Puey Ungphakorn [คำสดุดี]

คำสดุดี

ผลงานของผู้อื่น

“กราบคนจริง.” / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 45-46. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง,  2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

เป็นบทกลอนที่กล่าวสดุดีถึง อุปนิสัย ความสามารถ และความกล้าหาญของดร.ป๋วย ผู้เสียสละเพื่อส่วนรวมและความเป็นธรรมของสังคมไทย

“กลอนอวยพรวันเกิด.” / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 88. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุด ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท 93 ป 55)

อวยพรเนื่องในวันเกิดอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 9 มี.ค. 2526 ดังข้อความต่อไปนี้

“เอกสดมภ์เสาหลักประกาศ                    ธรรมศาสตร์การเมืองเบื้องบาทฐาน
ธงสันติประชาธรรมเบิกรำบาญ              อุดมการณ์อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

“คนดี.” / สุรพล เย็นอุรา. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่, หน้า 8-12. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง กรรมการนศ. เศรษฐศาสตร์ องค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527. (ปว/อ 57)

กล่าวถึงดร.ป๋วยว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ ข้าราชการผู้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจนได้รับรางวัลแม็กไซไซเป็นเกียรติคุณเป็นปูชนียบุคคล และอัจฉริยบุคคล

“คำนำ.” / ส.ศิวรักษ์. ใน อันเนื่องมาแต่ 6 ตุลาคม 2519, หน้า ก-ฉ. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 586 ป 5)

กล่าวถึงชื่อเสียงของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในด้านต่างๆ เหตุการณ์ช่วง 6 ตุลาคม 2519 ที่มีผลกระทบต่อท่าน และการรวบรวมผลงานของท่านมาจัดพิมพ์ในฐานะที่เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อมูลนิธิโกมลคีมทอง

“คำอำนวยพร.” / กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. ใน รักเมืองไทย เล่ม 1, ไม่ปรากฎเลขหน้า. บรรณาธิการโดย สนมบัติ จันทรวงศ์ และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2519. (AC158 ร58 ล.1) (ปว/อ55)

กล่าวถึงความประทับใจของกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2506 ที่มีต่อดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ว่า เป็นนักการศึกษาและเห็นความสำคัญของการศึกษามาก พร้อมกับยกย่องคุณความดี และความสามารถของท่านในการเป็นคณบดี ผู้ปรับปรุงการเรียนการสอนในคณะเศรษฐศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น อีกทั้งยังยกยอ่งความเป็นนักวิชาการ ผู้เห็นความสำคัญในการผลิตตำราภาษาไทย และเป็นผู้ริเริ่มโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ตอนท้ายได้กล่าวอวยพรวันเกิดในโอกาสที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีอายุครบ 60 ปี 9 มีนาคม 2519

“คุณป๋วยที่ข้าพเจ้ารู้จัก.” / นุกูล ประจวบเหมาะ. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า  41-44. โดยคณะอตนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คระกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 69 ปีของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์, (HB126 ท93 ป53)

ผู้เขียนได้กล่าวถึงดร.ป๋วยว่า เป็นผู้บังคับบัญชาที่เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ตลอดชีวิตการทำงานได้ใช้สติปัญญาความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศชาติให้ผ่านวิกฤติและมรสุมต่างๆ ได้หลายครั้ง

“จดหมายของคุณสุรพล เย็นอุรา.” / สุรพล เย็นอุรา. ใน ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน : นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก, หน้า 195-216. โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2522. (DS 570.6 ป55 ส7)

เป็นข้อเขียนที่เขียนถึงสุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยกล่าวถึงคุณลักษณะอันดีงาม และการทำงานของดร.ป๋วย ขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสเป็นผู้ใกล้ชิด และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม มีความยุติธรรม และความรักพวกพ้องของท่านด้วยการเล่าถึงประสบการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดร.ป๋วย ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสได้ประสบพบเห็นร่วมกับท่าน

“ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / ตะวัน. เส้นทางเศรษฐกิจ 5 (13-18 เมษายน 2530) : (ปว/อ 72)

กล่าวถึงความประทับใจของผู้เขียนที่มีต่อดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และสรรเสริญคุณความดี ความซื่อสัตย์ และความมีคุณธรรมของท่านด้วยการระลึกถึงสมัยที่ผู้เขียนเริ่มอาชีพเป็นนักข่าว และได้มีโอกาสพูดคุยซักถามความคิดปํนอันมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจจากท่าน

“เสภาตำนานสันติประชาธรรม.” / สุจิตต์ วงษ์เทศ. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 31. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป่วย.” – - กรุงเทพฯ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ . (HB 126 ท93 ป53)

เป็นบทเสภาเปรียบเทียบการทำงานของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับผู้รับผิดชอบบ้านเมือง

“บทเสภา คิดถึงอาจารย์ป๋วย…คนดีที่เหลืออยู่.” / อภิชาติ ดำดี. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 43. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท 93 ป 55)

บทเสภาถึงดร.ป๋วย ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ พรรณนาความดีของท่านซึ่งได้มีส่วนร่วมในขบวนการเสรีไทย ผลงานด้านเศรษฐกิจ การกระจายโอกาสการศึกษาไปยังชนบท และแสดงความคิดถึงท่านที่ต้องเผชิญเคราะห์กรรมไปอยู่ต่างแดน

“ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / เฉินซัน. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลาป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 66. โดยคณะอนุกรรมหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

เป็นบทกลอนที่เขียนสดุดี ถึงคุณงามความดีของดร. โดยมีเนื้อหาว่า แม้ชีวิตมนุษย์จะดับสูญแต่ความดีไม่เคยสูญสิ้น

“ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : บทเรียนสำหรับอนุชน.” / ส.ศิวรักษ์, ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 37-40. โดยคณะอนุกรรมสการหนังสือที่ระลึกคณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

เป็นการแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างของบุคคลที่มีคุณภาพที่อนุชนรุ่งหลังควรยึดถือนำเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ซึ่งในที่นี้หมายถึง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยผู้เขียนได้เสนอให้เห็นทั้งในแง่คุณงามความดีที่ท่านได้กระทำมาและข้อบกพร่องของท่าน ทั้งนี้ เพื่อให้ชนรุ่นใหม่เข้าใจคนอย่างท่านและจะได้สานต่อความคิดอุดมการณ์ของท่านในการสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองและสังคมส่วนรวมต่อไป

“รำลึกถึงปูชนียบุคคล.” / อังคาร กัลยาณพงศ์. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 58-60. รวบรวมโดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย.” – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

บทกวีที่ อังคาร กัลยาณพงศ์ ประพันธ์เนื่องในงาน “คิดถึงอ.ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่” ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2527 กล่าวถึง คุณธรรม อยุติธรรมในสังคมสดุดีความดีของดร.ป๋วย ผู้ห่วงใยในชาวชนบท ผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ มีความสามารถลึกซึ้งในด้านเศรษฐศาสตร์ และยกย่องท่านไว้อย่างปูชนียบุคคล

“อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แบบอย่างของการเป็นมนุษย์ : บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มาตุภูมิรายวัน.”/ ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 89-90. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท 93 ป 55)

เป็นบทนำในหนังสือพิมพ์มาตุภูมิ เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสวันครบรอบวันเกิดของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปี 2526 ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มีนาคมของทุกปี มีใจความว่า “ดร.ป๋วย เป็นบุคคลผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนและประเทศไทยชาติไทย เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติและเปี่ยมไปด้วยความเสียสละ ในวาระอันสำคัญนี้ ขออำนาจคุณธรรมความดีทั้งหลายทั้งปวงที่ท่านได้สะสมมา จงดลบันดาลให้ท่านชนะโรคยาทั้งปวงที่มาเบียดเบียน อยู่เป็นหลักชัยของลูกศิษย์ลูกหาต่อไป”

“Right is Might : Puey’s Formula for Thailand.” / Surin Pitsuwan. In A Siamese for All Seasons : Collected Article by and about Puey Ungphakorn, pp. 348-351. By Puey Ungphakorn, – - 4th ed. – - Bangkok : Komol Keemthong Foundation, 1984. (9B DS 575 P8 1984)

บทระลึกถึงดร.ป๋วย จากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิดปีที่ 65 ระลึกถึงบทบาทของดร.ป๋วย ต่อเศรษฐกิจไทย งานที่ได้ริเริ่ม และต่อสู้เพื่อให้ได้มา เช่น การปรับปรุงระบบธนาคารกลาง การริเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และแผนการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านต้องเดินทางออกนอกประเทศ