Puey Ungphakorn [การศึกษา]

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“การบริหารมหาวิทยาลัย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล วันที่ 4-6 กันยายน 2513 ณ สถานพักฟื้นสวางคนิวาส จังหวัดสมุทรปราการ, หน้า 43-55. - - พระนคร : สำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513. (LB2331 ส 6)

กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและปัจจัยต่างๆ อันจะนำไปสู่วัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องระบบบริหารมหาวิทยาลัยที่มีสมรรถภาพ ซึ่งดร.ป๋วย ให้ความเห็นว่าควรมีการบริหารในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. คุณลักษณะของผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญ 2. การวางนโยบายและการควบคุมงานบริหาร 3. การสนับสนุนวิชาการ 4. การเงิน 5. การบริหารงานบุคคล

“การประถมศึกษาในประเทศไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 215-223. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

“การมัธยมศึกษาในประเทศไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 224-233. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

“การศึกษา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 1-32. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

เป็นเรื่องหนึ่งของการบรรยายทางวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 10 สิงหาคม 2508 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ดร.ป๋วย ให้ความสำคัญที่ตัวบุคคลทุกคนคือตัวนักเรียนเอง นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงลักษณะการศึกษาในประเทศไทยทุกระดับการศึกษา พร้อมกับการเสนอปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาตลอดจนการอำนวยการศึกษา ท้ายบทความมีแผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ ของการศึกษาปี 2507 จำนวนนักเรียนประถมและมัธยมซึ่งออกจากโรงเรียนไป และจำนวนนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาปี 2506 ประกอบ

“การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : บรรณาธิการโดยพระดุษฎีเมธงกุโร และคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA1221 ป5)

รวบรวมบทความ คำบรรยาย ปาฐกถา สุนทรพจน์ และการสนทนาเกี่ยวกับทรรศนะของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในด้านการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งในบทความต่างๆ สามารถแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้เป็น 3 ภาคคือ ภาคแรก ว่าด้วยปัญหาและแนวทางปฏิรูปการศึกษา ภาคสองว่าด้วยการอุดมศึกษา และภาคสาม ว่าด้วยข้อคิดเสริมการศึกษา และยังมีภาคผนวกอันประกอบด้วยสุนทรพจน์และบทสนทนาด้านการศึกษา และปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของไทยด้วย

“การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. วิทยาสาร 26 (15 เมษายน 2510) : 4-8 (กศ15)

ดร.ป๋วยเขียนบทความนี้เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อรายงาน “การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม” ของคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษา ดร.ป๋วย ได้กล่าวถึงปัญหาและข้อบกพร่องในระบบการบริหารการศึกษาของประเทศซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น พร้อมกับแสดงความคิดเห็นที่มีต่อข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาของคณะกรรมการและข้อวิจารณ์ต่อรายงาน “การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม” ชุดนี้

“ข้อคิดจากสหรัฐอเมริกา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 36-48. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. - - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS570.6 ป4)

กล่าวถึงวิทยาลัยวูดโรวิลสันเกี่ยวกับหน้าที่การสอนและวิจัย รูปแบบของการสอน หลักสูตรในการบรรยายวิชาต่างๆ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงการศึกษาปัญหาสังคมในเมือง โครงการศึกษาเรื่องประชากร ท้ายบทความกล่าวถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมืองไทยของอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ท่านได้ไปเยือน รวมทั้งความคิดเห็นของคนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

“ข้อคิดเรื่องอุดมศึกษา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. วารสารสภาการศึกษาแห่งชาติ 6 (กรกฎาคม 2514) : 1-11. (กศ02)

เป็นบทความซึ่งกล่าวที่สถาบันสอนภาษา เอ.ยู.เอ. ปี 2514 เน้นถึงหน้าที่ 3 ประการของสถาบันอุมดมศึกษา คือ 1. สอนนิสิตนักศึกษาให้มีความเป็นศิลปวิทยา 2. วิจัยให้ศิลปวิทยาก้าวหน้าแตกฉานยิ่งขึ้น และ 3. อำนวยประโยชน์โดยตรงแก่สังคม หน้าที่ 3 ประการนี้มีความสัมพันธ์คาบเกี่ยวกันในลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยเน้นถึงอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งแม้มิใช่จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาการศึกษา แต่ก็เป็นกุญแจสำหรับความก้าวหน้าของวิชาการในสังคม และมีผลกระทบต่อการศึกษาระดับอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

“ความชอบธรรมในมหาวิทยาลัย : บรรยาย ณ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย วันเสาร์ที 20 กรกฎาคม 2511.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ และข้อเขียนโดยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 88-95. - - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. - - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตระบุตร) (HB53ป4)

กล่าวถึงสภาพทั่วไปของสังคม และมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักศึกษาที่เต็มไปด้วยพลังกายและใจ ซึ่งต้องการผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่บริหารให้เกิดความชอบธรรมหรือประชาธิปไตยเข้าหลักเสรีภาพ โดยเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น หนทางแก้ไข และสรุปในตอนท้ายว่าความชอบธรรมเกิดจากอาจารย์จะต้องทรงไว้ด้วยขันติธรรม ปราศจากภยาคติ ความหวาดกลัว โทสาคติ ความฉุนเฉียว มีเมตตา ส่งเสริมให้ศิษย์ปฏิบัติตามทำนองคลองธรรม และรู้จักคิดเคารพหลักประชาธิปไตย

“จรรยานักเรียน” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์ 2507, ไม่ปรากฎเลขหน้า. - - ธนบุรี : โรงพิมพ์กรุงไทยการพิมพ์, 2507. (HB 180 ธ 46 2507)

ขุมปัญญา และลักษณะวิชาของผู้เรียน มีลักษณะเหมือนกัน คือไม่สิ้นสุดมีแต่เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ ดังนั้นผู้เรียนควรจะทำตนเป็นผู้เงียบสงบ รักงาน สันโดษ และมีเมตตากรุณา เพื่อผลสำเร็จของตนเอง เมื่อตนเองได้ประสบความสำเร็จแล้ว พึงชักจูงและแนะนำให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามอย่างด้วย

“ทรรศนะการพัฒนาการศึกษา : ปาฐกถา ณ โรงแรมเอเชีย วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2510.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ และข้อเขียนโดยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 14-24. - - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. - - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตระบุตร) (HB53ป4)

กล่าวถึงปัญหาและข้อขัดข้องในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย โดยเริ่มจากปัญหาในการพิจารณางบประมาณการศึกษา ซึ่งมีการวางแผนที่ไม่สนองความต้องการของสังคม ขาดการประสานงานและการลำดับความสำคัญ และไม่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเสนอหนทางแก้ไขปัญหาตามลำดับ

“บทบาทของอาจารย์มหาวิทยาลัย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 142-148. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ : บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโรและคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

กล่าวถึงบทบาทของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยกล่าวใน 5 ประเด็นคือ 1. ให้คงความเป็นอาจารย์ใหม่ตลอดไป 2. ให้มีฉันทะและเมตตาจิตต่อนักศึกษาเป็นพื้นฐาน 3. ให้มีการศึกษาเพิ่มเติมและวิจัยค้นคว้าหาสัจจะในวิชาการเพิ่มขึ้นเสมอ และมีความสามารถยุให้นักศึกษาใช้ความคิดเองในวิชาการต่างๆ 4. ให้ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยเพื่อความเจริญสู่มหาวิทยาลัย 5. ให้ตระหนักว่ามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยหนึ่งในสังคม จึงพึงบำเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลแก่สังคมนอกมหาวิทยาลัย

“บทบาทนักเรียน นักศึกษา ในการเปลี่ยนแปลงสังคมปัจจุบัน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บรรยายในการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเยาวชน, 17 มิถุนายน 2518. - - 6 หน้า. (อัดสำเนา) (ศส 11)

กล่าวถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเยาวชน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ผู้ใหญ่พึงมีต่อเยาวชน ซึ่งดร.ป๋วย ได้แสดงข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของท่านโดยการศึกษาจากพฤติกรรมของเยาวชนในสังคม

“ปัญหาและบทบาทมหาวิทยาลัยในประเทศไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน บันทึกรายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ปัญหาและบทบาทมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ณ ห้องประชุม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน พ.ศ.2507, หน้า 201-212 - - พระนคร : สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2507 (กศ 23)

เป็นบันทึกสรุปการสัมมนาในฐานะที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายสรุปการสัมมนา เรื่อง ปัญหาและบทบาทมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อันได้แก่เรื่องงบประมาณความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ในมหาวิทยาลัย วิธีการในการบริหารด้านการศึกษา และงานบริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ข้อเสนอและวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว

“ปาฐกถาเรื่องการพัฒนาการศึกษา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 59-75. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโรและคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

เป็นการแสดงปาฐกถา ณ โรงแรมเอเชีย ในวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2510 ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของท่านเกี่ยวกับข้อข้องใจต่างๆ ในการพิจารณางบประมาณสำหรับการศึกษาในสมัยที่ท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญในการพิจารณางบประมาณแผ่นดินเพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

“ปาฐกถาเรื่องการศึกษา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 33-58. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณิการโดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

เป็นปาฐกถาจัดโดยชมรมการศึกษา บรรยาย ณ โรงแรมแมเจสติค วันที่ 20 มีนาคม 2510 เป็นการเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาใน 2 หัวข้อคือ 1. สรุปผลจากการร่วมประชุมของดร.ป๋วย ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการศึกษา ในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2510 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาระหว่างประเทศมาก ในการประชุมครั้งนี้สรุปผลสำคัญที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องนำไปพิจารณาคือ ความวิกฤต หรือความวิบัติในการศึกษาของโลก และสมรรถภาพในการลงทุนเพื่อการศึกษา พร้อมกับกล่าวถึงความคิดเห็นของท่านต่อการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ 2. แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจของโรงเรียนราษฎร์ และความร่วมมือของรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ

“มหาวิทยาลัยกับสังคมไทย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 91 -111. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. - - พิมพ์ครั้งที่ 2. - - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป55 ก3)

ดร.ป๋วย กล่าวว่าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมีดังนี้คือ หน้าที่สอน หน้าที่วิจัย หน้าที่ปฏิบัติให้คำปรึกษา ตามความเห็นของดร.ป๋วยนั้น การอบรมและการสอนมีจุดหมุ่งหมายที่สำคัญคือ อำนวยให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตได้

“เรียนเพื่อสอบ หรือสอบเพื่อเรียน หรือเรียนเพื่อเรียน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 123-126. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. - - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป4)

เป็นบทความที่กล่าวเปรียบเทียบระหว่างการเรียนการศึกษาของประเทศไทยและอังกฤษ โดยได้ยกตัวอย่างในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมัยที่ท่านศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เพื่อต้องการให้คิดว่า การศึกษาในประเทศไทยนั้น “เรียนเพื่อสอบหรือสอบเพื่อเรียน หรือเรียนเพื่อเรียน”

“เรียนให้เก่ง.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์ 2510, ไม่ปรากฎเลขหน้า. - - พระนคร : สัตยการพิมพ์, 2510. (HB 180 ธ 46 2510) (ปว 60)

เป็นบทความที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ตอบคำถามของนักศึกษาว่าเรียนอย่างไรจึงเก่ง โดยได้กล่าวถึงประวัติการศึกษาของตนเองตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาว่าเรียนอย่างไรจึงเรียนเก่ง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ คือต้องมีความขยันพากเพียร ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ รู้จักแบ่งเวลาในการเรียน และต้องมีการอภิปรายปัญหาร่วมกันระหว่างนักศึกษาวิชาเดียวกัน

“สนทนากับดร.ป๋วย : ปํญหาอุดมศึกษา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกษม ศิริสัมพันธ์ และเสน่ห์ จามริก. วารสารธรรมศาสตร์ 1 (มิถุนายน 2514) : 21-24. (กศ 18)

บทสนทนาระหว่างดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกษม ศิริสัมพันธ์ และเสน่ห์ จามริก ณ ห้องคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ตอบคำถาม แสดงทรรศนะการศึกษาของไทย รวมทั้งปัญหาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. วารสารห้องสมุด 13 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2512) : 1-6. (กศ 11)

เป็นการบรรยายในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2511 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ วันที่ 19 ธันวาคม 2511 เป็นการเสนอทัศนะของดร.ป๋วย ในการให้ความสำคัญต่อการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนในระดับต่างๆ และความสำคัญของหนังสือโดยเฉพาะศีลธรรมในหนังสือ ตอนท้ายของบทความกล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจของห้องสมุด โดยการแนะนำวิธีการโน้มน้าวใจให้ผู้มีอำนาจทางการเงินของแผ่นดินสนใจทำนุบำรุงกิจการของห้องสมุด

“อารัมภบทของศาสตราจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน รายงานผลการสัมมนามหาวิทยาลย ครั้งที่ 1 วันที่ 16-18 กรกฎาคม 2509 ณ สถานพักฟื้นสวางคนิวาส สมุทรปราการ, สำนักนายกรัฐมนตรี, 2510. (กศ 24)

กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่าผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยควรจะทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้มากกว่าบุคคลธรรมดา เพราะเป็นผู้มีปัญญาและต้องเสริมสร้างสติปัญญาของตนเองอยู่เสมอ ส่วนลักษณะของมหาวิทยาลัยที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์นั้นต้องมีลักษณะดังนี้คือ มีอาจารย์พอสมควร มีนิสิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ มีวิธีการศึกษาที่เป็นอิสระ มีเครื่องมือพอ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับนิสิตนักศึกษานั้นควรมีความรู้พื้นฐานดีพอสมควรจึงจะสามารถเรียนในสาขานั้นๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังมีวิธีการสอน เครื่องมือในการศึกษาที่ดีและประการสุดท้ายต้องมีหลักการของมหาวิทยาลัยที่ดีและมหาวิทยาลัยควรจะมีการวางแผนล่วงหน้าด้วย

“การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม : ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / มูลนิธิโกมลคีมทอง. 19 กุมภาพันธ์ 2529. - - 7 หน้า. (ถ่ายสำเนา) (กศ14)

กล่าวถึงแนวคิดทางการศึกษาของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยรวบรวมวิเคราะห์จากผลงานต่างๆ ของดร.ป๋วย ซี่งแสดงทรรศนะเกี่ยวกับการศึกษาและเยาวชนในแง่ต่างๆ

“อาจารย์ป๋วย กับการศึกษาไทย.” / ธรรมเกียรติ กันอริ. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หน้า 51-57. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึกคณะกรรมการจัดงานนิทรรศการชีวิตและงานอาจารย์ป๋วย. - - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. - - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปีของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 186 ท 93 ป 53)