Puey Ungphakorn [เศรษฐศาสตร์]

เศรษฐศาสตร์

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“การบัญชีกับเศรษฐศาสตร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทาน-เพลิงศพนายประสงค์ สุนทรวิภาต, หน้า 14-19. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย, 2510l. (351.7208 อ 154 ป)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้านที่มีบทบาทในการจัดการทางเศรษฐกิจ คือ สถิติ การบัญชี และเศรษฐศาสตร์ โดยนำมาผูกเรื่องให้แนวคิดในลักษณะเป็นนิทานเปรียบเทียบให้เห็นจริงด้วยการชี้ให้เห็นถึงลักษณะในความไม่มีวินัยของผู้ดำเนินการทางสถิติ บัญชี และเศรษฐกิจ ตอนท้ายของการปาฐกถาครั้งนี้ได้กล่าวถึงบทบาท หน้าที่ และความสำคัญขององค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ซึ่งจะมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมได้ก็ด้วยการมีผู้บริหารให้การพัฒนาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

“จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน บทความบางเรื่อง, หน้า 17-45. โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และเรณู สุวรรณสิทธิ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2497. – - …  ศพนายทองคำ ลีลานุช. (HB 51 ค 6)

กล่าวถึงความคิดเห็นของดร.ป๋วย ต่อจุดมุ่งหมายในการศึกษาวิชาเศรษฐกิจในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยต่างๆ 3 ประการ คือ ยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่วนรวมให้สูงขึ้น เฉลี่ยโภคทรัพย์ที่ได้มาให้แก่หมู่ชน และเพื่อให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าโดยไม่ขึ้นสูงและไม่ตกต่ำเกินไป

“นักเรียนเศรษฐศาสตร์ไปเรียนอะไรมา ? ใช้อะไรได้ ?.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนางเชย ประสาทเสรี และนางเซาะเซ็ง อึ๊งภากรณ์ หน้า 65-80. – - พระนคร : บริษัทการพิมพ์ทหารผ่านศึก, 2493. (ศศ 05)

กล่าวถึงคุณประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตของวิชานี้ ความยากง่ายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนวิชาที่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลในเรื่องของปัญหาในการเล่าเรื่อง ตลอดจนหลักของการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ดี

เศรษฐทรรศน์ รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์. /ป๋วย อึ๊งกาภรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523. (HB 53ป5)

แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นทฤษฎีและแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งครอบคลุมเรื่องวิชาการทางเศรษฐศาสตร์เป็นต้นว่าความหมาย ขอบเขต และวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ได้กล่าวถึงแนวคิดของนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญๆ ตลอดจนของดร.ป๋วยด้วย ส่วนที่สองเป็นเรื่องของเศรษฐทรรศน์เสนอแนวความิดของดร.ป๋วยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น บทบาทของนักการเมืองกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ท้ายเล่มมีภาคผนวกเสนอประวัติ บทบาทในปัจจุบัน และอนาคตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“Economics as a Branch of Science.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 337-347. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : รวมสาส์น, 2511. Address at the Social Science Association of Thailand, 3rd October 1962. (HB 180 ป 47)

“Economics as a Branch of Science.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์สังสรรค์ 17 มิถุนายน 2510. หน้า 3-8. – - พระนคร : บพิธ, 2510. (HB 180 ธ 48)

กล่าวถึงคำนิยามต่างๆ ของคำว่าเศรษฐศาสตร์ ปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์และนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เผชิญอยู่ รวมทั้งบทบาทที่ควรจะเป็นของนักเศรษฐศาสตร์

“แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของอาจารย์ป๋วย.” / ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ชีวิต งาน และความหวัง, หน้า 51-57. บรรณาธิการโดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. – - กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. (HB 126 ท 93 ป 58)

ทัศนะของดร.ป๋วยนั้น เศรษฐศาสตร์และการเมืองเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้ และเน้นความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขสภาพเศรษฐกิจ สังคมการเมืองให้มีลักษณะมนุษยธรรมมากขึ้น สิ่งที่จะกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบการเศรษฐกิจน้น สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ มิใช่แรงจูงใจทางการเงินแต่อย่างเดียว และยังเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์จะยึดในเศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์อย่างเดียวไม่ได้ ควรเข้าใจในเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบในระบบเศรษฐกิจด้วย นอกจากนั้นยังกล่าวถึงทัศนะของดร.ป๋วย ที่มีต่อการศึกษาเศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตและสังคมตลอดจนเสรีภาพและสันติประชาธรรม

“วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย.” / ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. ม.ป.ป. – - 22 หน้า. (อัดสำเนา) (ศศ 04)

เป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยโดยการกล่าวถึง 1. ประวัติ ความเป็นมา และสถานภาพของวิชาเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้เขียนได้อ้างถึงการพัฒนาคณะเศรษฐศาสตร์ มหายวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคณบดี 2. การสอน หลักสูตรการเรียนเศรษฐศาสตร์ และลักษณะเฉพาะของหลักสูตรในประเทศไทย โดยเขียนถึงบทความ “เศรษฐศาสตร์บัณฑิตอันพึงปรารถนา” ของ ดร.ป๋วย ซึ่งเป็นผู้นำในการศึกษาเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งของประเทศ 3. กล่าวถึงการวิจัยและประยุกต์ทางด้านเศรษฐศาสตร์

“เศรษฐศาสตร์บัณฑิตอันพึงปรารถนา.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์.  ใน อนุสารเศรษฐศาสตร์ ฉบับต้อนรับเพื่อนใหม่ ปี 2508, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - พระนคร : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2508. (HB 180 ธ 462)

กล่าวถึงคุณสมบัติที่บัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์ควรมีคือ ความสุจริตและมานะพากเพียรในหน้าที่การงาน มีคคุณสมบัติทางวิชาการ รู้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแก้ไข หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และจะต้องเป็นผู้นำทฤษฎีมาประยุกต์ปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงแนวทางในการให้การศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ที่พึงปรารถนาอีกด้วย

“The Failure of Economist.” / Puey Ungphakorn. Address to Member of the Economists’ Luncheon, July 21, 1971. – - 4 p. (Manuscript.) (ศศ/ต 02)

ให้ความเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์กำลังละทิ้งหน้าที่ที่ควรมีต่อสังคม ต่อทฤษฎีความรู้ ต่อตนเองและครอบครัว ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเงินระหว่างประเทศ การพัฒนาชาติ รวมทั้งแทรกแง่คิดในสิ่งที่ควรจะกระทำไว้ด้วย

“ความรับผิดชอบของผู้ใหญ่.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 39-66. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์คร้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

ดร.ป๋วย กล่าวถึงผู้ใหญ่ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบที่จะจัดระบบเศรษฐกิจและสังคมไว้ให้อนุชนมีปัญหาน้อยที่สุดที่จะทำได้ เพื่ออำนวยให้เยาวชนได้เติบโตและดำรงสัมมาชีวะอยู่ในสังคมซึ่งเจริญด้วยสมรรถภาพ เสรีภาพ ความยุติธรรม และความเมตตาปราณี

“ประชากรโดยทั่วไป.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 19 พฤษภาคม 2512. – - 5 หน้า. (อัดสำเนา) (ปช 02)

กล่าวถึงปัญหาการเกิดของประชากรในประเทศไทยซึ่งมีอัตราการเกิดสูง เป็นผลให้มีปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาสังคมและการศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ เกษตรและที่ดิน ดร.ป๋วยมีความเห็นว่า ประเทศไทยควรจะลดอัตราการเพิ่มของประชากรลง โดยส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักวิธีการในการวางแผนครอบครัวกันอย่างจริงจัง

“ประชากร : บันทึกสรุปการประชุมที่ Villa Serbelloni, Bell Agio, Italy, 6-8 เมษายน 2513.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 14 เมษายน 2513. – - 6 หน้า. (อัดสำเนา) (ปช 03)

เป็นบันทึกสรุปการประชุมเรื่องประชากร ซึ่งจัดโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มีเจ้าหน้าที่องค์การต่างๆ จากประเทศที่พัฒนาแล้ว และด้อยพัฒนาเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 คน เพื่อร่วมกันพิจารณาปัญหาต่างๆ อันเนื่องมาจากการที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว

“เยาวชนกับเศรษฐกิจ : ความรับผิดชอบของผู้ใหญ่.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ศาสนธรรมกับการพัฒนา, หน้า 97-123. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการ โดย พระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (BQ 4570 ศ 7 ป 5)

กล่าวถึงขอบเขตของคำว่า ผู้ใหญ่และเยาวชน โดยการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเยาวชนด้วยการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและอนาคต ดร.ป๋วย ได้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับหน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร 5 ประการ คือ 1. ห้ามทำความชั่ว 2. ส่งเสริมให้ตั้งอยู่ในความดี 3. ให้ได้ศึกษาศิลปวิทยา  4. จัดให้มีคู่ครองที่สมควร และ 5. มอบทรัพย์ให้ในสมัย มาเป็นหลักในการบรรยายครั้งนี้ว่าด้วยความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ต่อเยาวชนในระบบเศรษฐกิจไทย

“Economics and Population Relationships.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 39-42. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - Address to the International Workshop on Communication Aspects of Family Planning Programme, December 6, 1968. (9 HC 412 P 8)

กล่าวถึงการวางแผนครอบครัวในประเทศไทยที่ยังไม่มีการวางแผนในระดับชาติ เนื่องจากรัฐบาลขาดความเข้าใจในประโยชน์ของการวางแผนครอบครัวต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดความยากจน ปัญหาการเลี้ยงดูประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และกรณีที่มีการจัดการวางแผนครอบครัวเข้าเป็นแผนระดับชาติ จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อต่างๆ รวมทั้งสถานีอนามัย โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ทั้งนี้จะต้องเลือกใช้วิธีการควบคุมการมีบุตรที่เหมาะสมและปลอดภัยอย่างระมัดระวัง

“ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ และข้อเขียนโดยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา ปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 1-13. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB 53 ป 4)

กล่าวถึงลักษณะทั่วไปของเศรษฐกิจไทยในปี 2510 และปี 2511 ข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้าและการชำระเงินต่างประเทศ อัตราเพิ่มผลผลิตในประเทศที่เกี่ยวกับการเกษตรและการรักษาเสถียรภาพระดับราคาสินค้า ในตอนท้าย ดร.ป๋วย ได้สรุปข้อเสนอ 3 เรื่อง ที่มีผลในการพัฒนาเศรษฐกิจต่อกระทรวงการคลังและรัฐบาลได้แก่ ข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมข้าวและสินค้าขาออกอื่นๆ ข้อเสนอเกี่ยวกับการผลิตและการค้าสินค้าประเภทอาหาร และข้อเสนอเกี่ยวกับตลาดหุ้นและตลาดการเงิน

“เศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายประสงค์ สุนทรวิภาต, หน้า 51-95. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย, 2510. (ศป 1.08)
ดร.ป๋วยได้แบ่งเนื้อหาการบรรยายออกเป็น 6 หัวข้อ คือ หัวข้อแรกอธิบายถึงเศรษฐกิจส่วนรวม และสภาวะทางเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศไทย หัวข้อที่ 2 กล่าวถึงบ่อเกิดแห่งรายได้เช่น การทำมาหากินทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และด้านอื่นๆ หัวข้อที่ 3 เศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หัวข้อที่ 4 การเงินและการธนาคาร วิธีที่จะควบคุมกระแสเงิน หัวข้อที่ 5 การคลังและการงบประมาณของประเทศไทย หัวที่ 6 นโยบายในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตอนท้ายของบทความมีคำถามคำตอบเกี่ยวกับเรื่องภาวะเศรษฐกิจของไทยโดยทั่วไปด้วย

“เศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; แปลโดย นภพร เรืองสกุล ทัศนา สุพานิช และสุรพล เย็นอุรา. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนบางเรื่องโดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ และธนาคารกลางโดยจำรัส จตุรภัทร, หน้า 47-72. – - พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2514. – - … ศพนายกำพล อิงคภากรณ์. (895.915 ป176ส 2514)

เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย. / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2496. (HC 497 ท9 ป 42) (ศก1.14)

เป็นการเรียบเรียงจากคำบรรยายรายชั่วโมงเรื่องเศรษฐกิจแห่งประเทศไทยแก่นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคที่ 1 ลักษณะเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย เกี่ยว กับการผลิตและปัจจัยการผลิต การทำนา ยางและดีบุก ไม้สักและสินค้าบริการอื่นๆ อุตสาหกรรมและการพลังงาน การคมนาคม การค้าภายในประเทศและการค้ากับต่างประเทศ การเงินและการธนาคาร การคลัง ภาคที่ 2 วิธีพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจประกอบด้วยเรื่องจุดหมายด้านเศรษฐกิจ หลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และวิธีไปสู่จุดหมายเศรษฐกิจ และภาคที่ 3 ปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยปัญหาเรื่องข้าวยางดีบุกและการค้ากับต่างประเทศ ความจำเริญทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมอุตสาหกรรม เศรษฐกิจกับชนต่างด้าว ปัญหาเรื่องคนกลาง รัฐพาณิชย์ การคลัง ปัญหาการเงินและการธนาคาร ค่าครองชีพและเงินเฟ้อ และคำบรรยายในเรื่องธรรมะในด้านเศรษฐกิจ บทสุดท้ายเป็นการสรุปปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย และวิธีแก้ไขปัญหา

“สนทนากับดร.ป๋วย ‘ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ’.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน การศึกษาในทรรศนะของข้าพเจ้า, หน้า 278-323. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; บรรณาธิการ โดยพระดุษฎี เมธงกุโร และคนอื่นๆ. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2530. (LA 1221 ป 5)

เป็นการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเกี่ยวกับเรื่องสภาพสังคมและเศรษฐกิจของไทย โดยมีผู้ร่วมสนทนา คือ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสน่ห์ จามริก และเกษม ศิริสัมพันธ์ ณ ห้องคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 14 พฤษภาคม 2514 สาระสำคัญในการสนทนานั้นกล่าวถึง ลักษณะแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยและผลกระทบหรือปัญหาอันอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ วีธีการแก้ปัญหาของรัฐบาลโดยการจัดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ระบบการบริหารงานของรัฐบาลและระบบราชการ โครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมของชาวชนบทซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

“Dr. Puey Speaks Out.” / Puey Ungphakorn. – - In Best Wishes for Asia, pp. 66-75. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. – - An Interview Between Dr. Puey and Nai The Chongkadikij, Editor in Chief of the “Bangkok Post,” Published 15 April 1974. (9 HC 412 P 8)

เสนอทัศนะข้อคิดของดร.ป๋วย เกี่ยวกับประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ ปัญหาการเกษตรและอุตสาหกรรม ปัญหาการกระจายรายได้  ปัญหาช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท ปัญหาสวัสดิการสังคม ปัญหาลัทธิสังคมนิยม รวมทั้งข้อคิดเห็นในด้านการเมืองและรัฐธรรมนูญ

“การรวมกำลังเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 136-149. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : บำรุงสาส์น,2511. (HB 180 ป 47)

ข้อคิดในการพัฒนาเกษตรกรรม : บรรยาย ณ สมาคมไทย-อเมริกัน ในการประชุมใหญ่ทางวิชาการครั้งที่ 1 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2510.” /ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ และข้อเขียนโดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายง่านการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา ปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 25-34. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB 53 ป 4)

ข้อคิดในการพัฒนาเกษตรกรรมของดร.ป๋วย มีว่า ต้องพัฒนาคนก่อน รัฐบาลต้องจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานให้ประชาชนคือ จัดตลาด ถนน ฝึกอบรมความรู้ทางการเกษตร เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นไปใช้ สำหรับความมุ่งหมายในการพัฒนาการเกษตรก็คือ การเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะข้าวเป็นผลิตผลที่มีความต้องการสูงมาก และกล่าวถึงการลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควรจะกระทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรรมที่ได้ผล

“Agricultural Research and Economic Development.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; แปลโดยสมนึก ทับพันธ์. ใน เศรษฐทรรศน์ รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 280-288. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532. (HB 53 ป 5)

