Puey Ungphakorn [การเงินการคลัง]

การเงินการคลัง

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“งบประมาณและเจ้าหน้าที่งบประมาณ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายประสงค์ สุทรวิภาต, หน้า 1-9. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย. 2510. (351.7208 อ 154 ป)

กล่าวถึงการจัดสรรการเงินของรัฐบาลโดยนำมาเปรียบเทียบกับการจัดสรรการเงินของครอบครัว สรุปเป็นหลักการ 6 ประการ ที่ควรใช้เป็นหลักการคลังและงบประมาณแผ่นดิน คือ 1. หลักคาดการณ์ไกล 2. หลักประชาธิปไตย 3. หลักดุลยภาพ 4. หลักสารัตถประโยชน์ 5. หลักยุติธรรม 6. หลักสมรรถภาพ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลักษณะของเจ้าหน้าที่งบประมาณที่ดีว่าควรเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้พอสมควรและมีสันดานดี

“นโยบายการเงินการคลังในภาวะฝืดเคือง.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 231-240. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

ดร.ป๋วยบรรยายถึงภาวะฝืดเคือง และในภาวะเช่นนี้ควรจะดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างไรดี ตามทัศนะของท่าน นโยบายการเงินการคลังของประเทศควรจะกำหนดให้เป็นไปตามหลัก 3 ประการ ดังนี้คือ หลักพัฒนา หลักความยุติธรรมในสังคม และหลักเสถียรภาพ ตอนท้ายมีบทสรุปเกี่ยวกับเรื่องปริมาณการเงิน

“บันทึกคำบรรยายวิชาการคลัง ปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : บริษัทประมวลมิตร จำกัด, 2498. (HJ191 ท 92 ป 5)

เป็นคำบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีการคลังและการบริหารการคลังของประเทศไทยในขณะนั้น โดยแบ่งออกเป็น 5 ภาค แต่ละภาคแบ่งออกเป็นบทย่อยๆ ภาคที่ 1 เรื่องเงินคงคลัง การควบคุมเงินคงคลัง ภาคที่ 2 เรื่องงบประมาณแผ่นดิน นโยบายและการปฏิบัติงบประมาณประจำปีของไทย ภาคที่ 3  เรื่องราวรายจ่ายของรัฐบาลและบทสรุปวิจารณ์ว่าด้วยรายจ่ายของรัฐบาลไทย ภาคที่ 4 เรื่องรายได้ ทฤษฎีประเภทและนโยบายภาษีอากร การเงินของรัฐพาณิชย์และเทศบาล และภาคที่ 5 เรื่องหนี้เงินกู้ นโยบายการกู้เงิน และการชำระเงินกู้และดอกเบี้ย

ประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการคลัง. /รวบรวมโดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และประพนธ์ บุนนาค. – - พระนคร : บริษัทประมวลมิตรจำกัด, 2498. (336.026ป176)

เป็นการรวบรวมประมวลตัวบทกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการคลัง เพื่อใช้เป็นหนังสือประกอบการศึกษาวิชาการคลังของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื้อหาแบ่งเป็น 4 หมวดคือ หมวดที่ 1 ทั่วไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหาร หมวดที่ 2 งบประมาณ เป็นกฎหมายที่กล่าวถึงแบบวิธีการเตรียมทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย หมวดที่ 3 เงินคงคลัง เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินคงคลัง และกฎหมายอื่นๆ ที่ว่าด้วยการเก็บรักษาและนำออกไปใช้จ่ายจากคลัง และหมวดที่ 4 การกู้เงินและการเทศบาล เป็นกฎหมายที่กล่าวถึงการจัดหาเงินรายได้จากภาษีอากรและเงินกู้ และความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลและเทศบาล

“หลักการคลัง.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. คำบรรยายเนื่องในการอบรมข้าราชการพลเรือนชั้นตรี เมื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นโท รุ่นที่ 13 ณ โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง, 19, 26 สิงหาคม 2497. – - 12 หน้า. (อัดสำเนา) (กค 1.01)

บรรยายเกี่ยวกับหลักการคลังของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก กล่าวถึงนโยบายการคลังกับเศรษฐกิจของประเทศ และส่วนที่ 2 เป็นการตอบปัญหาของผู้เข้ารับการอบรมในเรื่องหลักวิธีปฏิบัติในทางการคลัง

“Co-ordinate of Monetary Policy, Fiscal Policy and Debt Management.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เศรษฐทรรศน์ : รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 83-91. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“Economic Policy and Customs Administration.” / Puey Ungphakorn. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 359-369. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : รวมสาส์น, 2511. – - A Talk Introducing a Paper Presented b the Bank of Thailand at the Training Centre-Cum-Seminar in Customs Administration, ECAFE, June 25, 1963. (HB 180 ป 47)

“A talk Introducing a Paper on Economic Policy and Customs Administration, June 25, 1963.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ คำขวัญ และปาฐกถา, หน้า 64-67. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์.  – - พระนคร : โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต, 2509. – - …  ศพนายอุ๊ แย้มจิตต์นิ่ม. – - เรื่องเดียวกับ “Economic Policy and Customs Administration.” (PL 4209.5 ป 53)

“Economic Policy and Customs Administration.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 61-64. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2507. (PL 4209.5 ป 52)

