ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
อุปกรณ์การทอผ้าไหมไทย
อุปกรณ์การทอผ้าไหมไทย
สันนิษฐาน ว่าคงมีหูกทอผ้าแล้วในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และอาจจะมีหลายแบบ เป็นขนาดเล็กๆ ทอด้วยมือชนิดตอกตรึงไว้กับพื้นหรืออาจเป็นชนิดที่มีแต่ฟืม ไม่ต้องใช้โครงหูกอย่างที่ชาวเขานิยมทอในปัจจุบัน
- กี่
มีขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยโครงกี่ฟืม เขาหูกหรือตะกอ ไม้ม้วนผ้าและหลักม้วนผ้า ไม้สำหรับพาดนั่งเวลาคานเหยียบสำหรับดึงเส้นไหมและตะกอขึ้นลง ไม้แกนม้วนไหมเส้นยืน คานแขวน กระสวย หลอดด้ายพุ่ง ผังหรือสะดึงขึงผ้าให้ตึง มักจะวางใต้ถุนเรือน และฝังเสากับพื้นดินแบบถาวร โครงกี่ประกอบด้วยเสา 4 เสา คาน 9 คานบนมี 4 คาน คานล่างมี 1 คาน และคานกลาง 1 คาน มีราวหูกทั้ง 4 ด้าน มีทั้งด้านบนและด้านล่าง
- คานแขวน
เป็นไม้ห้อยอยู่กับคานของกี่ ซึ่งคานของทั้งสองใช้แขวนเชือกที่ต่อมาจากเขาหรือตะกอ เพื่อให้ตึงอยู่ตลอดเวลา
- ฟืมหรือหวี
คือ เครื่องมือสำหรับทอผ้ามีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวีใช้สำหรับสอดไหมหรือเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน แล้วใช้กระทบไหมพุ่งที่สานตัดกันกับไหมยืนหรือไหมเครือเป็นผืนผ้า การทอผ้าเนื้อหนาหรือเนื้อบางขึ้นอยู่กับฟันหวี
- ตะกอ
ใช้สำหรับแยก เส้นด้ายให้ขึ้นเพื่อเปิด ให้จังหวะของเส้นด้าย พุ่งสอดขัดกัน
- ตะกอหลอก
ตะกอแผงหรือเขาใหญ่และเขายาว ใช้เป็นที่เก็บไม้ขิด เพื่อส่งลายให้ทอโดยไม่ต้องเก็บขิด เป็นลักษณะตะกอแนวตั้ง
- ไม้ (ไม้กำพัน)
ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้วไว้อีกส่วน ไม้แกนม้วนผ้านี้จะเหลาเป็นเหลี่ยม จะได้ยึดผ้าที่ม้วนเก็บไว้ไม่ให้ลื่น
- ไม้
คือไม้สอดแทนไม้ขิดเพื่อให้ตะกอเปิดกว้าง และสอดเส้นด้ายยืนพุ่งไป
- ไม้ขิด ใช้สำหรับคัด
กระสวย ด้ายพุ่ง คือเครื่องมือที่ใช้กรอด้ายสำหรับทอผ้า นิยมทำจากเถาวัลย์เครือไส้ตันที่มีตรงกลางกลวง หรือไม้อย่างอื่นเจาะรูตรงกลางเพื่อสอดไม้เล็กๆ ที่ทำเป็นแกนของหลอดด้าย เพื่อให้ด้ายหมุนไปตามแรงพุ่งของกระสวย
- ไม้เหยียบหรือคานเหยียบ
คือ ไม้ไผ่ 2 อันที่ผูกเชื่อมโยงกับเขาผูกหรือตะกอ เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูกทั้ง 2 อัน ให้เส้นไหมยืนขึ้นลงสลับกัน และเปิดช่องเพื่อพุ่งกระสวยไหมเข้าไปในร่องดังกล่าว เส้นไหมทั้ง 2 ชนิดจะสานขัดกันเป็นเนื้อผ้า
- ไม้นั่งทอผ้า
คือไม้กระดานหนาพอสมควร และมีความยาวกว่ากี่เล็กน้อย ใช้เวลานั่งทอผ้า ไม้นี้จะใช้พาดระหว่างหลักกี่
ข้างหน้ากับหลักม้วนผ้า
- บ่ากี่
คือ ไม้ที่รองรับส่วนปลาย 2 ด้านของไม้ม้วนผ้า มี 2 หลัก แต่ละหลักจะอยู่คนละข้างของหูก
- กระสวย
ใช้บรรจุหลอดไหมพุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นไหมยืน ต้นและปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
- ผัง
เป็นไม้ที่ขึงไว้ตามความกว้างของผ้าที่ทอ เพื่อให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม และเพื่อทำให้ลายผ้าตรง ไม่คดไปคดมา
กลับไปยังหน้า รวม link บทความ และสาระความรู้เรื่องผ้าไหม จากเว็บไซต์ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม