗.ท่าลมพัดพร้าว
๘.ท่ารำเดี่ยว หรือฟ้อนเลือกคู่
๙.ท่าเสือออกเหล่า
๑๐.ท่ากาเต้นก้อนกินข้าวเย็น
๑๑. ท่าเสือลากหาง
๑๒. ท่าม้ากระทืบโฮง
๑๓. ท่าจระเข้ฟาดหาง
๑๔. ท่ามวยโบราณ
๑๕. ท่าถวายพระยาแถน หรือท่าหนุมานถวายแหวน
๑๖. ท่ารำเกี้ยว

  • การแต่งกายฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร

ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อม่อฮ่อมสีน้ำเงิน คอพระราชทานขลิบแดงกระดุมทองหรือเงิน มีผ้าขาวม้าไหมมัดเอว สวมสายสร้อยเงิน ข้อเท้าทำด้วยเงิน ประแป้ง แต่งหน้าขาวดอกไม้ทัดหูอย่างสวยงาม
ฝ่ายหญิงนั้นนุ่งผ้าถุงและสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินขลิบแดง ประดับด้วยกระดุมทองหรือเงินสวมสร้อยคอ กำไลข้อมือ ข้อเท้าหรือทำด้วยทองหรือเงินตามควรแก่ฐานะของตน มีดอกไม้สีขาวประดับผมหญิงสาวที่จะฟ้อนผู้ไทยเรณูนครต้อนรับแขกจะได้ต้อง เป็นสาวโสด แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนผู้ไทยนั้นฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้ เด็ดขาด (มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวผู้ไทยนับถือผี บ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้)

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

แสดงในเทศกาลต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ไหลเรือไฟวันเพ็ญเดือนสาม และต้อนรับแขกผู้ใหญ่ของจังหวัด เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและมกุฎราชกุมารของต่างประเทศ ฯลฯ

  • คุณค่า /แนวคิด /สาระ

เป็นการนำเอาเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย ด้านการฟ้อนรำ ด้านมวยโบราณ มาแสดงออกเป็นศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้คนทั่วไปได้ชื่นชม

 

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

แสดงในเทศกาลต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ไหลเรือไฟวันเพ็ญเดือนสาม และต้อนรับแขกผู้ใหญ่ของจังหวัด เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและมกุฎราชกุมารของต่างประเทศ ฯลฯ

  • คุณค่า /แนวคิด /สาระ

เป็นการนำเอาเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย ด้านการฟ้อนรำ ด้านมวยโบราณ มาแสดงออกเป็นศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้คนทั่วไปได้ชื่นชม
การฟ้อนผู้ไทยเรณูนครหรือที่ชาวผู้ไทยนิยมเรียกว่า รำผู้ไทย" เป็นประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนผู้ไทยนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมประจำเผ่าของผู้ ไทยเรณูนคร ผู้ไทยแบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่คือ ผู้ไทยดำและผู้ไทยขาว ชาวผู้ไทยดำและผู้ไทยขาว มีสีผิวเป็นสีขาวเหมือนกัน แต่ชาวผู้ไทยดำนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำหรือสีน้ำเงิน สีขาวเป็นสีที่มีสิริมงคล สีแดงเป็นสีแสดงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวผู้ไทยมีนิสัยเปิดเผยและโอบอ้อมอารี มีความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้พบเห็น
การฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชา การฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร" เข้าไว้ในหลักสูตรให้นักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเล่าเรียนกันโดยเฉพาะนักเรียนที่เล่าเรียนอยู่ในถานศึกษาภายใน เขตอำเภอเรณูนคร จะฟ้อนรำประเพณี การฟ้อนผู้ไทย" เป็นทุกคน