กล่าวถึงการวิจัยทางการเกษตร ที่มีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งในขณะนั้นมีการขาดแคลนอาหาร ภาวะโภชนาการที่ผิด ผลิตผลทางเกษตรขาดแคลนและราคาสูง ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 7 ประการคือ ปัญหาการทวีจำนวนประชากร ช่องว่างในการกระจายรายได้ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาโจรผู้ร้าย ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ระบบเช่าที่นา ปัญหาการขาดความรู้ทางวิทยาศาสตรการเกษตร ปัญหาการขาดการวางแผนในการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร โดยดร.ป๋วยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในตอนท้าย และกล่าวถึงเป้าหมายของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัย 3 แห่งในประเทศไทยอันเป็นโครงการหนึ่งในการพัฒนาการเกษตรด้วย

“ปาฐกถาเรื่อง เงิน.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนบางเรื่องโดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ และธนาคารกลางโดยจำรัส จตุรภัทร, หน้า 30-45. – - พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2514. – - … ศพนายกำพล อิงคภากรณ์. (895.915 ป 176ส 2514)

กล่าวถึงการเงินภายในประเทศ เกี่ยวกับการควบคุมการเงินโดยใช้วิธีการทางการคลังและการธนาคาร เพื่อไม่ให้มีเงินมากเกินไปจนเกิดเงินเฟ้อ และไม่ให้น้อยเกินไปจนเงินฝืด นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการเงินระหว่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นปัญหาของระบบการเงินแบบไอเอ็มเอฟ (International Monetary Fund) ว่ายังคงขึ้นกับดอลลาร์และทองคำมากเกินไป ดร.ป๋วยยังออกความเห็นด้วยว่าไม่ควรมีการเพิ่มราคาทองคำ เนื่องจากเท่ากับเป็นการลดค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลให้เงินตราสกุลต่างๆ ทั่วโลกต้องลดตาม

“ภาวะเศรษฐกิจของไทยด้านต่างประเทศ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ และข้อเขียน โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก 2512 13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 148-177. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB 53 ป4)

“The International Economic Position of Thailand.” / Puey Ungphakorn. In Best Wishes for Asia, pp. 43-37. By Puey Ungphakorn. – - Bangkok : Klett Thai, 1975. (9 HC 412 P 8)

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แบ่งเนื้อหาการบรรยายออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ กล่าวถึงสาเหตุที่ประเทศไทยใช้นโยบายสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้น และผลที่เกิดขึ้น ตอนที่ 2 ทรัพย์สินและหนี้สินของไทยในต่างประเทศ ทรัยพ์สินภายนอกประเทศ ได้แก่ เงินสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ เงินเหรียญอเมริกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการเปรียบเทียบและข้อสังเกตเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างประเทศกับหนี้สินต่างประเทศของไทย สำหรับตอนที่ 3 กล่าวถึงการค้าและการชำระเงินกับต่างประเทศ ดร.ป๋วยชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงของการเสียดุลการค้าต่างประเทศของไทย พร้อมกับการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย

“โอกาสของความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อันเนื่องมาแต่ ตุลาคม 2519. หน้า 169-192. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2523. (DS 586 ป5)

เป็นปาฐกถาของดร.ป๋วย ที่ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2520 ที่คิงสลีย์ มาร์ติน มิลล์เลน เคมบริดจ์ กล่าวถึงบสภาพสังคมเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 9 ประเทศในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งเก้ายังมีอยู่น้อยมาก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์การสถาบันคณะกรรมการต่างๆ ที่มีบทบาทและสนับสนุนให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น The Mekhong Committee, SEATO. ASA, ASEAN, MAPHILINDO, ASAIHL, SEAMEC และ SEACEN โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมอาเซียน และได้กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตด้วย

“The Prospects of Co-operation among S.E. Asian Countries.” / Puey Ungphakorn. In A Siamese for all Seasons : Collected Articles by and about Puey Ungphakorn, pp. 191-206.  By Puey Ungphakorn. – - 4 th ed. – - Bangkok : Komol Keemthong Foundation, 1984. (9B DS575 P8)

“Finance and Commerce.” / Puey Ungphakorn. ใน คำพูดและข้อเขียน, หน้า 370-379. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : รวมสาส์น, 2511. – - Address at the General Meeting on the American Chamber of Commerce in Thailand, October 15, 1963. (HB 180 ป47)

“Finance and Commerce.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์ บทความ และคำขวัญ, หน้า  85-87. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, 2507. – - … ศพส้อย ทัพพันธ์  (PL 4209.5 ป522)

อธิบายถึงเหตุผลในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทในจขณะที่ดร.ป๋วย ดำรงตำแน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งจำเป็นต้องมีการกู้เงินจากองค์การและประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดสัญญาและเงื่อนไขในการให้กู้อย่างยุติธรรม

“Steps to International Monetary Order.” / Puey Ungphakorn. In Steps to International monetary Order, pp. 90-93. By Conrad J. Oort and Others. – - Tokyo : The Per Jacobsson Foundation, 1974. – - Oral Presentation. (กธ 2.11)

เป็นสุนทรพจน์ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่กล่าวในที่ประชุมของมูลนิธิ Per Jacobsson เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2517 ท่านได้กล่าวถึงขั้นตอนต่างๆ สู่ระเบียบการเงินระหว่างประเทศ โดยได้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. ขั้นตอนเร่งด่วนได้แก่การขจัดปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่แผ่ขยายไปทั่วโลก การขยายขอบเขตความร่วมมือระหว่างประเทศ การดำเนินงานช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเพื่อสภาพคล่องของโลก และการดำเนินงานตลาดยูโรดอลลาร์ 2. เป้าหมายระยะยาวของการปฏิรูปทางการเงิน อันได้แก่ ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนได้ รวมทั้งการให้ความสนใจต่อปัญหาของประเทศด้อยพัฒนา และได้ให้ข้อสังเกตบางประการคือ 1. การให้ความสนใจในด้านการผลิตอาวุธและการทำสงครามมากเกินไป ทำให้ทรัพยากรในการผลิตอาหารลดลงเป็นเหตุให้ราคาของอาหารสูงขึ้น 2. การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อด้วยการปฏิรูปสังคมและการเงิน 3. ควรมีหลักประกันแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่มีเสถียรภาพเพื่อช่วยให้ประเทศผู้ซื้อน้ำมันรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและภาวะเงืนเฟ้อ 4. ในการอภิปรายปัญหาการเงินระหว่างประเทศ ควรกระทำอย่างจริงจังและตรงไปตรงมา 5. ควรมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและด้อยพัฒนา

“Steps to International Monetary Order.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ; แปลโดย วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. ใน เศรษฐศาสตร์ รวมข้อคิดและข้อเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 43-82. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – -  กรุงเทพฯ : สมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2523. (HB 53 ป5)

“Thailand’s Foreign Trade.” / Puey Ungphakorn. n.d. – - 11 p. (Typescript.) (ศป 2.02)

แสดงตารางปริมาณการค้าต่างประเทศของไทย ในช่วงพ.ศ. 2495-2499 เช่น ตารางสินค้าออกที่สำคัญของประเทศไทย ตารางสินค้าเข้าที่สำคัญ ตารางแสดงประเทศคู่ค้าสินค้า อัตราภาษีขาเข้า ความต้องการของตลาด ตารางสินค้าเข้าแยกตามประเภท เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้าย เหล็ก อุปกรณ์เคมี รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษ ยาง อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ แว่นตา และอุปกรณ์ถ่ายรูป ตลอดจนเครื่องจักรกลทางการเกษตร

“ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สุนทรพจน์และข้อเขียนโดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และรายงานการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาปีเพาะปลูก 2512/13 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 96-104. – - พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2513. – - … ศพพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) (HB53 ป4)

กล่าวถึงเหตุผลในการพัฒนาอุตสาหกรรม คุณสมบัติของโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้ามีคุณภาพดี การลงทุนต่ำแต่ขายคล่อง และการให้ความยุติธรรมแก่ผู้ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค

The Economics of Tin Control. / Puey Ungphakorn. – - London : University of London, 1949. – - Thesis Submitted for Ph.D. Degree, University of London. (T HD9539 T5P8)

เป็นวิทยานิพนธ์ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในการทำปริญญาเอกในสาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวีธีการควบคุมดีบุก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแร่ดีบุกต่อไป