Puey Ungphakorn [ศาสนาและจริยธรรม]

ศาสนาและจริยธรรม

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“ความรับผิดชอบทางจริยธรรมเป็นความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางสมบุญ เพ็ญเพียร, หน้า 11-28. – - ธนบุรี : เทพนิมิตรการพิมพ์, 2511. (HJ 3638ก2)

“เงินมาก เงินน้อย.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 18-20. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - … ศพส้อย ทัพพันธ์. (PL 4209.5 ป 522)

บทความนี้ได้ชักชวนผู้อ่านไม่ให้เกิดความโลภ เพราะความโลภเป็นสาเหตุที่ทำให้ประพฤติผิดมากมาย ถ้าการแสวงหาทรัพย์สมบัติกระทำในลักษณะกอบโกย ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมนับว่าเป็นความโลภ ในทางตรงกันข้าม ถ้าการแสวงหาทรัยพ์สมบัติตั้งอยู่ในขอบเขตของสัมมาอาชีวะ และความพอดี นั่นคือความไม่โลภที่แท้จริง

“จะหาเวลาที่ไหนมา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 1-2. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - … ศพส้อย ทัพพันธ์. (PL 4209.5 ป 522)

เป็นบทความที่ลงในหนังสือวันวชิรสมโภชของโรงเรียนอัสสัมชัญ กล่าวถึงการรู้จักใช้เวลา การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เหมือกับการใช้เงินให้เกิดคุณค่า เพราะเวลาและเงินเป็นของหมดเปลืองได้  ฉะนั้นการคิดวางแผนว่าจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์นั้นต้องอาศัยคุณสมบัติ 2 ประการคือ ต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้า และต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน

“ธรรมะ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 45-46. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - … ศพส้อย ทัพพันธ์. (PL 4209.5 ป 522)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เขียนบทความนี้ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ท่านได้กล่าวถึงความหมายของ “ธรรมะ” เพื่อเป็นการเตือนใจนักศึกษาให้เป็นผู้ประพฤติธรรมเพื่อความดี ความชอบ ความจริง และความยุติธรรมอยู่เสมอให้สมกับที่ได้ศึกษาในสถาบันที่ใช้ชื่อธรรมะคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้

“ธรรมะในด้านเศรษฐกิจ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เศรษฐศาสตร์ : รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 271-279. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523. (HB 53 ป 5)

เป็นบทความตอนหนึ่งจากเรื่องเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย : คำบรรยายสำหรับวิชาเลือกของนิสิตปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิททยาลัย ปี 2499 เป็นการเสนอแนวความคิดในเรื่องศีลและธรรมะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล และประชาชนทั่วไปต้องประสบอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน โดยการยกตัวอย่างให้เห็นถึงการประพฤติผิดธรรมะทางเศรษฐกิจและวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้น

“บทอภิปรายสรุปรวบยอด.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ประชาชน). ใน บันทึกรายงานการสัมมนาเรื่องความรับผิดชอบทางจริยธรรมเป็นความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ, หน้า 48 (14) – 48 (24). – - พระนคร : สำนักกลางนักเรียนคริสเตียนแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2509. (ศ)

เป็นการร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการสัมมนา หลังจากมีการสรุปรายงานของแต่ละกลุ่มในเรื่องความรับผิดชอบทางจริยธรรม เป็นความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ การอภิปรายในครั้งนี้ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำหน้าที่เป็นประธานในการดำเนินการอภิปรายและสรุปผลจากการสัมมนา โดยท่านแยกเนื้อหาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกันใน 3 ประเด็นคือ 1. เราจะสร้างเสริมจริยธรรมได้อย่างไร 2. ในการสร้างเสริมจริยธรรม หนุ่มสาว และนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทอย่างไร 3. ผลสืบเนื่องที่ควรปฏิบัติหลังจากการสัมมนา

“ผลก็คือเหมือนถูกมดกัด.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน บัณฑิตธรรมศาสตร์ 2524, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - กรุงเทพฯ :  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524. (LG 395 ก232 2524) (ศส 2.10)

เป็นบทความที่คัดมาจากข้อเขียนตอนหนึ่งของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในเรื่อง “อุดมคติ” เมื่อปี 2517 ดร.ป๋วยกล่าวว่าความดีนั้นปฏิบัติได้ยากต้องพยายามอย่างยากยิ่ง ความเพียรที่จะปฏิบัติความดีนั้นถือเป็นอุดมคติและดร.ป๋วย ยังได้ยกข้อเขียนของราล์ฟ วัลโด เอเมอสัน นักปราชญ์อเมริกันที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องอุดมคติ โดยให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ไม่เห็นแก่ความสุขสำราญเพียงเล็กๆ น้อยๆ และให้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

“พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชาติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 171-200. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

การแสดงปาฐกถาครั้งนี้ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์แบ่งเนื้อหาเป็น 3 หัวข้อคือ  1. การพัฒนาชาติ กล่าวถึงลักษณะของสังคมที่เจริญกว่าว่าควรประกอบด้วยหลัก 4 ประการคือ หลักสมรรถภาพ หลักอิสระเสรีภาพ หลักความยุติธรรม และหลักความเมตตากรุณา นอกจากนี้ยังให้ข้อคิดและเสนอคติธรรมในการวางแผนพัฒนาชาติ เป้าหมายของการพัฒนา วิธีการดำเนินงานพัฒนา ตลอดจนถึงอำนาจในการพัฒนา 2. การพัฒนาคน เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับศาสนา ศีลธรรม และการพัฒนา โดยให้ความสำคัญที่การให้การศึกษาแก่ประชาชน 3. การเสนอข้อคิดบางประการเกี่ยวกับบทบาทของพระพุทธศาสนาในการพัฒนาชาติ

ศาสนธรรมกับการพัฒนา. ป๋วย อึ๊งภากรณ์. บรรณาธิการโดย พระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (BQ 4570 ศ7ป5)

เป็นการรวมบทความและคำบรรยายในโอกาสต่างๆ ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มีเนื้อความเกี่ยวข้องกับแนวความคิดในด้านศีลธรรม จริยธรรมและศาสนาต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้ยังมีภาคผนวกที่นำข้อเขียนและสุนทรพจน์บางนส่วนของท่านรวมไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เห็นว่าท่านมีความรู้ในหลักการของศาสนาพุทธ และนำความรู้ในหลักธรรมต่างๆ ไปใช้ในชีวิตและการทำงานได้อย่างดียิ่ง

“ศีลธรรมและศาสนาในการพัฒนาชาติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ปาฐกถาอนุสรณ์ซินแคลร์ ทอมป์สัน ค.ศ. 1969 จัดโดยวิทยาลัยพระคริสตธรรมในประเทศไทย และสภาคริสตจักรในประเทศไทย, 21-23 มกราคม 2512. – - 22 หน้า. (พิมพ์ดีด) (ศส2/ภท 01)

“The Role of Ethics and Religion in the National Development.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 3-20. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. (9 HC412 P8)

การเสนอเนื้อหาในการปาฐกถาครั้งนี้ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แบ่งรายละเอียดเป็น 3 หัวข้อ คือ 1. ลัทธิของคนที่ขาดศรัทธา นอกเหนือจากการสดุดี ซินแคลร์ ทอมป์สันดแล้ว ดร.ป๋วย ได้เล่าถึงประสบการณ์ทางศาสนาในวัยเยาว์ของท่าน และกล่าวถึงความจำเป็นของความศรัทธาทางศาสนาที่มนุษย์พึงมี พร้อมทั้งยกตัวอย่างหลักศีลธรรมประจำตัวของท่านคือ ความจริง ความงาม และความดี ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ นอกจากนี้ท่านยังชี้ให้เห็นถึงหลักธรรมคำสอนในศาสนาและคุณธรรมที่สำคัญ ซึ่งจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและสังคมได้ดี 2. ลักษณะของสังคมที่เจริญและหลักการพัฒนา อันเป็นความคิดและข้อเสนอแนะของท่าน โดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริง และหลักคุณธรรมในการบริหารสังคม 3. การพัฒนาคนโดยท่านให้ความสำคัญที่การให้การศึกษาแก่เยาวชนด้วยวิธีการที่ดียิ่ง

“เหลียวหลัง แลหน้า : ตอนที่ 2 เหลียวแลดูอุดมคติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ประชาชาติ 3 (เมษายน 2519) : 28-35. (กป1.15)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้สเนอความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาทางจิตใจ สังคม การเมือง และเศรษฐกิจของไทย โดยการชี้ให้เห็นว่าคุณธรรมทางจิตใจของมนุษย์ ได้แก่ ความจริง ความงาม และความดี และสังคมที่พึงปรารถนานั้น ควรประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการคือ เป็นสังคมที่สมรรถภาพ มีเสรีภาพ มีความชอบธรรม และมีความเมตตากรุณา โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน คุณธรรมดังกล่าวทั้งหมดนี้จะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย

“อุดมคติ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อุดมคติเพื่อสังคม รวมปาฐกถาโกมล คีมทอง 2517-2522, หน้า 9-36. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิ
โกมลคีมทอง, 2523. (PL 4222 ป5)

เป็นปาฐกถาของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เนื่องในวันครบรอบวันถึงแก่กรรมของโกมล คีมทอง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2522 มีใจความสรรเสริญและยกย่องผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติอย่างโกมล คีมทอง และให้ข้อคิดว่าผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในอุดมคตินั้น เป็นผู้ที่พิจารณาและใคร่ครวญในการกระทำของตนเองอยู่เสมอ ลักษณะของอุดมคติสรุปได้ดังนี้คือ เป็นหลักการที่เรายึดมั่นประจำและนำไปปฏิบัติ เป็นหลักการที่ต้องตั้งมั่นอยู่บนรากฐานแห่งธรรมะเพื่อเกื้อกูลมหาชน เป็นหลักการที่ต้องคอยทะนุถนอมให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยความไม่ประมาท และเป็นหลักการที่อยู่ในใจของแต่ละคน ซึ่งอุดมคติของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันได้

“Labor Omnia Vincit.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน สันติประชาธรรม, หน้า 117-119. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6 ป4)

เป็นบทความที่กล่าวถึงสุภาษิตภาษาละติน “Labor Omnia Vincit” ซึ่งหมายความว่า “สิ่งทั้งปวงเอาชนะได้ด้วยอุตสาหะ” และมีการยกตัวอย่างประกอบ โดยได้เล่าถึงเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมทั้งกล่าวถึงผลที่เกิดจากการนำสุภาษิตนี้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างสงคราม นอกจากนั้นยังกล่าวถึงสุภาษิตภาษาบาลีที่ใกล้เคียง คือ “วายเมเถว ปุริโส ยาวอตถสส นิปปทา” แปลว่า “เป็นบุรุษพึงพยายามไปจนกว่าจะสำเร็จประโยชน์” และมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นจริงด้วย

ผลงานของผู้อื่น

“บททดลองเสนอว่าด้วยความคิดทางจริยศาสตร์ของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / พรชัย คุ้มทวีพร. ใน  ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 85-94. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย. – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัครองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (HB 126 ท93 ป 53)

“บันทึกคำบอกเล่าเรื่องอาจารย์ป๋วยกับศาสนธรรม.” / พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลาป๋วย อึ๊งภากรณ์. หน้า 33-35. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – -  กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท93 ป53)

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวถึงการที่ได้รู้จักและทำงานร่วมกันกับดร.ป๋วย ในงานต่างๆ และต่อมาก็เห็นจุดน่าสนใจของหนังสือสันติประชาธรรมเรื่อง เศรษฐศาสตร์บัณฑิตจงเจริญ หน้า 145 แสดงให้เห็นว่าดร.ป๋วย มีความรู้เรื่องธรรมะอยู่มาก และยังมีการอ้างพุทธภาษิตอื่นๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก