ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าลีซู - เครื่องดนตรี
ชนเผ่าลีซู : เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีลีซู
เครื่องดนตรีของแต่ละชนเผ่า คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงความสวยงาม และความหลากหลายทางภูมิปัญญาความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อทางอารมณ์ แทนการบอกเล่ากันทางปากต่อปาก เสียงไพเราะ เพาะพริ้งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดยามตะวันแลง จะยังคงอยู่และสืบเนื่องต่อไป หากได้รับการปลูกฝัง และการเอาใจใส่ ของกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าชนรุ่นใหม่ คือ สิ่งสวยงาม สิ่งที่เรามีไม่เหมือนใคร และไม่มีของใครเหมือนเราเช่นกัน
เครื่องดนตรีประเภทเป่า
-แคนน้ำเต้า “ฟู่วหลูว”
เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นกันของผู้ชายลีซู ซึ่งจะเล่นในเวลาที่ว่างหรือช่วงประเพณีต่าง ๆ โดยใช้บริเวณลานวัฒนธรรมชุมชนเป็นสถานที่เล่น หรือเล่นระหว่างทางไปท่องเที่ยวต่างหมู่บ้าน เพื่อส่งเสียงให้ผู้คนได้ยิน และก็จะใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อเพื่อแสดงความคิดถึงต่อกัน จนทำให้เครื่องดนตรีเป็นที่นิยม และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกน้ำเต้า 2.ไม้เฮี้ย 3.ขี้ผึ้ง
วิธีการทำ
1. นำลูกน้ำเต้าที่แห้งแล้วมาเจาะรูทั้ง 2 ข้างของลูกน้ำเต้า
2. เอาเมล็ดน้ำเต้าข้างในออกให้หมด
3. ตัดไม้เฮี้ยที่แห้งแล้ว 5 อันสั้นยาวตามลำดับ แต่อันที่ยาวที่สุดต้องยาวเท่ากัน 2 อัน
4. นำไม้ที่ตัดแล้วมาใส่ในลูกน้ำเต้าที่เจาะรูไว้
5. นำขี้ผึ้งมาปิดรูตรงที่ใส่ไม้ไว้เพื่อให้แน่น
เครื่องดนตรีประเภทดีด
-ซึง“ชือบือ”
วัสดุอุปกรณ์
1.ไม้เนื้อแข็งชนิดใดก็ได้
2.ลวด หรือสายเอ็น
วิธีการทำ
1. ตัดไม้มา 1 ท่อน ความหนาพอประมาณ
2. ตัดแต่งให้เป็นรูปร่าง
3. ส่วนหัวเจาะรู 6 คู่ เหลาไม้ใส่เข้าไป
4. ส่วนตัวคว้านเนื้อไม้ออกให้โปร่ง
5. เอาไม้มาปิดทับ และเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 9-10 รู เพื่อให้เกิดเสียง
6. เอาลวด หรือสายเอ็นมาขึงให้ตึง โดยร้อยไว้ที่ไม้ไผ่ที่ได้เจาะรูไว้แล้ว 6 คู่