แหล่งโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เมืองฟ้าแดดสงยาง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
11/01/2009
ที่มา: 
ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

เมืองฟ้าแดดสงยาง

ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  กาฬสินธุ์

  • สถานที่ตั้ง บ้านก้อม ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ประวัติความเป็นมา

เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองในยุคโบราณ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ประมาณ ๑,๔๐๐ ปีล่วงมาแล้ว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น คนพื้นเมืองเรียก ฟ้าแดดสูงยาง ในบทวรรณกรรมท้องถิ่นเรียก ฟ้าแดดสงยาง เรียกตามชื่อบ้านเรียก บ้านเสมา ตามประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต เรียก โนนผึ่งแดดหรือโพนผึ่งแดด เป็นต้น

  • ลักษณะทั่วไป

เมืองฟ้าแดดสงยาง มีพื้นที่ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ไร่ แผนผังเมืองเป็น วงรีมี มีคันดินล้อมรอบเป็นคูเมืองสองชั้นวัดโดยรอบมีความยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร ขนาดผังเมืองยาว ๒,๐๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๑,๓๕๐ เมตร ส่วนประตูเมืองไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าอยู่ตรงคูเมืองทั้ง ๔ ทิศ ภายในบริเวณเมืองเก่ามีร่องรอยโบราณสถานอยู่หลายแห่ง

  • หลักฐานที่พบ

ร่องรอยของศาสนสถาน ๑๔ แห่ง ลักษณะของแผนผังศาสนสถานที่สร้างขึ้นตามคติในพุทธศาสนา เป็นศิลปกรรมแบบทวารวดี พระธาตุยาคู ใบเสมาหินทรายสีแดง ที่มีทั้งเป็นแท่งหินกลม เหลี่ยมและแผ่นศิลา ทั้งแบบแผ่นหินทรายเกลี้ยง แผ่นหินทรายสลักลวดลาย และมีจารึกตัวอักษรโบราณ ที่พบส่วนใหญ่ไม่มีลวดลาย ส่วนแผ่นที่มีลวดลายมักเป็นเสมารูปกลีบบัว จำหลักเป็นลายสถูปแบบทวารวดี ภาพสำคัญคือภาพจำหลักเรื่องราวพุทธประวัติ และมหานิบาติชาดกที่งดงามมาก ทำให้ทราบถึงคติความเชื่อความนิยม รวมถึงการแต่งกายและสถาปัตยกรรมเครื่องไม้ในสมัยนั้น เมืองฟ้าแดดสงยางจึงนับเป็นแหล่งเสมาหินใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออก เฉียงเหนืออีกด้วย ซึ่งใบเสมาในจำนวนนี้กว่า ๑๓๐ แผ่น ที่กรมศิลปากรขึ้น

ทะเบียนไว้ ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินเผา เป็นงานอิทธิพลสกุลช่างฝีมือคุปตะ รุ่นหลัง อายุราว ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี ลูกปัด เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา กล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดีก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ ๗,๐๐๐ ปี และที่น่าสนใจคือ กล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปี เป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มขึ้นในบริเวณนี้ก่อนทุกๆ ที่ในโลก นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ปะปนอยู่ในหลุมขุดภายในบริเวณเมืองโบราณนี้ ด้วย

  • เส้นทางเข้าสู่เมืองฟ้าแดงสงยาง

จากตัวจังหวัดไปตามเส้นทางหลวงสาย ๒๑๔ (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลกรัม