Puey Ungphakorn

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คำพูดและข้อเขียน. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : รวมสาส์น, 2511. (HB 180 ป 47)

เป็นการรวบรวมสุนทรพจน์ คำกล่าว ปาฐกถา บทความ ข้อเขียน และคำขวัญของดร.ป๋วย ที่ได้แสดงและเขียนไว้ในโอกาสต่างๆ ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวม 35 บทความ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่และสะดวกแก่การค้นคว้า

“ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ในศาสนธรรมกับการพัฒนา, หน้า 135-138. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดย พระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (BQ 4570 ศ 7 ป 5)

เป็นการเสนอแนวความคิดของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกี่ยวกับความต้องการโดยทั่วไปของประชาชนในสังคม ที่ต้องการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา ได้รับความรักจากพ่อแม่ ได้รับการศึกษา ได้รับการบริการและสวัสดิการต่างๆ จากรัฐบาลและสังคมอย่างมีคุณภาพ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

“ความใฝ่ฝันของอาจารย์ป๋วย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, ปกหลัง. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท93 ป55)

ดร.ป๋วยได้เขียนจดหมายถึง ธงชัย วินิจจะกูลด้วยมือซ้ายดังข้อความต่อไปนี้ “ประชาธิปไตย เสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งที่ผมปรารถนา”

“อนุญาตให้ใช้ชื่อป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในการขยายห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” หน้า 3. บรรณาธิการโดยทวี หมื่นนิกร. – - กรุงเทพฯ : มาร์เก็ตติ้งมีเดีย, 2523. – - เอกสารประกอบนิทรรศการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 3. (HC 497 ท9 ท5)

เป็นจดหมายที่ ดร.ป๋วย เขียนด้วยมือซ้ายถึงเมธี ครองแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ เพื่อตอบอนุญาตให้ใช้ชื่อท่านในการขยายห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ โดยอาจเรียกชื่อว่า “ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์” หรือ “ห้องสมุดป๋วย”

“แตกเนื้อหนุ่ม 2475.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 22-29. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป4)

กล่าวถึงเรื่องราวที่ดร.ป๋วยยังเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 8 ของโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งสมัยนั้นท่านยังไม่สนใจในเรื่องการเมือง การปกครองและสิทธิ เสรีภาพของราษฎร อีกทั้งในบทเรียนก็ไม่มีการสอนในเรื่องเหล่านี้ ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ 3 ประการ ซึ่งทำให้จิตใจของท่านเริ่มหวั่นไหวเล็กน้อย คือ มีการเริ่มสอนปรัชญาในชั้นมัธยมปีที่ 8 ซึ่งทำให้ท่านได้เริ่มเรียนรู้ว่าความคิดของมนุษย์จะเป็นความคิดที่ประเสริฐได้เมื่ออยู่ในสภาพที่มีเสรีภาพ รวมทั้งได้มีการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครอง และนักเรียนจำนวนหนึ่งใช้สิทธิเสรีภาพเรียกร้องให้โรงเรียนกระทำการบางอย่าง จึงทำให้ท่านและเพื่อนๆ เริ่มสนใจและหาหนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองมาศึกษาจนกระทั่งเมื่อท่านได้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษท่านได้พบกับ พร้อม วัชรคุปต์ ซึ่งเป็นนักเรียนไทยที่นั่น และท่านผู้นี้เองเป็นคนแรกที่ให้สติเรื่องเผด็จการ และประชาธิปไตยแก่ ดร.ป๋วย จึงทำให้ดร.ป๋วย สนใจการเมืองการปกครองของไทยมากขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความท่านยังเสนอความเห็น 2 ประการคือ ไทยจะเจริญได้ก็ต่อเมื่อประชาชนสนใจในเรื่องของบ้านเมือง และลักษณะของบ้านเมืองที่พึงปรารถนา 4 ประการ คือมีสมรรถภาพ เสรีภาพ ความยุติธรรมและการแผ่เมตตากรุณา

แนวทางสันติวิธี ทางเลือกของคนไทยหลัง 6 ตุลาคม. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : ประกายพรึก, 2521. (JQ 1741 ก 2 ป 5)

เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความ และข้อเขียนอันเป็นผลงานของดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในด้านแนวความคิด ชีวประวัติ และประสบการณ์ต่างๆ ของท่านซึ่งประกอบด้วย บทความเรื่องธรรมะแนวทางสันติวิธี เหลียวหลังแลหน้า ดร.ป๋วยกับหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นคำปราศรัยต่อสื่อมวลชน และอาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คำพิพากษาของศาลในเรื่องการหมิ่นประมาทดร.ป๋วย ของนายประหยัด ศ.นาคะนาท สุนทรพจน์ 2509 ที่กล่าวในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย ผู้หญิงในชีวิตของผม-แม่ และส่วนสุดท้ายเป็นบทความเรื่องแตกเนื้อหนุ่มเมื่อ 2475

“บันทึกที่เพิ่งเปิดเผยของป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; แปลโดยทวี หมื่นนิกร. ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความหลัง, หน้า 187-227. บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529. (HB 126 ท 93 ป 58)

“Puey Ungphakorn’s Two Memorandum : — Memorandum I : The Rice Famine and Siam’s Contribution, Memorandum II : Anglo-Siamese Relations and Appendix A and B.” / Puey Ungphakorn. February 25, 1946. – - 19 p. (Manuscript-Copy.) (กต 2 / ภอ 03)

เป็นเอกสารที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เขียนขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งทวี หมื่นนิกร แปลจากเอกสารกระทรวงต่างประเทศ (อังกฤษ) ซึ่งจัดเก็บ ณ สำนักหอจดหมายเหตุ (อังกฤษ) ในเอกสารชุดนี้แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นจดหมายของฮาโรลด์ เจลัสกี้ เขียนถึง ฟีลิป โนเอล เบเกอร์ วันที่ 12 มีนาคม 2489 ซึ่งเขียนแนะนำบันทึกช่วยความจำ 2 ฉบับของดร.ป๋วย ส่วนที่ 2 เป็นบันทึกช่วยจำฉบับที่หนึ่งว่าด้วยการขาดแคลนข้าวและบทบาทการช่วยเหลือของสยาม ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2489 และส่วนที่ 3 เป็นบันทึกช่วยจำฉบับที่สองว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับไทย ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2489 พร้อมทั้งภาคผนวก 2 ภาค

“บันทึกเรื่องชื่อ “ป๋วย”. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิตงานและความหลัง, หน้า 81-83. บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529. (HB 126 ท 93 ป 58)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เขียนจดหมายตอบเปลื้อง ณ นคร ที่มีจดหมายถามถึงความหมายของชื่อ “ป๋วย” ว่า ป๋วย เป็นคำจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็นป้วย แปลตรงตัวได้ว่า “พูนดินที่โคนต้นไม้” ความหมายกว้างๆ คือ “บำรุง” “หล่อเลี้ยง” “เพาะเลี้ยง” และ “เสริมกำลัง” สำหรับสกุล “อึ๊งภากรณ์” อาจหมายความว่า “เหลืองเหมือนแสงอาทิตย์”

“ปณิธานของอาจารย์ป๋วย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะข้าพเจ้า, หน้าปก. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5) (กว 01)

ดร.ป๋วย ได้เขียนโคลงสี่สุภาพ 3 บท ลงบนหน้าแรกของหนังสือ A Study on the Production ซึ่งเป็นหนังสือส่วนตัวของท่านในวันที่ท่านมีอายุครบ 25 ปี ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงความมุ่งหมายและความตั้งใจของดร.ป๋วย ในเรื่องความพยายามเอาชนะสิ่งทั้งปวงด้วยความอุตสาหะ ใจความสำคญในภาษาบาลีที่ดร.ป๋วย นำมาอ้างอิงในโคลงสี่สุภาพนี้คือ “วายเม เถวปุริโส ยาวอตตสส นิปปทา” แปลว่า “เป็นบุรุษพึงพยายามไปจนกว่าจะสำเร็จประโยชน์”

“ป๋วย ช่วงหนึ่งของกาลเวลา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 23-30. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

เป็นบทความที่กล่าวถึง ประวัติดร.ป๋วย การศึกษา การทำงาน การดำรงตำแหน่งในหน้าที่การงานต่างๆ การเสียสละเวลาเพื่อส่วนรวมของท่าน ตอนท้ายของบทความกล่าวถึง สังคมในอุดมคติของ ดร.ป๋วย ว่าเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีสันติไปสู่สังคมที่มีความชอบธรรมมากขึ้น และไปสู่สังคมที่ประชาชนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์

“ผู้หญิงในชีวิตของผม-แม่.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เหลียวหลัง แลหน้า, หน้า 105-130. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : กองทุนเพื่อชนบท สำนักศูนย์บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519. (DS 570.6 ป 55 ก315)

กล่าวถึงแม่ในแง่ต่างๆ ได้แก่ ประวัติส่วนตัวของแม่ นิสัยของแม่ การอบรมลูก ปัญหาเศรษฐกิจของแม่ คาถาของแม่ ได้แก่ความมานะเด็ดเดี่ยว ความรักอิสระและเสรีภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเมตตากรุณา ท้ายบทความได้กล่าวถึงภรรยาของท่านกับของขวัญวันเกิดที่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยนำมามอบให้ท่าน

“ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 120-122. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2526. (DS 570.6 ป 4)

กล่าวถึง ดร.ป๋วย ในสมัยที่ยังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมสอง โดยได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านถูกลงโทษคือ ท่านฟังคำสั่งของอาจารย์ชาวต่างชาติไม่เข้าใจ แต่ท่านแสร้างทำเป็นเข้าใจ และได้ทำตามความคิดความเข้าใจของตนเอง ทั้งนี้เป็นเพราะ “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด” ท้ายบทความท่านได้ให้ข้อคิดแก่นักศึกษา นักค้นคว้า และบุคคลอีกหลายอาชีพว่า ในการที่จะวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ นั้น ควรทราบข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อน

สันติประชาธรรม. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. – - พระนคร : เคล็ดไทย 2517 (DS 570.6 ป 4 2517)

กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ของดร.ป๋วย เช่น ประสบการณ์ทางการเมือง การศึกษา นอกจากนี้ยังมีคำไว้อาลัย คำสดุดีบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งเป็นบุคคลต่งๆ ที่ท่านรู้จัก ท้ายเล่มของฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ได้เพิ่มบทความที่เขียนโดยบุคคลอื่น ซึ่งกล่าวถึงดร.ป๋วย ในแง่มุมต่างๆ ทำให้ผู้อ่านรู้จักท่านได้ดียิ่งขึ้น

“เสียชีพอย่าเสียสิ้น.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 2-19. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

เป็นการกล่าวสดุดีความกล้าหาญและความเสียสละของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ได้ร่วมกันเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความชอบธรรมของประชาชนได้สำเร็จในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 พร้อมกันนี้ได้เสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ประชาชนและรัฐบาลควรจะกระทำเพื่อให้ประเทศชาติเกิดความสันติสุขและสามัคคีกัน โดยท่านได้ให้ข้อเสนอแนะ 6 ข้อคือ 1. ควรสอบสวนข้อเท็จจริงในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทำร้ายซึ่งกันและกันได้อีก 2. ลบล้างการใช้อำนาจอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครอง 3. ควรมีรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมเสรีภาพและทำให้การเปลี่ยนรัฐบาลเป็นไปโดยสันติวิธี 4.ควรมีการพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชนอย่างระมัดระวัง 5. มีการประนีประนอมในชาติไทย 6. ส่งเสริมพลังงานเยาวชนเพื่อสร้างชาติไทย

เสียชีพอย่าเสียสิ้น. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ตอนคือ ตอนที่ 1 ความหวังและทางออกกล่าวถึงเสียชีพอย่าเสียสิ้น ทางออกของไทยหลังสงครามอินโดจีน ความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ ตอนที่ 2 การศึกษาและการพัฒนาสังคม กล่าวถึงการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกับสังคมไทย จุดมุ่งหมายในการพัฒนาชนบท ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชาติ ตอนที่ 3 เศรษฐกิจและการคลัง กล่าวถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต นโยบายการเงินการคลังในภาวะฝืดเคือง ธนาคารกลาง และตอนที่ 4 ภาคผนวก ประกอบด้วยบทความเรื่อง ดร.ป๋วยพูด ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวในวันที่ 6 ธันวาคม 2516 และการถามตอบปัญหาเกี่ยวกับ ดร.ป๋วย ในคอลัมน์ไขปัญหาโดยศุขเล็ก จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

“เสียดายโอกาส.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์ 2509, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - พระนคร : เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2509. (HB 180 ธ 46 2509)

เป็นบทความที่ให้ข้อคิดแก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ในการใช้โอกาสที่มีระหว่างวัยหนุ่มสาวให้คุ้มค่า ท่านได้ยกเหตุการณ์เมื่อวันสุดท้ายแห่งชีวิตของบิดา มาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบถึงการเสียดายโอกาสในสิ่งที่ควรจะได้กระทำอย่างเต็มที่

“เหลียวหลัง แลหน้า.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชีวิตงานและความหลัง, หน้า 157-186. บรรณาธิการโดยรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529. (HB 126 ท 93 ป 58)

อันเนื่องมาแต่ 6 ตุลาคม 2519. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 586 ป5)

เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเขียน บทความ บันทึกการสัมมนาปาฐกถา และบทสัมภาษณ์ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารของไทยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งท่านแสดงในต่างประเทศ และถูกแปลถ่ายทอดเป็นภาษาไทยมารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งประกอบด้วย 1. ประวัตินายป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นบทความของมูลนิธิแม็กไซไซ 2. ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 3. แนวทางสันติวิธี 4. แนวโน้มของเมืองไทย 5.โอกาสของความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต 6. การสัมภาษณ์โดยสหพันธ์ชาวไทยเพื่อประชาธิปไตยในฝรั่งเศส 7. การสัมภาษณ์โดยนายเค็น วิงคเลอร์ เกี่ยวกับ “กลุ่มพลังที่สาม” ของไทย 8. การสัมภาษณ์โดยบรรณาธิการสามัคคีสาร

“ดร.ป๋วย พูด.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 280-297. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570. 6 ป 55 ก 3)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวในวันที่ 6 ธันวาคม 2516 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับความคิดและความตั้งใจของท่านในการทำงานเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ โดยเฉพาะงานที่ท่านสนใจมากคือ งานพัฒนาชนบท ท่านได้แสดงความคิดเห็นต่อการที่นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนเรียกร้องให้ท่านมีบทบาทในการเมืองของประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานเพื่อพัฒนาประเทศของรัฐบาล ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ด้วย

Best Wishes For Asia. / Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. (9 HC 412 P 8)

เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเขียน บทความและคำบรรยายปาฐกถา สุนทรพจน์ ซึ่งเป็นผลงานของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ได้แสดงในโอกาสต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่แสดงให้ทราบถึงแนวความคิดของท่านทั้งในด้านจริยธรรมและศาสนา การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง บทความต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้จัดแบ่งเป็น 4 ภาค คื่อ ภาคที่ 1 เป็นบทความเกี่ยวกับหลักปรัชญาในชีวิตประจำวัน ภาคที่ 2 เป็นบทความที่เสนอแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย ภาคที่ 3 เป็นบทความที่เสนอแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภาคที่ 4 บทความเรื่อง Agricultural Research and Economic Development

“Best Wishes for Asia.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp.83-84. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – Address to the Inaugural Session of the New Delhi Conference of the Press Foundation of Asia, February 5, 1973. (9 HC 412 P 8)

กล่าวถึงความปรารถนา 3 ประการของดร.ป๋วย ประการที่หนึ่งขอให้มีสันติภาพทุกหนแห่งในภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลก ประการที่สองขอให้ประชากรชาวเอเชียมีโภชนาการที่ดีเพื่อสุขภาพและสติปัญญาที่ดี และประการสุดท้ายของให้อิสระและเสรีภาพจงเกิดแด่ประชาชนชาวเอเชีย เพราะหากขาดซึ่งอิสระและเสรีภาพนี้แล้ว ความพยายามในการพัฒนาเศรษฐกิจจะไร้ค่าไปทันที

A Siamese for All Seasons : Callected Articles by and about Puey ungphakorn. / Puey Ungphakorn. – - 4 th ed. – - Bangkok : Komol Keemthong Foundation, 1984. (9 B DS 575 P 8 1984)

เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความและข้อเขียนของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในเรื่องต่างๆ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทย สถานการณ์ทางการเมืองของไทยหลัง 6 ตุลาคม 2519 ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องราวเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยในอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และข้อเขียนเกี่ยวกับชีวประวัติ แนวความคิด และการทำงานของดร.ป๋วย นอกจากนี้ยังมีบทความของผู้อื่นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เขียนเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของท่านเพื่อยกย่องเกียรติคุณความดีของดร.ป๋วยด้วย ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้มีข้อเขียนของดร.ป๋วยที่เป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจัดเก็บไว้ที่สำนักหอจดหมายเหตุ ประเทศอังกฤษ

 

ผลงานของผู้อื่น

คิดถึงอาจารย์ป๋วย. / รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ปีการศึกษา 2526. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 2527. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีธรรมศาสตร์. 27 มิ.ย.27. (HB 126 ท93 ป53)

เป็นการรวบรวม บทความ บทกวี บทเพลง บทสนทนา และข้อเขียนจากหนังสือพิมพ์ที่กล่าวสดุดี และกล่าวถึงรำลึกถึงผลงานของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เนื่องในโอกาสต่างๆ อันได้แก่ ชีวประวัติอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บันทึกเรื่องชื่อ “ป๋วย” บรรณานุกรมงานของท่าน โครงการห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ โครงการ Puey’s Collection บทความพิเศษคือ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของอาจารย์ป๋วย และแนวนโยบายการเงินการคลังของดร.ป๋วย กิจกรรมในการจัดงานรำลึกถึงอาจารย์ป๋วย “คิดถึงอ.ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่” เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2527 และกิจกรรมเนื่องในงานวันเกิดอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2526 และปาฐกถาและบทความบางเรื่องของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คิดถึงอาจารย์ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง กรรมการนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 2527. (ศ)

เป็นการรวบรวมบทความต่างๆ เกี่ยวกับ ดร.ป๋วย โดยกล่าวถึงชีวิตและผลงานของท่าน คนดีในฐานะปูชนียบุคคลและอัจฉริยะบุคคล ชีวิตอาจารย์ป๋วยหลัง 6 ตุลาคม 2519 อาจารย์ป๋วยกับคณะเศรษฐศาสตร์ : บทบาทที่ไม่ควรลืม แนวทางสันติวิธีทางเลือกคนไทย หลัง 6 ตุลา ซึ่งดร.ป๋วย เขียนขึ้นเองและแม้ในท่ามกลางความมืดมิดจุดอันสว่างเจิดจ้าย่อมมีได้เสมอ ซึ่งเป็นจดหมายของสุภา ศิริมานนท์ บอกเล่าข่าวคราวของดร.ป๋วย

“คิดถึงอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์…สื่อความรู้สึก ข้ามฟ้าไกล.” / วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. สารคดี 2 (ตุลาคม 2529) : 70-87. (ปว/อ 14)

บทความนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนแรกกล่าวถึงชีวประวัติส่วนตัวของดร.ป๋วย ตลอดจนครอบครัว กิจวัตรประจำวันในขณะที่ท่านพำนักอนยู่ที่บ้านพักชานกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมทั้งประวัติการทำงานและการศึกษาอย่างย่อๆ และส่วนหลังเป็นบทความแสดงทัศนะนานาประการ ซึ่งกล่าวโดยบุคคลผู้ซึ่งเคยร่วมทำงาน และคลุกคลีกับท่านอย่างใกล้ชิด อาทิเช่น นุกูล ประจวบเหมาะ มาสเตอร์บันทูน จูพงษ์เศรษฐ์ ทศ พันธุมเสน คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี

“จอน อึ๊งภากรณ์ พูดถึงพ่อ.” / จอน อึ๊งภากรณ์. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 71-84. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดการ “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (HB 126 ท 93 ป 53)

เป็นการให้สัมภาษณ์ของจอน อึ๊งภากรณ์ เกี่ยวกับดร.ป๋วย ตั้งแต่การพบรักครั้งแรกของดร.ป๋วย กับภรรยา การใช้ชีวิตในครอบครัว การอบรมดูแลลูกและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวระหว่างพ่อ-แม่-ลูก และความรู้สึกของดร.ป๋วย ต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ตลอดจนความประทับใจที่มีต่อ ดร.ป๋วย ผู้เป็นบิดา

“70 ปี อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 9 มีนาคม 2529.” / มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส “70 ปี อาจารย์ป๋วย” 9 มีนาคม 2529. (มธ 6.19)

เป็นจุลสารแจกในงาน 70 ปี ดร.ป๋วย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529 เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย บทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประพันธ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ดร.ป๋วย วัตถุประสงค์ในการจัดงานและชีวประวัติโดยย่อของท่าน พร้อมกันนี้ได้แนะนำโครงการต่างๆ ที่เป็นการเทิดเกียรติคุณแด่ ดร.ป๋วย ได้แก่โครงการห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ อนุสรณ์รูปปั้น ดร.ป๋วย และมูลนิธิอาจารย์ป๋วย ท้ายเล่มมีหมายกำหนดการจัดงานที่ระลึก “70 ปี อาจารย์ป๋วย” วันที่ 7-9 มีนาคม 2529 ประกอบด้วย

ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์. / รวบรวมโดย คณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท93ป53)

เป็นการรวบรวมบทความ ข้อเขียน และบทกวีของบุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใกล้ชิดและเคยร่วมงานกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณและคุณงามความดี ตลอดจนแนวความคิดอันมีคุณค่าในด้านต่างๆ ของท่าน ที่ปรากฎแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้นำข้อเขียนของดร.ป๋วย ในเรื่อง “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวังจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” และ “ความรู้เรื่องเมืองไทย. มารวมไว้ด้วย

“ชีวประวัติอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / ใน แด่อาจารย์ป๋วย : รวมบทความการเงินการธนาคาร และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ, หน้า 321-323. บรรณาธิการโดยนภพร เรืองสกุล ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และดวงมณี วงศ์ประทีป. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. (HC 445 น4)

“ชีวิตและงาน อ.ป๋วย.” ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่, หน้า 2-7. – - กรุงเทพฯ :มูลนิธิโกมลคีมทอง กรรมการ นศ.เศรษฐศาสตร์ องค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 2527. (ศ)

กล่าวถึงประวัติของดร.ป๋วย ตั้งแต่เกิด ชีวิตในครอบครัวของท่านตลอดจนการศึกษาในชั้นต่างๆ ประวัติการทำงานตั้งแต่ครั้งแรก การเลื่อนตำแหน่ง การดำรงตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งชั้นผู้น้อย หรือตำแหน่งสูงเพียงใด ดร.ป๋วยได้ใช้ความอุตสาหะ และซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ ในบางครั้งต้องใช้ความกล้าหาญ เมื่อสิ่งที่ดร.ป๋วย ทำไปขัดผลประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การตัดสินใจทำการใดๆ ท่านจะยึดเอาผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

“ด้วยความรักและระลึกถึง.” / ศุกรเลิศ. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 166-178. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2517. (DS 570.6 ป 4 2517)

กล่าวถึงดร.ป๋วย ในแง่มุมที่คนภายนอกมองไม่เห็น นั่นคือ ที่อยู่อาศัย การปฏิบัติตนภายในครอบครัว การอบรมสั่งสอนบุตรธิดา ชีวิตภายในครอบครัว มนุษย์สัมพันธ์ การปฏิบัติตนในการทำงาน และอุปนิสัย ตอนท้ายของบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงเจตนาในการเขียนบทความนี้

“บทสนทนา คิดถึงอาจารย์ป๋วย.” / ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคนอื่นๆ.” ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 46-86. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตรา, 2527. (HB 126 ท93 ป55)

“บทสนทนา ดร.ป๋วยที่ข้าพเจ้ารู้จัก.” / อรัญ ธรรมโน เสนาะ อูนากูล และสุวัฒน์ วรดิลก. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 93-119. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท93 ป55)

“บรรณานุกรมงานของป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความหลัง, หน้า 235-244. บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529. (HB 126 ท93 ป58)

รวบรวมรายชื่อผลงานของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในรูปแบบของบรรณานุกรม แยกตามประเภทคือ งานเขียนวิทยานิพนธ์ หนังสือภาษาอังกฤษ ตำราภาษาไทย หนังสือทั่วไป หนังสือแปล หนังสือตรวจสอบการแปล บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเงินและการคลัง เศรษฐกิจระหว่าสงประเทศ ประชากรและแรงงาน การศึกษา การศึกษาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สังคมกับการเมือง ประวัติบุคคลและคำไว้อาลัย และอัตชีวประวัติ ผลงานประเภทสุดท้าย ได้แก่ หนังสือว่าด้วย ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“ปฐมลิขิตว่าด้วยบันทึกของป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / สมบูรณ์ ศิริประชัย. ใน ห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ 2524, หน้า 20-32. บรรณาธิการโดยปราณี ทินกร. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2524. (HC 497 ท9 ป385) (กต 2/อ 02)

เป็นบทความที่แนะนำพร้อมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสาเหตุและเจตนาของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในการเขียนบันทึกช่วยจำ (Memorandum) ขึ้น 2 ฉบับ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้ว คือเอกสารเรื่อง “การขาดแคลนข้าวและบทบาทการช่วยเหลือของสยาม” และ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอังกฤษกับไทย” ทั้งนี้ เพื่อชี้แจงและโน้มน้าวรัฐบาลประเทศอังกฤษให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ไทยไม่ได้เต็มใจร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความหลัง. / บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529 (HB 126 ท 93 ป 58)

จัดทำเนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นการรวบรวมข้อเขียนเกี่ยวกับดร.ป๋วย ที่เขียนโดยดร.ป๋วยเองและเขียนโดยคนอื่นไว้ด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ ภาคที่ 1 ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความคิด ภาคที่ 2 ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พื้นความหลัง และภาคที่ 3 ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับสงครามโลกครั้งที่สอง : บันทึกที่เพิ่งเปิดเผย และภาคผนวก บรรณานุกรมงานของป๋วย อึ๊งภากรณ์

“ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิตและงาน.” / ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. สไตล์ 3 (2530) : 33-47. (ปว/อ 66)

เป็นบทความที่เขียนถึงประวัติ ชีวิต และผลงานของ ดร.ป๋วย อย่างละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่ ชีวิตของท่านในวัยเด็ก การศึกษา การเข้าร่วมงานกับขบวนการเสรีไทย ขณะศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ การเป็นข้าราชการผู้มีความรู้ ความสามารถในกระทรวงการคลัง ผลงานในขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย นับว่าท่านเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเมืองของประเทศไทย ตอนท้ายมี “ประวัติการทำงานของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์”

ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน : นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก. / สุลักษณ์ ศิวรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2522. (DS 570.6 ป55 ส 7 2522)

เป็นข้อเขียนของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ได้เล่าถึงดร.ป๋วยเกี่ยวกับชีวประวัติ การศึกษา การทำงาน คุณลักษณะอันดีงาม การเป็นบุคคลสำคัญในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความชอบธรรมในสังคมให้กับประชาชนชาวไทย ตลอดจนเหตุกาณณ์ทางการเมืองซึ่งมีผลต่อ ดร.ป๋วย ในทุกช่วงสมัยการทำงานของท่านในฐานะที่ผู้เขียนรู้จักและใกล้ชิดดร.ป๋วยมากพอสมควร หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ได้เพิ่มเติมข้อเขียนจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ในภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วยข้อเขียนของสุรพล เย็นอุรา สุนทรพจน์ขณะที่ดร.ป๋วย ได้รับรางวัลแม็กไซไซ ประเภทข้าราชการประจำปี 2508 และสุนทรพจน์ขณะได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์อีกด้วย

“เรียนอาจารย์ป๋วย ที่เคารพ.” / นักเรียนทุนธนาคารแห่งประเทศไทย. ใน แด่อาจารย์ป๋วย : รวมบทความการเงิน การธนาคารและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ, ไม่ปรากฎเลขหน้า. บรรณาธิการโดย นภพร เรืองสกุล ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และดวงมณี วงศ์ประทีป. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. (HC 445 น 4)

กล่าวถึงความคิดและความตั้งใจของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่ต้องการตอบแทนบุญคุณของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บุคคลเหล่านี้เคยได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารแห่งประเทศไทยในสมัยที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาบุคลากรให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและประเทศชาติด้วยวิธีการจัดให้มีทุนธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อส่งนักศึกษาไปศึกษาวิชาต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่องานของธนาคารแห่งประเทศไทย

“เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ : ศาสตราจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2520 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 ตุลาคม 2521, หน้า 16-18. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2521. (มธ 1.25)

เป็นการกล่าวสดุดีเกียรติคุณของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ได้รับการยกย่องให้ได้รับพระราชทานปริญญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกล่าวถึงผลงานของท่านในการรับราชการซึ่งดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศ ผลงานด้านวิชาการ ผลงานที่เกี่ยวกับประเทศชาติและสังคมคือ เป็นผู้เสนอหลักการและแนวความคิดในการดำเนินน
โยบายเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเป็นตัวอย่างของนักวิชาการและข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์ และเสียสละเพื่อส่วนรวม

“อันเนื่องจากด้วยความรักและระลึกถึง.” / ศุกรเลิศ. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 192. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2517. (DS 570.6 ป4 2517)

เป็นการชี้แจงข้อมูลที่คลาดเคลื่อนของผู้เขียนที่เคยเขียนบทความเรื่อง “ด้วยความรักและระลึกถึง” ซึ่งเป็นการเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ว่าได้รับจดหมายจากดร.ป๋วย เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่านบางประการให้ทราบ

“ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : เกียรติประวัติ.” ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความหลัง, หน้า 27-49. บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนพรพันธุ์. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2529. (HB 126 ท93 ป58)

“ประวัตินายป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน อันเนื่องมาแต่ 6 ตุลาคม 2519, หน้า 3-45. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2523. (DS 586 ป5)

เป็นเอกสารประกอบในการพิจารณามอบรางวัลแม็กไซไซ ประเภทข้าราชการดีเด่นให้แก่ดร.ป๋วย เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) ณ กรุงมนิลา โดยกล่าวถึงชีวประวัติ และผลงานของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตามลำดับเหตุการณ์สำคัญของท่านอย่างละเอียด ตั้งแต่ประวัติในครอบครัว การศึกษา การเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของคณะเสรีไทย สมัยสงครามโลกครังที่ 1 การรับราชการที่กระทรวงการคลัง งานสอนในมหาวิทยาลัย ด้วยการเน้นถึงความสำคัญของหลักธรรมจริยาในทางเศรษฐศาสตร์ การเป็นผู้บริหารและรับผิดชอบด้านการเงิน การคลัง และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และการเป็นผู้มีบทบาทในการริเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่สำคัญสำหรับรัฐบาล เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติ พร้อมกันนี้ได้กล่าวถึงลักษณะอุปนิสัยอันดีงาม และมีคุณธรรมของท่านอีกด้วย

“Recollections.” / Laurence D. Stifel. In A Siamese for All Season : Collected Articles by and about Puey Ungphakorn, pp. 13-18. By Puey Ungphakorn. – - 4th ed. – - Bangkok : Komol Keemthong Foundation, 1981. (9B DS575 P8 1984)

บทวิจารณ์ประวัติความเป็นมา และบทบาทของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ในฐานะที่ผู้เขียนเคยร่วมงานกับท่านในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของโครงการมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ในการให้ทุนการศึกษาแก่บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ในช่วงที่ ดร.ป๋วยเป็นคณบดี

สมุดภาพอาจารย์ป๋วย จัดพิมพ์โดย สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ธัญญา ผลอนันต์ (บรรณาธิการ)

80 ปีอาจารย์ป๋วย ชีวิตและงาน คณะผู้เขียน ธงชัย สันติวงศ์ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ศิริวรรณ ใกญจนาท (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) สมหมาย ภาษี (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง) สุกัญญา นิธังกร (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อรสา วงศ์ธิเรศ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) บรรณาธิการ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน

อาจารย์ป๋วยกับธรรมศาสตร์ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน – บรรณาธิการ

ปรีดี ป๋วย กับธรรมศาสตร์และการเมือง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, รังสรรค์ ธนะพรพันธ์, ธงชัย วินิจจะกูล, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ จัดทำโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์
สารคดีฉบับพิเศษ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ (บรรณาธิการ)