“ปัญหาเกี่ยวกับการเงิน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 88-110. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - … ศพ ส้อย ทัพพันธ์. (PL 4209.5 ป522)

บรรยายถึงทัศนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน คือ 1. ทัศนะของปุถุชน 2. ทัศนะทางปรัชญา 3. ทัศนะทางวิชาการ โดย 2 ทัศนะแรกนั้นกล่าวโดยสรุป ส่วนทัศนะทางวิชาการนั้น แจกแจงอย่างละเอียดได้แก่ เสถียรภาพทางการเงิน สาเหตุที่ทำให้ปริมาณเงินเปลี่ยนแปลง ความต้องการเงินในระยะเร่งรัดพัฒนาการเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยและตลาดเงิน เงินบาทในกรอบแห่งการเงินของโลก

“Cooperation in Central Banking in South-East Asia.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนโดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้ตนทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 229-232. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB 53 ป 4)

กล่าวถึงองค์ประกอบของกลุ่มธนาคารกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The South East Asian Group of Central Banks : SEACENBANK) บทบาทของ SEACENBANK ความสัมพันธ์ของ SEACENBANK กับกลุ่มอื่นๆ และผลสำเร็จในการดำเนินงานของ SEACENBANK

“Development in the Financial Sector of the Economy : Thai-German, Franco-Thai & British Chambers of Commerce Luncheon Talk.” / Puey Ungphakorn. November 5. 1969. – - 5 p. (Mimeographed.) (กธ1.03)

กล่าวถึงแนวโน้มและพัฒนาการของการธนาคารในสมัยนั้น ตลาดทุน การใช้ตั๋วเงินล่วงหน้า (Post – dated cheque) และสถานการณ์การเงินในระดับนานาชาติและอัตราดอกเบี้ยอย่างกว้างๆ

“Money.” / Puey Ungphakorn. Speech at the American Chamber of Commerce Luncheon Meeting, Erawan Hotel, June 19, 1968. – - 12 p. (Mimeographed.) (กธ 2.05)

กล่าวถึงการบริหารการเงิน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ และได้กล่าวว่าทฤษฎีที่เชื่อว่าเงินเฟ้อจะก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเป็นทฤษฎีที่อันตรายอย่างยิ่ง ในตอนต้นเรื่องมีประวัติโดยสรุปของดร.ป๋วยด้วย

“A Programme for Capital Market Development.” / Puey Ungphakorn. วารสารเศรษฐศาสตร์ 5 (เล่ม 1 : 2503) : 126-130. (กธ 2/ภอ 17)

กล่าวถึงบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย สมัยที่ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคาร เกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและอุปสรรคสำคัญๆ ของการพัฒนาตลาดเงินทุนภายในประเทศ ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

“The Role of Central Banking in the World of Tension.” / Puey Ungphakorn. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 388-402. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์.  – - พระนคร : รวมสาส์น, 2511. – - Address at the Kuala Lumpur Conference on Development and Cooperation in the
South Asia Pacific Region, February 25, 1964. (HB 180 ป 47)

“The Role of Central Banking in a World of Tensions.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า 118-122. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - …ศพส้อย ทัพพันธ์. (PL 4209.5 ป 522)

กล่าวถึงบทบาทของธนาคารกลางในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ธนาคารในอันที่จะให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ให้ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลางของโลกโดยสังเขป นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานและธนาคารกลางในการลดภาวะความตึงเครียดของประเทศ และบทบาทในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ตลอดจนปัญหาที่ทำให้ธนาคารกลางไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ท้ายบทความเป็นจดหมายที่ดร.ป๋วย เขียนถึงสุภาพ ยศสุนทร ผู้มีส่วนผลักดันให้ท่านเขียนบทความนี้ขึ้นมา

แด่อาจารย์ป๋วย : รวมบทความการเงิน การธนาคาร และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ. / บรรณาธิการโดย นภพร เรืองสกุล ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และดวงมณี วงศ์ประทีป. – - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. (HC 445 น4)

เป็นหนังสือรวมบทความต่างๆ ที่เป็นผลงานของนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา บทความต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของผู้เขียนแต่ละคนในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา และการตั้งข้อสังเกตตามแนววิชาการต่อเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจขงประเทศไทย ช่วยขยายความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

“ป๋วยเผยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ปีที่แล้ว เพิ่มเป็นจำนวนเกือบ 3 พันล้าน แนะให้อำนวยประโยชน์แก่ส่วนรวมมากขึ้น.”สยามรัฐ (23 กุมภาพันธ์ 2511) : 13. (กธ107)

เป็นบางส่วนของสุนทรพจน์ที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ ได้กล่าวในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปี ของสมาคมธนาคารไทยที่โรงแรมเอราวัณ ถึงเรื่องกิจการธนาคารของไทยว่า ในระยะปี  พ.ศ.2505-2509 นี้ กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยสูงขึ้นมาก คาดว่าปีต่อไปเงินฝากสินเชื่อและกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มขึ้นอีก พร้อมกันนั้นดร.ป๋วย ยังได้กล่าวถึงปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้นควรจะปรับปรุงด้านคุณภาพควบคู่กันไป เพื่ออำนวยประโยชน์ให้ส่วนรวมมากขึ้น