ความเชื่อภาคเหนือ - ประเพณีกำฟ้า ของคนพวน ทุ่งโฮ้ง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
23/12/2008
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ประเพณี กำฟ้า ของ คนพวน ทุ่งโฮ้ง

ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด   แพร่

 

  • ลักษณะความเชื่อ

ตามคำบอกเล่าที่เล่าต่อกันมาว่า เจ้าชมภู กษัตริย์ผู้ครองเมืองพวน ได้ยกทัพไปรบกับหลวงพระบางได้ชัยชนะ หลังจากยกทัพกลับเมืองพวนแล้ว เจ้าชมพูก็ไม่ยอมตกเป็นเมืองขึ้นของหลวงพระบางและเวียงจันทน์อีกต่อไป จึงประกาศเป็นเอกราช เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์ จึงยกทัพไปปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมภูประหารชีวิต ในขณะที่ทำพิธีการอยู่นั้น เกิดฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหารชีวิตเจ้าชมภูหักสะบั้นลงทหารแห่งเมือง เวียงจันทน์เตลิดกระเจิงหนี เจ้านนท์ทราบเหตุอัศจรรย์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมภูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม

 

ตามคำบอกเล่าที่เล่าต่อกันมาว่า เจ้าชมภู กษัตริย์ผู้ครองเมืองพวน ได้ยกทัพไปรบกับหลวงพระบางได้ชัยชนะ หลังจากยกทัพกลับเมืองพวนแล้ว เจ้าชมพูก็ไม่ยอมตกเป็นเมืองขึ้นของหลวงพระบางและเวียงจันทน์อีกต่อไป จึงประกาศเป็นเอกราช เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์ จึงยกทัพไปปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมภูประหารชีวิต ในขณะที่ทำพิธีการอยู่นั้น เกิดฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหารชีวิตเจ้าชมภูหักสะบั้นลงทหารแห่งเมือง เวียงจันทน์เตลิดกระเจิงหนี เจ้านนท์ทราบเหตุอัศจรรย์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมภูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม

ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงเกิดการนับถือฟ้าและประเพณีกำฟ้า มาจนถึงทุกวันนี้ พอถึงวันงานกำฟ้าทุกคนจะต้องหยุดทำงานและให้มาร่วมสนุกสนาน ทำบุญ ถ้าไม่เชื่อฟัง ออกไปทำงานอาจถูกฟ้าผ่าตายได้

  • ความสำคัญ

ประเพณีกำฟ้า นับว่ามีความสำคัญต่อชาวไทยพวน ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้ยึดถือมาตลอดและได้จัดประจำทุกปีด้วยความเชื่อถือว่าผู้เข้าร่วมพิธีจะ ไม่ถูกฟ้าผ่าตายได้ชาวหมู่บ้านใกล้เคียงที่ยอมรับเชื่อถือเขาก็จะเข้าร่วม พิธีนี้ด้วยเหมือนกัน

  • พิธีกรรม/กิจกรรม

ในประเพณีกำฟ้าของแต่ละปี
๑. ก่อนงานวันหนึ่ง คือวันขึ้น ๒ ค่ำ เรียกว่าวัน ก๋าต้อน ซึ่งจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหมากเบี้ยขี่ม้าหลังโกง ก่อเล้า เล่นนางด้ง นางกวักและต่อไก่ อย่างสนุกสนาน
๒. ในวันกำฟ้าคือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ชาวไทยพวนจะคอยฟังเสียงฟ้าร้องว่ามาจากทางทิศใด เพราะมีความเชื่อว่าเสียงฟ้าร้องคือเสียงฟ้าเปิดประตูน้ำเพื่อให้ชาวนามีน้ำ ทำนาในปีต่อไป โดยมีการทำนายว่า ถ้าฟ้าร้องทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำนายว่าฝนจะดีทำนาได้ข้าวบริบูรณ์ จะทำให้มั่งมีศรีสุข ถ้าฟ้าร้องทางทิศใต้ จะทำนายว่าฝนแล้ง น้ำท่าไม่บริบูรณ์ การทำนาจะเสียหาย ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ฝนจะตกปานกลาง นาลุ่มดี นาดอนจะเสียหาย ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันตก จะทำนายว่าจะมีความแห้งแล้ง ฝนตกไม่แน่นอน