ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ประเภทของผ้าทอไทย
ประเภทของผ้าทอไทย
ผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจาก อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตรจะมีการทอผ้าเพื่อใช้สอยภายในครอบครัว โดยการถ่ายทอดวิธีการทอผ้าให้แก่สมาชิกที่เป็นเพศหญิง ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
การทอผ้าของไทยมีมาแต่โบราณ จากอดีตถึงปัจจุบันมนุษย์ได้พัฒนาการทอผ้าทั้งรูปแบบ เทคนิคการย้อมสี และการออกแบบลวดลาย ดังปรากฏในจดหมายเหตุและพงศาวดารครั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการทอผ้าตามกลุ่มชนต่างๆของไทย เช่น ข่า กระโส้ กระเลิง ส่วย ฯลฯ
ผ้าทอ ในประเทศไทยแสดงถึง ศิลปะภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งแบ่งประเภทของผ้าทอได้เป็นสองประเภท ตามวัตถุดิบในการทอ และกรรมวิธีในการทอ คือ
1.ผ้าทอที่แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ฝ้ายและไหม
- ฝ้าย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชเขตร้อน ชอบดินปนทราย และอากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่ม เส้นใยของฝ้ายจะดูดความชื้นได้ง่าย และเมื่อดูดความชื้นแล้วจะระเหยเป็นไอ ดังนั้นเมื่อสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายจะมีความรู้สึกเย็นสบาย
- ไหม เส้นใยไหมได้จากตัวไหม ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไหมกันใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ตัวไหมมีลักษณะคล้ายหนอน เมื่อแก่ตัวจะชักใยหุ้มตัวของมันเอง เรียกว่า รังไหม รังไหมนี้จะนำมาสาวเป็น เส้นไหม แล้วจึงนำไปฟอกด้วยการต้มด้วยด่างและนำมากวักเพื่อให้ได้ เส้นใยไหม หลังจากนั้นจึงนำมาย้อมสีและนำไปทอเป็นผืนผ้าตามที่ต้องการ เส้นไหมมีคุณสมบัติ ลื่น มัน และยืดหยุ่นได้ดี
2. ผ้าทอที่แบ่งตามกรรมวิธีในการทอ
ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลวดลายที่เกิดจากการทอบนผืนผ้า เช่น
ผ้ามัดหมี่
มีกรรมวิธีการทอที่ทำให้ให้เกิดลวดลายโดยการย้อมเส้นฝ้ายให้ด่าง โดยการผูกมัดให้เกิดช่องว่าง การทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืนต้องใช้เวลาและความประณีต โดยจัดเรียงเส้นไหมและฝ้ายให้สม่ำเสมอ คงที่ กรรมวิธีต้องเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง เพื่อทำให้เกิดลวดลายสวยงามตามต้องการ
ผ้าจก
การทอจกเป็นกรรมวิธีของการทอและ การปักผ้าไปพร้อมๆกัน การทอลวดลายใช้วิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าเป็นช่องๆไม่ติดต่อกันตลอด หน้ากว้างของผ้า ซึ่งจะทำได้โดยใช้ไม้หรือขนเม่น หรือนิ้วมือยกขึ้น เป็นการทอผสมการปักกลายๆ
ผ้าขิด
เป็นการทอผ้าด้วยกรรมวิธี เขี่ย หรือสะกิดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งไปตามแนวเส้นยืน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งจะทำให้เกิดลวดลายรูปแบบต่างๆ
ผ้าแพรวา
เป็นผ้าทอมือด้วยกรรมวิธีทอผ้าให้เกิดลวดลาย ลักษณะผสมกันระหว่างลายขิดกับลายจก ผ้าแพรวาต้องมีหลายๆลายอยู่ในผืนเดียวกัน
ผ้ายกดอก
มีกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายในการยกตะกรอแยกด้ายเส้นยืน แต่ไม่ได้เพิ่มเส้นด้ายยืน หรือ เส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในผืนผ้า แต่ในบางครั้งจะยกดอกด้วยการเพิ่มเส้นพุ่ง จำนวน สองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไป
- ผ้าทอกับโอกาสที่ใช้
ผ้าพื้น
ทอโดยการใช้ไหมเส้นพุ่ง และไหมยืนสีเดียวเท่านั้น เช่น ไหมพุ่งเป็นสีเขียว ไหมเส้นยืนเป็นสีทอง ใช้เป็นผ้านุ่ง หรือในโอกาสอื่นๆ
ผ้าสไบ
มีลักษณะคล้ายผ้าขาวม้า ใช้พาดบ่าในงานบวช งานบุญ และงานรื่นเริงต่างๆ
ผ้าโสร่ง
เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน หรือใส่ไปในงานพิธีต่างๆ และเป็นผ้าไหว้พ่อ – แม่ ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว
ผ้านุ่ง
ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน ใช้ในงานพิธี ใช้เป็นผ้าไหว้ในงานแต่งงาน ได้แก่ผ้าพื้น
ผ้าเก็บ
ใช้สำหรับพาดบ่า ไปวัด หรืองานพิธีต่างๆ
กลับไปยังหน้า รวม link บทความ และสาระความรู้เรื่องผ้าไหม จากเว็บไซต์ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม