วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/04/2009
ที่มา: 
ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม http://www.silkthailand.com/articles/article5.htm

ไหมพันธุ์ไทยลูกผสมอุดรธานี

 

เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากกว่าร้อยละ 75 ของผู้ประกอบการเลี้ยงไหม ที่มีความสามารถเหมาะ
สมที่จะเลี้ยงไหม ที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะเลี้ยงไหมพันธุ์ไหมไทยลูกผสมพันธุ์ไหมที่ได้จากการผสมข้าม
พันธุ์ระหว่างพันธุ์ไหมชนิดฟัก ปีละ 2 ครั้ง กับพันธุ์ไหมชนิดฟักตลอดปี มีผลผลิตรังไหมสูงกว่าพันธุ์ไหมพื้นเมือง
เลี้ยงง่ายกว่าพันธุ์ไหมลูกผสมต่างประเทศ และการเลี้ยงไหมพันธุ์


ไหมไทยลูกผสม ในระดับเกษตรกร ยังคงมีการเลี้ยงไหมในระบบครบวงจร คือ มีการเลี้ยงไหม การสาวไหม และมีการทด
ผ้าไหมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การเพิ่มปริมาณผลผลิตรังไหมของการเลี้ยงไหมแต่ละรุ่น ค่อนข้างมีขีดจำกัดจากศึกษาการ
เลี้ยงไหมพันธุ์ไหมลูกผสม ในสภาพเกษตรเชิงพาณิชย์ เบื้องต้น เพื่อที่จะนำข้อมูลผลการศึกษาทดสอบมาวิเคราะห์ ผลตอบ


แทนของเกษตรกร และกำหนดรูปแบบ ในการส่งเสริม การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมในเชิงพาณิชย์ ผลิตรังไหมจำหน่าย
ให้แก่โรงงานสาวไหม นำไปแปรรูปเป็นเส้นไหมชนิด เส้นพุ่ง เป็นการลดปริมาณการนำเข้าเส้นไหมชนิดเส้นพุ่งได้ ดังนั้น
จึงควรมีการปรับปรุงพันธุ์ไหมไทยลูกผสมชนิดต่างๆ ซึ่งได้ดำเนิน การศึกษาตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา

  • วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้พันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่สามารถเลี้ยงไหมตลอดปี

  • ประวัติ

พันธุ์ไหมไทยลูกผสม SKN1 x เขียวสากลเป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมเดี่ยวที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์SKN1ซึ่งเป็นพันธุ์
ไหมที่ ฟักปีละ 2 ครั้ง สายพันธุ์จีน รังสีขาว กับพันธุ์ไหมเขียวสกล เป็นพันธุ์ที่ฟักตลอดปี พันธุ์พื้นมือง รังสีเหลือง
ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2528 ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร และศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี มีขั้นตอนดังนี้

ปี 2524 - 2527     ศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ พันธุ์ SKN1 และพันธุ์เขียวสกล
ปี 2528 - 2529     สร้างพันธุ์ลูกผสม SKN1 x เขียวสกล
ปี 2528 - 2529     ศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานขงเส้นไหมพันธุ์ไทยลูกผสม SKN1 x เขียวสกล
ปี 2531

การทดสอบเลี้ยงไหมพันธุ์ไหมไทยลูกผสม SKN1 x เขียวสกล ในภาคเกษตรกร จ. สกลนคร
ครั้งที่ 1
ปี 2531 - 2532     เปรียบเทียบพันธุ์ไหมลูกผสม SKN1 x เขียวสกล กับพันธุ์ไหมต่างๆ
ปี 2535 - 2536     ทดสอบพันธุ์ไหมไทยลูกผสม SKN1 x เขียวสกล ในภาคเกษตรกร เขต จ.อุดรธานี ครั้งที่ 2
ปี 2538     การทดสอบความดีเด่นของพันธุ์ไหมไทยลูกผสมชนิดเดี่ยว
ปี 2538 - 2539

การศึกษาปฏิกิริยา ของหนอนไหม ต่อเชื้อ Nuclear Poylhedrosis virus ในหนอนไหม
พันธุ์ SKN1 x เขียวสกล ซึ่งค่า LC 50 หนอนไหมที่ค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อ NPV คือพันธุ์
UDA และ นค. 4 ให้ค่า LC 50 0.00162 x 10 6 และ 0.0759 x 10 6 ผลึก / มิลลิลิตร
พันธุ์เขียวสกล และ SKN1 ให้ค่า LC 50 x 10 6 และ 1.556 x 10 6 ผลึก / มิลลิเมตร
หนอนไหมที่ค่อนข้างต้านทานต่อเชื้อ NPV คือ พันธุ์ UDA x นค.4 และ SKN1 x เขียวสกล
ให้ค่า LC 50 2.88 x 10 6 และ 2.34 x 10 6 และ 2.34 x 10 6 ผลึก / มิลลิลิตร
ปี 2540

เปรียบเทียบพันธุ์ไหมไทยลูกผสม SKN1 x เขียวสกล กับพันธุ์มาตรฐาน (พันธุ์ไหมไทยลูก
ผสมอุบลราชธานี 60 - 35)

  • ลักษณะดีเด่น

1. สามารถเลี้ยงได้ง่าย ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และเลี้ยงได้ตลอดปี ในเขตจังหวัดอุดรธานี , จังหวัดหนองบัว
ลำภู จังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลย
2. อายุของพันธุ์ไหมในระยะหนอนไหมของ พ่อ - แม่พันธุ์เท่ากันทำให้สะดวกในการผสมพันธุ์และมีประโยชน์
ต่อการผลิตไข่ไหม
3. จำนวนไข่ไหมและน้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน พันธุ์ไหมไทยลูกผสม อุบลราชธานี 60 - 35
4. มีความต้านทานต่อโรค Nulear Polyhedrosis Virus (NPV) และมีอัตราการเลี้ยงรอดของระยะหนอน
ไหมวัยอ่อนสูง

  • ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ของไข่ไหม     สีขาวอมเหลือง
สีของลำต้นตัวหนอนไหม     สีเหลืองอ่อน
ขนาดลำตัวหนอนไหม (กว้าง x ยาว)     1.50 x 8.00 เซนติเมตร
รูปร่างรังไหม     ยาวรี
ขนาดรังไหม (กว้าง x ยาว)     1.75 x 3.65 เซนติเมตร
สีของรังไหม     สีเหลืองเข้ม
สีของเส้นไหม     สีเหลือง

  • ลักษณะทางการเกษตร

จำนวนไข่ไหมต่อแม่     495 ฟอง
ระยะเวลาหนอนไหม     19.00 วันต่อชั่วโมง
น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่เฉลี่ย 10 ตัว     24.90 กรัม
เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดวัยอ่อน     91.18
เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์     91.12
น้ำหนักรังสดเฉลี่ย 1 รัง     1.47 กรัม
น้ำหนักเปลือกรังเฉลี่ย 1 รัง     25.14 กิโลกรัม
เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง     17.12
ขนาดเส้นไหม     2.27 ดีเนียร์
ความยาวเส้นไหมต่อรัง     677 เมตร
เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย     66

กรมวิชาการเกษตร

พิจารณารับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2542

ที่มาของข้อมูล กรมส่งเสริมการเกษตร

รวม link - รวมพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง